วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2012, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณคุณวิสุทธิปาละครับ ที่ได้นำหลักวิธีรักษาใจของครูบาอาจารย์มาเน้นย้ำให้ได้ศึกษากัน

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขออนุญาตมาต่อในส่วนคำเทศน์ ขององค์หลวงปู่เทสก์ในช่วงสุดท้ายกันครับ :b8: :b46: :b44: :b39:


อุบายจับตัวใจ ท่านให้ใช้คำบริกรรม จะเป็นพุทโธ หรืออานาปานสติก็ได้ ล่อให้ใจมันมาอยู่ ตรงนั้นเท่านั้น

ถ้าใจไม่อยู่ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย บริกรรมให้จิตมันอยู่ในคำบริกรรมนั้น เพื่อจะจับมันให้ได้

บางคนถึงจะภาวนาพุทโธหรืออานาปานสติ ตัวจิตมันก็ไม่อยู่ในพุทโธ จิตมันไปไหนก็ไม่ทราบ แม้แต่พุทโธก็หายไปด้วยกัน นี่คือขาดสติแล้ว

จงตั้งสติคุมจิตให้อยู่ในพุทโธใหม่ ทำอย่างนี้อยู่ เรื่อยไป ทำบ่อยเข้าจิตก็อยู่เอง


เมื่อสติคุมจิตมาอยู่ในคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ อันเดียวแล้ว ให้พิจารณา ดูว่าใครเป็นผู้ว่าพุทโธ

ก็จิตนั่นแหละเป็นผู้ว่าพุทโธ เกิดจากอะไร ก็เกิดจากจิต ผู้คิด ผู้นึก ผู้รู้สึก จึงว่า จิตมันมาอยู่กับพุทโธแล้ว

คราวนี้ อย่าไปจับเอาพุทโธ จับเอาที่ความรู้สึกนั่นแหละ อันที่นึกคิดว่าพุทโธ พอจับจิตได้แล้ว คำบริกรรมว่าพุทโธก็จะหายไปหมด หรือถ้าไม่หายก็จงวางเสีย


จับเอาแต่ผู้รู้หรือ ธาตุรู้อันเดียว

เราจะไปดูแต่รูปนามเกิด ดับ อยู่ จิตจะไม่รวม เวลาจิตจะรวมแล้ว รูปนามหรือเกิดดับจะไม่มี ถ้ายังมีอยู่ จิตก็ไม่รวม

จิตมันอยู่ที่ ใจ มันเกิดขึ้นมา แล้วดับไป เกิดขึ้นมาดับไป มันอยู่เฉพาะใจอย่างเดียว จะไปเอาอะไรที่ปลายเท้า จิต ใจ มันอันเดียว

พอนึกว่าพุทโธเท่านั้น มันก็เข้ามาอยู่กับความนึก ความรู้สึกว่า พุทโธหรืออานาปานสติ มันเข้ามาอยู่ในที่นั้นเลย


จิตดูเหมือนมีมากดวง เพราะจิตมันเร็ว ที่สุด จนจับไม่ได้ทัน แต่ถ้าจับได้แล้ว จิตนี้มันช้า ไม่เร็วหรอก

พูดไปมันยากเหมือนกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตมันของไม่มีตัว ไม่มีตน มีแต่ความรู้สึก

ผู้รู้สึกมีอยู่ มันมีตัวมีตนตรงนั้นแหละ ความรู้สึกนี่เห็นชัดขึ้นมาก็ เลยกลายเป็นตัวขึ้นมาทีเดียว

ถ้าฝึกภาวนา นึกถึงพุทโธหรืออานาปานสติอยู่บ่อย ๆ นาน ๆ เข้าจิตจะ ค่อยเพลาลง อ่อนลงเย็นลง สงบเยือกเย็น มันจะเข้าถึงใจละคราวนี้

ความคิด ความนึก ความปรุง ความแต่ง สารพัดทุกอย่างเป็นจิต ผู้ที่นึกคำบริกรรมอยู่ก็เป็น จิต


ครั้นผู้นั้นไม่คิดไม่นึกเสียแล้ว มีแต่ความรู้สึกเฉยๆอยู่ เรียกว่า ใจ

จิตกับใจมันต่างกันอย่างนี้ บางคนก็เข้าใจ เอาจิตมาเป็นใจ ที่จริงท่านก็พูดเหมือนกันว่า จิตอันใด ใจอันนั้น ใจอันใด จิตอันนั้น แต่ทำไมจึงพูดสองคำ มันต้องมีแปลกกันน่ะซี มันมีที่แตกต่างกันอยู่เท่านี้แหละ

เหมือนเราทำน้ำแข็ง ก็น้ำธรรมดา ๆ นี่แหละ ถูกความเย็นเข้าจนแข็ง เขาก็เรียกว่าน้ำแข็ง มันก็น้ำอันเดียวกันนั่นแหละ


เหตุนั้นจึงว่า จับจิตตัวนั้นให้ได้เสียก่อน อย่าเพิ่งเอา ใจ เลย

คราวนี้จะใช้จิตพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าจับจิตได้แล้ว ก็ใช้จิตเลย อย่าให้จิตใช้เรา

ที่มันคิด มันนึก มันปรุงแต่ง ส่งส่ายไปมานั่น มันใช้เรา

เราใช้มันละคราวนี้ มันจะคิด นึก ปรุงแต่งก็ได้ แต่ให้อยู่ในขอบเขต หรือจะไม่ให้คิด นึก ปรุงแต่งก็ได้ หรืออยู่เฉย ๆ ก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่น พิจารณากาย ให้เห็นเป็นอสุภะปฏิกูล เป็นของเปื่อยเน่า เห็นความเกิด ความดับที่ตัวของเรา

คำว่า พิจารณากายในกาย ให้พิจารณากายของเราให้อยู่ในกายนี้แหละ พิจารณาให้มันดิ่งลงไป ไม่ออก จากกายนี้ เรียกว่า พิจารณากายในกาย

พิจารณาเวทนา พิจารณากายแล้วก็เป็นอันว่าพิจารณาเวทนาเหมือนกัน เวทนามันก็ออกจาก กายนั่นแหละ ถ้าไม่มีกายก็ไม่มีเวทนา สัตว์ที่ไปตกนรกนั้น กายไม่มีหรอก แต่กามาพจรภูมิยังถือกายอยู่

เพราะมันถือกายนี่แหละ มันจึงไปตกนรก ไปสวรรค์มันก็ถือกายนี้ มันไม่มีกายแล้ว มันไม่สุข ไม่ทุกข์หรอก


จิตมันถือว่า กายมี มันปรุงมันแต่งเอา มันยึดมันถือ มันจึงทนทุกข์ทรมาน พระพุทธเจ้า ท่านต้องการชำระกายนี้ ไม่ให้ไปยึดถือ จึงสอนให้พิจารณากายในกาย

จิตเมื่อพิจารณากายในกายแล้ว กายอันนี้จะหายไปหมดไม่ปรากฏเลย เหลือแต่จิตอันเดียว

พิจารณาเวทนาในเวทนา ก็เช่นเดียวกัน พิจารณาเฉพาะเวทนา ความสุข ความทุกข์ หรือเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ตัวนั้นแหละเวทนา

พิจารณาจิต ก็เอาจิตนั่นแหละมาพิจารณา พิจารณาจิตในจิต ก็เอาจิตนั่นแหละมาพิจารณาอีก


สรุปแล้ว พิจารณากายก็เอาจิตมาพิจารณา พิจารณาเวทนาก็เอาจิตมาพิจารณา พิจารณาจิตก็เอาจิต นั้นมาพิจารณาจิตอีก จิตตัวนั้นแหละเป็นธรรม เป็นอันว่าเราได้พิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่ครบบริบูรณ์แล้ว

พิจารณาอยู่นานหนักเข้า จิตมันรวมเข้าเป็นใจ คืออยู่เฉย ๆ ไม่คิด นึก ไม่ปรุงแต่ง ไม่ส่งส่าย สัญญา อารมณ์ไม่มีเลย ได้แก่อัปปนาสมาธินั้นเอง

คนเราอยู่หมู่มากด้วยกันย่อมมีเรื่องยุ่ง ถ้าไม่หัดจิตให้เข้าถึงอัปปนา พักผ่อนทำความสงบบ้าง จึงควรพากันฝึกหัดให้ได้ดั่งที่อธิบายมา อธิบายเท่านี้ละ

จับหลักปฏิบัติภาวนา พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_thes/lp-thes_14.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแทรกเนื้อความตอนนี้อีกนิด เพื่อให้ความกระจ่างหากไม่พูดไว้ ณ ที่นี้ ไปพูดไว้ที่อื่น ข้อความก็จะห่างไกลกันไป ผู้อ่านจะจับเอาเนื้อความยาก

คำว่า “…ตั้งสติตามรู้ตามเห็น…”

กับคำว่า “...รู้เท่ารู้ทัน...”

และคำว่า “…รู้แจ้งแทงตลอด…”


มันมีลักษณะและความหมายผิดกัน นี่พูดถึงเรื่องของจิต จิตเป็นสภาวธรรม ไม่มีตัวตน แต่แสดงออกมาเป็นอาการ ให้ผู้มีปัญญาญาณรู้ได้ว่า นี่จิต นี่อาการของจิต

สติเป็นอาการของจิตที่ตามรู้ตามเห็น คือ ตามรู้ตามเห็นอาการกิริยาของจิต แต่มิใช่เห็นตัวจิต

จิตแท้คือผู้รู้

ผู้ตามรู้ตามเห็นอาการของจิตไม่มีวันจะทันจิตได้เลย เหมือนบุคคลผู้ตามรอยโคที่หายไป ไม่เห็นตัวมันจึงตามรอยของมันไป

แต่โคเป็นวัตถุ ไม่เหมือนจิตซึ่งเป็นนามธรรม เอาจิตไปตามอาการของจิตมันก็ผิดวิสัย เมื่อไรจะเห็นตัวจิตสักที

คำว่า “รู้เท่าทัน” ก็บ่งชัดอยู่แล้วว่า ผู้รู้คือจิต รู้เท่าก็คือรู้เท่าที่จิตรู้นั้น ไม่เหลือไม่เกิน


เมื่อรู้เท่าอย่างนี้แล้วอาการของจิตไม่มี เมื่ออาการของจิตไม่มี รอยของจิตก็ไม่มี แล้วใครจะเป็นผู้ไปตามรอยของจิตอีกเล่า

รวมความแล้วสติระลึกอยู่ตรงไหน ใจผู้รู้ก็อยู่ตรงนั้น สติกับผู้รู้เท่ากันอยู่ ณ ที่เดียวกัน ทำงานร่วมกันขณะเดียวกัน

คำว่า “รู้แจ้งแทงตลอด” ก็หมายเอาความรู้ที่รู้ชัดรู้แจ้งของผู้รู้ ที่รู้ไม่เหลือไม่เกิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทงตลอดคือตลอดเบื้องต้นตั้งแต่เริ่มคิดเริ่มรู้จนตรวจตรอง รู้ชัดถ่องแท้ลงเป็นสภาวธรรม จิตไม่ส่งส่ายแส่หาอะไรอีกต่อไป เพราะความแจ้งแทงตลอดในเหตุผลนั้นๆ หมดสิ้นแล้ว

ถ้านักปฏิบัติเข้าใจตามข้อความที่แสดงมานี้แล้ว หวังว่าคงไม่หลงเอาผู้รู้ (คือจิต) ไปตามรอยของจิต


เมื่อเราทำจิตคือ ผู้รู้ให้นิ่งแนวอยู่กับสติแล้ว รอย (คืออาการของจิต) ก็ไม่มี

เมื่อจิตผู้รู้กับสติผู้ระลึกได้เข้ามาทำงานรวมอยู่ ณ ที่แห่งเดียวกันแล้ว การไปการมา การหลงแส่ส่ายแสวงหา ก็จะหมดสิ้นไป จะพบของจริงที่จิตสงบนิ่งอยู่ ณ ที่แห่งเดียว

เหมือนกับชาวนาผู้หาผ้าโพกศีรษะบนหัวของตนเอง เที่ยววนเวียนหารอบป่ารอบทุ่งจนเหน็ดเหนื่อยกลับมาบ้านนั่งพักผ่อนเพื่อเอาแรงยกมือขึ้นตบศีรษะ ผ้าโพกตกลงมาทันที เขาเลยหมดกังวลในการหาต่อไป

จิตตอนนี้มักทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อบรมภาวนากรรมฐานขั้นแรกๆ มิใช่น้อย บางคนจนล้มเลิกในการทำความเพียรเสียก็มีเพราะเห็นเป็นของยากสุดวิสัยที่จะทำได้


ถ้าผู้ที่เคยได้รับความสงบอันเกิดจากสมาธิแล้ว จะเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิตเป็นภัยเป็นข้าศึกแก่ความสงบของจิต แล้วจะทำการต่อสู้ด้วยความเพียรอันกล้าหาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรสุขอันแท้จริง

ความเพียรอันกล้าหาญนั้นเลยกลายเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของผู้เห็นภัยในความไม่สงบ

สามทัพธรรม พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
http://www.fungdham.com/download/book/article/tesk/060.pdf


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"รู้เท่ารู้ทัน" นั้นคือ จิตที่มันสงบอยู่ในอารมณ์อันเดียว มีสติประคองอยู่ คือ ระมัดระวังรักษาอยู่ ไม่ให้มันแวบออกไปจากนั้น

ขณะที่มันแวบออกไปจากหนึ่งเมื่อไหร่ อารมณ์หนึ่งเมื่อไหร่ เราก็รู้ว่ามันแวบ มันก็ไม่ทันไปถึงเรื่องอื่นเรื่องใด

เพียงแต่ว่ามันเตรียมตัว มันไหวตัวเรารู้เท่าทัน อันนี้เรียกว่า รู้เท่ารู้ทัน

วิธีที่จะรักษาจิตต้องรักษาตรงนี้ รักษาได้ ทำจิตต้องทำตรงนี้ ..

ส่วนจิตที่มันเป็นหนึ่งนั้น ถ้ามันอยู่ในอารมณ์อันหนึ่ง พอไหวตัววูบนั้นน่ะ มันก็รู้เลย รู้ว่าอันนั้นน่ะ อ๋อ อันนี้มันไหวตัว มันจะออก "รู้เท่ารู้ทัน" ทันทีนั่นเอง ..

แยบคายในการภาวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี นาที 13:50
http://archive.org/details/ajahn_thate_1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า จิตไม่นิ่ง ก็คือ มันไม่ผ่องใสนั่นเอง

แล้วมันก็บอกอยู่ชัดๆแล้ว เนื้อความว่า กิเลส คือ ความเศร้าหมองของจิต

จิตไม่นิ่งเพราะกิเลส มันก็เศร้าหมอง มันขุ่นมัว


หลับตาดูจิตของเราเดี๋ยวนี้ก็ได้ ถ้าจิตของเรายังฟุ้งซ่านส่งโน่นส่งนี่อยู่ เรียกว่า มันกระเพื่อมอยู่ มันมีเศร้าหมอง จะไปชำระ จะไปเห็นเรื่องของจิตนั้นเป็นไปไม่ได้

ครั้นจิตมันนิ่งแน่วลงไปแล้ว กิเลสอะไรก็ช่าง จะปรากฏขึ้นมาในที่นั่นเลย

ถึงแม้จิตจะแว้บลงไปนิดเดียวก็ตาม มันเห็นเลย

หรือขณะที่จิตนิ่งอยู่ เมื่อจิตวูบวาบออกไปนิดเดียวก็ตาม คือมันจะส่งออกไปหาอารมณ์อะไรที่เกิดขึ้น ย่อมเห็นในขณะที่จิตอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น อันนี้เรียกว่า ตามรู้จิต เห็นจิต

สมถะ วิปัสสนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์)
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B0-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B9%8C-302271.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะพูดถึงเรื่องใจ เรื่องจิต เรื่องสติ

อันเดียวกันนั่นแหละ แต่จะพูดเพื่อให้เข้าใจ

สติ คือ ระลึกได้ ระลึกเห็นอยู่เสมอ รู้อยู่เสมอว่าใจของเราเป็นอย่างไร

สติเป็นผู้ควบคุมจิต เราตั้งสติกำหนดจิต จิตคิดหยาบละเอียดอย่างไรก็รู้ทุกขณะ นั่นจึงเรียกว่า สติ

จิต คือ ผู้นึกคิดส่งส่าย ถ้าหากเราไปตามจิต ไม่รักษาสติมันก็ไม่มีที่สิ้นสุด คิดฟุ้งอยู่ตลอดวันยังค่ำคืนยันรุ่ง สติคุมไม่อยู่

ถ้าสติคุมจิตอยู่แล้ว มันจะรวมอยู่ในที่เดียว จะไปบ้างเล็กๆน้อยๆ มันก็ยังระลึกได้อยู่ เรียกว่าไปไม่ไกล


นานหนักเข้าจิตก็รวมลงไปนิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียวเรียกว่า เอกัคคตารมณ์ มันจะเกิดขึ้นที่นี่แหละ

เบื้องต้นเราพยายามตั้งสติควบคุมจิตไม่ให้นึกกว้างขวาง

แต่ว่าความพยายามที่จะให้จิตเป็นเอกัคคตารมณ์นั้น ไม่ได้พยายาม มันหากเกิดเองเป็นเองขึ้นในที่นั้น แล้วมันรวมเข้ามาเป็นหนึ่ง

สติ กับ จิต มารวมเข้าหากันเป็นหนึ่ง เลยกลายมาเป็น ใจ

ผู้ทำความเพียรภาวนาทั้งหลาย ถ้าไม่เห็นใจตัวเองแล้ว จะไม่มีการชำระกิเลสของตนได้

ความโลภ โกรธ หลง และนิวรณ์ทั้ง ๕ เกิดจากใจตัวเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจ คือ ผู้นิ่งเฉยๆ รู้อยู่ รู้ตัวเองอยู่

หากไม่คิดไม่นึกไม่ส่งส่าย นั่นคือตัวใจ

การที่รวมเข้ามาเป็นใจนี้ เห็นชัดด้วยตัวเอง


ถ้าหากจิตไม่ทันรวมก็ช่างมัน เอาไว้แค่นั้นเสียก่อน ตั้งสติคุมจิตอยู่ร่ำไป ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เห็นจิตอยู่อย่างนั้น เรียกว่า เห็นตัวเอง

การเห็นตัวเอง ยังมีหนทางที่จะแก้ไขอะไรทั้งปวง ทุกอย่างทุกเรื่อง มีหนทางที่จะแก้ไขตนเองได้ ถ้าไม่เห็นใจเสียแล้ว ไม่มีหนทางหรอก ใครจะทำอย่างไรๆก็ทำเถิด

ถ้าไม่เห็นใจตนเองแล้ว ไม่มีหนทางแก้ไขตนเอง และไม่เห็นกิเลสของตนด้วย ไม่ทราบว่าหยาบละเอียด ไม่ทราบว่าคิดดีคิดชั่ว ปรุงแต่งด้วยประการต่างๆก็ไม่เห็น ใจนั้นเป็นบ่อเกิดของกิเลสทั้งปวงหมด

ใจคือผู้รู้สึก รู้สึกตัวนิ่งเฉยอยู่ ไม่คิดไม่นึก นั้นคือ ใจ

ตัวใจนี้ ถ้าหากเราไปคิดไปปรุงแต่ง ก็เลยกลายเป็นจิต แม้ว่าจิตจะคิดจะนึกกว้างขวางสักเท่าไรก็ตาม ถ้าหากว่าตัวประธาน คือตัวผู้รู้สึก ผู้รู้ตัวเองนั้นไม่มีเสียแล้ว จิตก็จะไม่มี

สติ จิต ใจ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์)
http://www.fungdham.com/download/book/article/tesk/017.pdf

แล้วหาเวลามาต่อกันในคราวหน้าครับ :b46: :b39: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2012, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ภายหลังการเข้าสู่อริยะภูมิแล้ว นอกเหนือจากกิเลสส่วนหนึ่งได้ถูกทำลายโดยมรรคญาณ ฃึ่งจะทำให้ กระแสจิตเปลี่ยนแปลง นั่นคือ จิตจะมีความถี่สูงขึ้น ความถี่หรือสติที่สูงขึ้น จะส่งผลให้จิตใจผ่องใสกว่าก่อน กายและใจจะเบาอยู่เสมอ แต่สิ่งที่พึงระวังคือ พระอริยะเบื้องต้น ยังมีกิเลสเหลืออีกหลายตัว จึงจะประมาทมิได้ พระอริยะที่เป็นวิปัสสนายานิก ขณะถึงมรรคญาณก็เข้าถึงปฐมฌานขณะเดียวกัน แต่ภายหลังสมาธิลดลงไม่ถึงระดับฌาน พระอริยะประเภทนี้ จึงยังไม่สามรถเข้าผลสมาบัติได้ เพราะผลสมาบัติต้องมีฌานจิตเป็นบาท :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2012, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


พระโสดาบันบุคคลก็ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงสกทาคามี กล่าวคือ กิเลสที่ถูกทำลาย 3 ตัว คือ สักกายะทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส โดยเฉพาะ โลภ โกรธ หลง (อย่างหยาบ) จึงยังเหลือกิเลสอีกถึง 7 ตัว สำหรับโลภ โกรธ หลงอย่างกลางกับอย่างละเอียดที่เหลือนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของนิวรณ์ธรรม ดังนั้น พระโสดาบัน ยังต้องเผชิญกับนิวรณ์ธรรม จึงต้องใช้ระยะเวลาระยะหนึ่งในการกำหนดกรรมฐาน จึงจะสามารถผ่านนิวรณ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามยังสามารถผ่านได้ง่ายกว่าปุถุชน

การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่สกทาคามี คือการกำหนดรูปนามอย่างเดิม เพียงแต่รูปนามนั้นมีสภาวะละเอียดกว่าก่อน ต่อมาเมื่ออินทรีย์สมดุล (สมาธิพละ กับ ปัญญาพละ) จะมีการตัดกระแสโดยสกทาคามีมรรค ต่อด้วยผล (หมดความรู้สึกชั่วขณะ) เมื่อปัญจขเวกญาณปรากฎ เกิดความรู้สึกตัวหลังจากความดับของความรู้สึกแล้ว จิตจะอิสระจากแรงร้อยรัดทั้งปวง เหมือนกับปัญจขเวกญาณของ พระโสดาบัน แต่มีความต่างที่พระอริยะชั้นที่ 2 นี้ จะพบกับความเงียบอย่างยิ่ง จิตอิสระไร้การปรุงแต่ง และมีความเป็นหนึ่งสูง เนื่องจากโลภ โกรธ หลงอย่างกลางถูกทุติยะมรรคทำลายให้เบาบางลง เหลือกิเลสอย่างละเอียด จิตของพระสกทคามีจึงทรงสมาธิโดยธรรมชาติ ต่อจากนั้นฌานจิตจะพัฒนาจนสมบูรณ์อย่างไม่เนิ่นช้า (ฌาน 1 ถึง 4) ดังนั้นพระสกทาคามีจึงสามารถเข้าผลสมาบัติได้ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2012, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมใหญ่ที่แสดงความเป็นของชีวิตไว้ทั้งหมด มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมหลักธรรมปลีกย่อยในระดับต่างๆอย่างทั่วถึง เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการแห่งชีวิต หรือกระบวนธรรมเบ็ดเสร็จ

ถ้าเข้าใจหลักปฏิจจสมุปบาท ก็ชื่อว่าเข้าใจชีวิต หรือเข้าใจพระพุทธศาสนาทั้งหมด ดังพุทธพจน์ว่า
“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม”


อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักธรรมที่ลึกซึ้ง เข้าใจยากอย่างยิ่ง ดังพุทธพจน์ที่ว่า


"ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชา ผู้เริงรมย์ รื่นระเริงอยู่อาลัย ฐานะอันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ...นิพพาน"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2012, 06:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




b15.jpg
b15.jpg [ 48.46 KiB | เปิดดู 4919 ครั้ง ]
:b8:
สาธุกับคุณวิสุทธิปาละเป็นอย่างยิ่งที่คัดสรรเอาธรรมะภาคปฏิบัติอันละเอียดอ่อนลึกซึ้งมาแบ่งปันสู่กันฟัง
:b8:
อนุโมทนากับคุณสุทธิญาณ ที่สรุปความธรรมะภาคปฏิบัติมาดีมาก ......มีนิดหนึ่งเรื่องผลสมาบัติหรือพละสมาบัติ***กับนิโรธสมาบัติ***น่าจะต่างกันอยู่นิดหนึ่งนะครับ เรื่องของผลสมาบัตินั้น พระอริยเจ้าทุกชั้นท่านเข้าถึงผลของท่านได้แน่ๆอยู่แล้วแต่จะเสวยอารมณ์แห่งผลนั้นได้นานมากน้อยเพียงไรนั่นเป็นเรื่องของวิบากเก่าที่เรียกว่าบุญวาสนาบารมีของแต่ละท่าน ตัวอย่างเช่นพระโสดาบันบางท่านเสวยผลสมบัติของท่านได้เพียงแค่ชั่วแมลงปอโฉบวางไข่ในน้ำ แต่ถี่ๆหลายๆครั้งอย่างต่อเนื่อง พระโสดาบันที่เป็นเอกพีชีโสดาบัน ซึ่งเทียบเท่ากับพระอนาคามีเช่นกัน คือมีชาติที่จะต้องไปเวียนว่ายตายเกิดเหลือเพียงชาติเดียว ท่านสามารถจะเสวยผลสมาบัติได้นานกว่า โกลังโกละหรือสัตตคัตตุโสดาบัน ดังนี้เป็นต้น
:b27:
สำหรับที่ว่า[color=#000080]"ตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไปเท่านั้นจึงจะเสวยผลสมาบัติได้"[/color] จึงควรพูดใหม่ว่า
"ตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไปเท่านั้น ที่จะเสวยนิโรธสมาบัติได้" น่าจะดูน่าฟังกว่า.....ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระอนาคามีมีคุณสมบัติสำคัญอันหนึ่งว่าท่านทรงฌาณอยู่ได้เป็นปกติวิสัยอยู่เกือบตลอดเวลาเนื่องจากท่านทำลายนิวรณ์ 5 ได้เกือบดับสนิทแล้ว คงเหลือแต่ อุทธัจจะอย่างละเอียดคือฟุ้งในธรรมและฟุ้งด้วยรูปราคะอรูปราคะ กำลังฌาณของท่านจึงสามารถจะส่งให้เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธได้
:b20: :b20:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 19:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากผ่านมรรค ผล ถึงความเป็นพระโสดาบันแล้ว จิตจะมีความถี่สูงขึ้น อาจมีผู้สงสัยว่าสูงระดับใหน รู้ได้อย่างไร ดังนั้นปรากฏการณ์ภายหลังมรรคผล จึงเป็นปรากฏการณ์ที่รู้ได้เฉพาะตน และผู้ผ่านจะพบสภาวะในลักษณะอย่างเดียวกัน ผู้ผ่านย่อมสามารถสอบทานกันได้ ความถี่ของจิตที่สูงขึ้น แปลตรงตัวคือ ความสั่นสะเทือนที่สูงขึ้น ความถี่ของการเกิดดับจะมีความถี่สูงกว่า 1 วินาที ขณะหลับตาหากใช้ความรู้สึกมองที่เปลือกตาจะเหมือนกับมีการกระพริบตาถี่ ๆ ชึ่งความถี่ระดับนี้จึงเกิดแสงสว่างอย่างมากที่ไม่เคยพบมากกก่อนในขีวิต และคงอยู่นาน อาจถึง 2-7 วันชึ่งไม่อาจหลับลงได้ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร