วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 11:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 20:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

กลับมาที่คำถามของกระทู้ พอดีเข้ามาอ่านข้อความท่านสุทธิญาณ
และเกิดอาการเพิ่งจำความบางอย่างได้

ปฏิจสมุปบาทเป็นสิ่งที่จะเห็น/เข้าใจในตอนท้าย
หลังจากการที่ได้มีการปฏิบัติมาแล้ว..จนที่สุด

:b41:

เมื่อนั้น การตระหนักรู้ของจิตจะเคลื่อนเข้าสู่วิถีทวนกระแสเป็นลำดับไปเอง(ธรรมนั้นจักเป็นไปแล้ว)

ผู้ปฏิบัติจะทวนธรรมที่ปรากฎ ทวนไป-ทวนมา ซ้ำไปซ้ำมา
จนเริ่มเห็นเคล้าโครง ที่เป็นรูปแบบตามนั้น ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จนกว่าจะหมดข้อสงสัยในธรรมทั้งปวง

:b8: :b8: :b8:

แต่ธรรมที่จะเป็นกำลังให้เห็น/เข้าใจในปฏิจ..
คือ อิทัปปัจจยตา

รึเปล่า...?

เพราะพอดีเพิ่งระลึกความหลังได้ว่า
เอกอนพิจารณา อิทัปปัจจยตา ก่อน
ส่วนแง่มุมของ ปฏิจจ ปรากฏให้ได้พิจารณา ในภายหลัง
เป็นในภายหลัง ไม่ปรากฎการพิจารณาปฏิจจก่อน หรือในระหว่างนั้นเลย
เพราะก่อนหน้านั้น มีแต่วนเวียนอยู่กับการคอยละความเพลินไปในอารมณ์
สำรวมกาย วาจา ใจ ทำจิตให้สงบ(สมาธิ)
การพิจารณาธรรม ก็จับอยู่ในแง่มุม อิทัปปัจจยตา
ไม่ปรากฏล้ำเข้าไปสู่การพิจารณาสายปฏิจจเป็นสายเลย

อิทัปปัจจยตาเหมือนเราร้อยไข่มุขลงไปในเส้นด้ายทีละเม็ด
เราจะจับอยู่ที่เส้นด้ายและไข่มุขทีละเม็ด ๆ
จนกระทั่งเม็ดสุดท้ายถูกใส่ลงไป
และเราใช้มือจับที่ปลายด้ายทั้งสองข้างยกขึ้นดู
นั่นล่ะจึงจะเห็นเป็น...สายสร้อยไข่มุข (ปฏิจจสมุปบาท)

:b1:

:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ ประหนึ่งว่า
ในเบื้องต้น เราได้เรียน ได้ศึกษา ได้ทำความรู้จักกับปฏิจ...แล้ว
แต่...เมื่อรู้แล้ว เราจะทำให้รู้แจ้งได้อย่างไร

อิอิ

s005 ... ทิ้งเป็นประเด็นให้ท่านวิสุทธิปาละต่อไป..อิอิ

:b12: :b12: :b12:

ส่วนเอกอน แบบว่า
หยอด แล้ว เผ่น
รอชมผลงาน

:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฏิบัติ จะรู้ความสัมพันธ์ของทุกข์กับสมุทัย(อิทัปปัจยตา)เป็นปัจจุบันขณะ ร้อยเรียงสัมพันธ์กันเป็นสายในลักษณะเป็นไปเอง ผู้ปฏิบัติดำรงความเป็นกลางในการรู้ คำว่าดำรงไม่ได้หมายถึงการทำความรู้สึกให้เป็นกลาง แต่หมายถึงการคามรู้จิตที่พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ หรือ เฉยๆต่ออารมณ์ และที่สำคัญคือ การรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวธรรม (ไตรลักษณ์)ในลักษณะของความสัมพันธ์ (รูปกับรูป รูปกับนาม หรือ นามกับนาม)ทั้งหมดเปรียบสมือนชาวนาปลูกข้าว คอยใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช สำหรับนิโรธ และมรรคเปรียบเสมือนต้นข้าวออกรวงเก็บเกี่ยวผลไว้กิน ปฏิจจสมุปบาทจึงครบวงทั้งสายเกิดและดับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 22:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวนา...คือผู้เพียร

ไถ่..คราด...หว่าน...ดำ...ใส่ปุ๋ย...เป็นความเพียร

ต้นข้าว...คือธรรมคือปฏิจจะ..

รวงข้าว...เป็นผลเป็นนิโรธ...อันชาวนาต้องการ

ชาวนา..คราดไถ่หว่านดำ..ให้ปุ๋ย..ดูแล..ต้นข้าว..ได้เท่านั้น

จะไปบังคับว่า..ให้ข้าวจงออกรวง..เดียวนี้...ก็ทำไม่ได้

ได้แต่....ดูแล...ใส่ปุ๋ย...กันไป...ทำไป..ทำไป...เพียรไป..เท่านั้น

รวงข้าว...จะผลิออกจากต้น..เมื่อทุกอย่างมันถึงสมดุลย์ของมัน...

การเพียรพิจารณาข้อแต่ละข้อ....ของปฏิจจะ...เข้าใจแจ้งแก่ใจในแต่ละข้อ...แต่ละข้อ

เพียรพิจารณา...แต่ละครั้ง...แต่ละครั้ง...ความแจ้งแต่ละขั้น แต่ละขั้น....ยิ่งสุขุมลุ่มลึก

ความแจ้งแต่ละข้อ...แต่ละข้อ...ยังมิใช่ผล..เสมือนต้นข้าวที่เติบโตยังไม่ใช่ที่สุดที่ชาวนาต้องการ

เราจึงเพียรทำซ้ำ..ซ้ำ...เหมือนชาวนาดูแลต้นข้าวไปเรื่อย ๆ...

ได้ผลก็หยุดเอง...รู้ได้เองเป็นปัจจัตตัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2012, 01:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ผู้ปฏิบัติ จะรู้ความสัมพันธ์ของทุกข์กับสมุทัย(อิทัปปัจยตา)เป็นปัจจุบันขณะ ร้อยเรียงสัมพันธ์กันเป็นสายในลักษณะเป็นไปเอง ผู้ปฏิบัติดำรงความเป็นกลางในการรู้ คำว่าดำรงไม่ได้หมายถึงการทำความรู้สึกให้เป็นกลาง แต่หมายถึงการคามรู้จิตที่พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ หรือ เฉยๆต่ออารมณ์ และที่สำคัญคือ การรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวธรรม (ไตรลักษณ์)ในลักษณะของความสัมพันธ์ (รูปกับรูป รูปกับนาม หรือ นามกับนาม)ทั้งหมดเปรียบสมือนชาวนาปลูกข้าว คอยใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช สำหรับนิโรธ และมรรคเปรียบเสมือนต้นข้าวออกรวงเก็บเกี่ยวผลไว้กิน ปฏิจจสมุปบาทจึงครบวงทั้งสายเกิดและดับ :b8:


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2012, 10:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผลสมาบัติที่มีฌานจิตเป็นบาท กำลังของฌานจิตแต่ละลำดับฌานจะมีผลต่อผลสมาบัติ แต่ต้องสมดุลกับระดับมรรค ผู้เสวยจะทราบด้วยตนเอง ถึงความเหมาะสม การเสวยผล จิตจะอิสระจากรูปนาม เป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งปวงไม่มีมิติ อายะตนะหยุดการทำงาน (ปรุงแต่ง) ไม่มีการเคลื่อน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ จึงไม่เกี่ยวข้องกับการเวลา ฃึ่งต่างจากฌานจิตที่มีการเคลื่อนของจิต โดยจิตจะเสวยอารมณ์ขององค์ฌาน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2012, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สำหรับผลสมาบัติที่มีฌานจิตเป็นบาท กำลังของฌานจิตแต่ละลำดับฌานจะมีผลต่อผลสมาบัติ แต่ต้องสมดุลกับระดับมรรค ผู้เสวยจะทราบด้วยตนเอง ถึงความเหมาะสม การเสวยผล จิตจะอิสระจากรูปนาม เป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาติทั้งปวงไม่มีมิติ อายะตนะหยุดการทำงาน (ปรุงแต่ง) ไม่มีการเคลื่อน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ จึงไม่เกี่ยวข้องกับการเวลา ฃึ่งต่างจากฌานจิตที่มีการเคลื่อนของจิต โดยจิตจะเสวยอารมณ์ขององค์ฌาน :b8:


อ่านแล้วไม่เข้าใจครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ก่อนที่จะอธิบายขยายความคำเทศน์ของพ่อแม่ครูอาจารย์ตามกำลังสติปัญญาของวิสุทธิปาละที่พอจะมี ด้วยภาษาและตัวอย่างของโลกสมัยปัจจุบันที่พวกเราคุ้นเคย :b51: :b48: :b47:

ขอแทรกคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุทธอีกสักช่วงใหญ่ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะเห็นการลาดไปจากอธิศีล ซึ่งในคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุทธท่านเริ่มด้วยศีล ๕ ในเบื้องต้น (แต่วิสุทธิปาละไม่ได้ยกมาให้ศึกษาในส่วนของสกทาคามีมรรคนี้ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ตาม URL ที่ลิงค์ไว้ให้) ไปสู่อธิศีลในส่วนของอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ :b46: :b47: :b46:

และในส่วนของสัมมาสมาธิที่เนื่องด้วยอธิจิตตสิกขาในเบื้องกลาง จนลาดไปสู่การวิปัสสนารู้แจ้งในไตรลักษณ์ ซึ่งเนื่องด้วยอธิปัญญาสิกขาในเบื้องท้ายที่สุด :b38: :b37: :b39:

เนื่องจากวิสุทธิปาละเห็นว่า ส่วนที่เอามาลงนี้ จะเป็นประโยชน์กับนักนักปฏิบัติทุกท่านในเรื่องของการเจริญสติรู้ลงในจิต และในเรื่องของจิตที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ ที่ต้องเกาะมาคู่กันมาในการปฏิบัติลงในมรรคมีองค์ ๘ :b1: :b39: :b46:

ซึ่งถึงแม้ว่าองค์หลวงพ่อท่านเอง จะเทศน์โปรดสำหรับผู้ที่ยังเป็นปุถุชน แต่ในขั้นของการปฏิบัติของสกทาคามีมรรคแล้ว ก็ยังต้องใช้วิธีการเดิมของมรรคมีองค์ ๘ แต่จะเป็นในขั้นที่ละเอียดขึ้น ซึ่งถ้าสังเกตอ่านดีๆ องค์หลวงพ่อท่านก็ได้เทศน์รวมไว้ด้วยบางส่วน :b42: :b46: :b39:

และในคำเทศน์ที่จะยกมา องค์หลวงพ่อท่านก็ได้แสดงออกมาจากประสบการณ์ภาวนามยปัญญาของท่านเองได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งเหมาะกับผู้ที่จะต้องต่อยอดในแนวทางการปฏิบัติ และยังเหมาะสำหรับนักปฏิบัติที่ผ่านสิ่งนั้นๆมาแล้ว :b48: :b51: :b46:

โดยผู้ที่ผ่านมาแล้ว จะเกิดปีติซาบซึ้งถึงใจในคำเทศน์ของท่านได้ไม่ยาก (ซึ่งรวมถึงขององค์หลวงปู่ดูลย์ และองค์หลวงปู่เทสก์ ที่ยกมาก่อนหน้า) :b41: :b46: :b42:

และในส่วนที่สำคัญกว่าก็คือ จะเป็นการตรวจสอบย้อนกลับทางเดินของผู้ปฏิบัตินั้นๆด้วยว่า ไม่ได้มาผิดทิศผิดทางไปจากทางเดินที่พระบรมครู และพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้เคยเดินผ่านมาแล้วด้วยนั่นเอง :b1: :b46: :b39: :b46:

(ซึ่งอันที่จริงแล้ว ยังมีคำเทศน์ในส่วนที่ลึกกว่าและเป็นประโยชน์กับผู้ปฏิบัติอีกมาก ทั้งจากองค์หลวงพ่อพุธเอง และพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านอื่นๆ เช่น องค์หลวงตามหาบัว องค์หลวงปู่ชา องค์หลวงพ่อทูล ฯลฯ ซึ่งวิสุทธิปาละจะค่อยๆทยอยลงเมื่อถึงขั้นตอนการปฏิบัติที่สมควรนะครับ) :b1: :b46: :b41:

โดยวิสุทธิปาละจะค่อยๆทยอยแบ่งลงเป็นตอนๆ โดยตัดเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อให้ผู้ศึกษาปฏิบัติบางท่านสามารถค่อยๆทยอยย่อยได้ทัน :b46: :b47: :b46:

(ส่วนท่านที่ย่อยได้เร็ว ก็สามารถไปที่ URL ที่ทำลิงค์ไว้ให้ได้เลยนะครับ แต่ขออย่าให้อ่านแบบสแกน ให้อ่านแบบช้าๆ เพื่อที่จะได้ซึมซับส่วนต่างๆในคำสอนของท่านได้ทุกประโยคโดยละเอียด ซึ่งจะเกิดปีติได้ในความงดงามของพระธรรมตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง และในท้ายที่สุด) :b8: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดทอนมาจาก สัมมาสมาธิ โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
http://www.fungdham.com/download/book/article/put/012.pdf
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_poot/lp-poot_48-01.htm


สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่ ซึ่งจิตยังไม่เคยมีสมาธิและไม่เคยเกิดภาวะตัวผู้รู้ขึ้นมาในจิต ให้อาศัยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกบ้าง หรือกำหนดบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ตนชำนิชำนาญ เช่น พุทโธ เป็นต้น

ให้กำหนดจดจ่อลงที่จิต แล้วเอาจิตนึก พุทโธๆ ๆ นึกอยู่อย่างนั้น นึกอยู่เฉยๆ อย่าไปทำความรู้สึกว่า เมื่อไรจิตของเราจะสงบ เมื่อไรจิตจะเกิดสว่าง เมื่อไรจิตจะเกิดความรู้ ความเห็นขึ้นมา

การภาวนาในเบื้องต้นนี้ ไม่ใช่เพื่อจะรู้เพื่อจะเห็นสิ่งอื่น เพื่อให้รู้ให้เห็นสภาพความจริงของจิตของตัวเอง

เราจะเริ่มรู้ความเป็นจริงของจิต ตั้งแต่เราเริ่มกำหนดจิตกับบริกรรมภาวนา

รู้อย่างไร รู้อยู่ตรงที่ว่าจิตของเรากับบริกรรมภาวนานั้น มีความสัมพันธ์หรืออยู่ด้วยกันหรือไม่ เมือจิตของเรากับบริกรรมภาวนาสัมพันธ์กันอยู่ด้วยกัน มันมีโอกาสที่จะเผลอส่งกระแสไปทางอื่นหรือไม่

นี้ให้เรากำหนดดูความจริงของจิตในตอนนี้ ทีนี้ในขณะที่เรานึก พุทโธๆ ๆ อยู่นั้น ความรู้สึกของจิตนั้นมันมีอะไรบ้างเกิดขึ้น จิตอยู่กับพุทโธไหม หรือว่ามันลืมพุทโธเป็นบางครั้ง บางขณะ ในขณะที่ลืมนั้นจิตมันไปอยู่ทางไหน ไปอยู่กับสิ่งภายนอก ซึ่งเป็นอดีตสัญญา หรือว่านิ่ง ว่างอยู่เฉยๆ ให้เราสังเกตดูความจริงในตอนนี้


ทีนี้ถ้าหากจิตของเราลืมพุทโธแล้วมันไปอยู่ในสัญญาอดีตที่เราเคยนึกคิดและจดจำซึ่งเป็นสิ่งอื่น นอกจากพุทโธ แสดงว่า จิตของเราละทิ้งพุทโธแล้วก็ไปยึดเอาอารมณ์เก่าแก่มาเป็นความรู้สึกนึกคิดตามนิสัยเดิม เป็นอาการของจิตฟุ้งซ่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ถ้าหากจิตลืมคำว่า พุทโธ แล้วไปนิ่งอยู่เฉยๆ เมื่อมีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น ผู้ภาวนาอย่าไปนึกถึงพุทโธอีก ให้กำหนดรู้ลงที่จิตเฉยๆ อยู่

แต่ในช่วงนี้ถ้าหากลมหายใจปรากฏขึ้นในความรู้สึก ก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจเฉยอยู่ เอาลมหายใจเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ จดจ่อดูอยู่อย่างนั้น อย่าไปสร้างความรู้สึกนึกคิดอะไรขึ้นมา และก็ไม่ต้องไปนึกว่า ลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว เป็นแต่เพียงรู้ กำหนดจดจ่ออยู่เฉยๆ เท่านั้น

ความสั้น ความยาว ความละเอียด ความหยาบ ของลมหายใจ เป็นสิ่งที่จิตรู้อยู่ จิตย่อมรู้ความสั้น ความยาว ความหยาบ ความละเอียด ของลมหายใจอยู่ในที โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปนึกสำคัญมั่นหมายว่า ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด ลมหายใจสั้น ลมหายใจยาว หรือลมหายใจหายขาดไปแล้ว กำหนดรู้ลงที่จิตตัวรู้จดจ่ออยู่อย่างนั้น

อันนี้เป็นวิธีการปฏิบัติในเบื้องต้น ในขณะที่ท่านกำหนดจดจ่อดูอยู่ที่ลมหายใจเฉยอยู่ อะไรจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ไม่ต้องไปคำนึงถึงทั้งนั้น ถ้าในช่วงนี้จิตมันเกิดความสว่างขึ้นมา ก็อย่าไปเอะใจ กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว

หากเกิดภาพนิมิตต่างๆ ขึ้นมา ก็อย่าไปเอะใจ กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว หรือจะมีอะไรเกิดขึ้น เป็นอุทานธรรมะ เป็นภาษิตซึ่งเกิดขึ้น เป็นความรู้ เป็นภาษา ก็อย่าไปสำคัญมั่นหมาย อย่าไปเอะใจ กำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียว

ถ้าหากท่านไปเอะใจ หรือเอาใจใส่กับสิ่งนั้น สภาพจิตมันจะเปลี่ยน เมื่อสภาพจิตเปลี่ยนแล้วสมาธิจะถอน สิ่งที่ท่านกำลังกำหนดรู้อยู่นั้นมันจะหายไปทันที อันนี้ขอให้นักปฏิบัติทั้งหลายพึงระมัดระวัง


และในเมื่อท่านจดจ่อเอาจิตรู้อยู่ที่จิต และก็รู้อยู่ที่สิ่งที่จิตรู้ ความตั้งใจกำหนดจดจ่ออยู่อย่างนี้ด้วยเจตนา ท่านเรียกว่า วิตก เมื่อจิตกับอารมณ์สิ่งที่กำหนดรู้ มีความสนิทแนบแน่นไม่พรากจากกัน ทรงตัวอยู่อัตโนมัติ โดยที่ท่านไม่ได้ตั้งใจที่จะควบคุม อันนี้เรียกว่า วิจาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตกับอารมณ์ มีความซึบซาบและมีความซาบซึ้งลงไปในดวงจิต ความดูดดื่มมันก็ย่อมเกิดขึ้น ความดูดดื่มของจิตนั้นเรียกว่า ปีติ

ปีติเกิดขึ้นทำให้เรารู้สึกกายเบา จิตเบา บางทีทำให้ตัวโยกโคลง บางทีทำให้ตัวขึ้นจะลอย เหมือนกับขึ้นสู่อากาศ บางทีทำให้รู้สึกหนักตัว ซึ่งสุดแล้วแต่อาการของจิต มันจะปรุงจะแต่งขึ้น ให้ท่านกำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียว

ตอนนี้ปล่อยให้จิตมันเสวยปีติ ในเมื่อจิตมีปีติเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง จิตไม่ฟุ้งซ่านไม่กระวนกระวาย จิตก็มีแต่ ความสุข และก็จะดำเนินสู่สมาธิในขั้นละเอียดต่อไปเป็นลำดับ ซึ่งจุดแรกเราจะปรากฏว่า อุปจารสมาธิเกิดขึ้นมีความรู้สึกนิ่งสว่าง แต่ความรู้สึกในสิ่งภายนอกยังรู้สึกอยู่บ้างนิดๆ หน่อยๆ หรือปรากฏอย่างละเอียด

ในเมื่อจิตผ่านขั้นตอนขั้นนี้ไปแล้ว จิตจะมีความสงบแน่วแน่นิ่งลงไปสู่ความเป็นหนึ่งซึ่งเรียกว่า อัปปนาสมาธิ หรือ เอกัคคตา ในตอนนี้จิตของท่านสงบอย่างละเอียด มีแต่สภาวะจิตสงบนิ่งสว่างอยู่อย่างเดียว

สมาธิในขั้นต้นนี้โดยส่วนมาก ในเมื่อจิตสงบลงไปถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือเอกัคคตาอย่างแท้จริงแล้ว เราจะรู้สึกว่ากายหายไปหมด ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวล้วนๆ แล้วในตอนนี้ ผู้ภาวนานั้นไม่มีความสามารถที่จะนึกคิดอะไรอย่างอื่นขึ้นภายในจิตได้ เพราะสมาธิในตอนนี้เป็นสมาธิด้วยความเป็นเองอย่างแท้จริง

เป็นสมาธิที่หมดความตั้งใจซึ่งเรียกว่าสมาธิจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเราหมดความตั้งใจ เป็นสมาธิที่เป็นอัตโนมัติ เป็นสมาธิที่เป็นเอง ผู้ภาวนาจะน้อมจิตไปอย่างไรก็น้อมไม่ได้ จะถอนจิตออกมาก็ถอนไม่ได้ จนกว่าจิตนั้นจะถอนออกมาเอง นี่คือลักษณะจิตที่เข้าไปสู่อัปปนาสมาธิ หรือเอกัคคตาในขั้นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิในขั้นนี้ที่ท่านว่ามันเป็นสมถะ ยังไม่สามารถที่จะให้เกิดความรู้ความเห็นในด้านปัญญาหรือวิปัสสนาขึ้นมาได้ ก็เพราะจิตในขั้นนี้เป็นแต่เพียงว่า จิตดำเนินเข้าไปสู่ความเป็นเดิม สภาพเดิมของจิตที่ยังไม่ได้ประสบกับอารมณ์ใดๆ ย่อมมีลักษณะอย่างนี้

จิตอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ปฐมจิต เรียกว่า ปฐมวิญญาณ เรียกว่า มโนธาตุ เป็นเหตุให้ผู้ภาวนาได้รู้สภาพความเป็นจริงของจิตดั้งเดิมของตัวเอง คือจิตที่ไม่มีอะไรนั้น มันมีลักษณะอย่างไร แล้วเราจะรู้ในตอนนี้

และเมื่อจิตถอนออกจากสมาธิในขั้นนี้ เมื่อมารับรู้อารมณ์ คือ เกิดความคิดขึ้นมาก สภาพจิตหลังจากที่เกิดมีสมาธิแล้วออกมารับรู้อารมณ์นี้ มันมีลักษณะแตกต่างจากจิตที่ยังไม่เคยมีสมาธิอย่างไร อันนี้ผู้ภาวนาเมื่อทำจิตลงไปถึงขั้นนี้แล้วจะรู้ทันที

เพราะฉะนั้น การบริกรรมภาวนาหรือกำหนดอารมณ์เพื่อทำให้จิตสงบนิ่งลงเป็นสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธินั้น มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ภาวนานั้นรู้สภาพความเป็นจริงของจิตดั้งเดิมของตัวเอง

แม้ว่าภูมิจิตในขั้นนี้จะยังไม่เกิด ปัญญาญาณรู้ เห็นอะไรก็ตาม แต่ก็เป็นพื้นฐานสร้างความมั่งคงของจิต เมื่อจิตผ่านการเป็นสมาธิอย่างนี้บ่อยๆ เข้า สิ่งที่จะได้เป็นผลพึงตามมาก็คือ ความมี สติสัมปชัญญะ จะค่อยปรากฏขึ้นทีละน้อยๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในขั้นแรกจิตสงบเพียงครั้งสองครั้ง เมื่อจิตออกจากสมาธิมาขั้นนี้แล้ว มันก็จะถอยพรวดๆ ๆ ออกมาโดยไม่กำหนดอะไรเลย ออกมาสู่ความเป็นซึ่งที่เคยเป็นมาตั้งแต่ก่อนที่ยังไม่เคยทำสมาธิ

แต่ถ้าจิตผ่านสมาธิแบบนี้บ่อยๆ เข้า เมื่อจิตถอนออกมาเกิดความคิด จะเกิดมีตัวสติตามรู้ความคิดขึ้นมาทันที จิตคิดอะไร สติก็จะจ้องตามรู้

ให้ผู้ภาวนารีบฉวยโอกาสในตอนนี้กำหนดจดจ่อความรู้ ความคิดของตนเองไปเรื่อยๆ จิตคิดอะไรขึ้นมาก็รู้ เพียงสักแต่ว่ารู้อย่างเดียว อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ หรืออย่าไปช่วยมันคิดเพิ่มเติม ปล่อยให้จิตคิดไปเองโดยธรรมชาติของมัน

หน้าที่ของผู้ปฏิบัตินี้มีแต่ตั้งใจตามรู้ความคิดนั้นไปเรื่อยๆ ในเมื่อตัวสติ ตัวที่ตามรู้ความคิด จิตเอาความคิดอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตเป็นเครื่องรู้ เป็นเครื่องระลึกของสติ สติสัมปชัญญะก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แล้วก็เพิ่มพลังขึ้นเป็นสติพละ จนสามารถเป็นสติวินโย สามารถกลายเป็นมหาสติ

เมื่อจิตกลายเป็นมหาสติขึ้นมาได้เมื่อไรสติวินโยจะเป็นผู้นำ คือเป็นผู้ตาม ตามรู้อารมณ์คือ ความคิด ซึ่งเกิดขึ้นกับจิต

เมื่อจิตมีสติตามรู้อารมณ์คือ ความคิดทันกันเมื่อไร เมื่อนั้นความคิดซึ่งเราเคยมีอยู่ก่อนนั้น มันก็จะกลายเป็นภูมิปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยลักษณะที่ว่า จิตตัวผู้รู้ ก็จะปรากฏรู้อยู่ส่วนหนึ่งต่างหาก และสิ่งที่ออกไปคิด ค้นคว้าในอารมณ์นั้น ก็จะมีอยู่ส่วนหนึ่งอีกต่างหาก

มองๆ ดูแล้วคล้ายกับว่า เราคนเดียวมีจิต 2 จิต มีใจ 2 ใจ แต่แท้ที่จริงมันก็เป็นใจเดียวกันนั้นแหละ แต่ใจหนึ่งจิตหนึ่งมันสงบนิ่งเป็นตัวผู้รู้ เพราะอาศัยพลังของสติ ประคับประคองเอาไว้ให้อยู่ในสภาพปกติ


แต่อีกอันหนึ่งนั้น กระแสแห่งผู้รู้มันออกไปรับรู้อารมณ์ ในเมื่อรู้ขึ้นมาแล้ว จิตมีสติ อาศัยสติเป็นพละ เป็นกำลัง จึงไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตัวเองปรุงขึ้นมา

ในเมื่อจิตปรุงความรู้ขึ้นมาโดยไม่มีความยึดถือ อาการของกิเลสมันก็ไม่มี มีแต่รู้เฉยอยู่ อะไรรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป รู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป

ในเมื่อจิตมันละเอียดลงไป สติอันนี้มันละเอียดลงไปรู้ทันมันอย่างละเอียดลงไป โดยไม่ขาดสาย สายสัมพันธ์แห่งสติมันเชื่อมโยงกันอยู่ตลอดเวลา ความรู้ความคิดที่เกิดขึ้นในจิตนั้น มันจึงกลายเป็นตัวปัญญา

ที่ว่ารู้ธรรมเห็นธรรม รู้แจ้งแทงตลอดในธรรม ในขั้น วิปัสสนากรรมฐาน นั้นก็หมายถึง รู้ทันความคิดที่เราเคยคิดอยู่แต่ก่อนที่ยังไม่ภาวนา หรือภาวนาไม่เป็น

เมื่อเราภาวนาเป็นแล้ว มีสติ มีสมาธิดี เรียกว่ามี พละ 5 พร้อมที่จิตมี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พร้อมมี ศีล สมาธิ ปัญญา รวมพร้อมกันเป็นหนึ่ง ตัวที่ปรากฏเด่นชัดให้เรามองเห็นก็คือความมีสติ ความรู้เท่าทันอารมณ์นั้นๆ


ทีนี้ความคิดที่เคยทำให้เราวุ่นวายเดือดร้อนอยู่นั้นแหละ มันจะกลายมาเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ เมื่อจิตกับสติประกอบพลังเป็นอันเดียวแล้ว รู้ทันเหตุการณ์นั้นๆ มันก็กลายเป็นตัวปัญญา เกิดมาเป็นตัววิปัสสนา มาด้วยประการฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(วิสุทธิปาละ : ขอหมายเหตุคำเทศน์ที่ผ่านมาตรงด้านบนและที่จะต่อตรงด้านล่างนี้ไว้สักหน่อยนะครับ ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากๆสำหรับการฝึกสติให้เป็นมหาสติตั้งแต่ในระดับโสดาปัตติมรรค สกทาคามีมรรค และอนาคามีมรรค .. มาศึกษาคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธในด้านล่างกันต่อครับ)

:b8: :b8: :b8:

ต่อไปนี้ขอให้ท่านทั้งหลายกำหนดจิต กำหนดรู้ลงที่จิต พยายามจดจ่อลงที่ตัวผู้รู้

หรือผู้ที่ยังภาวนาไม่เป็น ก็กำหนดบริกรรมภาวนาตามที่ตนเคยชำนิชำนาญมาแล้ว

ผู้ที่เคยมีสมาธิมาแล้วและทำสมาธิได้เร็ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปบริกรรมภาวนาอีก กำหนดรู้ลงที่จิตเท่านั้น จ้องรู้ลงที่จิตผู้รู้ คอยจดจ่อว่ามันจะมีอะไรเกิดขึ้นภายในจิต

ในเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นภายจิต จิตมันจะตามรู้ ในขั้นแรกเราจะกำหนดจดจ่อด้วยความตั้งใจ ให้มันตามรู้ แต่เมื่อมันรู้ทันกันจริงๆ แล้ว ต่อไปเราไม่ต้องไปกำหนดตามรู้ให้มันลำบาก จิตกับสติเป็นของคู่กัน และจะกำหนดตามรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตเองโดยอัตโนมัติ

ในตอนนี้เรียกว่า ปัญญาภูมิ ขั้นแห่งวิปัสสนาในภาคปฏิบัติ เกิดขึ้นเองในขั้นอัตโนมัติ คือมันเกิดเป็นความรู้ขั้นมานั่นเอง

แต่ความรู้ในขั้นนี้มันก็ยังเป็นภาคปฏิบัติ ในขั้นวิปัสสนา ยังไม่ใช่ตัววิปัสสนาอย่างแท้จริง ในเมื่อจิตกำหนดตามรู้สิ่งที่รู้เรื่อยไป เมื่อจิตรู้ซึ้งในสิ่งที่รู้นั้น บางทีมันอาจจะรู้ซึ้งลงไปว่า ความคิดอ่านทั้งหลายเหล่านี้ มันก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

พระอรหันต์เช่นอย่างท่าน พระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม เห็นว่าอย่างไร เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา ซึ่งเป็นธรรมชาติของความรู้แจ้งเห็นจริงภายในจิต ย่อมมีลักษณะอย่างนี้

ใครจะรู้ เห็นมากมายสักปานใดก็ตาม มันก็รวมไปสู่ความว่า ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนตํ นิโรธธมฺมนฺติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา

ความเห็นความรู้ในขั้นสุดยอด มันมีเพียงแค่นี้ ใครจะเทศน์อย่างไร อธิบายอย่างไร พิจารณาไปอย่างไร ในเมื่อจิตมันรู้แจ้งเห็นจริง มันก็มีแต่ ยงฺกิญจิ สมุทยธมฺมํ อย่างเดียวเท่านั้น เพราะความรู้อันนี้มันอยู่เหนือสมมติบัญญัติ อยู่เหนือโลก เป็นความรู้ขั้นโลกุตตรธรรม


:b8: :b8: :b8:

มาต่อคำเทศน์ขององค์หลวงพ่อพุธในคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร