วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 01:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
:b8: :b8:
โดยทั่วไป...ก็กล่าวอย่างนี้ว่า...อย่าทำ

แต่..สิ่งที่ยังไม่ทำ...มันเป็นของใหม่นี้...

จริงอยู่...ว่าเคยทำ...แต่การจะทำอีก...มันก็เป็นของใหม่..อันใหม่..กรรมใหม่

เพราะ สังวรปทาน ความเพียรระวัง เป็นใหญ่ในการไม่ประกอบกรรมใหม่อันเป็นอกุศล
เมื่อมีคำว่าระวัง คือต้องประกอบด้วยสติ ทำให้สติมีกำลังมากขึ้น มากขึ้นครับ

เจริญธรรม


ตะกอนใหม่อย่าให้ตกลงไปเพิ่ม....

ตะกอนเก่าที่นอนก้น...ก็ต้องเอาออก

พระ...มีปลงอาบัติ

คริสต์...มีสารภาพบาป

พุทธศาสนิก...จะไม่ทำอะไรบ้างเลยหรอ? :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 03:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมไม่ได้ถามว่าทำอย่างไร

โฮฮับ เขียน:
ความพอใจที่จะเจริญสัมมัปทาน ปัญหามันอยู่ที่ว่า ความพอใจเนี่ยทำอย่างไรครับ...

อันนี้ผมจะพูดถึงเหตุปัจจัยของฉันทะ ที่จะเจริญสัมมัปทานครับ
แต่เอาเป็นว่า ผมสับสนกับบัญญัติของคุณแล้วกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 03:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
"ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร"

โฮฮับ เขียน:
และที่บอกว่า สัมมัปทานสี่นับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค
ถามครับ มรรคที่ว่า เป็นมรรคแห่งการหลุดพ้นหรือเปล่าครับ
ถ้าอย่างคุณสุรวุฒิ แกลงมือปฏิบัติธรรมในสัมมัปทานสี่ ก็แสดงว่า
คุณสุรวุฒิ แกกำลังปฏิบัตินับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค(หลุดพ้น)หรือเปล่าครับ


มรรคในธรรมหมวดนี้ คืออริยมรรคเท่านั้น หรืออริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น เป็นทางปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์
สัมมัปทาน 4 จึงนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค

พอจะรู้จักกิเลสในสังโยชน์สิบ ที่เรียกว่า..ศีลพรตปรามาสมั้ยครับ
เช่นนั้น เขียน:
อันนับเนื่องในมรรค คืออยู่ในสัมมาปฏิปทาอันเป็นทางที่จะไปสู่ความสิ้นทุกข์
ทางไปสู่ความสิ้นทุกข์ คือองค์แห่งมรรค

เป็นสัมมาปฏิปทา แล้วทำไมต้องพยายามด้วยครับ
คุณเช่นนั้น ผมไม่รู้ว่าที่คุณพูดมาทั้งหมดคุณจะเข้าใจกับคำพูดตัวคุณเองหรือเปล่า
นี่ก็มาอีกแล้วสัมมาปฏิปทา จะบอกให้ครับ...
ไอ้ความพยายามที่คุณกล่าวในตอนแรกนั้นน่ะ ถ้าคนยังละสักกายทิฐิไม่ได้
ความพยายามมันก็คือ กิเลสครับ และที่สำคัญผลมันเป็นทุกข์ในกระบวนการปฏิจฯ

เช่นนั้น เขียน:
ถ้าคุณสุรวุฒิลงมือปฏิบัติในสัมมัปทาน 4 ก็แสดงว่า คุณสุรวุฒิกำลังปฏิบัติตามธรรมอันพระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วซึ่งนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค

อย่างงั้นแสดงว่า คุณสุรวุฒิ ละสังโยชน์สามได้แล้วนะซิครับ :b13:

สัมมาปฏิปทา ทางปฏิบัติที่ชอบ
เมื่อเป็นทางปฏิบัติที่ชอบก็ใช้ความพยายามปฏิบัติในทางนั้น
ความพยายามนั้น เป็นวิริยินทรีย์
ความพยายามให้สำเร็จนั้นเป็นวิริยะพละ
องค์ธรรมมีหน้าที่ มีกำลัง
อุปมา เช่น โฮฮับเข้าใจวิธีต้มแกงให้อร่อย โฮฮับก็ลงมือปฏิบัติ ด้วยความพยายาม
ผู้ที่ยังละสักกายะทิฏฐิไม่ได้ ความพยายามนั้นก็ยังเป็นสัมมาปฏิบัติ
แต่กำลังปัญญายังอ่อนมีกำลังน้อย และกำลังวิริยะก็น้อยด้วย
ธรรมปฏิบัติเป็นการภาวนา ทำให้มีขึ้นเจริญขึ้น
ซึ่งหมายความว่าเดิมยังไม่มีไม่เต็ม แม้ความพยายามเพียงเล็กน้อยก็กล่าวได้ว่าเป็นสัมมาปฏิบัติแล้ว
ดังนั้น ถ้าคุณสุรวุฒิ เริ่มปฏิบัติจึงเป็นการเพาะบ่มองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์ขึ้นเจริญขึ้น อย่างนี้เรียกว่านับเนื่องในมรรค

ที่พูดมาอย่างนี้ก็เพราะไม่เข้าใจไงว่า จุดเริ่มแห่ง สัมมาปฏิปทา
มันต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริง ที่เรียกว่าไตรลักษณ์
จนเป็นสัมมาทิฐิ

พระพุทธเจ้าสอนให้รู้เรื่องทิฐิทั้งสามอย่าง มิจฉาหนึ่ง และสัมมาอีกสอง
ท่านให้รู้ทั้งสามและให้ละอีกสอง นั้นก็คือให้ละมิจฉาทิฐิและสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะ(โลกียะ)
ทรงเน้นให้ปฏิบัติในเรื่องสัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ(โลกุตระ)

สิ่งที่คุณเช่นนั้นกำลังบอกนั้น พระพุทธองค์เพียงแค่ให้รู้ไว้แล้วละมันเสีย
เพราะมันเป็นกิเลส แต่เป็นในทางกุศล
ผมถึงได้พูดเรื่องศีลพรตปรามาสไงล่ะ

และอีกอย่างการปฏิบัติสัมมาปฏิปทาจะต้องมีสัมมาทิฐิโลกุตระ
นำหน้าเสมอ ไม่อย่างนั้นการปฏิบัตินั้นเป็นการยยึดมันถือมั่นถึงจะเป็นความดีก็ตาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พราหมณ์โกณทัญญะ ท่านบรรลุโสดาปฏิมัคค โสดาปฏิผล
หลังจากที่พระพุทธองค์แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรเสร็จสิ้น...
ด้วยอัญญาตาวินทรีย์ประชุมองค์มรรคพร้อม ขณะแสดงธรรมจบลง....

นั่นแหละครับ .. พราหมณ์ทั้งห้า ท่านไม่ใช่พระอริยะเจ้าจากที่ไหน เพราะท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ
มีความเห็นผิดว่า การตรัสรู้ธรรมต้องได้จาก การทรมานตนในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นเหตุผล
หนึ่งที่ พราหมณ์ทั้งห้าหลีกหนีจาก เจ้าชายสิทธัตถะในขณะนั้น

การเทศนาทางสายกลางของพระพุทธเจ้า จึงเป็นการปรับความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ) ไปเป็น
ความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ) เมื่อพระพุทธองค์เทศนาจบลง พระโกณทัญญะ จึงได้บรรลุธรรมเป็น
พระอริยะเจ้าและเกิดเป็นพระสงฆ์องค์แรก ในพระพุทธศาสนา

มรรคแปด จึงไม่ใช่เรื่องของพระอริยะที่ไหน เป็นเรื่องของเราชาวบ้าน ปุถุชน
คนธรรมดานี่แหละ เป็นแนวทาง เป็นแผนที่และปฏิปทาการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่
"โลกุตระธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ..."

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พราหมณ์โกณทัญญะ ท่านบรรลุโสดาปฏิมัคค โสดาปฏิผล
หลังจากที่พระพุทธองค์แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรเสร็จสิ้น...
ด้วยอัญญาตาวินทรีย์ประชุมองค์มรรคพร้อม ขณะแสดงธรรมจบลง....

นั่นแหละครับ .. พราหมณ์ทั้งห้า ท่านไม่ใช่พระอริยะเจ้าจากที่ไหน เพราะท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ
มีความเห็นผิดว่า การตรัสรู้ธรรมต้องได้จาก การทรมานตนในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นเหตุผล
หนึ่งที่ พราหมณ์ทั้งห้าหลีกหนีจาก เจ้าชายสิทธัตถะในขณะนั้น

การเทศนาทางสายกลางของพระพุทธเจ้า จึงเป็นการปรับความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ) ไปเป็น
ความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ) เมื่อพระพุทธองค์เทศนาจบลง พระโกณทัญญะ จึงได้บรรลุธรรมเป็น
พระอริยะเจ้าและเกิดเป็นพระสงฆ์องค์แรก ในพระพุทธศาสนา

มรรคแปด จึงไม่ใช่เรื่องของพระอริยะที่ไหน เป็นเรื่องของเราชาวบ้าน ปุถุชน
คนธรรมดานี่แหละ เป็นแนวทาง เป็นแผนที่และปฏิปทาการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่
"โลกุตระธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ..."

:b12:

สวัสดี วิริยะ
เช่นนั้น อธิบายว่า
อริยะ คือไกลจากข้าศึกคือกิเลส
มรรค 8 คือทางปฏิบัติเพื่อไกลจากข้าศึกคือกิเลส
ดังนั้น มรรค 8 จึงเป็น อริยะมรรค....เป็นเรื่องของอริยะ

ท่านกลับเข้าใจว่าเป็นตัวบุคคลไปได้อย่างไร.... :b12:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ที่พูดมาอย่างนี้ก็เพราะไม่เข้าใจไงว่า จุดเริ่มแห่ง สัมมาปฏิปทา
มันต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริง ที่เรียกว่าไตรลักษณ์
จนเป็นสัมมาทิฐิ

พระพุทธเจ้าสอนให้รู้เรื่องทิฐิทั้งสามอย่าง มิจฉาหนึ่ง และสัมมาอีกสอง
ท่านให้รู้ทั้งสามและให้ละอีกสอง นั้นก็คือให้ละมิจฉาทิฐิและสัมมาทิฐิที่เป็นสาสวะ(โลกียะ)
ทรงเน้นให้ปฏิบัติในเรื่องสัมมาทิฐิที่เป็นอนาสวะ(โลกุตระ)

สิ่งที่คุณเช่นนั้นกำลังบอกนั้น พระพุทธองค์เพียงแค่ให้รู้ไว้แล้วละมันเสีย
เพราะมันเป็นกิเลส แต่เป็นในทางกุศล
ผมถึงได้พูดเรื่องศีลพรตปรามาสไงล่ะ

และอีกอย่างการปฏิบัติสัมมาปฏิปทาจะต้องมีสัมมาทิฐิโลกุตระ
นำหน้าเสมอ ไม่อย่างนั้นการปฏิบัตินั้นเป็นการยยึดมันถือมั่นถึงจะเป็นความดีก็ตาม

พุทธพจน์บทใด สอนว่า สัมมาปฏิปทา ต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริงที่เรียกว่าไตรลักษณ์ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ

คุณโฮฮับ....การบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องเห็นสภาวะไตรลักษณ์ก็มี

ส่วนเรื่อง สาสวะ และอนาสวะ ในมหาจัตรีสกสูตรที่คุณโฮฮับอ้างถึงน่ะ
มรรคปฏิปทาอันเป็นสาสวะ ก็ยังไม่ใช่ศีลพรตปรามาส ดังเช่นที่คุณโฮฮับเข้าใจ แต่เป็นปฏิปทาที่เหมาะที่ควรแก่ฆราวาสผู้ยังไม่ออกเรือน ....จึงมีส่วนแห่งบุญยังเป็นผลหนักแก่ขันธ์
อ่านพระสูตรก็ศึกษาให้ถ้วนถี่ว่าจุดมุ่งหมายของพระศาสดาตรัสสอนพระธรรมเทศนาด้วยประโยชน์ไร...

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่นนั้น :
อริยะ คือความไกลจากศัตรู
ศัตรูคือกิเลส
มรรค 8 จึงเป็นเรื่องของอริยะ

อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา :
ก็เลยเข้าทาง....พรรคมรรคไม่ใช้กิจของปุถุชน...ไม่ใช่อริยะอย่าไปทำ

ผมอ่านตรงนี้ ก็ต้องเข้าใจตามที่คุณกบนอกกะลาเข้าใจและคุณก็ไม่ได้ปฏิเสธ
แถมเออออห่อหมกบอกวิธีและแนวทางของปุถุชน อีกด้วย
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น :
ปุถุชน น้อมจิตลงเพื่อสดับธรรม ยังปัญญาให้เจริญขึ้น ทำฉันทะให้เกิดขึ้น ก็จะเป็นกัลยาณ
ปุถุชน เริ่มไกลจากกิเลสได้

ตอนนี้กับว่า
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น :
สวัสดี วิริยะ
เช่นนั้น อธิบายว่า
อริยะ คือไกลจากข้าศึกคือกิเลส
มรรค 8 คือทางปฏิบัติเพื่อไกลจากข้าศึกคือกิเลส
ดังนั้น มรรค 8 จึงเป็น อริยะมรรค....เป็นเรื่องของอริยะ

ท่านกลับเข้าใจว่าเป็นตัวบุคคลไปได้อย่างไร....


ภาษาไทยดิ้นได้อ่ะ อิอิ .. :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอิ๊กๆๆๆ ซะงั้น :b12:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 15:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

อิอิ ดิ้นได้..
เฮ้อ...ใครไปเอาสวิ้งมาช้อนจับไว้หน่อยจิ๊...

:b19: :b19: :b19:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 15:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


หรือไปหาสากมาทุบให้มันตายที

:b32: :b32: :b32:

อิอิ ดิ้น ดิ่น ดิ้น กันมั๊ยลุง

:b31: :b31: :b31:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุบมังกรน้อยก่อนเลย อุอุ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อิอิ ดิ้น ดิ่น ดิ้น กันมั๊ยลุง

:b31: :b31: :b31:

สาวรำวงมาแล้ววจ้า ..

rolleyes rolleyes

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2012, 01:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พราหมณ์โกณทัญญะ ท่านบรรลุโสดาปฏิมัคค โสดาปฏิผล
หลังจากที่พระพุทธองค์แสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรเสร็จสิ้น...
ด้วยอัญญาตาวินทรีย์ประชุมองค์มรรคพร้อม ขณะแสดงธรรมจบลง....

นั่นแหละครับ .. พราหมณ์ทั้งห้า ท่านไม่ใช่พระอริยะเจ้าจากที่ไหน เพราะท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ
มีความเห็นผิดว่า การตรัสรู้ธรรมต้องได้จาก การทรมานตนในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นเหตุผล
หนึ่งที่ พราหมณ์ทั้งห้าหลีกหนีจาก เจ้าชายสิทธัตถะในขณะนั้น

การเทศนาทางสายกลางของพระพุทธเจ้า จึงเป็นการปรับความเห็นผิด(มิจฉาทิฏฐิ) ไปเป็น
ความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ) เมื่อพระพุทธองค์เทศนาจบลง พระโกณทัญญะ จึงได้บรรลุธรรมเป็น
พระอริยะเจ้าและเกิดเป็นพระสงฆ์องค์แรก ในพระพุทธศาสนา

มรรคแปด จึงไม่ใช่เรื่องของพระอริยะที่ไหน เป็นเรื่องของเราชาวบ้าน ปุถุชน
คนธรรมดานี่แหละ เป็นแนวทาง เป็นแผนที่และปฏิปทาการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่
"โลกุตระธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ..."

ความหมายที่ว่า อริยมรรคเป็นธรรมของพระอริยะ ความหมายมันอยู่ตรงที่
การจะปฏิบัติอริยะมรรคทั้งแปดได้นั้น จะต้องมีจุดเริ่มต้นที่บุคคลนั้นจะต้องมี
สัมมาทิฐิเสียก่อน และการเป็นอริยะบุคคลในชั้นต้นนั้นก็คือการมีสัมมาทิฐิแล้ว

เมื่อมีสัมมาทิฐิแล้ว จึงจะเอาสัมมาทิฐินี้ไปเป็นประธานหรือตัวนำในการปฏิบัติ
เพื่อให้ได้มาแห่งอริยมรรคอีกเจ็ดมรรคที่เหลือ

นี่คือที่มาของคำพูดที่ว่า อริยมรรคมีองค์แปดเป็นธรรมของอริยบุคคล
อริยมรรคองค์อื่นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ายังไม่มีสัมมาทิฐิ
และผู้ใดมีสัมมาทิฐิแล้ว ผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็นอริยบุคคลแล้ว

ดังนั้นสิ่งแรกสิ่งเดียวที่ปุถุชนควรจะทำหรือปฏิบัตินั้นก็คือ
การให้ได้มาซึ่งสัมมาทิฐิครับ


แล้วไอ้เรื่องการทรมาณกายมันไม่ใช่มิจฉาทิฐิ
มันเป็นเรื่องสัมมาทิฐิสาสวะ(โลกียะ) ท่านว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค
นับเป็นสังโยชกิเลส
ก็บอกเองว่า พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติทางสายกลาง แต่ทำไมบอกว่า
ปรับมิจฉาทิฐิให้เป็นสัมมาทิฐิ ความหมายของทางสายกลางมันต้องมีสามสาย
ดังนั้น การทรมาณกายที่พระพุทธเจ้าทรงทำในตอนแรก เป็นสัมมาทิฐิโลกียะ
การปรับทิฐิที่ว่าจึงเป็น ปรับสัมมาทิฐิโลกียะให้เป็นสัมมาทิฐิโลกุตตระครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2012, 02:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พุทธพจน์บทใด สอนว่า สัมมาปฏิปทา ต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริงที่เรียกว่าไตรลักษณ์ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ

แล้วสัมมาปฏิปทาที่ว่า หมายถึง อริยมรรคมีองค์แปดหรือเปล่าล่ะ
ที่ถามหาพุทธพจน์ ถามมาเพราะไม่รู้จะถามอะไรใช่มั้ย

บทไหนที่ว่า ก็ลองไปดูเรื่องไตรลักษณ์เรื่องสัมมาทิฐิกับเรื่อง
จัตรีสกสูตร แต่อยากรู้ครับที่ถามหาเนี่ยจะอ่านเข้าใจหรือครับ
เช่นนั้น เขียน:
คุณโฮฮับ....การบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องเห็นสภาวะไตรลักษณ์ก็มี .

คนที่ไม่เคยเห็นไตรลักษณ์ ส่วนใหญ่จะพูดแบบคุณนี่ล่ะครับ :b13:
เช่นนั้น เขียน:
ส่วนเรื่อง สาสวะ และอนาสวะ ในมหาจัตรีสกสูตรที่คุณโฮฮับอ้างถึงน่ะ
มรรคปฏิปทาอันเป็นสาสวะ ก็ยังไม่ใช่ศีลพรตปรามาส ดังเช่นที่คุณโฮฮับเข้าใจ แต่เป็นปฏิปทาที่เหมาะที่ควรแก่ฆราวาสผู้ยังไม่ออกเรือน ....จึงมีส่วนแห่งบุญยังเป็นผลหนักแก่ขันธ์
อ่านพระสูตรก็ศึกษาให้ถ้วนถี่ว่าจุดมุ่งหมายของพระศาสดาตรัสสอนพระธรรมเทศนาด้วยประโยชน์ไร...

ถึงได้ถามในตอนแรกว่า ถามหาน่ะอ่านเข้าใจหรือเปล่า
ก็รู้ๆอยู่ว่า การเกิดเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้ปฏิบัติเพื่อมุ่งตรงสู่นิพพาน
นี่กลับมาเพ้อเจ้อจะเอาผลบุญผลขันธ์อีกแน่ะ ถ้ายังอยากเป็นอยากได้แบบนี้
ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าก็ได้ ศาสนาอื่นก็สอนเรื่องผลบุญผลขันธ์เหมือนกัน

และเรื่องศีลพรตปรามาส ผมจะกล่าวถึงเรื่อง สัมมัธปทานสี่ ถ้าเราปฏิบัติแบบจงใจ
โดยขาดหลักสัมมาทิฐินำหน้า การปฏิบัติแบบนี้มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค หรืออีกนัยหนึ่ง
มันเป็นสังโยชกิเลส ที่เรียกว่า ศีลพรตปรามาส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2012, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น ถามโฮฮับ:
พุทธพจน์บทใด สอนว่า สัมมาปฏิปทา ต้องเป็นบุคคลที่ได้รู้ได้เห็นสภาวะอารมณ์ที่แท้จริงที่เรียกว่าไตรลักษณ์ จนเป็นสัมมาทิฏฐิ

โฮฮับตอบ:
แล้วสัมมาปฏิปทาที่ว่า หมายถึง อริยมรรคมีองค์แปดหรือเปล่าล่ะ
ที่ถามหาพุทธพจน์ ถามมาเพราะไม่รู้จะถามอะไรใช่มั้ย

V
ถามเพราะพระธรรมนี้ พระพุทธองค์เป็นพระศาสดา
ถามเพราะ สิ่งที่โฮฮับแสดง ไม่มีในพระสูตร และพระอภิธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร