วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 12:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
eragon_joe เขียน:
Quote Tipitaka:
เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก
ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น
อนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน


:b41: :b41: :b41:

:b4: :b1:


และไปตั้งพัก :b4: :b4:

Quote Tipitaka:
ภิกษุ ท.! กามคุณเหล่านี้มีห้าอย่าง. ห้าอย่างเป็นอย่างไรเล่า ?
ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้มด้วย
ลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยผิวกาย, อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด. ภิกษุ ท.! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้แล

ภิกษุ ท.! ชนเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ติดอก-
ติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าอย่างเหล่านี้แล้ว ไม่มองเห็นส่วนที่
เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ ทำการบริโภค
กามคุณทั้งห้านั้นอยู่; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้ถึง
ความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้มีบาปต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เปรียบได้ดังเนื้อป่าที่ติดบ่วง นอนจมอยู่ในกองบ่วง ในลักษณะที่
ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า มันจะถึงซึ่งความพินาศย่อยยับ เป็นไปตามความประสงค์
ของพรานทุกประการ, เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหนีไปไหนไม่พ้นเลย ดังนี้,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท.! ส่วนชนเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ไม่
ติดใจ ไม่สยบอยู่ ไม่เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าเหล่านี้แล้ว มองเห็นส่วนที่เป็น
โทษอยู่ เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกไปจากทุกข์ บริโภคกามคุณทั้งห้า
นั้นอยู่; ชนเหล่านั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจได้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ
พินาศย่อยยับไปตามความประสงค์ของมารผู้มีบาปแต่อย่างใด ดังนี้. ภิกษุ ท.!
เปรียบเหมือนเนื้อป่าตัวที่ไม่ติดบ่วง แม้นอนจมอยู่บนกองบ่วง มันก็เป็นสัตว์ที่
ใคร ๆ พึงเข้าใจได้ว่า เป็นสัตว์ที่ไม่ถึงความพินาศย่อยยับไปตามความประสงค์ของ
พรานแต่อย่างใด, เมื่อพรานมาถึงเข้า มันจะหลีกหนีไปได้ตามที่ต้องการ ดังนี้,
ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท.! (อีกอย่างหนึ่ง) เปรียบเหมือนเนื้อป่า เที่ยวไปในป่า
กว้าง เดินอยู่ก็สง่างาม ยืนอยู่ก็สง่างาม หมอบอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม.
เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะเหตุว่าเนื้อป่านั้นยังไม่มาสู่คลองแห่งจักษุ
ของพราน, ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน : สงัดแล้ว
จากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาณ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและ
สุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ได้ทำมารให้
เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร ไปแล้วสู่ที่ที่มารผู้มีบาป
มองไม่เห็น.


(ต่อไปนี้ได้ตรัสถึงการบรรลุ ทุติยฌาณ-ติตยฌาน-จตุตถฌาน-อากาสนัญจายตนะ-
วิญญาณกัญจายตนะ-อากิญจัญญายตนะ-เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยนัยเดียวกันกับการบรรลุ
ปฐมฌาน เป็นลำดับไป. จนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ โดยข้อความสืบต่อไปว่า :-)

ภิกษุ ท.! ยิ่งไปกว่านั้นอีก : ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงซึ่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็น
แล้วด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็สิ้นไปรอบ. ภิกษุ ท.! ภิกษุนี้เรา
กล่าวว่า ได้ทำมารให้เป็นผู้ตาบอดไม่มีร่องรอย กำจัดเสียแล้วซึ่งจักษุแห่งมาร
ไปแล้วสู่ที่ซึ่งมารผู้มีบาปมองไม่เห็น, ได้ข้ามแล้วซึ่งตัณหาในโลก. ภิกษุนั้น
ยืนอยู่ก็สง่างาม เดินอยู่ก็สง่างาม นั่งอยู่ก็สง่างาม นอนอยู่ก็สง่างาม. เพราะ
เหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นไม่ได้มาสู่คลองแห่งอำนาจ
ของมารผู้มีบาป. ดังนี้แล


:b41: :b41: :b41:

สุภาษิตว่า

น้ำขึ้นให้รีบตัก

ผีเข้าให้รีบไล่

อิอิ เมื่อเอกอนออกอาการเหมือนผีเข้า ก็ให้รีบไล่ อิอิ

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อิอิ เมื่อเอกอนออกอาการเหมือนผีเข้า ก็ให้รีบไล่ อิอิ

:b12:

มามะ.. มามะ..เอ้ย.. ชิว ชิว .. :b32: :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


คนมีเมตตา เป็นคนน่ารัก
คนมีความโกรธ ไม่น่ารัก

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 14:00
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 02:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอื่นๆชี้แจงไว้ละเอียดแล้ว ผมจะขอแชร์วิธีของผมนะครับ โปรดพิจารณาก่อน

มีกัลยาณมิตรท่านหนึ่งสอนผมมาเหมือนกัน ว่าให้เอาชนะความโกรธด้วยเมตตา และปัญญา

แต่เมตตา ทำได้ตั้งต่อตัวเอง และต่อผู้อื่น

การเมตตาคนอื่น ผมคิดแบบนี้

คนที่ทำร้ายเรา เขามีความเคยชินกับการทำแบบนี้ เขาทำไม่ดีแบบนี้กับเราได้ เขาก็จะทำไม่ดีแบบนี้กับคนอื่นได้ เมื่อเขาทำแบบนี้กับคนอื่น คนอื่นก็จะโกรธเขาเหมือนกัน เขาจะมีศัตรูจากการกระทำของตัวเอง และสุดท้าย เขาจะทุกข์จากการกระทำนี้เอง เราเองก็อาจจะมีความเคยชินที่ไม่ดีเหมือนกัน เราก็เคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเหมือนกัน ถึงบางทีเราจะไม่รู้ตัวก็ตาม เรากับเขามีข้อเสียไม่ต่างกัน คิดแบบนี้ก็จะทำให้เห็นใจเขาโดยไม่คิดว่าเขาแย่กว่าเรา เลิกของเวรกันได้ คุยกันได้ปกติ ช่วยเหลือกันได้ถ้าเขาจำเป็นจริงๆ และใจเราเองก็สบาย และที่สำคัญ อย่าทำอะไรร้ายๆใส่เขา เพราะถ้าทำแบบนั้น เราเองจะเป็นอย่างที่คนเราเกลียด

การเมตตาตัวเอง ผมทำแบบนี้

เคยลองสังเกตตัวเองตอนโกรธ หรือหลังโกรธใหม่ๆไหมครับ ว่าใจตัวเองเป็นยังไงบ้าง มีความสุขหรือกำลังทุกข์อยู่ สังเกตุดูดีๆจะเห็นว่า เมื่อไรที่โกรธก็เริ่มไม่มีความสุขแล้ว ใจมันหงุดหงิด ทุรนทุราย ร้อนไปหมด
ทั้งหมดนี่เราเป็นไปเองคนเดียว คนที่มาทำเราโกรธ หรือคนรอบๆตัวเราไม่ได้เป็นไปกับเราด้วยเลย แถมโกรธแล้วยังไม่ช่วยแก้ปัญหาด้วย หนำซ้ำถ้าทำสีหน้าท่าทางอะไรไม่ดีตอนโกรธเรื่องจะยิ่งไปกันใหญ่อีก ถามตัวเองว่าความโกรธมีอะไรดีบ้าง ความโกรธเอาความทุกข์ความลำบากอะไรมาให้บ้าง ถามไปเรื่อยๆจนกว่าใจจะยอมรับว่าความโกรธเป็นของร้อน เมื่อใจรู้แล้วว่าอะไรร้อน ใจจะค่อยๆเลี่ยงของร้อนนั้น ก็จะใจเย็นขึ้นๆเรื่อยๆ เมื่อเริ่มมีอารมณ์โกรธ ต้องตั้งสติ ต้องยอมรับก่อนว่านี่กำลังโกรธแล้วนะ ไม่ใช่หลอกตัวเองว่าฉันจะไม่โกรธ ฉันจะไม่เอาโกรธ แต่จริงๆแล้วโกรธอยู่ เมื่อรู้ตัวแล้วว่าโกรธ ลองนึกดูตัวเองว่านี่ทุกข์อยู่นะ นี่เราทำร้ายตัวเองอยู่นะ นี่เราเป็นบ้าไปแล้วนะ เพราะมีแต่คนเสียสติเท่านั้นละที่จะทำร้ายตัวเอง เวลาสัตว์อื่น คนอื่นทุกข์ เรายังสงสารเขาเลย แล้วเวลาตัวเราทุกข์ละ ทำไมเราไม่สงสารตัวเองบ้าง

ขอให้เลิกโกรธได้สมหวังดังใจครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ

ความโกรธ ไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่เบียดเบียน ทำให้เป็นทุกข์ ทำให้ปัญญามืดบอด
ความไม่โกรธ ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำให้ใครเป็นทุกข์

เมื่อมีความโกรธ ปัญญาเห็นชัดความโกรธแล้วละเสีย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ขันติวาทิชาดก
โทษที่ทำร้ายพระสมณะ

[๕๕๐] ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรมาก ผู้ใด ให้ตัดมือ ตัดเท้า หู และจมูกของท่าน
ท่านจงโกรธผู้นั้นเถิด อย่าได้ทำรัฐนี้ให้พินาศเสียเลย.
[๕๕๑] พระราชาพระองค์ใด รับสั่งให้ตัดมือ เท้า หู และจมูกของอาตมภาพ ขอ
พระราชาพระองค์นั้น จงทรงพระชนม์ยืนนาน บัณฑิตทั้งหลาย เช่นกับ
อาตมภาพ ย่อมไม่โกรธเคืองเลย.
[๕๕๒] สมณะผู้สมบูรณ์ด้วยขันติ ได้มีมาในอดีตกาลแล้ว พระเจ้ากาสีรับคำ
สั่งให้ตัดมือ เท้า หู และจมูกของสมณะผู้ตั้งอยู่ในขันติ.
[๕๕๓] พระเจ้ากาสีหมกไหม้อยู่ในนรก ได้เสวยวิบากอันเผ็ดร้อนของกรรมที่
หยาบช้านั้น.

จบ ขันติวาทิชาดกที่ ๓.

ขันติ คือ ความไม่โกรธ ในเมื่อเขาด่าอยู่ ประหารอยู่ เย้ยหยันอยู่

ขันติวาที บรรยายโดย อ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์
http://www.youtube.com/watch?v=zuE18P12oT0
http://www.youtube.com/watch?v=CaXo3aY7 ... ure=relmfu


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เอกราชจริยาที่ ๑๔
ว่าด้วยพระจริยาวัตรของพระเจ้าเอกราช

[๓๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นพระราชา ปรากฏพระนามว่าเอกราช
ในกาลนั้น เราอธิษฐานศีลอันบริสุทธิ์ยิ่งปกครองแผ่นดินใหญ่
สมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการประพฤติโดยไม่มีเศษ สงเคราะห์
มหาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาทใน
ประโยชน์โลกนี้และโลกหน้า ด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าโกศล
พระนามว่าทัพพเสนะ ยกกองทัพมาชิงเอาพระนครเราได้ ทรงทำ
ข้าราชการ ชาวนิคม พร้อมด้วยทหาร ชาวชนบทให้อยู่ในเงื้อม
พระหัตถ์ทั้งหมดแล้ว ตรัสสั่งให้ฝังเราเสียในหลุม เราเห็นพระเจ้า
ทัพพเสนะกับหมู่อำมาตย์ ชิงเอาราชสมบัติอันมั่งคั่งภายในพระนคร
ของเรา เหมือนบุตรสุดที่รัก ฉะนั้น ผู้เสมอด้วยเมตตาของเราไม่มี
นี้เป็นเมตตาบารมีของเรา ฉะนี้แล.

จบเอกราชจริยาที่ ๑๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕
ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต

[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน
เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ
เครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา พวกใดนำทุกข์มาให้
เราและพวกใดให้สุขแก่เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมดไม่มี
ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ใน
ยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขา
บารมีของเรา ฉะนี้แล.

จบมหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


จูฬโพธิจริยาที่ ๔
ว่าด้วยจริยาวัตรของจูฬโพธิปริพาชก

[๑๔] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นปริพาชกชื่อจูฬโพธิ มีศีลงามเรา
เห็นภพโดยเป็นสิ่งน่ากลัว จึงออกบวชเป็นดาบส นางพราหมณีผู้มี
ผิวพรรณดังทองคำ ซึ่งเป็นภรรยาของเราแม้นางก็มิได้อาลัยในวัฏฏะ
ออกบวชเป็นตาปสินี เราทั้งสองไม่มีความอาลัย ตัดพวกพ้องขาด
ไม่ห่วงใยในตระกูลและหมู่ญาติเที่ยวไปยังบ้านและนิคม มาถึงยัง
พระนครพาราณสี เราทั้งสองอยู่ ณ ที่นั้น มีปัญญาไม่เกี่ยวข้องใน
ตระกูลและคณะ เราทั้งสองอยู่ในพระราชอุทยานอันไม่เกลื่อนกล่น
สงัดเสียงพระราชาเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานได้ทอด
พระเนตรเห็นนางพราหมณี จึงเสด็จเข้ามาหาเราแล้วตรัสถามว่า นาง
พราหมณีคนนี้เป็นอะไรกับท่าน เป็นภริยาของใครเมื่อพระราชาตรัส
ถามอย่างนี้เราได้ทูลแก่พระองค์ดังนี้ว่า นางพราหมณีนี้มิใช่ภริยาของ
อาตภาพ เป็นผู้ประพฤติธรรมร่วมกันเป็นผู้มีคำสอนร่วมกัน พระ-
ราชาทรงกำหนัดหนักหน่วงในนางพราหมณีนั้นจึงรับสั่งให้พวกราช-
บุรุษจับ ทรงบีบคั้นด้วยกำลังสั่งให้นำเข้าไปยังภายในพระนคร เมื่อ
ภริยาเก่าของเราเกิดร่วมกันมีคำสอนร่วมกัน ถูกฉุดคร่าไปความ
โกรธพึงเกิดแก่เรา เราระลึกถึงศีลวัตรได้พร้อมกับความโกรธที่เกิดขึ้น
เราข่มความโกรธได้ ณ ที่นั้นเอง ไม่ให้มันเจริญขึ้นไปอีก ถ้าใครๆ
พึงเอาหอกอันคมกริบแทงนางพราหมณีนั้น เราก็ไม่พึงทำลายศีล
ของเราเลย เพราะเหตุแห่งโพธิญาณเท่านั้นเราจักเกลียดนางพราหมณี
นั้นก็หามิได้ และเราจะไม่มีกำลังก็หามิได้ เพราะพระสัมพัญญุตญาณ
เป็นที่รักของเรา ฉะนั้นเราจึงรักษาศีลไว้ ฉะนี้แล.

จบจูฬโพธิจริยาที่ ๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2012, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อาฆาตวรรคที่ ๒
๑. อาฆาตวินยสูตรที่ ๑

[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่
ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑
ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑
ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใดพึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑
ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น ๑
ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงนึกถึงความ
เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็น
ของๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของ
กรรมนั้น ดังนี้ ๑

ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑

ดังนี้เป็นต้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 22:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:03
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดอกมะเขือ เขียน:
ในหนังสือกล่าวว่าเป็นคู่ปรับกัน คือเมตตาแก้ความโกรธ ไม่ทราบนอกจากเมตตาแล้วมีอะไรอีกที่แก้โกรธได้ค่ะ ดิฉันจัดเป็นคนโกรธง่าย ขอคำแนะนำด้วยคะ :b8:


โทษของความโกรธ

ความเมตตาเป็นคู่ปรับกับความโกรธ เพราความโกรธคอยขัดขวางไม่ให้เตตาเกิดขึ้น

๑.นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ
ไม่สมกับเป็นศิษย์พระพุทธเจ้า ไม่เป็นชาวพุทธที่ดี
คนที่โกรธก่อนก็เลวอยู่แล้ว โกรธตอบยิ่งเลวกว่า แสดงว่าไม่มีสติรู้เท่าทัน
เอาชนะคนอื่นชนะยาก เอาชนะใจตนเองประเสริฐกว่า

๒.พิจารณาโทษของความมักโกรธ
คนโกรธย่อมไม่เห็นอรรถ ย่อมไม่เห็นธรรม โกรธเกิดขึ้นกับบุคคลใดเมื่อใด
ความมืดมิดย่อมเกิดกับบุคคลนั้นเมื่อนั้น
เพราะความโกรธเหมือนไฟ เผาได้ทุกสิ่ง
ชาติต่อๆไปก็จะเป็นคนมักโกรธแบบนี้อีก

อนตฺถชนโน โกโธ.
ความโกรธก่อความพินาศ

โกโธ ทุมเมธ โคจโร.
ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนด้อยปัญญา

ทุฏฺโฐปิ พหุ ภาสติ.
คนโกรธแล้ว ย่อมพูดมาก

ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
เกิดโทสะแล้ว ถ้อยคำก็หยาบคาย

อกฺโกเธน ชิเน โกํ.
พึงชนะคนโกรธด้วความไม่โกรธ

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
ชนะตนนั่นแหละดีกว่า

ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติ ระงับได้ ผู้นั้น ชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์แก่คนถึง ๒ คน คือ
ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนอื่น
:b8:


แก้ไขล่าสุดโดย Dhamma panja เมื่อ 12 พ.ค. 2012, 08:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ค. 2012, 22:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 00:03
โพสต์: 17

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
สวัสดีครับ

ความโกรธ ไม่มีประโยชน์อะไร มีแต่เบียดเบียน ทำให้เป็นทุกข์ ทำให้ปัญญามืดบอด
ความไม่โกรธ ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำให้ใครเป็นทุกข์

เมื่อมีความโกรธ ปัญญาเห็นชัดความโกรธแล้วละเสีย


:b8: :b27: :b36:

เป็นกัลยาณมิตรที่ดีมากค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2012, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 14:00
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ขันติ คือ ความไม่โกรธ ในเมื่อเขาด่าอยู่ ประหารอยู่ เย้ยหยันอยู่

Dhamma panja เขียน:
ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติ ระงับได้ ผู้นั้น ชื่อว่าบำเพ็ญประโยชน์แก่คนถึง ๒ คน คือ ทั้งแก่ตนเอง และแก่คนอื่น

:b4: :b4: :b4:

กราบขอบพระคุณทุกท่านนะค่ะ :b20: Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร