วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 19:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 07:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b27:
เส้นผมบังภูเขา เป็นคำคมที่ซ่อนความหมายไว้ภายในคอยเตือนใจให้ฉุกคิดพิจารณา รู้ตัวขึ้นมาวิเคราะห์ตนเอง
:b31:
ความเห็น(ทิฏฐิ)เป็นเหมือนเส้นผมเส้นเล็กๆ ซึ่งถ้าเป็นความเห็นถูกต้อง(สัมมาทิฏฐิ)จะเป็นการเปิดธรรม เปิดเผยความจริงของธรรมชาติออกมาให้เห็นตั้งแต่เริ่มต้นและดึงเอาสิ่งดีๆ เช่นความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ออกมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างเต็มที่
ถ้าเป็นความเห็นผิด(มิจฉาทิฎฐิ)ความเห็นผิดนั้นจะกลายมาเป็นดุจเส้นผมเส้นเล็กๆที่บังธรรมอันดุจภูเขาอันยิ่งใหญ่ที่ตั้งตระหง่านอยู่เฉพาะหน้า ณ ปัจจุบันขณะของเจ้าของดวงจิตดวงนั้น


ความเห็น(ทิฏฐิ)จะผิด(มิจฉา)หรือถูกต้อง(สัมมา)นั้นเริ่มต้นมาจากไหน?

เริ่มต้นมาจากการศึกษา(สุตตมยปัญญา)ถ้าเมื่อครั้งแรกของชีวิตได้พบกัลยาณมิตรผู้รู้จริงถึงจริงถ่ายทอด อบรม ให้ความรู้ ที่ถูกต้องจริงๆตามธรรม บุคคลผู้นั้นย่อมจะเกิดความเห็นถูกต้องขึ้นในจิตเสียตั้งแต่เริ่มต้น ไม่หลงทาง ไม่เนิ่นช้า พบมรรคาแห่งการใช้ชีวิตที่ได้โอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ให้คุ้มค่า พาตนเดินไปบนทางอันเอกตามอย่างพระบรมครูสัพพัญญูพุทธเจ้าเข้าสู่มรรค ผล นิพพาน

onion


โพสต์ เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 23:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2012, 00:24
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน เจ้าของกระทู้ เห็นถูก (สัมมา) หรือไม่...ผมก็ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่เห็นถูก(สัมมา)

หลาย ๆ ท่านในที่นี้เท่าที่อ่านมาก็เห็นถูก..เห็นและเข้าใจเรื่อง เกิดแก่เจ็บตาย
เห็นและเข้าใจเรื่อง อนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นและเข้าใจธรรมะอีกหลายต่อหลายข้อ

ถามต่อว่า เมื่อเห็นถูก(สัมมา) ดั่งนี้แล้ว ท่าน รู้แจ้ง หรือหลุดพ้น หรือนิพพานหรือยัง..ถ้าคำตอบคือยัง
ก็ขอถามต่อว่า รออะไรอยู่หรือ?


โพสต์ เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 06:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


kitti1234 เขียน:
ท่าน เจ้าของกระทู้ เห็นถูก (สัมมา) หรือไม่...ผมก็ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่เห็นถูก(สัมมา)

หลาย ๆ ท่านในที่นี้เท่าที่อ่านมาก็เห็นถูก..เห็นและเข้าใจเรื่อง เกิดแก่เจ็บตาย
เห็นและเข้าใจเรื่อง อนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นและเข้าใจธรรมะอีกหลายต่อหลายข้อ

ถามต่อว่า เมื่อเห็นถูก(สัมมา) ดั่งนี้แล้ว ท่าน รู้แจ้ง หรือหลุดพ้น หรือนิพพานหรือยัง..ถ้าคำตอบคือยัง
ก็ขอถามต่อว่า รออะไรอยู่หรือ?

:b8:
รอไปพร้อมๆกับคุณkitti1234และสหายในธรรมอีกหลายๆคนยังไงล่ะครับ จึงยังมาวนเวียนพบปะสนทนากันในลานธรรมจักรแห่งนี้ สร้างสมบารมีไปอีกสักหน่อย คอยเพื่อนอีกไม่กี่คน อาศัยลานธรรมนี้ทดสอบใจตนและธรรมที่รู้มาว่าใช่หรือไม่ ให้เพื่อนกัลยาณมิตรช่วยกันเช็คและวิตกวิจารณ์ไงครับ
:b12:
อ้อ!เห็นและเข้าใจเรื่อง เกิดแก่เจ็บตาย
เห็นและเข้าใจเรื่อง อนิจจังทุกขังอนัตตา
:b41:
นี่เป็นส่วนหนึ่งของสัมมาทิฏฐิ แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เราจะมาทำความชัดเจนกันในกระทู้นี้ยังไงล่ะครับ
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 21 พ.ค. 2012, 06:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 06:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
(ต่อ)
ในตัวอย่างของจริงเมื่อครั้ง ๔๕ ปีก่อนพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงเป็นมหากัลยาณมิตรของผู้คน หมู่ชนคนที่ได้พบและฟังธรรมศึกษาธรรมอันเฉียบแหลมตรงจริตจากพระองค์เพียงเรื่องเดียว สูตรเดียว หรือคาถาเดียว เมื่อน้อมพิจารณาตามเห็นจริง สัมมาทิฏฐิก็เกิดขึ้นจนทำลายความเห็นผิด(สักกายทิฐิ)ให้ขาดสะบั้นลงทันที บางองค์บางท่านก็เจริญรุดหน้าในเวลารวดเร็วจนทำให้ความยึดผิด(มานะทิฏฐิ)ขาดสะบั้นตาม
ข้อสังเกตที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ตอนนั้นยังไม่มีคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือตำหรับตำราของครูบาอาจารย์มากมายเหมือนเช่นสมัยนี้ ความสับสนวุ่นวายไม่ตรงประเด็นธรรมทั้งหลายคงจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก “ตำราน้อยคนบรรลุธรรมมาก ตำรามากคนบรรลุธรรมน้อย” อยากจะกล่าวว่าอย่างนี้หรือ หรือพูดอีกทีว่า ปริยัติยิ่งมากและวิจิตรพิสดารไปเท่าไร จำนวนผู้คนที่จะได้หลุดพ้นเข้าถึงธรรมก็ลด ลงมากเท่านั้น เป็นปฏิภาคผกผันกันมาเช่นนี้โดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
:b39:
ฤาปริยัติอันมากมายวิจิตรพิสดาร ถกเถียงกันไม่รู้จักจบทั้งหลายเหล่านี้ จะมากลายเป็นเส้นผมบังภูเขา เงา บังความจริง นี่เป็นเรื่องที่เราจะได้มาวิเคราะห์วิจัยให้เกิดสติปัญญาอันชอบและถูกทางกันสักครั้งสักครา
:b16:


โพสต์ เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 07:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
ฤาปริยัติอันมากมายวิจิตรพิสดาร ถกเถียงกันไม่รู้จักจบทั้งหลายเหล่านี้ จะมากลายเป็นเส้นผมบังภูเขา เงา บังความจริง นี่เป็นเรื่องที่เราจะได้มาวิเคราะห์วิจัยให้เกิดสติปัญญาอันชอบและถูกทางกันสักครั้งสักครา
:b16:


ตามคิดคิดผมนะท่าน ผมว่า ที่ท่านกล่าวก็อาจจะถูก สำหรับบางคน หรืออาจจะผิดสำหรับบางคนด้วยเช่นกัน ครับ อย่างที่ผมเคยได้ยินมาว่า ปริยัติ ให้ได้ดั่งใบไม้กำมือเดียว นั้นแหละ ครับ

หากนักปฏิบัติธรรม ย้อนมองไปเมื่อครั้งพุทธกาล แล้วปฏิบัติ เหมือนครั้ง พุทธกาลดู มันน่าจะดีกว่านะครับ คือ ฟังพระธรรมจากพระองค์1ครั้ง หากไม่เข้าใจก็ถามต่อ จนเข้าใจ แต่ก็นำไปปฏิบัติ(สมถะวิปัสสนา)จน เข้าถึงในเรื่องนั้น ปฏิบัติจนติดขัดในธรรมอีก ก็มา ถามพระองค์ให้ช่วยอธิบายอีก และไปปฏิบัติอีก วนไปวนมาจนหมดความสงสัย รวมก็คือ วัฏจักรของการปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในข้อธรรมนั้นๆ
หากเรามองว่า พระธรรมคัมภีร์ คือ คำสอนของพระองค์ ก็ควรทำเช่นนั้น น่าจะเป็นการดีนะครับ

สาธุนะครับ


โพสต์ เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kitti1234 เขียน:
ท่าน เจ้าของกระทู้ เห็นถูก (สัมมา) หรือไม่...ผมก็ว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่เห็นถูก(สัมมา)

หลาย ๆ ท่านในที่นี้เท่าที่อ่านมาก็เห็นถูก..เห็นและเข้าใจเรื่อง เกิดแก่เจ็บตาย
เห็นและเข้าใจเรื่อง อนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นและเข้าใจธรรมะอีกหลายต่อหลายข้อ

ถามต่อว่า เมื่อเห็นถูก(สัมมา) ดั่งนี้แล้ว ท่าน รู้แจ้ง หรือหลุดพ้น หรือนิพพานหรือยัง..ถ้าคำตอบคือยัง
ก็ขอถามต่อว่า รออะไรอยู่หรือ?

ที่รู้กันอยู่นี่ เรียกว่ารู้ด้วย "สัญญา" ไม่ใช่การรู้เห็นด้วย "ทิฏฐิ"
จึงไม่สามารถละวางอะไรได้

เมื่อใดรู้เห็นได้ด้วย "ทิฏฐิ" ที่ถูกต้องแล้ว ย่อมสมารถละวางความเห็นผิด
ในแต่ละเรื่องได้ ซึ่่งก็ขึ้นอยู่กับวาสนาและกำลังใจ ของแต่ละท่านเอง ..

กระผมก็เห็นผิดบ้าง ถูกบ้างไปตามประสาแหละครับ .. :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 06:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b37:
(ต่อ)
เมื่อวิเคราะห์ดูจากพุทธประวัติเราจะได้ข้อสังเกตที่สำคัญออกมาอย่างหนึ่งว่าก่อนการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า มีสภาวธรรมที่น่าจะเป็นประโขชน์สำหรับผู้ที่หวังจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าดังนี้
onion
๑.ค่านิยมหรือแฟชั่นของผู้คนสมัยนั้นคือการแข่งขันกันค้นหาโมกขธรรมหรือความสุขที่เป็นอมตะ
๒.เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นหาธรรมด้วยคำถามที่ป้อนให้กับพระองค์เองตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ครั้งที่พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปงานแรกนาขวัญและเมื่อทรงเห็นเทวทูตทั้ง ๔ ครั้งที่เสด็จประพาสพระนครกบิลพัสดุ์ คำถามที่พระองค์ตรัสถามนายฉันนะสรุปได้ว่า “ฉันนะ เราจะต้องแก่ เราจะต้องเจ็บ เราจะต้องตาย เราและยโสธราพิมพาและพระราชบิดาจะต้องเป็นอย่างนี้ละหรือ” นี่คือคำถามที่สำคัญอันเป็นต้นเหตุและแรงบันดาลใจให้พระองค์ทรงค้นหาต่อไปว่า “ทำอย่างไรเราจึงจักไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย?”
:b39:
คำถามเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน ถ้าใครเริ่มต้นอย่างนี้ การค้นหาให้พบวิธีปฏิบัติที่จะทำให้หลุดพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จักไม่เป็นของยากเลยสำหรับบุคคลเหล่านั้นและจะไม่ยากเหมือนอย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับ เพราะสูตรสำเร็จสำหรับการพ้นทุกข์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นคว้าหามาพระราชทานไว้ให้พวกเราทั้งหลายแล้ว เพียงแต่พวกเราจะต้องไปศึกษาให้รู้ให้เข้าใจถึงแก่นแท้แก่นธรรม หรือหัวใจการค้นพบของพระบรมศาสดา แล้ววิธีการที่จะค้นหาให้พบโมกขธรรมย่อมจักเกิดตามมาเป็นวิธีการเฉพาะตน ตามเหตุปัจจัยที่แต่ละคนได้สร้างสมมา
onion


แก้ไขล่าสุดโดย asoka เมื่อ 22 พ.ค. 2012, 06:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 06:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8:
สาธุกับคุณฝึกจิตและคุณวิริยะ ครับ
กระทู้นี้กำลังจะนำไปสู่ ความรู้เท่าใบไม้กำมือเดียวนั่นแหละครับ
:b38:
ส่วนเรื่องการจะได้เกิดสัมมาทิฏฐิ เต็มร้อยโดยภาคปฏิบัตินั้น สำคัญที่วิริยะ อุตสาหะ ความเพียรพยายามอย่างมีสติและปัญญากำกับ มิใช่เพียงแค่วาสนาบารมีนะครับ ดังพุทธภาษิตว่า
:b48:
"วิริเยนะ ทุกขมัจเจติ คน ล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร"
onion
เจริญธรรมครับ
smiley


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 07:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโสกะ ช่วยให้ความรู้ในกระทู้ผมหน่อย ในเรื่องจิต กับ วิญญาณ นะครับ เพื่อเป็นแนวทางเดิน มรรค ได้อย่างมั่นคงขึ้น นะครับ

ขอบคุณครับ


โพสต์ เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 07:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ท่านอโสกะ ช่วยให้ความรู้ในกระทู้ผมหน่อย ในเรื่องจิต กับ วิญญาณ นะครับ เพื่อเป็นแนวทางเดิน มรรค ได้อย่างมั่นคงขึ้น นะครับ

ขอบคุณครับ

:b27:
ไปแย้ป (แย้ม)ไว้หน่อยแล้วนะครับในกระทู้ที่ท่านฝึกจิตเงียบเหงาแล้วตั้ังขึ้นมา :b12:


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 00:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2012, 00:24
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณasoka ครับ
การเห็นและเข้าใจ อนิจจังทุกขังอนัตตา ยังไม่คลอบคลุมทั้งหมดอีกหรือครับ
งั้นที่บอกว่า "ทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์"..ก็คงต้องพูดใหม่ว่า "ส่วนหนึ่ง อยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์" นะซิ

ธรรมะ..มันยากตรงที่เราคิดว่า ต้องรู้ไปหมดทุกเรื่องรู้ถึง 84,000 เรื่อง ได้ยิ่งดี หรือเปล่า

ผมว่า หากเเช้าใจความหมายทั้งหมดในประโยคเดียว การรู้แจ้งในทันทีก็อาจเกิดขึ้นโดยง่าย แม่้ในคนธรรมดา ๆ เช่น คำว่า "ทางสายกลาง" "มันเป็นเช่นนั้นเอง" "ข้าหยุดแล้วแต่ท่านยังไม่หยุด" "ไม่ยินดียินร้าย" อนิจจังทุกขังอนัตตาก็ด้วย...


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 06:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
(ต่อ)
คำถามเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน ถ้าใครเริ่มต้นอย่างนี้ การค้นหาให้พบวิธีปฏิบัติที่จะทำให้หลุดพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จักไม่เป็นของยากเลยสำหรับบุคคลเหล่านั้นและจะไม่ยากเหมือนอย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับ เพราะสูตรสำเร็จสำหรับการพ้นทุกข์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงค้นคว้าหามาพระราชทานไว้ให้พวกเราทั้งหลายแล้ว เพียงแต่พวกเราจะต้องไปศึกษาให้รู้ให้เข้าใจถึงแก่นแท้แก่นธรรมหรือหัวใจการค้นพบของพระบรมศาสดา แล้ววิธีการที่จะค้นหาให้พบโมกขธรรมย่อมจักเกิดตามมาเป็นวิธีการเฉพาะตน ตามเหตุปัจจัยที่แต่ละคนได้สร้างสมมา
ความสามารถในการปฏิบัติธรรมนั้นมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติในจิตมนุษย์ทุกคน
:b41:
สัญชาติญาณในการดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดของมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้ให้มากับมนุษย์ทุกคนอย่างเสมอเหมือนกันหมด ถ้ามนุษย์ผู้ใดมีความสังเกตดีมีสติปัญญาเฉียบแหลมเขาก็สามารถจะนำเอาค้นเอาของดีที่ธรรมชาติให้มามาใช้ประโยชน์ได้ เจ้าชายสิทธัตถะก็เช่นกัน จากคำถามที่ว่า “ทำอย่างไรเราจึงจักไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย? ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเหตุให้พระองค์เสด็จหนีออกผนวชเพื่อค้นหาคำตอบ เมื่อแรกพระองค์ก็ทำตามอย่างแฟชั่นของคนยุคสมัยนั้นคือแสวงหาอมตะธรรมด้วยการไปศึกษาวิชากับฤาษีที่เก่งที่สุดของยุคนั้น ทรงลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ความจริงด้วยตนเองแล้วตามวิธีการทางสมถภาวนา
ของฤาษีทั้งหลาย ทรมาณพระวรกายอย่างยิ่งยวดเพื่อค้นหาคำตอบที่เหนือกว่า ก็มิได้รับคำตอบ จนในที่สุดพระองค์ได้ทรงทิ้งบัญญัติคือเรื่องราวความรู้ วิธีการปฏิบัติตามอย่างแฟชั่นสมัยนั้นกลับมาใช้ความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ คือสัญชาติญาณในการดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ปลุกสติปัญญาสมาธิขึ้นมาสังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิตเพื่อจะศึกษากระบวนการทำงานของกายและจิตว่ามาเกี่ยวข้องกับการเกิด แก่ เจ็บตายอย่างไร อะไรเป็นเหตุเป็นผล เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นหาคำตอบให้ได้ว่า
”ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตาย”

:b48:
ในที่สุดพระองค์ก็ทรงได้รับคำตอบและได้ผลพลอยได้จากการค้นหาของพระองค์ คืออรหัตมรรคอรหัตผลและนิพพานอมตะสุข คำตอบที่พระองค์ทรงได้รับนั้นพระองค์ได้ทรงสรุปไว้เป็นหัวใจและขอบเขตแห่งธรรมดังความในปฐมเทศนาอันสรุปได้ว่า
๑.ให้เว้นทางสุดโต่ง ๒ ข้างแล้วเดินตามทางสายกลางอันมีอยู่ ๘ ข้อ
๒.สิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบคือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ทุกข์ควรกำหนดรู้ พระองค์ได้ทรงเพียรกำหนดรู้ และพระองค์ได้รู้แล้ว สมุทัย ควรละ พระองค์ได้เพียรละ และทรงละได้แล้ว นิโรธควรทำให้แจ้ง พระองค์ได้ทรงเพียรทำให้แจ้ง และทรงทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคควรเจริญ พระองค์ได้ทรงเพียรเจริญและเจริญได้แล้ว หมดสิ้นแล้วเหตุแห่งทุกข์ หมดสิ้นแล้วปัญหา พระองค์ทรงได้รับคำตอบโดยสมบูรณ์แล้วจึงได้ตรัสบอกกับปัญจวัคคีย์ทั้งหลายว่า “เราอาจหาญที่จะบรรลือสีหนาทประกาศธรรมนี้ต่อสัตว์โลกทั้งหลายได้อย่างเต็มภาคภูมิ”

:b27:
ข้อสังเกตคือวิธีปฏิบัติภาวนาของพระองค์
onion
พระองค์ได้ทรงใช้วิธีธรรมชาติคือปล่อยให้กระบวนการทำงานของสติปัญญาและปฏิกิริยาภายในกายและจิตดำเนินไปตามธรรมชาติ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว สติ ปัญญาก็จะทำหน้าที่ รู้ทัน ดู สังเกต พิจารณา ค้นหาความจริงลึกเข้าไปๆโดยไม่ให้มีปฏิกิริยาใดๆมาทำให้พระองค์ละความเพียรในการสังเกตการณ์ คำตอบโดยธรรมชาติจึงเกิดขึ้นมาตามลำดับ จนถึงที่สุดของปฏิกิริยาชีวิต
พระองค์ก็ได้ทรงค้นพบ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งความเวียนว่ายตายเกิด

:b8:


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 06:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


kitti1234 เขียน:
คุณasoka ครับ
การเห็นและเข้าใจ อนิจจังทุกขังอนัตตา ยังไม่คลอบคลุมทั้งหมดอีกหรือครับ
งั้นที่บอกว่า "ทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์"..ก็คงต้องพูดใหม่ว่า "ส่วนหนึ่ง อยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์" นะซิ

ธรรมะ..มันยากตรงที่เราคิดว่า ต้องรู้ไปหมดทุกเรื่องรู้ถึง 84,000 เรื่อง ได้ยิ่งดี หรือเปล่า

ผมว่า หากเเช้าใจความหมายทั้งหมดในประโยคเดียว การรู้แจ้งในทันทีก็อาจเกิดขึ้นโดยง่าย แม่้ในคนธรรมดา ๆ เช่น คำว่า "ทางสายกลาง" "มันเป็นเช่นนั้นเอง" "ข้าหยุดแล้วแต่ท่านยังไม่หยุด" "ไม่ยินดียินร้าย" อนิจจังทุกขังอนัตตาก็ด้วย...

:b8:
อนุโมทนากับคุณkitti1234ที่สงสัยครับ
:b10:
คุณkitti1234 เห็นไตรลักษณ์แล้ว มีอะไรเกิดขึ้นต่อไปอีก หรือคุณkitti1234ทำอยางไรต่อไป
เพราะการเห็นไตรลักษณ์ยังเป็นเพียงระหว่างกลางทางเดิน ยังม่ถึงจุดหมายปลายทางที่ควรถึงใช่ไหมครับ
จุดหมาย เป้าหมายสุดท้ายของการเจริญวิปัสสนาภาวนาคืออะไร? หนอ?

:b12:
onion


โพสต์ เมื่อ: 23 พ.ค. 2012, 06:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
(ต่อ)
คำถามเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน ถ้าใครเริ่มต้นอย่างนี้ การค้นหาให้พบวิธีปฏิบัติที่จะทำให้หลุดพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จักไม่เป็นของยากเลยสำหรับบุคคลเหล่านั้นและจะไม่ยากเหมือนอย่างที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับ เพราะสูตรสำเร็จสำหรับการพ้นทุกข์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงค้นคว้าหามาพระราชทานไว้ให้พวกเราทั้งหลายแล้ว เพียงแต่พวกเราจะต้องไปศึกษาให้รู้ให้เข้าใจถึงแก่นแท้แก่นธรรมหรือหัวใจการค้นพบของพระบรมศาสดา แล้ววิธีการที่จะค้นหาให้พบโมกขธรรมย่อมจักเกิดตามมาเป็นวิธีการเฉพาะตน ตามเหตุปัจจัยที่แต่ละคนได้สร้างสมมา
ความสามารถในการปฏิบัติธรรมนั้นมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติในจิตมนุษย์ทุกคน
:b41:
สัญชาติญาณในการดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดของมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้ให้มากับมนุษย์ทุกคนอย่างเสมอเหมือนกันหมด ถ้ามนุษย์ผู้ใดมีความสังเกตดีมีสติปัญญาเฉียบแหลมเขาก็สามารถจะนำเอาค้นเอาของดีที่ธรรมชาติให้มามาใช้ประโยชน์ได้ เจ้าชายสิทธัตถะก็เช่นกัน จากคำถามที่ว่า “ทำอย่างไรเราจึงจักไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย? ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเหตุให้พระองค์เสด็จหนีออกผนวชเพื่อค้นหาคำตอบ เมื่อแรกพระองค์ก็ทำตามอย่างแฟชั่นของคนยุคสมัยนั้นคือแสวงหาอมตะธรรมด้วยการไปศึกษาวิชากับฤาษีที่เก่งที่สุดของยุคนั้น ทรงลงมือปฏิบัติ พิสูจน์ความจริงด้วยตนเองแล้วตามวิธีการทางสมถภาวนา
ของฤาษีทั้งหลาย ทรมาณพระวรกายอย่างยิ่งยวดเพื่อค้นหาคำตอบที่เหนือกว่า ก็มิได้รับคำตอบ จนในที่สุดพระองค์ได้ทรงทิ้งบัญญัติคือเรื่องราวความรู้ วิธีการปฏิบัติตามอย่างแฟชั่นสมัยนั้นกลับมาใช้ความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ คือสัญชาติญาณในการดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ปลุกสติปัญญาสมาธิขึ้นมาสังเกตพิจารณาเข้าไปในกายและจิตเพื่อจะศึกษากระบวนการทำงานของกายและจิตว่ามาเกี่ยวข้องกับการเกิด แก่ เจ็บตายอย่างไร อะไรเป็นเหตุเป็นผล เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นหาคำตอบให้ได้ว่า
”ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากความเกิดแก่เจ็บตาย”

:b48:
ในที่สุดพระองค์ก็ทรงได้รับคำตอบและได้ผลพลอยได้จากการค้นหาของพระองค์ คืออรหัตมรรคอรหัตผลและนิพพานอมตะสุข คำตอบที่พระองค์ทรงได้รับนั้นพระองค์ได้ทรงสรุปไว้เป็นหัวใจและขอบเขตแห่งธรรมดังความในปฐมเทศนาอันสรุปได้ว่า
๑.ให้เว้นทางสุดโต่ง ๒ ข้างแล้วเดินตามทางสายกลางอันมีอยู่ ๘ ข้อ
๒.สิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบคือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ทุกข์ควรกำหนดรู้ พระองค์ได้ทรงเพียรกำหนดรู้ และพระองค์ได้รู้แล้ว สมุทัย ควรละ พระองค์ได้เพียรละ และทรงละได้แล้ว นิโรธควรทำให้แจ้ง พระองค์ได้ทรงเพียรทำให้แจ้ง และทรงทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคควรเจริญ พระองค์ได้ทรงเพียรเจริญและเจริญได้แล้ว หมดสิ้นแล้วเหตุแห่งทุกข์ หมดสิ้นแล้วปัญหา พระองค์ทรงได้รับคำตอบโดยสมบูรณ์แล้วจึงได้ตรัสบอกกับปัญจวัคคีย์ทั้งหลายว่า “เราอาจหาญที่จะบรรลือสีหนาทประกาศธรรมนี้ต่อสัตว์โลกทั้งหลายได้อย่างเต็มภาคภูมิ”

:b27:
ข้อสังเกตคือวิธีปฏิบัติภาวนาของพระองค์
onion
พระองค์ได้ทรงใช้วิธีธรรมชาติคือปล่อยให้กระบวนการทำงานของสติปัญญาและปฏิกิริยาภายในกายและจิตดำเนินไปตามธรรมชาติ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว สติ ปัญญาก็จะทำหน้าที่ รู้ทัน ดู สังเกต พิจารณา ค้นหาความจริงลึกเข้าไปๆโดยไม่ให้มีปฏิกิริยาใดๆมาทำให้พระองค์ละความเพียรในการสังเกตการณ์ คำตอบโดยธรรมชาติจึงเกิดขึ้นมาตามลำดับ จนถึงที่สุดของปฏิกิริยาชีวิต
พระองค์ก็ได้ทรงค้นพบ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นที่สุดแห่งความเวียนว่ายตายเกิด

:b8:


:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 26 พ.ค. 2012, 06:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8:
(ต่อ)
หลังจากการค้นพบอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์จนทรงได้รับพระนามว่า “สัมมาสัมพุทธเจ้า” พระบรมศาสดาได้ทรงใช้เวลาชีวิตที่เหลืออยู่ตลอด ๔๕ พรรษา เมตตาโปรดแสดงธรรม สั่งสอนธรรมแก่ชาวโลก
ด้วยพระปรีชาญาณอันเลิศของพระบรมครูการสอนของพระองค์จึงมีประสิทธิภาพสูงมาก การแสดงธรรมครั้งหนึ่งๆนั้นทำให้ผู้คนเกิดดวงตาเห็นธรรมและบรรลุธรรมได้ความเป็นอริยบุคคลจำนวนมากมาย พระธรรมแต่ละบทแต่ละเรื่อง คาถาแต่ละบาท พุทธวัจนะแต่ละคำล้วนทำให้ผู้คนบรรลุธรรมได้ทั้งสิ้น เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว คำสอนทั้งหมดนั้นจึงถูกรวบรวมบันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อันทำให้เกิดความสะดวกในการค้นคว้าศึกษาธรรมของคนรุ่นหลัง แต่ความสะดวกนี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เส้นผมบังภูเขา เงาบังความจริง”ขึ้นมา อะไรคือเส้นผม อะไรคือเงา ขอให้เฝ้าติดตามกันต่อไปครับ

(ยังมีต่อ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร