วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2012, 17:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้รู้จากตำรา กับ ผู้รู้ด้วยปัญญา มีลักษณะต่างกันอย่างไรบ้างครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2012, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำราท่านบันทึกไว้ว่า ปัญญา เกิดได้สามแนวทาง คือ ปัญญาเกิดจากการฟัง (สุตมยปัญญา)
ปัญญาเกิดจากการพิจารณาหาเหตุผล (จินตามยปัญญา)
ปัญญาเกิดจากการฝึกฝนอบรม คือ ลงมือปฏิบัติ (ภาวนามยปัญญา)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2012, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


ธงชาติ เขียน:
ผู้รู้จากตำรา กับ ผู้รู้ด้วยปัญญา มีลักษณะต่างกันอย่างไรบ้างครับ :b8:


ก็ต้องพิจารณาว่า ตำราเกิดขึ้นได้อย่างไร ขอให้ได้คำตอบเร็วๆนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2012, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ธงชาติ เขียน:
ผู้รู้จากตำรา กับ ผู้รู้ด้วยปัญญา มีลักษณะต่างกันอย่างไรบ้างครับ :b8:


ท่านทั้งหลายต้องทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า ตำราในสาขาวิชาการใดใดก็ตาม ล้วนเกิดจากการรู้ด้วยปัญญา แล้วทดลองปฏิบัติ จนแน่ชัดแล้วว่าได้ผลดีอย่างแน่นอน ซึ่งบางสาขาวิชาก็อาจจะได้ผลดีไม่แน่นอนก็ได้ จากนั้นผู้รู้ทั้งหลายเหล่านั้นก็นำเอามาเขียน เป็นตำรา เป็นทฤษฏี ฯ
การเขียนเป็นตำรา ก็ย่อมมีข้อจำกัด นั่นก็คือ ไม่สามารถเขียนในรายละเอียดบางอย่างลงไปได้ เพราะในแต่ละสาขาวิชาทั้งหลายนั้น ย่อมมีรายละเอียดที่แตกย่อยกันมากมาย ดังนั้น ในตำราของสาขาวิชาการต่างๆจึงจะมีเพียงหลักการที่สำคัญเพื่อให้ผู้ที่ได้เรียน ได้ศึกษาได้คิดพิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในแต่สาขาวิชาทั้งหลาย

หากบุคคล รู้ด้วยการอ่านจากตำรา แต่ไม่ได้คิดพิจารณาให้แตกฉานในรายละเอียด ก็ย่อมมีข้อจำกัด ด้วยเหตุที่ได้กล่าวไปจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่เรียนรู้จากตำรามีความรู้ที่แตกต่างกันไป ตามความจำ ตามการที่ได้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักสาขาวิชานั้นๆ นั่นก็หมายความว่า ผู้ที่รู้จากตำรา ก็สามารถกลายเป็นผู้รู้ด้วยปัญญาหากคิดพิจารณาในรายละเอียดตามหลักการแห่งสาขาวิชา

ในทางตรงกันข้าม ในยุคสมัยปัจจุบัน ผู้ที่จะรู้ด้วยปัญญา ก็ล้วนต้องมีการศึกษาจากตำราเป้นส่วนใหญ่ อย่างน้อยที่สุด เขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็ล้วนเริ่มต้นการเรียนรู้จากผู้ที่รู้มาก่อนเป็นพื้นฐาน แล้วจึงจะสามารถคิดพิจารณา จนทำให้เกิดความรู้ด้วยตัวเอง อันหมายถึงรู้ด้วยปัญญา ซึ่งจำต้องมีเหตุปัจจัยหลายๆสิ่งหลายอย่างในตัวของบุคคลนั้นและสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้นๆ เป็นเครื่องอำนวย หรืออาจเป็นเครื่องขัดขวางก็เป็นได้ ขอรับ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒๒ เม.ย. ๒๕๕๕ (ผู้เขียน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วางลักษณะของธรรมชาติที่เรียกว่าปัญญาให้ดูอีก

เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่า ผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะ

เข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา

ต่อมาเมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของเธอทั้งสองแล้วก็รู้ทันทีว่าโอรสและธิดาเดินถอย

หลังลงไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยเท้านั้นก็กด

ลงหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ก็เรียกว่าเป็นปัญญา

ในสองกรณีนี้จะเห็นได้ว่า ปัญญามีความรอบคอบและลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์
จากสัญญาด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วทรงคำนิงเห็นความทุกข์ที่มวล

มนุษย์ต้องประสบทั่วทั้งสากล และเข้าพระทัยถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้ว

ปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุเช่นนั้นเสีย ความเข้าใจ

นั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา

เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่ง

เป็นที่เคารพของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะทรง

กระทำเช่นนั้น ก็เรียกว่าเป็นปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาเป็นคำกลางสำหรับความรู้ประเภทดังกล่าว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น ที่แบ่ง

เป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง

ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือคุณสมบัติเฉพาะ เช่น วิปัสสนา

สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธงชาติ เขียน:
ผู้รู้จากตำรา กับ ผู้รู้ด้วยปัญญา มีลักษณะต่างกันอย่างไรบ้างครับ :b8:
ถาม "ผู้รู้"
ถาม "ถามวัตถุ แห่งการรู้"
ถาม "ปัญญา"
ถาม "ผลจากการใช้ปัญญา"

ผู้รู้ คือสิ่งเดียวกันคือ จิตนี้เอง
V
วัตถุแห่งการรู้ มีนานาประการ ตำราก็เป็นวัตถุแห่งการรู้ การได้ยินได้ฟังก็เป็นวัตถุแห่งการรู้ ธรรมในจิตก็เป็นวัตถุแห่งการรู้
V
ปัญญา... กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ
รู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา
V
ใช้ปัญญา กับ วัตถุนานาประการ ...
V
ผลจากการใช้ปัญญา ย่อมมีนานาประการ
เรียกว่าเกิดการหยั่งรู้ คือ ญาณ >> ปัญญา
>>> ถ้าใช้ปัญญา แล้วไม่บังเกิดผล หรือญาณ ก็คือกำลังปัญญายังไม่แข็งแรง ยังอ่อน
ไม่แข็งแรงมาก ก็ได้อาจจะได้ผลไม่ดีมาก ก็ขึ้นกับกำลังปัญญาเช่นกัน
ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้
เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณธงชาติสนใจเรื่องปัญญาเป็นสิ่งที่ดีนะครับ

ปัญญาก็มีหลายระดับหลายประเภท ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านแสดงปัญญา(ญาณ)ไว้หลากหลายถึง ๗๓ อย่างด้วยกัน เช่น

ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง] ๑
ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑
ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ[ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑
ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑
.......

http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0

ดังจะเห็นได้ ว่าปัญญามีความหลายหลาย กว้างขวาง
แต่ไม่ว่าปัญญาจะเป็นระดับใดประเภทใดก็มีประโยชน์ เป็นกุศล เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เป็นไปเพื่อเกื้อกูลทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ปัญญาจึงเป็นสิ่งที่ควรอบรม เพิ่มพูนให้มากขึ้น จนกระทั้งปัญญามีกำลังมากพอมีความคมกล้ามากพอจนสามารถประหารกิเลสทั้งปวงได้เป็นสมุทเฉท ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ในที่สุด


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 23 เม.ย. 2012, 21:28, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




IMG0273A_resize.jpg
IMG0273A_resize.jpg [ 34.65 KiB | เปิดดู 6851 ครั้ง ]
ธงชาติ เขียน:
ผู้รู้จากตำรา กับ ผู้รู้ด้วยปัญญา มีลักษณะต่างกันอย่างไรบ้างครับ :b8:

:b8: :b12:
ผู้รู้จากตำราส่วนใหญ่มักจะไม่รู้รอบ และไม่รู้ซึ้ง เพราะตำราแสดงไม่ได้ทุกมุมมองของความจริง ความรู้ที่ได้อยู่ในระดับ สุตตะและจินตมยปัญญา ถ้าเป็นตาบอดคลำช้าง ก็อาจคลำได้ไม่ครบทั้งตัว เวลาบรรยายภาพช้างก็อาจบิดเบี้ยวไปจากความจริง หรือจะเทียบกับคนที่ทำขาหมูโดยอ่านจากตำรา รสชาดอาจไม่เจ๋งเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับผู้ทำขาหมูขายมาจนร่ำรวย

ผู้รู้ด้วยปัญญา หมายถึงผู้ที่รู้ด้วยภาวนามยปัญญา หรือรู้ด้วยประสบการณ์จริง จะเหมือนคนตาดีมองช้างโดยรอบ เวลาบรรยายลักษณะของช้างจะบรรยายได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

ถ้ามาประยุกต์หรือเทียบกับเรื่องธัมมะ ผู้รู้จากตำรา เวลาแสดงธรรมหรือตอบปัญหาธรรม มักจะเกาะตำราแจเพราะกลัวผิด

ผิดกับผู้รู้ด้วยปัญญาคือรู้จากประสบการณ์จริง เวลาแสดงธรรมหรือตอบปัญหาธรรม คำพูดเรื่องที่แสดงจะไหลออกมาจากใจไม่รู้จักหมด หยิบจับเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวในตัวมาแสดงเป็นธัมมะให้ฟังได้หมด

:b16:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2012, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ธงชาติ เขียน:
ผู้รู้จากตำรา กับ ผู้รู้ด้วยปัญญา มีลักษณะต่างกันอย่างไรบ้างครับ :b8:

:b8: :b12:
ผู้รู้จากตำราส่วนใหญ่มักจะไม่รู้รอบ และไม่รู้ซึ้ง เพราะตำราแสดงไม่ได้ทุกมุมมองของความจริง ความรู้ที่ได้อยู่ในระดับ สุตตะและจินตมยปัญญา ถ้าเป็นตาบอดคลำช้าง ก็อาจคลำได้ไม่ครบทั้งตัว เวลาบรรยายภาพช้างก็อาจบิดเบี้ยวไปจากความจริง หรือจะเทียบกับคนที่ทำขาหมูโดยอ่านจากตำรา รสชาดอาจไม่เจ๋งเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับผู้ทำขาหมูขายมาจนร่ำรวย

ผู้รู้ด้วยปัญญา หมายถึงผู้ที่รู้ด้วยภาวนามยปัญญา หรือรู้ด้วยประสบการณ์จริง จะเหมือนคนตาดีมองช้างโดยรอบ เวลาบรรยายลักษณะของช้างจะบรรยายได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

ถ้ามาประยุกต์หรือเทียบกับเรื่องธัมมะ ผู้รู้จากตำรา เวลาแสดงธรรมหรือตอบปัญหาธรรม มักจะเกาะตำราแจเพราะกลัวผิด

ผิดกับผู้รู้ด้วยปัญญาคือรู้จากประสบการณ์จริง เวลาแสดงธรรมหรือตอบปัญหาธรรม คำพูดเรื่องที่แสดงจะไหลออกมาจากใจไม่รู้จักหมด หยิบจับเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวในตัวมาแสดงเป็นธัมมะให้ฟังได้หมด

:b16:

ตอบแบบนี้รู้เรื่อง กว่าข้างบนแหนะเจ้าค่ะ :b32: อนุโมทนาสาธุด้วยเจ้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2012, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านข้อเขียนนั่นน่าจะให้คำตอบกระทู้นี้ได้ดีพอสมควร

ได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดมา
นั่งดูความคิดในหัวไปเรื่อยๆตั้งสติดูว่ามีเรื่องอะไรผ่านเข้ามาบ้าง
อดทนผ่านไปซักประมาณ3-4วัน เสียงต่างๆในหัวค่อยๆลดลงไปเอง
จนในที่สุดมันจะเงียบสนิทเลยค่ะ ไม่มีอะไรสุขเท่าความสงบจริงๆ เหมือนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

หลังจากนั้นนั่งสมาธิทุกวันตอนเย็น
เราทำแล้วสังเกตว่า เรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาแล้วกระทบใจเราทั้งที่พอใจและไม่พอใจ
มันคงติดค้างตกตะกอนอยู่ในใจเรานี่แหละ ไม่ได้หายไปไหนเลย

นั่งสมาธิตอนค่ำ
เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆใน"ระหว่างวัน" ผ่านเข้ามาทีละเรื่อง ทีละเรื่อง
บางทีเรียงลำดับมาตามความหนักเบาของเหตุการณ์
บางทีเรียงมาตามลำดับเวลามาเลย ตอนเย็น ตอนเที่ยง จนถึงตอนเช้า
บางเรื่อง"เล็กๆน้อย"ระหว่างวันไม่คิดว่าใจมันยังเก็บเอาไว้ได้

ตั้งสตินั่งดูไปเรื่อยๆเหมือนได้ทำความสะอาดล้างสิ่งสกปรกออกจากใจ"ทุกวัน"เลยค่ะ
และที่สำคัญอีกเรื่องคือเราได้รู้จักตัวเราเองมากขึ้น
โดยดูจากเรื่องที่เราเก็บมาคิดนี่แหละ มีปัญหามัวแต่โทษคนอื่น ตัวเราเองก็ใช่เล่น

เคยอ่านเรื่อง เมื่อหัวถึงหมอน ของนายตำรา ณ เมืองใต้ แบบเรียนสมัยมัธยม
ที่บอกว่าเราอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทุกวัน แต่ไม่เคยได้ทำความสะอาดจิตใจตัวเองเลย
ท่านสอนให้สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน เพื่อชำระล้างจิตใจตัวเอง
เราไม่ค่อยได้ทำจนโตขึ้น เจอปัญหาต่างๆ ภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้นตามวัย
พอลองนั่งทำทุกวัน รู้สึกใจเบาสบายขึ้นกว่าเดิมมาก
เข้าใจเลยว่า "ชำระล้างจิตใจ"ตัวเองเป็นยังไง

พระพุทธองค์ทรงสอนให้
ละเว้นความชั่ว
ทำความดี
ทำจิตใจให้ผ่องใส
พอเราชำระพวกสิ่งตกค้างตะกอนในจิตใจเราออก
ใจเราก็โปร่งเบาสบายผ่องใส

สองอันแรกเข้าใจแต่สงสัยมาตั้งแต่เด็กว่าทำจิตใจให้ผ่องใสนี่ "ทำยังไง"
ศาสนาพุทธลงมือปฏิบัติจริง เห็นผลจริงได้ด้วยตัวเองจริงๆ

มันเหมือน ได้ "หยุด" ตัวเองไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง
ได้มีเวลาตั้งสติทบทวนเรื่องราวต่างๆ
บางทีคำตอบของปัญหาที่ค้างคาใจมานานมัน "ผุดขึ้นมา" ตอนนั่งสมาธินี่แหละค่ะ
คิดถึงการ์ตูนที่เคยดูมาตั้งแต่เด็ก เรื่อง "อิดคิวซัง" เลย เวลามีปัญหาต้อง "ใช้หมองนั่งมาธิ"
ไม่คิดว่า "ชีวิตจริง" เราก็ต้องทำเหมือนท่านอิดคิวนี่แหละ

ตั้งแต่มาสนใจศึกษาธรรมะ
เรารู้สึกว่าเราเข้าใจมากขึ้น
ศาสนาพุทธจริงๆ ไม่ใช่แค่ทำทาน ถือศีล นั่งสมาธิ
จริงๆแล้วมันลึกซึ้งกว่านั้นมากธาตุ4 ขันธ์5 อายตนะ6
ธาตุ4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มันมีจริงๆ ไม่ใช่แค่ละครจักรๆวงศ์ๆ ตอนเช้าซักหน่อย

เสียดายวันเวลาในชีวิตที่ผ่านมาที่ไม่เคยให้เวลากับธรรมะเลย
ทั้งๆที่เราว่ามันน่าจะเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิตของคนคนนึงทีเดียว

เราเริ่มรู้ว่าจริงๆแล้วพระพุทธองค์ทรงค้นพบอะไร และทรงต้องการจะบอกอะไรพวกเรา
คำสอนของพระพุทธองค์ เป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง เหมือนในบทสวดมนต์ว่าไว้จริงๆค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2012, 19:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ่านข้อเขียนนั่นน่าจะให้คำตอบกระทู้นี้ได้ดีพอสมควร

ได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดมา
นั่งดูความคิดในหัวไปเรื่อยๆตั้งสติดูว่ามีเรื่องอะไรผ่านเข้ามาบ้าง
อดทนผ่านไปซักประมาณ3-4วัน เสียงต่างๆในหัวค่อยๆลดลงไปเอง
จนในที่สุดมันจะเงียบสนิทเลยค่ะ ไม่มีอะไรสุขเท่าความสงบจริงๆ เหมือนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

หลังจากนั้นนั่งสมาธิทุกวันตอนเย็น
เราทำแล้วสังเกตว่า เรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาแล้วกระทบใจเราทั้งที่พอใจและไม่พอใจ
มันคงติดค้างตกตะกอนอยู่ในใจเรานี่แหละ ไม่ได้หายไปไหนเลย

นั่งสมาธิตอนค่ำ
เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆใน"ระหว่างวัน" ผ่านเข้ามาทีละเรื่อง ทีละเรื่อง
บางทีเรียงลำดับมาตามความหนักเบาของเหตุการณ์
บางทีเรียงมาตามลำดับเวลามาเลย ตอนเย็น ตอนเที่ยง จนถึงตอนเช้า
บางเรื่อง"เล็กๆน้อย"ระหว่างวันไม่คิดว่าใจมันยังเก็บเอาไว้ได้

ตั้งสตินั่งดูไปเรื่อยๆเหมือนได้ทำความสะอาดล้างสิ่งสกปรกออกจากใจ"ทุกวัน"เลยค่ะ
และที่สำคัญอีกเรื่องคือเราได้รู้จักตัวเราเองมากขึ้น
โดยดูจากเรื่องที่เราเก็บมาคิดนี่แหละ มีปัญหามัวแต่โทษคนอื่น ตัวเราเองก็ใช่เล่น

เคยอ่านเรื่อง เมื่อหัวถึงหมอน ของนายตำรา ณ เมืองใต้ แบบเรียนสมัยมัธยม
ที่บอกว่าเราอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทุกวัน แต่ไม่เคยได้ทำความสะอาดจิตใจตัวเองเลย
ท่านสอนให้สวดมนต์ไหว้พระทุกวัน เพื่อชำระล้างจิตใจตัวเอง
เราไม่ค่อยได้ทำจนโตขึ้น เจอปัญหาต่างๆ ภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้นตามวัย
พอลองนั่งทำทุกวัน รู้สึกใจเบาสบายขึ้นกว่าเดิมมาก
เข้าใจเลยว่า "ชำระล้างจิตใจ"ตัวเองเป็นยังไง

พระพุทธองค์ทรงสอนให้
ละเว้นความชั่ว
ทำความดี
ทำจิตใจให้ผ่องใส
พอเราชำระพวกสิ่งตกค้างตะกอนในจิตใจเราออก
ใจเราก็โปร่งเบาสบายผ่องใส

สองอันแรกเข้าใจแต่สงสัยมาตั้งแต่เด็กว่าทำจิตใจให้ผ่องใสนี่ "ทำยังไง"
ศาสนาพุทธลงมือปฏิบัติจริง เห็นผลจริงได้ด้วยตัวเองจริงๆ

มันเหมือน ได้ "หยุด" ตัวเองไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง
ได้มีเวลาตั้งสติทบทวนเรื่องราวต่างๆ
บางทีคำตอบของปัญหาที่ค้างคาใจมานานมัน "ผุดขึ้นมา" ตอนนั่งสมาธินี่แหละค่ะ
คิดถึงการ์ตูนที่เคยดูมาตั้งแต่เด็ก เรื่อง "อิดคิวซัง" เลย เวลามีปัญหาต้อง "ใช้หมองนั่งมาธิ"
ไม่คิดว่า "ชีวิตจริง" เราก็ต้องทำเหมือนท่านอิดคิวนี่แหละ

ตั้งแต่มาสนใจศึกษาธรรมะ
เรารู้สึกว่าเราเข้าใจมากขึ้น
ศาสนาพุทธจริงๆ ไม่ใช่แค่ทำทาน ถือศีล นั่งสมาธิ
จริงๆแล้วมันลึกซึ้งกว่านั้นมากธาตุ4 ขันธ์5 อายตนะ6
ธาตุ4 ดิน น้ำ ลม ไฟ มันมีจริงๆ ไม่ใช่แค่ละครจักรๆวงศ์ๆ ตอนเช้าซักหน่อย

เสียดายวันเวลาในชีวิตที่ผ่านมาที่ไม่เคยให้เวลากับธรรมะเลย
ทั้งๆที่เราว่ามันน่าจะเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในชีวิตของคนคนนึงทีเดียว

เราเริ่มรู้ว่าจริงๆแล้วพระพุทธองค์ทรงค้นพบอะไร และทรงต้องการจะบอกอะไรพวกเรา
คำสอนของพระพุทธองค์ เป็นที่พึ่ง กำจัดภัยได้จริง เหมือนในบทสวดมนต์ว่าไว้จริงๆค่ะ


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2012, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:



หลังจากนั้นนั่งสมาธิทุกวันตอนเย็น

เราทำแล้วสังเกตว่า เรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาแล้วกระทบใจเราทั้งที่พอใจและไม่พอใจ
มันคงติดค้างตกตะกอนอยู่ในใจเรานี่แหละ ไม่ได้หายไปไหนเลย


นั่งสมาธิตอนค่ำ

เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆใน "ระหว่างวัน" ผ่านเข้ามาทีละเรื่อง ทีละเรื่อง
บางทีเรียงลำดับมาตามความหนักเบาของเหตุการณ์
บางทีเรียงมาตามลำดับเวลามาเลย ตอนเย็น ตอนเที่ยง จนถึงตอนเช้า
บางเรื่อง "เล็กๆน้อย" ระหว่างวัน ไม่คิดว่าใจมันยังเก็บเอาไว้ได้



ผู้ปฏิบัติแล้วพอรู้พอเห็นธรรมารมณ์ซึ่งปรากฏ ณ ภายใน ไม่ต้องยกศัพท์ธรรมคำบาลีซักตัว แต่พูดออกมาเป็นธรรมะทุกประโยค แล้วในชีวิตนี้ของผู้เช่นนี้แหละ จะไม่ประมาทในชีวิต เพราะเขาเห็นแสงธรรมที่ปลายอุโมงค์ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2012, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:



หลังจากนั้นนั่งสมาธิทุกวันตอนเย็น

เราทำแล้วสังเกตว่า เรื่องราวต่างๆที่ผ่านเข้ามาแล้วกระทบใจเราทั้งที่พอใจและไม่พอใจ
มันคงติดค้างตกตะกอนอยู่ในใจเรานี่แหละ ไม่ได้หายไปไหนเลย


นั่งสมาธิตอนค่ำ

เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆใน "ระหว่างวัน" ผ่านเข้ามาทีละเรื่อง ทีละเรื่อง
บางทีเรียงลำดับมาตามความหนักเบาของเหตุการณ์
บางทีเรียงมาตามลำดับเวลามาเลย ตอนเย็น ตอนเที่ยง จนถึงตอนเช้า
บางเรื่อง "เล็กๆน้อย" ระหว่างวัน ไม่คิดว่าใจมันยังเก็บเอาไว้ได้



ผู้ปฏิบัติแล้วพอรู้พอเห็นธรรมารมณ์ซึ่งปรากฏ ณ ภายใน ไม่ต้องยกศัพท์ธรรมคำบาลีซักตัว แต่พูดออกมาเป็นธรรมะทุกประโยค แล้วในชีวิตนี้ของผู้เช่นนี้แหละ จะไม่ประมาทในชีวิต เพราะเขาเห็นแสงธรรมที่ปลายอุโมงค์ :b1:

:b8: อนุโมทนาด้วยเจ้าค่ะ แบบนี้ถึงเรียกว่า ผู้ที่เข้าถึงธรรมจริงๆ (ดิฉันก็ชำระล้างจิตใจทุกวี่ทุกวันเลยล้างอันเก่าออกอันใหม่ก็มาแทน s002 )


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร