วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 06:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b27:
แต่ความรู้ในขั้นนี้มันก็ยังเป็นภาคปฏิบัติ ในขั้นวิปัสสนา ยังไม่ใช่ตัววิปัสสนาอย่างแท้จริง ในเมื่อจิตกำหนดตามรู้สิ่งที่รู้เรื่อยไป เมื่อจิตรู้ซึ้งในสิ่งที่รู้นั้น บางทีมันอาจจะรู้ซึ้งลงไปว่า ความคิดอ่านทั้งหลายเหล่านี้ มันก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

พระอรหันต์เช่นอย่างท่าน พระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นว่าอย่างไร เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งเป็นธรรมชาติของความรู้แจ้งเห็นจริงภายในจิต ย่อมมีลักษณะอย่างนี้

ใครจะรู้ เห็นมากมายสักปานใดก็ตาม มันก็รวมไปสู่ความว่า ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนตํ นิโรธธมฺมนฺติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา

ความเห็นความรู้ในขั้นสุดยอด มันมีเพียงแค่นี้ ใครจะเทศน์อย่างไร อธิบายอย่างไร พิจารณาไปอย่างไร ในเมื่อจิตมันรู้แจ้งเห็นจริง มันก็มีแต่ ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ อย่างเดียวเท่านั้น เพราะความรู้อันนี้มันอยู่เหนือสมมติบัญญัติ อยู่เหนือโลก เป็นความรู้ขั้นโลกุตตรธรรม

:b27: :b27: :b27: :b17: :b17:
ขอสาธุอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับกุศลวิริยะของคุณวิสุทธิปาละ ที่ไปเลือกเฟ้นเอาคำแนะนำของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านถึงสภาวะจริงๆด้วยปฏิบัติการ คำอธิบายของท่านจึงแม่นยำต่อสภาวะ ชำระความสงสัย เพิ่มกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติจริง จะติดตามธรรมคัดสรรจากคุณวิสุทธิปาละอีกครับ
อนุโมทนา

:b20: :b20:


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ในเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นภายจิต จิตมันจะตามรู้ ในขั้นแรกเราจะกำหนดจดจ่อด้วยความตั้งใจ ให้มันตามรู้ แต่เมื่อมันรู้ทันกันจริงๆ แล้ว ต่อไปเราไม่ต้องไปกำหนดตามรู้ให้มันลำบาก จิตกับสติเป็นของคู่กัน และจะกำหนดตามรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตเองโดยอัตโนมัติ

ในตอนนี้เรียกว่า ปัญญาภูมิ ขั้นแห่งวิปัสสนาในภาคปฏิบัติ เกิดขึ้นเองในขั้นอัตโนมัติ คือมันเกิดเป็นความรู้ขั้นมานั่นเอง

แต่ความรู้ในขั้นนี้มันก็ยังเป็นภาคปฏิบัติ ในขั้นวิปัสสนา ยังไม่ใช่ตัววิปัสสนาอย่างแท้จริง ในเมื่อจิตกำหนดตามรู้สิ่งที่รู้เรื่อยไป เมื่อจิตรู้ซึ้งในสิ่งที่รู้นั้น บางทีมันอาจจะรู้ซึ้งลงไปว่า ความคิดอ่านทั้งหลายเหล่านี้ มันก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

พระอรหันต์เช่นอย่างท่าน พระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นว่าอย่างไร เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งเป็นธรรมชาติของความรู้แจ้งเห็นจริงภายในจิต ย่อมมีลักษณะอย่างนี้


อนุโมทนาครับ รู้อยู่ ตามอยู่ เห็นการเกิดดับอยู่ ต่อเนื่องไปในธรรมที่ผุดขึ้นมาใหม่แต่ก็ตามดูได้ไม่นานครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

สำหรับผู้เริ่มใหม่ ให้อดทนอ่าน อดทนศึกษากันหน่อยนะครับ เพราะธรรมะเกี่ยวกับการเจริญสติที่ยกมานี้ ไม่จำกัดว่าต้องสำหรับสกทาคามีมรรคบุคคลเท่านั้น แต่สามารถใช้ได้ตั้งแต่ผู้มาใหม่ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์กันเลยทีเดียว :b31: :b31: :b4:

คือ วิธีการเหมือนกัน เพียงแต่มีความหยาบละเอียดของกิเลสที่จะกำจัดออก ความหยาบละเอียดขององค์ธรรมที่ใช้ และความหยาบละเอียดของสภาวะที่เกิดขึ้น ต่างกันเท่านั้น :b1: :b38: :b37: :b39:

เหมือนกับการแกะสลักไม้นะครับ ตั้งแต่การเกลาขึ้นรูปหยาบจนถึงลงรายละเอียดจนเป็นงานปฏิมากรรมที่สวยงามขึ้นมาได้นั้น :b44: :b46: :b48:

วิธีการและเครื่องมือพื้นฐานจะใช้เหมือนๆกัน แต่ความหยาบละเอียดของสิ่งที่ต้องแกะต้องแคะออก ความหยาบละเอียดของเครื่องมือที่ใช้ และความหยาบละเอียดของเนื้องานที่ได้ จะต่างกันเป็นขั้นๆไป :b42: :b44: :b48:

และเป็นเรื่องปรกติของธรรมะนะครับ ที่ผู้ปฏิบัติถ้าหมั่นภาวนามาถึงจุดหนึ่งที่เริ่มรู้สึกได้ถึงผลแห่งความสงบเย็นจากธรรมะแล้ว จะเกิดความร่าเริงบันเทิงธรรมที่ได้ศึกษาธรรมะของพระบรมครู :b46: :b47: :b46:

ทั้งจากพระไตรปิฎกเอง และจากคำเทศน์ที่มาจากสภาวะที่เกิดขึ้นจริงโดยผลจากการปฏิบัติ หรือภาวนามยปัญญาของพระสุปฏิปันโนเช่นองค์หลวงพ่อพุธ :b8: :b39: :b39:

ซึ่งโดยเฉพาะคำสอนของท่านเองนั้นที่มีความละเอียดละออ ลึกซึ้งในขั้นตอนปฏิบัติเป็นอย่างมาก และมีความแม่นยำในสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง :b46: :b39: :b46:

โดยบางท่อนบางตอนของคำสอนของท่าน อาจค้นไม่เจอบัญญัติที่มาจากพุทธพจน์โดยตรง :b46: :b47: :b46:

แต่เมื่อพิจารณาตามหลักสังขิตตสูตร http://84000.org/tipitaka/read/?23/143 และเอาหลักกาลามสูตร http://84000.org/tipitaka/read/?20/505 ที่มาจากพุทธพจน์เอง เข้ามาจับด้วยการปฏิบัติตามจนเห็นผลที่เกิดขึ้นด้วยตนเองแล้ว :b48: :b47: :b48:

ก็จะตรงกันในส่วนปรมัตถ์ และช่วยลดปลดทุกข์ได้ตามประสงค์ของพระบรมครูนะครับ :b1: :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาศึกษาการเจริญสติ (และสมาธิ) จากคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธกันต่อนะครับ .. :b1: :b46: :b39: :b41:

:b8: :b8: :b8:

4. เรื่องของสมาธิ

บางที บางท่านบริกรรมภาวนา จิตอาจจะไม่สงบเป็นอัปปนาสมาธิสักที เพียงแต่สงบลงไปเป็นอุปจารสมาธิ

คือ มีอาการเคลิ้มๆ ลงไป แล้วก็สว่าง จิตยังมีความรู้สึกสัมพันธ์กับร่างกายอยู่ แล้วก็มีความมุ่งหมายที่จะทำจิตให้ไปถึงอัปปนาสมาธิ ชนิดที่เรียกว่าสงบนิ่งลงไปแล้ว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏรู้สึก ทั้งๆ ที่ทำไม่ได้ก็พยายามทำอยู่อย่างนั้น เพราะไปหลงเชื่อว่า “ต้องทำจิตให้เป็นอัปปนาสมาธิ”

ถ้าหากท่านผู้ใดปฏิบัติแล้ว มีภูมิจิตเกิดขึ้นมีลักษณะดังที่ว่า ก็ไม่ต้องไปมุ่งหมายที่จะเอาอัปปนาสมาธิ

พอทำจิตให้สงบเป็นอุปจารสมาธิบ่อยๆ พอที่จะประคับประคองจิตให้น้อมสู่การพิจารณาแนวทางพระไตรลักษณ์ คือพิจารณากายและความรู้สึก น้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็รีบกำหนดพิจารณาทันที ไม่ต้องคอยจิตสงบเป็นอัปปนาสมาธิ

ปฏิบัติไปทำนองนี้ ก็ย่อมจะเกิดผลแก่ผู้ปฏิบัติเหมือนกัน

ถ้าหากต่างว่าเราจะคอยให้จิตสงบเป็นอัปปนาสมาธิเสียก่อน เข้าฌานให้มันได้ชำนิชำนาญก่อน แล้วจึงไปพิจารณาพระไตรลักษณ์ หรือยกจิตขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา ถ้าเผื่อว่าชั่วชีวิตนี้ เราทำอย่างนั้นไม่ได้ เราจะมิตายเปล่าหรือ

การทำจิตให้นิ่งเป็นอัปปนาสมาธิ หรือเข้าฌานได้อย่างชำนิชำนาญนั้น ผลประโยชน์ของการชำนาญในการเข้าฌาน ชำนาญในการทำสมาธิ ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ แต่เหตุผลนั้นยังไม่เพียงพอ

เพราะท่านอาจารย์เทสก์ ท่านว่า จิตที่เป็นสมาธิอยู่ในฌานนั้น เป็นสมาธิที่โง่

เพราะจิตที่เข้าฌานนั้น จะต้องเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น อาการที่ว่าความรู้ ภูมิจิต ภูมิธรรมก็ไม่เกิดขึ้น

ครูบาอาจารย์ท่านก็ยืนยันว่า สมาธิในฌาน เป็นสมาธิที่โง่


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้แต่โดยหลัก ท่านก็ยืนยันไว้ว่า ถ้าจิตไปติดอยู่ในความสงบ ในฌาน คือ ขั้นสมถะเท่านั้น อย่างดีก็ให้เกิดอภิญญาสามารถที่จะทำฤทธิ์ต่างๆ ได้ สามารถที่จะรู้ในคนอื่น สามารถที่จะรู้สิ่งที่ปิดบังซ่อนเร้นอยู่ภายใน ซึ่งเราไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เหตุผลที่จะพึงทำให้หมดกิเลสนั้นยังไม่มี

ผู้สำเร็จฌานแล้วจะต้องมาเวียนว่ายตายเกิด เพราะจิตไม่มีปัญญา ลักษณะการรู้จริงเห็นจริงที่เรียกว่า อภิญญา รู้ใจคนอื่น รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า รู้เรื่องในอดีตที่ล่วงมาแล้วนานๆ

ในลักษณะอย่างนี้ ไม่ได้จัดเข้าอยู่ในลักษณะปัญญาที่จะเอาตัวรอดได้จากอำนาจของกิเลส

เพราะฉะนั้น สมาธิในฌานจึงเป็นสมาธิที่ไม่สามารถจะทำผู้ปฏิบัติให้สำเร็จ มรรค ผล นิพพานได้ ถึงจะมีบ้าง ก็มีจำนวนน้อย

แต่สมาธิที่อยู่ในอริยมรรค คือ จิตสงบประชุมลงพร้อมที่ หรืออริยมรรคประชุมพร้อมที่จิตนั้น สามารถทำจิตให้มั่นคงและดำรงอยู่ในความเป็นกลาง เมื่อจิตมีอริยมรรค เป็นเจตสิกประคับประคองอยู่ที่จิต จิตอยู่ที่อริยมรรค อริยมรรคอยู่ที่จิต แม้จะอยู่ในลักษณะสมาธิขั้นอ่อนๆ จิตจะมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันเหตุการณ์ อะไรเกิดขึ้นก็รู้ รู้แล้วไม่ยึดถือปล่อยวางไป

อาการที่จะเสวยอารมณ์ในขณะที่รู้เห็นอะไรขึ้นมานั้นไม่มี คือ จิตไม่มีอาการซึมซาบเข้าไปในสิ่งที่รู้นั้น เพราะไม่มีความยึด

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะสิ่งที่รู้เห็นขึ้นมานั้นเป็นภูมิปัญญาของจิตซึ่งถูกอริยมรรคคือ ศีล สมาธิ ปัญญาประชุมพร้อมกันลงแล้ว สามารถปฏิบัติภูมิจิตไปสู่ภูมิจิตภูมิธรรมขึ้นสูงไปเป็นลำดับ ซึ่งจิตมีลักษณะอย่างนี้ ในขั้นต้นจะรู้อะไรก็ตาม สมมติเรียกว่า ธรรม ก็แล้วกัน อารมณ์ก็คือธรรม ธรรมก็คืออารมณ์


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเมื่อรู้อะไรขึ้นมาแล้ว ในตอนต้นๆ ยังจะมีสมมติบัญญัติเรียกว่าอะไรอยู่

ในตอนนี้เป็นภูมิความรู้ของจิตซึ่งอยู่ในลักษณะ ในขั้นของอุปจารสมาธิอ่อนๆ ซึ่งมันอาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ ในขณะที่จิตสงบลงไปแล้ว ความรู้สึกภายนอกก็ยังมีอยู่ แต่จิตอยู่ในลักษณะแห่งความสงบ แล้วก็มีภูมิจิตภูมิธรรมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

แม้ในบางครั้งยังพูดอยู่ หรือทำอะไรอยู่ก็ตาม ลักษณะความสงบของจิตมันมีอยู่ ภูมิรู้สิ่งต่างๆ ก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าสามารถที่จะพูดจะคุย สามารถที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้ในขณะนั้น

อันนี้เรียกว่า เป็นภูมิจิตที่มีอริยมรรคประชุมพร้อมลงที่จิต

ถ้าหากในขณะที่ท่านผู้ปฏิบัติที่มีภูมิจิตลักษณะอย่างนั้น เมื่อทำสมาธิให้สงบละเอียดลงไป คือ ทำในขณะที่ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น นั่งสมาธิอยู่ในห้องพระคนเดียว เป็นต้น เมื่อจิตสงบลงไปอย่างละเอียดแล้ว

เมื่อเกิดภูมิความรู้ขึ้นมาภายในจิตนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างจะประกฎการณ์มีลักษณะว่าจิตสงบนิ่ง เด่นสว่างไสว

และสิ่งที่ให้รู้มีปรากฏการณ์เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

แต่ความรู้ในขั้นละเอียดนั้น ไม่มีอะไรจะไปมีความสำคัญมั่นหมาย สมมติบัญญัติเรียกชื่อสิ่งนั้นว่าอะไร


อันนี้เป็นธรรมชาติของภูมิจิต ภูมิธรรมที่เกิดขึ้นในระดับสูง ในระดับละเอียด ซึ่งอยู่เหนือสมมติบัญญัติ ซึ่งเราเรียกว่า สัจจธรรม เกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติ ตัวจริงของท่านผู้นั้นก็เป็นสัจจธรรม ความรู้ของจริงที่เกิดขึ้นก็เป็นสัจจธรรม

เพราะฉะนั้น สัจจธรรม กับ สัจจธรรม ในเมื่อมาบรรจบกันเข้าจึงเรียกชื่อกันไม่ถูก มีแต่สิ่งที่เกิดขึ้นดับไปๆ ๆ อยู่อย่างนั้น

ไปตรงกับคำในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรที่ว่า ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนตํ นิโรธธมฺมนฺติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็มีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ทำไมจึงเรียกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

คำว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ดำรัสว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็เป็นเพราะเหตุว่า จะไปบัญญัติชื่อเสียงเรียงนามว่าอย่างไรก็บัญญัติไม่ถูกทั้งนั้น

เพราะในขณะที่รู้ของจริงนั้น มีแต่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น มันอยู่เหนือสมมติบัญญัติ

อะไรที่เราสมมติบัญญัติได้อยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่สัจจธรรม นั่นมันเป็นเพียงสมมติ ความรู้จริงเห็นจริงมันอยู่เหนือสมมติบัญญัติ

นี่ขอให้ทุกท่านจงสังเกตดูตรงนี้ให้ดี ถ้าหากว่ามีภูมิจิตภูมิธรรมปรากฏขึ้นแล้ว ให้สังเกตดูให้ดี

ความรู้ธรรมะในขั้นละเอียดของจิตนั้น เป็นแต่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งปรากฏการณ์ให้รู้อยู่ตลอดเวลา ไม่มีสิ่งที่เราจะไปสมมติบัญญัติ จิตก็นิ่ง เด่น อยู่เฉยๆ ภูมิความรู้ก็เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ

ทีนี้มีปัญหาว่าภูมิความรู้ อันนั้นมาจากไหน?

มาจากจิต จิตที่มีปัญญาอันละเอียดเฉียบแหลม สามารถปรุงความรู้ขึ้นมา ความรู้อันนั้นคือปัญญาที่เกิดขึ้นกับจิต

ตัวที่นิ่งเด่นอยู่นั้นคือ ตัวพุทธะผู้รู้เท่าเอาทันจึงไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


รู้อะไรก็เฉย รู้อะไรขึ้นมาก็เฉย เพราะมันเป็นภูมิปัญญาของจิตที่ฝึกฝนอบรมดีแล้ว จิตจึงไม่หวั่นไหว จิตจึงไม่ติดสิ่งเหล่านั้น ในขณะนั้นเป็นจิตที่บริสุทธิ์ สะอาด ไม่มีกิเลส ตัณหา อุปาทาน จิตจึงมีปรากฏการณ์อย่างนั้น

ถ้าจิตท่านผู้ใดเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกาลไม่กลับกลอก ก็ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์

นี่พึงสังเกตและทำความเข้าใจอย่างนี้ ถ้าหากเราทำอย่างนี้ได้บ่อยๆ แม้ว่าเราออกจากการนั่งปฏิบัตินั่งสมาธิหลับตามา มามองดูโลกและเข้าสู่สังคม ในเมื่อเราประสบอารมณ์ต่างๆ ในสังคมที่เราจะต้องกระทบกระเทือน หรือรับผิดชอบอยู่นั้น

ความรู้สึกของเราจะเพียงว่า สักว่าแต่

คือ พูดก็สักว่าแต่พูด คิดสักว่าแต่คิด ทำสักว่าแต่ทำ

อันนี้คือสมาธิในภูมิธรรมในอริยมรรค

แม้ออกมาจากการนั่งหลับตาสมาธิแล้ว สมาธิก็ยังมีปรากฏอยู่ตลอดเวลา

คือ ตัวสติที่มีกำลังกล้าและเข้มแข็งอยู่นั่นเอง จึงดูคล้ายกับว่าจิตมีความสงบอยู่ตลอดเวลา

ส่วนที่สงบก็ปรากฏอยู่ ส่วนที่ออกมาบงการทำงานก็มีปรากฏอยู่

นี่คือสมาธิตามแนวทางของพระพุทธเจ้า


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำสมาธิเป็นแล้ว มีภูมิจิตภูมิธรรมสามารถรู้ธรรมเห็นธรรมแล้ว เราสามารถเอาภูมิธรรม ภูมิจิตมาประกอบประโยชน์ตามวิถีทางของชาวโลก ตามวิถีทางการครองบ้านครองเรือนได้อย่างสบาย

ถ้าสมาธิอันใดบำเพ็ญดีแล้ว ปฏิบัติได้ดีแล้ว คือว่าอยู่ในขั้นดีตามความนิยมของผู้ปฏิบัติ มีภูมิสมาธิสงบดี มีภูมิธรรมสงบขึ้น เกิดเบื่อหน่ายต่อครอบครัว เกิดเบื่อหน่ายต่อโลก ไม่เอาไหน ไม่อยากจะเข้าสู่สังคม ไม่อยากจะทำประโยชน์ต่อใครๆ อยากจะปลีกตัวหนีไปสู่ป่าคนเดียว ทำนองนี้

สมาธิอันนั้นอย่าเพิ่งไปเชื่อ ให้พิจารณามันให้รอบคอบ

ถ้าหากพระพุทธเจ้า สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้ามีสมาธิ มีพระสติปัญญาดี เมื่อสำเร็จแล้วเกิดความเบื่อหน่ายต่อโลก ไม่อยากอยู่กับโลก ไม่อยากโปรดสัตว์โลก แต่พระองค์หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้วในบางตอนต้นๆ แรกๆ นั้น มาพิจารณาว่าธรรมะที่ตรัสรู้นี้ มันเป็นของละเอียด สุขุม ยากที่เวไนยสัตว์พึงรู้ตามเห็นตามได้

บางครั้งก็รู้สึกท้อแท้ในพระทัยไม่อยากจะแสดง กลัวจะไม่มีผู้รู้ธรรม หรือรู้ตาม จนกระทั่งมีผู้กล่าวว่า มีท้าวมหาพรหมลงมาอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงธรรม

ความจริงท้าวมหาพรหมที่มาอาราธนานั้น ก็คือ พรหมวิหารที่อยู่ในพระทัยของพระองค์นั่นแหละ มากระตุ้นเตือนให้พระองค์รู้สึกสำนึก ในจารีตประเพณีของผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้าต้องมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อบรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

เมื่อพระองค์ตัดสินพระทัย แสดงพระธรรมเทศนาแก่เวไนยสัตว์ คุณธรรมนั้นจึงได้ชื่อว่า พระมหากรุณาธิคุณ เป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ข้อหนึ่งในบรรดาพระคุณทั้งสามประการ แล้วพระองค์ก็ทรงทำประโยชน์แก่โลกอย่างกว้างขวาง จนสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาลงในชมพูทวีปได้ แผ่ขยายกว้างขวางมาสู่เมืองไทยเรา


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราได้รับเป็นศาสนทายาทประพฤติปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะความที่พระพุทธเจ้าสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว มิได้เบื่อหน่ายต่อการที่จะทำประโยชน์แก่โลกนั่นเอง

เพราะฉะนั้น ผู้มีภูมิจิต ภูมิธรรม หรือมีความรู้แจ้งเห็นจริง ในธรรมะที่ควรรู้ควรเห็นจึงไม่มีทางที่จะเบื่อหน่ายต่อโลก แต่ไม่ยึดถือโลกด้วยอำนาจของกิเลส จะมีก็มีแต่ความเมตตา มีความหวังดี อันนี้คือ วิถีจิตของผู้ปฏิบัติจะต้องเป็นอย่างนั้น

ถ้าจะพูดให้ชัดๆ ลงไป สมมติว่าพ่อบ้าน นั่งสมาธิภาวนาเป็นผู้มีภูมิจิต ภูมิธรรม เบื่อหน่ายครอบครัว อยากจะหนีจากครอบครัว อันนั้นก็ยังไม่ถูกต้อง แม่บ้าน ภาวนาเป็นแล้ว มีภูมิจิต ภูมิธรรม เกิดเบื่อหน่ายต่อการที่จะทำกับข้าวกับปลา หุงข้าว หุงปลา ให้ครอบครัวรับประทาน อันนั้นก็ไม่ชอบด้วยเหตุผล

ในเมื่อทำเป็น ภาวนาเป็น รู้ธรรม เห็นธรรม มีภูมิจิต ภูมิธรรมดี จะต้องมีความรู้สำนึกในหน้าที่ ที่ตนจะต้องรับผิดชอบเป็นกิจวัตรประจำวันดียิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น นางกุลธิดา ซึ่งเป็นลูกสาวเศรษฐี และก็เป็นพระโสดาบันตั้งแต่ยังเด็กยังเล็ก บังเอิญเพราะผลกรรมบันดาล ได้ไปเป็นภรรยาของนายพรานผู้จับสัตว์ป่ามาขายท้องตลาด ทั้งๆ ที่ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน เวลาสามีของท่านจะเข้าป่าไปจับสัตว์ ท่านก็เตรียมเสบียงอาหารให้ เตรียมเครื่องมือให้ แต่ภายในจิตของท่านไม่ได้นึกว่าให้เขาไปจับสัตว์ให้ได้มามากๆ

จนกระทั่งมีพระสังฆาจารย์ ตั้งเป็นปัญหาขึ้นมาว่า การที่พระโสดาบันกระทำเช่นนั้น จะไม่ผิดคุณธรรมของพระโสดาบันหรือ? พระอรรถกถาจารย์ก็แก้ว่า ไม่ผิด เพราะท่านปฏิบัติตามหน้าที่ของความเป็นภรรยาที่ดี อันนี้เป็นคติตัวอย่าง


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 00:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น ผู้ใดสำเร็จคุณธรรม แม้จะได้ความเชื่อมั่นในการปฏิบัติตน หรือมีภูมิจิตภูมิธรรมตามสมควรก็ตาม คือได้เป็นอริยบุคคลอย่างที่ไม่มีใครรู้ก็ตาม ย่อมจะมีความฉลาดในหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่เป็นอย่างดี

จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

ในเมื่อจิตตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ และก็มีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องประคับประคองจิต จิตย่อมดำเนินไปสู่ภูมิจิต ภูมิธรรมที่ถูกต้องจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ด้วยประการฉะนี้

ต่อนี้ไป ขอได้โปรดทำความสงบจิตพิจารณาธรรมที่ตนเคยรู้เคยเรียนมาแล้ว การพิจารณาธรรมนั้น สิ่งใดที่เราพิจารณาแล้วทำให้เราเกิดผล เกิดความรู้ความเห็นขึ้นมา ก็ได้พิจารณาอันนั้น ซ้ำๆ ซากๆ บ่อยๆ ย้ำอยู่ที่ของเก่านั่นแหละ อย่าไปเปลี่ยน เพื่อทำให้ชำนิชำนาญ เพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริง แล้วภูมิจิต ภูมิธรรม มันจะค่อยๆ ขยายวงกว้างออกไปเป็นลำดับๆ

ถ้าจับโน่นวางนี่ไม่เป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว จิตของเราก็จะกลายเป็นจิตที่ไม่ยึดหลัก หรือวิหารธรรมเครื่องอยู่ไม่แน่นอน การปฏิบัติก็จะไม่ประสบผลเท่าที่ควร “เพราะฉะนั้นใครยึดหลักอะไรปฏิบัติก็ยึดให้มั่นคงลงไป” เราจะพิจารณาหลายๆ อย่าง ในเมื่อความรู้ความเห็นเกิดขึ้นก็อยู่ในลักษณะเดียวกันนั่นแหละ

อยู่ในลักษณะแห่งความรู้เห็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา อันเดียวกันนั่นแหละ

เอาสิ่งๆ เดียวเป็นเครื่องหมายแห่งความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา บ่อยๆ เข้าเมื่อจิตมันรู้ซึ้งเห็นจริงอย่างเดียวเท่านั้น มันก็ถอนอุปาทาน การยึดมั่นถือมั่นไปเอง กิเลสตัณหามันก็ค่อยหมดไปเอง


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะฉะนั้น จึงยึดหลักให้มั่นคง คือว่าเราสามารถจะทำได้ทุกอิริยาบถ หลับตาก็ทำได้ ลืมตาก็ทำได้ นอนทำก็ได้ ถ้าเราไม่นึกอะไร บริกรรมภาวนาในใจ เราก็กำหนดไว้ที่ใจ

รู้อะไรแล้วก็ตามรู้ให้มันทันความคิด คิดอะไรขึ้นมารู้ทัน รู้ให้ทัน เราทำอะไร ให้มันทันการกระทำของเรา พูดอะไรให้ทันตามคำพูดของเรา ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการทำสมาธิ ไม่ต้องบริกรรมภาวนาอะไรก็ได้ สำคัญอยู่ที่การทำสติ

เช่น อย่างท่านสอนว่า นั่งหนอ กินหนอ เดินหนอ ยกหนอ ฯลฯ อันนี้คือการทำสติ เป็นการปฏิบัติสมาธิ อย่าเอาไปเถียงกัน นั่นคือ การทำสติ ไปได้ในหลักมหาสติปัฏฐานที่ว่า ก้าวไปก็รู้ ถอยกลับก็รู้ คู้เหยียดก็รู้ แล้วก็นึกคิดอะไรก็รู้ รู้อยู่ตลอดเวลา มันก็เหมือนกันนั่นแหละ อย่าไปเถียงกัน การปฏิบัติถ้ามัวไปเถียงกัน นักปฏิบัติในศาสนาพุทธแทนที่จะช่วยกันทำความเจริญแล้วก็ไปทะเลาะกัน เพราะความคิดเห็นไม่ตรงกันอะไรทำนองนี้

อันนั้นมันเป็นวิธีการ แต่ผลที่มันเกิดขึ้นภายใน เราจะรู้จริงเห็นจริงเหมือนกันหมด

ลักษณะสังเกตการทำสมาธิ ถ้าหากเราทำสมาธิที่ถูกต้อง ภูมิจิตที่มันเป็นสมาธิที่ถูกต้องนั้น จะมีลักษณะบ่งบอกว่า

สมาธิจะต้องทำกายให้เบา ทำจิตให้เบา เบาจนกระทั่งบางครั้งเรารู้สึกว่าไม่มีกาย นี้ลักษณะของสมาธิที่ถูกต้อง

แล้วเมื่อเลิกปฏิบัติ คือออกจากสมาธิแล้ว ก็ทำให้กายเบาตลอดเวลา แม้แต่จะลุกจากที่นั่งนี้ อาการเหน็บชา หรืออะไรต่างๆ จะไม่ปรากฏ พอจิตออกจากสมาธิลืมตาโพลง ก็ลุกขึ้นเดินไปได้เลย ไม่ต้องดัดแข้ง ดัดขา อันนี้คือสมาธิที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง


โพสต์ เมื่อ: 02 ก.ค. 2012, 01:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้สมาธิบางอย่าง พอลืมตาขึ้นออกจากที่นั่งปฏิบัติแล้ว บางท่านถึงกับนอนให้คนอื่นนวดเส้นนวดเอ็นก่อน อันนี้ไม่ถูกต้องแน่ สมาธิอย่างนี้คล้ายกับมีอำนาจอะไรอย่างหนึ่งบ้าง จะเรียกว่าอำนาจสะกดจิตก็ได้ คือการสะกดจิตนี้นมีอยู่หลายอย่าง สะกดด้วยอำนาจคาถาอาคมบริกรรมภาวนาก็มี

อย่างคนที่ปลุกพระนี้ พอเอาพระใส่มือแล้วก็ภาวนา นะมะพะธะๆ ๆ เดี๋ยวก็สั่นขึ้นๆ ๆ นั่นถูกอำนาจสะกดจิตแล้ว อำนาจอะไร อำนาจคาถาบริกรรมภาวนา คาถาในทางไสยศาสตร์บางอย่างบริกรรมภาวนาแล้วจะทำให้เกิดปีติอย่างแรง อาการสั่นนั้นคือ อาการปีติ ทีนี้ปีติมันเกิดขึ้นอย่างแรงไม่มีขอบเขต ก็มีอำนาจบังคับจิตของเรา บางทีบังคับจิตของเราให้ไปดูโน่นดูนี่ อะไรในที่ต่างๆ ในทำนองนั้น

ถ้าใครทำได้ก็ดีอยู่หรอก อย่าไปหลง ให้มันรู้เท่า


:b8: :b8: :b8:

ไว้มาต่อกันคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 20 ก.ค. 2012, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ก่อนจะมาที่คำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธในส่วนการฝึกสติสัมปชัญญะ และ (สัมมา) สมาธิที่เหลือ :b46: :b47: :b46:

ขอกล่าวเสริมคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อไว้สักเล็กน้อยตามกำลังสติปัญญาและประสบการณ์ปฏิบัติของวิสุทธิปาละที่พอจะมีบ้างนะครับ :b8: :b46: :b39:

ส่วนแรกสุดในบทความคราวที่แล้ว ที่องค์หลวงพ่อพุธท่านเน้นความหมายในส่วนของสัมมาสมาธิ :b47: :b48: :b51:

หรือที่ท่านใช้คำว่า "สมาธิตามแนวทางของพระพุทธเจ้า" ซึ่งได้แก่ สมาธิที่ทำให้จิตสงบและ "ตั้งมั่น" ประกอบด้วย "สัมมาสติ" และ "เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง" :b46: :b39: :b46:

นั่นคือ มีสติ มีสมาธิที่ตั้งมั่น "สักว่าเห็น" ในการเกิดขึ้นและเสื่อมไปขององค์ธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในกาย ในเวทนา ในจิต หรือในธรรม :b42: :b47: :b51:

ยังจำคำสอนของพระบรมครูที่ทรงกล่าวปิดท้ายในทุกบรรพของมหาสติปัฏฐานสูตรกันได้นะครับ :b1: :b39: :b46:

"ภิกษุย่อม .. พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกาย .. เวทนา .. จิต .. ธรรม บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกาย .. เวทนา .. จิต .. ธรรม บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกาย .. เวทนา .. จิต .. ธรรม บ้าง ย่อมอยู่

อีกอย่างหนึ่ง สติ ของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย .. เวทนา .. จิต .. ธรรม มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก"


http://84000.org/tipitaka/read/?10/273-300

ซึ่งสติและสมาธิที่ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น เป็นเพียงผู้รู้ผู้ดูดังกล่าว :b51: :b46: :b51:

ต่างจากสติและสมาธิที่ทำให้จิตสงบ แต่จมแช่ลงไปในอารมณ์ที่ปรุงแต่ง (ไม่สักว่ารู้ ไม่สักว่าอาศัยระลึก) หรือจมแช่ลงไปในองค์ของฌาน เช่น ปีติ สุข จนเกิดความยินดีติดเพลิน (มีตัณหาและทิฏฐิอาศัยอยู่ ประกอบด้วยความยึดมั่นถือมั่น) :b44: :b46: :b45:


โพสต์ เมื่อ: 20 ก.ค. 2012, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกันกับที่องค์หลวงปู่เทสก์ท่านแยกให้เห็นด้วยบัญญัติเฉพาะตัวขององค์ท่าน ในส่วนความแตกต่างของคำว่า :b44: :b45: :b51:

"สมาธิ" ซึ่งได้แก่ "การพิจารณาให้เห็นเหตุผลของมัน ตามความเป็นจริง จนจิตหยุดนิ่งอยู่ไม่คิด ไม่นึกต่อไป ยังเหลือแต่ ผู้รู้"

กับคำว่า

"ฌาน" ซึ่งได้แก่ "การเพ่งในอารมณ์นั้น ๆ ให้เป็นไป ตามปรารถนาของตน เมื่อสังขารปรุงแต่งอยู่นั้น จิตก็จะรวมลงในอารมณ์ที่ปรุงแต่งนั้น แล้วก็เป็นไป ตามปรารถนาของตน"

("สรุป ฌาน-สมาธิ" พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_18.htm)


ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปสอบทานกับพุทธพจน์ :b37: :b38: :b39:

ถึงแม้ว่า สัมมาสมาธิตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้ในอริยมรรคนั้นคือ ฌาน ๑ ถึง ฌาน ๔ (ซึ่งอรรถกถาจารย์กล่าวอธิบายไว้ว่า เป็นสัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดการประชุมลงของอริยมรรค เป็นมรรคสมังคี) :b46: :b47: :b46:

แต่ท่านไม่ได้หมายความว่า เป็นฌาน ๑ ถึงฌาน ๔ ที่จิตสงบอยู่ภายในแล้ว "หลง" แล่นไปตาม .. กำหนัดด้วยยินดี .. ผูกพันด้วยยินดี .. ประกอบด้วยสังโยชน์คือความยินดี ในปีติ สุข อุเบกขาเวทนา หรือญาณอภิญญาต่างๆที่เกิดร่วม หรือเนื่องจากฌานในขั้นนั้นๆ :b47: :b48: :b51:

แต่เป็นฌาน ๑ ถึง ฌาน ๔ ที่จิตมีความตั้งมั่น เป็น "ผู้รู้ผู้ดู" เห็นเจตสิก หรือญาณอภิญญาที่เกิดร่วมในองค์ฌานตามความเป็นจริง โดยไม่แล่น ไม่หลงยินดี ไม่จมแช่ ไม่ติดเพลิน ในเจตสิก หรือญาณอภิญญาที่เกิดร่วมนั้นๆ (โดยเฉพาะปีติและเวทนาเจตสิก ที่ทำให้ "หลง" ติดเพลินได้ง่าย) :b42: :b44: :b41:

(อ้างอิง อุทเทสวิภังคสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=8267&Z=8510&pagebreak=0)

ซึ่งจิตที่ได้รับการอบรมจนมีสติที่ตั้งมั่นอยู่ในตัวรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะตอบสนองต่อผัสสะต่างๆเพียง "สักว่าแต่" มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ "หลง" และ "ไหล" ไปฟุ้งปรุงแต่ง หรือติดเพลินชอบชังไปตามอารมณ์ที่มากระทบ :b51: :b46: :b51:

และโดยเฉพาะในระดับสกทาคามีผลบุคคลที่สมาธิเกือบสมบูรณ์ หรืออนาคามีผลบุคคลที่มีสมาธิบริบูรณ์แล้ว จะมีอาการที่เกิดขึ้นตามที่หลวงพ่อท่านกล่าวได้อยู่เกือบตลอดเวลา (ยกเว้นเวลาที่เกิดผัสสะแล้วสังโยชน์ขั้นละเอียดฟุ้งขึ้นมา) คือ :b46: :b42: :b43:

"ความรู้สึกของเราจะเพียงว่า สักว่าแต่

คือ พูดก็สักว่าแต่พูด คิดสักว่าแต่คิด ทำสักว่าแต่ทำ

อันนี้คือสมาธิในภูมิธรรมในอริยมรรค

แม้ออกมาจากการนั่งหลับตาสมาธิแล้ว สมาธิก็ยังมีปรากฏอยู่ตลอดเวลา

คือ ตัวสติที่มีกำลังกล้าและเข้มแข็งอยู่นั่นเอง จึงดูคล้ายกับว่าจิตมีความสงบอยู่ตลอดเวลา

ส่วนที่สงบก็ปรากฏอยู่ ส่วนที่ออกมาบงการทำงานก็มีปรากฏอยู่

นี่คือสมาธิตามแนวทางของพระพุทธเจ้า"


และถ้ามีอาการสักแต่ว่ารู้ได้ในทุกผัสสะตลอดเวลาโดยไม่กลับกลอกแล้ว :b46: :b47: :b46:

นั่นก็คือขั้นอรหัตตผลบุคคลตามคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อนั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 20 ก.ค. 2012, 23:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนจิตที่ไม่ได้อบรมให้มีสติแก่กล้า :b38: :b37: :b39:

เมื่อเกิดผัสสะแล้ว ก็จะปรุงแต่งกิเลส ปรุงแต่งความฟุ้งซ่าน เนื่องจากยังมีเชื้อโมหะอวิชชาหลงเหลืออยู่มาก :b48: :b47: :b46:

หรือกล่าวให้เหมือนกันก็คือ .. เพราะมีเชื้อโมหะอวิชชาหลงเหลืออยู่มาก เมื่อเกิดผัสสะโดยขาดสติแล้ว จึงมีกิเลสมีความฟุ้งซ่านผุดเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติ เหมือนเมล็ดถั่วที่ยังมีเชื้อเกิดอยู่แล้วได้รดน้ำ รากลำต้นใบจึงงอก :b51: :b50: :b48:

ซึ่งก็เป็นเรื่องของความเป็น "เช่นนั้นเอง" :b46: :b47: :b46:

ส่วนจิตที่อบรมให้มีสติแก่กล้าดีแล้ว ตัวสติ จะเป็นตัวกั้นกระแสของกิเลสไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ปรุงความฟุ้งซ่านปรุงกิเลสต่างๆขึ้นมาเมื่อเกิดผัสสะ ตามที่พระบรมครูทรงตอบคำถามของอชิตมาณพ ในโสฬสปัญหาข้อแรก :b42: :b46: :b41:

(http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=10976&Z=11005 , http://84000.org/tipitaka/read/?30/69-79)

และสตินั้น นอกจากกั้นกระแสของกิเลสไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ปรุงกิเลสปรุงความฟุ้งซ่านต่างๆขึ้นมาแล้ว ยังจะส่งเสริมให้จิต ปรุงความรู้ หรือ ญาณะ หรือวิชชา ต่างๆขึ้นมาได้เอง ตามคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธ ที่ท่านกล่าวว่า :b48: :b51: :b48:

"ความรู้ธรรมะในขั้นละเอียดของจิตนั้น เป็นแต่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งปรากฏการณ์ให้รู้อยู่ตลอดเวลา ไม่มีสิ่งที่เราจะไปสมมติบัญญัติ จิตก็นิ่ง เด่น อยู่เฉยๆ ภูมิความรู้ก็เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ

ทีนี้มีปัญหาว่าภูมิความรู้ อันนั้นมาจากไหน?

มาจากจิต จิตที่มีปัญญาอันละเอียดเฉียบแหลม สามารถปรุงความรู้ขึ้นมา ความรู้อันนั้นคือปัญญาที่เกิดขึ้นกับจิต"


นั่นคือ ความรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่จิตมีสติสัมมาสมาธิตั้งมั่นแก่กล้า เป็นผู้รู้ผู้ดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปฌานที่ ๔ นั้น :b48: :b49: :b48:

ความรู้ หรือองค์ญาณ หรือวิชชาต่างๆ จะผุดเกิดขึ้นได้เองในจิตที่อบรมมาดีแล้ว :b46: :b47: :b46:

อะไรที่ไม่เคยรู้เคยเห็น ก็จะรู้จะเห็นได้เองในจิต
:b54: :b55: :b51:

ซึ่งองค์หลวงตาบัวท่านก็เคยกล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า จิตจะพิจารณาธรรมและรู้เห็นของเขาเอง เกิดธัมมวิจยะและวิชชาขึ้นเรื่อยๆโดยอัตโนมัติ เมื่อสติปัญญาแก่รอบถึงที่สุดนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมที่มีสัมมาทิฏฐิตั้งแต่ในระดับโสดาบันขึ้นไปแล้ว จะพบเห็นปรากฏการณ์อันน่าอัศจรรย์อันหนึ่งที่น่าสนใจ (ซึ่งถ้าว่าตามจริงแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มันเป็นเรื่องของความเป็น "เช่นนั้นเอง" ด้วยเหตุปัจจัยของสัมมาทิฏฐิ) โดยเฉพาะผู้ที่ฝึกสติสมาธิจนแก่กล้ามั่นคงแล้ว ก็คือ :b46: :b47: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 25, 26, 27, 28, 29, 30, 31 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร