วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 02:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

วิหารสูตรที่ ๒


ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา

[๔๙]
สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว

ภิกษุทั้งหลายรับ พระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุ ผู้นำบิณฑบาต ไปถวายรูปเดียว.

[๕๐]
ครั้งนั้น พระผู้พระภาค ทรงออกจากที่ หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้ว

โดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น
เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.


จบ สูตรที่ ๒

พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม สภาวะที่พระองค์ ทรงเคยติดข้องอยู่ ว่าเหตุนั้น เกิดจากอะไร (เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้น/สภาวะ)


และพระสูตรนี้ก็ยงคงแสดง
วิหารธรรมที่พระองค์ทรงอยู่ คือ วิมุตติ
และด้วยการอยู่ในวิมุตติ พระองค์จึงเห็นชัด/รู้ชัดแจ้ง ในความเป็นไปแห่งสัตตานัง
ดูให้ดีพระองค์ใช้คำว่า "เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า" ไม่ได้ใช้คำในทำนอง "เราหลงไปอย่างนี้ว่า"
พระองค์เป็นผู้เห็น จึงนำมาสอน ไม่ใช่ว่าพระองค์เอาความหลงของพระองค์มาเล่าให้ฟัง
มีแต่วิมุตติที่จะเห็นความเป็นไปแห่งสัตตานัง
ซึ่ง สัตตานังไม่ใช่สภาวะที่จะเห็นวิมุตติ แต่เป็นสภาวะที่จะดำเนินไปสู่/กำลังจะดำเนินไปสู่
ดังนั้น การกล่าวถึงสัตตานัง จึงเป็นการกล่าวที่ออกมาจากการเห็น และต้องเห็นจาก วิมุตติ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 15 ก.ค. 2012, 21:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 21:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b9: ก็แค่แสดงความเห็นที่แตกต่าง :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2012, 23:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยะบุคคลชั้นต่าง ๆ ...โสดา..สกิทา..อนาคา...อรหันตะ...เป็นลำดับของเหล่าสาวกภูมิที่ได้..ลด..ละ..เลิก....กิเลส...ออกไปเท่าไรบ้างแล้ว...ไปจนหมดกิเลส

แต่...พุทธภูมิอันได้แก่มหาโพธสัตว์..เป็นต้น...ไม่มีลำดับขั้น..นะ

ก็เห็นกันหลายที่...ที่พยายามเอาสังโยชน์ไปจับ...พระโพธิสัตว์....บ้างก็ว่า...เป็นโสดาบันตั้งแต่ชาตินี้ชาตินั้นบ้าง...บ้างก็ว่า....เป็นโสดาบันในยามนั้นยามนี้บ้าง....ก็มี

ซึ่งเป็นเรื่องของเราพวกสาวกที่พยายาม...จัดการไปตามความคิดของตน...

เป็นความเข้าใจว่ารู้...นั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
พระอริยะบุคคลชั้นต่าง ๆ ...โสดา..สกิทา..อนาคา...อรหันตะ...เป็นลำดับของเหล่าสาวกภูมิที่ได้..ลด..ละ..เลิก....กิเลส...ออกไปเท่าไรบ้างแล้ว...ไปจนหมดกิเลส

แต่...พุทธภูมิอันได้แก่มหาโพธสัตว์..เป็นต้น...ไม่มีลำดับขั้น..นะ

ก็เห็นกันหลายที่...ที่พยายามเอาสังโยชน์ไปจับ...พระโพธิสัตว์....บ้างก็ว่า...เป็นโสดาบันตั้งแต่ชาตินี้ชาตินั้นบ้าง...บ้างก็ว่า....เป็นโสดาบันในยามนั้นยามนี้บ้าง....ก็มี

ซึ่งเป็นเรื่องของเราพวกสาวกที่พยายาม...จัดการไปตามความคิดของตน...

เป็นความเข้าใจว่ารู้...นั้นเอง




นี่ก็เรื่องของคนอื่นเขา ใครจะวิตก วิจารณว่าอย่างไร มันก็เหตุของเขา



กบนอกกะลา เขียน:
แต่...พุทธภูมิอันได้แก่มหาโพธสัตว์..เป็นต้น...ไม่มีลำดับขั้น..นะ



เอาอะไรมาวัดล่ะ ก็ไม่แตกต่างจากคนอื่น ที่คุณนำมาแสดงนั่นแหละ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีมาของ คำว่า นิพพาน ในปัจจุบัน


อ้างคำพูด:
๓๒. วิมุตติ
ถาม วิมุตติ คืออะไร?

ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ
ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต
อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส
อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล


http://84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=32[/quote]



หรือ แบบนี้ นี่ก็ นิพพาน


https://sites.google.com/site/snimnon/p ... -khux-xari

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุ



ครั้งนั้น พระผู้พระภาค ทรงออกจากที่ หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้ว

โดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า

เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.



อริยมรรค มีองค์ ๘ ไม่มี มิจฉา มีแต่สัมมา



ผล จึงเป็นเช่นนี้


ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาค สอบอารมณ์


นี่คือ ตำราของแท้ดั้งเดิม ที่ใช้ในการสอบอารมณ์


พระผู้มีพระภาค สอบอารมณ์ พระสารีบุตร


[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี
เขตเมืองนาลันทา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค
อย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่จะมี
ความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจานี้ประเสริฐแท้
เธอบันลือสีหนาทซึ่งเธอถือเอาโดยเฉพาะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะ
หรือพราหมณ์อื่นที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ ฯ
[๗๔] ดูกรสารีบุตร เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งได้มีแล้วในอดีต ว่าพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น
ได้มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติ
อย่างนี้ ได้ละหรือ ฯ



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 130&Z=2536

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 10:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
พระอริยะบุคคลชั้นต่าง ๆ ...โสดา..สกิทา..อนาคา...อรหันตะ...เป็นลำดับของเหล่าสาวกภูมิที่ได้..ลด..ละ..เลิก....กิเลส...ออกไปเท่าไรบ้างแล้ว...ไปจนหมดกิเลส

แต่...พุทธภูมิอันได้แก่มหาโพธสัตว์..เป็นต้น...ไม่มีลำดับขั้น..นะ

ก็เห็นกันหลายที่...ที่พยายามเอาสังโยชน์ไปจับ...พระโพธิสัตว์....บ้างก็ว่า...เป็นโสดาบันตั้งแต่ชาตินี้ชาตินั้นบ้าง...บ้างก็ว่า....เป็นโสดาบันในยามนั้นยามนี้บ้าง....ก็มี

ซึ่งเป็นเรื่องของเราพวกสาวกที่พยายาม...จัดการไปตามความคิดของตน...

เป็นความเข้าใจว่ารู้...นั้นเอง




นี่ก็เรื่องของคนอื่นเขา ใครจะวิตก วิจารณว่าอย่างไร มันก็เหตุของเขา



กบนอกกะลา เขียน:
แต่...พุทธภูมิอันได้แก่มหาโพธสัตว์..เป็นต้น...ไม่มีลำดับขั้น..นะ



เอาอะไรมาวัดล่ะ ก็ไม่แตกต่างจากคนอื่น ที่คุณนำมาแสดงนั่นแหละ


ไม่แตกต่าง..กันจริงหรือ?....หากไม่แตกต่าง...ทำไมไม่เชื่อผมละ..อิ...อิ....อิ

เพราะมันแตกต่าง...นั้นแหละ...

หากไม่แตกต่าง...งั้นผมก็จะพูดต่อ...

อย่าเอาสังโยชน์..ไปจับ..ลำดับการตรัสรู้ของมหาโพธิสัตว์...เลย...

เดียวจะเป็นการสร้างเหตุ...ไปซะเปล่า..ๆ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

ไม่แตกต่าง..กันจริงหรือ?....หากไม่แตกต่าง...ทำไมไม่เชื่อผมละ..อิ...อิ....อิ

เพราะมันแตกต่าง...นั้นแหละ...

หากไม่แตกต่าง...งั้นผมก็จะพูดต่อ...

อย่าเอาสังโยชน์..ไปจับ..ลำดับการตรัสรู้ของมหาโพธิสัตว์...เลย...

เดียวจะเป็นการสร้างเหตุ...ไปซะเปล่า..ๆ..




ใครเชื่อใคร หรือ ไม่เชื่อใคร ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีต่อกัน

ส่วนจะพูดต่อ หรือไม่พูดต่อ นั่นก็สิทธิของคุณ


อย่ามาโมเมเรื่องสังโยชน์ เขียนไว้ชัดๆแล้ว เรื่อง อริยมรรค มีองค์ ๘


ที่เขียนๆไป ในโสดาบัน เกิดเป็นยักษ์ มีตรงไหนชี้ชัด หรือมีความพยายามในการชักชวน ในทำนองว่า ท่านทั้งหลาย จงมาเชื่อข้าพเจ้าเถิด


ผู้เขียน เพียงเขียนในเรื่องเหตุและปัจจัย ไม่มีการกล่าวเพ่งโทษ ทำนองว่า แบบนี้ถูก แบบนี้ผิด

แล้วถ้าใครเห็นต่าง ก็ไม่ปิดกั้น เชิญแสดงได้ ตามสะดวก ส่วนจะสนทนาต่อด้วยหรือไม่ อันนี้เป็นสิทธิส่วนบุคคล ใครจะมาหรือใครจะไปบังคับใคร ก็ไม่ได้ จึงสามารถเลือกที่จะกระทำได้

พระผู้มีพระภาค เป็นใคร ก่อนที่จะตรัสรู้ ก็เป็นคนธรรมดาๆคนหนึ่ง เหมือนทุกๆคน ที่เกิดมาบนโลกใบนี้ แตกต่างกันตรงไหน ที่มองว่า แตกต่าง เพราะยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่พระองค์ทรงเป็น

ทำไม พระองค์จะสอบอารมณ์พระสารีบุตรแบบนั้น ไม่มีการสอบอารมณ์ แบบ ญาณ ๑๖ ที่มีปรากฏขึ้นในปัจจุบัน

เหตุเพราะ เรื่องญาณ ๑๖ เป็นการมีเพิ่มเติมกันขึ้นมาเอง จากอรรถกถาจารย์ ในภายหลัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาค ผู้เสด็จ
เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก
รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต
ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็
ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม
เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม
ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ
ลำบากของเรา ฯ


เหตุและผลอยู่ในพระสูตร ไม่ได้อยู่ที่ไหน

วิตก 1
ด้วยอาการที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น สัตว์จะวิตกไปในธรรมอันเป็นไปด้วยองค์ประกอบธรรมตามเหตุแห่งอวิชชา

วิตก 2
โดย วิมุตติ อันเห็นแจ้งในความเป็นไปแห่ง สัตตานังแล้ว และรู้ซึ่งวิมุตติแล้ว
วิตก โดยจิตเข้าไปสัมผัสแล้วซึ่งธรรม ซึ่งประหนึ่ง พระองค์ยืนอยู่ ณ พรมแดนแห่งอมตธรรม
แล้วมองย้อนกลับมายัง แดนที่เต็มไปด้วยการเกิดดับ(สัตตานังข้องติดอยู่)
อาการ วิตกนี้ ต่างจากวิตกโดยอาการแรก ก็แค่นั้น
พระองค์จึงได้ใช้คำว่า ปริวิตก ใช้เพื่อให้ผู้ฟังจะเข้าใจได้ว่า
เป็นอาการที่แตกต่างจาก วิตก 1
เพราะ องค์ประกอบแห่งปัจจัยต่างกัน ...

ถ้าคุณคิดว่าเป็นอาการ วิตก เหมือน ๆ กัน
พระองค์จะบัญญัติศัพท์มาใช้เฉพาะอาการนั้น ๆ ในพระสูตรนั้น ๆ ทำไม
ทำไมพระองค์ไม่ใช้คำว่า ปริวิตก ไปแทน วิตก ไปเสียทั้งหมดล่ะ

พระองค์บัญญัติคำ เพื่อแสดง นัยยะทางธรรม ที่ต่างกัน

ถ้าเช่นนั้น อย่างคุณปรากฎ วิตก คุณก็หยิบคำ ปริวิตก มาใช้แทนกับตัวเองได้น่ะสิ่

:b6: :b6: :b6:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

ถ้าเช่นนั้น อย่างคุณปรากฎ วิตก คุณก็หยิบคำ ปริวิตก มาใช้แทนกับตัวเองได้น่ะสิ่






วิตก ความคิด

ปริวิตก ความวิตกกังวล


สิ่งที่คุณแสดงมา ไม่แตกต่างกันหรอก คือ หยิบยกคำ วิตก มาแสดง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 11:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ผู้เขียน เพียงเขียนในเรื่องเหตุและปัจจัย ไม่มีการกล่าวเพ่งโทษ ทำนองว่า แบบนี้ถูก แบบนี้ผิด

ก็ไม่เห็นว่าคุณจะเพ่งโทษใครนี้
แค่คุณกล่าวว่า
walaiporn เขียน:

....
สภาวะที่นำมาแสดงนี้ เป็นเพียงสภาวะ โสดาปัตติมรรค ประเภท รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่รู้แจ้งในสภาวะนิพพาน ตามความเป็นจริง จึงยังไม่สามารถแยกสภาวะสัญญากับปัญญา ออกจากกันได้


หมายเหตุ

ที่นำสภาวะของพระผู้มีพระภาค มาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นว่า แรกรู้ แม้แต่พระองค์ ก็ทรงเจอสภาวะอุปกิลสหรือวิปัสสนูปกิเลส แล้วอย่างเราๆท่านๆทั้งหลาย จะไปเหลืออะไร


แค่นี้เอง

เราก็มาแสดงความเห็นที่แตกต่าง ก็แค่นั้น :b9:

:b6: :b5: :b5: :b5: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 16 ก.ค. 2012, 11:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 11:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:

ถ้าเช่นนั้น อย่างคุณปรากฎ วิตก คุณก็หยิบคำ ปริวิตก มาใช้แทนกับตัวเองได้น่ะสิ่






วิตก ความคิด

ปริวิตก ความวิตกกังวล


สิ่งที่คุณแสดงมา ไม่แตกต่างกันหรอก คือ หยิบยกคำ วิตก มาแสดง


แล้วพระพุทธองค์ ใช้คำว่า "ปริวิตก" กับใครบ้างล่ะจ๊ะ

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 11:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
eragon_joe เขียน:

ถ้าเช่นนั้น อย่างคุณปรากฎ วิตก คุณก็หยิบคำ ปริวิตก มาใช้แทนกับตัวเองได้น่ะสิ่


สิ่งที่คุณแสดงมา ไม่แตกต่างกันหรอก คือ หยิบยกคำ วิตก มาแสดง


ต่างซิจ๊ะ เพราะเราไม่เห็นว่า
สภาวะแสดงธรรมเช่นนั้น จะเป็นแค่ โสดาปัตติมรรค นะจ๊ะ

เมื่อไม่เห็นตรงตามที่คุณเห็น
เราก็หาเหตุผลมาชี้แจง หาเหตุผลมาสนับสนุนการแสดงความเห็น ก็แค่นั้น
ว่าพระองค์กะลังแสดง วิมุตติธรรม แยกออกจากธรรมที่สัตว์ข้องอยู่ อย่างชัดเจน
เราก็เข้าใจว่า ถ้าเข้าสู่วิมุตติ นั่นไม่ใช่ แค่โสดาปัตติมรรคแล้ว

และ บทความ วิมุตติ ก็แสดงชัดเจนว่า
ต้องเป็น อรหัตผล หง่ะ :b9:

และ อรหัตสัมมาสัมโพธิญาณ วิตก กะ สัตตานัง วิตก
มันจะออกอาการ วิตก เหมือนกันได้อย่างไร
...
ก็แค่ บัญญัติ เขียนคล้ายกัน แต่สภาวะธรรมมันคนละเรื่องแล้ว...จ้า :b16: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2012, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

ต่างซิจ๊ะ เพราะเราไม่เห็นว่า
สภาวะแสดงธรรมเช่นนั้น จะเป็นแค่ โสดาปัตติมรรค นะจ๊ะ




คุณไม่เห็น ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก




walaiporn เขียน:



ครั้งนั้น พระผู้พระภาค ทรงออกจากที่ หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้ว

โดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า

เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบ เป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.



อริยมรรค มีองค์ ๘ ไม่มี มิจฉา มีแต่สัมมา




eragon_joe เขียน:

เราก็เข้าใจว่า ถ้าเข้าสู่วิมุตติ นั่นไม่ใช่ แค่โสดาปัตติมรรคแล้ว

และ บทความ วิมุตติ ก็แสดงชัดเจนว่า
ต้องเป็น อรหัตผล หง่ะ :b9:



ขอบคุณนะ ถือว่า เป็นความรู้ใหม่ อรหัตตผล ที่ยังมี สภาวะมิจฉา ปรากฏอยู่ แถมยังมี เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร