วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 05:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Quote Tipitaka:
[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.


อธิบายความ

แม้จักขุวิญญาณ ก็เป็นจิต .............. มักพูดกันว่า จิตเห็น
แม้โสตวิญญาณ ก็เป็นจิต .............. มักพูดกันว่า จิตได้ยิน
แม้ฆานวิญญาณ ก็เป็นจิต ..............มักพูดกันว่า จิตได้กลิ่น
แม้ชิวหาวิญญาณ ก็เป็นจิต .............มักพูดกันว่า จิตลิ้มรส
แม้กายวิญญาณ ก็เป็นจิต ............... มักพูดกันว่า จิตกระทบสัมผัส
แม้มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ ก็เป็นจิต มักพูดกันว่า จิตคิดนึก

รวมกล่าวได้ว่า วิญญาณทั้งหมด หรือวิญญาณขันธ์ (กองแห่งวิญญาณ) ก็คือ จิต

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 07:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
เคยอ่านเจอของท่านพ่อลีครับ

โค้ด:
ต่อไปนี้จะย้อนกล่าวในเรื่องจิตอีกสักหน่อย คำที่ว่าจิตๆ นั้นแยกออกโดยอาการ ๓ อย่างคือ

๑. สภาพจิตเดิม
๒. จิต
๓. จิตประสมด้วยอารมณ์

อาการทั้งหลายเหล่านี้รวมเรียกว่าจิต ถ้าใครไม่รู้เช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้รู้จิตได้ มีแต่จะพูดกันว่าจิตเกิดจิตดับ จิตไม่เกิดไม่ดับ จิตดี จิตชั่ว จิตสูญ จิตไม่สูญ จิตเป็นธรรม จิตไม่ใช่ธรรม จิตพ้น จิตไม่พ้น จิตเป็นนิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน จิตเป็นวิญญาณ จิตไม่ใช่วิญญาณ จิตเป็นใจ ใจไม่ใช่จิต

ตามพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แนวทางปฏิบัติมีอยู่สองทางเท่านั้น คือ กายวาจาใจนี้หนึ่ง กายวาจาจิตนี้หนึ่ง สองจุดนี้ในที่สุดก็ไปรวมจุดเดียวกัน จุดที่ประสงค์แท้จริงนั้นก็คือความหลุดพ้น

ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายต้องการทราบความจริงนั้นๆ จำเป็นอยู่ที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงด้วยตนเอง มิฉะนั้น ก็จะต้องทุ่มเถียงกันอยู่ไม่เว้นวาย ปัญหาอันนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า “เสทโมจนคาถา” แปลว่าคำพูดที่เหงื่อไหลขี้ไคลแตก ฉะนั้น จึงมีความประสงค์จะอธิบายสักหน่อยว่า

สภาพจิตนั้นเป็นสภาพที่รู้อยู่อย่างเดียวนี้หนึ่ง

กระแสที่คิดแล่นออกมาจากรู้ไปสู่อารมณ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า จิตนี้หนึ่ง

เมื่อเข้าไปสัมปยุตกับอารมณ์แล้วหลงอารมณ์นั้นๆ กลายตัวเป็นกิเลส เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเรียกว่าจิตผสมนี้หนึ่ง

๑. จิต ๒. จิตผสม จิตสองดวงนี้ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ต้องเกิด ต้องดับ ต้องทำลายอยู่เป็นธรรมดา ต้นของจิตทั้งสองนี้เป็นสภาพจิตเดิม ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นฐิติธรรมประจำอยู่ด้วยอาการเช่นนั้น สภาพจิตเดิมนั้นที่เรียกว่าปภัสสร ผู้แต่งหมายเอาสภาพจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เป็นอยู่ตามธรรมดานี้เอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้าไปล่วงรู้ เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ให้ผลดี ตัวอย่างเช่น พูดกันว่าลิงได้แก้ว ฉะนั้นจึงสมควรแท้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ความรู้มืด ความรู้ไม่จริง สมกับว่า “ปพฺพนฺเต อญาณํ” แปลว่า ไม่รู้เบื้องต้น ได้แก่ ไม่รู้ในสภาพจิตเดิม “ปรนฺเต อญาณํ” แปลว่าไม่รู้เบื้องปลาย คือ ไม่รู้จิตที่ผสมกับอารมณ์แล้ว “มชฺฌนฺติก อญาณํ” แปลว่าไม่รู้ในท่ามกลาง คือ ไม่รู้จักกระแสจิตที่แล่นออกจากสภาพที่รู้เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็กลายเป็นสังขาร ย่อมปรุงแต่งเสกสรรค์ฟั่นเฟือนไปด้วยประการต่างๆ ดังมีอธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยประการฉะนี้


จาก viewtopic.php?f=2&t=38465

:b8: :b8: :b8: สาธุ ขอโมทนาขอรับ :b8: :b8: :b8:
วิริยะ เขียน:
จิต วิญญาณ อันเดียวกันแหละ
ที่เรียกต่างกัน เพราะทำหน้าที่ต่างกัน

เหมือนคนเรา มีแขน ขา ตา หู จมูก ฯลฯ
รวมกันเข้า เราก็เรียกว่า คน ..

:b12:

:b8: สั้นดีครับ :b4:


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ธงชาติ เขียน:
คนธรรมดาๆ เขียน:
เคยอ่านเจอของท่านพ่อลีครับ

โค้ด:
ต่อไปนี้จะย้อนกล่าวในเรื่องจิตอีกสักหน่อย คำที่ว่าจิตๆ นั้นแยกออกโดยอาการ ๓ อย่างคือ

๑. สภาพจิตเดิม
๒. จิต
๓. จิตประสมด้วยอารมณ์

อาการทั้งหลายเหล่านี้รวมเรียกว่าจิต ถ้าใครไม่รู้เช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้รู้จิตได้ มีแต่จะพูดกันว่าจิตเกิดจิตดับ จิตไม่เกิดไม่ดับ จิตดี จิตชั่ว จิตสูญ จิตไม่สูญ จิตเป็นธรรม จิตไม่ใช่ธรรม จิตพ้น จิตไม่พ้น จิตเป็นนิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน จิตเป็นวิญญาณ จิตไม่ใช่วิญญาณ จิตเป็นใจ ใจไม่ใช่จิต

ตามพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แนวทางปฏิบัติมีอยู่สองทางเท่านั้น คือ กายวาจาใจนี้หนึ่ง กายวาจาจิตนี้หนึ่ง สองจุดนี้ในที่สุดก็ไปรวมจุดเดียวกัน จุดที่ประสงค์แท้จริงนั้นก็คือความหลุดพ้น

ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายต้องการทราบความจริงนั้นๆ จำเป็นอยู่ที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงด้วยตนเอง มิฉะนั้น ก็จะต้องทุ่มเถียงกันอยู่ไม่เว้นวาย ปัญหาอันนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า “เสทโมจนคาถา” แปลว่าคำพูดที่เหงื่อไหลขี้ไคลแตก ฉะนั้น จึงมีความประสงค์จะอธิบายสักหน่อยว่า

สภาพจิตนั้นเป็นสภาพที่รู้อยู่อย่างเดียวนี้หนึ่ง

กระแสที่คิดแล่นออกมาจากรู้ไปสู่อารมณ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า จิตนี้หนึ่ง

เมื่อเข้าไปสัมปยุตกับอารมณ์แล้วหลงอารมณ์นั้นๆ กลายตัวเป็นกิเลส เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเรียกว่าจิตผสมนี้หนึ่ง

๑. จิต ๒. จิตผสม จิตสองดวงนี้ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ต้องเกิด ต้องดับ ต้องทำลายอยู่เป็นธรรมดา ต้นของจิตทั้งสองนี้เป็นสภาพจิตเดิม ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นฐิติธรรมประจำอยู่ด้วยอาการเช่นนั้น สภาพจิตเดิมนั้นที่เรียกว่าปภัสสร ผู้แต่งหมายเอาสภาพจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เป็นอยู่ตามธรรมดานี้เอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้าไปล่วงรู้ เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ให้ผลดี ตัวอย่างเช่น พูดกันว่าลิงได้แก้ว ฉะนั้นจึงสมควรแท้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ความรู้มืด ความรู้ไม่จริง สมกับว่า “ปพฺพนฺเต อญาณํ” แปลว่า ไม่รู้เบื้องต้น ได้แก่ ไม่รู้ในสภาพจิตเดิม “ปรนฺเต อญาณํ” แปลว่าไม่รู้เบื้องปลาย คือ ไม่รู้จิตที่ผสมกับอารมณ์แล้ว “มชฺฌนฺติก อญาณํ” แปลว่าไม่รู้ในท่ามกลาง คือ ไม่รู้จักกระแสจิตที่แล่นออกจากสภาพที่รู้เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็กลายเป็นสังขาร ย่อมปรุงแต่งเสกสรรค์ฟั่นเฟือนไปด้วยประการต่างๆ ดังมีอธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยประการฉะนี้


จาก viewtopic.php?f=2&t=38465

:b8: :b8: :b8: สาธุ ขอโมทนาขอรับ :b8: :b8: :b8:
วิริยะ เขียน:
จิต วิญญาณ อันเดียวกันแหละ
ที่เรียกต่างกัน เพราะทำหน้าที่ต่างกัน

เหมือนคนเรา มีแขน ขา ตา หู จมูก ฯลฯ
รวมกันเข้า เราก็เรียกว่า คน ..

:b12:

:b8: สั้นดีครับ :b4:


:b8: หลวงพ่อลีท่านกล่าวตามที่ท่านเห็น

น่าจะเป็นท่านพ่อลี วัดอโศการาม เน๊อะ

โดยมากผู้ที่นำแนวทางปฏิบัติมาจากายพระป่า
จะมีความเห็นที่ลงกันได้

:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ลงตัวเลยครับท่าน กับพระพุทธพจน์นี้ ทำให้มันใจขึ้นกับการที่ได้วิปัสสนามาว่า ............
ผมขอสรุปแบบคนโง่ๆ สักนิดนะครับ

สมมุติ นะครับ ว่า ที่พระพุทธองค์ ตรัส คือ วิญญาณ เป็นสิ่งเดียวกับ จิต เพียงแต่คนละกิริยา ของมันเท่านั้น วิญญาณ=รับรู้ จิต=นึกรู้ จากนั้น มาดูที่ว่า จิตเห็นจิต หรือ จิตในจิต ดูนะครับว่ามันคืออะไร
เมื่อวิญญาณรับผัสสะมา วิญญาณกลายเป็นหรือถูกเรียกว่า จิต(นึกรู้)(ที่มีอวิชชา) ทำงานร่วม เจตสิก กลายเป็น กระแส ปฏิจจสมุปบาท จนเกิดทุกข์
ทุกข์เกิด จาก เจตสิก ทำงาน ที่ทำงานร่วมกับ จิต ทุกข์จึง มาเป็นที่จิต
แล้วมาดูว่าทำไมจึง ว่า จิตเห็นจิต หรือ จิตในจิต นะครับ
ในแง่ปัจจุบันขณะ และ ข้ามภพชาติ
จิตเห็นจิต(วิญญาณที่รับผัสสะมา) นำธรรมมาพิจารณาลงตัดกระแส ปฏิจจสมุปบาท ทุกข์ไม่ทันเกิด และพิจารณา ในความเป็นอนัตตาของจิตนั้นที่ เดี่ยวเกิดเดียวดับได้ด้วย(ลงสติปัฏฐานจิต) หรือหากตัดไม่ทันเกิดทุกข์ ก็จะพิจารณา ให้เห็นว่า จิตหรือ วิญญาณ นั้นแหละ คือตัวทุกข์ สู่การละจางคลายยึดมั่น ใน ขันธ์
ในแง่ กาย เวทนา และ ธรรมก็เช่นเดียวกัน ครับ
จะเห็นว่า หากเพียร จิตเห็นจิต จะเป็นการเดินมรรค อย่างยิ่ง ทำได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ต้องเริ่มจาก สติ ก่อน
นั้นแล
คงจะเห็นแล้วนะครับว่า ทำไม พระองค์จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้น
แล้วแต่จะพิจารณา ครับ
ขอบคุณครับ


ก็เป็นความเข้าใจของแต่ละคนนะครับ ซึ่งก็ต้องเพียรศึกษา เรียนรู้ความจริงกันต่อไป

ผมขอพูดในแง่นี้แล้วกัน จิตนั้นเมื่อรู้อารมณ์แล้วก็ดับไป เช่น รู้รูปแล้วก็ดับไป รู้เวทนาแล้วก็ดับไป รู้สัญญาแล้วดับไป รู้ได้ทั่วไปหมด ธรรมทั้งปวงนี่จิตรู้ได้หมด

ซึ่งท่านก็จำแนก เป็นจักขุวิญญาณบ้าง โสตวิญญาณบ้าง ฆานวิญญาณบ้าง ชิวหาวิญญาณบ้าง กายวิญญาณบ้าง มโนธาตุบ้าง มโนวิญญาณธาตุบ้าง

ผมเห็นว่าสิ่งที่ควรกำหนดรู้ก็คือจิตในขณะนี้ ว่าจิตขณะนี้หลุดพ้นหรือยัง หรือไม่หลุดพ้นเราก็กำหนดรู้ได้ครับ หรือจิตขณะนี้เป็นอย่างไร มีราคะ มีโทสะ หดหู่หรือเปล่า เราก็รู้ได้
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ไม่สงสัยอะไรเพราะธรรมะนั้นเป็นอยู่มีอยู่ ควรรู้ยิ่งครับ


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 15:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ฝึกจิต เขียน:
ลงตัวเลยครับท่าน กับพระพุทธพจน์นี้ ทำให้มันใจขึ้นกับการที่ได้วิปัสสนามาว่า ............
ผมขอสรุปแบบคนโง่ๆ สักนิดนะครับ

สมมุติ นะครับ ว่า ที่พระพุทธองค์ ตรัส คือ วิญญาณ เป็นสิ่งเดียวกับ จิต เพียงแต่คนละกิริยา ของมันเท่านั้น วิญญาณ=รับรู้ จิต=นึกรู้ จากนั้น มาดูที่ว่า จิตเห็นจิต หรือ จิตในจิต ดูนะครับว่ามันคืออะไร
เมื่อวิญญาณรับผัสสะมา วิญญาณกลายเป็นหรือถูกเรียกว่า จิต(นึกรู้)(ที่มีอวิชชา) ทำงานร่วม เจตสิก กลายเป็น กระแส ปฏิจจสมุปบาท จนเกิดทุกข์
ทุกข์เกิด จาก เจตสิก ทำงาน ที่ทำงานร่วมกับ จิต ทุกข์จึง มาเป็นที่จิต
แล้วมาดูว่าทำไมจึง ว่า จิตเห็นจิต หรือ จิตในจิต นะครับ
ในแง่ปัจจุบันขณะ และ ข้ามภพชาติ
จิตเห็นจิต(วิญญาณที่รับผัสสะมา) นำธรรมมาพิจารณาลงตัดกระแส ปฏิจจสมุปบาท ทุกข์ไม่ทันเกิด และพิจารณา ในความเป็นอนัตตาของจิตนั้นที่ เดี่ยวเกิดเดียวดับได้ด้วย(ลงสติปัฏฐานจิต) หรือหากตัดไม่ทันเกิดทุกข์ ก็จะพิจารณา ให้เห็นว่า จิตหรือ วิญญาณ นั้นแหละ คือตัวทุกข์ สู่การละจางคลายยึดมั่น ใน ขันธ์
ในแง่ กาย เวทนา และ ธรรมก็เช่นเดียวกัน ครับ
จะเห็นว่า หากเพียร จิตเห็นจิต จะเป็นการเดินมรรค อย่างยิ่ง ทำได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ต้องเริ่มจาก สติ ก่อน
นั้นแล
คงจะเห็นแล้วนะครับว่า ทำไม พระองค์จึงเรียกว่า จิตหลุดพ้น
แล้วแต่จะพิจารณา ครับ
ขอบคุณครับ


ก็เป็นความเข้าใจของแต่ละคนนะครับ ซึ่งก็ต้องเพียรศึกษา เรียนรู้ความจริงกันต่อไป

ผมขอพูดในแง่นี้แล้วกัน จิตนั้นเมื่อรู้อารมณ์แล้วก็ดับไป เช่น รู้รูปแล้วก็ดับไป รู้เวทนาแล้วก็ดับไป รู้สัญญาแล้วดับไป รู้ได้ทั่วไปหมด ธรรมทั้งปวงนี่จิตรู้ได้หมด

ซึ่งท่านก็จำแนก เป็นจักขุวิญญาณบ้าง โสตวิญญาณบ้าง ฆานวิญญาณบ้าง ชิวหาวิญญาณบ้าง กายวิญญาณบ้าง มโนธาตุบ้าง มโนวิญญาณธาตุบ้าง

ผมเห็นว่าสิ่งที่ควรกำหนดรู้ก็คือจิตในขณะนี้ ว่าจิตขณะนี้หลุดพ้นหรือยัง หรือไม่หลุดพ้นเราก็กำหนดรู้ได้ครับ หรือจิตขณะนี้เป็นอย่างไร มีราคะ มีโทสะ หดหู่หรือเปล่า เราก็รู้ได้
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ไม่สงสัยอะไรเพราะธรรมะนั้นเป็นอยู่มีอยู่ ควรรู้ยิ่งครับ


:b8:


โพสต์ เมื่อ: 26 พ.ค. 2012, 07:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b12:
วิญญาณ=รับรู้ จิต=นึกรู้
:b8:
วิญญาณ = รับรู้ ...... จิต = รู้ ไม่มี "นึก"ครับ
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 27 พ.ค. 2012, 07:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 26 พ.ค. 2012, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณ คือจิตที่ทำหน้าที่เป็น ตัวรู้

การนึกรู้ คือกิริยาของจิตที่ทำหน้าที่เป็น สติ สัมปชัญญะ

cool


โพสต์ เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 20:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


พบคำบรรยายของท่านพุทธทาสเกี่ยวกับจิตที่สั้นๆแต่ได้ใจความดังนี้

“ ขอให้จำให้ดีว่า ถ้าจิตมันทำหน้าที่นึก ก็เรียกมันว่าจิต ถ้าจิตมันทำหน้าที่รู้สึก ก็เรียกมันว่ามโน ถ้าจิตมันทำหน้าที่รู้แจ้งทางอายตนะ ก็เรียกมันว่าวิญญาณ จำคำว่าจิต คำว่ามโน คำว่าวิญญาณไว้ในลักษณะที่ต่างกันอย่างนี้"
:b8:


โพสต์ เมื่อ: 27 พ.ค. 2012, 21:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
พบคำบรรยายของท่านพุทธทาสเกี่ยวกับจิตที่สั้นๆแต่ได้ใจความดังนี้

“ ขอให้จำให้ดีว่า ถ้าจิตมันทำหน้าที่นึก ก็เรียกมันว่าจิต ถ้าจิตมันทำหน้าที่รู้สึก ก็เรียกมันว่ามโน ถ้าจิตมันทำหน้าที่รู้แจ้งทางอายตนะ ก็เรียกมันว่าวิญญาณ จำคำว่าจิต คำว่ามโน คำว่าวิญญาณไว้ในลักษณะที่ต่างกันอย่างนี้"
:b8:

สวัสดีครับพี่ฝึกจิต :b8:
ขออนุโมทนาด้วยครับ และขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งบันครับ
ขอบคุณครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร