วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2012, 12:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 15:49
โพสต์: 20

ชื่อเล่น: ทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมเหล่านั้น พวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงให้เจริญ พึงกระทำให้มากโดยประการทั้งปวง พรหมจรรย์จะพึงยั่งยืน ดำรงอยู่ได้นาน ... ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย 5 พละ 5 โำำภชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2012, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 306&Z=6369

ข้อความที่ [๔๖๘]-[๔๖๙]
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... em=468#468

ระวัง(ป้องกัน), ละ, สร้าง, รักษา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2012, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธฏีกา เขียน:

หลวงพี่พุทธฎีกาเล่นอะไรง่ายดีครับ หลวงพี่ครับอยากถามครับ
สิ่งที่หลวงพี่โพสเข้าเรียกว่า เป็นการตอบคำถามหรือครับ
หลวงพี่คิดว่าจขกทจะเข้าใจ เนื้อหาในพระไตรปิฎกที่หลวงพี่โพสหรือครับ
พุดโธ่! มันต้องอธิบายความในพระไตรปิฎกให้จขกทฟังด้วยว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร :b13:

ผมขอถือโอกาสนี้และขออนุญาตจขกทใช้พื้นที่กระทู้ทำความเข้าใจ
กับท่านพุทธฎีกาหน่อยนะครับ

หลวงพี่ครับ หลวงพี่รู้มั้ยว่าผมไม่ค่อยสบายใจกับการที่หลวงพี่
มาทำหน้าที่ผู้รักษาลาน ผมในฐานะฆราวาสขอลงความเห็นว่า มันไม่เหมาะ
มันเป็น โลกวัชชะครับ

หลวงพี่รู้มั้ยครับว่าห้องนี้เป็นห้องสนทนาธรรม การสนทนากันบางครั้งมันก็ต้อง
มีการพอใจ ไม่พอใจกระทบกระทั่งกันด้วยคำพูด หลวงพี่เป็นพระมันมีห้องตั้งหลายห้อง
ให้หลวงพี่ไปโพสข้อธรรม ทำไมหลวงพี่ต้องเข้ามาห้องนี้ด้วยครับ หลวงพี่ไม่รู้หรอกหรือ
ว่าทำให้โยม ทำให้สมาชิกคนอื่นไม่สบายใจ เพราะกลัวเผลอไปพูดจาที่ไม่เหมาะกับหลวงพี่เข้า

และมันยิ่งไปกันใหญ่กับการที่หลวงพี่พุทธฎีกามาทำหน้าที่
ผู้ดูแลหรือผู้รักษาลาน
หลวงพี่คงจะลืมว่า หลวงพี่เป็นพระ หลวงพี่มาเที่ยว
กระล็อกกระทู้สมาชิก มันจะผิดถูกอย่างไรผมก็ว่ามันไม่เหมาะ พูดว่าภาษาบ้านๆเลยว่า
มันไม่ใช่กิจของสงฆ์ ห้องสนทนาธรรมนี้เป็นเรื่องที่ชาวบ้านญาติโยม
เขาสนทนากัน ผิดกฎอย่างไรต้องให้ผู้ดูแลที่เป็นฆราวาสเขาเป็นคนจัดการไม่ใช่พระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2012, 21:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




Prayim_resize.jpg
Prayim_resize.jpg [ 86.69 KiB | เปิดดู 12255 ครั้ง ]
:b8:
ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8

ธรรมทั้งกลุ่มนี้รวมเรียกว่า "โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เป็นองค์ธรรมที่เรียกตามชื่อว่า "ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพาน"

คุณสุรวุฒิ สนใจอยากจะรู้แค่สัมมัปธาน 4 หรือครับ


สัมมัปธาน 4 เป็นอันเดียวกับสัมมาวายามะในมรรค 8 ครับ
onion
สัมมัปทาน ๔
๑.ปหานปธาน บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
๒.สังวรปธาน บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
๓.อนุรักขนาปธาน กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
๔.ภาวนาปธาน กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด

:b27:
:b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2012, 22:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมัปธาน 4 เป็นอันเดียวกับสัมมาวายามะในมรรค 8 ครับ
onion
asoka เขียน:
สัมมัปทาน ๔
๑.ปหานปธาน บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
๒.สังวรปธาน บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
๓.อนุรักขนาปธาน กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
๔.ภาวนาปธาน กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด

:b27:
:b12:


ขออนุญาต คุณasoka ใช้ข้อความนะครับ

สังเกตให้ดีๆนะ สัมมัปธาน 4 นั้น องค์หรือ ตัวที่ใหญ่ที่สุดของธรรมนี้ คือ เพียร ครับ

คือทั้งหมดทั้งสิ้นต้องใช้ความเพียร ถ้าไม่มีความเพียร ทำไม่ได้

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2012, 02:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8

ธรรมทั้งกลุ่มนี้รวมเรียกว่า "โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เป็นองค์ธรรมที่เรียกตามชื่อว่า "ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพาน"

คุณสุรวุฒิ สนใจอยากจะรู้แค่สัมมัปธาน 4 หรือครับ


สัมมัปธาน 4 เป็นอันเดียวกับสัมมาวายามะในมรรค 8
onion
สัมมัปทาน ๔
๑.ปหานปธาน บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
๒.สังวรปธาน บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
๓.อนุรักขนาปธาน กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
๔.ภาวนาปธาน กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด

:b27:
:b12:

รู้ดีอีกแล้วครับท่าน เอะอะอะไรก็วกไปหาหาอริยมรรค เห็นอะไรง่ายๆไปหมด
หลักของโพธิปักขิยธรรมทั้งหมดต้องอาศัยความเพียรทั้งนั้น
แล้วความเพียรในเรื่องสัมมัปทาน มันก็เป็นคนละตัวกับสัมมาวายามะในอริยมรรค

คุณโสกะเคยได้ยิน ครูบาอาจารย์บางท่านกล่าวว่า
ความตั้งใจทำสัมมัปทานเป็นอัตตกิลมถานุโยคมั้ย
คุณเข้าใจประโยคนี้ว่าอย่างไร ถ้าเข้าใจจะได้รู้ว่าตัวเองกำลังเพ้อเจ้อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2012, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพุทธฏีกา ยกพุทธวจนะมาแสดง ...เพื่อความกระจ่างแก่คุณสุรวุฒิได้ดี อนุโมทนาครับ
หากคุณสุรวุฒิอ่าน พุทธวจนะแล้วมีความสงสัยอื่นเพิ่มเติมก็สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

[๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส
ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้

เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑
เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไปเพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

V
สัมมัปธาน 4 ในพระศาสนานี้ นับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค..
ยกตัวอย่างในกรณีแรก เพื่อทำความเข้าใจน่าจะเพียงพอ


[๔๘๔] ก็ภิกษุ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ทำความเพียร เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น เป็น
อย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ในสมัยนั้น ภิกษุ
นั้น ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ทำความเพียร
เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น....
... [๔๘๗] บทว่า ปรารภความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ
ย่อมปรารภ ปรารภด้วยดี เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า ปรารภความเพียร.....

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 01:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งทำความเพียรชอบ

1.สังวรปทาน คือ เพียรระงับอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
2.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่เกิดแล้ว.... ( เพียรละ )
3.ภาวนาปทาน คือ เพียรเจริญกุศลธรรม..ที่ยังไม่มี....ให้เกิดขึ้น ( เพียรเจริญ )
4.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
...........

ก็มีคำถาม...ถามเพื่อน ๆ ต่อไปว่า...

ไอ้การละ..อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วนี้....ละยังงัย

ใครมีเทคนิคอะไร...ยังงัยกันบ้าง??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ท่านพุทธฏีกา ยกพุทธวจนะมาแสดง ...เพื่อความกระจ่างแก่คุณสุรวุฒิได้ดี อนุโมทนาครับ
หากคุณสุรวุฒิอ่าน พุทธวจนะแล้วมีความสงสัยอื่นเพิ่มเติมก็สอบถามเพิ่มเติมได้ครับ

สัมมัปธาน 4 ในพระศาสนานี้ นับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค..
ยกตัวอย่างในกรณีแรก เพื่อทำความเข้าใจน่าจะเพียงพอ

คุณเช่นนั้นครับ ผมว่าคุณสุรวุฒิแกคงไม่รู้จะถามอะไรหรอกครับ ลองเอาเรื่องที่คน
ไม่มีความรู้ความเข้าใจแต่ต้นมาเป็นคำตอบของคำถาม ชาวบ้านเขาก็คงไม่สามารถ
ถามในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจได้หรอกครับ อีกทั้งโพสพระไตรปิฎกที่เนื้อหามากมายขนาดนั้น

เอาเป็นว่า ผมช่วยคุณสุรวุฒิถามก็แล้วกัน
เช่นนั้น เขียน:
[๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัส
ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้

คุณเช่นนั้น ช่วยอธิบาย ประโยคนี้ให้ฟังหน่อยครับ..
ย่อมยังฉันทะให้เกิด เกิดยังไงครับ
พยายาม อะไรครับ
ปรารถความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เนี่ยทำไงครับ

และที่บอกว่า สัมมัปทานสี่นับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค
ถามครับ มรรคที่ว่า เป็นมรรคแห่งการหลุดพ้นหรือเปล่าครับ
ถ้าอย่างคุณสุรวุฒิ แกลงมือปฏิบัติธรรมในสัมมัปทานสี่ ก็แสดงว่า
คุณสุรวุฒิ แกกำลังปฏิบัตินับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค(หลุดพ้น)หรือเปล่าครับ

อย่าบอกว่า ตอบแล้วในข้างล่างของความเห็น
ประเด็นมันอยู่ที่ จขกทไม่เข้าใจเนื้อหาในพระไตรปิฎก
บอกกว่าไปแล้วยังทำไม่รู้ไม่ชี้ ดื้อตาใส ตอบมาเป็นพุทธพจน์อีกแน่ะ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 02:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คุณเช่นนั้น ช่วยอธิบาย ประโยคนี้ให้ฟังหน่อยครับ..
ย่อมยังฉันทะให้เกิด เกิดยังไงครับ
พยายาม อะไรครับ
ปรารถความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เนี่ยทำไงครับ

ที่ว่า ย่อมยังฉันทะให้เกิด เป็นการทำความพอใจให้ต่อการที่จะเจริญสัมมัปธานให้มีขึ้น
สมดั่งพุทธองค์ทรงตรัส ว่า "ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล" ซึ่งหมายความว่า การที่จะเจริญกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงเช่น สัมมัปธาน 4 นี้ ก็ต้องเริ่มต้นจากการทำความพอใจในธรรมข้อนี้ให้มีขึ้นก่อน จึงจะมีการประพฤติปฎิบัติ อาการเช่นนี้ คือยังฉันทะให้เกิดขึ้น....

การปฏิบัติต่อมา จึงเป็นการพยายาม
ธรรมของพระพุทธองค์แสดงทรงแสดงด้วยความละเอียดอ่อน
กล่าวคือทรงเริ่มแสดงถึง ความพยายามที่ว่ามีอาการอย่างไร ต่อสัมมัปธาน 4 นี้ในแต่ละข้อๆ ด้วยความพยายามนั้นๆ
ทรงแสดง ว่าหลังจากทำความพอใจให้มีขึ้น ก็ต้องดำริริเริ่มในการปฏิบัติ อย่างนี้เรียกว่า ปรารภความเพียร
ซึ่งหมายถึง การมนสิการทำไว้ในใจ ให้มีขึ้น
จากนั้น ท่านให้ประคองจิตไว้ การที่จะประคองจิตให้นึกถึงการประคองแก้วน้ำที่เต็มแก้วเดินไปแล้วน้ำไม่กระฉอก อาการที่ประคองแบบนี้รักษาแบบนี้ คือมีสติสัมปชัญญะด้วยรักษาข้อธรรมที่จะปฏิบัตินี้ด้วย
พระพุทธองค์ยังแสดงประกอบอาการตั้งความเพียรในสัมมัปธาน 4 ด้วยการตั้งจิตไว้ คือการมีสมาธิตั้งมั่นต่อข้อธรรมปฏิบัตินี้
ความพยายามต่อองค์ธรรมในแต่ละข้อของสัมมัปธาน 4 จึงบริบูรณ์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 02:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร"

โฮฮับ เขียน:
และที่บอกว่า สัมมัปทานสี่นับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค
ถามครับ มรรคที่ว่า เป็นมรรคแห่งการหลุดพ้นหรือเปล่าครับ
ถ้าอย่างคุณสุรวุฒิ แกลงมือปฏิบัติธรรมในสัมมัปทานสี่ ก็แสดงว่า
คุณสุรวุฒิ แกกำลังปฏิบัตินับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค(หลุดพ้น)หรือเปล่าครับ


มรรคในธรรมหมวดนี้ คืออริยมรรคเท่านั้น หรืออริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น เป็นทางปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์
สัมมัปทาน 4 จึงนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค
V
อันนับเนื่องในมรรค คืออยู่ในสัมมาปฏิปทาอันเป็นทางที่จะไปสู่ความสิ้นทุกข์
ทางไปสู่ความสิ้นทุกข์ คือองค์แห่งมรรค
V
ถ้าคุณสุรวุฒิลงมือปฏิบัติในสัมมัปทาน 4 ก็แสดงว่า คุณสุรวุฒิกำลังปฏิบัติตามธรรมอันพระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วซึ่งนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 02:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งทำความเพียรชอบ

1.สังวรปทาน คือ เพียรระงับอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ( เพียรระวัง )
2.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่เกิดแล้ว.... ( เพียรละ )
3.ภาวนาปทาน คือ เพียรเจริญกุศลธรรม..ที่ยังไม่มี....ให้เกิดขึ้น ( เพียรเจริญ )
4.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ( เพียรรักษา )
...........

ก็มีคำถาม...ถามเพื่อน ๆ ต่อไปว่า...

ไอ้การละ..อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วนี้....ละยังงัย

ใครมีเทคนิคอะไร...ยังงัยกันบ้าง??

สวัสดี คุณกบ
อกุศลกรรมที่ล่วงออกมาแล้ว ด้วยการกระทำทางกาย ทางวาจา ก็ให้ละเสียอย่าทำอีก
เช่น อกุศลกรรมบถ 10 ก็อย่าทำ ด้วยการเจริญกุศลกรรมบถ 10 แทน
อกุศลกรรม อย่างหยาบน้อยหน่อย เช่นพวก กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น
ก็ละด้วยมนสิการเนกขัมมะวิตก อพยายาทวิตก อวิหิงสาวิตก เพื่อละวิตกสามประการอันเป็นอกุศลเป็นต้น
ส่วนอกุศลจิตอื่นที่ละเอียดลงไปอีกเช่น อกุศลอันเกิดเป็นนิวรณ์ 5 ก็ละด้วยการเจริญ โลกุตรฌานเพื่อเข้าปฐมฌาน ก็ละนิวรณ์ 5 อันเกิดขึ้นได้
ส่วนอกุศลอันเป็นอนุสัยที่เกิดแล้วมีอยู่ ก็ ละด้วยอรหัตมัคค์ ในแต่ละระดับภูมิของมรรคผลนั้นๆ ครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
คุณเช่นนั้น ช่วยอธิบาย ประโยคนี้ให้ฟังหน่อยครับ..
ย่อมยังฉันทะให้เกิด เกิดยังไงครับ
พยายาม อะไรครับ
ปรารถความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เนี่ยทำไงครับ

ที่ว่า ย่อมยังฉันทะให้เกิด เป็นการทำความพอใจให้ต่อการที่จะเจริญสัมมัปธานให้มีขึ้น
สมดั่งพุทธองค์ทรงตรัส ว่า "ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล" ซึ่งหมายความว่า การที่จะเจริญกุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงเช่น สัมมัปธาน 4 นี้ ก็ต้องเริ่มต้นจากการทำความพอใจในธรรมข้อนี้ให้มีขึ้นก่อน จึงจะมีการประพฤติปฎิบัติ อาการเช่นนี้ คือยังฉันทะให้เกิดขึ้น....

ความพอใจที่จะเจริญสัมมัปทาน ปัญหามันอยู่ที่ว่า ความพอใจเนี่ยทำอย่างไรครับ
อย่าตอบเป็นกำปั่นทุบดินแบบนี้ซิครับ ที่ตอบมาเนี่ยเขาเรียกว่าแปลบัญญัติครับ
ไม่ใช่เป็นการอธิบายความ
เช่นนั้น เขียน:
การปฏิบัติต่อมา จึงเป็นการพยายาม
ธรรมของพระพุทธองค์แสดงทรงแสดงด้วยความละเอียดอ่อน
กล่าวคือทรงเริ่มแสดงถึง ความพยายามที่ว่ามีอาการอย่างไร ต่อสัมมัปธาน 4 นี้ในแต่ละข้อๆ ด้วยความพยายามนั้นๆ
ทรงแสดง ว่าหลังจากทำความพอใจให้มีขึ้น ก็ต้องดำริริเริ่มในการปฏิบัติ อย่างนี้เรียกว่า ปรารภความเพียร

คุณเช่นนั้นครับ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมไว้ละเอียดอ่อนใช้ครับ
แต่ในความละเอียดอ่อนของพระพุทธองค์ ไม่ใช่การเอาบัญญัติมาพูดแล้ว
บอกว่าเป็นความละเอียดอ่อน

ความละเอียดอ่อนนั้นก็คือการใช้ธรรมหลายๆหมวดหลายๆหมู่
มาประกอบกัน ธรรมบางอย่างมีต้องอาศัยธรรมอื่นมาอธิบายความประกอบด้วย
ไม่ใช่การให้อธิบายความธรรมข้อหนึ่งข้อใด ก็ตั้งหน้าตั้งตาแปลบัญญัติ
เอาพระไตรปิฎกมาโพสพอบอกไม่เข้าใจ แทนที่จะอธิบายเหตุปัจจัยที่มาที่ไป
โดยใช้กายและใจของคนเป็นที่ตั้ง กลับไปทำเหมือนกำลังพากษ์บทลิเกซะยังงั้น

เอากลับไปแล้วอธิบายมาใหม่ ให้แก้ตัวอีกครั้งครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
"ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร"

โฮฮับ เขียน:
และที่บอกว่า สัมมัปทานสี่นับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค
ถามครับ มรรคที่ว่า เป็นมรรคแห่งการหลุดพ้นหรือเปล่าครับ
ถ้าอย่างคุณสุรวุฒิ แกลงมือปฏิบัติธรรมในสัมมัปทานสี่ ก็แสดงว่า
คุณสุรวุฒิ แกกำลังปฏิบัตินับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค(หลุดพ้น)หรือเปล่าครับ


มรรคในธรรมหมวดนี้ คืออริยมรรคเท่านั้น หรืออริยมรรคมีองค์ 8 นี้เท่านั้น เป็นทางปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์
สัมมัปทาน 4 จึงนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค

พอจะรู้จักกิเลสในสังโยชน์สิบ ที่เรียกว่า..ศีลพรตปรามาสมั้ยครับ
เช่นนั้น เขียน:
อันนับเนื่องในมรรค คืออยู่ในสัมมาปฏิปทาอันเป็นทางที่จะไปสู่ความสิ้นทุกข์
ทางไปสู่ความสิ้นทุกข์ คือองค์แห่งมรรค

เป็นสัมมาปฏิปทา แล้วทำไมต้องพยายามด้วยครับ
คุณเช่นนั้น ผมไม่รู้ว่าที่คุณพูดมาทั้งหมดคุณจะเข้าใจกับคำพูดตัวคุณเองหรือเปล่า
นี่ก็มาอีกแล้วสัมมาปฏิปทา จะบอกให้ครับ...
ไอ้ความพยายามที่คุณกล่าวในตอนแรกนั้นน่ะ ถ้าคนยังละสักกายทิฐิไม่ได้
ความพยายามมันก็คือ กิเลสครับ และที่สำคัญผลมันเป็นทุกข์ในกระบวนการปฏิจฯ

เช่นนั้น เขียน:
ถ้าคุณสุรวุฒิลงมือปฏิบัติในสัมมัปทาน 4 ก็แสดงว่า คุณสุรวุฒิกำลังปฏิบัติตามธรรมอันพระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วซึ่งนับเนื่องในมรรค เป็นองค์แห่งมรรค

อย่างงั้นแสดงว่า คุณสุรวุฒิ ละสังโยชน์สามได้แล้วนะซิครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มี.ค. 2012, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น...คือ...หลง...ว่า..มรรค8...เป็นเรื่องของอริยะ

เพราะไปสับสนกับ..มรรค4..ผล4...นิพพาน1

หากไม่หลงซะ...ตรงนี้ก็ไม่เป็นปัณหา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 170 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 12  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร