วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 00:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่กบนอกกะลา :b8:
ผมมักสังเกตหรือรู้สึกถึงอะไรที่แปลกๆได้ไวเสมอ ดังที่ผมสังเกตเห็นสังขาร วิญญาณ ในปฏิจฯ ที่มีซ้ำกันในรูปนามของวงปฏิจฯ....ในสังโยชน์ผมก็สังเกตเห็นสักกายทิฏฐิที่เมื่อก้าวข้ามพ้นแล้วทำไมยังมีปฏิฆะ ทำไมยังมีกามราคะได้อยู่ จึงพิจารณาลงที่สักกายทิฏฐิกับอัตตา ก็ได้ความว่าอัตตานี้มีความลึกซึ้งกว้างและลึกยิ่งกว่าสักกายทิฏฐิมาก ดังนั้นถึงข้ามสักกายทิฏฐิได้แล้วแต่อุปทานในอัตตาทั้งหลายก็ยังมีอยู่นั่นเอง...อันนี้เป็นภูมิรู้ดั้งเดิมของผม ซึ่งผมเห็นว่ามันต่างจากหลายๆท่านอยู่จึงได้ถามเพื่อแลกเปลี่ยนธรรมกัน ส่วนจะผิดจะถูกก็พิจารณากันไปตามธรรมครับ หวังว่าพี่คงจะเข้าใจและไม่ขุ่มเคืองผมนะครับ
ขบคุณครับ :b8:


การหยั่งใจ....ในธรรมทั้งหลาย...สิ่งที่สะท้อนมาที่ใจเรา...จะมีความตื้นลึกหนาบางในธรรมบทไหน...คำคำไหน...เป็นพิเศษกว่ากันนั้น...ก็ขึ้นกับวาสนาบารมีที่ทำมา..

แต่หาก..ผลสุดท้าย...คือละความหลง...ได้

มันก็ไม่ผิด :b8: :b8:

พอดีมีนิสัยขี้เกียจ....อาจารย์บอกให้ทำข้อเดียว...ก็เลยมีกำลังใจเดินทางสายนี้ :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 13 พ.ค. 2012, 00:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 00:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาหิวผมก็หิว...หิวมากๆ...ก็ิหิวจริงๆ
เวลาร้อน...ก็เปิดพดลมไม่...ก็อาบน้ำ
เวลาอยู่กลางแดด...ก็อยากจะหาที่ร่มๆหลบแดด
ผมเป็นแบบนี้คงยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้...

ในส่วนของธรรมที่คุณ nongkong รู้และยกมาแสดงนั้นผม เห็นด้วยกันคำกล่าวนี้นะครับว่า...
อ้างคำพูด:
ตราบไดที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้หมดทั้ง 10 ก็ยังปล่อยวางขันธ์5ไม่ได้

ส่วนที่เหลือถ้าคุณ nongkong จะเข้าใจว่าเช่นนั้นผมก็ไม่ขัดข้องครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 00:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับพี่กบนอกกะลา :b8:
ผมมักสังเกตหรือรู้สึกถึงอะไรที่แปลกๆได้ไวเสมอ ดังที่ผมสังเกตเห็นสังขาร วิญญาณ ในปฏิจฯ ที่มีซ้ำกันในรูปนามของวงปฏิจฯ....ในสังโยชน์ผมก็สังเกตเห็นสักกายทิฏฐิที่เมื่อก้าวข้ามพ้นแล้วทำไมยังมีปฏิฆะ ทำไมยังมีกามราคะได้อยู่ จึงพิจารณาลงที่สักกายทิฏฐิกับอัตตา ก็ได้ความว่าอัตตานี้มีความลึกซึ้งกว้างและลึกยิ่งกว่าสักกายทิฏฐิมาก ดังนั้นถึงข้ามสักกายทิฏฐิได้แล้วแต่อุปทานในอัตตาทั้งหลายก็ยังมีอยู่นั่นเอง...อันนี้เป็นภูมิรู้ดั้งเดิมของผม ซึ่งผมเห็นว่ามันต่างจากหลายๆท่านอยู่จึงได้ถามเพื่อแลกเปลี่ยนธรรมกัน ส่วนจะผิดจะถูกก็พิจารณากันไปตามธรรมครับ หวังว่าพี่คงจะเข้าใจและไม่ขุ่มเคืองผมนะครับ
ขบคุณครับ :b8:


การหยั่งใจ....ในธรรมทั้งหลาย...สิ่งที่สะท้อนมาที่ใจเรา...จะมีความตื้นลึกหนาบางในธรรมบทไหน...คำคำไหน...เป็นพิเศษกว่ากันนั้น...ก็ขึ้นกับวาสนาบารมีที่ทำมา..

แต่หาก..ผลสุดท้าย...คือละความหลง...ได้

มันก็ไม่ผิด

ขออนุโมทนาครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 00:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พอดีมีนิสัยขี้เกียจ....อาจารย์บอกให้ทำข้อเดียว...ก็เลยมีกำลังใจเดินทางสายนี้ :b9:

พระอาจารย์ใหญ่องค์หลวงปู่มั่นเองท่านก็บอกว่าให้ทำให้ได้ข้อเดียวเหมือนกัน...คือทำสัมมาทิฏฐิให้ได้...เพราะสัมมาทิฏฐินี้คือความเห็นชอบใน อริยะสัจสี่ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ดังนั้นปฏิบัติสัมมาทิฏฐิข้อเดียวจึงรู้แจ้งแทงตลอดได้...ไม่รู้ว่าคล้ายๆกันรึป่าวนะครับ :b1:
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 01:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
เวลาหิวผมก็หิว...หิวมากๆ...ก็ิหิวจริงๆ
เวลาร้อน...ก็เปิดพดลมไม่...ก็อาบน้ำ
เวลาอยู่กลางแดด...ก็อยากจะหาที่ร่มๆหลบแดด
ผมเป็นแบบนี้คงยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้...

ในส่วนของธรรมที่คุณ nongkong รู้และยกมาแสดงนั้นผม เห็นด้วยกันคำกล่าวนี้นะครับว่า...
อ้างคำพูด:
ตราบไดที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้หมดทั้ง 10 ก็ยังปล่อยวางขันธ์5ไม่ได้

ส่วนที่เหลือถ้าคุณ nongkong จะเข้าใจว่าเช่นนั้นผมก็ไม่ขัดข้องครับ
ขอบคุณครับ :b8:


สิ่งที่กล่าวมาคือทุกข์ของรูปครับ จะเรียกว่ากินข้าวถือว่าละสักกายทิฏฐิไม่ได้นั้นคนละเหตุครับ ถึงเป็นพระอริยะบุคคลก็ยังมีความหิวอยู่ ที่เปิดพัดลมหรืออาบน้ำเวลาร้อนนั้น พระอริยะบุคคลก็สามารถจะคิดจะทำได้เพราะเป็นการใช้มรรคเข้าไปดำเนินชีวิต คือปฏิบัติตามมรรคมีองค์8 จนกว่าจะสิ้นชีวิตลง ถ้ามีความคิดที่ถูกก็เข้าสัมมาทิฏฐิ เช่นรู้ว่าแดดมันร้อน ก็เข้าร่มคลายร้อนครับ ใช้มรรดเป็นการดำเนินชีวิต

เข้าไปเห็นหรือกำหนดรู้ต้องใช้ขันธ์5ครับ คือกำหนดรู้อาการร้อนนี่คือวิปัสสนา กำหนดรู้อาการหิวนี่คือวิปัสสนา คนมีชีวิตอยู่แม้เป็นพระอริยะบุคคลแล้วอาการหิวยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ อาการเห็นยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ อาการได้ยินยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะตอบสนองอาการรู้นั้นในรูปแบบใด เพราะธาตุรู้นั้นมีเหตุคือยังมีรูป อาศัยรูปที่ประกอบกันอยู่ ปัญญาดับอวิชชา แต่ไม่ได้ดับธาตุรู้ครับ ต้องถามก่อนว่าความหมายปล่อยวางขันธ์5นั้นเข้าใจว่าอย่างไร อะไรเรียกปล่อยวาง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 02:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
อ้างคำพูด:
พอดีมีนิสัยขี้เกียจ....อาจารย์บอกให้ทำข้อเดียว...ก็เลยมีกำลังใจเดินทางสายนี้ :b9:

พระอาจารย์ใหญ่องค์หลวงปู่มั่นเองท่านก็บอกว่าให้ทำให้ได้ข้อเดียวเหมือนกัน...คือทำสัมมาทิฏฐิให้ได้...เพราะสัมมาทิฏฐินี้คือความเห็นชอบใน อริยะสัจสี่ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ดังนั้นปฏิบัติสัมมาทิฏฐิข้อเดียวจึงรู้แจ้งแทงตลอดได้...ไม่รู้ว่าคล้ายๆกันรึป่าวนะครับ :b1:
ขอบคุณครับ :b8:


ถูกต้องแล้วครับ ทำไมหลวงปู่ถึงเน้นสัมมาทิฏฐิ เพราะเป็นการคิดในทางที่ถูกต้อง เช่นขันธ์5นั้นประกอบด้วยอะไร เราต่้องเข้าไปจะแนก เข้าไปรู้ เข้าไปศึกษา ต้องรู้ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม ธรรมนี้ก็ต้องอาศัยสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้น เป็นปัญญา แต่รู้ว่าขันธื5มีอะไรแต่ไม่เข้าไปกำหนดรู้ แล้วจะเห็นความเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตาได้อย่างไร คือต้องรู้ผลด้วย

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
เวลาหิวผมก็หิว...หิวมากๆ...ก็ิหิวจริงๆ
เวลาร้อน...ก็เปิดพดลมไม่...ก็อาบน้ำ
เวลาอยู่กลางแดด...ก็อยากจะหาที่ร่มๆหลบแดด
ผมเป็นแบบนี้คงยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้...

ในส่วนของธรรมที่คุณ nongkong รู้และยกมาแสดงนั้นผม เห็นด้วยกันคำกล่าวนี้นะครับว่า...
อ้างคำพูด:
ตราบไดที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้หมดทั้ง 10 ก็ยังปล่อยวางขันธ์5ไม่ได้

ส่วนที่เหลือถ้าคุณ nongkong จะเข้าใจว่าเช่นนั้นผมก็ไม่ขัดข้องครับ
ขอบคุณครับ :b8:


สิ่งที่กล่าวมาคือทุกข์ของรูปครับ จะเรียกว่ากินข้าวถือว่าละสักกายทิฏฐิไม่ได้นั้นคนละเหตุครับ ถึงเป็นพระอริยะบุคคลก็ยังมีความหิวอยู่ ที่เปิดพัดลมหรืออาบน้ำเวลาร้อนนั้น พระอริยะบุคคลก็สามารถจะคิดจะทำได้เพราะเป็นการใช้มรรคเข้าไปดำเนินชีวิต คือปฏิบัติตามมรรคมีองค์8 จนกว่าจะสิ้นชีวิตลง ถ้ามีความคิดที่ถูกก็เข้าสัมมาทิฏฐิ เช่นรู้ว่าแดดมันร้อน ก็เข้าร่มคลายร้อนครับ ใช้มรรดเป็นการดำเนินชีวิต

เข้าไปเห็นหรือกำหนดรู้ต้องใช้ขันธ์5ครับ คือกำหนดรู้อาการร้อนนี่คือวิปัสสนา กำหนดรู้อาการหิวนี่คือวิปัสสนา คนมีชีวิตอยู่แม้เป็นพระอริยะบุคคลแล้วอาการหิวยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ อาการเห็นยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ อาการได้ยินยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะตอบสนองอาการรู้นั้นในรูปแบบใด เพราะธาตุรู้นั้นมีเหตุคือยังมีรูป อาศัยรูปที่ประกอบกันอยู่ ปัญญาดับอวิชชา แต่ไม่ได้ดับธาตุรู้ครับ ต้องถามก่อนว่าความหมายปล่อยวางขันธ์5นั้นเข้าใจว่าอย่างไร อะไรเรียกปล่อยวาง

คุนน้องเข้าใจที่ท่านstudentพูดเจ้าค่ะ แต่ไม่รู้คุณลูกพระป่าจะเข้าใจหรือเปล่า คุนน้องถามอย่างก็ตอบมาอย่าง ติ๊งต๊องดีเจ้าค่ะ คุนน้องเลยขี้เกียจคุยด้วย เพราะแกไม่เข้าใจว่า อารมณ์ของอริยะบุคคลมันเป็นอย่างไรเลยปล่อยไก่ตัวเบ้อเร้อ อย่างที่คุณstudentท้วงติงนั่นแหละเจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 06:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
เวลาหิวผมก็หิว...หิวมากๆ...ก็ิหิวจริงๆ
เวลาร้อน...ก็เปิดพดลมไม่...ก็อาบน้ำ
เวลาอยู่กลางแดด...ก็อยากจะหาที่ร่มๆหลบแดด
ผมเป็นแบบนี้คงยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้...

ในส่วนของธรรมที่คุณ nongkong รู้และยกมาแสดงนั้นผม เห็นด้วยกันคำกล่าวนี้นะครับว่า...
อ้างคำพูด:
ตราบไดที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้หมดทั้ง 10 ก็ยังปล่อยวางขันธ์5ไม่ได้

ส่วนที่เหลือถ้าคุณ nongkong จะเข้าใจว่าเช่นนั้นผมก็ไม่ขัดข้องครับ
ขอบคุณครับ :b8:


สิ่งที่กล่าวมาคือทุกข์ของรูปครับ จะเรียกว่ากินข้าวถือว่าละสักกายทิฏฐิไม่ได้นั้นคนละเหตุครับ ถึงเป็นพระอริยะบุคคลก็ยังมีความหิวอยู่ ที่เปิดพัดลมหรืออาบน้ำเวลาร้อนนั้น พระอริยะบุคคลก็สามารถจะคิดจะทำได้เพราะเป็นการใช้มรรคเข้าไปดำเนินชีวิต คือปฏิบัติตามมรรคมีองค์8 จนกว่าจะสิ้นชีวิตลง ถ้ามีความคิดที่ถูกก็เข้าสัมมาทิฏฐิ เช่นรู้ว่าแดดมันร้อน ก็เข้าร่มคลายร้อนครับ ใช้มรรดเป็นการดำเนินชีวิต

เข้าไปเห็นหรือกำหนดรู้ต้องใช้ขันธ์5ครับ คือกำหนดรู้อาการร้อนนี่คือวิปัสสนา กำหนดรู้อาการหิวนี่คือวิปัสสนา คนมีชีวิตอยู่แม้เป็นพระอริยะบุคคลแล้วอาการหิวยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ อาการเห็นยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ อาการได้ยินยังคงแสดงอยู่เพราะมีธาตุรู้ ขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะตอบสนองอาการรู้นั้นในรูปแบบใด เพราะธาตุรู้นั้นมีเหตุคือยังมีรูป อาศัยรูปที่ประกอบกันอยู่ ปัญญาดับอวิชชา แต่ไม่ได้ดับธาตุรู้ครับ ต้องถามก่อนว่าความหมายปล่อยวางขันธ์5นั้นเข้าใจว่าอย่างไร อะไรเรียกปล่อยวาง


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 11:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุนน้องเข้าใจที่ท่านstudentพูดเจ้าค่ะ แต่ไม่รู้คุณลูกพระป่าจะเข้าใจหรือเปล่า คุนน้องถามอย่างก็ตอบมาอย่าง ติ๊งต๊องดีเจ้าค่ะ คุนน้องเลยขี้เกียจคุยด้วย เพราะแกไม่เข้าใจว่า อารมณ์ของอริยะบุคคลมันเป็นอย่างไรเลยปล่อยไก่ตัวเบ้อเร้อ อย่างที่คุณstudentท้วงติงนั่นแหละเจ้าค่ะ

:b1: :b1: หึหึ...ขอโทษนะครับที่หัวเราะ แต่พอได้อ่านสิ่งที่คุณ nongkong เขียนแล้ว ปฏิกริยาแรกของผมคือหัวเราะเบาๆออกมา 2 ครั้งจริงๆ..."อารมณ์ของอริยะบุคคล"คำพูดนี้แหละที่ทำให้ผมหัวเราะอุทานออกมา :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว้าว กระทู้ได้รับความนิยมน่าดู ปลื้มสุดๆอ่ะ จุ๊ย์ๆๆๆๆ เข้ามาช่วยกันขุดๆๆๆ กระทู้เยอะๆนะค๊าฟฟฟฟ สะสมโพสต์ได้สัก 1,000 เมนต์ต์ล่ะก็นะคุณแม่ปลื๊มปลื้มอ่ะ รีบเข้ามาช่วยกันโพสต์ด้วยนะทุกโค้นนนนนน อย่าลืมกดไลค์ให้ด้วยนะ บ๊ะเจ้าาาาา
รูปภาพ
ฮานะเจ้ามะฮะ กั๊ก กั๊ก กั๊ก

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
อ้างคำพูด:
คุนน้องเข้าใจที่ท่านstudentพูดเจ้าค่ะ แต่ไม่รู้คุณลูกพระป่าจะเข้าใจหรือเปล่า คุนน้องถามอย่างก็ตอบมาอย่าง ติ๊งต๊องดีเจ้าค่ะ คุนน้องเลยขี้เกียจคุยด้วย เพราะแกไม่เข้าใจว่า อารมณ์ของอริยะบุคคลมันเป็นอย่างไรเลยปล่อยไก่ตัวเบ้อเร้อ อย่างที่คุณstudentท้วงติงนั่นแหละเจ้าค่ะ

:b1: :b1: หึหึ...ขอโทษนะครับที่หัวเราะ แต่พอได้อ่านสิ่งที่คุณ nongkong เขียนแล้ว ปฏิกริยาแรกของผมคือหัวเราะเบาๆออกมา 2 ครั้งจริงๆ..."อารมณ์ของอริยะบุคคล"คำพูดนี้แหละที่ทำให้ผมหัวเราะอุทานออกมา :b1: :b1:

เวลาหิวผมก็หิว...หิวมากๆ...ก็ิหิวจริงๆ
เวลาร้อน...ก็เปิดพดลมไม่...ก็อาบน้ำ
เวลาอยู่กลางแดด...ก็อยากจะหาที่ร่มๆหลบแดด
ผมเป็นแบบนี้คงยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้...

แล้วประโยคนี้พูดมาทำไม ถ้าเข้าใจคำว่าสังโยชน์ 10 หรือคุนปัญญาทรามมากเลยไม่เข้าใจที่ดิฉันพูด แล้วไม่ต้องมาหัวเราะดิฉัน ตัวคุณนอนกับเมียอยู่มีเพศสัมพันธ์กับเมียอยู่ ยังจะกล้ามาหัวเราะคนอื่น ทุเรศว่ะ น่าไม่อาย :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 13:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


หึหึ :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 14:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึง คุณโฮฮับ

เราว่าคุณอาจจะยังไม่ได้อ่าน...เราจะรอถึงวันพุธน่ะ...ถ้าถึงวันนั้นเราจะมาลบคำตอบที่คุณถาม ถ้าคุณยังไม่อ่าน คุณเข้ามาอ่านน่ะ เราเขียนคำตอบที่คุณต้องการแล้ว อยู่หน้า 19...เมื่อคุณเขียนเสร็จเราค่อยมาถกปัญหาธรรมกัน แบบสร้างสรร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 15:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 12:36
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุท่านเช่นนั้นด้วยค่ะ กราบท่านเช่นนั้น ท่านกรัชกาย ท่านกบนอกกะลา และ ท่านอโสกะ และทุกท่าน ขอร่วมแสดงความคิดเห็นกับคุณขนมจีบซาลาเปาด้วยค่ะ
ในการปฎิบัติเมื่อปฎิบัติมาถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกว่าในจิตเรานั้น จะรู้สึกว่าขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันรู้สึกอย่างชัดเจน เพราะทั้งเวทนากายเวทนาจิตที่แยกกันรู้สึก เวทนาก็จะผ่านมาทั้งสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ สัญญาที่แสดงตัวให้สติรู้ชัดโดยเฉพาะสัญญาที่เป็นกิเลสจะแสดงให้เห็นให้รู้สึกได้อย่างชัดเจน สังขารและ วิญญาณหรือจิตก็จะรู้สึกตั้งแต่จิตกระเพื่อม จิตปักแน่น จิตเฉย จิตว่าง จนถึงไม่รู้สึกว่ามีจิต ก็แสดงให้รู้ชัดในทุกๆ วินาทีจิตจะพัฒนาไปตามกำลังของฌานวิปัสสนา
การที่ใจไม่ติดไม่สนใจในรูปก็เป็นปกติของผู้ที่ปฎิบัติมาถึงขั้นนี้จะรู้สึกเช่นนั้น น่าจะเป็น พลวอุทยัพพยญาณ ภังคญาณ จนถึง อาทีนวญาณ เป็นความคิดเห็นนะคะ การแยกกันรู้สึกของขันธ์ที่แสดงนั้นก็คือฌาณวิปัสสนาในระดับนี้น่ะค่ะ ส่วนใหญ่เท่าที่เคยประสบ สภาวะต่างๆ จะมาแสดงให้รู้ชัดเช่น ความรู้สึกเฉยที่ปรากฎกับคุณขนมจีบซาลาเปานี้ก็จะมีช่วงระยะเวลาของมันเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นมาตั้งอยู่และก็จะดับไปในที่สุด แต่จากที่คุณขนมจีบซาลาเปาเล่ามานั้นคุณยังไม่ถึงสภาวะจิตเฉยผัสสะไม่กระทบกับจิต และจิตว่างผัสสะไม่กระทบกับจิต ในการผ่านฌานทั้ง 1-16 ในครั้งแรกนั้นสิ่งที่เห็นชัดก็คือ ปัญญารู้เรื่อง รูป และ นามทั้งหมด ความเกิด ความดับ ของทั้งรูปและนาม เช่นเมื่อเราผ่านสังขารุเบกขาฌานคือการวางเฉยต่อรูปนามแล้ว ในลำดับต่อไปก็จะเป็นปฏิปทาญาณ โคตรภูญาณ ปัญญาแจ้งในพระนิพพาน อันจะมีสภาวะที่ผัสสะไม่กระทบ ซึ่งจะประกฎให้รับรู้ประมาณสองสัปดาห์ สภาวะจิตเราจะรู้ชัดว่าสัมผัสจากอายตนะภายนอกที่เกิดขึ้นทุกๆ ทวารจะไม่กระทบกับจิตเลย ผัสสะจะคล้ายๆ กับจะร่วงหล่นอยู่ข้างๆ กาย จะไม่กระทบกับจิต ซึ่งถ้าถึงซึ่งสภาวะนี้แล้วคุณจะสัมผัสกับสภาวะนิพพานชั่วขณะหนึ่งซึ่งก็จะ เป็นจิตว่าง จิตเฉยเมยอายตนะทั้งหมดค่ะ จะเป็นสภาวะของการขวนขวายน้อย หลังจากผ่านสภาวะนี้แล้วก็จะเป็นการแจ้งชัดในกิเลสที่เราละได้แล้วและกิเลสที่ยังเหลืออยู่ คุณลองศึกษาก็แล้วกันนะคะแล้วคุณจะสามารถลองเทียบกับสภาวะของตนเองได้ เราในฐานะผู้ปฎิบัติจะต้องผ่านในจุดนี้ซึ่งก็คือการผ่านวิปัสสนาฌาน1-16 คือจนถึงปัจเวกขยฌาน ในครั้งแรกนั่นเอง คุณขนมจีบซาลาเปาลองศึกษาพระอภิธรรมในปริจเฉทที่ 9 นี้(ดิฉันยกมาไม่ค่อยเป็นแต่อยากให้คุณศึกษาจึงพยายามยกมาให้น่ะค่ะคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ)
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117
118 119 120 121 122 123 124 125 126 ค้นหาหัวข้อธรรม

สรุป
สรุปความว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงานทางใจ เพื่อให้รู้แจ้งประจักษ์ซึ่งปรมัตถธรรมนั้น
กล่าวโดยภูมิ ที่เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ก็มี ๖
กล่าวโดยญาณ ที่เรียกว่า โสฬสญาณ ก็มี ๑๖
กล่าวโดยความบริสุทธิ ที่เรียกว่า วิสุทธิ ก็มี ๗
กล่าวโดยบุคคล ที่เรียกว่า อริยบุคคล ก็มี ๘
วิปัสสนาภูมิ
๑. ขันธ์ ๕ ๒. อายตนะ ๑๒ ๓. ธาตุ ๑๘ ๔. อินทรีย ๒๒ ๕. ปฏิจจสมุปปาท ๖. อริยสัจจ ๔
ญาณ ๑๖ วิสุทธิ ๗ ปรับเข้ากันได้ดังนี้
สีลวิสุทธิ จตุปาริสุทธิสีล ๑. ปาฏิโมกขสังวรสีล ให้ตั้งอยู่ในสีล
๒. อินทรียสังวรสีล สำรวมระวังอินทรียทั้ง ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิสีล มีความเป็นอยู่โดยบริสุทธิ
๔. ปัจจยสันนิสสิตสีล พิจารณาก่อนบริโภค
จิตตวิสุทธิ ขณิกสมาธิ ไม่เผลอไปจากปัจจุบันธรรม
ทิฏฐิวิสุทธิ นามรูปปริจเฉทญาณ กำหนดแจ้งในรูปและนาม
ละ สักกายทิฏฐิ เห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน
เป็น ญาตปริญญา
กังขาวิตรณวิสุทธิ ปัจจยปริคคหญาณ รู้แจ้งปัจจัยแห่งรูปและนาม
ละ อเหตุกทิฏฐิ เห็นผิดว่าไม่มีเหตุ
ละ วิสมเหตุกทิฏฐิ ยึดในเหตุที่ไม่เหมาะสม
ละ กังขามลทิฏฐิ หม่นหมองเพราะสงสัย
เป็น ญาตปริญญา
สัมมสนญาณ เห็นความเกิดของรูปนาม
มัคคามัคคญาณ ละสมูหัคคาหะ การยึดเรา ยึดเขา
ทัสสนาวิสุทธิ เป็น ญาตปริญญา
ตรุณอุทยัพพยญาณ เห็นทั้งความเกิดและความดับของรูป นามแต่ยังมีวิปัสสนูปกิเลสมารบกวนอยู่
ละ อมัคเคมัคคสัญญา สัญญาที่เข้าใจผิด
เป็น ตีรณปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ พลวอุทยัพพยญาณ เห็นทั้งความเกิดและความดับของรูปและนาม โดยปราศจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว
ละ อุจเฉททิฏฐิ เห็นผิดว่าตายแล้วสูญ
เป็น ตีรณปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ ภังคญาณ เห็นแต่ความดับของรูปนาม
ละ สัสสตทิฏฐิ เห็นผิดว่าเที่ยง
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ ภยญาณ เกิดปัญญารู้แจ้งว่า รูปและนามนี้เป็นภัย
ละ สภเยอภยสัญญา สัญญาที่ไม่แจ้งในภัย
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ อาทีนวญาณ เกิดปัญญารู้แจ้งว่า รูปและนามนี้เป็นโทษ
ละ อัสสาทสัญญา สัญญาที่ยินดี
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ นิพพิทาญาณ เกิดปัญญาเบื่อหน่ายในรูปนาม
ละ อภิรติสัญญา สัญญาที่เพลิดเพลิน
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ มุญจิตุกมยตาญาณ อยากพ้นจากรูปนาม
ละ อมุญจิตุกามภาวะ การข้องอยู่ในกาม
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ ปฏิสังขาญาณ หาอุบายที่จะให้พ้นจากรูปนาม
ละ อปฏิสังขาน การยึดโดยไม่ไตร่ตรอง
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ สังขารุเบกขาญาณ วางเฉยต่อรูปนาม
ละ อนุเปกขณะ การยึดโดยไม่วางเฉย
เป็น ปหานปริญญา
ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิ อนุโลมญาณ คล้อยตามให้เห็นอริยสัจจ
ละ สัจจปฏิโลมคาหะ การยึดโดยไม่คล้อยตามสัจจะ
เป็น ปหานปริญญา
จัดเป็นปฏิปทาญาณ โคตรภูญาณ ปัญญาแจ้งในพระนิพพาน
ทัสสนาวิสุทธิโดยปริยาย เป็น ปหานปริญญา
ญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคญาณ ปหานกิเลสเป็นสมุจเฉท
เป็น ปหานปริญญา
จัดเป็น ญาณทัสสน ผลญาณ เสวยอารมณ์พระนิพพานตามมัคค
วิสุทธิ โดยอนุโลม ปัจจเวกขณญาณ พิจารณามัคคผล นิพพาน และกิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังคงเหลือ


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 15:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 12:36
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
เป็นไปได้ไหม ที่ในจิตเรานั้น จะรู้สึกว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันออกอย่างชัดเจน ที่ถามเพราะดิฉันรุ้สึกอย่างนี้ ไม่มีขันธ์ไหนเกี่ยวข้องกันในความรู้สึกนะค่ะ

เนื่องจากดิฉันเป็นผู้ฝึกผู้เรียนรู้ ดิฉันเลยไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ดิฉันรู้นั้นถูกหรือไม่ จึงต้องมาขอความเมตตาจากท่านผู้รู้ในนี้นะค่ะ ดิฉันจะยกตัวอย่างความรุ้สึกให้ดูนะค่ะ จะได้เข้าใจกันได้ตรงกัน

เราสามารถเห็นได้ชัดเจน ถึงการแยกออกจากกันถึง รูปขันธ์ และนามขันธ์
ส่วนนามขันธ์ การแยกความเจือกันของนามขันธ์ทำได้ยากมาก
เช่น เรารู้ว่า นี่เวทนา แต่เราไม่อาจกำหนดเพียงเวทนาเท่านั้นได้ เพราะ วิญาญาณก็ตั้งอยู่พร้อมกับเวทนานั้น ขณะที่เรารู้สัญญา เราก็ไม่อาจกำหนดเพียงสัญญาอย่างเดียวได้ เพราะขณะรู้สัญญานั้นก็มีวิญญาณกับเวทนาเจืออยู่เช่นกัน
เวทนา สัญญา กับวิญญาณ มักจะเจือกันเสมอ ดังนั้นในการเข้าเวทยิตนิโรธสมาบัติจึงดับจิตสังขาร คือเวทนากับสัญญา
สังขารขันธ์ เช่นสติ กับปัญญา จะดับลงพร้อมกับวิญญาณ
การเข้าไปรู้แยกแยะขันธ์ทั้ง 5 ออกจากกันอย่างชัดเจน ต้องอาศัยฌานและปัญญาที่มีกำลังมาก
ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
- เมื่อเห็นรูป ใจมันตัด รูปก็คือรูป ใจไม่ติดไม่สนใจ เห็นรูป ก็คือเห็นรูป ไม่มีความรู้สึกต่อ มันหยุดที่เห็นรูปเท่านั้น

เมื่อเห็นรูป แต่รูปนั้น ไม่เป็นที่รักที่ยินดี จิตโดยธรรมชาติแม้ไม่ตัด ก็ไม่หน่วงเอาอารมณ์นั้นมาสู่จิต
เช่น เราเดินเล่นไประหว่างทาง เราเห็นรูปผ่านเข้ามามากมาย แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจ เพราะรูปที่ผ่านมาไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีพอใจหรือสนใจอย่างไรเลย

เมื่อเห็นรูปอันเคยเป็นที่รักที่น่ายินดี ยินร้าย หรือรูปอันมีความเคยชินที่จะเข้าไปรักเข้าไปยินดี เข้าไปยินร้าย การเห็นรูปเช่นนี้แล้วไม่ใส่ใจไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ด้วยกำลังสติ และความรู้ึึสึกตัว ก็ทำได้ ทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ จนความยินดียินร้ายต่อรูปนั้นสิ้นไปหมดไป จางคลายไปในทีสุด

ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
- มีไหม ที่ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มี มีแต่ความเฉย และมีรำคาญกับสิ่งที่กระทบภายนอกบ้าง ในใจนั้นจะมีอารมณ์เดียว คือ คือนิ่งอยุ่กับตัวไม่ได้สนใจรูป ไม่ได้สนใจสังขาร ไม่ได้สนใจวิญญาณ

ความวางเฉยต่ออารมณ์อันจิตเข้าไปพัวพัน มีลักษณะอยู่ 2 อย่างคือ วางเฉยด้วยความไม่รู้ และวางเฉยด้วยความเห็นแจ้ง

วางเฉยด้วยความไม่รู้ คือไม่รู้จะต้องไปทำอะไรกับอารมณ์นั้นต่อ จึงหลีกอารมณ์นั้นวางเฉยเสียมีความพอใจที่จะอยู่กับอทุกขมสุขเวทนา แทนที่จะไปตั้งอยู่ในทุกขเวทนานั้น กล่าวง่ายๆ คือหนีอย่างหนึ่งเพื่อจะไปสู่อีกอย่างหนึ่ง

วางเฉยด้วยความเห็นแจ้ง
วางเฉยด้วยความรู้สึกถึงสภาพธรรม ถึงความเป็นไปตามกรรมของสัตว์นั้น ถึงความเห็นแจ้งต่อความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสังขารต่างๆนั้นเป็นความวางเฉยที่ทำความเห็นแจ้งชัดต่ออารมณ์ที่จิตเข้าไปพัวพันด้วย อย่างนี้เป็นความวางเฉยตั้งมั่นอยู่
ส่วนกรณีที่จิตเข้าสู่ ความตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวคือ ความกำหนดอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น ก็ทำได้ แต่ไม่ใช่ไม่สนใจสังขาร ไม่สนใจรูป ไม่สนใจวิญญาณ เช่นการกำหนดรูปสัญญา เป็นอารมณ์จิตตั้งมั่นอยู่ในรูปสัญญานั้น ไม่กำหนดรูปสัญญาอื่นใด
หรือการกำหนดอรูปสัญญา ในขณะแห่งจตุถฌาน จิตละรูปสัญญาไม่ใส่ใจในรูปทั้งหลาย ใส่ใจอรูปสัญญาไม่สนใจรูป ก็ยังมี แต่สังขารกับ วิญญาณต้องดำเนินต่อไป

หากวางเฉยแล้วยังมีความรำคาญกับสิ่งกระทบภายนอกบ้าง ไม่ได้วางเฉยครับ แต่เป็นความยินร้ายครับเกิดทุกขเวทนาครับ เมือรำคาญย่อมมีรูปเป็นอารมณ์ สังขารปรุงคิดไปตามดำริต่อรูปต่อเวทนา วิญญาณก็แล่นไปตามรูป เวทนา สัญญา สังขารนั้นครับ

เจริญธรรม
สาธุท่านเช่นนั้นในเรื่องการวางเฉยด้วยความไม่รู้กับการวางเฉยด้วยความรู้แจ้ง คุณขนมจีบซาลาเปาคะ ขอคุยในเรื่องนี้ด้วยนะคะ การวางเฉยในรูป รูปในความรู้สึกก็คล้ายๆ กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวคุณใช่ไหมคะ นั่นคือการละสักกายทิฎฐิในส่วนของรูปได้นั่นเองซึ่งก็อาจจะเป็นผลมาจากการที่เราเห็นการเกิดดับของรูป นาม เห็นหรือรู้สึกในเวทนาที่แยกกันรู้สึกของกายและจิตนั่นเอง แต่ความวางเฉยในนามตัวคุณขนมจีบซาลาเปายังรู้สึกว่าจิตคือตัวคุณอยู่ใช่ไหมคะคุณยังวางเฉยในส่วนของนามยังไม่ได้ยังละอุปทานขันธ์ตัววิญญานยังไม่ได้ เพราะในส่วนของนามนี้เป็นสักกายทิฐฎิที่เป็นอุปทานในขันธ์ ๕ ทั้งหมดโดยเฉพาะในส่วนของสัญญา สังขาร และวิญญาณ การจะดับก็ต้องดับวิญญาณชั้นในน่ะค่ะ สิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณมาตลอดเวลาที่ปฎิบัติมา สภาวะต่างๆ ที่เราจะประสบจะไม่เคยซ้ำกันเลยไม่ใช่หรือคะลองตรองดู และค่อยๆ ดูมันไป เพียรปฎิบัติสมถและวิปัสสนาไปคือสิ่งที่ควรกระทำดิฉันคิดเช่นนั้นยังมีอีกหลายสภาวะที่มากกว่านี้มากๆ รอคอยนักปฎิบัติที่เอาจริงเอาจังเพียรปฎิบัติอยู่ค่ะค่อยๆเพียรไปนะคะ ซึ่งในส่วนของสักกายทิฐฎินี้จะหลุดได้
เมื่อเราไม่ “...ตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล
สักกายทิฏฐิจึงมีได้...” ดังรายละเอียดด้านล่างนี้

๔. จูฬเวทัลลสูตร
การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
[๕๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต
เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เรื่องสักกายทิฏฐิ
[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระ-
*ผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?
ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์ ๑
เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทาน
ขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.
วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้
แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกาย-
*สมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี
เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระ-
*ภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไร
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละ
คืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิ-
*โรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความ
ตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน
เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่
อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.
[๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม
ของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็น
สัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล
สักกายทิฏฐิจึงมีได้.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรม
ของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็น
ตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...
ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความ
เป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนใน
วิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี…”

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๙๔๒๐ - ๙๖๐๑. หน้าที่ ๓๘๗ - ๓๙๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... &pagebreak


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร