วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 23:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 02:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
แล้วจะพิสูจน์...ความคิดนี้อย่างไรดีละ...

เคยลองบ้างรึยัง?...เล่าให้ฟังบ้างซิ

เดียวจะมีคนไม่เคยลอง...แต่นึก ๆ เอาจากหลักวิชาการ...เข้ามาบอกว่า...เป็นไปไม่ได้...

ฮิ..ฮิ..ฮิ.. :b13:



คืออย่างนี้ครับคุณกบ ผมนั่งสมาธิ แล้วพิจารณาเรื่องกามมารมณ์ ที่ผมลดลงได้เยอะแล้ว แต่ไม่หมดสักที(กับภรรยาตัวเองนะครับไม่เคยผิดศิล)โดยใช้หลักไตรลักษณ์ สู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่น แต่ก็มีคำถามกลับว่าแล้วถ้าผมโสด มีผู้หญิงอื่น ที่ไม่มีพ่อไม่มีแม่ ไม่มีสามี ตัวเปล่า แล้วมามี* กับเราโดยต่างฝ่าย
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอีกฝ่าย มันผิดมั้ย เพราะสุดท้ายเราก็ปล่อยวางได้ ไม่มีทุกข์เกิด แถมมีสุขด้วย จึงโทรถามเพือนที่ปฎิบัติทางสาย หลวงพ่อฤษีลิงดำ มานาน ได้คำตอบว่า เพราะตอนมี* จะทำให้ไม่มีสติ สมาธิ และปัญญาในขณะนั้น และ ฌาน ก็กลับเสื่อมถอยลงด้วย

จึงได้คำตอบในใจว่า การจะละสิ่งนี้ได้คงต้องมีสติอยู่ใน ปัจจุบันขณะ ตลอดเวลา และจำเรื่องผัสสะได้จึงหาข้อมูลมาจากการฟัง ท่านพุทธทาส และ อ.ท่านอื่น และทดลองปฎิบัติ และผลที่ได้มันได้ผลดีกับทุกๆเรื่อง ทั้งเรื่องกิน กาม เกียรติ และ เกลียด ด้วย (ใช่รวมกับการปล่อยวางที่ใช้กับ อดีตและอนาคต)แต่ที่ทำยากมากคือ ตัวแดงๆ ใหญ่ นั้นแหละครับ


มีสติดีแล้วครับ มีสติได้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเอง ก้าว ยก เอี้ยวตัว และต่างๆ การทำเพิ่มเติมคือต้องเข้าไปเห็นครับ ว่า หนัก ร้อน เสียงดัง แล้วผ่อนดับไป รสอาหารว่าเกิดแล้วผ่อนหายไป ภาพที่เห็นว่า เห็นแล้วด้วยวิญญาณแต่ต้องเห็นผัสสะด้วยที่เกิดที่จักษุธาตุ แม้หายใจเข้าออกก็สุดแล้วแต่ยังไม่สุดเพราะต้องเห็นผัสสะให้ชัดเจน ต้องรอคุณเอรากอน เพราะเอรากอนก็ถามผมครั้งที่แล้ว ว่าหายใจเข้าออกจนสุดอย่างไร เหล่านี้ต้องหมั่นทำครับ ทำทุกเวลาเท่าที่สติเราจะมีพลัง ความสงบทางใจจะเกิดขึ้นจากการเข้าไปเห็นครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 03:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
นอกเรื่องนิดหนึ่ง... s002

ปล่อยวางนิพพาน...

ยังไม่ถึงที่...ก็ให้ถือใว้ก่อนอย่ารีบปล่อย...

ไม่งั้นพระท่านคงไม่สอน...อุปสมานุสติกรรมฐาน

เมื่อถึงที่แล้วค่อยปล่อย...มันถึงจะเข้าเป้า... :b4: :b4:



ถูกต้องครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 11:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: สองหนุ่มเห็นพ้องกัน :b32: :b32:

ก็เป็นไปได้ แต่เป็นเพราะอะไรล่ะ
มีใครพอจะอธิบายได้บ้าง

เพราะในความเข้าใจของเรา
ตั้งแต่เด็กจนโตมา :b32: :b32:
เราก็สังเกตอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะ พอสติปรากฎ การระลึกในสำนึกทางกุศลธรรมต่าง ๆ ก็ตามมาเอง
ไม่เคยต้องไปลากเอาปัญญามาพิจารณา
นอกจากจะกำลังเผชิญหน้ากับ อกุศลธรรมที่แรง
ก็ต้องใช้กำลังใจเข้ามาสลัดความคิดไปในสิ่งนั้นลงไปให้ได้
(เหมือนหมาที่สบัดขนหลังอาบน้ำเสร็จน่ะ)
ต้องใช้ ขันติ เข้ามาช่วย ให้อารมณ์ที่จะเป็นไปในทางอกุศลธรรมนั้น ระงับไป

ส่วนสติที่จะไปใช้ปัญญานั้น ส่วนใหญ่จะเกิดเวลาที่จิตสบาย ๆ
และไม่ได้มีอกุศลจิตมากวน จิตมันว่าง ๆ ไม่มีงานทำ
ก็จะหยิบธรรม มาพิจารณา


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 22 ม.ค. 2012, 20:08, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 11:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติเจตสิก

๒. สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์

สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้ โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ

สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อปิลาปนลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ

อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ

อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล

ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้

สติเป็นเครื่องชักนำใจให้ยึดถือกุสลธรรมเป็นอุดมคติ ถ้าหากว่าขาดสติเป็นประธานเสียแล้ว สมาธิก็ไม่สามารถจะมีได้เลย และเมื่อไม่มีสมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดไม่ได้

เหตุให้เกิดสติ โดยปกติมี ๑๗ ประการ คือ

(๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้ พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด

(๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวังจดจำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด

(๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้บันลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต

(๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้

(๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้

(๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ

(๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ

(๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้

(๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้

(๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น

(๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้

(๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม

(๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้

(๑๔) สติเกิดขึ้นเพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า)

(๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้

(๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้

(๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้


http://www.abhidhamonline.org/aphi/p2/038.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2012, 17:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ผมคิดว่าน่าจะใช้ได้ถ้า สติใช้ปัญญา เอาวิชชาแทรกเข้าผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ( ความรู้สึก )
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา ( ความทะยานอยาก )
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิด อุปาทาน ( ความยึดถือมั่นว่าเป็นตัวตน ของตน )
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิด ภพ ( ความมีแห่งความรู้สึกว่าเป็นตัวตน )
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ ( ความรู้สึกเป็นตัวตนสมบูรณ์ )
และเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดความเห็นแก่ตัว และความทุกข์ต่างๆตามมา
ดังนั้นถ้าจะเริ่มดับทุกข์ จึงต้องเริ่มที่ผัสสะ

ตามคำกลอนของท่านพุทธทาส ครับ
ความทุกข์ เกิดที่จิต เพราะเห็นผิด เรื่องผัสสะ
ความทุกข์ จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่ เรื่องผัสสะ
ความทุกข์ เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจ เรื่องผัสสะ

:b8:



ปัจจัยไม่ว่าอายตนะภายใน /อายตนะภายนอก และจิต ทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลง
แปรปรวน ไม่คงที่ ตลอดเวลาเป็นธรรมชาติของตัวมัน เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 00:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
:b1: สองหนุ่มเห็นพ้องกัน :b32: :b32:

ก็เป็นไปได้ แต่เป็นเพราะอะไรล่ะ
มีใครพอจะอธิบายได้บ้าง

เพราะในความเข้าใจของเรา
ตั้งแต่เด็กจนโตมา :b32: :b32:
เราก็สังเกตอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะ พอสติปรากฎ การระลึกในสำนึกทางกุศลธรรมต่าง ๆ ก็ตามมาเอง
ไม่เคยต้องไปลากเอาปัญญามาพิจารณา
นอกจากจะกำลังเผชิญหน้ากับ อกุศลธรรมที่แรง


:b12: :b12:
สติระลึกรู้...จะรู้ว่านี้เป็นกุศล...นี้เป็นอกุศล..อันนี้ใช่

ใช่ในระดับศีลธรรม....อันนี้คิดเอานะ...เพราะตนก็ใช้อันนี้เป็นศีล

การกระทำอะไรที่กระเพื่อมออกจากใจที่มี...โลภ..โกรธ..เพื่อ..ยศ...เกียรติ...สรรเสริฐ

จะงดเสีย...

อันนี้...สติระลึก...สัมปชัญญะห้าม

เป็นคนดีในสังคมเท่านี้ก็พอ....แต่เราจะออกจากทุกข์....แค่นี้พอรึยัง

จึงต้องมีสติระลึกรู้ในฐานทั้ง 4...สติปัฏฐาน 4...

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน....พิจารณากายในกายอยู่เนือง ๆ...พิจารณาเห็นความเกิดในกายบ้าง..เห็นความเสื่อมในกายบ้าง....

เป็นต้น

อ้างคำพูด:
ต่อไปนี้พระองค์ทรงตรัสว่า...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ป่าก็ดี เข้าไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์คือขัดสมาธิตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ย่อมมีสติหายใจเข้า ย่อมมีสติหายใจออก หายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดอยู่ว่าเราหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียก สำเหนียก ตั้งใจกำหนดไว้ก็รู้ เราเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง ว่าหายใจเข้า ตั้งใจกำหนดไว้ว่า เราจะเป็นผู้รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง เวลาหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจะระงับกายสังขาร คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ เมื่อหายใจเข้า เราจะระงับกายสังขารเมื่อหายใจออก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใดนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าเราชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อหายใจยาวก็รู้ชัดว่าหายใจยาว เมื่อหายใจสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจสั้น เมื่อเราหายใจเข้า ออก ยาวสั้นก็รู้อยู่ เราสำเหนียกว่าเราจะเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมทั้งปวง ทั้งหายใจเข้าหายใจออก ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมมีสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าเธอนั้น แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่อาศัย ระลึกแต่เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่างนี้

http://www.luangporruesi.com/863.html

ขอประทานโทษ..ที่ไม่ได้หาที่อ้างอิงจากพระสูตร

ใครหาที่อ้างจากพระสูตรได้จักขอบคุณ... :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 23 ม.ค. 2012, 12:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 20:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b1: สองหนุ่มเห็นพ้องกัน :b32: :b32:

ก็เป็นไปได้ แต่เป็นเพราะอะไรล่ะ
มีใครพอจะอธิบายได้บ้าง

เพราะในความเข้าใจของเรา
ตั้งแต่เด็กจนโตมา :b32: :b32:
เราก็สังเกตอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะ พอสติปรากฎ การระลึกในสำนึกทางกุศลธรรมต่าง ๆ ก็ตามมาเอง
ไม่เคยต้องไปลากเอาปัญญามาพิจารณา
นอกจากจะกำลังเผชิญหน้ากับ อกุศลธรรมที่แรง


:b12: :b12:
สติระลึกรู้...จะรู้ว่านี้เป็นกุศล...นี้เป็นอกุศล..อันนี้ใช่

ใช่ในระดับศีลธรรม....อันนี้คิดเอานะ...เพราะตนก็ใช้อันนี้เป็นศีล

การกระทำอะไรที่กระเพื่อมออกจากใจที่มี...โลภ..โกรธ..เพื่อ..ยศ...เกียรติ...สรรเสริฐ

จะงดเสีย...

อันนี้...สติระลึก...สัมปชัญญะห้าม

เป็นคนดีในสังคมเท่านี้ก็พอ....แต่เราจะออกจากทุกข์....แค่นี้พอรึยัง

จึงต้องมีสติระลึกรู้ในฐานทั้ง 4...สติปัฏฐาน 4...

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน....พิจารณากายในกายอยู่เนือง ๆ...พิจารณาเห็นความเกิดในกายบ้าง..เห็นความเสื่อมในกายบ้าง....

เป็นต้น

อ้างคำพูด:
ต่อไปนี้พระองค์ทรงตรัสว่า...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ป่าก็ดี เข้าไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์คือขัดสมาธิตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ย่อมมีสติหายใจเข้า ย่อมมีสติหายใจออก หายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดอยู่ว่าเราหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียก สำเหนียก ตั้งใจกำหนดไว้ก็รู้ เราเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง ว่าหายใจเข้า ตั้งใจกำหนดไว้ว่า เราจะเป็นผู้รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง เวลาหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจะระงับกายสังขาร คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ เมื่อหายใจเข้า เราจะระงับกายสังขารเมื่อหายใจออก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใดนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าเราชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อหายใจยาวก็รู้ชัดว่าหายใจยาว เมื่อหายใจสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจสั้น เมื่อเราหายใจเข้า ออก ยาวสั้นก็รู้อยู่ เราสำเหนียกว่าเราจะเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมทั้งปวง ทั้งหายใจเข้าหายใจออก ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมมีสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าเธอนั้น แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่อาศัย ระลึกแต่เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่างนี้

http://www.luangporruesi.com/863.html

ขอประทานโทษ..ที่ไม่ได้หาที่อ้างอิงจากพระสูตร

ใครหาที่อ้างจากพระสูตรได้จักขอบคุณ... :b8: :b8:


ท่านกบนี้ไม่ธรรมดาเลยนะเนีย สาธุๆ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 21:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
:b1: สองหนุ่มเห็นพ้องกัน :b32: :b32:

ก็เป็นไปได้ แต่เป็นเพราะอะไรล่ะ
มีใครพอจะอธิบายได้บ้าง

เพราะในความเข้าใจของเรา
ตั้งแต่เด็กจนโตมา :b32: :b32:
เราก็สังเกตอย่างนั้นจริง ๆ
เพราะ พอสติปรากฎ การระลึกในสำนึกทางกุศลธรรมต่าง ๆ ก็ตามมาเอง
ไม่เคยต้องไปลากเอาปัญญามาพิจารณา
นอกจากจะกำลังเผชิญหน้ากับ อกุศลธรรมที่แรง


:b12: :b12:
สติระลึกรู้...จะรู้ว่านี้เป็นกุศล...นี้เป็นอกุศล..อันนี้ใช่

ใช่ในระดับศีลธรรม....อันนี้คิดเอานะ...เพราะตนก็ใช้อันนี้เป็นศีล

การกระทำอะไรที่กระเพื่อมออกจากใจที่มี...โลภ..โกรธ..เพื่อ..ยศ...เกียรติ...สรรเสริฐ

จะงดเสีย...

อันนี้...สติระลึก...สัมปชัญญะห้าม

เป็นคนดีในสังคมเท่านี้ก็พอ....แต่เราจะออกจากทุกข์....แค่นี้พอรึยัง

จึงต้องมีสติระลึกรู้ในฐานทั้ง 4...สติปัฏฐาน 4...

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน....พิจารณากายในกายอยู่เนือง ๆ...พิจารณาเห็นความเกิดในกายบ้าง..เห็นความเสื่อมในกายบ้าง....

เป็นต้น

อ้างคำพูด:
ต่อไปนี้พระองค์ทรงตรัสว่า...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ เป็นอย่างไรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าสู่ป่าก็ดี เข้าไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์คือขัดสมาธิตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ย่อมมีสติหายใจเข้า ย่อมมีสติหายใจออก หายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดอยู่ว่าเราหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็รู้ว่าเราหายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียก สำเหนียก ตั้งใจกำหนดไว้ก็รู้ เราเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง ว่าหายใจเข้า ตั้งใจกำหนดไว้ว่า เราจะเป็นผู้รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง เวลาหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่าเราจะระงับกายสังขาร คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ เมื่อหายใจเข้า เราจะระงับกายสังขารเมื่อหายใจออก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใดนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ว่าเราชักเชือกกลึงยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อหายใจยาวก็รู้ชัดว่าหายใจยาว เมื่อหายใจสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจสั้น เมื่อเราหายใจเข้า ออก ยาวสั้นก็รู้อยู่ เราสำเหนียกว่าเราจะเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมทั้งปวง ทั้งหายใจเข้าหายใจออก ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมมีสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าเธอนั้น แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่อาศัย ระลึกแต่เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่างนี้

http://www.luangporruesi.com/863.html

ขอประทานโทษ..ที่ไม่ได้หาที่อ้างอิงจากพระสูตร

ใครหาที่อ้างจากพระสูตรได้จักขอบคุณ... :b8: :b8:


ท่านกบนี้ไม่ธรรมดาเลยนะเนีย สาธุๆ :b8:


:b1: คงจะจริงตามนั้น

สงสัยความเข้าใจเอกอนคงจะอยู่แค่ระดับศีลธรรมเท่านั้น

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2012, 06:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




GEDC1762_resize.JPG
GEDC1762_resize.JPG [ 75.36 KiB | เปิดดู 1967 ครั้ง ]
ฝึกจิต เขียน:
ผมคิดว่าน่าจะใช้ได้ถ้า สติใช้ปัญญา เอาวิชชาแทรกเข้าผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา ( ความรู้สึก )
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิด ตัณหา ( ความทะยานอยาก )
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิด อุปาทาน ( ความยึดถือมั่นว่าเป็นตัวตน ของตน )
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิด ภพ ( ความมีแห่งความรู้สึกว่าเป็นตัวตน )
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ ( ความรู้สึกเป็นตัวตนสมบูรณ์ )
และเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดความเห็นแก่ตัว และความทุกข์ต่างๆตามมา
ดังนั้นถ้าจะเริ่มดับทุกข์ จึงต้องเริ่มที่ผัสสะ

ตามคำกลอนของท่านพุทธทาส ครับ
ความทุกข์ เกิดที่จิต เพราะเห็นผิด เรื่องผัสสะ
ความทุกข์ จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่ เรื่องผัสสะ
ความทุกข์ เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจ เรื่องผัสสะ

:b8:

:b8:
อนุโมทนาสาธุกับคุณฝึกจิต
แต่เห็นมีคำว่า "ผมคิดว่าน่าจะใช้ได้ถ้า...... "แสดงว่ายังวิจิกิจฉาและลังเลใจอยู่เพราะความรู้ยังไม่ถึงที่ที่ควรจะไปถึง

สังเกตให้ดี(สังกัปปะ)

แต่ที่ๆครูบาอาจารย์ด้านวิปัสสนาภาวนาท่านแนะนำ ท่านให้เอาสติและปัญญามาเฝ้ารู้เฝ้าสังเกตพิจารณาตรงช่วงต่อของเวทนากับตัณหา ณ ตรงจุดนี้วิปัสสนาปัญญาจึงจะเจริญได้

สังเกตดูจากคำสอนเรื่องสติปัฏฐาน 4 พระบรมศาสดาทรงเน้นประเด็นสำคัญไว้ที่ และทั้ง 4 ฐานก็จะมารวมลงสู่ปฏิบัติการสำคัญที่
"วิเนยยะ โลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" ซึ่งเป็นตัวเวทนา แปลเป็นไทยง่ายๆว่า เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดี ยินร้ายในโลก (โลกย์)

ที่เวทนานี้เราจะได้เห็นมโนกรรมของจิตที่มีต่อเวทนา ได้เรียนรู้เรื่องของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของอารมณ์ จนเป็นเหตุให้ได้เข้าถึงนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่ายคลายจางในอุปาทานความยึดถือในธาตุขันธ์ อัตตา ตัวตน จนวางยินดียินร้ายได้ตามวัตถุประสงค์ของสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นจุดปลี่ยนที่สำคัญมากที่จะทำให้กัลยาณชนได้ดิ้นรนจนไปสู่ความเป็นอริยชนได้ในที่สุด

onion :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2012, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
govit2552 เขียน:
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ ( ความรู้สึกเป็นตัวตนสมบูรณ์ )
และเพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดความเห็นแก่ตัว และความทุกข์ต่างๆตามมา


เป็นการตีความ เอาเอง

เป็น สัทธรรมปฏิรูป

เป็น เนื้องอก ที่ต้องตัดทิ้ง

ลุกลามไปทั่ว ด้วยสิ



คุณโกวิทครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจ ช่วยอธิบายด้วยนะครับ ขอบคุณครับ



[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด
ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน
หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ

ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง
เป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ
ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย
ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความ
ทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์
นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ
ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ
พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
เรียกว่าโสกะ ฯ
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ
กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของ
บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่าง
หนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ
เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความ
เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น
ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ
ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่
เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ
ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนา
ประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจาก
โยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์
หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็
เป็นทุกข์ ฯ
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนา
ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความ
เกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความ
ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความ
ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา
ไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้
สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอ
เราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึง
ได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็น
ทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ
ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์
ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็
เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส
เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์
ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น
ก็เป็นทุกข์ ฯ
ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron