วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้


ภพชาติอยู่ที่นิพพาน

การเกิดภพชาติใหม่ ไม่ว่าจะสั้นหรือยาว ล้วนอยู่ที่นิพพาน เพราะสภาวะนิพพานที่แท้จริง ได้แก่การดับไม่มีเหลือที่ต้นตอของเหตุ ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดภพชาติ

ส่วนนิพพานที่เป็นสมมุติบัญญัติ หากมีการยึดมั่นในบัญญัติ ล้วนมีแต่การสร้างภพชาติไม่รู้จบ จะจบลงได้ ต้องรู้แจ้งชัดในสภาวะของนิพพานที่แท้จริง ทั้งโดยบัญญัติและโดยสภาวะ สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ทั้งผู้รู้หนังสือและไม่รู้หนังสือ

เมื่อรู้แจ้งชัดในสภาวะนิพพานที่แท้จริง การทำให้เกิดขึ้นของสภาวะนิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ จึงทำได้โดยไม่ยุ่งยากอะไร ที่ยากคือเรื่องของจิต ในการยอมรับตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากยอมรับได้ นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ ย่อมทำให้เกิดขึ้นได้แน่นอน


การดับเหตุของการเกิด

มี ๒ ทาง คือ ภายนอก ๑ ภายใน ๑

ภายนอก ได้แก่ ผัสสะที่เกิดขึ้น ไม่ว่าผัสสะนั้นๆจะก่อให้เกิดความรู้สึกชอบ,ชัง

เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น แล้วมีความรู้สึกนึกคิดต่อผัสสะนั้นๆ นั่นคือ การมีเหตุปัจจัยต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

หากไม่มีเหตุปัจจัยต่อกัน จะไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆเกิดขึ้น เพราะไม่รู้ชัดในเรื่องผัสสะนี้ เป็นเหตุให้ก่อให้เกิดการกระทำลงไปตามกิเลสหรือความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ภพชาติจึงเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

เมื่อไม่ต้องการก่อเหตุของการเกิดภพชาติต่อไป รู้สึกได้เพราะยังมีกิเลสอยู่ ให้มนสิการไว้ในใจ แต่อย่านำความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้เป็นแรงผลักดันออกไปให้เกิดเป็นการกระทำ นั่นคือ กรรมสำเร็จแล้ว


ภายใน คือ กิเลสที่มีอยู่ จะดับสิ้นลงไปได้ทั้งหมด ต้องหมั่นรู้ชัดอยู่ในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ได้แก่ การทำสมถะและวิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2011, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะปัญญา, สัญญา, วิญญาณ


สภาวะที่จิตคิดพิจรณาขณะที่จิตเป็นสมาธิ อาจทำให้เข้าใจสภาวะผิดได้ว่านั่นคือตัวรู้ หรือความรู้ที่เกิดจากตัวปัญญา เป็นตัวปัญญาที่แท้จริง ที่เกิดจากจิตจริงๆ

เหตุที่ทำให้เชื่อเช่นนั้น เพราะในความคิดต่างๆที่เกิดขึ้น ขณะที่เป็นสมาธินั้น ไม่มีความเป็นตัวเราหรือทิฏฐิที่มีอยู่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น

เพราะมีคิดๆไปเรื่อยๆไม่ฟุ้งซ่าน ไม่รำคาญ เนื่องจากจิตเป็นสมาธิอยู่ มีแต่เรื่องสภาวะธรรมต่างๆ บัญญัติต่างๆ เหตุต่างๆ จิตจะคิดพิจรณาอย่างนั้น

เมื่ออกมาจากสมาธิ หากสภาวะยังไม่ถึงในความรู้นั้นๆ ต่อให้จะพยายามเขียนสิ่งที่คิดออกมา หลังจากออกมาจากสมาธิแล้ว จะจำไม่ได้ทั้งหมด

แท้จริงแล้ว ไม่ใช่สภาวะของปัญญา เป็นตัวรู้ เป็นความรู้ที่ออกมาจากของจิต แต่เป็นเพียงสภาวะสัญญา ที่เกิดจากสภาวะจิตสำรอกออกมา เป็นในรูปของความรู้ต่างๆทั้งที่เคยได้อ่าน, ได้ฟังและที่ไม่เคยได้อ่านหรือได้ฟังจากที่ไหนๆมาก่อน เกิดจากเหตุปัจจัยที่ทำไว้สะสมเป็นสัญญาและที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่

สภาวะมานะกิเลสจะเนียนละเอียดว่าทิฏฐิกิเลส เหตุเพราะ เมื่อสภาวะสักกายะทิฏฐิถูกทำลายไปหมดสิ้น วิจิกิจฉาถูกทำลายไปหมด มานะกิเลสจะเกิดขึ้นในรูปของความรู้ต่างๆ


ที่กล่าวว่า มานะกิเลส คือ เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา หรือเราเสมอกับเขา นี่เป็นสภาวะแบบหยาบของมานะกิเลส เมื่อสักกายะทิฏฐิถูกทำลายไปลงไป จะไม่มีสิ่งใดดีหรือเลวหรือเสมอกัน แต่สิ่งที่เห็น มีความแตกต่างไปตามเหตุปัจจัยที่ทำไว้

แท้จริงแล้ว ทุกสรรพสิ่งที่มาพบเจอกัน ทั้งเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกัน ล้วนมีเหตุปัจจัยร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีผลกระทบต่อจิตยามที่ผัสสะต่างๆเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่เคยรู้จักหรือไม่เคยพบกันมาก่อนก็ตาม เหตุมี ผลย่อมมี


ส่วนสภาวะมานะกิเลสที่ละเอียดขึ้นไปอีก คือ ยึดถือสิ่งที่รู้ ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า นี่คือ สัญญา นี่คือปัญญา นี่คือวิญญาณ

เหตุเพราะยังมีอุปทานในขันธ์ ๕ อยู่ ที่มีสภาวะละเอียดมากขึ้น ไม่ยึดสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก แต่ยึดสิ่งที่รู้ชัดภายใน โดยไม่รู้ว่ายึด เป็นเหตุให้ไม่สามารถมองเห็นสภาวะตามความเป็นจริงของสภาวะสัญญา และสภาวะของปัญญา


สัมปชัญญะเกิด

เมื่อตัวสัมปชัญญะเกิดในผู้ใดก็ตาม สภาวะของผู้นั้น จิตจะมีแต่การคิดพิจรณาเนืองๆ บางครั้งมีตัวรู้หรือความรู้ต่างๆผุดขึ้นมามากมาย เป็นความรู้แปลกๆที่ไม่เคยร่ำเคยเรียนหรือเคยได้ยินได้ฟังจากผู้ใดมาก่อน สภาวะนี้เกิดจากวิปัสสนูปกิเลส


สภาวะสัญญา

หากไม่รู้ ไปยึดติดกับสิ่งที่ผุดขึ้นมานี้ ย่อมคิดว่า สิ่งๆนี้เป็นปัญญา โดยตัวสภาวะที่แท้จริงของสิ่งที่ผุดขึ้นมา หรือความรู้ต่างๆที่หลั่งไหลออกมามากมาย จนจำไม่ได้ ถึงขนาดต้องจด สภาวะนี้เป็นสภาวะของสัญญา ไม่ใช่สภาวะปัญญาที่แท้จริง

นี่เป็นอีกหนึ่งสภาวะที่เนียนละเอียดของสภาวะมานะกิเลสที่มีอยู่ในขันธสันดาน เนืองนองอยู่ สภาวะถูกกระตุ้นตามเหตุปัจจัยให้เกิด เมื่อไม่รู้ชัดในสภาวะปัญญาที่แท้จริง ย่อมให้ค่าว่าสิ่งที่ถูกรู้หรือความรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นนี้เป็นตัวปัญญา


สภาวะปัญญา

สภาวะของปัญญญาที่แท้จริง มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น คือ การเห็นแจ้งไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงของสภาวะที่มีอยู่จริง จะเกิดขึ้นตั้งแต่สภาวะภังคญาณเป็นต้นไป จนถึงสภาวะสังขารุเปกขาญาณ

เมื่อเห็นสภาวะไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จะเห็นแต่โทษ, ภัย, ทุกข์ของการเกิด เมื่อรู้เห็นเช่นนี้เนืองๆ จิตจะเกิดความเบื่อหน่ายไม่ปรารถนาในการเกิดอีกต่อไป จิตเกิดการปล่อยวางโดยตัวของจิตเอง


วิริยะ หรือความเพียรจะเกิดขึ้นเอง มิใช่เพียรเพราะความอยากหรือฝีนใจทำ เป็นความเพียรที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แม้กระทั่งความศรัทธาและปัญญาล้วนไม่แตกต่างกัน เกิดตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่จากการพยายามทำให้เกิดขึ้น

ถ้ามีความพยายามแฝงอยู่ในการกระทำ เพื่อทำให้เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเพียงบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะปรมัตถ์ตามความเป็นจริงของสภาวะนั้นๆ สภาวะที่เกิดขึ้นจึงพบวิจิกิจฉาเนืองๆ เพราะความอยากเป็นเหตุ


เมื่อใดสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นทั้งภายนอกและภายในได้เมื่อไหร่ จึงจะรู้ชัดในสภาวะต่างๆตามความเป็นจริงทั้งภายในและภายนอก เมื่อนั้นตัวปัญญาจึงจะเกิดขึ้นเองตามสภาวะ เป็นเหตุให้สามารถแยกแยะได้ว่านี่ สัญญา นี่ปัญญา นี่วิญญาณ


สภาวะวิญญาณ

วิญญาณเป็นเพียงธาตุรู้ รู้ในผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น เหตุเพราะมีความไม่รู้อยู่ หรืออวิชชาครอบงำอยู่ เป็นเหตุให้ไม่รู้ชัดในเหตุของผัสสะต่างๆ ว่าผัสสะนั้นๆเกิดจากอะไร และอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด

ฉะนั้น เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน จึงมีอุปทานขันธ์ ๕ ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้น เกิดจากสภาวะสักกายะทิฏฐิหรือทิฏฐิกิเลสที่มีอยู่

สภาวะสัญญา มีแต่การสร้างเหตุของการเกิด เพราะยึดติดในสิ่งที่คิดว่ารู้เป็นตัวปัญญา ซึ่งเกิดจากอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ ถึงแม้ว่าความรู้ต่างๆจะเกิดขณะจิตเป็นสมาธิก็ตาม ล้วนเป็นเพียงสัญญาที่เกิดจากมานะกิเลสที่มีอยู่

สภาวะปัญญา มีแต่การดับที่ต้นเหตุของการเกิด

อย่างหยาบ คือ ดับที่การกระทำ

อย่างละเอียด คือ ดับกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ที่เป็นต้นเหตุของการกระทำ

ดับถึงที่สุดที่ไม่ต้องดับอีกต่อไป คือ ดับที่อนุสัยที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน


พระบาลีว่า "อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ"

มีปกติพิจรณาเห็นกายทั้งภายในและภายนอกอยู่เนืองๆ ได้แก่ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น ในสิ่งที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกอยู่เนืองๆ

สภาวะได้แก่

ภายใน รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นในกายและจิต(รูปนาม) เนืองๆ

ภายนอก รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นเนืองๆ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นให้แค่ดู แค่รู้ ภายใน รู้สึกนึกคิดยังไง รู้ไปตามนั้น แต่อย่านำความรู้สึกนึกคิดอยู่นั้น มาก่อให้เกิดการกระทำ

ความคิดห้ามไม่ได้ แต่ห้ามการกระทำได้ รู้สึกได้ คิดได้ เพราะยังมีการยึดมั่นถือมั่น ยังมีกิเลสอยู่ ยอมรับไปตามความเป็นจริง เหตุที่เป็นแบบนั้นเพราะยังมีเหตุปัจจัยกับสิ่งที่มากระทบหรือผัสสะที่เกิดขึ้น


พระบาลีว่า "สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา กายสฺมึ วิหรติ" มีปกติพิจรณาเห็นธรรม

คือ ความเกิดขึ้นภายในกายเนืองๆ ได้แก่ เห็นสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นภายในกาย (พลวอุทยัพพยญาณ)


พระบาลีว่า "วยธมฺมานุปสฺสี วา กายสฺมึ วิหรติ" มีปกติพิจรณาเห็นธรรม

คือ ความดับภายในกายอยู่เนืองๆ ได้แก่ เห็นสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นดับไป (ภังคญาณ)


พระบาลีว่า "สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา กายสฺมึ วิหรติ" มีปกติพิจรณาเห็นธรรม

คือ เห็นความเกิดขึ้นและดับไปในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในกายและจิต เห็นได้ดังนี้แล้วจะเห็นไตรลักษณ์ตามสภาวะตามความเป็นจริง

สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา (พลวอุทยัพพยญาณ)

ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน บังคับบัญชาไม่ได้ เห็นได้ดังนี้ จิตจะเกิดการปล่อยวางลงไปเอง เพียงรู้อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก (ตั้งแต่ภังคญาณจนถึงสังขารุเปกขาญาณ)


โย จ วสฺสสตํ ชีเว อปสฺสํ อุทยพฺพยํ

เอกาหํ ชีวิตํ ปสฺสโต อุทยพฺพยํ

ผู้ใดไม่ได้พิจรณาเห็นความเกิดและดับของรูปนาม ผู้นั้นถึงมีอายุ ๑๐๐ ปี ก็ไม่ประเสริฐเท่าบุคคลที่ได้พิจรณาเห็นความเกิดดับของรูปนาม แต่มีชีวิตอยู่ได้เพียงวันเดียวหรือขณะเดียวเลย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา -> สัญญา และ สัญญา -> ปัญญา


สัญญา มีแต่เหตุของการเกิด เป็นแดนเกิด

ปัญญา มีแต่ผลของการดับที่ต้นเหตุของการเกิด ดับการเวียนว่ายในวัฏสงสาร


ปัญญา -> สัญญา


ขณะที่กำลังคิดพิจรณาสภาวะใดๆก็ตาม อาจจะมีตัวรู้เกิดขึ้น เป็นความรู้ที่อาจจะเคยอ่านหรือเคยฟังมา หรือแม้กระทั่งความรู้แปลกๆที่ไม่เคยอ่านหรือเคยฟังมาก่อน

เมื่อมีสภาวะนี้เกิดขึ้น แล้วมนสิการไม่ดี เกิดการยึดติดในรู้ที่เกิดขึ้น แล้วนำรู้นั้นๆไปสร้างเหตุ ทั้งโน้มน้าว ทั้งชักชวนให้ผู้อื่นเชื่อถือ ในสิ่งที่คิดว่ารู้

สภาวะที่เกิดขึ้นนี้ แทนที่จะเป็นปัญญา ที่เกิดขึ้นจากการรู้เห็นตามความเป็นจริง สภาวะที่เรียกว่าปัญญานี้จะกลายเป็นสัญญาไปทัน เกิดจากความวิปลาสที่มีอยู่ วิปลาสนี้เกิดจากการเอาความมีตัวตนที่มีอยู่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น

แล้วนำสิ่งที่รู้ไปสร้างเหตุขึ้น เมื่อมีบุคคลไม่เห็นด้วย ย่อมมีวิวาทะแก่กันและกัน หรือมีบุคคลเห็นด้วย ย่อมมีแต่เหตุของการพอกพูนกิเลส เป็นธรรมดา

เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล ปัญญาจึงกลายเป็นสัญญาเพราะเหตุนี้ เนื่องจากการกระทำเช่นนี้ มีเหตุของการเกิด เป็น การเวียนว่ายในวัฏสงสารต่อไป


สัญญา -> ปัญญา

ในทางตรงกันข้าม ขณะที่กำลังคิดพิจรณาสภาวะใดๆก็ตาม อาจจะมีตัวรู้เกิดขึ้น เป็นความรู้ที่อาจจะเคยอ่านหรือเคยฟังมา หรือแม้กระทั่งความรู้แปลกๆที่ไม่เคยอ่านหรือเคยฟังมาก่อน แล้วมนสิการไว้ในใจ

ไม่เอาความมีตัวตนที่มีอยู่(ความรู้สึกนึกคิด) เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น แค่ดู แค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เกิดความเบื่อหน่ายในการเกิด เห็นโทษของการเกิด เห็นทุกข์การเกิด เป็นเหตุโทษที่เกิดจากการยึดมั่นถือมั่น

เหตุมี ผลย่อมมี สัญญาจึงกลายเป็นปัญญาเพราะเหตุนี้ เนื่องจากปัญญาที่เกิดขึ้นมุ่งดับที่ต้นเหตุ มีความไม่เกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกภายนอก กับโลกภายใน


โลกภายนอก

ได้แก่ ทุกๆสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดจากเหตุ และดับสิ้นไปลงไปเองตามเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น ไม่เสื่อมสิ้นด้วยภัยจากธรรมชาติ ก็เสื่อมสิ้นด้วยน้ำมือคน ไม่ก็เสื่อมสิ้นไปตามเหตุปัจจัยของสังขาร(เปลือก) ของสิ่งๆนั้น

โลกภายใน

ได้แก่ กายและจิต

ทุกข์, สุข ล้วนเกิดจากความถูกใจกับไม่ถูกใจ เหตุเกิดจากอุปทานขันธ์ ๕ ที่ยังมีอยู่

ทุกข์,สุข ล้วนไม่เที่ยงแปรเปลี่ยนตลอดเวลา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จะไปบังคับบัญชาให้เกิด ให้หายหรือให้เป็นไปตามที่ต้องการไม่ได้เลย


สิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของสิ่งใด ล้วนเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ของสิ่งๆนั้นหรือสภาวะนั้นๆ


สิ่งที่เกิดขึ้น หรือที่เรียกว่า ผัสสะต่างๆที่มากระทบ ทั้งภายนอกและภายใน ทั้งที่มีสภาวะปรากฏเป็นรูปธรรมให้เห็นและที่ไม่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม แต่สามารถรู้ได้ทางจิต

ทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน มีสิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนๆกัน คือ ไตรลักษณ์


สิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก

ซึ่งมีผลต่อจิต ทำให้จิตกระเพื่อม เหตุที่เกิดขึ้น คือ ผลของเหตุในอดีตที่ทำไว้ จะด้วยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ซึ่งผลของเหตุที่ได้กระทำไว้นั้น มาส่งผลให้ได้รับ ในรูปของเหตุที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะแต่ละขณะ


สิ่งที่เกิดขึ้นภายใน

เกิดขึ้นจากการขัดเกลาจิต โดยการฝึกจิตให้มีความตั้งมั่นก่อน เพื่อให้ฐานของจิตมีความมั่นคง ไม่ซัดส่ายไปมา การฝึกเช่นนี้ ได้แก่ การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ

เมื่อฝึกจนสามารถรู้ชัดว่า ลักษณะอาการที่เกิดเช่นใดคือ อาการของจิตตั้งมั่น จึงเพิ่มสติลงไป โดยการปรับอินทรีย์ ระหว่าง สติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์

เมื่อทำการปรับสติกับสมาธิ ซึ่งอาจจะมีส่วนใดส่วนหนึ่งมากไปบ้าง หรือหย่อนไปบ้าง สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะ ให้หมั่นสังเกตุสภาวะแต่ละสภาวะ แค่ดู แค่รู้ ไม่ต้องไปจดจ้องสภาวะ

เมื่อสติกับสมาธิเกิดความสมดุลย์ในระดับหนึ่ง ตัวสัมปชัญญะจะเกิด เป็นเหตุให้เกิดสภาวะความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ทำให้เกิดสภาวะรู้ชัดภายใน กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เป็นสภาวะจิตเห็นจิต

เมื่อสภาวะนี้เกิดขึ้น จิตจะเกิดการคิดพิจรณาขึ้นมาเอง เหตุเนื่องจาก สติไปขุดคุ้ยสัญญาต่างๆขึ้นมา ฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องไปยกธรรมใดๆขึ้นมาคิดพิจรณา จิตจะคิดพิจรณาด้วยตัวของจิตเอง ตามสภาวะที่จิตเป็นอยู่ ณ ขณะนั้นๆตามความเป็นจริง

การที่นำสิ่งใดที่คิดพิจรณา สภาวะที่เกิดขึ้น ล้วนมีความเป็นตัวตน(ความคิดเห็นของตน) ที่ยังมีอยู่เข้าไปแทรกแซงสภาวะ เป็นเหตุให้ สภาวะที่เกิดขึ้นยังวิปลาสอยู่ ยังไม่ใช่การรู้เห็นตามความเป็นจริงโดยตัวของจิตเอง

เหตุมี ผลย่อมมี

ไม่ว่าจะจิตคิดพิจรณาขึ้นมาเอง หรือ นำสิ่งอื่นมาคิดพิจรณา ล้วนเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยที่ทำไว้ และที่กำลังทำให้เกิดขึ้นมาใหม่ ฉะนั้น เมื่อใครชอบยกธรรมะหรือสิ่งใดๆมาคิดพิจรณา จึงไม่มีการห้าม เนื่องจาก ทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุมี ผลย่อมมี

เมื่อผัสสะมากระทบ ไม่ว่าจะถูกหรือผิด จะดีหรือร้ายในความรู้สึกนึกคิด ให้สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น รู้สึกนึกคิดอย่างไร รู้ไปตามนั้น แต่อย่าปล่อยให้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น เป็นแรงผลักดันในการสร้างเหตุออกไป เพียงมนสิการไว้ในใจ

วิธีการนี้ เป็นการดับที่ต้นเหตุของการเกิด คือ ดับที่ตัวเราเอง ส่วนเหตุภายนอก เกิดแล้วก็ดับหายไปเองตามเหตุปัจจัย แล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่ ตราบใดที่ยังมีเหตุปัจจัยอยู่ ย่อมเกิด-ดับ อยู่อย่างนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีเราอยู่บนโลกใบนี้ก็ตาม

สภาวะนี้ก็มีคำเรียก ทุกๆสภาวะมีคำเรียก ทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเป็นบัญญัติซ้อนปรมัตถ์ ไม่ว่าจะทำด้วยการตั้งใจสมาทานหรือไม่สมาทานก็ตาม ซึ่งแล้วแต่เหตุปัจจัยที่ทำมา

การกระทำข้างต้น ยังเป็นโลกิยศีล เพราะยังมีอาสวะ แต่ข่มอาสวะนั้นๆไว้ ไม่ให้เกิดการกระทำลงไปเพราะกิเลส หรือความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

อินทรียสังวรศิล

“ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ยึดถือซึ่งนิมิต ไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไหลไปสู่ภิกษุนั้น ผู้ไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรจักขุนทรีย์นั้น ย่อมรักษาซึ่งจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสังวรในจักขุนทรีย์,

ได้ยินด้วยโสตะแล้ว …. ได้ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว …. ได้ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว …. ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว …. ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยึดถือซึ่งนิมิต ย่อมถึงความสังวรในมนินทรีย์

(ความระวัง ชื่อว่า ความสังวร (ตัวใหญ่) ความสังวรนี้ เป็นชื่อของการไม่ล่วงละเมิดที่เกิดทางกายและทางวาจา)


โลกิยศีล

หีนศิล

๑. ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ หรือวิมังสาขั้นต่ำ

๒. ศีลที่บุคคลสมาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ยศ

๓. ศีลที่หม่นหมองด้วยบาปธรรมทั้งหลาย มีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นต้น อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล

๔. ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการภวสมบัติและโภคสมบัติ ด้วยอำนาจแห่งตัณหา



มัชฌิมศีล

๑. ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไป ด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลาย มีฉันทะเป็นต้น

๒. ศีลที่บุคคลสมาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ผลบุญ

๓. ศีลที่ไม่หม่นหมองด้วยบาปธรรมทั้งหลาย

๔. ศีลที่บุคลลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับตน

โลกิยศีล ได้แก่ ศีลที่ประกอบด้วยอาสวะ แม้ทุกประเภท นำมาซึ่งภพชั้นวิเศษ และเป็นเหตุแห่งอันออกจากภพด้วย สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

“วินัย เพื่อประโยชน์แก่ความสังวร

ความสังวร เพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อนใจ

ความไม่เดือดร้อนใจ เพื่อประโยชน์แก่ความปราโมช

ความปราโมช เพื่อประโยชน์แก่ปีติ

ปีติ เพื่อประโยชน์แก่ความสงบใจ

ความสงบใจ เพื่อประโยชน์แก่ความสุข

ความสุข เพื่อประโยชน์แก่สมาธิ

สมาธิ เพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ ได้แก่ ปัจจัยปริคคหญาณ ในญาณ ๑๖, นิพพิทา ได้แก่ นิพพิทาญาณ, วิราคะ ได้แก่ มัคคญาณ, วิมุตติ ได้แก่ผลญาณ, วิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ

ยถาภูตญาณทัสสนะ เพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา

นิพพิทา เพื่อประโยชน์แก่วิราคะ

วิราคะ เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ

วิมุตติ เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ

วิมุตติญาณทัสสนะ เพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน

การหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนี้ใด

การพูดวินัย ก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์

การปรึกษาวินัย ก็มีการหลุดพ้นจากแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์

การเข้าไปอิงวินัย ก็มีการหลุดพ้นจากแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์

การเงี่ยโสตลงฟังวินัย ก็มีการหลุดพ้นจากแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์
วิ. ป. (ไทย) ๘/๓๖๖/๕๕๒



โลกุตตรศีล

ปณีตศีล

เป็น ศิลชั้นโลกุตระ เป็นศิลที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ได้แก่

๑. ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลายชั้นประณีต

๒. ศีลที่บุคคลสมาทาน เพราะ อาศัยอริยภาพว่า ศิลนี้เป็นสิ่งที่ควรทำ

๓. ปารมิตาศีลที่พระโพธิสัตว์ ประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลาย

โลกุตตรศีล ย่อมนำมาซึ่งการออกจากภพ และเป็นภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณด้วย

บัญญัติต่างๆ ทีไว้เพื่อเป็นที่ระลึก เพื่อรู้ เพื่อศึกษา แต่มิใช่ไว้เพื่อการยึดติดแต่อย่างใด สภาวะจะมีชื่อเรียกว่าสภาวะใด สภาวะนั้นๆย่อมปรากฏแจ้งชัดอยู่อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ จะมีชื่อหรือไม่มีชื่อไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งที่สำคัญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต

และที่สำคัญอีกสิ่ง คือ เหตุที่กำลังสร้างขึ้นมาใหม่ นิ่งคือดับ ขยับเป็นเกิด สร้างเพื่อดับหรือสร้างเพื่อเกิด เลือกเอาเอง

“ภิกษุทั้งหลาย กายอันนี้ของคนเขลา ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ประกอบไปด้วยตัณหาเป็นไปแล้ว (คือ เกิดขึ้น) ด้วยเหตุฉะนี้ กายดังกล่าวนี้ด้วย นามรูปกายนอกด้วย ทั้งสองนั้นเป็นทวยะ

(คือเป็นคู่กันอย่างนี้ เพราะ อาศัยทวยธรรม คือ อายตนะ ๖ นั้นแล ผัสสะก็เกิดขึ้น คนเขลาถูกธรรมมีผัสสะเป็นต้นอย่างไรเล่า กระทบเอาแล้ว ย่อมเสวยสุขและทุกข์) ดังนี้เป็นอาทิ
สํ. นิ. (ไทย) ๑๖/๑๙/๓๒

“ในธรรมเหล่านั้น อวิชชาเป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ฯลฯ ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา

ความไม่รู้ในปุพพันตะ (เงื่อนต้น) ความไม่รู้ในอปรันตะ (เงื่อนปลาย)

ความไม่รู้ในปุพพันตาปรันตะ (ทั้งเงื่อนต้นและเงื่อนปลาย)

ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่เป็นอทิปปัจจยตา (คือ กลุ่มของเหตุ) และปฏิจจสมุปปันนธรรม (กลุ่มผล) นี่เรียกว่า อวิชชา” ดังนี้
อภฺิ สงฺ .. (ไทย) ๓๔/๑๑๐๖/๒๕๗

เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด ไม่มีคนจูง บางทีก็เดินไปตามทาง บางทีก็เดินไปนอกทางบ้าง ฉันใดก็ดี คนเขลาผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ไม่มีผู้ชักนำ บางคราวก็ทำบุญ บางครวก็ทำกรรมที่ไม่ใช่บุญบ้าง ฉันนั้น ต่อเมื่อใด เขารู้จักธรรมแล้วตรัสรู้สัจจะได้ เมื่อนั้น เพราะอวิชชาสงบไป เขาจึงจักเป็นอุปสันตบุคลลไปได้

เป็นวิตถารกถา ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2011, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิวิปลาส

เหตุที่พระผู้มีพระภาค ทรงให้ครองผ้า ๓ ผืน ทรงสอนให้เป็นผู้มีความสันโดษในการใช้ชีวิต แม้กระทั่งความเป็นอยู่ แค่มีผ้าไว้ปกปิดร่างกายกันอุจจาดตาก็พอแล้ว

ไม่ควรสร้างถาวรวัตถุใดๆ ให้เป็นเครื่องกังวลและถ่วงเวลาปฏิบัติ แค่มีที่พักพิงกันแดด กันฝน มีห้องน้ำแค่พออาศัยขับถ่ายจัดการกับกิจส่วนตนตามเหตุปัจจัยก็พอแล้ว

ไม่ควรสะสมวัตถุใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงชีพ เพราะพระภิกษุขึ้นชื่อว่า มีอาชีพเป็นผู้ขออยู่แล้ว ขอแค่พอเลี้ยงชีพตน เพื่อมีชีวิตอยู่ประกอบกิจในกิจที่ควรทำ เรื่องทางโลก ปล่อยให้เป็นเรื่องของทางโลก

ไม่คลุกคลีหมู่คณะ จะมีแต่ทิฏฐิเป็นเหตุ เพราะตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ทิฏฐิย่อมเป็นทิฏฐิวิปลาสอยู่ เนื่องจากยังมีอุปทานขันธ์ ๕ เป็นเครื่องอาศัยอยู่


ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง ย่อมแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่


ภายนอก ไม่ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นก็ตาม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เพราะสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัยของสิ่งๆนั้น มีเกิด ย่อมมีดับไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆเอง จงอย่าได้นำทิฏฐิที่มีอยู่ลงไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ผู้ใดมีทิฏฐิอย่างไร นั่นคือเหตุของเขา หน้าที่เรามีเพียงแก้ที่ตัวเอง ไม่ใช่ไปแก้นอกตัว เพราะตราบใดที่ยังไม่แจ้งในอริยสัจ ๔ ทิฏฐิที่มีอยู่ ยังเป็นทิฏฐิวิปลาส เนื่องจากยังมีความเป็นตัวตนของตนอยู่(สักกายะทิฏฐิ)

หากแม้นรู้แล้ว ต้องรู้ให้จบสิ้น เพราะที่ว่ารู้แล้วยังมีเชื้อของความวิปลาสอยู่ ยังไม่หมดสิ้น(มานะกิเลส) นี่คือกิจที่ควรรู้และควรทำ

ภายใน หมั่นเจริญสมถะ(การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ) - วิปัสสนา (สัมมาสมาธิ ได้แก่ รู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม) ในสติปัฏฐาน ๔ (มรรค)

เมื่อดำเนินตามมรรคได้ตามมรรควิถี ย่อมมีพระนิพพานเป็นแดนเกิด นั่นคือ การรู้แจ้งในอริยสัจ ๔


การรู้แจ้งอริยสัจ ๔

เมื่อรู้แจ้งอริยสัจ ๔ ย่อมรู้แจ้งในสภาวะของพระนิพพานที่มีอยู่จริง ย่อมรู้แจ้งเหตุที่เป็นต้นเหตุของแดนเกิดในวัฏสงสาร คือ สภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่จริง

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น ว่าผัสสะต่างๆนั้นเกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะผัสสะ เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะสังขาร เป็นเหตุให้รู้ว่าเหตุที่ทำให้มีการเวียนว่ายตาย-เกิดในวัฏสงสาร เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะสังขาร เป็นเหตุรู้แจ้งในสภาวะเวทนา เป็นเหตุให้รู้ว่า ความยินดี ยินร้าย หรืออุเบกขา เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะเวทนา เป็นเหตุรู้แจ้งในสภาวะสัญญา เป็นเหตุให้รู้ว่า บัญญัติต่างๆ เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะสัญญา เป็นเหตุให้รู้แจ้งในสภาวะปัญญา เป็นเหตุให้รู้ว่า ปัญญา เกิดจากอะไรเป็นมูลเหตุ

จึงเป็นที่มาของคำกล่าวว่า พระะอรหันต์เป็นผู้มากด้วยปัญญาเพราะเหตุนี้ เนื่องจากสภาวะที่เหลืออยู่เป็นเรื่องของสภาวะปัญญาล้วนๆ

เพียงแต่กิจที่ทำอยู่ปกติ ได้แก่ สมถะ(การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ) - วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ จนกว่าจะสิ้นภพ จบพรหมจรรย์


ส่วนคำกล่าวที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งด้วยปัญญา หรือ พระอรหันต์รู้แจ้งด้วยปัญญา หรือจะรู้ด้วยอะไรๆก็ตาม ล้วนกล่าวตามทิฏฐิที่มีอยู่


เหตุของการเกิดทิฏฐิวิปลาส

เกิดเนื่องจากมีสัญญาวิปลาสเป็นเหตุ ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่คิดว่ารู้ (ความรู้สึกนึกคิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ถูกรู้หรือสิ่งที่เกิดขึ้น)


สภาวะที่แสดงออกของทิฏฐิวิปลาส

การยึดมั่นถือมั่นแนวทางการปฏิบัติ

มีความยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องเป็นเช่นนี้ๆจึงจะถูกต้อง การแสดงออกจึงมีลักษณะการโน้มน้าว ชักชวน โฆษณาชวนเชื่อสารพัดทุกวิธีการและทุกรูปแบบที่มุ่งพยามจะทำให้เชื่อในสิ่งที่ตนยึดติดอยู่

เมื่อยังมีการยึดติด ย่อมมีการแสดงออกถึงการกล่าวเบียดเบียนแนวทางปฏิบัติอื่นๆที่ผิดไปจากสิ่งที่ตนรู้ ทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางความรู้สึกนึกคิดบ้าง


การยึดมั่นถือมั่นในครูอาจารย์

มีความยึดมั่นถือมั่นว่า คำสอนเช่นนี้ๆจึงจะถูกต้อง แล้วนำสิ่งที่ยึดอยู่ สร้างเป็นเหตุให้เกิดขึ้น


การยึดมั่นถือมั่นในคำเรียกต่างๆ

มีความยึดมั่นว่า คำเรียกเช่นนี้ๆ คือสภาวะที่เกิดขึ้น(สิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ถูกรู้) เช่นนี้ๆ แล้วนำสิ่งที่ยึดอยู่ สร้างเป็นเหตุให้เกิดขึ้น


การยึดมั่นถือมั่นในสัญญา
มีความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งที่รู้นี้ๆเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง แล้วนำสิ่งที่ยึดอยู่ สร้างเป็นเหตุให้เกิดขึ้น


การสร้างเหตุเช่นนี้ ล้วนเป็นการสร้างเหตุที่เป็นแดนเกิดของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ไม่ใช่การสร้างเหตุของพระนิพพานเป็นแดนเกิด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2011, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มุมมองเหรียญมี ๒ ด้านและ ๓ ด้าน


เหรียญมี ๒ ด้าน

ที่มาของคำกล่าวว่า "เหรียญมี ๒ ด้าน" เป็นคำเปรียบเทียบอุปมาอุปมัยว่า คนเราล้วนมีดีและชั่วอยู่ในตัว เปรียบเสมือนเหรียญที่มี ๒ ด้าน

เมื่อไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า คน, สัตว์ ตลอดจนสิ่งของทั้งหลายว่า ทุกๆสรรพสิ่งล้วนมี ๒ ด้านอยู่ในตัวเอง คือ ดีกับไม่ดี แม้กระทั่งตัวเราเองก็ไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด


เป็นเหตุให้

เวลามองผู้อื่น เหตุที่มองว่าดี ดีเพราะถูกใจตัวเอง
เหตุที่มองว่าไม่ดี ไม่ดี เพราะไม่ถูกใจตัวเอง

เหตุเนื่องจากสักกายทิฏฐิที่มีอยู่ จึงยึดในความเห็นของตนเป็นหลัก ไม่ใช่ตามความเป็นจริง ที่มีอยู่จริงของสภาวะนั้นๆ หรือของสิ่งๆนั้น ความรู้สึกหรือกิเลสที่เกิดขึ้น เป็นตัวบดบังสภาวะที่มีอยู่จริงของสภาวะนั้นๆ



เหรียญมี ๓ ด้าน

ที่มาของคำกล่าวว่า "เหรียญ มี ๓ ด้าน" เป็นเรื่องความไม่รู้ที่มีอยู่ ไม่รู้ว่าสิ่งที่มากระทบ (สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต) หรือผัสสะที่เกิดขึ้น ทำไมมีผลให้จิตกระเพื่อม ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกชอบ, ชัง หรือเฉยๆ (อุเบกขา) ไม่ว่าผัสสะที่เกิดขึ้นนั้นๆ หรือสิ่งที่มากระทบ เป็นสิ่งที่รู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม


เหตุมี ผลย่อมมี

เมื่อมีสิ่งที่มากระทบ หรือผัสสะเกิดขึ้น เหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกชอบ, ชัง หรือเฉยๆ (อุเบกขา) มี ๒ สาเหตุ ได้แก่

๑. เนื่องจากมีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกชอบหรือชัง

๒. เนื่องจากไม่มีเหตุปัจจัยกับสิ่งๆนั้น เมื่อผัสสะเกิดขึ้น จึงไม่มีความรู้สึกชอบและชัง (อุเบกขา)


เมื่อไม่รู้ชัดในเรื่องของเหตุและผลตามความเป็นจริง เป็นเหตุให้เกิดการกระทำลงไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ

เหตุมี ผลย่อมมี ภพชาติเกิดขึ้นเนืองๆเพราะเหตุนี้ เพราะความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น การเวียนว่ายในวัฏสงสารจึงไม่มีที่สิ้นสุด


เรื่องเหรียญ มี ๒ ด้าน เป็นเรื่องของดีและไม่ดี ที่มีอยู่ในตัวของทุกๆคน และทุกๆสรรพสิ่ง เป็นเหตุที่มาของคำว่า "ในดีมีเสีย ในเสียมีดี"

เรื่องเหรียญ มี ๓ ด้าน เป็นเรื่องของ เหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2012, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานดิบและนิพพานสุก

ที่มาของนิพพานดิบและนิพพานสุก


"ดูกรอานนท์ อันว่าความสุขในพระนิพพานนั้นมี ๑ ประเภท คือ ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่ได้เสวยสุขในพระนิพพาน นั้นได้ชื่อว่า พระนิพพานดิบ

เมื่อตายไปแล้วได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้นชื่อว่า พระนิพพานสุก พระนิพพานมี ๒ ประเภทเท่านี้ นิพพานโลกีย์ นิพพานพรหม เป็นนิพพานหลง ไม่นับเข้าไปในที่นี้"

นำมาจาก http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=138




นิพพาน คือ ความดับภพ


ท่านพระสารีบุตรเถระ เคยเล่าถึงการเข้าผลาสมาบัติของท่าน ให้พระอานนท์เถระฟังว่า

“นี่แน่อาวุโสอานนท์ สมัยหนึ่ง ผมอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้กรุงสาวัตถีนี้แหละ ณ ป่าอันธวันนั้น ผมได้เข้า(ผลาสมาบัติ) สมาธิ มีรูปแบบโดยอาการที่ผมมิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในดินว่าดิน

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในน้ำว่าน้ำ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในไฟว่าไฟ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในลมว่าลม

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาสานัญจายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในวิญญาณัญจายตนะ ว่าวิญญาณัญจายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในอากิญจัญญายตนะ ว่าอากิญจัญญายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในโลกนี้ว่าโลกนี้

มิได้เป็นผู้มีความหมายรู้ในโลกอื่นว่าโลกอื่น

แต่ก็เป็นผู้มีความหมายรู้”


พระอานนท์เถระถามว่า

“แต่แล้วท่านพระสารีบุตร ได้เป็นผู้มีความหมายรู้อย่างไร ในเวลานั้น?”

ท่านพระสารีบุตร เล่าต่อไปว่า

อาวุโส เกิดความหมายรู้เพียงอย่างหนึ่งแก่ผมว่า “ภวนิโรโธ นิพฺพานํ ภวนิโรโธ นิพฺพานํ – ความดับภพ คือ นิพพาน, ความดับภพ คือ นิพพาน” (และ) ความหมายรู้เพียงอีกอย่างหนึ่งก็ดับไป,

อาวุโส เปรียบเหมือนเมื่อไฟติดสะเก็ดไหม้อยู่ เกิดเปลวไฟเพียงวาบหนึ่ง (และ) เปลวไฟอีกวาบหนึ่งก็ดับไป แม้ฉันใด,

อาวุโส ความหมายรู้เพียงอย่างหนึ่ง เกิดแก่ผมว่า “ความดับภพ คือ นิพพาน, ความดับภพ คือ นิพพาน” (และ) ความหมายรู้อีกอย่างหนึ่งก็ดับไป ฉันนั้นแล

แต่ในเวลานั้น ผมมีความหมายรู้ว่า “ภวนิโรโธ นิพฺพานํ – ความดับภพ คือ นิพพาน”
อํ. ทสก. ๒๔/๑๑ และดู – มโนรถปูรณี, ตติยภาค, หน้า ๓๖๒

เราทุกคนผู้แบกอุปทานขันธ์ ๕ นั้น ท่านเรียกว่า “ภารหาโร – ผู้แบกภาระ หรือผู้นำไปซึ่งของหนัก”

ซึ่งต้องนำ ต้องแบกภาระหนัก ด้วยการบริหารอยู่เป็นนิตย์ มิได้หยุดพัก ตั้งแต่เกิดมาจนสิ้นชีวิตตามอายุขัย และภายหลังมรณะในชาติ ในภพนั้นๆ

แล้วไปเกิดในชาติ ในภพอื่นๆต่อไปอีก ก็ยึดถือขันธ์ ๕ แบกภาระต่อไปอีก ท่านจึงกล่าวว่า

ภาราทานํ ทุกขํ โลเก – การถือ คือ แบกภาระหนักไว้ เป็นทุกข์ในโลก”

กล่าวคือ “นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา – ไม่มีทุกข์ทั้งหลายใดๆ เสมอด้วยเบญจขันธ์
ขุ. ธ, ๒๕/๔๒

ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ภารหาโร จ ปุคฺคโล

ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ.

นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย

สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห นิจฺฉาโต ปริพฺพุโต.
สํ. ขนฺธ. ๑๗/๓๒-๓๓ สารตฺถปกาสินี, ทุติยภาค, น. ๓๒๑-๓๒๒

ขันธ์ ๕ เป็นภาระหนักแท้ และบุคคลผู้แบกภาระหนัก การแบกภาระหนัก (ขันธ์ ๕) ไว้ เป็นทุกข์ในโลก

การปลงภาระหนักเสียได้ เป็นความสุข ท่านผู้ปลงภาระหนักได้แล้ว ไม่แบกภาระ(ขันธ์) อื่นไว้อีก

ถอนตัณหาพร้อมด้วยอวิชชา อันเป็นรากเหง้าได้เสียแล้ว เป็นผู้ไม่หิว(ด้วยตัณหา) ปรินิพพานแล้ว



นิพพานดิบ ได้แก่ ดับภพชาติในปัจจุบันชาติ ๑ (ดับแบบหยาบ)

นิพพานสุก ได้แก่ ดับภพชาติของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ๑ (ดับแบบละเอียด)



ดับภพชาติในปัจจุบัน

ได้แก่ การดับที่ต้นเหตุ (ตนเอง) ที่กำลังจะสร้างขึ้นมาใหม่ ณ ขณะปัจจุบันนั้นๆ คือ ดับเหตุที่ปัจจุบัน (ภพ ชาติ)



ดับภพชาติของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

ได้แก่ ภายนอก สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น หมั่นรู้ชัดภายในกายและจิต(สมถะและวิปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔) สภาวะที่เกิดขึ้นภายในทั้งหมด ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น

เมื่อใดอินทรีย์สมดุลย์ สภาวะการรู้แจ้งในอริสัจ ๔ จะเกิดขึ้นเอง เมื่อแจ้งในสภาวะของพระนิพพาน ทิฏฐิกิเลส วิจิกิจฉากิเลส สีลัพตปรามาสจะถูกประหานเป็นสภาวะสมุทเฉจประหานหมดสิ้นไม่เหลือเชื้อ (นิพพานสุก)

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะพระนิพพาน ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะนิพพานที่มีอยู่จริง เป็นเหตุให้รู้ชัดว่า ผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคนนั้น เกิดจากเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดขึ้น การกระทำที่เหลือทั้งหมดจึงมุ่งดับที่ต้นเหตุ ที่เป็นเหตุของการเกิดเวียนว่ายในวัฏสงสาร ได้แก่ ดับที่ตนเอง

ที่สำคัญคือ สามารถนำสภาวะของพระนิพพานตามความเป็นจริง มาพูดให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ และสามารถทำตามได้ ไม่ต้องใช้คำอุปมาอุปมัย หรือต้องนำสมมุติบัญญัติต่างๆมาเปรียบเทียบ



อุปปันนะ

อุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น มีหลายประเภท
เรื่อง อุปปันนะ หลายประเภทนี้ มีกล่าวไว้ที่อื่น เช่น ขุ. สุ. อ. (บาลี) ๑/๑/๔-๗

อุปปันนะ ๔

[๘๓๒] ถามว่า ด้วยคำกล่าว เป็นต้นว่า "กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิดขึ้น นั่นแล ก็ไม่เกิดขึ้น" ดังนี้นั้น เป็นการแสดงถึง การละอะไร?

ตอบว่า เป็นการแสดงถึง การละกิเลสทั้งหลายที่เป็น ภูมิลัทธะ (ตัวใหญ่) (ได้ภูมิพื้น-ภูมิพื้น คือ ฐานที่ตั้งแห่งความเป็นไป)


ถามว่า แต่ว่ากิเลสทั้งหลายที่ได้ภูมิพื้นเหล่านั้น เป็นอดีต หรืออนาคต หรือว่า เป็นปัจจุบัน

ตอบว่า กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น คือ ที่เขาเรียกว่า ภูมิลัทุปปันนะ (คือ บังเกิดขึ้นโดยภูมิพื้น) นั่นเอง


[๘๓๓] เพราะว่า สิ่งที่เป็น อุปปันนะ (คือ สิ่งเกิดขึ้น) มีหลายประเภท โดยเป็น

๑. วัตตมานะ กำลังเป็นไปอยู่

๒. ภูตาปคตะ เกิดแล้วจากไป

๓. โอกาสกตะ โอกาสอันกรรมทำให้

๔. ภูมิลัทธะ ได้ภูมิพื้น


ในอุปปันนะทั้งหลายนั้น

๑. สิ่งที่กล่าวว่า มีองค์ประกอบพร้อมด้วย (ขณะทั้ง ๓ คือ) อุปปาทะ (ความเกิดขึ้น) ๑ ชรา (ความเสื่อมโทรม) ๑ และภังคะ (ความแตกดับ) ๑ แม้ทุกอย่าง เรียกว่า วัตตมานุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ที่กำลังเป็นไปอยู่

๒. กุศลและอกุศล ที่เสวยรสของอารมณ์ แล้วดับไป ซึ่งเรียกได้ว่า อนุภูตาปคตะ (คือ เสวยแล้วจากไป) ก็ดี

กุศลและอกุศล อันเป็นสังขตะที่ยังเหลือ ซึ่งมาถึงขณะ ๓ มีอุปปทาขณะเป็นต้น โดยลำดับ แล้วดับไป อันเรียกได้ว่า ภูตาปคตะ (คือ เกิดแล้ว จากไป) ก็ดี

เรียกว่า ภูตาปคตุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วจากไป


หมายเหตุ :-

การรู้ชัดภายในกายและจิต (กาย, เวทนา, จิต, ธรรม) รู้ขณะเริ่มเกิด-อุปปาทะ ๑ รู้ขณะที่กำลังเกิด-ฐีติ ๑ รู้ขณะดับ-ภังคะ ๑ (สภาวะที่กำลังเกิดขึ้น มีองค์ประกอบคือ สติ สัมปชัญญะ และสมาธิที่มีกำลังแนบแน่นในระดับหนึ่ง ไม่ใช่ขณิกสมาธิ

ส่วนโอภาส จะเกิดขึ้นตามกำลังความแนบแน่นของสมาธิ เพราะเมื่อรู้สิ่งที่เป็นมรรค และสิ่งที่ไม่เป็นมรรค โอภาสจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อสภาวะที่กำลังเกิดขึ้นแต่อย่างใด)
วลัยพร



๓. กรรมที่กล่าวแล้วโดยนัยว่า "กรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด เป็นกรรมที่บุคคลผู้นั้นทำไว้แล้ว ในกาลก่อน" ดังนี้เป็นต้น

แม้เป็นอดีต ก็เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น โดยมีโอกาสกรรมทำให้ เพราะ ห้ามวิบากอื่นแล้ว ทำโอกาส (ให้) แก่วิบากของตนเอง

และอนึ่ง วิบากที่มีโอกาส อันกรรมทำให้แล้ว แม้เป็นวิบากที่ยังไม่เกิด เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ (เหมือนกัน) เพราะ เมื่อกรรมทำโอกาสให้อย่างนั้นแล้ว ก็เกิดขึ้นโดยแน่นอน


หมายเหตุ :-

อดีตส่งผลมาปัจจุบัน สิ่งที่ทำในปัจจุบัน ส่งผลในอนาคต

เหตุของในอดีตที่ส่งผลมาปัจจุบัน ยังยอมรับไม่ได้ มีตอบโต้ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข สภาวะของเหตุนั้นยังไม่จบ

ส่วนผลของเหตุที่สร้างขึ้นที่เพิ่งผ่านมา ส่งผลให้ได้รับในอนาคต คือสิ่งที่เกิดขึ้นณ ปัจจุบันขณะ

หากยังยอมรับไม่ได้ เหตุจะย้อนวนกลับไปที่เหตุในอดีตอีก วนไปวนมา กลับไปกลับมาแบบนี้ จนกว่าสภาวะจะจบลงด้วยตัวสภาวะเอง คือ การยอมรับ แก้ที่ตัวเอง ไม่โทษนอกตัว หยุดสร้างเหตุ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่


ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

คำพูดประโยคนี้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง แบบหยาบๆ คือ วางลงได้ชั่วขณะจากผัสสะที่มากระทบ เป็นการฝึกจิตของตัวเอง จากสภาวะการยึดติดในตัวตน เขา, เราที่ยังมีอยู่


เหตุมี ผลย่อมมี

เนื่องจาก เมื่อมีการแนะนำผู้อื่นในเรื่องการปล่อยวาง ในดีมีเสีย ในเสียมีดี ถ้าผู้แนะนำได้ให้การแนะนำเช่นนั้น ผู้แนะนำจะเจอสภาวะกลับมาเป็นข้อสอบหรือสอบอารมณ์ของผู้แนะนำว่า ปล่อยวางได้มากน้อยแค่ไหน

หากยังปล่อยวางไม่ได้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ผู้ที่ให้คำแนะนำผู้อื่นในเรื่องการปล่อยวาง มักจะประสบความทุกข์เนืองๆเพราะเหตุนี้ ทุกข์แต่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร มักคิดว่าเป็นเรื่องของเหตุในอดีตที่ทำไว้ แท้จริงแล้ว เกิดจากการแนะนำผู้อื่น

สภาวะของผู้ปฏิบัติ มักจะวกวนไปมา เดิมๆซ้ำๆเพราะเหตุนี้ สภาวะจากเหตุที่ทำไว้ด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่ เหตุเก่ายังไม่ผ่าน สภาวะจากเหตุใหม่ที่สร้างขึ้นมาอีก เหตุของการเวียนว่ายในวัฏฏะ ยืนยาวเพราะเหตุนี้


แม้กระทั่ง การให้คำแนะนำ โดยยกเรื่องราวในอดีตที่ตนเองได้เคยพบประสบเจอมา แล้วคิดว่าผ่านเหตุต่างเหล่านั้นมาได้

เหตุเพราะเกิดจากการกระทำเช่นนั้น ได้แก่ การนำเรื่องราวตรงนั้นมาชี้แนะแก่ผู้อื่น โดยไม่มุ่งเพ่งโทษที่ตนเอง และแก้ไขที่ตนเอง

แต่ยังมีการกล่าวโทษผู้อื่นหรือกล่าวโทษนอกตัวอยู่ ล้วนเป็นการสร้างเหตุของการเกิดในวัฏฏะทั้งสิ้น


เหตุเกิดจากความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ เมื่อกระทำลงไปแล้ว ผลย่อมได้รับกลับคืนมา ย่อมประสบกับความทุกข์ แต่ไม่รู้ว่าเหตุนั้นเกิดจากอะไร

ซึ่งแทนที่จะกระทำเพื่อดับที่ต้นเหตุของการเวียนว่ายในวัฏฏะ กลับกลายเป็นการสร้างเหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสารต่อไป สภาวะของผู้ปฏิบัติจึงดูเหมือนวกวนไปมา เดิมๆซ้ำๆ

สร้างเหตุภายนอกมากเท่าไหร่ ส่งผลกระทบต่อการรู้ชัดสภาวะภายในมากขึ้นเท่านั้น เป็นเหตุให้ มีแต่ส่งจิตออกนอก ไม่สามารถรู้ชัดภายในกายและจิตได้เนืองๆ การเห็นสภาวะต่างๆตามความเป็นจริง ย่อมมีแต่สภาวะสัญญามากกว่าปัญญา
วลัยพร


๔. กรรมเป็นอกุศล ที่ยังมิได้ฉุดถอนให้ขาดในภูมิทั้งหลายนั้นๆ เรียกว่า ภูมิลัทธุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดย ได้ภูมิพื้น

หมายเหตุ :-

การเห็นแจ้งสภาวะอริยสัจ ๔ สภาวะสักกายะทิฏฐิถูกประหานทันที สภาวะวิจิกิจฉากิเลสจะถูกทำลายลง แต่ยังไม่หมด ตราบใดที่ยังไม่แจ้งในสภาวะของพระนิพพาน สภาวะวิจิกิจฉากิเลส ยังมีเชื้ออยู่ ยังไม่หมดสิ้นไปทันที

จนกว่าจะแจ้งในสภาวะของพระนิพพานตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สภาวะวิจิกิจฉากิเลสจะถูกทำลายไปหมดสิ้น ด้วยเหตุนี้ เป็นเหตุให้รู้ชัดภายในกายและจิต เพราะแยกแยะได้ว่า สิ่งใดเป็นกิจที่ควรทำและควรจะทำยังไงต่อไป
วลัยพร



ในอุปปันนะ ซึ่งจำแนกประเภทดังกล่าวมานี้ อุปปันนะ ๔ อย่าง กล่าวคือ วัตตมานะ ๑ ภูตาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ และสมุทาจาระ ๑ นี้นั้น ไม่เป็นอุปปันนะที่จะต้องละด้วย (มรรค)ญาณแม้ไรๆ เพราะ มิใช่อุปปันนะที่ฆ่าด้วย(อริย)มรรค


จบที่มาของสภาวะนิพพานดิบ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2012, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานสุก


นิพพาน คือ ความดับภพ

นิพพานสุก ได้แก่ ดับภพชาติของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร ๑ (ดับแบบละเอียด)



ดับภพชาติของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

ได้แก่ ภายนอก สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น หมั่นรู้ชัดภายในกายและจิต(สมถะและวิปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔) สภาวะที่เกิดขึ้นภายในทั้งหมด ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น

เมื่อใดอินทรีย์สมดุลย์ สภาวะการรู้แจ้งในอริสัจ ๔ จะเกิดขึ้นเอง เมื่อแจ้งในสภาวะของพระนิพพาน ทิฏฐิกิเลส วิจิกิจฉากิเลส สีลัพตปรามาสจะถูกประหานเป็นสภาวะสมุทเฉจประหานหมดสิ้นไม่เหลือเชื้อ (นิพพานสุก)

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะพระนิพพาน ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะนิพพานที่มีอยู่จริง เป็นเหตุให้รู้ชัดว่า ผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคนนั้น เกิดจากเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดขึ้น

การกระทำที่เหลือทั้งหมด จึงมุ่งดับที่ต้นเหตุ ที่เป็นเหตุของการเกิดเวียนว่ายในวัฏสงสาร ได้แก่ ดับที่ตนเอง

ที่สำคัญคือ สามารถนำมาพูดให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ และสามารถทำตามได้ ไม่ต้องใช้คำอุปมาอุปมัย หรือต้องนำสมมุติบัญญัติต่างๆมาเปรียบเทียบ แต่ทั้งหมดนี้ แล้วแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคนที่ทำมา และเหตุที่สร้างขึ้นมาใหม่



อีกประการหนึ่ง ยังมีอุปปันนะอื่น อีก ๔ อย่าง โดยเป็น
ดูเทียบเปรียบเทียบใน องฺ. เอกฺก. อ. (บาลี) ๑/๓๙๔/๔๔/-๔๔๒

๑. สมุทาจาระ คือ นิสัยเคยชิน

๒. อารัมมณาธิคหิตะ คือ ยึดมั่นในอารมณ์

๓. อวิกขัมภิตะ คือ มิได้ถูกกดข่มไว้

๔. อสูมหตะ คือ ยังถอนรากไม่ขาด



ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น อุปปันนะที่กำลังเป็นไปอยู่นั่นแล เป็นสมุทาจารุปปันนะ คือ กิเลสที่เกิดขึ้นด้วยความเคยชิน

เมื่ออารมณ์ (คือ รูป) มาสู่คลองแห่งทวาร มีตาเป็นต้น กิเลสแม้จะยังไม่เกิดขึ้นในตอนต้น แต่เพราะ ยึดมั่นอารมณ์ไว้นั่นเอง ท่านกล่าวว่า "เป็นอุปปันนะด้วย ยึดมั่นอารมณ์ไว้"

เพราะ ในตอนท้าย (กิเลส) ก็จะเกิดขึ้นโดยแน่นอน เหมือนอย่างกิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระมหาติสสเถระ ผู้กำลังเที่ยวเดินบิณฑบาตรอยู่ในหมู่บ้านกัลยาณคาม (หมู่บ้านเป็นที่เกิดของหญิงงาม) โดยได้เห็นรูปที่ไม่สมควร (แก่สมณะ)


กิเลสที่มิได้ถูกกดข่มไว้ด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา อำนาจใดอำนาจหนึ่ง แม้จะยังไม่ผุดขึ้นสู่สันตติของจิต ก็เรียกว่า เป็นอุปปันนะโดยมิได้ถูกข่มไว้ เพราะ ไม่มีเหตุเป็นผู้ห้ามเกิดขึ้น


แต่แม้ว่า ถูกข่มไว้แล้วด้วยสมถะและวิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า อุปปันนะที่ยังถอนรากไม่ขาด โดยเหตุที่ยังไม่พ้นความเกิด เป็นธรรมดา เพราะเป็นกิเลสที่ยังไม่ถอนรากขาดด้วยอริยมรรค

เหมือนกิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระเถระผู้ได้สมาบัติ ๘ กำลังเดินทาง (เหาะไป) โดยอากาศ ได้ยินเสียงเพลงขับร้องของมาตุคาม ซึ่งเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้มีดอก อยู่ในป่าใกล้ๆ ขับร้องด้วยเสียงไพเราะ


อนึ่ง อุปปันนะแม้ทั้ง ๓ อย่าง คือ อารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสมูหตะ ๑ พึงทราบว่า สงเคราะห์เข้ากับภูมิลัทธะ (อุปปันนะ) นั่นเอง


[๘๓๘] ในอุปปันนะ ซึ่งจำแนกประเภทดังกล่าวมานี้ อุปปันนะ ๔ อย่าง กล่าวคือ วัตตมานะ ๑ ภูตาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ และสมุทาจาระ ๑ นี้นั้น ไม่เป็นอุปปันนะที่จะต้องละด้วย (มรรค)ญาณแม้ไรๆ เพราะ มิใช่อุปปันนะที่ฆ่าด้วย(อริย)มรรค

แต่ อุปปันนะ กล่าวคือ ภูมิลัทธะ ๑ อารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสูมหตะ ๑ (๔อย่าง) นี้ใด เพราะ โลกียญาณและโลกุตรญาณนั้นๆเกิดขึ้น ทำให้ความเป็นอุปปันนะนั้นๆ ของอุปปันนะ(๔ อย่าง) นั้น พินาศไป

เพราะฉะนั้น อุปปันนะแม้ทั้งหมด (ทั้ง ๔ อย่าง ข้างหลังนี้) นั้น จึงเป็นอุปปันนะที่ต้องละ ฉะนี้แล


การเห็นแจ้งสภาวะอริยสัจ ๔ สภาวะสักกายะทิฏฐิถูกประหานทันที ส่วนสภาวะวิจิกิจฉากิเลสจะถูกทำลายลง แต่ยังไม่หมด ตราบใดที่ยังไม่แจ้งในสภาวะของพระนิพพาน สภาวะวิจิกิจฉากิเลส ยังมีเชื้ออยู่ ยังไม่หมดสิ้นไปทันที

จนกว่าจะแจ้งในสภาวะของพระนิพพานตามความเป็นจริง เมื่อนั้น สภาวะวิจิกิจฉากิเลสจะถูกทำลายไปหมดสิ้น


ความศรัทธา

สภาวะทิฏฐิกิเลส วิจิกิจฉากิเลส และสีลัพตปรามาส สภาวะเหล่านี้ สามารถถูกทำให้บิดเบือนได้ด้วยความเป็นผู้มีศรัทธามาก ไม่ว่าจะรู้ปริยัติ หรือไม่รู้ก็ตาม เพราะเหตุที่ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่คิดว่ารู้แล้ว
ย่อมนำสิ่งที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นนี้ไปสร้างเหตุด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่

การสร้างเหตุภายนอก ที่เกิดจากความไม่รู้ชัดในผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เป็นอุปสรรคต่อ การรู้ชัดภายในกายและจิต เนื่องจากสมาธิที่เกิดขึ้นไม่แนบแน่น เป็นเหตุให้ไม่สามารถตั้งมั่นอยู่ได้นาน

แม้กระทั่งสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรู้ชัดภายในกายและจิต หากยังมีการยึดติด หรือแม้กระทั่ง เกิดความยินดี ยินร้ายในสภาวะที่เกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินต่อเนื่องของสภาวะต่างๆ

จิตต้องเกิดสภาวะการปล่อยวางโดยตัวของจิตเอง (สังขารุฯ-อุเบกขา) เมื่อนั้นสภาวะจึงจะสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง



การถูกสอบอารมณ์

เหตุมี ผลย่อมมี ในเรื่องการแนะนำผู้อื่นเช่นเดียวกัน ผู้ใดแนะนำผู้อื่นเช่นไร ผู้นั้นย่อมถูกสอบอารมณ์โดยตัวสภาวธรรมของคำแนะนำนั้นๆ ทุกข์มักเกิดขึ้นเนืองๆโดยไม่รู้สาเหตุเพราะเหตุนี้

แต่ส่วนมากมักโยนเหตุที่เกิดไปที่การสร้างเหตุในอดีตที่ผ่านมานานแล้ว ทั้งแท้จริงแล้ว ล้วนเกิดจากสิ่งที่เพิ่งกระทำลงไป สภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นกับทุกๆคน คือสภาวะแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ตามเหตุปัจจัย ณ ปัจจุบัน ขณะแต่ละขณะ

แล้วจะวกกลับไปที่เหตุในอดีตที่เคยทำไว้ ซึ่งส่งผลให้ได้รับ ในรูปของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หากมีการแก้ไข หรือยังยอมรับไม่ได้ สภาวะนั้นยังไม่จบ เหตุนี้ เรื่องสภาวะของเหตุ(กรรม)และผล(วิบากกรรม) จึงมีสภาวะซับซ้อนเช่นนี้


อดีตส่งผลมาปัจจุบัน สิ่งที่ทำในปัจจุบัน ส่งผลในอนาคต

เหตุของในอดีตที่ส่งผลมาปัจจุบัน ยังยอมรับไม่ได้ มีตอบโต้ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข สภาวะของผลนั้นยังไม่จบ

ส่วนผลของเหตุที่สร้างขึ้นที่เพิ่งผ่านมา ส่งผลให้ได้รับในอนาคต คือสิ่งที่เกิดขึ้นณ ปัจจุบันขณะ

หากยังยอมรับไม่ได้ เหตุจะย้อนวนกลับไปที่ผลในอดีตอีก วนไปวนมา กลับไปกลับมาแบบนี้ จนกว่าสภาวะจะจบลงด้วยตัวสภาวะเอง

คือ การยอมรับ แก้ที่ตัวเอง ไม่โทษนอกตัว หยุดสร้างเหตุ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะนั้นๆ


ในดีมีเสีย ในเสียมีดี

คำพูดประโยคนี้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตเพื่อให้เกิดการปล่อยวาง แบบหยาบๆ คือ วางลงได้ชั่วขณะจากผัสสะที่มากระทบ เป็นการฝึกจิตของตัวเอง จากสภาวะการยึดติดในตัวตน เขา, เราที่ยังมีอยู่


เหตุมี ผลย่อมมี

เนื่องจาก หากผู้แนะนำผู้อื่นในเรื่องการปล่อยวาง ในดีมีเสีย ในเสียมีดี ถ้าผู้แนะนำได้ให้การแนะนำเช่นนั้น ผู้แนะนำจะเจอสภาวะกลับมาเป็นข้อสอบหรือสอบอารมณ์ของผู้แนะนำว่า ปล่อยวางได้มากน้อยแค่ไหน

หากยังปล่อยวางไม่ได้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ผู้ที่ให้คำแนะนำผู้อื่นในเรื่องการปล่อยวาง มักจะประสบความทุกข์เนืองๆเพราะเหตุนี้ ทุกข์แต่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร มักคิดว่าเป็นเรื่องของเหตุในอดีตที่ทำไว้ แท้จริงแล้ว เกิดจากการแนะนำผู้อื่น

สภาวะของผู้ปฏิบัติ มักจะวกวนไปมา เดิมๆซ้ำๆเพราะเหตุนี้ สภาวะจากเหตุที่ทำไว้ด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่ เหตุเก่ายังไม่ผ่าน สภาวะจากเหตุใหม่ที่สร้างขึ้นมาอีก เหตุของการเวียนว่ายในวัฏฏะ ยืนยาวเพราะเหตุนี้


แม้กระทั่ง การให้คำแนะนำ โดยยกเรื่องราวในอดีตที่ตนเองได้เคยพบประสบเจอมา แล้วคิดว่าผ่านเหตุต่างเหล่านั้นมาได้ เหตุเพราะเกิดจากการกระทำเช่นนั้น

ด้วยความไม่รู้ที่มีอยู่ ย่อมการนำเรื่องราวตรงนั้นมาชี้แนะแก่ผู้อื่น ยังมีการกล่าวโทษผู้อื่นหรือกล่าวโทษนอกตัวอยู่ โดยไม่มุ่งกล่าวถึงว่า ต้องแก้ไขที่ตนเอง

การดับ ต้องดับที่ต้นเหตุ คือดับที่ตนเอง ไม่ใช่ไปดับเหตุนอกตัว เพราะสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ยังมีต่อกันอยู่


เหตุมี ผลย่อมมี

เหตุเกิดจากความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ เมื่อกระทำลงไปแล้ว ผลย่อมได้รับกลับคืนมา ย่อมประสบกับความทุกข์ แต่ไม่รู้ว่าเหตุนั้นเกิดจากอะไร

ซึ่งแทนที่จะกระทำเพื่อดับที่ต้นเหตุของการเวียนว่ายในวัฏฏะ กลับกลายเป็นการสร้างเหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสารต่อไป สภาวะของผู้ปฏิบัติจึงดูเหมือนวกวนไปมา เดิมๆซ้ำๆ


การหมั่นรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ยิ่งรู้ชัดภายในมากเท่าไหร่ ยิ่งรู้ชัดในสภาวะของผัสสะต่างๆทั้งภายในและภายนอกมากขึ้นเท่านั้น ปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีแต่ถ่ายถอนอุปทานในขันธ์ ๕ ที่มีอยู่

เป็นเหตุให้เห็น ภัย เห็นโทษ เห็นทุกข์ของการเกิด เป็นเหตุให้จิตเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด มุ่งรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ กระทบปั๊บ กลับมารู้ชัดภายใน ดับเหตุที่ต้นเหตุ ส่วนเวลา ช้าหรือเร็ว อยู่ที่การทำต่อเนื่อง รวมทั้งการสร้างเหตุภายนอกที่กำลังทำให้เกิดขึ้น

หยุดตอบโต้ หยุดแก้ไข มาตั้งมั่นรู้ชัดภายใน หยุดเหตุภายนอกมากเท่าไหร่ สภาวะจะขับเคลื่อนไปตามเหตุปัจจัยโดยตัวของสภาวะเอง

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ย่อมรู้แจ้งในสภาวะอุปทานขันธ์ ๕ ย่อมรู้แจ้งในสภาวะของผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น ว่าอะไรเป็นเหตุ ย่อมรู้แจ้งในสภาวะพระนิพพาน ย่อมรู้วิธีดับที่ต้นเหตุที่เป็นแดนเกิดในวัฏสงสาร
(ย่อมรู้แจ้งในสภาวะปฏิจจสมุปบาท)

เพราะยังละกิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะทั้งหลายไม่ได้โดยประการทั้งปวง กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำไป จึงเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง(ตามความเป็นจริงของสภาวะ ไม่ใช่ตามความรู้สึกนึกคิด) วัฏฏะของผู้นั้น จึงเวียนวน เพราะกรรมและกิเลส เป็นปัจจัยด้วยประการดังกล่าวนั้น (กิเลสที่เป็นรากเหง้า)


"ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาย่อมงอกงามแก่บุคคลผู้เห็นแต่ส่วนที่น่าพอใจในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน อุปทานก็มีขึ้น เพราะปัจจัย คือ ตัณหา" ดังนี้ เป็นอาทิ
สํ. นิ. (ไทย) ๑๖/๕๒/๑๐๔

ในบางพระสูตรก็ทรงแสดง (ปฏิจจสมุปบาท) เทศนายกธรรมทั้งสองข้อ เป็นมูลก็มี นี่เช่นอย่างไร เช่นว่า

"ภิกษุทั้งหลาย กายอันนี้ของคนเขลา ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น ประกอบด้วยตัณหาเป็นไปแล้ว (คือ เกิดขึ้น) ด้วยเหตุฉะนี้

กายดังกล่าวนี้ด้วย นามรูปกายภายนอกด้วย ทั้งสองนั่นเป็นทวยะ (คือ เป็นคู่กันอย่างนี้ เพราะ อาศัยทวยธรรม คือ อายตนะ ๖ นั้นแล ผัสสะก็เกิดขึ้น คนเขลาถูกธรรมมีผัสสะเป็นต้นอย่างไรเล่า กระทบเอาแล้ว ย่อมเสวยสุขและทุกข์" ดังนี้ เป็นอาทิ
สํ. นิ. (ไทย) ๑๖/๑๙/๓๒

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูมิและภูมิลัทธะ

[๘๓๔] อนึ่ง ในเรื่องนี้ ควรทราบความแตกต่างกันของ ภูมิพื้น (ภูมิ) และ ได้ภูมิพื้น (ภูมิลัทธะ) ไว้ด้วย


เพราะว่า ขันธ์ ๕ ที่เป็นไปอยู่ในภูมิ ๓ ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เรียกว่า ภูมิ (คือภูมิพื้น)
เพราะ เหตุที่ภูมิพื้นนั้น ชื่อว่า ภูมิพื้น

อันกิเลสนั้นได้แล้ว ท่านเรียกว่า ภูมิลัทธะ กิเลสที่ได้ภูมิพื้นแล้ว ด้วยประการฉะนี้ และภูมิพื้นนั้น มิใช่โดยทางอารมณ์

เพราะว่า กิเลสทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นโดยทางเป็นอารมณ์ เพราะ ปรารภขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวง ที่เป็นอดีตและอนาคตบ้าง

และเพราะ ปรารภขันธ์ทั้งหลาย ของพระขีณาสพทั้งหลาย ที่ท่านกำหนดรู้แล้วบ้าง เช่น กิเลสทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่โสเรยยเศรษฐี* และแก่นันทมาณพ** เป็นต้น
* ดู-โสเรยฺยตฺเถรวตฺถุ ใน ธมฺมปทฏฐกถา (บาลี) ๒/๑๕๘-๑๖๕
** ดู-อุปฺปลวณฺณาเถรีวตฺถุ ใน ธมฺมปทฏฺกถา (บาลี) ๓/๑๔๖-๑๕๐

เพราะ ปรารภขันธ์ทั้งหลาย ของพระมหากัจจานะ และพระอุบลวัณณาเถรี เป็นต้น

และ ผิว่า กิเลส (ดังกล่าว) นั้น พึงมีชื่อเป็น ภูมิลัทธิ(คือ ได้ภูมิพื้น) ไซร้ ใครๆก็ละรากเหง้าของภพมิได้ เพราะ กิเลส(ดังกล่าว) นั้นมิได้

แต่(กิเลสที่เป็นไป) ภูมิลัทธะ ควรทราบโดยทางเป็นวัตถุ(ที่เกิดขึ้น) เพราะว่า ขันธ์ทั้งหลายที่มิได้กำหนดรู้ด้วยวิปัสสนา เกิดขึ้นในภพใดๆ หรือในสันดานใดๆ จำเดิมแต่การเกิดขึ้น(ของขันธ์ทั้งหลาย) ในภพนั้นๆ หรือในสันดานนั้นๆ กิเลสที่เป็นรากเหง้าของวัฏฏะ ก็แทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วย

พึงทราบเถิดว่า กิเลส(ที่แทรกซึมอยู่) นั้น คือ ภูมิลัทธะ (ได้ภูมิพื้น) โดยความหมายว่า ยังละไม่ได้

[๘๓๕] อนึ่ง ในบรรดาขันธ์ทั้งหลายนั้น กิเลสทั้งหลายที่แทรกซึมอยู่โดยความหมายว่า ยังละไม่ได้ ในบรรดาขันธ์ทั้งหลายเหล่าใด ของบุคคลใด ขันธ์ทั้งหลาย(ตามที่กิเลสแทรกซึมอยู่) เหล่านั้นนั่นแหละ
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นของผู้อื่น หาเป็นวัตถุ(ที่เกิด) ไม่

อนึ่ง ขันธ์ที่เป็นอดีตทั้งหลายเท่านั้น ที่เป็นวัตถุ(ที่เกิดขึ้น) ของกิเลสทั้งหลาย ที่แทรกซึมอยู่ เพราะ ยังละไม่ได้ในขันธ์ในอดีตทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายนอกนี้ หาเป็นวัตถุ(แห่งกิเลสทั้งหลาย) ไม่ นัยในขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นอนาคตเป็นต้นก็เช่นนี้(และ) เป็นอย่างนั้น

ขันธ์ที่เป็นกามาวจรทั้งหลายนั่นแหละ แลเป็นวัตถุ(ที่เกิดขึ้น) ของกิเลสทั้งหลายที่แทรกซึมอยู่ เพราะ ยังละไม่ได้ในขันธ์ที่เป็นกามาวจรทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายนอกนี้ หาเป็นวัตถุไม่ ในขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจรก็มีนัย(ดังกล่าว) นี้


แต่ทว่า ในบรรดาอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น กิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะนั้นๆ ในขันธ์ทั้งหลายของพระอริยบุคคลใดๆที่ละได้แล้ว ด้วยมรรคนั้นๆ

ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น และเหล่านั้นของอริยบุคคลท่านั้นๆ จะนับว่าเป็นภูมิพื้นหาได้ไม่ เพราะ ไม่เป็นวัตถุ(ที่เกิดขึ้น) ของกิเลส อันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะทั้งหลายเหล่านั้น และเหล่านั้น ที่ท่านละได้แล้ว

แต่สำหรับปถุชน เพราะยังละกิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะทั้งหลายไม่ได้ โดยประการทั้งปวง กรรมอย่างหนึ่ง อย่างใดที่ทำไป จึงเป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง วัฏฏะของปถุชนนั้น จึงเวียนวนไป เพราะ กรรมและกิเลส เป็นปัจจัยด้วยประการดังกล่าวนั้น

กิเลส อันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะนี้ ของปถุชนนั้น มิควรกล่าวว่า

"แทรกซึมอยู่แต่ในรูปขันธ์เท่านั้น หาแทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั้งหลายอื่น มีเวทนาขันธ์เป็นต้นไม่ .....ฯลฯ .... หรือกล่าวว่า แทรกซึมอยู่แต่ในวิญญาณขันธ์เท่านั้น หาแทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั้งหลาย อันมีรูปขันธ์เป็นต้นไม่" ดังนี้ เพราะเหตุไร?

เพราะ แทรกซึมอยู่ในขันธ์ทั่วทั้ง ๕ ขันธ์ โดยไม่แตกต่างกัน


[๕๘๖] มีอุมาอย่างไร?

อุปมาเหมือน รสดินเป็นต้น แทรกซึมอยู่ในต้นไม้

ความจริง เมื่อต้นไม้ใหญ่ยืนต้น ยึกพื้นดินตั้งอยู่ อาศัยรสดินและรสน้ำ เจริญด้วยราก ลำต้น กิ่ง ค่าคบ ใบอ่อน ใบแก่ ดอกและผลทั้งหลาย

เพราะ รสดินและรสน้ำ เป็นปัจจัย เติบโตเต็มท้ิงฟ้า สืบต่อเชื้อสายของต้นไม้ ด้วยการสืบต่อทางพืชพันธุ์ ตั้งอยู่ตลอดกาลจนสิ้นกัลป์ พูดไม่ได้ว่า

"รสดินเป็นต้นนั้น แทรกซึมอยู่แต่ในรากเท่านั้น หาแทรกซึมอยู่ในส่วนทั้งหลายอื่น มีลำต้นเป็นอาทิไม่ .... ฯลฯ" ดังนี้

เพราะเหตุไร?

เพราะ แทรกซึมอยู่ในส่วนทั้งหลาย มีรากเป็นต้น ทุกส่วนโดยไม่ต่างกันแล


แต่ทว่า มีบุรุษบางคน เบื่อหน่ายในดอกและผลเป็นต้น ของต้นไม้นั้นแหละ แล้วตอกหนามมีพิษ ชื่อว่า มัณฑูกะ เข้าไปทั้ง ๔ ด้าน ครั้นต้นไม้นั้น ถูกกระทบด้วยสัมผัสเป็นพิษนั้น รสดินและรสน้ำทั้งหลาย ก็ถึงความซึมซาบเข้าไปเป็นธรรมดา

เพราะ รสดินและรสน้ำทั้งหลาย หมดสิ้นไปแล้ว ไม่สามารถทำให้เกิดความสืบต่อ(เชื้อสายของต้นไม้) ต่อไปได้อีกฉันใด กุลบุตรผู้เบื่อหน่ายในความเป็นไปของ(เบญจ) ขันธ์ ก็ฉันนั้นเช่นกัน เริ่มต้นทำมรรค ๔ ให้เกิดในสันดานตน เหมือนการที่บุรุษนั้น ประกอบยาพิษเข้าในต้นไม้ทั้ง ๔ ด้าน

ครั้นแล้ว ขันธสันดาน ที่ประเภทของกรรมทั้งปวง มีกายกรรมเป็นต้น เข้าถึงแต่เพียงความเป็นกิริยา เพราะ กิเลสอันเป็นรากเหง้าของวัฏฏะทั้งหลาย สิ้นไปแล้ว โดยประการทั้งปวง มาถึงความไม่เกิดขึ้นในภพใหม่ เป็นธรรมดา

ไม่สามารถทำให้สันดานในภพอื่นบ้างเกิดต่อไปได้ เป็นผู้หาอุปาทานมิได้ ดับสิ้นไปทุกประการด้วย การดับวิญญาณดวงสุดท้าย เหมือนไฟ หาเชื้อมิได้ ดับไป

พึงทราบความแตกต่างกัน ของภูมิพื้น และ(กิเลสที่) ได้ภูมิพื้น โดยประการดังกล่าวนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2012, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ


สก ( ของตน ) + กาย ( ที่ประชุม ) + ทิฏฺฐิ ( ความเห็น ) ได้แก่ ความยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของตน

กิเลสและสังโยชน์ที่มีองค์ธรรมเดียวกัน คือ ทิฏฐิสังโยชน์กับทิฏฐิกิเลส


ทิฏฐิสังโยชน์ แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องผูกสรรพสัตว์ไว้ คือ ความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ดวง


สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัว ตน เรา เขา ได้แก่ อุปทานในขันธ์ ๕ เช่น ในการนั่งว่า เรานั่ง ในการนอนว่า เรานอน เป็นต้น เช่น เมื่อเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม และเป็นของยั่งยืน

โดยสภาวะ คือ ยึดความเห็นของตน ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนี้ใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ ตามความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยของ สิ่งๆนั้น

สภาวะภายนอกและภายใน ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นมาใหม่ ไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ถูก, ผิด, ดี, ชั่ว ล้วนเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น โดยมีผัสสะเป็นเหตุปัจจัยทำให้เป็นเช่นนั้น


ธรรมชาติของจิต

จิตมีสภาวะรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทางกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นธรรมชาติของจิตที่จะรู้อารมณ์ต่างๆเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เป็นความปกติของจิต


ผัสสะ

เหตุของความไม่รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะที่เกิดขึ้น ไม่รู้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนั้น ว่าเกิดขึ้นจากอะไร ไม่รู้ว่าทำไมผัสสะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งจึงมีผลต่อจิตบ้าง ไม่มีผลต่อจิตบ้าง แต่ละครั้งทำไมไม่เหมือนกัน ทำไมจึงมีความรู้สึกยินดี ยินร้าย หรือเฉยๆ ต่อผัสสะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง


ความไม่รู้ในเหตุ

เพราะเหตุของความไม่รู้ตามความเป็นจริงในเรื่องผัสสะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ตรงนี้ ความรู้สึกยินดี หรือยินร้ายที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลก่อให้เกิดการกระทำลงไปด้วยความไม่รู้ เป็นการกระทำที่มีเจตนาบ้าง ไม่มีเจตนาบ้าง ตามความไม่รู้ที่มีอยู่



โดยเหตุ

สักกายะทิฎฐิ เป็นสภาวะแบบหยาบของมานะกิเลส คือ เป็นการทำงานของขันธ์ ๕ ที่ยังมีความไม่รู้ เป็นเหตุให้การยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ๕ ด้วยความไม่รู้จึงยึดมั่นในความคิดของตนเองที่มีต่อผัสสะที่กำลังเกิดขึ้น

เป็นเหตุให้เกิดการให้ค่าต่อผัสสะหรือสิ่งที่มากระทบหรือสภาวะที่เกิด ขึ้น ว่าสิ่งๆนั้นถูกบ้าง ผิดบ้าง เป็นเหตุให้เกิดความชอบ ชัง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งที่มากระทบ

สภาวะที่แท้จริงของตัวสักกายทิฏฐิ ได้แก่ การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น ให้ค่าว่า สิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนั้นใช่ สิ่งนี้ไม่ใช่ เป็นการให้ค่าตามรู้สึกความชอบหรือชัง ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น

เนื่องจากไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงเรื่องเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ ไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเกิดจากอะไร แล้วทำไมบางสิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อจิต เป็นเหตุให้เกิดความชอบ, ชัง ทำไมบางสิ่งไม่มีผลกระทบต่อจิต เป็นเหตุให้รู้สึกเฉยๆ

เพราะความไม่รู้ชัดในความเป็นจริงของผัสสะ เป็นเหตุให้ก่อให้เกิดการกระทำลงไปด้วยความไม่รู้ที่ยังมีอยู่ ด้วยเจตนาและไม่เจตนาทางกาย วาจา ใจ(ความรู้สึกนึกคิด)

สักกายทิฏฐิอันเป็นกิเลสตัวแรกนี้ เป็นเหตุให้ต้องได้รับความเดือดร้อนวนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์ โดยไม่อาจนับภพชาติได้ ก็ด้วยอำนาจทิฏฐิกิเลสนี้เอง



การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ เป็นวิธีฝึกจิตให้ตั้งมั่นได้ง่​ายที่สุด แต่เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ ไปพยายามทำสิ่งที่มีอยู่แล้ว กลายเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำให้เกิดขึันสำหรับหลายๆคน

และอาจจะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับค​นบางคน แต่ก็ยังไม่สามารถนำสมาธิที่มีอ​ยู่นั้น ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับต​นเองได้



สัมมาสติ ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม


สัมมาสมาธิ เกิดจากการปรับอินทรีย์ระหว่างสมาธิกับสติให้เกิดความสมดุลย์ เป็นเหตุให้สภาวะสัมปชัญญะเกิด

สภาวะสัมมาสมาธิ ได้แก่ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะที่จิตเป็นสมาธิ

สภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ขณะจิตเป็นสมาธิ


สัมมาทิฏฐิ เกิดจากสัมมาสมาธิ

สภาวะสัมมาทิฏฐิ ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ปราศจากความรู้สึกนึกคิดที่มีอยู่เข้าไปเกี่ยวข้อง และปราศจากความตั้งใจพยายาม(อายูหนา*) ทำให้เกิดขึ้น

*ความอยากเป็นเหตุ หรือที่เรียกว่า อายูหนา ( ความพยายาม ) เป็นเหตุ


รู้นอกจากนี้ ที่ไม่ใช่การรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ล้วนเป็นมิจฉาทิฏฐิ

เพราะรู้นั้นๆล้วนมีอัตตาตัวตน (สักกายทิฏฐิ) เข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ เป็นเหตุให้มีคำว่า ถูก, ผิด, ดี, ไม่ดี เช่น เราดีกว่าเขา เขาดีกว่าเรา เรา, เขา เสมอกัน หรือการปฏิบัติแบบนั้นถูก แบบนี้ผิด เนื่องจากความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้นโดยมีผัสสะเป็นเหตุปัจจัย


เมื่อสภาวะสัมมาทิฏฐิเกิด สภาวะมรรคที่เหลือทั้งหมดจะเกิด​ขึ้นเองตามเหตุปัจจัย โดยไม่ต้องไปพยายามทำให้เกิดขึ้​นแต่อย่างใด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2012, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความตาย


วิบัติ คือ ความตายเป็นที่สุดแห่งสมบัติ คือ ชีวิต

วันและคืนล่วงไป ชีวิตพลอยดับไปด้วย อายุของสัตว์ค่อยสิ้นไป ดังน้ำแห่งแม่น้ำ ค่อยแห้งไป

ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมีภัยแต่ความตาย เป็นเที่ยงแท้แน่นอน

ผู้ที่เคยผ่านสภาวะแห่งความตายมาแล้ว ได้ลิ้มรสชาติกาลนั้นๆมาแล้ว ย่อมแจ้งชัดในสภาวะก่อนตกตาย หากไม่มีสติ สัมปชัญญะเป็นที่พึ่ง จิตระลึกสิ่งใดได้ ย่อมเกาะติดอยู่กับสิ่งนั้น สุคติหรือทุคติภูมิจึงบังเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

สำหรับผู้ที่มีสติ สัมปชัญญะเป็นที่พึ่งแล้ว จิตมักเป็นสมาธิเนืองๆ มีความรู้สึกตัวเนืองๆ เป็นเหตุให้จิตตั้งมั่นและรู้ชัดอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เนืองๆ โดยปราศจากการพยายามกระทำเพื่อให้เกิดขึ้น เหตุเพราะ สักแต่ว่ารู้ จิตก็เป็นสมาธิโดยอัตโนมัติ

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ไม่ว่าจะสุคติหรือทุคติ ล้วนสักว่าเป็นเพียงเครื่องหมายแห่งนิมิตของสภาวะสัญญาเท่านั้นเอง


ธมฺมารา ธมฺมรโต ธมฺมํ อนุวิจินฺตย

ธมฺมํ อนุสฺสรํภิกฺขุ สทฺธมฺมา น ปริหายติ


"ภิกษุ มีธรรมคือ สมถะและวิปัสสนาเป็นที่มา ยินดียิ่งในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา คิดถึงอยู่บ่อยๆ นึกถึงอยู่บ่อยๆ กระทำไว้ในใจบ่อยๆ อนุสรณ์ถึงอยู่บ่อยๆ

ซึ่งสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมไม่เสื่อมจากโพธิปักขยธรรม ๓๗ ประการ และไม่เสื่อมจากโลกุตรธรรม ๙ คือ มรร๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีตัดภพตัดชาติสั้นที่สุด(ปัจจุบันชาติ)


การตัดภพตัดชาติ แบบสั้นกระชับที่สุดคือ การยอมรับตามความเป็นจริงต่องสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน

ไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจ หรือสร้างความยินดีพอใจอย่างสุดซึ้งแค่ไหนก็ตาม แม้กระทั่งเกิดเหตุการณ์ใดๆก็ตาม ที่เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย เพียงยอมรับตามความเป็นจริงต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

รู้สึกอะไรยังไง รู้ไปตามนั้น แต่อย่าก่อการกระทำออกไปตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายใน ล้วนมีแต่ความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ ตั้งอยู่ ได้แก่ขณะที่กำลังเกิดขึ้น หากมีความยินดี ยินร้ายในสิ่งที่เกิดขึ้น สุข ทุกข์ย่อมเกิด ความยินดี ยินร้ายที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัยที่มีอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น

เมื่อไม่สานต่อ คือไม่ตอบโต้หรือปล่อยการกระทำออกไป สิ่งนั้นย่อมจบหรือดับลงไปเอง โดยไม่ต้องไปคิดจัดการอะไร

การกระทำเช่นนี้ คือ รู้อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่สร้างเหตุใหม่ ภพชาติที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ย่อมไม่มี จะมีแต่เหตุและก็เหตุเก่าๆที่เคยทำไว้ ส่งมาให้ได้รับในรูปของเหตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพียงยอมรับไป แล้วทุกอย่างจะจบลงไปเอง

ชีวิตของทุกคนไม่มีความแตกต่าง อยู่กับความยินดี ยินร้าย เฉยๆ ตลอดเวลา

ยินดีก็มีเหตุ ยินร้ายก็มีเหตุ เฉยๆก็มีเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้กับคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก


ผัสสะ

ไม่ว่าจะอยู่ในที่ไหนๆ ผัสสะต่างๆที่ทำให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่

ผัสสะต่างๆเหล่านั้น ล้วนเป็นผลของเหตุในอดีตที่เคยทำมาแล้วด้วยความไม่รู้ ทำตามความรู้สึกนึกคิดว่าถูก ผิด ดี ชั่ว ที่เกิดจากความชอบ ชัง รัก โลภ โกรธ หลง ที่เกิดจากตัณหาความทะยานอยากต่างๆที่มีอยู่ในจิต

เมื่อความไม่รู้ยังไม่มีอยู่ ไม่รู้ว่าผัสสะต่างๆเหล่านี้ เกิดขึ้นจากอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น เมื่อไม่รู้ก็หลงสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นอีก ทำเดิมๆซ้ำๆ กับสิ่งเดิมๆซ้ำๆ ที่มาแสดงให้เห็นในรูปแบบต่างๆ ทั้งๆที่ผลได้รับเหมือนเดิม คือ เหตุใหม่ที่เกิดไม่รู้จบ

อาหารของจิต

จิตต้องการอาหารเหมือนกับที่ร่างกายต้องการอาหาร แต่อาหารของจิตมีความแตกต่างกับกาย อาหารของกาย อยู่ในรูป มีลักษณะรูปเป็นเหตุ แต่อาหารของจิตมีปรากฏอยู่ในสภาวะของอรูปเป็นเหตุ อาหารของจิตคือ สมาธิ

หากไม่มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิต จิตจะมีแต่ความฟุ้งซ่าน มีแต่ความคิด หาความสงบได้ยาก เมื่อจิตมีสมาธิ จะทำให้จิตมีกำลัง ทำให้นิวรรณ์ต่างๆสงบลงไปได้ชั่วครั้งชั่วคราว

ภาษา

ภาษาใดๆล้วนไม่สำคัญ สภาวะที่แท้จริงอยู่เหนือกาลเวลา รู้แล้วรู้เลย ไม่มีคำเรียกใดๆ ภาษาต่างๆล้วนใช้สื่อสารตามยุค ตามสมัย ตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่



รักษาศิลโดยไม่ต้องคิดรักษา

การพยายามรักษาศิล ประคับประคองศิลเพื่อหวังผลที่จะได้อะไรเป็นอะไร ล้วนเป็นเพียงศิลลัพพตปรามาส ได้แค่ลูบคลำเปลือกของศิล แต่เข้าไม่ถึงแก่นแท้ของศิล การเข้าถึงแก่นแท้ของศิล จิตต้องปราศจากความพยายามที่จะรักษา หรือพยายามทำให้เกิดขึ้น

การรักษาศิลที่ให้ประโยชน์สูงสุดทั้งตัวเองและผู้อื่น คือ การหมั่นรู้ชัดภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม วิธีนี้ทั้งตัดภพชาติให้สั้นลง และดับเหตุที่เป็นต้นเหตุของการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

ทุกเรื่องราว ล้วนเกิดจากเหตุ จนกว่าจะรู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงด้วยตัวเอง ถึงจะเข้าใจและรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การตัดภพชาติในวัฏสงสาร

มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การทำลายอนุสัยกิเลสหรือสังโยชน์ ๑๐ ที่มีอยู่ ที่เป็นสภาวะสมุทเฉจประหาน ได้แก่ สมถะ -วิปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔

ซึ่งเกิดจากการฝึกจิตให้ตั้งมั่น ได้แก่ การเจริญอิทธิบาท ๔ สมาธิ (สมถะ)

แล้วจึงปรับอินทรีย์ระะหว่างสมาธิกับสติ ให้เกิดความสมดุลย์ เป็นเหตุให้ สภาวะสัมปชัญญะ (ปัญญา) เกิด (สัมมาสมาธิ) ส่วนวิริยะเกิดขึ้นเองตามเหตุปัจจัย

เมื่อสภาวะสัมมาสมาธิ (ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิ) เกิด

เป็นเหตุให้สภาวะสัมมาทิฏฐิเกิด ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
(วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ หรือที่นำมาเรียกว่าวิปัสสนาญาณในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ สภาวะญาณ ๑๖ )


สภาวะทุกๆสภาวะจะดำเนินไปตามเหตุปัจจัยเอง โดยไม่ต้องทำความเพียรเพราะความทะยานอยากมี อยากได้ หรือแม้กระทั่งอยากเป็นอะไรๆในบัญญัติที่นำมาเรียกๆกัน

เหตุเพราะ เมื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงภายในกายและจิต (สมถะ-วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔) เป็นเหตุให้รู้ว่าสภาวะสมถะ-วิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ มีอยู่จริง ความทะยานอยากที่มีอยู่จะลดน้อยลงไปเองตามเหตุปัจจัย เหตุมี ผลย่อมมี


สภาวะทั้งหมดจบลงที่

หยุดสร้างเหตุภายนอก (ทำตามความรู้สึก/กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต เพราะผัสสะเป็นเหตุปัจจัย)

หมั่นรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิตเนืองๆ (สมถะ-วิปัสสนา ในสติปัฏฐาน ๔)

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2012, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จิ. เจ. รุ. นิ.


จิ. ย่อมาจาก จิต

เจ. ย่อมาจาก เจตสิก

รุ. ย่อมาจาก รูปในอุปทานขันธ์ ๕

นิ. ย่อมาจาก นิพพาน


ทั้งหมดนี้ คำสั้นๆ แต่สภาวะไม่สั้นเลย ทุกๆสภาวะมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องนิพพาน เป็นเรื่องที่พูดให้ใครๆฟัง ยากที่ใครจะเชื่อ นอกจากสร้างเหตุร่วมกันมาเท่านั้น ถึงจะเชื่อกัน

แต่ยากที่สุดคือ การทำใจยอมรับตามความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความไม่ชอบใจ(ยินร้าย/ทุกข์/หลง) ความชอบใจ (ยินดี/สุข/โลภะ/หลง)มันยากจริงๆนะ คือเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ดี

ทุกข์มากๆกว่าจะทำใจให้ยอมรับ

และกว่าจะทำใจได้

จนกระทั่งยอมรับได้ โดยไม่ต้องทำใจอีกต่อไป

รู้ทั้งหมดของสภาวะภายนอก จบลงได้ เหตุเพราะรู้ชัดในสภาวะนิพพานเพียงสภาวะเดียวจริงๆ นั่นคือเหตุของตัดภพชาติในปัจจุบันให้สั้นลง

เมื่อรู้แล้ว เป็นเหตุให้การสำรวม สังวร ระวังอายตนะมากขึ้น เพราะรู้ชัดในเรื่องของเหตุ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น หรือผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น มีอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด

ส่วนการตัดภพชาติในการเวียนว่ายในวัฏสงสารไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป การปฏิบัติไม่ว่าจะทำด้วยความอยากหรือด้วยเหตุใดๆก็ตาม เพียงมีจิตที่ตั้งมั่น(สมาธิ) มีสติ สัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว)

เป็นเหตุให้รู้ชัดภายในกายในกาย ได้แก่ อะไรเกิดขึ้นเกี่ยวกับกาย ขณะจิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดอยู่อย่างนั้นได้

รู้ชัดภายในเวทนาในเวทนา ได้แก่ ทุกขเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นกับกาย ขณะที่จิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดอยู่อย่างนั้นได้

รู้ชัดภายในจิตในจิต ได้แก่ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นกับจิต เช่น กิเลสต่างๆ ไม่ว่าจะมีผัสสะหรือไม่มีผัสสะเกิดขึ้นก็ตาม ขณะจิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดอยู่อย่างนั้นได้

รู้ชัดภายในธรรมในธรรม ได้แก่ ธรรมารมณ์/ความคิดต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจิตจะคิดพิจรณาเองหรือเกิดจากสติไปขุดคุ้ยสัญญาต่างๆขึ้นมาก็ตาม ขณะจิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดอยู่อย่างนั้นได้

ขณะจิตเป็นสมาธิ (สัมมาสมาธิ) การจะรู้ชัดในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้(สัมมาทิฏฐิ) หรือเรียกว่า สติปัฏฐาน ๔/มหาสติปัฏฐาน ๔ (แล้วแต่จะเรียก) ต้องอาศัยการปรับอินทรีย์ระหว่างสมาธิกับสติให้เกิดความสมดุลย์

ในการปรับอินทรีย์ อิริยาบทหลักๆ ต้องอาศัยอิริยาบทเดินแล้วต่อด้วยนั่งเป็นหลัก

เวลานั่ง หมั่นสังเกตุเวลาจิตเป็นสมาธิ มีความรู้สึกตัวมากน้อยแค่ไหน ค่อยๆปรับเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย กิเลสใดๆเกิดขึ้น(ความทะยานอยาก/ได้ดั่งใจ/ไม่ได้ดั่งใจ) ยอมรับไป

พอถึงจุดๆหนึ่งแล้ว สภาวะเป็น สัมมาทิฏฐิ ((สุญญตา/ปราศจากทิฏฐิ/ความคิดเห็นของตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น)เต็มตัว

เป็นเหตุให้ไม่ต้องมีการปรับอินทรีย์อีกต่อไป เพราะสมาธิที่มีความรู้สึกตัว (สัมมาสมาธิ) สภาวะนี้ เกิดแล้วเกิดถาวร เป็นอัตโนมัติ ไม่ต้องไปปรับไปเปลี่ยน เพิ่มหรือลดเพื่ออะไรอีกต่อไป

สภาวะในการปฏิบัติ จึงสะดวกสบาย เพราะรู้ชัดในสัปปายะที่เหมาะแก่สภาวะของตัวเอง ที่เหลือเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ

กายสักแต่ว่ากาย

เวทนาสักแต่ว่าเวทนา

ธรรมสักแต่ว่าธรรม

เหตุจากรู้ชัดในสภาวะสัญญาชัดมากขึ้น เป็นเหตุให้แยกสภาวะระหว่างสัญญากับปัญญาออกจากกันได้ คือ มีเหตุเพียงยึดกับไม่ยึด

เมื่อมีการยึดติดในสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่คิดว่ารู้จะกลายเป็นสัญญาไปทัน มีแต่เหตุและก็การสร้างเหตุ เพราะมีการยึดในสิ่งที่คิดว่ารู้(สัญญา) เป็นเหตุให้เวียนว่ายในวัฏฎะไม่รู้จบ

เมื่อไม่ยึดในสิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งที่คิดว่ารู้ สักแต่ว่ารู้ เป็นเหตุให้เห็นรายละเอียดต่างๆของสภาวะที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนตลอดเวลา

เกิดขึ้นก็เพราะเหตุ ดับไปก็เพราะเหตุ เห็นแต่เหตุและก็เหตุ เป็นเหตุให้ จิตเกิดความเบื่อหน่าย เห็นแต่ทุกข์ โทษ ภัยนานาประการในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร

รู้ว่าการเกิดแต่ละครั้ง(ยังมีหลุดสร้างเหตุ/ภพชาติปัจจุบัน) นั่นคือความประมาทที่มีอยู่ (สติยังไม่ทัน)

ต้องทุกข์ รู้ชัดในทุกข์นั้นอย่างชัดเจนถึงจะรู้ชัดในเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ของการเกิดแต่ละครั้งเป็นแบบนี้นี่เอง เห็นได้แบบนี้ จิตจะเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เป็นเหตุให้เกิดความเพียรเอง โดยไม่ต้องพยายามที่จะทำให้เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2012, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสติ-สัมมาสมาธิ


สัมมาสติ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นเหตุของการสร้างเหตุในการตัดภพชาติปัจจุบัน

เหตุของการเกิดสัมมาสติ ได้แก่ การเจริญอิทธิบาท ๔

สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม


เหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นปัจจุบันขณะ ที่มีผัสสะเป็นเหตุ




สัมมาสมาธิ ได้แก่ มหาสติปัฏฐาน เป็นเหตุของการตัดภพชาติในวัฏสงสาร

เหตุของการเกิดสัมมาสมาธิ ได้แก่ การปรับอินทรีย์ระหว่างสมาธิสติกับสมาธิให้เกิดความสมดุลย์

สภาวะที่เกิดขึ้น ได้แก่ การรู้ชัดอยู่ภายในกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรม


เหตุของการเกิดเวียนว่ายในวัฏสงสาร คือ สังโยชน์ ๑๐ ได้แก่ กิเลสที่นองเนืองอยู่ในขันธสันดาน




อุปปันนะ

อุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น มีหลายประเภท
เรื่อง อุปปันนะ หลายประเภทนี้ มีกล่าวไว้ที่อื่น เช่น ขุ. สุ. อ. (บาลี) ๑/๑/๔-๗



อุปปันนะ ๔


[๘๓๒] ถามว่า ด้วยคำกล่าว เป็นต้นว่า "กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิดขึ้น นั่นแล ก็ไม่เกิดขึ้น" ดังนี้นั้น เป็นการแสดงถึง การละอะไร?

ตอบว่า เป็นการแสดงถึง การละกิเลสทั้งหลายที่เป็น ภูมิลัทธะ (ได้ภูมิพื้น-ภูมิพื้น คือ ฐานที่ตั้งแห่งความเป็นไป)


ถามว่า แต่ว่ากิเลสทั้งหลายที่ได้ภูมิพื้นเหล่านั้น เป็นอดีต หรืออนาคต หรือว่า เป็นปัจจุบัน

ตอบว่า กิเลสทั้งหลายเหล่านั้น คือ ที่เขาเรียกว่า ภูมิลัทุปปันนะ (คือ บังเกิดขึ้นโดยภูมิพื้น)
นั่นเอง




[๘๓๓] เพราะว่า สิ่งที่เป็น อุปปันนะ (คือ สิ่งเกิดขึ้น) มีหลายประเภท โดยเป็น

๑. วัตตมานะ กำลังเป็นไปอยู่

๒. ภูตาปคตะ เกิดแล้วจากไป

๓. โอกาสกตะ โอกาสอันกรรมทำให้

๔. ภูมิลัทธะ ได้ภูมิพื้น



ในอุปปันนะทั้งหลายนั้น

๑. สิ่งที่กล่าวว่า มีองค์ประกอบพร้อมด้วย (ขณะทั้ง ๓ คือ) อุปปาทะ (ความเกิดขึ้น) ๑ ชรา (ความเสื่อมโทรม) ๑ และภังคะ (ความแตกดับ) ๑

แม้ทุกอย่าง เรียกว่า วัตตมานุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น ที่กำลังเป็นไปอยู่


๒. กุศลและอกุศล ที่เสวยรสของอารมณ์ แล้วดับไป ซึ่งเรียกได้ว่า อนุภูตาปคตะ (คือ เสวยแล้วจากไป) ก็ดี

กุศลและอกุศล อันเป็นสังขตะที่ยังเหลือ ซึ่งมาถึงขณะ ๓ มีอุปปทาขณะเป็นต้น โดยลำดับ แล้วดับไป อันเรียกได้ว่า ภูตาปคตะ (คือ เกิดแล้ว จากไป) ก็ดี

เรียกว่า ภูตาปคตุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วจากไป




๓. กรรมที่กล่าวแล้วโดยนัยว่า "กรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด เป็นกรรมที่บุคคลผู้นั้นทำไว้แล้ว ในกาลก่อน" ดังนี้เป็นต้น

แม้เป็นอดีต ก็เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้น โดยมีโอกาสกรรมทำให้ เพราะ ห้ามวิบากอื่นแล้ว ทำโอกาส (ให้) แก่วิบากของตนเอง

และอนึ่ง วิบากที่มีโอกาส อันกรรมทำให้แล้ว แม้เป็นวิบากที่ยังไม่เกิด เรียกว่า โอกาสกตุปปันนะ (เหมือนกัน) เพราะ เมื่อกรรมทำโอกาสให้อย่างนั้นแล้ว ก็เกิดขึ้นโดยแน่นอน




๔. กรรมเป็นอกุศล ที่ยังมิได้ฉุดถอนให้ขาดในภูมิทั้งหลายนั้นๆ เรียกว่า ภูมิลัทธุปปันนะ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดย ได้ภูมิพื้น

ในอุปปันนะ ซึ่งจำแนกประเภทดังกล่าวมานี้ อุปปันนะ ๔ อย่าง กล่าวคือ วัตตมานะ ๑ ภูตาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ และสมุทาจาระ ๑ นี้นั้น ไม่เป็นอุปปันนะที่จะต้องละด้วย (มรรค)ญาณแม้ไรๆ เพราะ มิใช่อุปปันนะที่ฆ่าด้วย(อริย)มรรค




อีกประการหนึ่ง ยังมีอุปปันนะอื่น อีก ๔ อย่าง โดยเป็น
ดูเทียบเปรียบเทียบใน องฺ. เอกฺก. อ. (บาลี) ๑/๓๙๔/๔๔/-๔๔๒

๑. สมุทาจาระ คือ นิสัยเคยชิน

๒. อารัมมณาธิคหิตะ คือ ยึดมั่นในอารมณ์

๓. อวิกขัมภิตะ คือ มิได้ถูกกดข่มไว้

๔. อสูมหตะ คือ ยังถอนรากไม่ขาด



ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น อุปปันนะที่กำลังเป็นไปอยู่นั่นแล เป็น สมุทาจารุปปันนะ คือ กิเลสที่เกิดขึ้นด้วยความเคยชิน




เมื่ออารมณ์ (คือ รูป) มาสู่คลองแห่งทวาร มีตาเป็นต้น กิเลสแม้จะยังไม่เกิดขึ้นในตอนต้น แต่เพราะ ยึดมั่นอารมณ์ไว้นั่นเอง ท่านกล่าวว่า "เป็นอุปปันนะด้วย ยึดมั่นอารมณ์ไว้"

เพราะ ในตอนท้าย (กิเลส) ก็จะเกิดขึ้นโดยแน่นอน เหมือนอย่างกิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระมหาติสสเถระ ผู้กำลังเที่ยวเดินบิณฑบาตรอยู่ในหมู่บ้านกัลยาณคาม (หมู่บ้านเป็นที่เกิดของหญิงงาม) โดยได้เห็นรูปที่ไม่สมควร (แก่สมณะ)





กิเลสที่มิได้ถูกกดข่มไว้ด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา อำนาจใดอำนาจหนึ่ง แม้จะยังไม่ผุดขึ้นสู่สันตติของจิต ก็เรียกว่า เป็น อุปปันนะ โดยมิได้ถูกข่มไว้ เพราะ ไม่มีเหตุเป็นผู้ห้ามเกิดขึ้น


แต่แม้ว่า ถูกข่มไว้แล้วด้วยสมถะและวิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า อุปปันนะที่ยังถอนรากไม่ขาด โดยเหตุที่ยังไม่พ้นความเกิด เป็นธรรมดา เพราะเป็นกิเลสที่ยังไม่ถอนรากขาดด้วยอริยมรรค

เหมือนกิเลสที่เกิดขึ้นแก่พระเถระผู้ได้สมาบัติ ๘ กำลังเดินทาง (เหาะไป) โดยอากาศ ได้ยินเสียงเพลงขับร้องของมาตุคาม ซึ่งเก็บดอกไม้ที่ต้นไม้มีดอก อยู่ในป่าใกล้ๆ ขับร้องด้วยเสียงไพเราะ





อนึ่ง อุปปันนะแม้ทั้ง ๓ อย่าง คือ อารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสมูหตะ ๑ พึงทราบว่า สงเคราะห์เข้ากับภูมิลัทธะ (อุปปันนะ) นั่นเอง



[๘๓๘] ในอุปปันนะ ซึ่งจำแนกประเภทดังกล่าวมานี้ อุปปันนะ ๔ อย่าง กล่าวคือ วัตตมานะ ๑ ภูตาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ และสมุทาจาระ ๑ นี้นั้น ไม่เป็นอุปปันนะที่จะต้องละด้วย (มรรค)ญาณแม้ไรๆ เพราะ มิใช่อุปปันนะที่ฆ่าด้วย(อริย)มรรค

แต่ อุปปันนะ กล่าวคือ ภูมิลัทธะ ๑ อารัมมณาธิคหิตะ ๑ อวิกขัมภิตะ ๑ และอสูมหตะ ๑ (๔อย่าง) นี้ใด เพราะ โลกียญาณและโลกุตรญาณนั้นๆเกิดขึ้น ทำให้ความเป็นอุปปันนะนั้นๆ ของอุปปันนะ(๔ อย่าง) นั้น พินาศไป

เพราะฉะนั้น อุปปันนะแม้ทั้งหมด (ทั้ง ๔ อย่าง ข้างหลังนี้) นั้น จึงเป็นอุปปันนะที่ต้องละ ฉะนี้แล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร