วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2012, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
คุณโฮฮับ....การบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องเห็นสภาวะไตรลักษณ์ก็มี .

คนที่ไม่เคยเห็นไตรลักษณ์ ส่วนใหญ่จะพูดแบบคุณนี่ล่ะครับ


จริงหรือ ที่คนไม่เห็นไตรลักษณ์ ส่วนใหญ่จะพูดแบบนี้
ถาม โฮฮับ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลลัพพตปรามาส
ละได้ด้วยการ ทำวิปัสสนาพิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อเข้าสู่โสดาปัติมรรค โสดาปัตติผล หรือ??

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2012, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ส่วนเรื่อง สาสวะ และอนาสวะ ในมหาจัตรีสกสูตรที่คุณโฮฮับอ้างถึงน่ะ
มรรคปฏิปทาอันเป็นสาสวะ ก็ยังไม่ใช่ศีลพรตปรามาส ดังเช่นที่คุณโฮฮับเข้าใจ แต่เป็นปฏิปทาที่เหมาะที่ควรแก่ฆราวาสผู้ยังไม่ออกเรือน ....จึงมีส่วนแห่งบุญยังเป็นผลหนักแก่ขันธ์
อ่านพระสูตรก็ศึกษาให้ถ้วนถี่ว่าจุดมุ่งหมายของพระศาสดาตรัสสอนพระธรรมเทศนาด้วยประโยชน์ไร.
..

ถึงได้ถามในตอนแรกว่า ถามหาน่ะอ่านเข้าใจหรือเปล่า
ก็รู้ๆอยู่ว่า การเกิดเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติเพื่อมุ่งตรงสู่นิพพาน
นี่กลับมาเพ้อเจ้อจะเอาผลบุญผลขันธ์อีกแน่ะ ถ้ายังอยากเป็นอยากได้แบบนี้
ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าก็ได้ ศาสนาอื่นก็สอนเรื่องผลบุญผลขันธ์เหมือนกัน

และเรื่องศีลพรตปรามาส ผมจะกล่าวถึงเรื่อง สัมมัธปทานสี่ ถ้าเราปฏิบัติแบบจงใจ
โดยขาดหลักสัมมาทิฐินำหน้า การปฏิบัติแบบนี้มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค หรืออีกนัยหนึ่ง
มันเป็นสังโยชกิเลส ที่เรียกว่า ศีลพรตปรามาส


สัมมปธาน 4 แห่งโพธิปักขิยธรรม มีอะไรเป็นอารมณ์
อาสวะ สาสวะ อนาสวะ ท่านเข้าใจอย่างไร ว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับ กับเรื่อง บุญ เรื่องผลอันเพราะเหตุนั้น....
การปฏิบัติแบบ อัตตกิลมถานุโยค เป็นการปฏิบัติสัมมัปธาน 4 โดยขาดสัมมาทิฏฐินำหน้า ใครเป็นคนสอนท่านว่า การปฏิบัติแบบนั้นเรียกว่า สัมมัปธาน...หรือโฮฮับนั่งเทียนขึ้นมา

แสดงว่า แม้แต่ ศีลพรตปรามาส โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ โฮฮับ ก็ไม่รู้จัก เพิ่มเติม จาก ขันธ์ุ 5 และปฏิจสมุปบาท

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2012, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
มรรคแปด จึงไม่ใช่เรื่องของพระอริยะที่ไหน เป็นเรื่องของเราชาวบ้าน ปุถุชน
คนธรรมดานี่แหละ เป็นแนวทาง เป็นแผนที่และปฏิปทาการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่
"โลกุตระธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ..."

:b12:

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 02:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น ถามโฮฮับ:
พุทธพจน์บทใด สอนว่า สัมมาปฏิปทา ต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริงที่เรียกว่าไตรลักษณ์ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ

โฮฮับตอบ:
แล้วสัมมาปฏิปทาที่ว่า หมายถึง อริยมรรคมีองค์แปดหรือเปล่าล่ะ
ที่ถามหาพุทธพจน์ ถามมาเพราะไม่รู้จะถามอะไรใช่มั้ย

V
ถามเพราะพระธรรมนี้ พระพุทธองค์เป็นพระศาสดา
ถามเพราะ สิ่งที่โฮฮับแสดง ไม่มีในพระสูตร และพระอภิธรรม

ผมก็บอกไปแล้วว่าอยู่ในพระไตรปิฎกที่ว่าด้วยเรื่องอะไรบทอะไร ยังมาแกล้ง
ทำไม่รู้ไม่ชี้ ผมว่าของคุณเองนั้นแหล่ะจะมีหรือเปล่าก็ไม่รู้ เห็นมีแต่ภาษาลิเก

แล้วที่ว่าสิ่งที่ผมแสดงไม่มีในพระสูตรและพระอภิธรรม
โปรดจงรู้ไว้ด้วย ผมแสดงธรรมด้วยวิธีการอธิบายความ
ตามหลักของการใช้ ธัมมวิจยะ แต่คุณเป็นแค่การแปลบัญญัติ
ไม่ได้มีการเข้าใจในการเลือกเฟ้นธรรม ก็เลยกล่าวหาผมว่า ผมแสดงธรรมที่ไม่มี
ในพระไตรปิฎก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 02:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
คุณโฮฮับ....การบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องเห็นสภาวะไตรลักษณ์ก็มี .

คนที่ไม่เคยเห็นไตรลักษณ์ ส่วนใหญ่จะพูดแบบคุณนี่ล่ะครับ


จริงหรือ ที่คนไม่เห็นไตรลักษณ์ ส่วนใหญ่จะพูดแบบนี้
ถาม โฮฮับ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลลัพพตปรามาส
ละได้ด้วยการ ทำวิปัสสนาพิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อเข้าสู่โสดาปัติมรรค โสดาปัตติผล หรือ??

สภาวะไตรลักษณ์ เป็นสภาวะแห่งความจริงของจิต จิตจะแสดงการดับไปของอารมณ์
ที่เกิดขึ้นที่ปัจจุบันนั้นๆ ทำให้รู้ผลที่เกิดตามมาคือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์และความบังคับไม่ได้
สภาวะแบบนี้แหล่ะ ที่เราต้องใช้ในการทำวิปัสนา เพื่อละสักกายทิฐิ เมื่อละสักกายทิฐิได้แล้ว
ก็จะเข้าใจหรือละวิจิกิจฉาและศีลพรตปรามาสไปเอง

อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ที่ว่าวิปัสนาละสักกายทิฐิอย่างไร
นั้นก็คือ การพิจารณากระบวนการขันต์และอายตนะ
โดยต้องอยู่ในหลักแห่งไตรลักษณ์ พูดแบบนี้อาจจะไม่เข้าใจ
สมมุติว่า เราทำสมการหาความสมดุลย์ของของสองสิ่ง
ข้างหนึ่งเป็นไตรลักษณ์สภาวะที่เราไปเห็นมาแล้ว ส่วนอีกข้างเราก็ต้องหา
หรือพิจารณาให้มันตรงกับสภาวะไตรลักษณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สัมมปธาน 4 แห่งโพธิปักขิยธรรม มีอะไรเป็นอารมณ์

สัมมัปปธานสี่ ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์
แต่ใช่ว่าเฉพาะสัมมัธปทานสี่เท่านั้น ธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
ก็ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นำหน้าเสมอ

การมีอารมณ์ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐินำหน้าก็เพื่อ
ไม่ให้เราหลงไปยึดธรรมที่เราต้องพิจารณาหรือปฏิบัติ เช่นโพธิปักขิยธรรมครับ

เช่นนั้น เขียน:
อาสวะ สาสวะ อนาสวะ ท่านเข้าใจอย่างไร ว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับ กับเรื่อง บุญ เรื่องผลอันเพราะเหตุนั้น....

ผมเห็นเก่งบัญญัติไม่น่าเชื่อว่าคุณจะไม่เข้าใจ บัญญัติสามตัวนี้
มันก็นั้นล่ะครับ การจะให้เข้าใจธรรมจะต้องอาศัย หลักธัมมวิจยะมาช่วย

ก่อนอื่นผมขออนุญาติแปลบัญญัติเพื่อความเข้าใจ
อาสวะ หมายถึง กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน
สาสวะ หมายถึง ความเป็นไปด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอาสวะ
อนาสวะ หมายถึง ไม่มีอาสวะหาอาสวะมิได้

อ่านความหมายของบัญญัติสามตัวนี้ก็น่าจะเข้าใจได้แล้ว
ว่าทำไมเราถึงต้องปฏิบัติตามหลัก อนาสวะ ถึงจะถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พูดง่ายๆ สาสวะเป็นการทำดีทำกุศลแต่มันเจือด้วยกิเลส คุณต้องเข้าใจด้วยว่า
ความดีหรือผลบุญพระพุทธเจ้าก็ทรงกำหนดให้เป็นกิเลส เพราะมันมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
มันเป็นเชื้อทำให้ต้องเกิดในสังสารวัฏ

เช่นนั้น เขียน:
การปฏิบัติแบบ อัตตกิลมถานุโยค เป็นการปฏิบัติสัมมัปธาน 4 โดยขาดสัมมาทิฏฐินำหน้า ใครเป็นคนสอนท่านว่า การปฏิบัติแบบนั้นเรียกว่า สัมมัปธาน...หรือโฮฮับนั่งเทียนขึ้นมา
แสดงว่า แม้แต่ ศีลพรตปรามาส โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ โฮฮับ ก็ไม่รู้จัก เพิ่มเติม จาก ขันธ์ุ 5 และปฏิจสมุปบาท

แสดงว่งแสดงว่าอะไร คุณไม่รู้ในสิ่งที่เขารู้ มันก็เกิดอาการต่อต้านแล้วใช้โทสะ
ตอบโต้แบบไร้เหตุผล พอผมชวนคุณคุยในเรื่องที่คุณว่ากล่าวผม ก็ไม่เห็นมีคำตอบ
อย่างเช่นปฏิจจสมุบาทหรือขันธ์ห้า

ความเห็นนี้ก็เหมือนกัน เป็นตัวคุณเองที่ไม่มีความเข้าใจ
ยังใช้การปฏิบัติธรรมในแบบแปลบัญญัติ พอมีคนมาบอกวิธีการปฏิบัติ
ในหลักของ ธัมมวิจยะให้ฟัง คุณบอกไม่ใช่ ผมนั่งเทียนขึ้นมา

ไอ้เพราะเหตุที่ผมอธิบายมาข้างบนนี้เอง ทำให้เข้าใจผิดเอาคำอธิบาย
ของผมมาพูดแบบผิดๆ

สัมมัธปทาน ก็คือสัมมัธปทาน มันสำคัญอยู่ตรงที่มีเหตุปัจจัยอะไร
มาทำให้เกิดสัมมัธปทานนี่ขึ้น ผลในการปฏิบัติสัมมัธปทานมันก็เปลี่ยนแปลงไป

ที่บอกต้องมีไตรลักษณ์สัมมาทิฐินำหน้าเพื่อไม่ให้เราไปยึดในธรรมที่กำลังปฏิบัติ
จนเกิดเป็นอัตตา ธรรมทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนเมื่อปฏิบัติแล้วต้องละอย่าให้เกิด
เป็นอัตตา

สัมมัธปทานสี่ เป็นวิธีการปฏิบัติมันเป็นหลักตายตัว แต่ที่ผิดแผกแตกต่าง
มันอยู่ที่คนปฏิบัติว่า ทำเพื่อยึดหรือทำเพื่อละ ความจงใจหรืออัตตกิลมถาฯมันเกี่ยวข้อง
ตรงนี้ ผลบุญก็คือผลขันธ์ส่วนนี้มันก็ขึ้นอยู่ที่ผู้ปฏิบัติเหมือนกัน คือปฏิบัติเพื่อเอาผลบุญ
ในชาติหน้า หรือจะปฏิบัติเพื่อละทิ้งทุกอย่างในชาตินี้


สรุป คุณ"เช่นนั้น"ครับ อยากทำความเข้าใจกับสิ่งที่คุณชอบกล่าวหา
ผมว่าไม่รู้โน้นไม่รู้นี่ทั้งๆที่ผมอธิบายให้ฟังซะยืดยาว มันเป็นสิทธิ์ของคุณครับ
ที่จะไม่เชื่อและบอกว่าความเห็นของผมไม่ถูก แต่มันต้องอธิบายความมาด้วยว่า
ไม่เห็นด้วยเพราะอะไรหรือมันผิดตรงไหนครับ ไม่ใช่พูดเป็นแต่เพียงว่า " ผมไม่รู้จัก"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
คุณโฮฮับ....การบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องเห็นสภาวะไตรลักษณ์ก็มี .

คนที่ไม่เคยเห็นไตรลักษณ์ ส่วนใหญ่จะพูดแบบคุณนี่ล่ะครับ


จริงหรือ ที่คนไม่เห็นไตรลักษณ์ ส่วนใหญ่จะพูดแบบนี้
ถาม โฮฮับ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลลัพพตปรามาส
ละได้ด้วยการ ทำวิปัสสนาพิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อเข้าสู่โสดาปัติมรรค โสดาปัตติผล หรือ??

สภาวะไตรลักษณ์ เป็นสภาวะแห่งความจริงของจิต จิตจะแสดงการดับไปของอารมณ์
ที่เกิดขึ้นที่ปัจจุบันนั้นๆ ทำให้รู้ผลที่เกิดตามมาคือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์และความบังคับไม่ได้
สภาวะแบบนี้แหล่ะ ที่เราต้องใช้ในการทำวิปัสนา เพื่อละสักกายทิฐิ เมื่อละสักกายทิฐิได้แล้ว
ก็จะเข้าใจหรือละวิจิกิจฉาและศีลพรตปรามาสไปเอง

อาจจะยังไม่เข้าใจว่า ที่ว่าวิปัสนาละสักกายทิฐิอย่างไร
นั้นก็คือ การพิจารณากระบวนการขันต์และอายตนะ
โดยต้องอยู่ในหลักแห่งไตรลักษณ์ พูดแบบนี้อาจจะไม่เข้าใจ
สมมุติว่า เราทำสมการหาความสมดุลย์ของของสองสิ่ง
ข้างหนึ่งเป็นไตรลักษณ์สภาวะที่เราไปเห็นมาแล้ว ส่วนอีกข้างเราก็ต้องหา
หรือพิจารณาให้มันตรงกับสภาวะไตรลักษณ์

:b17: :b17:
โฮฮับ
อารมณ์พระโสดาบันน่ะ
มีความศรัทธา มั่นคงเต็มเปี่ยม ในพระพุทธองค์ ต่อพระสงฆ์ ต่อพระธรรม และมีศีลอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ
ทำความเห็นตรงต่อนามรูป ว่านั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
พระพุทธองค์ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อละสักกายะทิฏฐิ
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อรักษาศีล
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์ เพื่อให้เกิดศรัทธาในพระพุทธองค์
ไม่เคยสอนให้พิจารณาไตรลักษณ์เพื่อละวิจิกิจฉา
เพราะไตรลักษณ์ เป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆน้อยๆ ไม่ต้องใช้ปัญญามากเห็นได้ง่าย ใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สัมมัปปธานสี่ ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐิเป็นอารมณ์
แต่ใช่ว่าเฉพาะสัมมัธปทานสี่เท่านั้น ธรรมแห่งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
ก็ต้องมีสภาวะไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นำหน้าเสมอ

การมีอารมณ์ไตรลักษณ์หรือสัมมาทิฐินำหน้าก็เพื่อ
ไม่ให้เราหลงไปยึดธรรมที่เราต้องพิจารณาหรือปฏิบัติ เช่นโพธิปักขิยธรรมครับ


อ่าาาาาา โพธิปักขิยธรรม มีสัมมาทิฏฐิเป็นอารมณ์ไปซะแล้ว โฮฮับ โพธิปักขิยธรรมทั้งหมด เลยนะ
มีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์
โฮฮับ
อะไรดับ ทุกข์จึงดับ
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย แก่ความทุกข์
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย แก่ไตรลักษณ์ :b12:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผมเห็นเก่งบัญญัติไม่น่าเชื่อว่าคุณจะไม่เข้าใจ บัญญัติสามตัวนี้
มันก็นั้นล่ะครับ การจะให้เข้าใจธรรมจะต้องอาศัย หลักธัมมวิจยะมาช่วย

ก่อนอื่นผมขออนุญาติแปลบัญญัติเพื่อความเข้าใจ
อาสวะ หมายถึง กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน
สาสวะ หมายถึง ความเป็นไปด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอาสวะ
อนาสวะ หมายถึง ไม่มีอาสวะหาอาสวะมิได้

อ่านความหมายของบัญญัติสามตัวนี้ก็น่าจะเข้าใจได้แล้ว
ว่าทำไมเราถึงต้องปฏิบัติตามหลัก อนาสวะ ถึงจะถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
พูดง่ายๆ สาสวะเป็นการทำดีทำกุศลแต่มันเจือด้วยกิเลส คุณต้องเข้าใจด้วยว่า
ความดีหรือผลบุญพระพุทธเจ้าก็ทรงกำหนดให้เป็นกิเลส เพราะมันมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
มันเป็นเชื้อทำให้ต้องเกิดในสังสารวัฏ

โฮฮับ
ไม่ได้ถามบัญญัติแปลว่าอะไร
อาสวะธรรม ให้ผลไปสู่ทุกคติ ก็ได้สุขคติก็ได้
สาสวะธรรม ให้ผลไปสู่สุคติเท่านั้น
อนาสวะธรรม ให้ผลไปสู่อริยภูมิเท่านั้น

สิ่งเหล่านี้ โฮฮับเคยเอามาทำวิปัสสนาหรือยัง :b12:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
แสดงว่งแสดงว่าอะไร คุณไม่รู้ในสิ่งที่เขารู้ มันก็เกิดอาการต่อต้านแล้วใช้โทสะ
ตอบโต้แบบไร้เหตุผล พอผมชวนคุณคุยในเรื่องที่คุณว่ากล่าวผม ก็ไม่เห็นมีคำตอบ
อย่างเช่นปฏิจจสมุบาทหรือขันธ์ห้า

ความเห็นนี้ก็เหมือนกัน เป็นตัวคุณเองที่ไม่มีความเข้าใจ
ยังใช้การปฏิบัติธรรมในแบบแปลบัญญัติ พอมีคนมาบอกวิธีการปฏิบัติ
ในหลักของ ธัมมวิจยะให้ฟัง คุณบอกไม่ใช่ ผมนั่งเทียนขึ้นมา

ไอ้เพราะเหตุที่ผมอธิบายมาข้างบนนี้เอง ทำให้เข้าใจผิดเอาคำอธิบาย
ของผมมาพูดแบบผิดๆ

สัมมัธปทาน ก็คือสัมมัธปทาน มันสำคัญอยู่ตรงที่มีเหตุปัจจัยอะไร
มาทำให้เกิดสัมมัธปทานนี่ขึ้น ผลในการปฏิบัติสัมมัธปทานมันก็เปลี่ยนแปลงไป

ที่บอกต้องมีไตรลักษณ์สัมมาทิฐินำหน้าเพื่อไม่ให้เราไปยึดในธรรมที่กำลังปฏิบัติ
จนเกิดเป็นอัตตา ธรรมทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนเมื่อปฏิบัติแล้วต้องละอย่าให้เกิด
เป็นอัตตา

สัมมัธปทานสี่ เป็นวิธีการปฏิบัติมันเป็นหลักตายตัว แต่ที่ผิดแผกแตกต่าง
มันอยู่ที่คนปฏิบัติว่า ทำเพื่อยึดหรือทำเพื่อละ ความจงใจหรืออัตตกิลมถาฯมันเกี่ยวข้อง
ตรงนี้ ผลบุญก็คือผลขันธ์ส่วนนี้มันก็ขึ้นอยู่ที่ผู้ปฏิบัติเหมือนกัน คือปฏิบัติเพื่อเอาผลบุญ
ในชาติหน้า หรือจะปฏิบัติเพื่อละทิ้งทุกอย่างในชาตินี้

สรุป คุณ"เช่นนั้น"ครับ อยากทำความเข้าใจกับสิ่งที่คุณชอบกล่าวหา
ผมว่าไม่รู้โน้นไม่รู้นี่ทั้งๆที่ผมอธิบายให้ฟังซะยืดยาว มันเป็นสิทธิ์ของคุณครับ
ที่จะไม่เชื่อและบอกว่าความเห็นของผมไม่ถูก แต่มันต้องอธิบายความมาด้วยว่า
ไม่เห็นด้วยเพราะอะไรหรือมันผิดตรงไหนครับ ไม่ใช่พูดเป็นแต่เพียงว่า " ผมไม่รู้จัก"


เท่าที่ โฮฮับ แสดงมาทั้งหมดจนถึงวันนี้
โฮฮับ ไม่มีความเข้าใจในเรื่อง สัมมาทิฏฐิ โพธิปักขิยธรรม อารมณ์พระโสดาบัน ขันธ์5 ปฏิจสมุปบาท
และ
V
ธัมมวิจยะอีกตัวหนึ่งเพิ่มด้วยในวันนี้
ธัมมวิจยะไม่ได้เอาบัญญัติมานั่งแปลนั่งตีความ
แต่
ใช้ในการทำวิปัสสนา ต่อปัจจุบันอารมณ์ ซึ่งฝึกฝนขึ้นมาได้อย่างเข้มข้นจากการทำกัมมัฏฐาน
โฮฮับ
คุณอย่าแสดงธรรมะที่คุณแต่งเอาเองแต่งขึ้นมาเองเลยครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เช่นนั้น ถามโฮฮับ:
พุทธพจน์บทใด สอนว่า สัมมาปฏิปทา ต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริงที่เรียกว่าไตรลักษณ์ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ

โฮฮับตอบ:
แล้วสัมมาปฏิปทาที่ว่า หมายถึง อริยมรรคมีองค์แปดหรือเปล่าล่ะ
ที่ถามหาพุทธพจน์ ถามมาเพราะไม่รู้จะถามอะไรใช่มั้ย

V
ถามเพราะพระธรรมนี้ พระพุทธองค์เป็นพระศาสดา
ถามเพราะ สิ่งที่โฮฮับแสดง ไม่มีในพระสูตร และพระอภิธรรม

ผมก็บอกไปแล้วว่าอยู่ในพระไตรปิฎกที่ว่าด้วยเรื่องอะไรบทอะไร ยังมาแกล้ง
ทำไม่รู้ไม่ชี้ ผมว่าของคุณเองนั้นแหล่ะจะมีหรือเปล่าก็ไม่รู้ เห็นมีแต่ภาษาลิเก

แล้วที่ว่าสิ่งที่ผมแสดงไม่มีในพระสูตรและพระอภิธรรม
โปรดจงรู้ไว้ด้วย ผมแสดงธรรมด้วยวิธีการอธิบายความ
ตามหลักของการใช้ ธัมมวิจยะ แต่คุณเป็นแค่การแปลบัญญัติ
ไม่ได้มีการเข้าใจในการเลือกเฟ้นธรรม ก็เลยกล่าวหาผมว่า ผมแสดงธรรมที่ไม่มี
ในพระไตรปิฎก


เพราะคุณนั่งเทียน เขียนขึ้นมา จากสิ่งที่พระศาสดาไม่ได้ตรัสสอน จริง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 12:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามเพิ่มนะครับ แล้วเพียรในที่นี้ มีความหมายเช่นเดียวกับ "คนล่วงทุกได้ ด้วยความเพียร" หรือเปล่าครับ (เพียรตัวเดียวกันหรือเปล่า?)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เพราะคุณนั่งเทียน เขียนขึ้นมา จากสิ่งที่พระศาสดาไม่ได้ตรัสสอน จริง

คุณว่าผมหลายครั้งแล้วนะ สู้อุตสาห์เตือนว่าคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
นี่ก็มาอีกแล้ว เอาอย่านี้ทั้งคุณและผมยกเอาพระพุทธพจน์มาอ้างดีกว่า
แล้วก็จะรู้ว่าใครกันแน่ที่นั่งเทียนเขียน ผมให้คุณก่อนเลย แล้วก็ไม่ต้องมาอ้างอีกล่ะว่า
เปิดตำราคนละเล่ม

และไอ้ความเห็นที่เหลือผมจะเข้ามาตอบให้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
ขอถามเพิ่มนะครับ แล้วเพียรในที่นี้ มีความหมายเช่นเดียวกับ "คนล่วงทุกได้ ด้วยความเพียร" หรือเปล่าครับ (เพียรตัวเดียวกันหรือเปล่า?)

เพียรตัวเดียวกันครับ :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เพราะคุณนั่งเทียน เขียนขึ้นมา จากสิ่งที่พระศาสดาไม่ได้ตรัสสอน จริง

คุณว่าผมหลายครั้งแล้วนะ สู้อุตสาห์เตือนว่าคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
นี่ก็มาอีกแล้ว เอาอย่านี้ทั้งคุณและผมยกเอาพระพุทธพจน์มาอ้างดีกว่า
แล้วก็จะรู้ว่าใครกันแน่ที่นั่งเทียนเขียน ผมให้คุณก่อนเลย แล้วก็ไม่ต้องมาอ้างอีกล่ะว่า
เปิดตำราคนละเล่ม

และไอ้ความเห็นที่เหลือผมจะเข้ามาตอบให้ครับ

ดีมาก ถ้าคุยกันด้วยอรรถด้วยธรรม ไม่ได้นั่งเทียนมา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร