วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 13:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 94 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คนบ้านเดียวกัน เขียน:
ขันธ์ 5
กับอุปาทาน ในปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ครับ :b30:


ไม่ใช่สิ่งเดียวกันครับ อุปาทานอาศัยเหตุคือตัญหา
เกิดขึ้นเพราะความหลง

ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แม้ไม่มีอุปาทาน ขันธ์5ก็ยังดำรงอยู่ได้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เวทนาเกิดจากการผัสสะ หรือการกระทบ ของอินทรีย์ 6 กับ อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์) จึงเกิดเวทนา ส่วนสัญญา สังขาร วิญญาณ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเป็นลำดับ

เวทนา > สัญญา > สังขาร > วิญญาณ นี่เรียกว่าการทำงานของจิต

ยกตัวอย่าง ตาเห็นรูป (ตา+รูป ) > เวทนา > สัญญา > สังขาร > วิญญาณ ทำงานทันที
ตาเห็นรูปจิตเกิดดับ 17 ครั้ง (วิสัยพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่รู้ได้)


ตาเห็นรูป เห็นเป็นนั่นเป็นนี่คือสัญญา วิญญาณเกิดเพราะความสนใจเกิด สัญญามาก่อนวิญญาณ แล้วจึงเกิดผัสสะ เกิดเวทนา แล้วจึงเกิดสังขารคือบุญ บาป คิดดีก็เป็นบุญ คิดไม่ดีก็เป็นบาป แล้วจึงเกิดเป็นตัญหา คือการติดใจ จึงเกิดอุปาทานคือการแสวงหา เพื่อให้ได้มาหรือเพื่อสลัดออก ตามลำดับ
สัญญาเกิดแล้วดับลง เช่น ลืมตา สัญญาเกิด หลับตา สัญญาดับ สัญญาไม่เที่ยง

วิญญาณเกิดแล้วดับลง เช่น มีสติระลึกได้ วิญญาณเกิดเพราะสนใจ มอง ฟัง สัมผัส ได้กลิ่น ได้รส ความนึกคิด แล้วดับลง เมื่อไม่ได้สนใจใน การมองแล้ว ฟังแล้ว สัมผัสแล้ว ได้กลิ่นแล้ว ได้รสแล้ว นึกแล้ว วิญญาณไม่เที่ยง

ผัสสะเกิดแล้วดับลง เช่น มองแล้วแสงสว่าง หรือมืด ฟังแล้วดังหรือเบา สัมผัสแล้วแข็ง หรือนุ่ม ได้กลิ่นแล้วหอม หรือเหม็น ได้รสแล้ว ร้อนหรือเย็น นึกแล้วดีหรือไม่ดี ผัสสะไม่เที่ยง

แล้ววงจรปฏิจจสมุปบาทก็ทำงานต่อไปทั้งสายเกิด และสายดับหากพิจารณาธรรมตามความเป็นจริงว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นทุกข์ เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แก้ไขล่าสุดโดย student เมื่อ 24 พ.ย. 2011, 16:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 15:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 15:36
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ student
แล้วขันธ์5 ต่างจากปฎิจจสมุปบาท อย่างไรครับ
ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 16:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เวทนาเกิดจากการผัสสะ หรือการกระทบ ของอินทรีย์ 6 กับ อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์) จึงเกิดเวทนา ส่วนสัญญา สังขาร วิญญาณ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเป็นลำดับ

เวทนา > สัญญา > สังขาร > วิญญาณ นี่เรียกว่าการทำงานของจิต

ยกตัวอย่าง ตาเห็นรูป (ตา+รูป ) > เวทนา > สัญญา > สังขาร > วิญญาณ ทำงานทันที
ตาเห็นรูปจิตเกิดดับ 17 ครั้ง (วิสัยพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่รู้ได้)


แก้ไขความเข้าใจผิดของผมเองนะครับ
เรียงใหม่ครับเป็น วิญญาณ > สัญญา > สังขาร > เวทนา
เวทนา คือความรู้สึก นำไปสู่ความพอใจ ไม่พอใจ
วิญญาณ คือ การรับรู้ รับรู้การกระทบของอายตนะภายนอก กับ อินทรีย์ 6


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 29 พ.ย. 2011, 14:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
คนบ้านเดียวกัน เขียน:
ขันธ์ 5
กับอุปาทาน ในปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ครับ



ขันธ์5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

อุปาทาน เป็นองค์ธรรม อยู่ในสังขารขันธ์ ครับ

สังขารขันธ์ มีทั้งหมด 50 องค์ธรรมครับ
ยกตัวอย่างเช่น ผัสสะ มนสิการ เจตนา สติ ปัญญา โทสะ โมหะ โลภะ อุปาทาน ฯลฯ

ตัวอุปาทานเวลามันทำงาน
มันทำงานโดยการ อุปาทานในรูปขันธ์
อุปาทาน(ยึดมั่น)ในเวทนาขันธ์
อุปาทานในสัญญาขันธ์
อุปาทานในสังขารขันธ์
อุปาทานในวิญญาณขันธ์

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2011, 15:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
คนบ้านเดียวกัน เขียน:
ขันธ์ 5
กับอุปาทาน ในปฏิจจสมุปบาท เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ครับ



ขันธ์5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

อุปาทาน เป็นองค์ธรรม อยู่ในสังขารขันธ์ ครับ

สังขารขันธ์ มีทั้งหมด 50 องค์ธรรมครับ
ยกตัวอย่างเช่น ผัสสะ มนสิการ เจตนา สติ ปัญญา โทสะ โมหะ โลภะ อุปาทาน ฯลฯ

ตัวอุปาทานเวลามันทำงาน
มันทำงานโดยการ อุปาทานในรูปขันธ์
อุปาทาน(ยึดมั่น)ในเวทนาขันธ์
อุปาทานในสัญญาขันธ์
อุปาทานในสังขารขันธ์
อุปาทานในวิญญาณขันธ์


เวทนา คือความรู้สึก นำไปสู่ความพอใจ ไม่พอใจ มาจากความไม่รู้ หรือ อวิชชา
ตัณหา คือความต้องการ
อุปทาน คือการตอบสนองตัณหา

เวทนา > ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ

รูปภาพ


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 29 พ.ย. 2011, 14:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2011, 15:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 15:36
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา คือความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ มาจากความไม่รู้ หรือ อวิชชา
ตัณหา คือความต้องการ
อุปทาน คือการตอบสนองตัณหา

เวทนา > ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ



แล้วคำว่า ภพ กับ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทละครับมีความหมายว่าอย่างไร :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2011, 16:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


คนบ้านเดียวกัน เขียน:
เวทนา คือความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ มาจากความไม่รู้ หรือ อวิชชา
ตัณหา คือความต้องการ
อุปทาน คือการตอบสนองตัณหา

เวทนา > ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ



แล้วคำว่า ภพ กับ ชาติ ในปฏิจจสมุปบาทละครับมีความหมายว่าอย่างไร :b8:


ภพ คือ การตัดสินใจ การตกลงใจ
ชาติ คือ การเกิดแห่งทุกข์


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 29 พ.ย. 2011, 16:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2011, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)


พอใจ ไม่พอใจ น่าจะเป็นเรื่องของกิเลสแล้วครับ
กิเลสทั้งหมด จัดอยู๋ในสังขารขันธ์
พอใจ .......................อภิชชา
ไม่พอใจ ....................โทสะ
น่าจะแบบนี้มากกว่าครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2011, 20:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: พอดีอ่านที่คุณโกวิทย์ฯว่ามา

อุปาทานในขันธ์..5

อ้างคำพูด:
ตัวอุปาทานเวลามันทำงาน
มันทำงานโดยการ อุปาทานในรูปขันธ์
อุปาทาน(ยึดมั่น)ในเวทนาขันธ์
อุปาทานในสัญญาขันธ์
อุปาทานในสังขารขันธ์
อุปาทานในวิญญาณขันธ์


ก็เลยนึกต่อเล่น ๆ ...ว่า...

อาการยึดมั่นใน..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..มันมีอาการยังงัยนะ??

อะไรเป็นข้อบงชี้ว่า..กำลังยึดอยู่??

แล้วมันกลายไปเป็นภพ...ที่เกี่ยวกับการเกิดของเราอีท่าไหน?? s006 s006

ใครบอกได้..หรือมีความคิดเห็นยังงัย...ช่วยหน่อย :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2011, 12:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)


พอใจ ไม่พอใจ น่าจะเป็นเรื่องของกิเลสแล้วครับ
กิเลสทั้งหมด จัดอยู๋ในสังขารขันธ์
พอใจ .......................อภิชชา
ไม่พอใจ ....................โทสะ
น่าจะแบบนี้มากกว่าครับ


ความพอใจ หรือ โลภะ
ความไม่พอใจ หรือ โทสะ
รู้ไม่เท่าทันความพอใจ และความไม่พอใจ หรือ โมหะ
กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ และราคะ
เวทนา ทำหน้าที่รู้ึสึก ทำให้เกิดความ พอใจ ไม่พอใจ
สัญญา ทำหน้าที่จำ
สังขาร ทำหน้าที่ปรุงแต่ง
วิญญาณ ทำหน้าที่รับรู้ (เกิดจากการผัสสะของอาตนะภายนอกกับอินทรีย์ 6)

-กิเลสไม่ได้จัดอยู่้ในสังขารขันธ์ แต่เกิดการทำงานของ วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา ทำงานต่อเนื่องกันเป็นลำดับครับ ผลที่เกิด คือ ความพอใจ ไม่พอใจ นี่คือการทำงานของ จิต ครับ
อายนะภายนอก ผัสสะ อินทรีย 6 >วิญญาณ >สัญญา >สังขาร> เวทนา > ความพอใจ ไม่พอใจ

ที่คุณว่ากิเลสจัดอยู่ในสังขารขันธ์ก็ใช่อยู่
กิเลสเกิดขึ้นจากกระบวนการปรุงแต่ง (คิดปรุงแต่ง) ของสังขาร ทำให้เกิดอารมณ์ หรือความรู้สึก
พอใจ ไม่พอใจ

อธิบายเพิ่มเติม ทุกข์ ก็คือความไม่พอใจ
สุข ก็คือความพอใจ


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 29 พ.ย. 2011, 14:41, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2011, 13:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b12: พอดีอ่านที่คุณโกวิทย์ฯว่ามา

อุปาทานในขันธ์..5

อ้างคำพูด:
ตัวอุปาทานเวลามันทำงาน
มันทำงานโดยการ อุปาทานในรูปขันธ์
อุปาทาน(ยึดมั่น)ในเวทนาขันธ์
อุปาทานในสัญญาขันธ์
อุปาทานในสังขารขันธ์
อุปาทานในวิญญาณขันธ์


ก็เลยนึกต่อเล่น ๆ ...ว่า...

อาการยึดมั่นใน..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..มันมีอาการยังงัยนะ??

อะไรเป็นข้อบงชี้ว่า..กำลังยึดอยู่??

แล้วมันกลายไปเป็นภพ...ที่เกี่ยวกับการเกิดของเราอีท่าไหน?? s006 s006

ใครบอกได้..หรือมีความคิดเห็นยังงัย...ช่วยหน่อย :b12:


อาการยึดมั่นใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขาดตกอีกตัวหนึ่งครับ คือ รูป
คือ การยึดมั่นในขันธ์ 5 (รวมนะครับไม่ใช่แยกกัน) ยึดว่านี้คือตัวเรา นี่ของกู นี่หน้าตาเรา นี่หุ่นของเรา นี่คือผิวพรรณของเรา นี่แหละคือการยึดมั่นใน (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ทุกอย่างไม่เที่ยงเกิดจากเหตุและปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวเท่านั้นสุดท้ายแตกสลายหายไป ไม่มีตัวตน

เมื่อเรายึดมั่นอย่างนี้ทำให้เราเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ในตัวตนของเราทำให้เกิดตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปทาน คือ การยึดมั่นเพื่อตอบสนองตัณหาตนเอง ทำให้เกิดภพตามมา ภพ คือการตัดสินใจ /ตกลงใจ หรือเจตนา ชาติก็ตามมา ชาติ คือ การเกิดของทุกข์

สมมุติ
ตา ผัสสะ รูป > วิญญาณ > สัญญา> สังขาร> เวทนา >พอใจ,ไม่พอใจ > ตัณหา >
อุปทาน > ภพ > ชาติ > ชรา มรณะ > อวิชชา


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 30 พ.ย. 2011, 10:05, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2011, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ตัวหัวโจก หัวหน้าโจร ของกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ

เหล่านี้ เป็นองค์ธรรม อยู่ใน สังขารขันธ์

แต่ก่อนที่จะไปดูลิงค์ให้เข้าใจ ต้องรู้ว่า เจตสิก คืออะไรก่อน
เจตสิก ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
เจตสิก มีทั้งหมด 52 ตัว
ถ้า เอาออกไป 2 ตัวคือ เวทนาขันธ์1 สัญญาขันธ์1 ก็จะเหลือ 50

สังขารขันธ์ ก็เลยมีทั้งหมด 50 ตัว

เมื่อทราบเช่นนี้ แล้วก็กดลิงค์ เข้าไปดู องค์ธรรมของเจตสิก ได้ครับ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2011, 21:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

อาการยึดมั่นใน..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..มันมีอาการยังงัยนะ??

อะไรเป็นข้อบงชี้ว่า..กำลังยึดอยู่??

แล้วมันกลายไปเป็นภพ...ที่เกี่ยวกับการเกิดของเราอีท่าไหน?? s006 s006

:b12:


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
.....

เมื่อเรายึดมั่นอย่างนี้ทำให้เราเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ในตัวตนของเราทำให้เกิดตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปทาน คือ การยึดมั่นเพื่อตอบสนองตัณหาตนเอง ทำให้เกิดภพตามมา ภพ คือการตัดสินใจ หรือตกลงใจ ชาติก็ตามมา ชาติ คือ การเกิดของทุกข์



ทำให้เห็นภาพ..ดี

เข้าท่า...ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2011, 03:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
อุปมาด้วยกงรถ

“ พระนาคเสนจึงขีดเป็นกงรถลงที่พื้นดินแล้วถามพระเจ้ามิลินท์ว่า ที่สุดแห่งกงรถนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสไว้ว่า “ กงจักรเหล่านี้ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ” ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดพราะอาศัย จักขุ กับ รูป เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นั้นรวมกันก็เป็น ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา”
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด กรรม
จักขุ ก็เกิดจาก กรรม อีก ที่สุดแห่งการสืบต่ออันนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า ”
“ ขอถวายพระพร โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเสียงกับหู จมูกกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ มโนกับธรรมะ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ รวมกันเข้าก็เป็น ผัสสะ แล้วทำให้เกิด เวทนา ตัณหา อุปทาน กรรม แล้ว โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เกิดจากกรรมนั้นอีก ที่สุดแห่งการสืบต่อนี้มีอยู่หรือไม่ ? ”
“ ไม่มี พระผู้เจ้าเป็นเจ้า ”
“ ข้อนี้ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ขอถวายพระพร ”
“ ชอบแล้ว พระนาคเสน ”


ปุถุชน ย่อมหมุนวน อยู่กับสิ่งเหล่านี้ ตลอดวันตลอดคืน

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ


คำว่า ภพ องค์ธรรมคือ เจตนาเจตสิก ซึ่งก็คือกรรมนั่นเอง
บางแห่งพูดว่า กัมมภพ ไปเลย
บางที่ก็พูดว่า ภพในใจ

ซึ่งวิเคราะห์แล้ว ก็คือ อันเดียวกัน ความหมายทำนองเดียวกัน

คนเรา มีการสร้างภพในใจอยู่ตลอดเวลา หลังจากผัสสะ

บางคน ผัสสะแล้ว ก็แปรสภาพจิต เป็นเทวดา
บางคนผัสสะแล้ว ก็แปรสภาพจิต เป็นยักษ์
บางคนผัสสะแล้ว ก็แปลสภาพจิต เป็นสัตว์นรก
บางคนผัสสะแล้ว ก็แปรสภาพจิต เป็นเดรัจฉาน
บางคนผัสสะแล้ว ก็แปรสภาพจิต เป็นพรหม

เหล่านี้คือ ภพในใจ

ภพในใจ ของแต่ละคน เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แล้วแต่ว่าจะผัสสะเรื่องอะไร

ตัวสภาพจิต หรือภพในใจ อันนี้
หากคนเราตายทันที จะส่งผลให้ไปเกิดเป็นสิ่งนั้นๆ ภพนั้นๆ ตามภพในใจในขณะนั้น
เรียกว่า ชาติ
หรือ ชื่อหนึ่งคือ อุปัติภพ

การเกิด หรือชาติ เป็นการเกิดอีกภพภูมิหนึ่ง จริง ๆ ไม่ใช่ภพในใจอีกต่อไป
นี่คือเรื่องชาติ

เพราะฉะนั้น ยามปกติธรรมดา
ปุถุชน จึงวนอยู่กับกงล้อ

ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ

แบบนี้ ตลอดวันตลอดคืน

อย่างที่พระนาคเสน อธิบายไว้ ชัดเจนแจ่มแจ้งกว่า ... ดีแล้ว

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 94 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร