วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 12:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งนะค่ะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ปฎิบัติใหม่ ดิฉันว่าคุนโฮฮับพูดมานั้นมันมีส่วนคล้ายคลึงกับสิ่งที่ดิฉันกำลังปฏิบัติอยู่นะค่ะ สิ่งแรกที่ผู้ปฏิบัติใหม่ควรจะเริ่มทำก่อนคือเริ่มต้นจากศีล5 (ศีล5จะทำให้เราหลุดพ้นจากอบายภูมิ) ต่อไปก็คือทานเป็นกุศล ผลบุญ สวดมนต์ ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิดสมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษาและลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


Quote Tipitaka:
....ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิด สมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษา และลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


:b1: เมื่อคุณ nong ถูกจริตอย่างนั้น ก็เอาเลยครับ ได้ผลยังไงเล่าสู่กันฟังบ้างนะ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
nongkong เขียน:
ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งนะค่ะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ปฎิบัติใหม่ ดิฉันว่าคุนโฮฮับพูดมานั้นมันมีส่วนคล้ายคลึงกับสิ่งที่ดิฉันกำลังปฏิบัติอยู่นะค่ะ สิ่งแรกที่ผู้ปฏิบัติใหม่ควรจะเริ่มทำก่อนคือเริ่มต้นจากศีล5 (ศีล5จะทำให้เราหลุดพ้นจากอบายภูมิ) ต่อไปก็คือทานเป็นกุศล ผลบุญ สวดมนต์ ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิดสมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษาและลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


Quote Tipitaka:
....ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิด สมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษา และลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


:b1: เมื่อคุณ nong ถูกจริตอย่างนั้น ก็เอาเลยครับ ได้ผลยังไงเล่าสู่กันฟังบ้างนะ :b12:
คุนกรัชกายอย่าเข้าใจดิฉันผิดและอคติกับความคิดเห็นของดิฉันสิค่ะ แนวทางการปฏิบัติของดิฉันไม่เหมือนคุนกรัชกาย ดิฉันสนใจแค่เพียงว่าทำอย่างไรดิฉันจะพ้นจากทุกข์(ไม่ได้หมายความว่าจะนิพพานเหมือนพระพุธทเจ้า)แค่ศีล5มนุษย์ยังทำกันยากเลยนะเจ้าค่ะ ดิฉันอยู่กับความเป็นจริงและใช้สติในการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นดิฉันจำเป็นต้องเล่าให้คุนกรัชกายฟังรึป่าวค่ะว่า ถือศีล5แล้วเป็นอย่างไรทำบุญตักบาตรได้ผลอย่างไร ทำไปด้วยใจค่ะแล้วเราจะรู้สึกมีความสุขและสงบไม่ต้องคิดฟุ้งซ่าน :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
คุนกรัชกายอย่าเข้าใจดิฉันผิดและอคติกับความคิดเห็นของดิฉันสิค่ะ แนวทางการปฏิบัติของดิฉันไม่เหมือนคุนกรัชกาย ดิฉันสนใจแค่เพียงว่าทำอย่างไรดิฉันจะพ้นจากทุกข์ (ไม่ได้หมายความว่าจะนิพพานเหมือนพระพุธทเจ้า) แค่ศีล5มนุษย์ยังทำกันยากเลยนะเจ้าค่ะ ดิฉันอยู่กับความเป็นจริงและใช้สติในการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นดิฉันจำเป็นต้องเล่าให้คุนกรัชกายฟังรึป่าวค่ะว่า ถือศีล5แล้วเป็นอย่างไรทำบุญตักบาตรได้ผลอย่างไร ทำไปด้วยใจค่ะแล้วเราจะรู้สึกมีความสุขและสงบไม่ต้องคิดฟุ้งซ่าน


ไม่ได้ว่าอะไรสะหน่อยสนับสนุนด้วยซ้ำ ทำไปเถอะครับตามจริต รู้สึกมีความสุขสงบก็ทำไปนะครับ :b1: สาธุๆๆ สู้ๆครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ

กรัชกายเห็น คห.คุณ nong ก่อนหน้านั่นแล้ว อ่านแล้วรู้สึกสับสนคำถามจึงเฉยๆเสีย เพิ่งจะมาโพสต์ส่งเสริมตอนหลังนี่แหละ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
sriariya เขียน:
nongkong เขียน:
ขอแสดงความคิดเห็นนิดหนึ่งนะค่ะ ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ปฎิบัติใหม่ ดิฉันว่าคุนโฮฮับพูดมานั้นมันมีส่วนคล้ายคลึงกับสิ่งที่ดิฉันกำลังปฏิบัติอยู่นะค่ะ สิ่งแรกที่ผู้ปฏิบัติใหม่ควรจะเริ่มทำก่อนคือเริ่มต้นจากศีล5(ศีล5จะทำให้เราหลุดพ้นจากอบายภูมิ)ต่อไปก็คือทานเป็นกุศล ผลบุญ สวดมนต์ ภาวนาเพื่อให้จิตใจเราสงบและเราจะเกิดสมาธิ สติ ปัญญาตามา และหลังจากนั้นเราก็ค่อยปฏิบัติศึกษาและลงมือปฏิบัติในปลีกย่อยและ ทำความเข้าใจกับบัญญัติไปทีละขั้นตอน ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่กรุณาชี้แจงด้วยนะค่ะ


การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ หรือจะเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมมานาน ก็ตามที ล้วนต้องมีปัจจัยหรือเครื่องมืออันเป็น มรรค หรือ หนทางชนิดหนึ่ง ซึ่งจะนำทางให้แก่บุคคลเหล่านั้นไปถึงจุดหมาย นั่นก็คือ
๑.สมาธิ
๒.สติ
๓.สัทธา(ศรัทธา)
๔.วิริยะ
๕.ปัญญา
ทั้ง ๕ ข้อ ก็คือ พละ ๕ นั่นเอง
เมื่อบุคคลมีมรรค หรือมีปัจจัย ครบถ้วนแล้ว ก็จะบังเกิดผล คือข้อปฏิบัติที่ควรศึกษา หรือ ไตรสิกขา ศีล,สมาธิ,ปัญญา
การปฏิบัติธรรมนั้น ในทางที่เป็นจริงแล้ว จะปฏิบัติตามข้อธรรมะใดใดหรือธรรมะในหมวดใดใดก็ได้ทั้งนั้น หรือจะถือตาม ไตรสิกขาก็ได้ เพราะในไตรสิกขาข้อ ศีล นั้น แท้จริงแล้ว เป็น ผลและเหตุที่ทำให้เกิดธรรมะหรือเกิดจากธรรมะ เนื่องจากเกียวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ศีล เป็นผลและเหตุ จากธรรมะหลายหมวดหลายข้อ เช่น "พรหมวิหาร๔","สัปปุริสธรรม",อิทธิบาท ๔" และอื่นๆอีกมากมาย
ศาสนาต่างๆ ล้วนมีข้อปฏิบัติ และข้อห้าม เหมือนกันทุกศาสนา เพราะข้อปฏิบัติ และข้อห้ามทั้งหลายเหล่านั้น จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ ที่เรียกว่า อดทน,ซื่อตรง,กตัญญู,กตเวที,ความละอาย,เกรงกลัวต่อบาป, ฯลฯ
และในศาสนาต่างๆ ก็จะมีหลักธรรม หรือ หลักความจริงที่มีอยู่ในจิตใจมนุษย์
พุทธศาสนา มีหลักธรรมมากมาย มีวิธีการปฏิบัติ วิธีการฝึก วิธีการคิดพิจารณา อย่างครบถ้วน ละเอียด ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอก
ดังนั้น การปฏิบัติธรรม ในทาง พุทธศาสนา จึงมักถูกบิดเบือน ไปตามความรู้ ความเข้าใจของบุคคลที่ได้เล่าเรียน ได้จดจำ ได้ศึกษา จากตำราต่างๆ
การปฏิบัติธรรม ในแต่ละบุคคลตามการครองเรือน หรือตามบทบาทหน้าที่ของแต่กลุ่มบุคคล จึงแตกต่างกันไป เช่น
ฆราวาส จะถือศีล ปฏิบัติตามข้อศีลก็ได้ หรือจะ ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดข้อหนึ่ง หมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความง่าย เวลา และสมองสติปัญญา
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านได้ศึกษาสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เขียนไปแล้วข้างต้น คงพอจะอนุมานได้ว่า การปฏิบัติธรรม นั้น ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับหลักการมากนัก แต่ก็ต้องยึดถือหลักการเอาไว้บ้าง เพราะหลักการปฏิบัติธรรมนั้น มีเพียงรูปแบบเดียว หรือวิธีเดียวที่ถูกต้อง เช่น
การฝึกกัมมัฏฐาน ซึ่งท่านทั้งหลายจะรู้กันในนามของการปฏิบัติสมาธินั่นแหละ
กัมมัฎฐาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สมถกัมมัฏฐาน ๑.(อุบายทำให้ใจสงบ) ,วิปัสสนากัมมัฏฐาน๑.(อุบายเรื่องปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา)
อุบายทำให้ใจสงบ(สมถะกัมมัฏฐาน) ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญา ได้แก่ "กสิณ ๑๐ ,อสุภะ๑๐,อนุสติ ๑๐ ,พรหมวิหาร๔, อรูป๔,อาหารเรปฏฺิกูลสัญญา๑,จตุธาตุววัตถาน ๑,อรูป๔ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

กัมมัฏฐาน ทั้ง ๔๐ กอง สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำ อุบายให้ใจสงบก็ได้,หรือจะเป็นเครื่องมือทำ อุบายเรืองปัญญาหรือทำให้เกิดปัญญาก็ได้เช่นกัน
และยังมีหมวดธรรมะ เช่น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
เพื่อบุคคลที่ต้องการจะศึกษา หรือปฏิบัติธรรมให้สู่จุดสูงสุดในทางพุทธศาสนา คือ นิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอธิบายไปทั้งหมดข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นการยากที่จะเล่าเรียนหรือปฏิบัติได้หมด ท่านทั้งหลาย ก็ลองอ่านบทความเรื่อง "ไตรลักษณ์ ทางลัดของผู้ที่ไม่ต้องการคิดมาก" ก็จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ขอรับ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๗ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน

ดิฉันเรียนท่านตามตรงเลยนะค่ะว่า อ่านถึงแค่พละ๕ ดิฉันก็หยุดอ่านเพราะท่านไม่ได้เอาความรู้และภาคปฏิบัติจริงมาชี้แนะดิฉัน แต่ท่านไปก๊อปเอาของผู้อื่นมาแล้วเอามาเป็นแนวทางให้ดิฉันแล้วดิฉันจะเชื่อได้อย่างไรว่าตัวท่านเองเข้าใจในพระธรรมจริงแล้วที่สำคัญไปกว่านั้นคำพูดของท่านทีส่อเสียดผู้อื่นทำให้ดิฉันเองหมดความเชื่อถือในตัวท่านไปโดยปริยาย

อนิจจา...ความคิดความเข้าใจของคน
ข้าพเจ้าไปคัดลอกมาจาก พระไตรปิฎก หรือจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ มันก็เป็นหลักธรรมคำสอนของพระสมณโคดม และเป็นหลักความจริง หลักธรรมชาติ คุณคิดว่า พละ ๕ ไม่มีในตัวบุคคลอย่างนั้นหรือ คุณคิดผิด เพราะคุณหลงผิด คุณจะเชื่อถือในตัวข้าพเจ้าหรือไม่ก็ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ตรงที่ว่า คุณอ่านแล้ว คุณไม่ได้ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาใตร่ตรอง ให้เป็นไปตามหลักความจริงในตัวคุณ
คุณคิดว่าข้าพเจ้าส่อเสียดผู้อื่น แล้วสิ่งที่คุณเขียนมา เป็นการส่อเสียดผู้อื่นหรือไม่ หัดใช้สมองอันน้อยนิดคิดพิจารณาดูให้ดี
คุณจำไว้อย่างหนึ่งนะ "คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล" ถ้าคิดได้ ก็เกิดปัญญา ถ้าหลงผิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ก็แล้วแต่ตัวคุณ ความคิดของคุณ สมองสติปัญญาของคุณ ข้าพเจ้าห้ามไม่ได้ดอกขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2012, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
nongkong เขียน:
คุนกรัชกายอย่าเข้าใจดิฉันผิดและอคติกับความคิดเห็นของดิฉันสิค่ะ แนวทางการปฏิบัติของดิฉันไม่เหมือนคุนกรัชกาย ดิฉันสนใจแค่เพียงว่าทำอย่างไรดิฉันจะพ้นจากทุกข์ (ไม่ได้หมายความว่าจะนิพพานเหมือนพระพุธทเจ้า) แค่ศีล5มนุษย์ยังทำกันยากเลยนะเจ้าค่ะ ดิฉันอยู่กับความเป็นจริงและใช้สติในการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นดิฉันจำเป็นต้องเล่าให้คุนกรัชกายฟังรึป่าวค่ะว่า ถือศีล5แล้วเป็นอย่างไรทำบุญตักบาตรได้ผลอย่างไร ทำไปด้วยใจค่ะแล้วเราจะรู้สึกมีความสุขและสงบไม่ต้องคิดฟุ้งซ่าน


ไม่ได้ว่าอะไรสะหน่อยสนับสนุนด้วยซ้ำ ทำไปเถอะครับตามจริต รู้สึกมีความสุขสงบก็ทำไปนะครับ :b1: สาธุๆๆ สู้ๆครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ

กรัชกายเห็น คห.คุณ nong ก่อนหน้านั่นแล้ว อ่านแล้วรู้สึกสับสนคำถามจึงเฉยๆเสีย เพิ่งจะมาโพสต์ส่งเสริมตอนหลังนี่แหละ :b1:

:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

*กรรมฐาน* หมายถึง การปฏิบัติธรรมโดยใช้สติในเรื่องของ วิปัสสนาและสมถ

*วิปัสสนา* หมายถึง การพิจารณธรรมเพื่อหาเหตุแห่งทุกข์ กล่าวให้เข้าใจก็คือ
การใช้ความคิด(ธัมมวิจยะ) ไล่หาเหตุที่มาแห่งทุกข์

*สมถ* หมายถึง การทำจิตให้สงบนิ่งโดยใช้ฐานกาย วิธีนี้เป็นการดับทุกข์
พึ่งสังเกตุว่า สมถจะทำได้ต่อเมื่อ รู้ทุกข์และไล่หาเหตุแห่งทุกข์แล้ว(วิปัสสนา)

ที่กล่าวมาอย่าลืมว่า ผู้ที่จะปฏิบัติให้ตรงกับสิ่งที่ผมอธิบาย
จะต้องเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ คือเห็นไตรลักษณ์มาแล้ว ละสังโยชน์สามแล้ว


*สภาวะ* หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นโดยมีมีเหตุปัจจัยมาจากรูปนาม
สิ่งที่เกิดตามหลังผัสสะรวมเรียกว่าสภาวะ

*อารมณ์* หมายถึง สิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่งแล้ว เช่นดีใจ เสียใจฯลฯ



ความหมายหรือคำแปลคำว่า กรรมฐาน เป็นต้น ตามความหมายดั้งเดิมของเขา

-กรรมฐาน (หมายถึง) แปลว่า ที่ทำงานของจิต หรือที่ให้จิตทำงาน

-วิปัสสนา (หมายถึง) แปลว่า การเห็นแจ้งนามรูป (หรือชีวิตหรือกายใจนี้)

-สมถะ (หมายถึง) แปลวา ความสงบ

-สภาวะ (เรียกเต็มว่าสภาวธรรม) (หมายถึง) แปลว่า ความเป็นเอง สิ่งที่มันเป็นของมันเอง คือ มันเป็นของมันเองตามเหตุปัจจัย (ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล)

-อารมณ์ (หมายถึง) แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆว่า สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรู้นั่นเอง

(อารมณ์ มี 6 คือ รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์)

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 0#msg12930

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2012, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑

วิปัสสนา หมายถึง ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒) ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

สมถะ หมายถึง ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ
(ทั้ง ๓ คำคัดจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)

ข้างต้น คือความหมาย จากพจนานุกรมฯ ซึ่ง ถ้าหากบุคคล จะทำเป็นโอ้อวดว่า ข้าฯฝึกของข้าฯเอง ข้าฯรู้ของข้าฯเอง ไม่มีใครสอน คงเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นข้าพเจ้า และความหมาย ของคำทั้งหมด มีอยู่คำเดียว ที่ไม่ตรงกับ ความหมายของข้าพเจ้า ก็คือ วิปัสสนา อาจจะเป็นเพราะ การฝึกปฏิบัติไม่เหมือนกัน หลักธรรมไม่เหมือนกัน ก็เป็นได้ ดังนั้น คำว่า วิปัสสนา ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ใช้ แต่ข้าพเจ้ามักใช้คำว่า "เข้าญาณ(ยาน)"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปจะใช้กรรมฐานกับภาคปฏิบัติ

กรรมฐาน หมายถึง ที่ทำงานของจิตหรือที่ให้จิตทำงาน (กรรม+ฐาน ความว่า "กรรม" ในที่นี้แปลว่า การงาน ฐาน แปลว่า ที่ตั้ง)

ตัวอย่าง ถ้าผู้นั้นใช้ กสิณ ต่างๆ มีกสิณดิน (ปฐวีกสิณ) เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้จิตกำหนด กสิณดินนั้น ก็เรียกว่า “กรรมฐาน” หมายความว่า กสิณดินนั้น ก็เป็นที่ทำงานของจิตหรือที่ให้จิตมันทำงาน (= สมถกรรมฐาน)

ถ้าใช้ลมเข้า-ออก เป็นอารมณ์ให้จิตกำหนด ลมเข้า-ออกนั้นก็เรียก “กรรมฐาน” หมายความว่า ลมเข้าออกนั้น ก็เป็นที่ทำงานชองจิตหรือที่ให้จิตมันทำงาน

ถ้าใช้ท้องพองท้องยุบเป็นอารมณ์ให้จิตกำหนด อาการ (ท้อง) พองและยุบ ก็เรียกว่า “กรรมฐาน” หมายความว่า พอง-ยุบนั้น เป็นที่ทำงานของจิตหรือที่ให้จิตมันทำงาน

(ถ้าผู้นั้นเข้าใจวิธีปฏิบัติก็มีทั้งสมถะ และวิปัสสนาทำงานควบคู่กันไป...และเป็นวิปัสสนากรรมฐานในที่สุด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตคำว่า วิปัสสนา มายังไงไปยังไง


ปัญญาเป็นคำกลางเป็นความรู้ประเภทต่างๆ และปัญญานั้นมีหลายระดับ มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึงปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะ หรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง

เช่นคำว่า สัมปชัญญะ วิปัสสนา ธรรมวิจัย ปริญญา ญาณ วิชชา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ ปริญญา ปฏิสัมภิทา ฯลฯ นั่นเป็นชื่อของปัญญาทั้งสิ้น

แม้แต่คำว่า “สัมมาทิฏฐิ” ที่พูดถึงข้างต้นองค์ธรรมได้แก่ปัญญา เพราะมรรคมีองค์ 8 ย่อเข้าในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ = หมวดปัญญา)

วิปัสสนา ก็เป็นชื่อหนึ่งของปัญญา ซึ่งทำงานร่วมกับสติสมาธิ เป็นต้น เมื่อปฏิบัติธรรม (หรือปฏิบัติกรรมฐาน) ถูกต้องจนมันเจริญถึงระดับหนึ่งคือถึงระดับที่รู้แจ้งเห็นจริงในนามรูป หรือชีวิตนี้ หรือกายใจนี้ตามเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(คำว่า สมถะก็ดี ฌานก็ดี ก็ได้แก่ สมาธินั่นเอง)

ความหมายของสมถะที่ว่าคือตัวสมาธินี่แหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรมและฝ่ายพระสูตร เพราะไม่ว่าจะเจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติหรืออภิญญาเป็นผลสำเร็จสูงสุดเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถะ หรือ ตัวสมถะ หรือแก่นแท้ของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นเค้าความดังกล่าว เสริมอีกหน่อย

สมถะ แปลว่า ความสงบ แต่ที่ใช่ทั่วไปหมายถึงวิธีทำใจให้สงบ

ขยายความว่า ข้อปฏิบัติต่างๆในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่งของสมถะคือสมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึง (เรียกว่าอารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว ความแน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิตนี้เรียกว่า สมาธิ เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า ฌาน ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อวิปัสสนาอีกหน่อย)

วิปัสสนา แปลว่า การเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง (นามรูป) หมายความว่า ข้อปฏิบัติ

ต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะของมัน คือให้เข้าใจ

ตามความเป็นจริง หรือ ตามที่สิ่งเหล่านั้นมันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพ

ให้มันเป็น ด้วยความชอบความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจของเรา) รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง

จนถอนความหลงผิดรู้ผิดและถือติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตใหม่

ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจและความรู้สึกทั้งหลาย ความรู้ความเข้าใจถูกต้องที่เกิด

เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ มีหลายระดับ ญาณสำคัญในขั้นสุดท้าย เรียก

ว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา คือ ความหลงผิดไม่รู้แจ้งไม่รู้จริงให้หมดไป ภาวะจิตที่มี

ญาณหรือวิชชานั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใสและเป็นอิสระ เพราะลอยตัวพ้นจากอำนาจครอบงำของ

กิเลส เช่น ความชอบความชัง ความติดใจและความขัดใจเป็นต้น ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไป ความหมาย คำว่า สภาวะ (ส+ภาวะ = สภาวะ ความเป็นเอง..ส, สยํ, สกํ, แปลว่า เอง (ตน) เอง ภาวะ แปลว่า ความมี ความเป็น)

ภาวนา (หมายถึง) แปลว่า การทำให้เกิดมี การทำให้มีให้เป็น การทำให้เจริญ การเจริญ การเพิ่มพูน การบำเพ็ญ การอบรม หรือฝึกอบรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
นี่เขาเป็นอะไร =>

อ้างคำพูด:
ตอนผมนั่งสมาธิ รู้สึกว่าตัวผมใหญ่ขึ้น ใหญ่มากๆ อ่ะครับ (บอกไม่ถูก) พอเป็นแบบนี้ เลยรู้สึกกลัว เลยท่องพุทโธเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ก็รู้สึกกลัวแบบบอกไม่ถูก (ก็ไม่รู้ว่าจะกลัวทำไม) เลยต้องถอนออกจากสมาธิทุกทีครับ เป็นไม่บ่อยนะครับ นานๆที



เขาบอกว่านั่งสมาธิ ดูแล้วกำลังนั่งฟุ้งซ่านมากกว่า
การเรียงลำดับคำถามก็ใช้ไม่ได้ สับสนในคำถามของตัวเอง

เจ้าของคำถามนั่งแบบไม่มีสติคอยกำกับ สิ่งที่พบมันไม่ได้เกิดจากสมาธิ
มันเกิดจากจิตที่ขาดการควบคุม เกิดธัมมารมณ์ขึ้นแล้วเจ้าตัวยังไม่รู้เรื่อง
หรือเข้าใจ สภาวะที่เกิดจึงเป็นสังขารปรุงแต่ง จนลามเป็นกายสังขารต้องเลิก
ปฏิบัติ

แนะนำสิ่งแรกที่ควรรู้ก็คือ สติคืออะไรและสมาธิเป็นอย่างไรเสียก่อน
การปฏิบัติจะได้ไม่ไร้ทิศทางแบบนี้

และที่สำคัญที่สุดผู้ที่ปฏิบัติใหม่ไม่ควรให้นั่งสมาธิในแบบของสมถกรรมฐาน
ควรปฏิบัติแบบมีสติตามรู้ ผัสสะหรือสภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น



สภาวะศัพท์นี้ ต้องพูดเทียบกับตัวอย่างสภาวะซึ่งเกิดจากการปฏิบัติ (ภาวนา) จึงจะเข้าใจเพราะเป็นประสบการณ์ตรงของเขาเอง พูดเข้าใจง่ายกว่าคนพูดเฉยๆ แต่ไม่เคยลงมือภาวนาเลย พึงเทียบกับตัวอย่างนี้

"ตอนผมนั่งสมาธิ รู้สึกว่าตัวผมใหญ่ขึ้น ใหญ่มากๆ (บอกไม่ถูก) พอเป็นแบบนี้ เลยรู้สึกกลัว เลยท่องพุทโธเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก แต่ก็รู้สึกกลัวแบบบอกไม่ถูก (ก็ไม่รู้ว่าจะกลัวทำไม) เลยต้องถอนออกจากสมาธิทุกที เป็นไม่บ่อยนะครับ นานๆที"


เขาภาวนาไปๆ...แล้วรู้สึกว่า “ตัวใหญ่มันใหญ่ขึ้นๆๆ...” ...นี่เรียกว่า สภาวะ กล่าวคือมันเป็นของมันเอง...และแล้วภาวะนั้นก็เปลี่ยนอีกเป็น “รู้สึกกลัว”... นี่เรียกว่า สภาวะ คือว่ามันเป็นของมันเอง ฯลฯ

นี่พูดในความหมาย "สภาวะ" แต่ก็เรื่องเดียวกันนี่แหละ เมื่อต้องจะพูดในแง่ความหมาย "ไตรลักษณ์" ก็พูดได้อธิบายได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อประสงค์จะพูดในแง่ (ความหมาย) ความเป็นไตรลักษณ์....ก็อย่าง เช่น อารมณ์ (ธรรมารมณ์) เปลี่ยนเป็นยังงั้นบ้าง...ยังงี้บ้าง สลับไปสลับมาๆ เช่น บางขณะ “รู้สึกตัวใหญ่” บางขณะ “รู้สึกกลัว” บางขณะ “สึกรู้สดชื่น” บางขณะรู้สึก "หงุดหงิด" ดังนี้เป็นต้น

นั่นหมายถึงว่า สภาวะไตรลักษณ์ ปรากฏหรือมันแสดงตัวมันเองแล้ว...

แต่ปัญหาก็คือมนุษย์ไม่รู้ เมื่อมนุษย์ไม่รู้ว่านั่นเป็นสภาวะไตรลักษณ์...ซึ่งมันเปลี่ยนแปลงไปตามปกติของมัน ปัญหาเกิดเพราะมนุษย์ไม่ชอบสภาวะซึ่งเปลี่ยนแปลงตามธรรมดาของมัน มันจึงเป็นเหมือนว่าภาวะนั้นๆขัดความรู้สึกเราขัดใจเรา เมื่อไม่ได้ดั่งใจต้องการก็เกิดหงุดหงิดฟุ้งซ่านรำคาญ...มาเป็นกระบวนเลยทีนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 86 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร