วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 02:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 387 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 26  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 17:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ใช้ตอบข้อสอบแล้วละก้อ. :..คงไม่ผิด

:b8: :b8:


มันมีข้อสอบด้วยหรือท่าน s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 20:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ทางไปของสัตว์โลก_resize_resize.jpg
ทางไปของสัตว์โลก_resize_resize.jpg [ 38.02 KiB | เปิดดู 3601 ครั้ง ]
:b16:
ฝึกจิต.........
อีกนิดนะครับท่าน[color=#FF0000]ไม่ได้อวดเก่งหรืออวดภูมิแข่งกับท่าน[/color]นะครับ เพราะผม่เริ่มได้แค่ต้นปีเอง ยังไม่ถึงไหนแน่ๆ แต่ที่ท่านว่า ถ้าสังโยชน์ตัวนี้ดับขาด วิจิกิจฉาสังโยชน์ตัวที่ 2 จะดับตามโดยอัตโนมัติ ส่วน สีลัพพตปรามาสนั้นเป็นผลพลอยได้จากการที่วิจิกิจฉาดับขาด
แต่ตามสัญญาที่ผมมีนั้น มันไม่ใช่ครับ หากสักกายทิฏฐฺินี้ดับขาด สังโยชน์ที่เหลือมันดับหมดแล้ว ก็เป็นพระอรหันต์แล้วละครับ ลองฟังดูใหม่นะครับ จากท่านพุทธทาส(ลักษณะของโสดาบัน) หรือ หลวงพ่อฤษีลิ่งดำ ก็ได้ เพราะโสดาบัน นั้น ลดได้แค่ระดับนึ่งเท่านั้น (แต่ระวังติดสมมุติ)
และที่ว่าตัวกูของกูดับแล้วนั้น อะไรมาแทน ก็ไม่ใช่อนัตตา นะครับ ลองฟังที่สิ่งใดที่มาแทนที่ "ตัวกูของกู"ของท่านพุทธทาส อีกสักครั้งนะครับ"
s004
การสนทนาธรรมกันในลานธรรมได้โปรดอย่าถือว่าเป็นการอวดเก่งหรืออวดภูมิกันเลยนะครับ แต่เป็นเมตตา มิตรไมตรีที่กัลยาณมิตรมีต่อกันเพื่อสร้างสรรสังคมชาวพุทธให้อบอุ่น และอบอวลด้วยกลิ่นหอมแห่งธรรม
:b20:
สัญญาที่คุณฝึกจิตรับไว้เรื่องคุณสมบัติของพระโสดาบันคงจะคลาดเคลื่อนกระมังครับจึงเข้าใจว่าถ้า
สักกายทิฏฐิดับขาดแล้วสังโยชน์ที่เหลือจะดับหมด
มาทบทวนกันแบบย่อๆอีกสักครั้งดีไหมครับโดยเอาสังโยชน์ทั้ง 10 เป็นหลัก
:b43:
โสดาบันบุคคล ละสังโยชน์ได้ 3 คือ
สักกายทิฏฐิ.......วิจิกิจฉา.......สีลัพพตปรามาส
:b46:
สกิทาคามีบุคคล ทำกามราคะ ปฏิฆะให้เบาบางลงไปอีก
:b39:
อนาคามีบุคคล ละสังโยชน์ได้อีก 2 คือ
กามราคะและปฏิฆะ
:b45:
อรหันตบุคคล ละสังโยชน์ที่เหลืออีก 5 คือ
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
:b53:
ส่วนถ้าจะเอาเรื่อง อัตตา มาเป็นหลักนั้น คุณฝึกจิตต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนว่า
อัตตทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตนนั้น มี 2 ชั้น

:b42:
ชั้นแรกเรียกว่า "สักกายทิฏฐิ" คือความ เห็นผิด ว่า กาย ใจ นี้เป็น อัตตา ตัวกู ของกู
สักกายทิฐินี้จะดับขาดด้วยโสดาปัตติมรรค
:b48:
ชั้นที่ 2 เรียกว่า "มานะทิฏฐิ" คือความ ยึดผิด ได้แก่ความยึดกาย ซึ่งจะตายขาดด้วยอนาคามีมรรค
และความยึดจิต ซึ่งจะตายขาดด้วย อรหัตมรรค
:b11:
เรื่องการทำลายอัตตทิฏฐินี้ อาจไม่ค่อยมีอธิบายในตำรา แต่เป็นเรื่องที่ครูบาอาจารย์ท่านนำมาแนะนำเพิ่มเติมครับ
:b16:
สุดท้ายที่คุณฝึกจิตบอกว่า "ผมเริ่มได้แค่ต้นปีเอง ยังไม่ถึงไหนแน่ๆ " แต่ผมมาดูๆแล้วคุณฝึกจิตก็มาได้ไกลพอสมควร แต่ด้วยความใหม่ ประสบการณ์ยังไม่มาก ชั่วโมงบินยังน้อย ก็ค่อยๆเพียรเจริญ สติปัญญาไป ไม่ช้าก็เก่งเองรู้เอง สำคัญต้องหาและเข้าใกล้กัลยาณมิตรที่รู้จริงถึงจริงให้มากๆเข้าไว้ เพราะไม่เช่นนั้นถ้าพรรษาเยอะขึ้น อาจจะเกิดความติดแน่นในวิธีการหนึ่งวิธีการใด แล้วอาจทำให้เนิ่นช้าได้ครับ
:b8:
เจริญธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 20:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ว่า...จะเห็นผิด...หรือ...จะยึดผิด

มันก็คำพูด....

อาการมัน....ก็ยึดเหมือนกันนั้นแหละ....

ใจรู้เห็นว่ายึดอะไร....ก็ปล่อยได้เท่าที่ใจรู้...รู้น้อยก็ปล่อยได้น้อย...รู้ลึกรู้ละเอียด..ก็ปล่อยได้มาก

รู้....นะ...ไม่ใช่จำมา

ยังไม่รู้ว่ายึดอะไร....แล้วจะปล่อยอะไรถูก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 21:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b16:
ฝึกจิต.........
อีกนิดนะครับท่าน[color=#FF0000]ไม่ได้อวดเก่งหรืออวดภูมิแข่งกับท่าน[/color]นะครับ เพราะผม่เริ่มได้แค่ต้นปีเอง ยังไม่ถึงไหนแน่ๆ แต่ที่ท่านว่า ถ้าสังโยชน์ตัวนี้ดับขาด วิจิกิจฉาสังโยชน์ตัวที่ 2 จะดับตามโดยอัตโนมัติ ส่วน สีลัพพตปรามาสนั้นเป็นผลพลอยได้จากการที่วิจิกิจฉาดับขาด
แต่ตามสัญญาที่ผมมีนั้น มันไม่ใช่ครับ หากสักกายทิฏฐฺินี้ดับขาด สังโยชน์ที่เหลือมันดับหมดแล้ว ก็เป็นพระอรหันต์แล้วละครับ ลองฟังดูใหม่นะครับ จากท่านพุทธทาส(ลักษณะของโสดาบัน) หรือ หลวงพ่อฤษีลิ่งดำ ก็ได้ เพราะโสดาบัน นั้น ลดได้แค่ระดับนึ่งเท่านั้น (แต่ระวังติดสมมุติ)
และที่ว่าตัวกูของกูดับแล้วนั้น อะไรมาแทน ก็ไม่ใช่อนัตตา นะครับ ลองฟังที่สิ่งใดที่มาแทนที่ "ตัวกูของกู"ของท่านพุทธทาส อีกสักครั้งนะครับ"
s004
การสนทนาธรรมกันในลานธรรมได้โปรดอย่าถือว่าเป็นการอวดเก่งหรืออวดภูมิกันเลยนะครับ แต่เป็นเมตตา มิตรไมตรีที่กัลยาณมิตรมีต่อกันเพื่อสร้างสรรสังคมชาวพุทธให้อบอุ่น และอบอวลด้วยกลิ่นหอมแห่งธรรม
:b20:
สัญญาที่คุณฝึกจิตรับไว้เรื่องคุณสมบัติของพระโสดาบันคงจะคลาดเคลื่อนกระมังครับจึงเข้าใจว่าถ้า
สักกายทิฏฐิดับขาดแล้วสังโยชน์ที่เหลือจะดับหมด
มาทบทวนกันแบบย่อๆอีกสักครั้งดีไหมครับโดยเอาสังโยชน์ทั้ง 10 เป็นหลัก
:b43:
โสดาบันบุคคล ละสังโยชน์ได้ 3 คือ
สักกายทิฏฐิ.......วิจิกิจฉา.......สีลัพพตปรามาส
:b46:
สกิทาคามีบุคคล ทำกามราคะ ปฏิฆะให้เบาบางลงไปอีก
:b39:
อนาคามีบุคคล ละสังโยชน์ได้อีก 2 คือ
กามราคะและปฏิฆะ
:b45:
อรหันตบุคคล ละสังโยชน์ที่เหลืออีก 5 คือ
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
:b53:
ส่วนถ้าจะเอาเรื่อง อัตตา มาเป็นหลักนั้น คุณฝึกจิตต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนว่า
อัตตทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตนนั้น มี 2 ชั้น

:b42:
ชั้นแรกเรียกว่า "สักกายทิฏฐิ" คือความ เห็นผิด ว่า กาย ใจ นี้เป็น อัตตา ตัวกู ของกู
สักกายทิฐินี้จะดับขาดด้วยโสดาปัตติมรรค
:b48:
ชั้นที่ 2 เรียกว่า "มานะทิฏฐิ" คือความ ยึดผิด ได้แก่ความยึดกาย ซึ่งจะตายขาดด้วยอนาคามีมรรค
และความยึดจิต ซึ่งจะตายขาดด้วย อรหัตมรรค
:b11:
เรื่องการทำลายอัตตทิฏฐินี้ อาจไม่ค่อยมีอธิบายในตำรา แต่เป็นเรื่องที่ครูบาอาจารย์ท่านนำมาแนะนำเพิ่มเติมครับ
:b16:
สุดท้ายที่คุณฝึกจิตบอกว่า "ผมเริ่มได้แค่ต้นปีเอง ยังไม่ถึงไหนแน่ๆ " แต่ผมมาดูๆแล้วคุณฝึกจิตก็มาได้ไกลพอสมควร แต่ด้วยความใหม่ ประสบการณ์ยังไม่มาก ชั่วโมงบินยังน้อย ก็ค่อยๆเพียรเจริญ สติปัญญาไป ไม่ช้าก็เก่งเองรู้เอง สำคัญต้องหาและเข้าใกล้กัลยาณมิตรที่รู้จริงถึงจริงให้มากๆเข้าไว้ เพราะไม่เช่นนั้นถ้าพรรษาเยอะขึ้น อาจจะเกิดความติดแน่นในวิธีการหนึ่งวิธีการใด แล้วอาจทำให้เนิ่นช้าได้ครับ
:b8:
เจริญธรรมครับ

อย่างนี้ครับท่าน คื่อผมฟังท่านอาจารย์พุทธทาส มา ตามที่ผมกล่าว มันเป็นอย่างนั้นครับ ส่วนของหลวงพ่อฤษีลิงดำ ก็มีว่า
คำว่า พระโสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสพระนิพพาน
ฉะนั้นพระโสดาบันก็ยังตัดอะไรไม่ได้หมด เป็นแต่เพียงว่ามีอารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้น แต่เพียงอย่างอยาบเท่านั้น อารมณ์ชนะสังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นก็คือ 1. สักกายทิฏฐิ ที่มีความรู้สึกว่าสภาพร่างกายหรือว่าขันธ์ 5 เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 มีในเรา เฉพาะอย่างยิ่งในด้านสักกายทิฏฐินี้ พระโสดาบันลดลงมาได้เพียงเล็กน้อย ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเราอยู่ แต่ทว่ามีอารมณ์ไม่ประมาท มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย ที่ท่านกล่าวว่าบรรดาพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิเล็กน้อย คำว่าสมาธิเล็กน้อย คือ อารมณ์สมาธิของท่านผู้เจริญฌานสมาบัติ มีอารมณ์ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป ยังไม่ถึงฌาน 4 ก็สามารถจะเป็นพระโสดาบันได้
สำหรับที่ว่ามีปัญญาเล็กน้อย ก็เพราะว่ายังไม่สามารถตัดขันธ์ 5 ได้เด็ดขาดด้วยกำลังของจิต ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา แต่ทว่าความรู้สึกของท่านมีความดีอยู่หน่อยหนึ่งว่าเราจะต้องตาย ยังไง ๆ ก็ต้องตายแน่ เหมือนกับที่เปสการีมีอารมณ์คิดถึงคำสั่งสอนของสมเด็จพระธรรมสามิสร ที่ทรงตรัสว่า
ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่ามีความประมาทในการสร้างความดี
ซึ่งตรงกับที่ท่านพุทธทาส กล่าวครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ชา ตอบ
: ไม่ให้สงสัย คือหมายความว่า ความสงสัยนี่น่ะมันตามขัน้ ตอน กิเลสของ
โสดาบันเป็นส่วนหนึ่ง สกิทาคามีเป็นส่วนสิ่งที่ละเอียดๆ เป็นชัน้ ๆ ขึ้นไป เป็นส่วนของ
บุคคล ความหนัก ของเด็กมันก็เป็นอย่างหนึ่ง ความหนักของผู้ใหญ่มันก็เป็นอย่างหนึ่ง ใน
ระยะที่นี้ขึ้นไป ถึงพระอรหันต์ นี่มันมีครับ มันไม่เหมือนกัน แต่ว่ามันมีชื่ออันเดียว กัน แต่ว่ามัน
หนักเบากว่ากัน แต่ว่ามันจะหมดไปครับ ไม่ได้อยู่ มันจะหมดไป มันไม่อยู่ ถึงแม้มันมีบ้างก็
เรียกว่าไม่เป็นอะไร ไม่ทำให้มันเกิดพิษเกิดภัย การลูบคลำ สงสัยว่ามันถูกไหมหนอ ผิดไหม
หนอ อย่างนี้ โดยมากก็เป็นฝ่ายจิตใจเรา

จากสีลสูตร ครับ

--------------------------------------------------------------------------------
คืออารมณ์พระโสดาบันตัดสักกายทิฏฐิเหมือนกัน แต่ตัดเพียงว่าขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้จะไม่คงอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย สักวันต้องตายจากไป พระโสดาบันยังหลงขันธ์ ๕ อยู่ แต่หลงยังไงก็ไม่ลืมความตาย (มรณัสสติ)

มิใช่ว่าพระโสดาบันจะตัดสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาดถึงขั้นขันธ์ ๕ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา

หลวงพ่อท่านว่าอารมณ์ที่ตัดสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาดอย่างนั้นเป็นอารมณ์พระอรหันต์แล้ว ไม่ใช่อารมณ์พระโสดาบัน

คือพระโสดาบันตัดสักกายทิฏฐิเหมือนกัน แต่ยังไม่ละเอียดถึงขั้นขันธ์ ๕ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา มิฉะนั้นท่านวิสาขาซึ่งเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ขวบ คงไม่มีลูกถึง 20 คนหรอกถ้าตัดได้ถึงขั้นขันธ์ ๕ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา

สรุปว่า หลวงพ่อฤาษีสอนว่า อารมณ์ตัดสักกายทิฏฐิต้องละเอียดเป็นขั้นๆ ไปตามลำดับ

๑๐. สีลสูตร

ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

[๓๑๑] โก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบันควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบันกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.

[๓๑๒] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามีควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

[๓๑๓] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแลไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคายโดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

[๓๑๔] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้วย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.

จบ สูตรที่ ๑๐.

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 21:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอจบเรื่องสมมุติ(โสดา)ไว้แค่นี้ดีกว่านะครับ

ขอบคุณนะครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 21:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่ว่า...จะเห็นผิด...หรือ...จะยึดผิด

มันก็คำพูด....

อาการมัน....ก็ยึดเหมือนกันนั้นแหละ....

ใจรู้เห็นว่ายึดอะไร....ก็ปล่อยได้เท่าที่ใจรู้...รู้น้อยก็ปล่อยได้น้อย...รู้ลึกรู้ละเอียด..ก็ปล่อยได้มาก

รู้....นะ...ไม่ใช่จำมา

ยังไม่รู้ว่ายึดอะไร....แล้วจะปล่อยอะไรถูก


ไม่เห็นตน แล้วจะปล่อยวางตนได้อย่างไร :หลวงพ่อชา
ท่านกบ สุดยอด ต้องอย่างนี้ซิ จึงไม่ผิดหวัง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 22:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอร่วมสนทนาด้วยสิเจ้าค่ะ เอาภาคปฏิบัติมาแจมด้วย [url]สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าตัวเราของเรา[/url]
การละสักกายทิฏฐิตัวแรกได้ คือความเห็นว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง ร่างกายนี้เสื่อมไปตามวัย แล้วไม่ได้ไปยึดติดกับร่างกาย =ผลที่ได้ของการละสักกายทิฏฐิ สังโยชน์ตัวแรกคือ เห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่รู้สึกหวาดวิตกเมื่อนึกถึงความตาย วิจิกิจฉา กับ ศีลลัพพรตปรามาสไม่ต้องอธิบายเพราะเป็นผลของ สักกายทิฏฐิตัวแรก 2ตัวจะตามมา
ส่วนสังโยชน์ตัวอื่นๆนั้น ก็ได้จากการพิจารณาขันธ์ 5 หรือการละสักกายทิฏฐิขั้นละเอียดขึ้นไปอีก เช่นคนที่ทำอสุภะกรรมฐาน ก็จะเห็นร่างกายนี้เสื่อมไปตามสภาพ เสื่อมไปตามกาลเวลา ไม่มีอะไรคงทน ยกตัวอย่าง
เห็นผิวหนังกำพร้าภายนอก ภายใน เห็นเครื่องในร่างกาย เห็นกระดูก เมื่อเสื่อมสภาพก็เน่าเหม็น ไม่พึงปรารถนา เพื่อเห็นแจ่มแจ้ง สังโยชน์ตัว กามราคะ จะลดลง คือความพอใจในร่างกาย กามราคะจะลดลง
ปฏิฆะในเรื่องกามราคะ(เพศ)ก็จะลดลง อารมณ์ปฏิฆะ การกระทบกระทั่งในใจจะลดลง มีบ้างแต่ไม่มาก ระดับอนาคามี จะละสังโยชน์ได้ 5 ตัวอย่างเด็ดขาด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลลัพพรตปรามาส กามราคะ
ปฏิฆะ ดับลงสิ้นเชิง(เหมือนในนิมิตคุนน้องเคยมีคนมาพูดว่า"เอาออกให้ได้เสียซึ่งความยินร้าย")
คุนน้องเหลือปฏิฆะ ตัวเดียว ถ้าเอาออกได้ก็เป็นระดับ อนาคามี เพราะคุนน้องไม่ได้ครองเพศคฤหัส ระดับอนาคามี จะไม่ยุ่งเรื่องเพศ เจ้าค่ะ เอาให้ได้แค่นี้ก่อนชาตินี้ก็สบายแล้วเจ้าค่ะ :b1: แต่ว่าไม่ง่ายอย่างงั้นหรอกเจ้าค่ะ ถ้าเดินมรรค 8ไม่บริบูรณ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ อย่างอื่นก็ไม่มีผลถือว่าเป็นโมคะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2012, 00:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เพราะคุนน้องอ้างเฉพาะภาคปฏิบัติของตน ผิดถูกก็ให้ท่านอื่นพิจารณาได้

:b8:
ดีแล้วครับ...ที่พร้อมจะรับฟังผู้อื่น

คนที่พร้อมจะรับฟังผู้อื่น....มานะก็ลดไปเยอะแล้วละ....แม้จะเป็นชั่วขณะก็ยังถือว่าดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2012, 01:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่า....คนที่มาปฏิบัติตามแนวทางพระศาสนา...ไม่มีใครไม่ปรารถณาผล

พวกเรา ๆ ก็รู้กันหมดว่า....

ละอันนั้น...อันนี้...1..2..3..เป็นโสดา

ละ..4..5..เป็นอนาคามี

6..7..8..9..10...เป็นอรหันต์

รู้มาก่อนแล้ว..

ทีนี้..เวลาทำไป..ทำไป...ก็เริ่มคิดแล้วว่า...เราละอะไรไปกี่ตัวแล้ว...(.กิเลสมันกำลังซุ่มอยู่ข้างหลังเรา..เราไม่รู้ตัวนะ )

1...ละแล้วมันเป็นยังงัยนะ?....ก็ไปหาอ่านตำรับตำรา....หนังสือก็บอกว่า..ละแล้ว..จะมีอาการยังงั้น ๆ นะ...ทีนี้..สมองเราก็จำแล้วก็เริ่มคิด....

2...ละแล้วมันเป็นยังงัยนะ?....หนังสือก็บอกว่า..ละแล้ว..จะมีอาการยังงั้น ๆ นะ....สมองเราก็จำแล้วก็เริ่มคิดอีก..

3...ละแล้วมันเป็นยังงัยนะ?....หนังสือก็บอกว่า..ละแล้ว..จะมีอาการยังงั้น ๆ นะ....สมองเราก็จำแล้วก็เริ่มคิดอีก..

จำได้หมดเลย...อาการโสดาบันเป็นยังงัยบ้าง...

ทำไป..ทำไป...ก็มองตัวเองอีก...อาการนึกเห็นแต่การตาย...นึกเห็นเราเดียวก็ตาย..ใคร ๆ ก็ตาย...เอ๋นี้เราไม่ใช่ละ..1..ได้แล้วรึ?...เข้าเค้า..เข้าเค้า....ให้แต้มตัวเองแล้ว...(..พอเป็นไข้หน่อยหนึ่ง...รีบกินยาอย่างเร็วเชียว...แต่กลับไม่ลบแต้มที่เคยให้กับตัว )

เอ๋..เราก็เชื่อพระรัตนตรัย..ว่าดีจริง ๆ นี้นา...ไม่เคยไปดูถูกพระดูถูกเจ้าที่ไหนเลย...ไม่ใช่เราละ..2..ได้แล้วรึ?...เราก็เข้าเค้านะ....ให้แต้มตัวเองไปอีก 1..( พอเห็นข่าว..พระเมาเหล้าแล้วต่อยกัน...ก็ว่าศาสนาเสื่อม..)

ศีล 5 เราก็ทำได้...ไม่ใช่เราละ..3..ได้แล้วรึ?....

เริ่มนับนิ้วแล้ว..1...ก็ทำได้แล้ว..2..3..ก็ทำได้...3แต้มครบอย่างนี้เราไม่เป็นโสดาไปแล้วรึ?

นี้งัย...เป็นโสดาฯเพราะความคิด...กิเลสที่เกาะหลังเรามา...มันผลักเราให้คิด

สัญญา..สังขาร...นี้แหละเจ้าตัวร้าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2012, 01:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองหัดลืม ๆ ไปบ้าง....สักกายทิฏฐิ..วิจิกิจฉา...ศีลพัพตปรามาต....ละแล้วมีอาการอย่างไรๆ...ลืมไปบ้างก็น่าจะดี...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2012, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกบพูดมาก็มีเหตุผล เพราะแบบนี้ไงคุนน้องเลยไม่ค่อยจำธรรมมะของพระอาจารย์ เลยไม่สามารถคุยโต้ตอบธรรมมะกับใครได้ แต่ธรรมมะที่คุนน้องต้องปฏิบัติจริงๆคือ อิทธิบาท4 อินทรีย์ 5 มรรค8 เราต้องเจริญอยู่เนืองๆ จะได้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทุกคนปฏิบัติธรรมเพราะอยากหลุดพ้น อยากได้นิพพานเป็นของแพง ซึ่งอย่าไปหวังเลยตราบใดที่ละสังโยชน์ไม่ได้ คิดแค่ว่า ค่อยๆละค่อยๆทำไป ปฏิบัติไป อย่าหลอกตัวเอง รู้สภาวะอารมณ์ของตน อย่างคุน้องบอกคุนน้องยังละอัตตาไม่ได้เพราะไม่ใช่ อนาคามี นี่คือคุนน้องพูดความจริง เพราะเรายังยึดว่า เราถูก เราใช่ คนนั้นผิด เราถูก ถึงจะถูกจริงแต่เราไปยึดเราก็ไม่หลุดพ้น เราต้องเห็นจุดบอดของเรา และค่อยๆแก้ไปเรื่อยๆ ส่วนคุณน้องรู้จริงหรือรู้ผิดไปดูกระทู้ที่คุนน้องตอบคำถามของสมาชิกท่านอื่น แล้วก็พิจารณาความเห็นของคุนน้อง ทั้งๆที่คุนน้องไม่มีธรรมมะของอาจารย์ใดเลย สัมมาทิฏฐิของตนล้วนๆ คุนน้องเขามาเวปนี้กี่เดือน เห็นความพัฒนาในทางสติปัญญาของคุนน้องบ้างไหม ไม่ต้องตอบ ให้พวกท่านพิจารณา คุนน้องเข้ามาศึกษาธรรมมะอย่างจริง และเอาธรรมมะไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจริงๆ :b8: :b53: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2012, 02:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ลองหัดลืม ๆ ไปบ้าง....สักกายทิฏฐิ..วิจิกิจฉา...ศีลพัพตปรามาต....ละแล้วมีอาการอย่างไรๆ...ลืมไปบ้างก็น่าจะดี...

จุดประสงค์คุนน้องไม่มีอะไรมากหรอกเจ้าค่ะ แค่เห็นคนอื่นสนทนาธรรมกัน คุณน้องไม่มีธรรมมะมีแต่ภาคปฏิบัติเลยอยากมีส่วนร่วม ผลปรากฏว่าก็เป็นอย่างที่เห็น กลับกลายเป็นว่าไม่มีคนอยากคุยกับคุนน้องเพราะคุนน้องไม่ละไม่ปล่อยวางธรรมทั้งหลายทั้งปวง แสดงว่า คุนน้องต้องไปศึกษาธรรมของพระอาจารย์ใช่ไหมถึงจะสนทนาธรรมกับพวกท่านได้ คุนน้องก็ยังแสวงหาหนทางหลุดพ้นทุกข์เช่นกันนะเจ้าค่ะ ก็ต้องแลกเปลี่ยนความคิดกันบ้าง แชร์ความรู้กันบ้าง แต่กลายเป็นว่า ให้คุนน้องลดละปล่อยวางธรรม ปล่อยวางธรรมตัวไหนหรือเจ้าค่ะ ไม่บอกให้หระจ่าง ที่คุนน้องคุยก็คุยด้วยสัมมาทิฏฐิเหมือนพวกท่านไม่ใช่หรือเจ้าค่ะ :b10: คุนน้องก็บอกสังโยชน์ตัวอัตตามันต้องระดับอนาคามี ถึงจะปฏิบัติได้จริงๆ คุนน้องก็พูดความจริงไม่ได้มุสาเพราะศีล 5ก็บริสุทธิ์ไม่ได้เสแสร้งนี่เจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2012, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นทุกท่านสนทนากันเรื่องสักกายทิฎฐิ ว่าพระอริยะบุคคลแต่ละขั้นละได้อย่างไร ละได้แค่ไหน ผมจำได้ว่าเคยอ่านเจอใน "ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา" จึงขอนำมาให้ลองพิจารณากันครับ

โค้ด:
พระธรรมเจดีย์ :
สังโยชน์ 10 นั้น คือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส กามราคะ พยาบาท รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ที่แบ่งเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 เบื้องบน 5 นั้น ก็ส่วนสักกายทิฎฐิที่ท่านแจกไว้ ตามแบบขันธ์ละ 4 รวม 5 ขันธ์ เป็น 20 ที่ว่า ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนว่ามีรูปบ้าง ย่อมเห็นรูปในตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนว่ามี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง ย่อมเห็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในตัวตนบ้าง ย่อมเห็นตัวตนใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง ถ้าฟังดูท่านที่ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว ดูไม่เป็นตัวเป็นตน แต่ทำไมพระโสดาบันก็ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว สังโยชน์ยังอยู่อีกถึง 7 ข้าพเจ้าฉงนนัก ?

พระอาจารย์มั่น :
สักกายทิฎฐิ ที่ท่านแปลไว้ตามแบบ ใครๆ ฟังก็ไม่ใคร่เขัาใจ เพราะท่านแต่ก่อน ท่านพูดภาษามคธกัน ท่านเข้าใจได้ความกันดี ส่วนเราเป็นไทย ถึงแปลแล้วก็จะไม่เข้าใจของท่าน จึงลงความเห็นว่าไม่เป็นตัวเป็นตนเสีย ดูออกจะแรงมากไป ควรจะนึกถึงพระโกณฑัญญะ ในธัมมจักรท่านได้เป็นโสดาบันก่อนคนอื่น ท่าได้ความเห็นว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และพระสารีบุตรพบพระอัสสชิ ได้ฟังอริยสัจย่อว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างนี้" ท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ละสักกายทิฎฐิได้

พระธรรมเจดีย์ :
ถ้าเช่นนั้นท่านก็เห็นความจริงของปัญจขันธ์ ถ่ายความเห็นผิด คือ ทิฎฐิวิปลาสเสียได้ ส่วนสีลัพพัตกับวิจิกิจฉา 2 อย่างนั้น ทำไมจึงหมดไปด้วย ?

พระอาจารย์มั่น :
สักกายทิฎฐินั้น เป็นเรื่องของความเห็นผิด ถึงสีลัพพัตก็เกี่ยวกับความเห็นว่าสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่มีอยู่ในโลกจะให้ดีให้ชั่วได้ วิจิกิจฉานั้นเมื่อผู้ที่ยังไม่เคยเห็นความจริง ก็ต้องสงสัยเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นท่านที่ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ เห็นความจริงของสังขารทั้งปวง ส่วนสีลัพพัตนั้น เพราะความเห็นของท่านตรงแล้วจึงเป็นอจลสัทธา ไม่เห็นไปว่าสิ่งอื่นนอกจากรรมที่เป็นกุศลและอกุศล จะให้ดีให้ชั่วได้ จึงเป็นอันละสีลัพพัตอยู่เอง เพราะสังโยชน์ 3 เป็นกิเลสประเภทเดียวกัน

พระธรรมเจดีย์ :
ถ้าตอบสังโยชน์ 3 อย่างนี้แล้ว มิขัดกันกับสักกายทิฎฐิตามแบบที่ว่า ไม่เป็นตัวเป็นตนหรือ ?

พระอาจารย์มั่น :
คำที่ว่าไม่เป็นตัวเป็นตนนั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจเอาเองต่างหาก เช่น กับพระโกณฑัญญะเมื่อฟังธรรมจักร ท่านก็ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว ทำไมจึงต้องฟังอนัตตลักขณะสูตรอีกเล่า นี่ก็ส่อให้เห็นได้ว่า ท่านผู้ที่ละสักกายทิฎฐิได้นั้น คงไม่ใช่เห็นว่าไม่เป็นตัวเป็นตน

พระธรรมเจดีย์ :
ถ้าเช่นนั้น ที่ว่าเห็นอนัตตา ก็คือเห็นว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอย่างนั้นหรือ ?

พระอาจารย์มั่น :
อนัตตาในอนัตตะลักขณะสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงซักพระปัญจวัคคีย์ มีเนื้อความว่าขันธ์ 5 ไม่เป็นไปในอำนาจ สิ่งที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับไม่ได้ จึงชื่อว่าเป็นอนัตตา ถ้าขันธ์ 5 เป็นอัตตาแล้วก็คงจะบังคับได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรเอาความว่าขันธ์ 5 ที่ไม่อยู่ในอำนาจ จึงเป็นอนัตตา เพราะเหตุที่บังคับไม่ได้ ถ้าขันธ์ 5 เป็นอัตตาตัวตนก็คงจะบังคับได้

พระธรรมเจดีย์ :
ถ้าเช่นนั้นเห็นอย่างไรเล่า จึงเป็นสักกายทิฎฐิ ?

พระอาจารย์มั่น :
ตามความเห็นของข้าพเจ้า ว่าไม่รู้จักขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง เห็นปัญจขันธ์ว่าเป็นตน และเที่ยงสุข เป็นตัวตนแก่นสาร และเลยเห็นไปว่าเป็นสุภะความงามด้วย ที่เรียกว่าทิฎฐิวิปลาส นี่แหละเป็นสักกายทิฎฐิ เพราะฉะนั้นจึงเป็นคู่ปรับกับ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ซึ่งเป็นความเห็นถูก ความเห็นชอบ จึงถ่ายความเห็นผิดเหล่านั้นได้

พระธรรมเจดีย์ :
ถ้าเช่นนั้น ท่านที่ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะเป็นอัธยาศัยได้ไหม ?

พระอาจารย์มั่น :
ถ้าฟังดูตามแบบท่านเห็น ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ชัดเจน อนิจฺจํ คงเป็นอัธยาศัย ส่วนทุกขํ กับอนตฺตา ถึงจะเห็นก็ไม่เป็นอัธยาศัย เข้าใจว่าถ้าเห็นปัญจขันธ์ เป็นทุกข์มากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงน้อย ถ้าเห็นปัญจขันธ์เป็นอนัตตามากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงหมด ถ้าเห็นว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ชัดเจนเข้า สังโยชน์เบื้องบนก็คงหมด นี่เป็นส่วนความเข้าใจ แต่ตามแบบท่านก็ไม่ได้อธิบายไว้


ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในท่อนนี้

โค้ด:
พระธรรมเจดีย์ :
ถ้าเช่นนั้น ท่านที่ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะเป็นอัธยาศัยได้ไหม ?

พระอาจารย์มั่น :
ถ้าฟังดูตามแบบท่านเห็น ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ชัดเจน อนิจฺจํ คงเป็นอัธยาศัย ส่วนทุกขํ กับอนตฺตา ถึงจะเห็นก็ไม่เป็นอัธยาศัย เข้าใจว่าถ้าเห็นปัญจขันธ์ เป็นทุกข์มากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงน้อย ถ้าเห็นปัญจขันธ์เป็นอนัตตามากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงหมด ถ้าเห็นว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ชัดเจนเข้า สังโยชน์เบื้องบนก็คงหมด นี่เป็นส่วนความเข้าใจ แต่ตามแบบท่านก็ไม่ได้อธิบายไว้


สรุปใจความได้ว่า ท่านที่ละสักกายทิฎฐิได้ ไม่ได้เห็นว่ากายใจเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เป็นปรกติ หากแต่เห็นว่ากายใจเป็นอนิจจังเท่านั้น

นี่หมายความว่า ความยึดถือ หรือหลงผิด หรือไม่รู้ในขันธ์ 5 มีหลายระดับ

ระดับแรก คือมีความเห็นว่าขันธ์ 5 คือกายใจของเราเที่ยง (นิจจัง) ไม่เคยคิดไม่เคยใส่ใจจริงๆเลยว่าตัวเรานี้จะตายไปเมื่อไรก็ได้ ไม่ได้รู้ว่าอารมณ์ทั้งหมดผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปมาอยู่ตลอด เอาแน่เอานอนไม่ได้

ระดับที่สอง คือมีความเห็นว่าขันธ์ 5 ทั้งรูปธรรมและนามธรรมนำมาซึ่งความสุข (สุขขัง) เป็นสิ่งสวยงาม ซึ่งความคิดนี้เอง เป็นต้นตอที่จิตจะใช้ปรุงเป็นกามราคะและปฎิฆะ

ระดับที่สาม คือมีความเห็นว่าขันธ์ 5 บังคับบัญชาได้ (อัตตา) ทำให้มีความพยายามบังคับกระทำกายใจของตนให้เป็นไปตามต้องการ เป็นต้นเหตุของความไม่สงบ ความฟุ้งซ่าน ต้องปรับโน่นเปลี่ยนนี่อยู่เสมอ และเป็นเหตุของสังโยชน์เบื้องบนตัวอื่นๆ

สักกายทิฎฐิที่เราๆท่านๆพูดถึงกัน หรือสักกายทิฎฐิที่พระโสดาบันละได้ จึงน่าจะหมายถึงความยึดถือ หรือหลงผิดระดับแรกเท่านั้น ซึ่งสังเกตได้จากการบรรลุพระโสดาปัตติผลของท่านพระโกณฑัญญะ และพระสารีบุตร
โค้ด:
พระโกณฑัญญะ ท่านได้ความเห็นว่า ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และพระสารีบุตรพบพระอัสสชิ ได้ฟังอริยสัจย่อว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างนี้

จะเห็นว่าทั้งลักษณะที่ท่านทั้งสองเห็นนั้นคือความเกิดความดับ ซึ่งก็คืออนิจจังเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เลยไปถึงทุกขัง อนัตตา ท่านพระอาจารย์มั่นยังได้ให้เหตุผลเพิ่มเติมไว้น่าคิดว่า
โค้ด:
กับพระโกณฑัญญะเมื่อฟังธรรมจักร ท่านก็ละสักกายทิฎฐิได้แล้ว ทำไมจึงต้องฟังอนัตตลักขณะสูตรอีกเล่า

หรือถึงเห็นทุกขัง อนัตตาบ้าง ก็ยังไม่เห็นไปถึงใจ ใจยังไม่ยอมรับ ความเห็นนั้นจึงยังไม่เป็นอัธยาศัย ตามที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้สรุปไว้ในตอนท้าย
โค้ด:
ถ้าฟังดูตามแบบท่านเห็น ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ชัดเจน อนิจฺจํ คงเป็นอัธยาศัย ส่วนทุกขํ กับอนตฺตา ถึงจะเห็นก็ไม่เป็นอัธยาศัย เข้าใจว่าถ้าเห็นปัญจขันธ์ เป็นทุกข์มากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงน้อย ถ้าเห็นปัญจขันธ์เป็นอนัตตามากเข้า กามราคะพยาบาทก็คงหมด ถ้าเห็นว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ชัดเจนเข้า สังโยชน์เบื้องบนก็คงหมด นี่เป็นส่วนความเข้าใจ แต่ตามแบบท่านก็ไม่ได้อธิบายไว้

โดยสรุป ความยึดถือ หรือหลงผิดระดับแรก คือความที่คิดว่าขันธ์ 5 เที่ยง เมื่อบุคคลรู้จักสงบจิตใจตัวเอง เจริญไตรสิกขา นิวรณ์ทั้ง 5 ที่บดบังความรู้ให้มืดมัวอยู่สงบลง แม้ชั่วครู่ หากบุคคลสังเกตกายใจตัวเองในขณะนั้น จะเกิดความรู้ทราบในความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 เมื่อรู้แน่ตรงนี้ ความหลงผิดในขันธ์ 5 ระดับแรกจึงหมดไป

เมื่อเห็นว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุอันเหมาะสม "เพราะมีเหตุอย่างนี้อยู่ สิ่งนี้จึงเกิดมีขึ้น หากต้องการจะดับสิ่งนี้ ต้องไปดับที่เหตุ" เมื่อนั้นสีลัพพัต ความงมงายไร้เหตุผลก็หมดไป

เมื่อเห็นว่าทุกคำสอนที่เราเคยพร่ำสวดไปวันๆแท้ที่จริงเป็นสัจธรรมความจริงที่ตัวเองรู้เห็นซาบซึ้งถึงใจแล้ว เมื่อนั้นวิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยะสงฆ์สาวกทั้งหลายก็จะหมดไป จะเกิดความเคารพบูชาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแบบถึงจิตถึงใจ ไม่อาจโยกคลอนได้อีก

สังโยชน์ 3 ตัวแรก จึงไม่อาจขาดไปเพียงตัวใดตัวหนึ่ง แต่จะขาดไปพร้อมกันทีเดียวทั้ง 3 ตัวด้วยเหตุนี้

ส่วนความยึดถือ หรือหลงผิดระดับที่สอง จะเบาแรงลงในขั้นของพระสกิทาคามี และจะขาดไปในขั้นของพระอนาคามี ส่วนความยึดถือ หรือหลงผิดระดับที่สาม จะหมดไปในขั้นของพระอรหันต์

ส่วนที่ไม่ได้อยู่ในกรอบเขียวมีความเห็นของผมประกอบ ผมความรู้ยังน้อย อาจมีอะไรผิดพลาดไปบ้าง ผิดถูกอย่างไรทุกท่านโปรดพิจารณาดูก่อน

ท่านไหนสนใจอยากอ่านปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนาเพิ่มเติม เชิญได้ที่นี่ครับ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8736

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2012, 05:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




100_3755_resize_resize.JPG
100_3755_resize_resize.JPG [ 51.24 KiB | เปิดดู 3733 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:
"คนธรรมดาๆ"
โดยสรุป ความยึดถือ หรือหลงผิดระดับแรก คือความที่คิดว่าขันธ์ 5 เที่ยง เมื่อบุคคลรู้จักสงบจิตใจตัวเอง เจริญไตรสิกขา นิวรณ์ทั้ง 5 ที่บดบังความรู้ให้มืดมัวอยู่สงบลง แม้ชั่วครู่ หากบุคคลสังเกตกายใจตัวเองในขณะนั้น จะเกิดความรู้ทราบในความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 เมื่อรู้แน่ตรงนี้ ความหลงผิดในขันธ์ 5 ระดับแรกจึงหมดไป

เมื่อเห็นว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุอันเหมาะสม "เพราะมีเหตุอย่างนี้อยู่ สิ่งนี้จึงเกิดมีขึ้น หากต้องการจะดับสิ่งนี้ ต้องไปดับที่เหตุ" เมื่อนั้นสีลัพพัต ความงมงายไร้เหตุผลก็หมดไป

เมื่อเห็นว่าทุกคำสอนที่เราเคยพร่ำสวดไปวันๆแท้ที่จริงเป็นสัจธรรมความจริงที่ตัวเองรู้เห็นซาบซึ้งถึงใจแล้ว เมื่อนั้นวิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยะสงฆ์สาวกทั้งหลายก็จะหมดไป จะเกิดความเคารพบูชาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแบบถึงจิตถึงใจ ไม่อาจโยกคลอนได้อีก

สังโยชน์ 3 ตัวแรก จึงไม่อาจขาดไปเพียงตัวใดตัวหนึ่ง แต่จะขาดไปพร้อมกันทีเดียวทั้ง 3 ตัวด้วยเหตุนี้

ส่วนความยึดถือ หรือหลงผิดระดับที่สอง จะเบาแรงลงในขั้นของพระสกิทาคามี และจะขาดไปในขั้นของพระอนาคามี ส่วนความยึดถือ หรือหลงผิดระดับที่สาม จะหมดไปในขั้นของพระอรหันต์

ส่วนที่ไม่ได้อยู่ในกรอบเขียวมีความเห็นของผมประกอบ ผมความรู้ยังน้อย อาจมีอะไรผิดพลาดไปบ้าง ผิดถูกอย่างไรทุกท่านโปรดพิจารณาดูก่อน

ท่านไหนสนใจอยากอ่านปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนาเพิ่มเติม เชิญได้ที่นี่ครับ http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8736
:b8:
:b8:
:b8:
:b20:
สาธุ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ สาธุอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับคุณ "คนธรรมดาๆ" ที่ไม่ธรรมดา
ปัญหาและความรู้ไม่ถึง ละเอียดไม่พอ คงจะจบได้จากการแจกแจง วิจัยธรรมให้ฟังของคุณ "คนธรรมดาๆนี้นะครับ

:b27:
:b16:
:b12:
:b4:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 387 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 26  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร