วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 17:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างขยายความได้ว่า .. :b51: :b39: :b51:

เมื่อผู้ปฏิบัติได้รับการกระทบจนเกิดผัสสะทางทวารใดๆก็ตามแล้วนั้น ให้ใช้สติเข้าประกอบจิตที่เป็นผู้รับรู้ผัสสะ เพื่อสำรวมในการรับการกระทบ คือสักแต่ว่ารู้ และรู้ชัดในการกระทบ ไม่วิ่งออกไปปรุงแต่งกิเลสคือตัณหาต่อ :b46: :b39: :b46:

(คือไม่ส่งจิตออกนอก ตามสำนวนขององค์หลวงปู่ดูลย์) :b47: :b50: :b51:

ซึ่งจะทำให้จิตที่เกิดหลังจากการกระทบ ไม่ตกลงไปในข้างอกุศลจิต "หลง" หรือฟุ้งไปด้วยโมหะเป็นตัวยืนพื้นขึ้นมา .. ก่อนที่จะปรุงต่อด้วยราคะ (อภิชฌา) หรือโทสะ (โทมนัส) :b42: :b42: :b42:

(ซึ่งตรงนี้ในทางอภิธรรมเรื่องวิถีจิต ไม่ว่าจะเป็นปัญจทวารวิถีหรือมโนทวารวิถี สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ขบวนการที่เกิดขึ้น รวมถึงผลต่อเนื่องของวิถีจิตได้อย่างพิสดารหลากหลายนะครับ แต่ขอเว้นไว้ก่อนเพราะจะทำให้เนื้อหาอ่านยากเกินไป ไว้ถ้ามีเวลาจะเสริมเพิ่มรายละเอียดอีกที) :b38: :b37: :b39:

เช่น เมื่อชายหนุ่มเห็นหญิงสาวเดินมา :b46: :b39: :b46:

ให้สำรวมการเห็น คือให้สักแต่ว่า “เห็น” ไม่ถือเอาว่า เห็น “สาวสวย” (คือไม่ถือเอาโดยนิมิต คือเครื่องหมายหยาบที่ทำให้เกิดกิเลส ที่เป็นส่วนรูปร่างสัณฐานในภาพรวม) :b48: :b47: :b48:

หรือเห็น “หน้าสวย – จมูกสวย – ผิวสวย – เสื้อผ้าสวย ฯลฯ” (คือไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ คือ เครื่องหมายละเอียดที่ทำให้เกิดกิเลส ที่เป็นส่วนประกอบของรูปร่างสัณฐานนั้น) ตามพุทธพจน์ แล้วจิตไหลตามไปปรุงแต่งราคะขึ้นมา :b22: :b21: :b39:

นี่คือการมีสติคุ้มครองรักษาทวาร ที่ถ้าไม่รักษาแล้ว “จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ” ตามคำของพระบรมครู :b8: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ผู้ปฏิบัติอาจจะแย้งว่า .. :b10: :b10: :b10:

สิ่งนี้มันยากจริงๆน๊ะ จะทำได้เหรอ เพราะจิตเรานั้นมันเร็วมาก เห็นผู้หญิงสวยเดินมามันไม่เคยหยุดให้แค่เห็นได้เลยนี่หน่า จิตเจ้ากรรมชอบตามไปปรุงแต่งจนรู้สึกไหวๆเยิ้มๆเคลิ้มๆ หรือตื่นเต้นวาบหวิวอยู่ภายในเพียงชั่วแวบเดียวที่เห็นสาวสวยแล้ว :b22: :b5: :b6:

ลองนึกถึงเวลาเห็นภาพสาวสวยสุดเซ็กซี่นุ่งน้อยห่มน้อยตามปกหนังสือที่เกลื่อนแผงอยู่ในโลกปัจจุบันที่วัตถุกามระบาดไปทั่วนี้ดูซิครับ ถ้าเป็นจิตที่ไม่ได้ฝึกสติมาดีแล้ว เมื่อมองเห็นปุ๊ป จะเกิดอาการฉ่ำเยิ้มในจิต (คือการเกิดขึ้นของตัณหา) :b5: :b41: :b41:

รู้สึกถึงแรงดึงดูดของรูปที่มีต่อนัยน์ตา (คือการเกิดขึ้นของ อุปาทาน) ถึงแม้ว่าทั้งแผงจะมีหนังสืออื่นๆอีกมากมาย ก็ไม่ดึงดูดตาและใจได้เท่า :b22: :b41: :b41:

จนเกิดอาการทะยานไหวเสียวแวบขึ้นในจิต (คือการเกิดขึ้นแห่งภพ และชาติ) ซึ่งเป็นภาพรวมๆที่เกิดขึ้นภายในชั่วนาโนวินาที :b5: :b6: :b41:

แต่สำหรับผู้ที่ฝึกสติมาดีพอสมควรแล้ว โดยเฉพาะในระดับสกทาคามีมรรคบุคคลที่ผ่านโสดาปัตติผลมาแล้วนั้น สติ (สตินทรีย์) ได้พัฒนาแก่กล้าขึ้นมาพอสมควรที่จะตามเห็นได้ถึงจิตที่ไหว “ส่งออกนอก” ไปอยู่ที่รูปที่เห็นนั้น จนถึงการปรุงแต่งกิเลสต่างๆได้ :b4: :b46: :b41:

(คือ โดนกิเลสเอาไปกินแล้ว แต่ยังสามารถตามทันไม่ให้เลยเถิดจนละเมิดศีลออกมาทางกายวาจา ซึ่งจะต้องฝึกสติต่อไปให้ just สักแต่ว่าเห็นให้ได้ในขั้นสกทาคามีมรรค จนถึงอนาคามีผล ถึงจะเกิดสภาพ “สักแต่ว่าเห็น” ได้อย่างถาวร) :b1: :b38: :b37: :b39:

นี่พูดถึงระดับโสดาบันที่สติยังไม่แก่รอบดีนะครับ คือเมื่อสัมผัสวัตถุกามด้วยตา (หรือผัสสะอื่นๆทางอายตนะอื่นๆ) แล้วไม่สามารถ "สักแต่ว่าสัมผัส" ได้ แต่ก็ยังมีสติ "ตาม" ทันการเกิดขึ้นของตัณหาภายในชั่วแวบที่เกิดขึ้น :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนในระดับที่สูงขึ้นไป เช่นในระดับสกทาคามีที่กำลังปฏิบัติในอนาคามีมรรคจนจะได้อนาคามีผล หรือในระดับที่ได้อนาคามีผลแล้วนั้น :b1: :b38: :b37: :b39:

สติจะเข้ามาคุ้มครองจิตให้ "สักแต่ว่าสัมผัส" ทางอายตนะทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้จริงๆ คือสติจะตามทันจนเข้ามาคุ้มครองจิตอยู่ได้ตลอดเวลา อินทรียสังวรศีลในอายตนะ ๕ จึงไม่พร่องโดยประการทั้งปวง :b46: :b39: :b46:

(แต่ทางอายตนะสุดท้าย คือทางใจนั้น ในระดับอนาคามีแล้ว จะสามารถ "สักแต่ว่าสัมผัส" ได้เฉพาะที่ผ่านทางปสาทรูปทั้ง ๕ (คือ ปัญจทวารวิถี) และธรรมารมณ์อย่างหยาบที่ไม่เป็นราคะและปฏิฆะ (เพราะราคะและปฏิฆะได้สำรอกไม่มีเหลือแล้ว จึงไม่เกิดขึ้นอีกเป็นธรรมารมณ์ในมโนทวารวิถี) :b46: :b39: :b46:

คือ แม้ในขณะหลับ สติก็จะเข้าไปคุ้มครองจิตได้ :b1: :b46: :b44: :b46:

แต่ไม่สามารถ "สักแต่ว่าสัมผัส" ในธรรมารมณ์ ละเอียด ที่เกิดเฉพาะทางใจ (มโนวิญญาณวิถี) ได้ :b44: :b42: :b44:

เช่น เมื่อเข้าฌานแล้วเกิดสุขสงบ ก็ยังมีความยินดีในสุขสงบแห่งฌานอยู่ ไม่ได้สัมผัสในสุขสงบอย่างเป็นกลาง แต่ก็ยังมีสติ รู้เท่าทันในความยินดีพอใจนั้น (คือรู้ว่ายินดีพอใจ แต่ยังละได้ไม่ขาด ฯลฯ)) :b47: :b46: :b47:

ดังนั้น รายละเอียดในวิธีปฏิบัติตามแผนที่หลักของพระบรมครู ที่หาได้จากแผนที่รองของพ่อแม่ครูอาจารย์ก็คือ การฝึก "รู้ในตัวรู้" ที่องค์หลวงปู่ดูลย์ท่านได้เมตตาขยายความไว้นั่นเอง ซึ่งขอตัดท่อนมาจากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม" http://www.nkgen.com/517.htm ดังนี้ครับ :b8: :b46: :b39: :b41:

"ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- เป็น สัมมาสมาธิ คือประกอบด้วยความตั้งมั่น)ไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ" (น.๔๖๙) :b46: :b39: :b41:

แล้วมาต่อในส่วนการปฏิบัติให้เกิดอินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะ ด้วยการ "รู้ลงในตัวรู้" หรือ "รู้ลงที่ใจ" ตามคำสอนของหลวงปู่ดูลย์และหลวงปู่เทสก์กันต่อในคราวหน้า :b47: :b39: :b47:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2012, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ :b8: เข้ามาอ่านเจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2012, 17:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การข้ามพ้นจากปุถุชนสู่อริยะ เมื่อการปฏิบัติดำเนินถึงช่วงสุดท้ายผู้ปฏิบัติจะพบความดับ (หมดสติ)ชั่วขณะ และไม่ใช่การเผลอสติ เพราะก่อนจะพบความดับยังมีสติสมบูรณ์ ฃึ่งจุดนี้มีการเข้าใจผิดกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าใจว่าเป็นอริยะแต่ยังเป็นปุถุชน เดี๋ยวความเป็นปุถุชนก็แสดงออกมา เพราะความเป็นอริยะเกิดจากกิเลสถูกมรรคประหารเป็นสมุทเฉทแล้ว จะไม่กลับมาอีก เหมือนเกิดใหม่ไม่ใช่คนเิดิมอีกต่อไปการเข้าถึงความเป็นอริยะ ชัดที่สุดคือ สักกายทิฐิ เข้าใจว่าขันธ์ 5 เป็นตัวตน เมื่อสักกายะทิฐิถูกทำลาย ศูนย์กลางของความรู้สึกจะหายไป ความรู้สึกจะกระจาย แต่ไม่ใช่อรูปเพราะอรูปยังมีการกระจายออกจากศูนย์กลาง เมื่อเราไม่ได้คิดจากศูนย์กลาง ความคิดจะเป็นเหตุเป็นผลตามความจริงมากขึ้น เพราะความมีส่วนได้ส่วนเสียจากความคิดและการกระทำอันเกิดจากสักายะทิฐิหมดลงนั่นเอง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 13:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 22:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ศูนย์กลาง...อันมีกายเป็นเป้าหมายให้รักษา

ศูนย์กลาง...อันเป็นอวิชชาเป็นพลังงาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 22:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หากเข้าใจปฏิจจสมุปบาท...แล้ว...จะไม่ต้องทำอะไรอีก

แต่ที่ต้องทำอะไรอยู่...เพราะยังต้องเข้าใจให้จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 09:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ศูนย์กลางที่หายไป นำความสุขมาให้ ศูนย์กลางนี้คือเครื่องจองจำ ให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่ต้องว่ายเวียนวนในวัฎฎะไม่สิ้นสุด ไม่เห็นฝั่ง บัดนี้ความโศกจะไม่มีอำนาจดังเดิมแล้ว ได้ปลดของหนักลงบ้างแล้ว จึงขอเทิดทูนผู้นำแสงสว่างมาให้จนสามารถสลายความมืดลังเลสงสัย และจะไม่หลงเข้าใจผิดในการปฎิบัติเพื่อการเดินทางสู่ฝั่ง นอกเหนือจาก ศูนย์กลางที่หายไปแล้ว ความปรารถนาอย่างแรง อันเป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจในระดับเดียวกันก็หายไปด้วย ถึงแม้ยังมีบางส่วนที่เหลืออยู่แต่ก็ทำอันตรายไม่ได้มาก จึงปิดอบายได้เด็ดขาด :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2012, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
suttiyan เขียน
"ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- เป็น สัมมาสมาธิ คือประกอบด้วยความตั้งมั่น)ไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ" (น.๔๖๙)

แล้วมาต่อในส่วนการปฏิบัติให้เกิดอินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะ ด้วยการ "รู้ลงในตัวรู้" หรือ "รู้ลงที่ใจ" ตามคำสอนของหลวงปู่ดูลย์และหลวงปู่เทสก์กันต่อในคราวหน้า


อนุโมทนาครับ ช่วยลงอุบายของหลวงปู่หน่อยครับในท่อนสุดท้าย รออ่านครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ที่แช่รู้ทำให้เกิดอุปาทาน ( การปรุงแต่งยึดถือจากสภาพรู้ ) เช่น ขณะเราหลับตา แล้วเอามือสัมผัสวัตุถุ โดยผู้สัมผัสไม่รู้ว่าเป็นวัตถุใด ในที่นี้เป็นแก้ว หาใช้ฝ่ามือแตะ เป็นขณะๆ ประมาณ 1-2 วินาที เราจะพบกับความแข็ง ไม่ว่าชนชาติใดๆ ก็จะรับรู้อย่างเดียวกัน ฃึ่งเป็นสภาวะปรมัติ โดยที่จิตจะเกิดรู้ที่เป็นกลาง แต่หากเราใช้ฝ่ามือรูปคลำอย่างต่อเนื่อง เราจะรู้สึกว่าเป็นแก้ว ความรู้สึกนี้เกิดจากการดึงเอาสัญญา(ความจำได้หมายรู้) มาใช้และปรุงแต่ง สรูปผลว่าเป็นแก้ว ต่างชาติก็เรียกชื่อต่างๆ กัน อันนี้คือบัญญัติ หากรู้สึกผิวขรุขระก็จะเกิดความไม่ชอบ ไม่อยากสัมผัสอีก เกิดกระบวนการปฎิจสมุปบาทอย่างครบวงจร
ประเด็นอยู่ที่ว่าการรู้สิ่งใดต่อเนื่องนานๆ โดยไม่รู้จักการปล่อยวาง หรือการเปลี่ยนอารมณ์บ้าง จะเกิดตัณหา อุปาทานต่อสภาพรู้ จากสัมมาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นมิจฉาในทันที ดังนั้นธรรม 3 องค์จึงต้องทำงานร่วมกันจึงจะสมบูรณ์ คือ สติ สัมปชัญญะ และละอุปาทาน
สวัสดีครับ คุณ student
สำหรับ การรู้ลงที่รู้ หรือรู้ลงที่ใจ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ลำดับเหตุการณ์ ที่สามารถจะเกิดสภาวะรู้จะเรียงลาดเป็นลำดับ โดยเริ่มจากการรู้กายและจิตที่แสดงสภาวะนิวรณ์ จนกระทั่งเกิดการรู้สภาวธรรมในฌาน ชึ่งคือสุขเวทนา ต่อจากนั้นจะเป็นการรู้จิต และธรรมารมณ์ ชึ่งในส่วนของธรรมารมณ์ จะเป็นส่วนลึกที่บงการให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หากมีสติสัมปชัญญะที่หยั่งลงรู้อย่างต่อเนื่องแล้วถึงจะมีกำลังทำลายเหตุของการเกิด ชึ่งก็คือตัณหาอย่างหยาบ

อุบายการรู้ลงที่รู้ หรือรู้ลงที่ใจ ผู้ปฎิบัติส่วนใหญ่มักจ่อรู้ลงที่รู้ จริงๆแล้วก็สามารถทำได้แต่พอทำไประยะหนึ่งจะถลำรู้ คือรู้เข้าไปรวมกับสิ่งถูกรู้โดยไม่รู้สภาวะความเปลี่ยนแปลงของสิ่งถูกรู้ (มิจฉาสมาธิไปชั่วขณะ)

ทางเทคนิคในขณะที่จิตรู้สภาวะที่จิตเราอาจแบ่งสิ่งรู้ออกเป็นสองส่วนคือ การรู้ตำแหน่งที่วางของตัวรู้ 2-4 วินาที และปล่อยวางการรู้ตำแหน่ง มารู้ที่ความรู้สึกรู้ เวทนา 2-4วินาที และปล่อยวาง กลับไปรู้ตำแหน่งอีกครั้งสลับไปสลับมา สำหรับคุณ student สามารถทำได้เพราะอาราณ์เป็นวิปัสสนา แต่ขอให้ทำสบายๆเป็นธรรมชาติอย่าใส่แรงลงไป

ประโยชน์ของอุบาย การเคลื่อนไหวเป็นการเพิ่มสติ การรู้ 2-4 วินาทีเป็นการป้องกันการเกิดอุปาทาน หากท่านทำใหม่ๆ อาจใช้เวลานาน 5-10 วินาทีถึงเปลี่ยนการรู้ สิ่งควรระวัง คือท่านที่ทำสมถะมา จะเคลื่อนไม่ได้และอาจทำให้ปวดศีรษะได้

แต่จริงๆแล้วควรปฺฎิบัติบนพื้นฐานสภาวะของตนเอง ที่พี่ขอเสนอแนะ จากการสแกนน้อง ขณะนี้สภาวธรรมของน้องเกิดความสั่นสะเทือน (อนิจจัง)ทั่วร่างกายแล้ว ความสั่นสะเทือนจะไปคลายความอึดอัด(ทุกขัง)ออกมา ทำให้น้องรู้สึกเคลื่นใส้ อยากอาเจียน แนวทางการปฎิบัติ โดยรู้ไปที่การสั่นสะเทือน 5-10 วินาที ละการรู้มารูรู้ที่ความรู้สึกคลื่นใส้ 5-10 วินาที สลับไปมาอย่างเป็นธรรมชาติ เดี๋ยวจะมีการสำรอกอาสวะเหนียวๆออกมา ห้ามกลืนลงไป ให้บ้วนทิ้ง หากสภาวะที่พี่กล่าวถึงยังไม่เกิดเดี่ยวก็จะเกิดอย่างแน่นอน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2012, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับผมจะลองนำไปปฏิบัติตามคำแนะนำครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 09:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจมีผู้สงสัยว่าการรู้รูปนามครั้งละ 5 – 10 วินาที สลับกันจะไม่เป็นการรู้ อย่างฝืนธรรมชาติหรือ คำตอบคือใช่เป็นการปฏิบัติที่ฝืนธรรมชาติบ้าง แต่เป็นการฝืนธรรมชาติที่เลียนแบบธรรมชาติ จะเห็นได้จาก โดยปกติธรรมชาติแล้ว การกระทบของหูต่อเสียง ตาต่อรูป เราจะรับรู้ได้ไม่ได้นาน คือเพียง 3-4วินาที จิตจะเคลื่อนไปรับรู้สิ่งใหม่เรื่อยๆ และก็เป็นไปอย่างไม่มีสติ ดังนั้นไหน ๆ มันก็ต้องเคลื่อนอยู่แล้ว เราก็เคลื่อนอย่างมีตัวรู้เสียเลย ข้อสำคัญการใช้วิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาแต่มีสมาธินำหน้า ถ้าเป็นวิปัสสนายานิก ก็ควรใช้วิธีรู้ที่่เป็นธรรมชาติตามแนววิปัสสนาทั่วไปจะเหมาะกว่า ถ้าหากผู้ใดจะใช้วิธีนี้ และควรระวังคือ อย่าทำอย่างตั้งใจมาก ควรศึกษาแนวทางตามขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไป :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

จากคราวที่แล้วในส่วนของการปฏิบัติให้เกิดอินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งการศึกษาและปฏิบัติตามในส่วนอินทรียสังวรและสติสัมปชัญญะ รู้ลงในตัวรู้ หรือรู้ลงที่ใจนี้ มีอานิสงค์อย่างต่อเนื่องมากมายตามคำของพระบรมครูในกุณฑลิยสูตรที่เคยยกมาให้นะครับ :b1: :b47: :b46:

คือ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ... สติปัฏฐาน ๔ ... โพชฌงค์ ๗ ... จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ :b8: :b46: :b47:

ซึ่งถ้าผู้อ่าน จะลองศึกษาคำสอนขององค์หลวงปู่ดูลย์และองค์หลวงปู่เทสก์ ที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึก "รู้ลงในตัวรู้" หรือ "รู้ลงที่ใจ" ที่จะตัดท่อนที่เกี่ยวข้องมาให้นี้ :b51: :b50: :b51:

ก็จะเห็นทางเดินที่ต่อเนื่องกันไป จากอธิศีลสิกขาในส่วนของอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ จนสุดสายแห่งวิชชาและวิมุตติกันได้เลยทีเดียว :b46: :b47: :b41:

และในส่วนของคำสอนที่เกี่ยวข้องนี้ จะค่อยๆทยอยลงเพราะมีมาก ลงรวดเดียวครั้งเดียวอาจจะทำให้ผู้อ่านบางท่านย่อยตามไม่ทันและเบื่อหน่ายที่จะอ่านกันเสียก่อนนะครับ :b1: :b48: :b51: :b55:

อีกประเด็นก็คือ เนื้อหาบางที่ เช่นในไฟล์ http://www.fungdham.com/download/book/article/tesk/017.pdf วิสุทธิปาละไม่สามารถ copy & paste ลงมาเป็นภาษาที่อ่านออกได้ หาจากเวปอื่นที่ font ไม่เพี้ยนก็ไม่มี :b10: :b5: :b46:

เลยต้องทยอยพิมพ์ในท่อนที่เกี่ยวข้องลงมาใหม่ :b31: :b31:

และวิสุทธิปาละก็พิมพ์งานได้ช้ามาก ถ้ามี Guru ทางคอมพิวเตอร์แนะนำวิธี copy & paste ไฟล์ประเภทดังกล่าวให้เป็นภาษาที่อ่านได้ ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ :b8: :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มจากขององค์หลวงปู่ดูลย์กันก่อนครับ :b8: :b46: :b44:

(ตัดตอนมาจากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม")

ในการสอนของหลวงปู่ ท่านจะเตือนสติสานุศิษย์เสมอๆ ว่า

"อย่าส่งจิตออกนอก"

หลวงปู่ยังสอนแนวทางปฏิบัติ อีกว่า


"จงทำญาณให้เห็นจิต เมื่อเห็นจิตได้ ก็จะสามารถแยกรูป ถอดด้วยวิชชามรรคจิต เพื่อที่จะแยกรูปกับกายให้อยู่คนละส่วน แล้วจะเข้าใจพฤติของจิตได้ในลำดับต่อไป"

http://www.atulo.org/history/history018.htm


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร