วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2012, 23:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าหากต้องคอยย้ำเตือนจิตให้ต้องทำกิจอันใด

กิจอันนั้น ก็เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

ก็ต้องวาง กิจอันนั้นด้วย

ให้เหลือเพียงกิจอันเดียว

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 00:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


การคิดคำนึงถึงบาป-บุญ
การคิดคำนึงถึงอกุศล-กุศล
เป็นร่างจำแลงของอดีต-อนาคตที่ถูกตบแต่ง
ถ้ารู้จักอดีต-อนาคต และร่างจำแลงของมัน

ถ้าผู้ปฏิบัติรู้จักสิ่งไหนตามจริงมากเท่าไร
โอกาสที่จะถูกสิ่งนั้นลากจูงไปก็ลดลง

ถ้าการที่จิตจะถูกลากจูงไม่เป็นปัญหา
การที่จะต้องพร่ำบ่นสิ่งใดเพื่อย้ำเตือนตัวตน ก็ไม่ใช่ภาระ

ถ้าไม่มีการ "ยึด" การ "ไม่ยึด" ก็ไม่มี

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 01:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ถ้าหากต้องคอยย้ำเตือนจิตให้ต้องทำกิจอันใด

กิจอันนั้น ก็เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

ก็ต้องวาง กิจอันนั้นด้วย

ให้เหลือเพียงกิจอันเดียว

:b8:

อย่าไปกังวลว่า...ก็ต้องวาง

เพราะถึงที่มันแล้ว....ก็วางเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 01:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความไม่พอใจ....มีก็เพราะมี...พอใจ

หากไม่ต้องการความไม่พอใจ...ก็อย่ามี...ความพอใจ...เสียสิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 03:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
วิปัสสนา คือการปฏิบัติเพื่อหาเหตุแห่งทุกข์ในกระบวนการขันธ์ห้า
โดยมีสติเป็นเหตุปัจจัยแห่งวิปัสสนา

เมื่อรู้ว่าเหตุแห่งทุกข์แท้จริงแล้วก็คือ ขันธ์ห้า
ดังนั้นเราหยุดขันธ์ห้าด้วยสติปัฏฐานไม่ให้ เกิดเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้นในปฏิจสมุบาท

ดังนั้นสติเป็นเหตุปัจจัยแห่งวิปัสสนา
และวิปัสสนาเป็นเหตุปัจจัยแห่งอริยมรรค
โดยมีสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์


อริยมรรค เป็นเหตุ...
สมถะวิปัสสนา คือการเจริญมรรคภาวนา
ย่อมมีอริยมรรคเป็นเหตุเป็นปัจจัย

ความเข้าใจคุณมันกลับตาลปัตรดีครับ
คำพูดก็เหมือนที่เคยกล่าวนั้นแหล่ะครับ จินตนาการ

ความหมายของธรรม เหตุปัจจัยคือสิ่งที่ทำให้เกิด
มันมีที่ไหนเอาผลมาเป็นเหตุ อริยมรรคเป็นผลของการเจริญสมถวิปัสสนา

รู้ไว้ด้วยเหตุปัจจัยไม่ใช่ความคิด มาบอกว่าอยากได้โน้นอยากได้นี้แล้วบอกเป็น
เหตุปัจจัย ผลยังไม่มี เนี่ยถึงบอกไม่ได้มีความเข้าใจในปฏิจสมุบาทเอาเสียเลย
เช่นนั้น เขียน:
ปัญจุปาทานขันธ์ คือทุกข์
คุณโฮฮับ
หยุดขันธ์ห้า ด้วยสติปัฏฐาน เหรอครับ สำนักไหนสอนครับ


ใครไปหยุดขันธ์ได้ครับ รูปนามยังอยู่ขันธ์ห้าก็ต้องมี สติก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า
คุณไม่รู้หรอกหรือครับ สติเขาเอาไว้ระลึกรู้กระบวนการขันธ์ห้าด้วยสัมมาทิฐิ

เขาเอาไว้รู้ตามความเป็นจริง ไม่ได้เอาไว้หยุด พุดโถ่เอ้ย! :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 10:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาก็คือ การรู้ การเห็น ถึงการปรุงแต่งของจิตสังขาร ปรุงแต่งเองบ้าง ภายนอกเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งบ้าง รู้อยู่อย่างนั้น ด้วยความเท่าทันต่อสังขารจิต รู้ทุกขณะ ไม่ใช่คิดนึกเอาอันเป็นเจตนา แต่วิปัสสนาพ้นเจตนาทีเดียว... ภาวนา ก็คือ การเพียรตามอบรม ใช้สติระลึกไปกับการรู้นั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ใครไปหยุดขันธ์ได้ครับ รูปนามยังอยู่ขันธ์ห้าก็ต้องมี สติก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า
คุณไม่รู้หรอกหรือครับ สติเขาเอาไว้ระลึกรู้กระบวนการขันธ์ห้าด้วยสัมมาทิฐิ

เขาเอาไว้รู้ตามความเป็นจริง ไม่ได้เอาไว้หยุด พุดโถ่เอ้ย!


โฮฮับ เขียน:
เมื่อรู้ว่าเหตุแห่งทุกข์แท้จริงแล้วก็คือ ขันธ์ห้า
ดังนั้นเราหยุดขันธ์ห้าด้วยสติปัฏฐานไม่ให้ เกิดเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้นในปฏิจสมุบาท


โฮฮับ แสดง เอง ปฏิเสธเอง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ความหมายของธรรม เหตุปัจจัยคือสิ่งที่ทำให้เกิด
มันมีที่ไหนเอาผลมาเป็นเหตุ อริยมรรคเป็นผลของการเจริญสมถวิปัสสนา


Quote Tipitaka:
[๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง
อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ

VV

[๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9026&Z=9078&pagebreak=0
นิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค

การเจริญสมถะและวิปัสสนาก็ตาม การเจริญมัคคภาวนาก็ตาม คือสิ่งเดียวกัน
อริยมรรค จึงเป็นเหตุแก่การเจริญสมถและวิปัสสนา และการเจริญมัคคภาวนา นะโฮฮับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2012, 14:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ถ้าหากต้องคอยย้ำเตือนจิตให้ต้องทำกิจอันใด

กิจอันนั้น ก็เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

ก็ต้องวาง กิจอันนั้นด้วย

ให้เหลือเพียงกิจอันเดียว

:b8:

:b12:
"บันไดขึ้นที่สูงชันหรืออันตราย ช่างที่ชาญฉลาดจะทำราวบันไดไว้ให้เกาะยึดเหนี่ยว
ผู้ใช้บันไดที่ฉลาดก็ย่อมจะรู้จักใช้ประโยชน์จากราวบันได และปล่อยราวบันไดทิ้งไว้ข้างหลังเมื่อขึ้นไปถึงที่ที่จะต้องเดินหน้าต่อไปอีก จนกว่าจะถึงที่หมาย"
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 02:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ใครไปหยุดขันธ์ได้ครับ รูปนามยังอยู่ขันธ์ห้าก็ต้องมี สติก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้า
คุณไม่รู้หรอกหรือครับ สติเขาเอาไว้ระลึกรู้กระบวนการขันธ์ห้าด้วยสัมมาทิฐิ

เขาเอาไว้รู้ตามความเป็นจริง ไม่ได้เอาไว้หยุด พุดโถ่เอ้ย!


โฮฮับ เขียน:
เมื่อรู้ว่าเหตุแห่งทุกข์แท้จริงแล้วก็คือ ขันธ์ห้า
ดังนั้นเราหยุดขันธ์ห้าด้วยสติปัฏฐานไม่ให้ เกิดเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้นในปฏิจสมุบาท


โฮฮับ แสดง เอง ปฏิเสธเอง

เหมือนเด็กเตรียมอนุบาลนะครับ ต้องอธิบาย ต้องบอกทุกเม็ด
หยุดอุปาทานขันธ์ ไม่ใช่หยุดขันธ์ห้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2012, 03:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ความหมายของธรรม เหตุปัจจัยคือสิ่งที่ทำให้เกิด
มันมีที่ไหนเอาผลมาเป็นเหตุ อริยมรรคเป็นผลของการเจริญสมถวิปัสสนา


Quote Tipitaka:
[๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง
อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ

VV

[๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9026&Z=9078&pagebreak=0
นิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค

การเจริญสมถะและวิปัสสนาก็ตาม การเจริญมัคคภาวนาก็ตาม คือสิ่งเดียวกัน
อริยมรรค จึงเป็นเหตุแก่การเจริญสมถและวิปัสสนา และการเจริญมัคคภาวนา นะโฮฮับ

ท่องคำศัพท์จนเพี้ยนแล้วครับ
อิทธิบาทต่างหาก จึงจะเป็นเหตุแห่งการเจริญ
สมถวิปัสสนาและอริยมรรค


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 12:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ความหมายของธรรม เหตุปัจจัยคือสิ่งที่ทำให้เกิด
มันมีที่ไหนเอาผลมาเป็นเหตุ อริยมรรคเป็นผลของการเจริญสมถวิปัสสนา


Quote Tipitaka:
[๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึง
อสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ

VV

[๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9026&Z=9078&pagebreak=0
นิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค

การเจริญสมถะและวิปัสสนาก็ตาม การเจริญมัคคภาวนาก็ตาม คือสิ่งเดียวกัน
อริยมรรค จึงเป็นเหตุแก่การเจริญสมถและวิปัสสนา และการเจริญมัคคภาวนา นะโฮฮับ

ท่องคำศัพท์จนเพี้ยนแล้วครับ
อิทธิบาทต่างหาก จึงจะเป็นเหตุแห่งการเจริญ
สมถวิปัสสนาและอริยมรรค

cool
"สัมมาทิฏฐิ" ต่างหาก จึงจะเป็นเหตุแห่งการเจริญ สมถะและวิปัสสนา หรือโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ
อิทธิบาทธรรมนั้นเป็นธรรมเพื่อให้เกิดความสำเร็จ เป็นส่วนหนึ่งที่ไปสนับสนุน "สัมมาวายามะ"
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
["สัมมาทิฏฐิ" ต่างหาก จึงจะเป็นเหตุแห่งการเจริญ สมถะและวิปัสสนา หรือโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ
อิทธิบาทธรรมนั้นเป็นธรรมเพื่อให้เกิดความสำเร็จ เป็นส่วนหนึ่งที่ไปสนับสนุน "สัมมาวายามะ"
onion

ไปกินนมแล้วก็นอนซะ อย่าลืมใส่แพมเพิสด้วยล่ะ
ชอบฉี่รดที่นอนอยู่ด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2012, 22:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




GEDC1772_resize.JPG
GEDC1772_resize.JPG [ 69.79 KiB | เปิดดู 3721 ครั้ง ]
GEDC1775_resize.JPG
GEDC1775_resize.JPG [ 78.03 KiB | เปิดดู 3721 ครั้ง ]
cool
โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
["สัมมาทิฏฐิ" ต่างหาก จึงจะเป็นเหตุแห่งการเจริญ สมถะและวิปัสสนา หรือโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ
อิทธิบาทธรรมนั้นเป็นธรรมเพื่อให้เกิดความสำเร็จ เป็นส่วนหนึ่งที่ไปสนับสนุน "สัมมาวายามะ"
onion

ไปกินนมแล้วก็นอนซะ อย่าลืมใส่แพมเพิสด้วยล่ะ
ชอบฉี่รดที่นอนอยู่ด้วย

cool
เพ้อแล้วหรือครับคุณโฮ......
:b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2012, 12:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




เคล็ดลับวิปัสสนา_resize_resize.jpg
เคล็ดลับวิปัสสนา_resize_resize.jpg [ 45.38 KiB | เปิดดู 3701 ครั้ง ]
:b27:
ความรู้เรื่องวิปัสสนาภาวนา (ต่อ)
:b16:
การทำวิปัสสนาภาวนามีคำสรุปว่า
“การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์”
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วก็จะเห็นว่าเป็นการนำเอาปัญญาสัมมาทิฐิกับปัญญาสัมมาสังกัปปะมาทำงานร่วมกันกับสัมมาสติ หรือเอาปัญญากับสติมาทำงานร่วมกัน
ปัญญาทำหน้าที่ ดู สังเกต สติมีหน้าที่กำกับจิตให้อยู่กับปัจจุบัน
สัมมาสมาธิเล่าอยู่ที่ใด
สมาธิ เป็นผลของการเจริญสติ เพราะถ้าสติระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดี สมาธิเขาจะเกิดมีขึ้นมาเองตามธรรมชาติ


การเจริญปัญญา สติ สมาธิ ร่วมกันอย่างนี้ก็คือการเจริญมรรคนั่นเองโดยมีสัมมาทิฐิปัญญามรรคเป็นประธานเป็นหัวหน้านำไป ถ้าสัมมาทิฐินำหน้าแล้ว มรรคที่เหลืออีก 7 ตัวเขาจะถูกดึงมาประชุมร่วมกันทำงานเองโดยธรรมชาติ
สิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มเติมเข้าไปในการทำวิปัสสนาเพื่อให้เกิดความสำเร็จคือ “โยนิโสมนสิการ”อันแปลว่าความมีสติปัญญาทำงานด้วยความตั้งใจจริง
มนสิการ แปลว่า ตั้งใจ
โยนิโส แปลว่า ฉลาดแยบคายซึ่งหมายถึงการตั้งสติ ปัญญาขึ้นมาทำงาน
การทำวิปัสสนาภาวนาจึงมีคำสรุปสุดท้ายไว้ว่า
วิปัสสนาภาวนา คือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญา ขึ้นมาเฝ้าดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์
งานหลักของวิปัสสนาภาวนามีเพียงเท่านี้
สิ่งที่จะต้องรู้เสริมเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้การทำวิปัสสนาภาวนาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือ
๑.เริ่มต้นจากท่านั่ง สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ควรเริ่มทำวิปัสสนาภาวนาจากท่านั่งก่อน เมื่อชำนาญในการ ดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาแล้วจึงค่อยขยายไปทำในท่า ยืน เดิน นอน ให้ครบและทำวิปัสสนาภาวนาได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ และทำได้ทุกเวลาทุกโอกาสในชีวิตประจำวัน


๒.เฉยและสงบนิ่ง ในการทำภาวนาแต่ละรอบ ให้มีสติกำหนดไว้ในใจว่า ข้าพเจ้าจะนั่งสงบนิ่งเฉยๆโดยไม่ทำงานอื่น นอกจากการเอาสติ ปัญญา มาเฝ้าตามดูตามรู้ ตามสังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ที่ปัจจุบันอารมณ์จนตลอดรอบการภาวนา จะเป็นรอบละ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมงหรือมากกว่าก็แล้วแต่ความสามารถที่จะทำได้ จะไม่พูด จะไม่ขยับเปลี่ยนท่าหรือทำอาการใดๆ
๓.เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดี การเฝ้าดูเฝ้าสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นข้าพเจ้าจะกระทำตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดีอันอุปมาเหมือนบุรุษที่ยืนนิ่งเฉยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเฝ้าดูเฝ้าสังเกตสิ่งของต่างๆที่ไหลผ่านมาและผ่านไปในแม่น้ำ เท่านั้น โดยจะไม่กระทำการอื่นใดอีก
ถ้าทำได้ดีตามที่กำหนดใจไว้ข้างต้นนี้ท่านจะได้พบกับความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างรวดเร็ว
ถ้าการภาวนาวิปัสสนาเป็นไปด้วยดีจะมีอะไรเกิดขึ้น
จะได้รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า
เมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาแทบทุกทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิตเข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัส

ของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณา มีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
ถ้าวิปัสสนาปัญญาเจริญขึ้นไปจนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ในทุกอารมณ์จนเป็นปกติดีแล้วหลังจากนั้น ปัญญา จะสรุปตัวของเขาเองโดยธรรมชาติ โดยรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง และเข้าไปสลายความเห็นผิดยึดผิดว่าเป็นอัตตา ตัวตน ทำลายมิจฉาทิฐิ อันเป็นความมืดบอดไม่รู้บดบังใจ ให้มลายหายไป เกิดความสลัดคืนความมืดมิดหรืออวิชชา และแล้วแสงสว่าง แห่งปัญญา หรือวิชชา ก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่โดยธรรม ทำให้เห็นชัดอนัตตา ดวงตาเห็นธรรมอันแท้จริงเกิดขึ้น เป็นแรงส่งให้ เกิดอนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ ผลญาณและนิพพาน ปรากฏชัดขึ้นมาในจิต จิตเสวยนิพพาน ๒ - ๓ ขณะแล้วดับไป เมื่อคลายออกมาแล้วก็จะเกิดการปัจเวก คือพิจารณาย้อนหลังว่ามีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรหมดสิ้นไป มีอะไรคงเหลือ ชีวิตใหม่หลังจากนั้นจะทำอย่างไรคำตอบจะเกิดขึ้นมาเองในจิตจนหมดความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


กรรม เวร วิบาก อริยสัจ ๔ มรรค ๘ อนัตตา ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร ก็จะรู้ซึ้งขึ้นมาในจิตของเจ้าของผู้ภาวนา
อุปสรรคที่จะมากั้นขวางการทำวิปัสสนาภาวนา
๑.นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ มี
๑.กามฉันทะ ความยินดี พอใจในสัมผัส
๒.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจในสัมผัส
๓.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญใจ
๔.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย รู้ไม่จริง
นิวรณ์ทั้ง ๕ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นในจิต ถ้าผู้ภาวนาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีจริงๆ ไม่หวั่นไหวหรือมีปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อถูกนิวรณ์อารมณ์แต่ละอย่างรบกวน นิ่งดู นิ่งสังเกต รู้ชัดตลอดสายตั้งแต่อารมณ์นั้น
เกิดขึ้น ตั้งอยู่จนดับไปต่อหน้าต่อตา นิวรณ์และอารมณ์นั้นๆจะ เบาบาจางไปเรื่อยๆ จนดับไป หรือหมดไปจากจิตใจ
นี่คือเคล็ดลับสำคัญในการขุดถอนกิเลส ตัณหา อัตตาและนิวรณ์ธรรมทั้งปวง
๒.ความยึดติดอยู่กับวิชาความรู้และรูปแบบ วิธีการเก่าๆที่เคยเชื่อถือศรัทธาหรือปฏิบัติมาก่อน
ข้อนี้ก็จะมาเป็นวิจิกิจฉานิวรณ์ในข้อ 1 นั่นแหละ แต่ต้องยกออกมาแสดงให้ชัดขึ้น การขุดถอนความติดยึดในความเห็นเช่นนี้ก็ต้องขุดถอนออกด้วยวิปัสสนาภาวนาวิปัสสนาปัญญาตามที่สรุปไว้เช่นกัน

๓.ผู้ที่ห่วงเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ขอให้สบายใจได้เลยว่า ถ้าท่านสามารถรักษาสติปัญญาให้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีนั่นคือการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ โดยธรรมชาติ เพราะปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่ง
ธรรมทั้งปวง ทั้งสติปัฏฐาน ๔ หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการล้วนมารวมลงที่ปัจจุบันอารมณ์ ถ้าท่านอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดี ไม่ช้าท่านจะเข้าใจและรู้ซึ้งอริยสัจ ๔ โดยสมบูรณ์
๔.ผู้ที่ห่วงเรื่องการเจริญอานาปานสติ ก็สบายใจได้เลยเพราะตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ ลมหายใจเขาจะมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ปรากฏให้ต้องรู้ ต้องสังเกต พิจารณาสลับกับอารมณ์อื่นๆ อยู่ตลอดทางและที่สุดเมื่อความนึกคิดฟุ้งซ่านระงับไปนิวรณ์ทั้ง ๕ สงบรำงับลงไปแล้ว ท่านก็จะได้ลมหายใจนี่แหละเป็นอารมณ์ที่เด่นชัดสุดท้ายก่อนที่จิตจะเข้าถึงความสงบระดับฌาน
๕.ผู้ที่ห่วงเรื่องสมาธิไม่พอเพียงไม่เป็นสัมมาเพราะยังเข้าฌาน ๔ ไม่ได้ ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะกระบวนการของวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นกระบวนการทำสมาธิอยู่แล้วในตัว เนื่องจากวิปัสสนาภาวนาก็ต้องพบและขุดถอนทำลายนิวรณ์ ๕ ไปตลอดระยะทางของการภาวนา โดยเฉพาะนิวรณ์ข้อที่ ๑ กามฉันทะ ข้อที่ ๒ พยาบาท ซึ่งสรุปแล้วคือ อภิชฌาและโทมนัสสังหรือความยินดียินร้ายนั่นเอง การสู้กับนิวรณ์ ๒ ข้อแรกนี้ก็คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยอัตโนมัติ
วิปัสสนาภาวนาจึงเป็นการภาวนาที่เบ็ดเสร็จพร้อมในตัวทั้ง ปัญญา ศีล สติ และสมาธิ ตามมรรคมีองค์ ๘ ที่สุดของวิปัสสนาภาวนาท่านจะ

ได้เข้าถึงสัมมาสมาธิโดยสมบูรณ์เช่นกัน แต่เราไม่เรียกว่าถึงฌาน ๔ เพราะที่ๆจิตหยุดคิดนึกปรุงแต่ง สงบนิ่งเฉยอยู่จนไร้ปฏิกิริยานั้นเราเรียกว่า “สังขารุเปกขาญาณ” อันเป็นญาณวิปัสสนาภาวนา
การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำวิปัสสนาภาวนา
ผู้ที่ประสงค์จะเจริญวิปัสสนาภาวนาจะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าดังต่อไปนี้
๑.ตรวจสอบชำระศีล และอธิษฐานศีล จะเป็นศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ได้ สำหรับอุบาสก อุบาสิกา
๒.ตรวจสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องและจำเป็นใช้สำหรับการทำวิปัสสนาภาวนา เช่นเรื่อง อริยสัจ ๔ มรรค ๘ อนัตตา ปัจจุบัน ฯลฯ
๓.ตรวจสอบความสามารถและต้นทุนเดิมที่ตนเองมีอยู่หรือเคยสร้างสมมาด้วย ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจรและความสั่นสะเทือนในกาย
๔.เตรียมเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ ตลอดจนประสานงานเรื่องกำหนดเวลาอบรม อาหารและที่พักให้เรียบร้อยก่อนการฝึกอบรมหรือเจริญวิปัสสนาภาวนา
เรื่องการตรวจสอบทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติต้องได้รับการอธิบายชี้แนะโดยตรงกับกัลยาณมิตรผู้ทำหน้าที่สอนหรือเป็นที่ปรึกษา
การทำวิปัสสนาภาวนานั้นจะต้องศึกษาควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริงจึงจะเข้าใจและสามารถศึกษาต่อไปจนจบได้ จึงขอให้ท่านที่ต้องการจะประสบความสำเร็จในการทำวิปัสสนาภาวนาไปเข้ารับการอบรมโดยตรงกับอาจารย์ผู้สอนจึงจะได้ผลดี

หากปารถนาจะมาปฏิบัติด้วยตนเอง ก็ขอให้ได้เริ่มต้นด้วยการไปเข้ารับการอบรมจากกัลยาณมิตรหรืออาจารย์ผู้สอนจนเข้าใจหลักการภาวนาและสามารถทำวิปัสสนาภาวนาได้ดีด้วยตนเองต่อหน้าผู้สอน
เสียก่อน อุปมาเหมือนนักเรียนที่ไปเรียนตัวแม่อักษร สระ พยัญชนะ จนรู้วิธีผสมอักษร วิธีสะกด จนอ่านหนังสือได้ดีด้วยตนเองแล้วจึงค่อยกลับมาอ่านหนังสือ เล่าเรียนเอาด้วยตนเองที่บ้าน
ขอให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา ฝึกหัดและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนากันทุกๆคนเทอญ
onion
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร