วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา.”

(พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๘, วินัยปิฎก ปริวาร, ข้อ ๘๒๖, หน้า ๒๒๔.)

แปลความว่า

“สังขารทั้งปวง ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และบัญญัติ คือ
พระนิพพาน
(เท่านั้น) ท่านวิจัยว่า เป็นอนัตตา.”


นี่เป็นคำแปลตามพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง พ.ศ. ๒๕๒๑ เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกบริวาร ข้อที่ ๘๒๖ ซึ่งเป็นคำแปลที่ถูกต้อง

เจ้าคุณปอ แปลผิด ปกปิดบิดเบือนอีกต่างหากเข้าใจไหมโกวิท?




ถ้าพูดถึง เรื่องคำแปลตามเนื้อความใน คัมภีร์ปริวารที่คุณ โกวิทยกมาก
ผมว่าท่านเจ้าคุณไม่ได้แปลเองนะครับ

เพราะในเว็บ 84000 อ้างอิงตามพระไตรปิฎก สยามรัฐ ที่ได้แปลจากอักษรขอม มาเป็นอักษรไทย ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้วครับ คือมีมาแต่เดิมแล้ว


3.4.1 สมัยที่ 1 ชำระและจารึกลงในใบลาน
กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. 2020 ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า

3.4.2 สมัยที่ 2 ชำระและจารลงในใบลาน
กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. 2331 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง

3.4.3 สมัยที่ 3 ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม
กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2331 ถึง พ.ศ. 2336 ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม 39 เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา 1,000 ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ 39 เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก 6 เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ

3.4.4 สมัยที่ 4 ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม
กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ. 2473 เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ 1,500 จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร 200 จบ พระราชทานในนานาประเทศ 450 จบ อีก 850 จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก

3.4.5 สมัยที่ที่ 5
มีประกาศพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เรื่องสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกลงวันที่ 29 ตุลาคม 2528 ปรารภคำถวายพระพรของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหานังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ เห็นสมควรดำเนินการสังคายนาพระธรรมวินัยชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง เฉลิมพระเกียรติในศุภวาระดิถีมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ได้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2528 และสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสังคายนาพร ะธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎกคณะต่าง ๆ รวม 7 คณะ ได้เร่งรัดตรวจชำระจัดพิมพ์แล้วเสร็จ ทันเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530


อ้างคำพูด:
“สังขารทั้งปวง ที่ปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และบัญญัติ คือ
พระนิพพาน
(เท่านั้น) ท่านวิจัยว่า เป็นอนัตตา.”


จากนี้นะครับ ผมตั้งขอสังเกต ในเรื่องของการแปลว่า ไม่เพียงแต่บัญญัติคือนิพพานเท่านั้นที่เป็นอนัตตา เพราะบัญญัติทั้งหมดก็เป็นอนัตตาด้วย เพราะฉะนั้นการแปลว่าบัญญัติคือพระนิพพานเท่านั้นเป็นอนัตตา ดู หลวมไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงธรรม14 เขียน:
ไม่มีตัวตน แล้วยังมาบอกว่าไม่ให้ยึดถือตัวตน แต่กลับมาบอกว่าตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนชักจะงง ช่างมันเถิดคำสอนระดับนี้ เป็นเรื่องพื้นๆๆเราไม่ใส่ใจอยู่ คิดมากไปก็มีแต่ความสงสัย :b7: :b7:



ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ฯ

๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดา
ของตน มารจักไม่ได้โอกาส มารจักไม่ได้อารมณ์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้เจริญขึ้นอย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล ฯ

จักกวัตติสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 189&Z=1702

จุนทสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 280&Z=4326

คิลานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 092&Z=4135


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 17:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


--->> เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีจะเข้านิพพาน

ข้อความใน พระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25
ขุททกนิกาย เถรีอปทาน เอกุโปสถวรรค มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน
บ่งบอกความชัดเจนของนิพพานอันเป็นสถานที่โดยไม่ต้องอาศัยการตีความแต่ประการใด
จึงขอตัดเฉพาะสำนวนเหล่านั้นมาตามลำดับ
ส่วนท่านใดจะเข้าไปอ่านเนื้อความเต็มๆ ก็เข้าไปตามลิ้งนี้ได้เลยครับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 471&Z=4887


ครั้งนั้น พระมหาโคตมีภิกษุณีพระมาตุจฉา
ของพระพิชิตมาร อยู่ในสำนักนางภิกษุณีในพระนครอันรื่นรมย์นั้น
พร้อมด้วยพระภิกษุณี ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว เมื่อ
พระมหาปชาบดีโคตมีนั้นอยู่ในที่สงัด ตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า การ
ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของคู่พระอัครสาวกก็ดี ของพระ-
ราหุลพระอานนท์และพระนันทะก็ดี เราไม่ได้เห็น เราอันพระโลก-
นาถผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้ว
นิพพานก่อนเถิด พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ องค์ ก็ได้ตรึกอย่างนั้น
เหมือนกัน...............................................................

ลำดับนั้นพระภิกษุณีทุกๆ
องค์ ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนตรึกแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้า
พระแม่เจ้าชอบใจจะปรินิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงดิฉันทั้ง
หลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ-
อนุญาต ดิฉันทั้งหลายได้ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อ
ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม ดิฉันทั้งหลาย
ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน

พระมหาปชาบดีโคตมีได้
กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า แล้ว
ได้ออกจากสำนักนางภิกษุณีไปพร้อมกับพระภิกษุณีทั้งหมดในครั้ง
นั้น พระปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายว่า ขอทวย
เทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักนางภิกษุณี จงอดโทษแก่ดิฉันเถิด
การเห็นสำนักนางภิกษุณีของดิฉันนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายในที่ใด
ไม่มีความแก่หรือความตาย ไม่มีการสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอัน
ไม่เป็นที่รัก ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน พระโอรสของพระสุคตเจ้า
ทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนางนั้น เป็นผู้โศก
กำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอ พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย
สำนักพระภิกษุณีนี้จะว่างเปล่า เพราะเว้นพระภิกษุณีเหล่านั้น
พระภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลาย
ไม่ปรากฏในเวลาที่สว่างฉะนั้น พระนางโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพาน
พร้อมกับพระภิกษุณีอีก ๕๐๐ องค์

พระศาสดาดิฉันได้บำรุงแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำ
เสร็จแล้ว ภาระอันหนักดิฉันได้ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปสู่ภพ
ดิฉันได้ถอนเสียแล้ว

ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็น
มารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของ
หม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข
อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉัน
เป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้
อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของ
หม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว

หม่อมฉันจะถวายบังคมพระยุคลบาทนั้น จะขอทำความรักในบุตร
ข้าแต่พระองค์ผู้นายก หม่อมฉันกระทำสรีระซึ่งเปรียบด้วยกองทอง
ให้ปรากฏเป็นข้าวสุก ได้เห็นพระสรีระของพระองค์แล้ว จึงจะขอ
ไปนิพพาน

เมื่อท่านบอกว่าลาจะนิพพาน ตถาคตจักไป
ว่ากระไรให้มากไปเล่า.
เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ไม่บกพร่อง ท่านจะออก
ไปเสียจากโลกนี้ได้ก็ควร

พระนันทเถรเจ้าและพระราหุลผู้เจริญ เป็นผู้ปราศจากความโศก
ไม่มีอาสวะ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีปัญญา มีความเพียร ได้คิดตาม
ธรรมดาว่า น่าติโลกที่ปัจจัยปรุงแต่ง ปราศจากแก่นสาร เปรียบด้วย
ต้นกล้วย เช่นเดียวกับกลลวงและพยับแดด ต่ำช้า ไม่มั่นคง พระ-
โคตมีเถรี พระมาตุจฉาของพระพิชิตมาร ซึ่งได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า
ก็ยังต้องถึงแก่กรรม สังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ก็ครั้งนั้น ท่าน
พระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นคนสนิทของพระพิชิตมาร ยังเป็น
พระเสขบุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้ำตาร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร
ณ ที่นั้นว่า พระโคตมีเถรีเจ้าตรัสอยู่หลัดๆ ก็จะเสด็จไปนิพพาน
เสีย อีกไม่นานเลยแม้พระพุทธเจ้าก็คงจะเสด็จไปนิพพานแน่นอน
เปรียบเหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้ว ฉะนั้น

บุคคลไปในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ
ดิฉันก็จะขอลาไปในทิศนั้นนะลูก

การได้เห็นพระองค์ผู้เป็น
นาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระ-
พักตร์ของพระองค์ซึ่งมีอาการปานน้ำอมฤตอีก ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้เลิศ
ของโลก หม่อมฉันจักไม่ได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์
ซึ่งอ่อนละเอียดดีอีก วันนี้หม่อมฉันจะเข้านิพพาน.

อุบาสิกาทั้งหลายในพระนครนั้น ผู้มีความเคารพรักในพระพุทธ-
ศาสนา ได้สดับพฤติเหตุของพระนางเจ้า ต่างก็เข้าไปหานมัสการ
แทบบาทมูล เอากรค่อนอุระประเทศร้องไห้พิไรร่ำคร่ำครวญควรจะ
กรุณา เต็มไปด้วยความโศกเศร้า ล้มลงที่พื้นพสุธา ดุจเถาวัลย์
รากขาดแล้วล้มลง ฉะนั้น พากันร้องไห้รำพันด้วยวาจาว่า ข้าแต่
พระแม่เจ้าผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งของดิฉันทั้งหลาย พระแม่เจ้าอย่าได้
ละทิ้งดิฉันทั้งหลาย ไปเข้านิพพานเสียเลย

ต่อแต่นั้น พระนางก็สละอุบาสิกาเหล่านั้นเสีย เข้าปฐม
ฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญ-
จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานตามลำดับ แล้วพระโคตมีเถรีเจ้าก็เข้า
ฌานทั้งหลายโดยปฏิโลม แล้วก็เข้าปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถ-
ฌาน ครั้นออกจากจตุตถฌานนั้นแล้วก็ดับไป เหมือนเปลวประทีป
ที่หมดเชื้อดับไป ฉะนั้น


สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองระลอกฉะฉาน ทวยเทพ นาค อสูร
และพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นในทันใดนั้นเองว่า สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือนอย่างพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านี้ถึง
ความย่อยยับไปแล้ว และพระเถรีทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของพระ
ศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านี้ ก็พากันดับไปแล้ว
เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อดับไป

ครั้งนั้นพระศาสดาได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า
อานนท์ท่านจงไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบถึงการนิพพานของ
พระมารดาเวลานั้น ท่านพระอานนท์เป็นผู้หมดความแช่มชื่น
มีตานองไปด้วยน้ำตา ได้กล่าวด้วยเสียงอันน่าสงสารว่า ขอ
พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้าซึ่งอยู่ในทิศตะวันออก
ทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ จงมาประชุมกัน พระภิกษุณี
ผู้ยังพระสรีระสุดท้ายของพระมุนีให้เจริญด้วยน้ำนม พระมารดาของ
กระผม พระโคตมีภิกษุณีนั้นถึงความสงบ เหมือนดวงดาวในเมื่อ
พระอาทิตย์ อุทัย ฉะนั้น พระนางยังความรู้พร้อมกันว่า เป็น
พระพุทธมารดา ให้ดำรงอยู่แล้วไปสู่นิพพาน ในที่ใดถึงคนมี ๕
ตาก็เห็นไม่ได้ ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นผู้นำทรงเห็นได้
ก็ในเวลานั้น

ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจาอันให้เกิดความสังเวชว่า พระโคตมี
เถรีเจ้าเข้านิพพานแล้ว พระสรีระของพระนางก็ถูกเผาแล้ว

จากคุณ : สมถะ

http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 57951.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 471&Z=4887


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงตาฯ ว่า นิพพานเปรียบได้กับบ้าน บันไดเปรียบได้กับอัตตาและอนัตตา
เมื่อก้าวเข้าถึงบ้านแล้ว จะเอาบันไดมาเป็นบ้านได้อย่างไร

บ้านก็คือบ้าน บันไดก็คือบันได :b8:

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 20:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
--->> เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีจะเข้านิพพาน

ข้อความใน พระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25
ขุททกนิกาย เถรีอปทาน เอกุโปสถวรรค มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน
บ่งบอกความชัดเจนของนิพพานอันเป็นสถานที่โดยไม่ต้องอาศัยการตีความแต่ประการใด
จึงขอตัดเฉพาะสำนวนเหล่านั้นมาตามลำดับ
ส่วนท่านใดจะเข้าไปอ่านเนื้อความเต็มๆ ก็เข้าไปตามลิ้งนี้ได้เลยครับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 471&Z=4887

http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 57951.html


:b17: :b17: :b17:
วันนี้ใส่สูทสะเต็มยศ....ก็เท่ไปอีกแบบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่างคนก็ต่างความเห็น แต่สุดท้ายก็เป็นความเข้าใจของแต่ละบุคคล

ถ้าได้ศึกษา พระพุทธศาสนามหายาน ซึ่งแยกย่อยไปหลายนิกาย ท่านก็จะเ็ห็นว่าแต่ละนิกายก็สอนไม่เหมือนกัน แม้แต่อาจารย์แต่ละคนที่อยู่ในนิกายเดียวกันก็ยังมีความเห็นต่างกันไปได้ ฉันใด ในเถรวาทเองก็ ฉันนั้นเหมือนกัน แม้แต่ในศาสนาอื่นก็เหมือนกัน เรื่องความเห็นที่แตกต่าง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

ในสมัยปัจจุบัน กับสมัยพุทธกาลไม่เหมือนกัน เพราะในสมัยพุทธกาล มีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญู เมื่อสาวกมีเรื่องขัดแย้งกันเรื่องข้อธรรมอันใด เมื่อตกลงกันไม่ได้ ก็ไปถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อให้วินิจฉัยได้เพราะธรรมทั้งปวงแ่จ่มแจ้งแก่พระองค์แล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าวินิจฉัยแล้วเหล่าสาวกก็รับเอา อีกทั้งยังมีเหล่าพระอัครสาวก อัครสาวิกา ผู้เป็นพระอรหันต์เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ

เพราะฉะนั้นแม้มีความเห็นต่าง ก็ไม่ใช่เหตุึอันควรที่จะเกลียดกัน หรือทำร้ายกันด้วยหอกปาก ให้เห็นดำเห็นแดงกันไป เพียงเพราะว่าบุคคลอื่นนั้นมีความเห็นต่างจากตน เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นประโยชน์อันใด ไม่ได้เป็นไปเืพื่อความหน่าย เพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม เมื่อเราได้พูดไปแล้วกล่าวไปแล้ว ชี้แจงไปแล้วด้วยเหตุผลอันใด จะเชื่อหรือไม่ก็เป็นเรื่องของผู้อื่น เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่จะรับเอาธรรมนั้นๆ ไป


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 21 มี.ค. 2012, 22:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


บาลีไม่มีหลวม(ภาษาตาย!)......ที่หลวมคือflame
นิพพานของพระอรหันต์ พ้นภพสามไปแล้วไม่ใช่สมมติบัญญัติแล้วพ้นกฏไตรลักษณ์ไปแล้วflamเอ๋ยๆลๆ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=1&t=40107
huh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ไอ้พวกบิดเบือนปกปิดนิสินะที่ควรเชื่อ บิดตั้งแต่พระนิพพานลงมาจนถึงไม่เอาสมถะไม่เอาฌานจนเละเทะไปหมด s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
ไปก่อนนะ :b29: ช่วงนี้งานเยอะ ควบ2อาชีพ smiley


อยากทำ...หรือว่า...จำเป็นต้องทำ...ละครับ
:b12: :b12:

จำเป็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2012, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
บาลีไม่มีหลวม(ภาษาตาย!)......ที่หลวมคือflame
นิพพานของพระอรหันต์ พ้นภพสามไปแล้วไม่ใช่สมมติบัญญัติแล้วพ้นกฏไตรลักษณ์ไปแล้วflamเอ๋ยๆลๆ :b32:



นิพพานเนี่ยนะครับ โดยชื่อโดยคำก็เป็นบัญญัติ บัญญัติตามสภาพที่มีอยู่จริง

บาลีเป็นภาษาตายเพราะเหตุว่าไม่ได้มีคนนำมาใช้พูดกันแล้วเหมือนอย่างภาษาไทย
แต่กระนั้นใน พระไตรปิฎกภาษาไทย สยามรัฐก็ยัง แปลไม่ได้เหมือนกันกับที่คุณหลับอยู่ยกมาเลย

ผมก็เพียงตั้งขอสังเกตเท่านั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2012, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งสังเกตุบื้อๆต่อไปเถอะดื้อไม่เข้าเรื่องเพราะคุณมันเป็นพวกอนัตตาตกขอบ......แม้แต่จิตก็ไม่มี s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2012, 02:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นว่ามันอยู่ที่ความหมายที่เรามอง..ถ้าเรามองความหมายของ อัตตา ว่าคือ ฐานะที่มีอยู่ ก็พอจะพูดได้บ้างว่านิพพานเป็นอัตตา แต่ถ้าเรามองความหมายของอนัตตาว่า สภาวะว่าง ไร้ความยึดมั่นถือมั่นใดๆ ก็พอจะพูดได้บ้างว่านิพพานคืออนัตตา มันอยู่ที่ตัวสมมติที่เรามองมันนี่แหละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2012, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จำได้ว่าหลวงตามหาบัวท่านว่าไว้ว่า'ถ้านิพพานเป็นอนัตตา แล้วจะมีความวิเศษวิโสอะไรล่ะ?.."
สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.....(จำไว้ให้ดี)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร