วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมล้างไม่ได้


การกระทำไม่ว่าจะทางมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม เจตนาหรือไม่เจตนา ส่งผลทุกสภาวะ หลีกเลี่ยงหรือลบล้างกันไม่ได้ บางครั้งอาจมีคำกล่าวว่า

“พระโสดาบัน ท่านเชื่อในเรื่องกรรม เชื่อผลของกรรม มีพระไตรลักษณ์สาม และมีศีล ๕ อยู่กับจิตของท่าน มีผลทำให้ล้างกรรมที่จะไปตกนรกได้”

เหตุที่โสดาบัน ไม่ตกนรก ไม่ใช่เกิดจากการล้างกรรม แต่เกิดจากการรู้ชัดในเรื่องของเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ รูปแบบของผลที่ส่งกลับมาในรูปของเหตุที่เกิดขึ้นปัจจุบัน

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว จึงมีแต่การยอมรับทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น นี่คือรูปแบบของการชดใช้เหตุที่เคยกระทำไว้


ส่วนเหตุใหม่ที่สร้างขึ้น มีแต่การดับที่ต้นเหตุที่เป็นเหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

ภพชาติปัจจุบันจึงไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง เหตุมี ผลย่อมมี เหตุไม่มี ผลย่อมไม่มี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2012, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่รู้


แค่รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายนอก(สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต)และภายใน(ความรู้สึกนึกคิด)

ยอมรับไปตามนั้นว่ายังมีอยู่ ยังเป็นอยู่ เพราะเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ยังมีกิเลส


ไม่ต้องไปกดข่มอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เกิดขึ้น ปล่อยจิตให้เป็นอิสระจากตัวตน(อุปทาน)ที่มีอยู่

ที่ต้องทั้งกดและข่มเอาไว้ คือ การกระทำ อย่าสร้างเหตุออกไปตามความรู้สึกยินดี ยินร้ายหรือแรงผลักดันของกิเลสต่างๆที่เกิดขึ้น ณขณะนั้นๆ



การปฏิบัติทำมาก ทำน้อยไม่สำคัญ ที่สำคัญคือ ความต่อเนื่อง ทำทุกวัน ทำเท่าที่ทำได้ ทำตามความสะดวก ทำตามความถนัด ทำแล้วสุข ทำแล้วทุกข์ ชอบแบบไหน ทำแบบนั้น มีรูปแบบหรือไม่มีก็ได้

อยากทำตอนไหนก็ทำ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว เพราะเหตุของแต่ละคนสร้างมาไม่เหมือนกัน สภาวะที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย

ทำสมาธิให้ชำนาญ สมาธิเป็นอาหารของจิต ไม่ต้องไปสนใจในคำเรียกต่างๆ ไม่ว่าจะฌาน มิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิ เรียกง่ายๆว่า สมาธิแค่นั้นพอ


ทำจนรู้ชัดในอาการของจิตขณะกำลังจะเกิดเป็นสมาธิ รู้ได้อย่างนั้น จึงค่อยมาปรับอินรีย์ระหว่างสมาธิกับสติให้เกิดความสมดุลย์


นิมิตต่างๆ ภาพ แสง สี เสียง กลิ่น เกิดอะไร รู้ไปตามนั้น อย่านำความมีตัวตนที่มีอยู่ใส่ลงไป เพราะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัย สงสัยสักแต่ว่าสงสัย ยอมรับไปตามนั้น



ส่วนจะเพ่งหรือไม่เพ่ง หรือรู้สึกนึกคิดอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น(อาการ) รู้ไปตามนั้น เพราะเป็นเรื่องของสภาวะ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรา สักแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง รู้บ่อยๆไปแบบนี้ จิตจะปล่อยวางลงไปเอง จะแค่รู้มากขึ้น


ไม่ว่าจะเพ่งหรือนิวรณ์ต่างๆไม่ได้เป็นตัวปิดกั้นสภาวะ ไม่ได้ทำให้จิตไม่เป็นสมาธิหรือ ไม่ได้ทำให้เห็นตามความเป็นจริง

ตัวที่ปิดกั้นสภาวะไม่ให้เห็นตามความเป็นจริงหรือทำให้จิตไม่ตั้งมั่น คือ ความทะยานอยากต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต



สิ่งต่างๆที่ปรากฏอยู่ ที่เป็นสื่อในคำสอน แม้กระทั่งคำแนะนำ เป็นเพียงสภาวะของบุคคลนั้นหรือท่านนั้น รู้แบบไหน ย่อมนำมาอธิบายแบบนั้น

เมื่อได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟัง ได้ศึกษาตำราหรือแนวทางต่างๆ รู้ได้ อย่ายึด เพราะนั่นคือสภาวะของผู้อื่น ไม่ใช่สภาวะของตัวเอง เป็นเพียงเหตุหรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก อาจจะมีเหมือนหรือคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันบ้าง เป็นเรื่องปกติ



ถ้าใจอยากยึด ยึดได้หากอยากจะยึด ยอมรับไปตามนั้น เหตุมี ผลย่อมมี เชื่อกันก็เพราะเหตุ ไม่เชื่อกันก็เพราะเหตุ อย่านำเหตุของความยึดไปสร้างวิวาทะเท่านั้นพอ


ทุกๆสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ครูมาสอน เรามีหน้าที่รู้อย่างเดียว วันนี้อาจจะเห็นประโยชน์บ้าง หรือยังไม่เห็นประโยชน์ อาจจะคลุมเครือ วันหน้าย่อมเห็นประโยชน์อย่างชัดเจนแน่นอน


รู้จริงหรือไม่จริง ให้ดูการกระทำ


รู้จริงมีแต่หยุด หยุดสร้างเหตุภายนอก รู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ

รู้ไม่จริง มีแต่การสร้างเหตุ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2012, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กูรู้ - รู้กู


เหตุของการเกิด อันดับแรก ได้แก่ ทิฏฐิกิเลส

ซึ่งมีผัสสะ/สิ่งที่มากระทบ/เหตุที่เกิดขึ้นในชีวิต เป็นปทัฏฐาน/เป็นเหตุปัจจัย


ทิฏฐิกิเลส/สักกายะทิฏฐิ มีการประพฤติออกทางด้าน วจีกรรมและกายกรรม

การกระทำภายนอก เป็นการแสดงออก ที่สามารถ จะหยุดพฤติกรรมนั้นๆได้


มานะกิเลส มีการประพฤติแสดงออกทางด้าน มโนกรรม

มโนกรรม เป็นความคิด ที่ไม่สามารถห้ามได้ แต่สามารถกดข่มสิ่งที่เกิดจากความยินดีและยินร้ายที่ยังมีอยู่

ตราบใดที่ยังมีกิเลส การห้ามไม่ให้คิด ห้ามไม่ได้ แต่สามารถกดข่มความคิดที่ไม่ต้องการ ให้หยุดคิดได้ ชั่วครั้งชั่วคราว หรือสามารถกดข่มด้วยอำนาจของสมาธิ หรือใช้วิธีหลีกเลี่ยง โดยการหักเหความสนใจไปจุดอื่นๆแทน



กูรู้

เห็นแต่กูรู้ จึงมีแต่ "กูรู้"


รู้กู


เห็นรู้กู ทุกสรรพสิ่ง ล้วนไม่แตกต่างกัน



ทางแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก ที่แตกแยก เพราะ กูรู้ แต่ยังไม่รู้กู


เมื่อใดที่เห็นต่าง นั่นแหละ "กู" ที่เข้าไปรู้

เหตุจาก ชอบเอา "กู" ไปรู้

ผล คือ ไม่รู้ "กู" สักที

เหตุมี ผลย่อมมี เมื่อถึงเวลา ถึงเหตุปัจจัย ย่อมรู้ "กู" เหมือนๆกันหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2012, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสติ-สัมมาสมาธิ


สัมมาสติ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุของการสร้างเหตุในการตัดภพชาติปัจจุบัน


สภาวะสัมมาสติ เป็นฝ่ายสมถะ ในสติปัฏฐาน ๔ เหตุเนื่องจาก กำลังของสมาธิที่ร่วม ณ ปัจจุบัน ขณะ มีกำลังมากน้อยแตกต่างกันไป ตามเหตุปัจจัย ของคนๆนั้น


เหตุของการเกิดสัมมาสติ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ คือ

ดูตามความเป็นจริง (ภายนอก) ได้แก่ ดูสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
รู้ตามความเป็นจริง (ภายใน) ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

ยอมรับตามความเป็นจริง ได้แก่ ยอมรับตามความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งภายนอก และภายใน แต่ไม่สร้างเหตุออกไป ทางวจีกรรมและกายกรรม ส่วนมโนกรรม ตราบใดที่ยังมีกิเลส ห้ามไม่ได้ แค่รู้และยอมรับไป


สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม

เป็นสภาวะ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน





เหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ได้แก่ การสร้างเหตุทางกายกรรมและวจีกรรม ตามแรงผลักดันของกิเลสที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ ที่มีผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย




สัมมาสมาธิ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุของการตัดภพชาติในวัฏสงสาร

สภาวะสัมมาสมาธิ เป็นฝ่าย วิปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔ กำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น เกิดจากความชำนาญหรือมีวสีในการเกิดสมาธิ ได้ทุกอิริยาบท เป็นธรรมชาติ เป็นปกติ โดยไม่ต้องพยายามทำให้เกิดขึ้น


เหตุของการเกิดสัมมาสมาธิ ได้แก่ การปรับอินทรีย์ระหว่างสมาธิสติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์

สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม


สภาวะสัมมาสมาธิ สภาวะจิต วิตก วิจาร(จิตคิดพิจรณา) จะเกิดขึ้นเนืองๆ ไม่เกียวกับว่าจะต้องเกิดในปฐมฌานเท่านั้น

เหตุเนื่องจาก เมื่อกำลังของสติ และกำลังของสมาธิ ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่ากัน สภาวะสัมปชัญญะจึงเกิดขึ้น

สภาวะสัมมาสมาธิ เป็นสภาวะของสมาธิ ที่มีความรู้สึกตัว ทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป




เหตุของการเกิดเวียนว่ายในวัฏสงสาร คือ สังโยชน์ ๑๐ ได้แก่ กิเลสที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน




อุปปันนะ

อุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น มีหลายประเภท
เรื่อง อุปปันนะ หลายประเภทนี้ มีกล่าวไว้ที่อื่น เช่น ขุ. สุ. อ. (บาลี) ๑/๑/๔-๗



อุปปันนะ ๔


[๘๓๒] ถามว่า ด้วยคำกล่าว เป็นต้นว่า "กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิดขึ้น นั่นแล ก็ไม่เกิดขึ้น" ดังนี้นั้น เป็นการแสดงถึง การละอะไร?

ตอบว่า เป็นการแสดงถึง การละกิเลสทั้งหลายที่เป็น ภูมิลัทธะ (ได้ภูมิพื้น-ภูมิพื้น คือ ฐานที่ตั้งแห่งความเป็นไป)


ถามว่า แต่ว่ากิเลสทั้งหลายที่ได้ภูมิพื้นเหล่านั้น เป็นอดีต หรืออนาคต หรือว่า เป็นปัจจุบัน

ตอบว่า กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น คือ ที่เขาเรียกว่า ภูมิลัทุปปันนะ (คือ บังเกิดขึ้นโดยภูมิพื้น)
นั่นเอง




[๘๓๓] เพราะว่า สิ่งที่เป็น อุปปันนะ (คือ สิ่งเกิดขึ้น) มีหลายประเภท โดยเป็น

๑. วัตตมานะ กำลังเป็นไปอยู่

๒. ภูตาปคตะ เกิดแล้วจากไป

๓. โอกาสกตะ โอกาสอันกรรมทำให้

๔. ภูมิลัทธะ ได้ภูมิพื้น



ในอุปปันนะทั้งหลายนั้น

๑. สิ่งที่กล่าวว่า มีองค์ประกอบพร้อมด้วย (ขณะทั้ง ๓ คือ) อุปปาทะ (ความเกิดขึ้น) ๑ ชรา (ความเสื่อมโทรม) ๑ และภังคะ (ความแตกดับ) ๑

แม้ทุกอย่าง เรียกว่า วัตตมานุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ที่กำลังเป็นไปอยู่


๒. กุศลและอกุศล ที่เสวยรสของอารมณ์ แล้วดับไป ซึ่งเรียกได้ว่า อนุภูตาปคตะ (คือ เสวยแล้วจากไป) ก็ดี

กุศลและอกุศล อันเป็นสังขตะที่ยังเหลือ ซึ่งมาถึงขณะ ๓ มีอุปปทาขณะเป็นต้น โดยลำดับ แล้วดับไป อันเรียกได้ว่า ภูตาปคตะ (คือ เกิดแล้ว จากไป) ก็ดี

เรียกว่า ภูตาปคตุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วจากไป




๓. กรรมที่กล่าวแล้วโดยนัยว่า "กรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด เป็นกรรมที่บุคคลผู้นั้นทำไว้แล้ว ในกาลก่อน" ดังนี้เป็นต้น

แม้เป็นอดีต ก็เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น โดยมีโอกาสกรรมทำให้ เพราะ ห้ามวิบากอื่นแล้ว ทำโอกาส (ให้) แก่วิบากของตนเอง

และ อนึ่ง วิบากที่มีโอกาส อันกรรมทำให้แล้ว แม้เป็นวิบากที่ยังไม่เกิด เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ (เหมือนกัน) เพราะ เมื่อกรรมทำโอกาสให้อย่างนั้นแล้ว ก็เกิดขึ้นโดยแน่นอน




๔. กรรมเป็นอกุศล ที่ยังมิได้ฉุดถอนให้ขาดในภูมิทั้งหลายนั้นๆ เรียกว่า ภูมิลัทธุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดย ได้ภูมิพื้น

ใน อุปปันนะ ซึ่งจำแนกประเภทดังกล่าวมานี้ อุปปันนะ ๔ อย่าง กล่าวคือ วัตตมานะ ๑ ภูตาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ และสมุทาจาระ ๑ นี้นั้น ไม่เป็นอุปปันนะที่จะต้องละด้วย (มรรค)ญาณแม้ไรๆ เพราะ มิใช่อุปปันนะที่ฆ่าด้วย(อริย)มรรค




อีกประการหนึ่ง ยังมีอุปปันนะอื่น อีก ๔ อย่าง โดยเป็น
ดูเทียบเปรียบเทียบใน องฺ. เอกฺก. อ. (บาลี) ๑/๓๙๔/๔๔/-๔๔๒

๑. สมุทาจาระ คือ นิสัยเคยชิน

๒. อารัมมณาธิคหิตะ คือ ยึดมั่นในอารมณ์

๓. อวิกขัมภิตะ คือ มิได้ถูกกดข่มไว้

๔. อสูมหตะ คือ ยังถอนรากไม่ขาด



ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น อุปปันนะที่กำลังเป็นไปอยู่นั่นแล เป็น สมุทาจารุปปันนะ คือ กิเลสที่เกิดขึ้นด้วยความเคยชิน




เมื่อ อารมณ์ (คือ รูป) มาสู่คลองแห่งทวาร มีตาเป็นต้น กิเลสแม้จะยังไม่เกิดขึ้นในตอนต้น แต่เพราะ ยึดมั่นอารมณ์ไว้นั่นเอง ท่านกล่าวว่า "เป็นอุปปันนะด้วย ยึดมั่นอารมณ์ไว้"

เพราะ ในตอนท้าย (กิเลส) ก็จะเกิดขึ้นโดยแน่นอน เหมือนอย่างกิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระมหาติสสเถระ ผู้กำลังเที่ยวเดินบิณฑบาตรอยู่ในหมู่บ้านกัลยาณคาม (หมู่บ้านเป็นที่เกิดของหญิงงาม) โดยได้เห็นรูปที่ไม่สมควร (แก่สมณะ)





กิเลส ที่มิได้ถูกกดข่มไว้ด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา อำนาจใดอำนาจหนึ่ง แม้จะยังไม่ผุดขึ้นสู่สันตติของจิต ก็เรียกว่า เป็น อุปปันนะ โดยมิได้ถูกข่มไว้ เพราะ ไม่มีเหตุเป็นผู้ห้ามเกิดขึ้น


แต่แม้ว่า ถูกข่มไว้แล้วด้วยสมถะและวิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า อุปปันนะที่ยังถอนรากไม่ขาด โดยเหตุที่ยังไม่พ้นความเกิด เป็นธรรมดา เพราะเป็นกิเลสที่ยังไม่ถอนรากขาดด้วยอริยมรรค

เหมือน กิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระเถระผู้ได้สมาบัติ ๘ กำลังเดินทาง (เหาะไป) โดยอากาศ ได้ยินเสียงเพลงขับร้องของมาตุคาม ซึ่งเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้มีดอก อยู่ในป่าใกล้ๆ ขับร้องด้วยเสียงไพเราะ





อนึ่ง อุปปันนะแม้ทั้ง ๓ อย่าง คือ อารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสมูหตะ ๑ พึงทราบว่า สงเคราะห์เข้ากับภูมิลัทธะ (อุปปันนะ) นั่นเอง



[๘๓๘] ในอุปปันนะ ซึ่งจำแนกประเภทดังกล่าวมานี้ อุปปันนะ ๔ อย่าง กล่าวคือ วัตตมานะ ๑ ภูตาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ และสมุทาจาระ ๑ นี้นั้น ไม่เป็นอุปปันนะที่จะต้องละด้วย (มรรค)ญาณแม้ไรๆ เพราะ มิใช่อุปปันนะที่ฆ่าด้วย(อริย)มรรค

แต่ อุปปันนะ กล่าวคือ ภูมิลัทธะ ๑ อารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสูมหตะ ๑ (๔อย่าง) นี้ใด เพราะ โลกียญาณและโลกุตรญาณนั้นๆเกิดขึ้น ทำให้ความเป็นอุปปันนะนั้นๆ ของอุปปันนะ(๔ อย่าง) นั้น พินาศไป

เพราะฉะนั้น อุปปันนะแม้ทั้งหมด (ทั้ง ๔ อย่าง ข้างหลังนี้) นั้น จึงเป็นอุปปันนะที่ต้องละ ฉะนี้แล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2012, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.


http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/show.php?id=23




ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

กลางวัน กลางคืน แตกต่างเพียงรูป ที่ปรากฏ

ชาย หญิง คน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ แตกต่างเพียงรูป ที่ปรากฏ

ทุกๆสรรพสิ่ง ที่ปรากฏเห็นอยู่ แตกต่างเพียงรูปที่ปรากฏ แต่สภาวะ ไม่แตกต่าง สักแต่ว่ารูป ที่ปรากฏ เห็นอยู่ เท่านั้นเอง



อยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรม

คือ ผู้ที่ไม่มีกาล เป็นเครื่องกำหนด ไม่มีทั้งกลางวัน และกลางคืน มีแต่รูป ปรากฏเห็นอยู่



กล่าวโดยสภาวะ

ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นในสัมมาสมาธิเนืองๆ ไม่เว้นแม้แต่ขณะเวลานอน

นอนสักแต่ว่านอนสักแต่ว่านอน เป็นเพียงกิริยา ที่ปรากฏ เห็นอยู่ภายนอก

แต่สภาวะที่ปรากฏขึ้นในจิต ไม่มีความแตกต่าง ทั้งกลางวันและกลางคืน

ชีวิตที่เหลืออยู่ ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร