วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 14:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้แหละที่ว่า ต้องมีปัญญารู้ว่า การที่จะทำจะปฏิบัติการอะไรด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา ในกรณีนั้นๆ มีความจริงเป็นอย่างไร เป็นการถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ เมื่อรู้ความจริงแล้ว ก็จะได้ปฏิบัติจัดดำเนินการไปโดยให้เป็นไปตามความถูกต้อง เพื่อรักษาธรรม เพื่อประโยชน์แก่สังคม และเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงแก่ชีวิตของเขาเองในระยะยาว


เขาไปก่ออาชญากรรมมา ไม่ถูกต้อง เป็นผลเสียแก่ชีวิตของตัวเขาเองด้วย สังคมก็เดือดร้อนด้วย ต้องแก้ไข เขาถูกจับก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ แต่ถ้าเราไปกรุณาสงสารแล้วปล่อยออกมาจากคุก ก็ไม่ถูกต้อง เขาถูกจับก็ต้องถูกจับ อันนี้เป็นไปตามหลักความจริงความถูกต้อง ปฏิบัติการด้วยกรุณาไม่ได้
ตอนนี้ท่านใช้คำว่า ต้องหยุดขวนขวาย ในการที่จะทำตามสามข้อต้น เพราะจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามปัญญาที่รู้ความจริง ความถูกต้องนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่หยุดระงับความขวนขวาย ไม่ทำตามสามข้อต้น เพื่อจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามปัญญาที่รู้ความจริงความถูกต้องนั้น ก็คือข้อ 4 ที่เรียกว่า อุเบกขา ซึ่งสำคัญมาก ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา เป็นจุดประสานเข้าสู่ดุลยภาพ ระหว่างความรู้ กับ ความรู้สึก หรือ เอาความรู้ มาปรับดุลความรู้สึกให้ลงตัว พอดี

สามตัวแรก เป็นความรู้สึกที่ดี แต่ถึงจะเป็นความรู้สึกที่ดี ก็เลยเถิดได้

ส่วนอุเบกขา แม้จะเป็นความรู้สึก แต่เป็นความรู้สึกที่ตั้งอยู่บนฐานของปัญญา คือมีปัญญามาให้ความรู้ แล้วความรู้ก็มาปรับความรู้สึกให้เข้าดุล ก็เป็นอุเบกขาขึ้นมา ซึ่งมีลักษณะลงตัว พอดี เข้าที่ เรียบ สงบ เป็นกลาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการที่วางตัวเป็นกลาง หรือมีความเป็นกลางนี้ ในแง่หนึ่งก็เป็นการหยุด ไม่ขวนขวายตามกรุณา หรือมุทิตา ไม่ไปช่วยขัดขวางตำรวจที่จับมา ไม่แสดงความยินดีชื่นชมที่เขาลักขโมยมาได้สำเร็จ


การไม่ขวนขวายนี้ บางทีก็เรียกให้สั้นว่าเฉย หรือวางเฉย แต่ไม่ใช่เฉยเฉยๆ หรือเฉยเมย แต่เฉยเพราะจะรักษาธรรม คือเปิดโอกาสแก่ธรรม ที่จะว่ากันไปหรือจัดการกันไปตามธรรม ตามระเบียบแบบแผน กติกา กฎหมาย ฯลฯ นี่แหละคือข้ออุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องระวัง ที่คนไทยเราแปล อุเบกขาว่า เฉย บอกแล้วว่า เฉยในที่นี้ คือ ไม่ขวนขวายตาม 3 อย่างแรก ในกรณีที่จะเสียธรรม หรือจะทำให้เกิดความไม่ถูกต้อง คือ ไม่ขวนขวาย เพราะถ้าขวนขวายไปแล้ว จะไม่ถูกต้อง ก็จึงหยุดขวนขวาย


แต่คนไทย แปลว่า เฉย นั้น มักว่ากันไปโดยไม่ค่อยรู้เข้าใจ หรือไม่ค่อยอธิบายกันให้ชัด ทำให้เข้าใจผิดเพี้ยน กลายเป็นเฉยเมย เฉยเมิน เฉยมึนงง เฉยเฉื่อยแฉะ จนถึงเฉยโง่ ก็เลยเสียหาย


ตัวคำว่า อุเบกขาเอง ในภาษาพระท่านก็ให้ระวังอยู่แล้ว ท่านจำแนกแยกอุเบกขาไว้ถึง 10 อย่าง ว่าอย่างรวบรัด ก็แบ่งเป็น ฝ่ายดี กับ ฝ่ายร้าย

พูดกันง่ายๆ ก็ถามว่า อุเบกขาที่ว่าเฉยนั้น เฉยเพราะอะไร ง่ายที่สุด คือ เพราะรู้ กับ เพราะไม่รู้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนไม่รู้ก็เฉย เพราะแกไม่รู้เรื่องไม่รู้ราว อะไรเกิดขึ้นก็ไม่รู้ ก็เลยเฉย เรียกว่าเฉยไม่รู้เรื่อง แล้วก็ไม่เอาเรื่อง แล้วก็ไม่ได้เรื่อง เฉยอย่างนี้ พระท่านเรียกว่า อัญญาณุเบกขา แปลว่า เฉยโง่ เป็นอกุศล เป็นบาป

ส่วนอีกเฉยหนึ่ง เป็นความเฉยด้วยปัญญา คือรู้เข้าใจ พอรู้แล้วก็วางตัวได้พอดี หรือลงตัวเข้าที่ เพราะมองเห็นแล้วว่า เราจะปฏิบัติการอะไร อย่างไร เมื่อไร จึงจะไปสู่จุดหมายแห่งความลุรอดปลอดภัย ให้เกิดความถูกต้อง ความดีงาม ฯลฯ ตอนนี้ก็เลยอยู่ในลักษณะเฉย หรือวางตัวเรียบสงบไว้ หรือเป็นกลางไว้

บางทีการเฉยก็เป็นการเตรียมพร้อมอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างเกิดสถานการณ์ร้ายขึ้นมา คนไม่รู้เรื่องรู้ราว ก็เฉย คนที่รู้ครึ่งไม่รู้ครึ่งก็โวยวายโว้กว้ากไป

แต่คนที่รู้เข้าใจสถานการณ์ชัดเจน และมองออกว่า เมื่ออะไรเกิดขึ้น เราจะดำเนินการอย่างไร ขั้นตอนเป็นอย่างไร เขาอาจจะเตรียมการพร้อมอยู่ในใจ ว่าถึงขั้นตอนนั้นๆ จะทำอย่างนั้นๆ คนนี้ก็ดูเฉยเหมือนกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเฉยด้วยปัญญานี้ เป็นอุเบกขา ในความหมาย ของพรหมวิหารข้อที่ 4 คือ เฉยด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจความจริง และจะรักษาธรรม ความถูกต้อง ในเมื่อการทำตามสามข้อแรกในกรณีนั้นๆ ปัญญาบอกว่าผิด เป็นความไม่ถูกต้อง เสียความเป็นธรรม เมื่อปัญญาบอกอย่างนั้น เราก็หยุด ก็เลยทำให้เราเฉยด้วยอุเบกขานี้ ก็จึงบอกว่าอุเบกขาตั้งอยู่บนฐานของปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาชัดขึ้น ดูการใช้พรหมวิหารใกล้ๆตัว


หลักประกันสันติสุข อยู่ที่พรหมวิหาร ตั้งแต่เลี้ยงดูลูกในบ้าน จนถึงอภิบาลคนทั้งโลก

พรหมวิหาร 3 (เมตตา กรุณา มุทิตา) ข้อแรก เป็นความดีที่ว่าถ้าไม่คุมให้ดี อาจจะพาคลาดเคลื่อนจากความจริง และความถูกต้องไปได้ แม้แต่พ่อแม่ก็พลาดกันบ่อย เริ่มตั้งแต่ข้อแรก พ่อแม่มีเมตตามากจนเสียดุล ไม่รู้จักอุเบกขาเลยเลี้ยงลูกเสียคนไปก็มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านให้มีเมตตาไว้ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีงาม เมตตาอันเป็นความรู้สึกที่ดีนี้แผ่กระจายออกไปยังลูกๆ เมื่อลูกได้รับความรู้สึกที่ดี ก็มีความประทับใจและมีความรู้สึกที่ดีมีเมตตาเกิดขึ้นด้วย ใจก็โน้มไปในทางดีที่จะมีเมตตาต่อคนอื่นขยายออกไป ตั้งแต่รักพี่น้องและญาติทั้งหลาย เมตตาแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ ความเป็นมิตรมีความปรารถนาดีต่อกันในสังคมมนุษย์ก็แผ่ขยายออกไปด้วยการเริ่มต้นที่พ่อแม่

แต่ทีนี้ ถ้าพ่อแม่ปฏิบัติผิด มีแต่เมตตา กรุณา จนกลายเป็นเอาใจลูกตามใจลูก เมตตา กรุณามากไป เสร็จแล้ว แทนที่ลูกจะมีเมตตาต่อผู้อื่นขยายออกไป เรื่องตีกลับกลายเป็นว่า เขาเคยตัวกับการที่จะได้รับการเอาใจตามใจ คราวนี้เอาใจตามใจเท่าไรก็ไม่พอ เขาเดินหน้าไปสู่การเรียกร้อง แทนที่ว่าเราใส่ใจเขา แล้วเขาจะใส่ใจเราและใส่ใจคนอื่นต่อๆไป กลับกลายเป็นว่า เราเอาใจเขา แล้วเขาก็เอาแต่ใจเขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอเริ่มผิดทาง เขาเอาแต่ใจตัวเขาเองแล้ว เขาก็ก้าวต่อไปกลายเป็นนักเรียกร้อง ทีนี้เขาก็ไม่เมตตาคนอื่นแล้ว แต่ตรงข้าม คราวนี้เขามีโทสะง่าย ไม่ได้อะไร ใครไม่ตามใจนิดหน่อย ก็หงุดหงิด โกรธเคือง เป็นคนโทสะแรงไปเลย การปฏิบัติธรรมเสียหลัก ผิดวัตถุประสงค์ไปหมด

เพราะเหตุที่ว่านั้น ท่านจึงให้มีอุเบกขาไว้ดูแลและคุมความพอดี

พ่อแม่เลี้ยงลูก พอมีอุเบกขาคุม เมตตาก็จะไม่พาไปไถลเลยเถิด แต่อุเบกขาจะดูไปด้วยว่า เออ ที่เราทำนี่ถูกต้องแน่หรือ

ความถูกต้องจะอยู่ได้ด้วยมีอุเบกขาคุมไว้ โดยปัญญาจะบอกให้ว่า เออ ลูกนี่ ต้องมีความถูกต้อง ต้องอยู่ในความเป็นธรรมด้วย นอกจากนั้น เราไม่ได้อยู่กับเขาตลอดไปนะ เราจะอยู่ทำให้เขาตลอดเวลาข้างหน้าไม่ได้ ต่อไปเขาจะต้องรับผิดชอบตัวเอง ต้องทำด้วยตัวเขาเอง เรื่องนี้ๆ ถ้าเขายังทำไม่ถูกทำไม่เป็น แล้วต่อไป เมื่อถึงเวลาเขาจะต้องรับผิดชอบตัวเองแล้วทำไม่ถูกทำไม่เป็น เขาจะอยู่ได้อย่างไร ตอนนั้น เขาจะไม่มีเราอยู่ด้วยแล้ว เขาจะอยู่ได้อย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตา พาคนดีมีน้ำใจให้มาเอื้อเฟื้อเกื้อหนุน ส่วนอุเบกขา ก็พาเอาปัญญามานำไปหาธรรมที่จะรักษาความถูกต้องและพอดี

ถึงตอนนี้ อุเบกขาซึ่งประกอบด้วยปัญญา ก็จะบอกพ่อแม่ว่า เออ ถ้าอย่างนั้น เราต้องเตรียมเขาให้พร้อมไว้นะ จะทำอย่างไรล่ะ อ๋อ...ตอนนี้ ก็คือโอกาสดีที่เขาจะได้ฝึกตัวโดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเป็นที่ปรึกษาให้ นี่คือโอกาสทอง อย่าให้พลาดไปเสีย

นี่คือ ท่านให้อุเบกขาไว้เพื่อจะมารักษาดุลว่า ชะลอๆหยุดบ้างนะ อย่าทำให้ลูกอย่างเดียว แต่ดูให้ลูกทำด้วย พอมีอุเบกขา ก็คือดูว่า เออ...ต่อไปลูกเราจะต้องทำอะไรเป็นบ้าง ควรจะเก่งในเรื่องอะไร แล้วก็เตรียมเลย ให้เขาฝึกหัดทำ โดยเราเป็นที่ปรึกษา


อุเบกขา แปลว่า ดูอยู่ใกล้ๆ หรือคอยมองดูอยู่ ตอนนี้เราอยู่ด้วย ก็เป็นโอกาสดี เพราะต่อไป ถ้าเขาไปทำเองฝึกเอง ไม่มีผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษา ไม่มีใครช่วยแนะนำ เขาก็ทำยากลำบากและไม่สมบูรณ์ เราก็ให้เขาฝึกโดยเราคอยดูอยู่ เป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ช่วยเติม เขายังทำไม่เป็น ถ้าเขาทำไม่ถูก ทำไม่ได้ผลดี ทำติดขัด เราก็จะได้ช่วยแนะนำบอกให้ เมื่อลูกได้ฝึกได้หัดทำเอง ก็จะทำให้ลูกเก่งจริงๆ แล้วก็ฝึกกันในบรรยากาศแห่งความรักด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้มีครบหมด ทั้งเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ใช้ครบในตอนที่ช่วยให้ลูกฝึกตัวนี่แหละ เป็นการศึกษาอย่างแท้เลยทีเดียว แล้วลูกก็จะเก่ง จะดี มีความสุขความสามารถจนเป็นที่น่าพอใจ

จึงต้องบอกก่อนว่า ความเป็นพ่อแม่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีอุเบกขา


ถ้ามีแค่ เมตตา กรุณา มุทิตา ก็ได้ด้านความรู้สึกอย่างเดียว เสี่ยงต่อการที่ลูกจะอ่อนแอ ยิ่งถ้าสุดโต่งไปเอาใจกันนัก ก็ไม่ไปไหน ดีไม่ดีแม้แต่ด้านจิตใจก็จะพลอยเสียไปด้วย แทนที่ลูกจะมีเมตตา กรุณา มุทิตา ก็กลับกลายเป็นคนเอาแต่ใจ เอาใจยาก หรือเจ้าโทสะไปเลย


แต่ถ้ามีอุเบกขาด้วย ลูกก็ได้ทั้งจิตใจดีงาม ทั้งมีปัญญา ได้ฝึกตัวดีมีความสามารถ ครบหมด ทั้งเก่ง ทั้งดี แล้วก็มีความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมแล้ว ตั้งแต่ในครอบครัวออกไปจนถึงสังคมใหญ่ ในหมู่คน ชุมชน องค์กร วงงาน กิจการทั้งหลาย จะร่วมอยู่ร่วมงานกันดี ก็ต้องมีพรหมวิหารครบทั้งสี่ประการ

ถ้าบรรดาสมาชิก คือผู้เป็นส่วนร่วม หรือเป็นองค์ประกอบของสังคม ทุกคนปฏิบัติต่อกันถูกต้องตามสถานการณ์ สังคมก็คงอยู่ได้ในดุล และสงบสุขมั่นคง

จะเรียกว่า ความเป็นธรรม ความยุติธรรม ความชอบธรรม หรืออะไรธรรม ก็คือธรรมนั่นแหละ ต้องมีอุเบกขาเป็นตัวยืนที่จะรักษา แต่ก็ไม่ปราศจากเมตตา กรุณา มุทิตา อย่างที่ว่าแล้ว

นี่แหละคือหลักธรรมสำคัญ สำหรับประจำจิตใจ...เป็นอันว่า มีพรหมวิหารครบ 4 โดยมีอุเบกขาเป็นตัวคุม หรือตั้งไว้เป็นหลักเป็นแกนที่จะคุม

ตามที่ว่านี้ กลายเป็นว่า อุเบกขานี้ เหมือนจะสำคัญยิ่งกว่า เมตตา กรุณา มุทิตา แต่จะต้องเข้าใจความหมายให้ถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร