วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 06:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 09:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สติมีในทุกคนเราใช้สติตลอดยกเว้นตอนหลับ สติทำหน้าที่ระลึก หรือดึงความจำมารับการกระทบการสัมผัสจากภายนอก ถ้ามีความจำทางลบมากก็จะดึงเอาลบออกมา ปัญญาทำหน้าที่ดับอกุศล หรือทางลบ สมาธิคือผลที่ได้จากการใช้ปัญญาดับเหตุแห่งทุกข์


แสดงว่าคุณไม่เคยมีสติตอนหลับเลยน่ะสิ่

:b6: :b6: :b6:

คุณเคยศึกษางานวิจัยทางวิทยาศาตร์บ้างมั๊ย
ที่ว่าตอนหลับสมองคนเราจะผลิตคลื่นออกมาน่ะ

ในตอนหลับ คนเราเข้าภวังค์ ออกภวังค์
คุณไม่เคยรู้สึกถึงอาการเข้าภวังค์ ออกภวังค์ในขณะหลับเลยล่ะสิ่ :b6:

ซึ่งก็มี ผู้ปฏิบัติที่รู้สึกได้ถึงระดับความถี่ของคลื่นแต่ละช่วงที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งเขาก็ใช้ทักษะนี้ที่เขามี สามารถพิจารณาจิต ได้
พิจารณา ขันธ์ห้า และ ขันธ์สี่
พิจารณา ขันธ์ห้า ฝันเห็นน้ำ ในขณะปวดฉี่
ฝันเห็นคนบีบคอ ในขณะที่กำลังนอนตกหมอนเป็นต้น
พิจารณา ปัจจัยที่อายตนะปรากฎแต่สัญญาแสดงผลคลาดเคลื่อน
สัญญาที่แสดงจากผัสสะ/เวทนาที่ปรากฎ
กะสัญญาแสดงไปตามอุปทาน กิเลส ตัณหา
ในขณะหลับฝัน ต่อให้คุณแขนขาด คุณก็ไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะเห็นความกดดันทางใจ
ต่อให้คุณตกตึก ถ้ากล้าที่จะประคองจิตเพื่อดูผลลัพธ์
คุณจะรู้สึกแค่ว่ากำลังตก แต่ไม่มีพื้นที่จะให้ถึง
แม้แต่ถ้าคุณจะต้องถูกฆ่าตาย คุณก็จะพบแค่อาการหวาดเสียว กลัว
ถ้าประคองจิตบนอารมณ์นั้นไปจนถึงที่สุด คุณก็ยังรู้สึกตัวอยู่
แม้ในฝันคอคุณจะขาดจากกันแล้วก็ตาม
แม้แต่ความหวาน ก็รับรู้ได้ แต่เป็นการทำงานสัญญา ไม่ใช่ลิ้น
เพราะมันมีสภาวะที่สัญญามันแสดงผัสสะ เวทนาให้ปรากฎได้
ในขณะหลับ และฝัน ในฝัน สัญญาขันธ์ จะแสดงการทำงานโดดเด่นกว่าใคร
ถ้าจะจับผิด สัญญาขันธ์ ก็ต้องรู้ว่ามันแสดงพิเรณทร์ตอนไหน อย่างไร อะไรเป็นปัจจัย
ไม่ใช่ สักแต่ว่าเอาไปแทงหวย

ใช้ผัสสะให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาธรรมในทุกแง่มุม

เพราะ การตีโจทย์ให้แตกตามความเป็นจริงจนถึงที่สุดนั้น
ทำให้ผู้ปฏิบัติต้องมีแง่ที่จะค้นดั้นด้นไปพิจารณาธาตุ
อันประกอบเป็น มหาภูตรูป เอง

ไม่เช่นนั้นพระพุทธองค์จะสอนไปจนถึงเรื่อง ธรรมธาตุ ทำไม

:b20: :b20: :b20:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 13 พ.ย. 2011, 10:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อหลายพันปีก่อน
ไม่มีแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งประเทศที่เรียกว่ากรุงเทพ

แต่แผ่นดินนี้ เกิดจากตะกอนที่ทับถมกันมานานแสนนาน จนกลายเป็นแผ่นดิน
คนก็มาอาศัยอยู่ แล้วก็ตั้งเป็นเมืองหลวงว่า กรุงเทพมหานครฯ

----
บ่นล่ะครับ ไม่เที่ยง เกิดดับ

ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างก็เป็นบาทเป็นฐาน แห่งกันและกัน ประสานกันเป็นมรรคสมังคี
จนแยกกันไม่ออกจากกัน

แต่กว่าจะให้มีให้เป็นให้เจริญขึ้น ให้สมังคีกันได้ก็ต้องมี พระพุทธเจ้าอุบัติขี้นในโลก
เพื่อเป็นกัลยาณมิตร เพื่อกระตุ้นชำแรกจิตให้คิดเป็น
ปัญญาที่มีกำลังอ่อนเพียงน้อยนิดจึงจะเจริญขี้นได้

ปัญญาแห่งการดับทุกข์กว่าที่จะเจริญขี้นได้เต็มที่นั้น
พฤติกรรมทางกายและวาจา ก็จะถูกควบคุมโดยอาศัยศีล อาศัยศรัทธา
อาศัยปัญญาที่เกิดจากการฟัง การพิจารณา

การควบคุมพฤติกรรมทางกายทางวาจา ต่างก็อาศัยสมาธิอันมีกำลังที่ยังน้อย ปัญญาที่ยังมีกำลังน้อยที่ยังไม่สามารถทำความรู้แจ้งเห็นจริงถึงสภาวะธรรมตามเหตุปัจจัย

สิ่งต่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยๆไป วิปัสสนาปัญญาจึงเกิดขึ้นภายหลัง
เปรียบเหมือนเด็กน้อยไม่อาจทำปริญญาเอกก่อน แล้วค่อยมาหัดเขียน ตัวหนังสือ ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เมื่อหลายพันปีก่อน
ไม่มีแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งประเทศที่เรียกว่ากรุงเทพ

แต่แผ่นดินนี้ เกิดจากตะกอนที่ทับถมกันมานานแสนนาน จนกลายเป็นแผ่นดิน
คนก็มาอาศัยอยู่ แล้วก็ตั้งเป็นเมืองหลวงว่า กรุงเทพมหานครฯ

----
บ่นล่ะครับ ไม่เที่ยง เกิดดับ

ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างก็เป็นบาทเป็นฐาน แห่งกันและกัน ประสานกันเป็นมรรคสมังคี
จนแยกกันไม่ออกจากกัน

แต่กว่าจะให้มีให้เป็นให้เจริญขึ้น ให้สมังคีกันได้ก็ต้องมี พระพุทธเจ้าอุบัติขี้นในโลก
เพื่อเป็นกัลยาณมิตร เพื่อกระตุ้นชำแรกจิตให้คิดเป็น
ปัญญาที่มีกำลังอ่อนเพียงน้อยนิดจึงจะเจริญขี้นได้

ปัญญาแห่งการดับทุกข์กว่าที่จะเจริญขี้นได้เต็มที่นั้น
พฤติกรรมทางกายและวาจา ก็จะถูกควบคุมโดยอาศัยศีล อาศัยศรัทธา
อาศัยปัญญาที่เกิดจากการฟัง การพิจารณา

การควบคุมพฤติกรรมทางกายทางวาจา ต่างก็อาศัยสมาธิอันมีกำลังที่ยังน้อย ปัญญาที่ยังมีกำลังน้อยที่ยังไม่สามารถทำความรู้แจ้งเห็นจริงถึงสภาวะธรรมตามเหตุปัจจัย

สิ่งต่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยๆไป วิปัสสนาปัญญาจึงเกิดขึ้นภายหลัง
เปรียบเหมือนเด็กน้อยไม่อาจทำปริญญาเอกก่อน แล้วค่อยมาหัดเขียน ตัวหนังสือ ครับ

ลองไปถามองคุลีมาลดู ท่านว่า ตลกดี (ขำๆครับ)ล้อเล่น :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 12:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


huh :b32: wink

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 13:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เมื่อหลายพันปีก่อน
ไม่มีแผ่นดินอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งประเทศที่เรียกว่ากรุงเทพ

แต่แผ่นดินนี้ เกิดจากตะกอนที่ทับถมกันมานานแสนนาน จนกลายเป็นแผ่นดิน
คนก็มาอาศัยอยู่ แล้วก็ตั้งเป็นเมืองหลวงว่า กรุงเทพมหานครฯ

----
บ่นล่ะครับ ไม่เที่ยง เกิดดับ

ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างก็เป็นบาทเป็นฐาน แห่งกันและกัน ประสานกันเป็นมรรคสมังคี
จนแยกกันไม่ออกจากกัน

แต่กว่าจะให้มีให้เป็นให้เจริญขึ้น ให้สมังคีกันได้ก็ต้องมี พระพุทธเจ้าอุบัติขี้นในโลก
เพื่อเป็นกัลยาณมิตร เพื่อกระตุ้นชำแรกจิตให้คิดเป็น
ปัญญาที่มีกำลังอ่อนเพียงน้อยนิดจึงจะเจริญขี้นได้

ปัญญาแห่งการดับทุกข์กว่าที่จะเจริญขี้นได้เต็มที่นั้น
พฤติกรรมทางกายและวาจา ก็จะถูกควบคุมโดยอาศัยศีล อาศัยศรัทธา
อาศัยปัญญาที่เกิดจากการฟัง การพิจารณา

การควบคุมพฤติกรรมทางกายทางวาจา ต่างก็อาศัยสมาธิอันมีกำลังที่ยังน้อย ปัญญาที่ยังมีกำลังน้อยที่ยังไม่สามารถทำความรู้แจ้งเห็นจริงถึงสภาวะธรรมตามเหตุปัจจัย

สิ่งต่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยๆไป วิปัสสนาปัญญาจึงเกิดขึ้นภายหลัง
เปรียบเหมือนเด็กน้อยไม่อาจทำปริญญาเอกก่อน แล้วค่อยมาหัดเขียน ตัวหนังสือ ครับ

ลองไปถามองคุลีมาลดู ท่านว่า ตลกดี (ขำๆครับ)ล้อเล่น :b13:



ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ว่ากันน่าจะมาจากตรงนี้นะครับ
เอาไว้ใช้กับอริยบุคคล หรือ อริยสงฆ์ ผู้มีปัญญาประกอบแล้ว (สัมมาทิฏฐิ) เอาไว้ฝึกตนเองเพื่อให้ไปสู่อรหันต์เร็วขึ้น

ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่ผู้รู้ทั้งหลายแปล หรือให้ความหมายไว้ แล้วนำมาวางเป็นไตรสิกขาให้พระสงฆ์และฆราวาสปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับเป้าหมาย ความหมายที่ถูกต้อง
อธิศีล คือ ศีลใหญ่ มี 4 ข้อไม่ฆ่ามนุษย์ ไม่เสพเมถุน ไม่ถวดอุตตริมนุสสธรรม ไมลักทรัพย์เกิน 5 มาสก หรือ 1 บาท ศีล 4 ข้อนี้ ถ้าพระสงฆ์องค์ไหนผิดข้อใดข้อหนึ่ง พระสงฆ์องค์นั้นจะหมดสภาพเป็นพระสงฆ์ทันทีที่ผิด เรียกว่าพระสงฆ์ปาราชิก พระสงฆ์ที่ผิดศีล 4 ข้อนี้ ข้อใดข้อหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสจะว่าเป็นโมฆบุรุษเป็นตาลยอดด้วน ถ้าอยู่ในสภาพพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าโจรปล้นเขากิน ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานชาตินี้ ไม่สามารถจะบวชเป็นภิกษะต่อไปได้

อธิจิต หมายถึง จิตที่ยิ่งใหญ่ คือ จิตที่ไม่ประมาท รู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง เกิดจากเหตุและปัจจัย ว่างจากตนและของตนจนเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ไปหลงพอใจ และไม่พอใจกับสิ่งที่มากระทบสัมผัสตัวเราขณะปัจจุบัน อธิจิต ไม่ใช่สมาธิ

อธิปัญญา หมายถึง ความรู้ที่ดับได้ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ได้จากการวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5
และอินทรีย์ 6 ให้รู้เห็นสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราในขณะปัจจุบันตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต ความรู้อย่างนี้เรียกสัมมาทิฏทิ หรือปัญญาสามารถดับความพอใจ และไม่พอใจที่เป็นอวิชชาได้ทันทีเรียกว่า อธิปัญญา ปัญญาที่ยิ่งใหญ่

- ส่วนการฝึกของฆราวาสเพื่อให้มีัปัญญาดับทุกข์ หรือให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือรู้เห็นสภาพความเป็นจริงของโลกและชีวิตตามกฎเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป น่าจะเป็น คือการวิปัสสนา เพื่อให้เกิดปัญญา ศีล สมาธิ นี่คือผลของการรู้แจ้งโลกของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไตรสิกขา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 12:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วันก่อนเพิ่งกล่าวถึงฝันไปหยก ๆ
วันนี้ก็ไปเจอเทศน์บท "ฝันในฝัน" ของหลวงพ่อสด :b12:

http://www.watpaknam.org/teaching/view.php?id=2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 14:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่เท่าที่อ่านพระสูตรนี้
ดูเหมือนพระพุทธองค์ก็แสดงลำดับแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา เอาไว้ เช่นกัน

:b14: :b14: :b14:

ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องมีใครเจตนา๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "อวิป-
ปฏิสาร จงบังเกิดแก่เรา".ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีศีล
สมบูรณ์แล้ว อวิปปฏิสารย่อมเกิด(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "ปราโมทย์
จงบังเกิดแก่เรา".ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร
ปราโมทย์ย่อมเกิด(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อปราโมทย์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "ปีติ
จงบังเกิดแก่เรา". ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อปราโมทย์แล้ว
ปีติย่อมเกิด(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อมีใจปีติแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "กายของเรา
จงรำงับ". ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีใจปีติแล้ว กายย่อม
รำงับ(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจง
เสวยสุขเถิด".ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อกายรำงับแล้ว ย่อมได้
เสวยสุข(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อมีสุข ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "จิตของเราจงตั้งมั่น
เป็นสมาธิ".ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่นเป็น
สมาธิ(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า
"เราจงรู้จงเห็นตามที่เป็นจริง". ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อจิต
ตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า
"เราจงเบื่อหน่าย" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่
เป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "เราจง
คลายกำหนัด". ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อม
คลายกำหนัด(เอง).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อจิตคลายกำหนัดแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า
"เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ". ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า
เมื่อคลายกำหนัดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ(เอง).

:b48: :b48: :b48:


:b6: :b6: :b6:

เช่นนั้น เขียน:
....
ศีล สมาธิ ปัญญา ต่างก็เป็นบาทเป็นฐาน แห่งกันและกัน ประสานกันเป็นมรรคสมังคี
จนแยกกันไม่ออกจากกัน


สิ่งต่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยๆไป วิปัสสนาปัญญาจึงเกิดขึ้นภายหลัง
เปรียบเหมือนเด็กน้อยไม่อาจทำปริญญาเอกก่อน แล้วค่อยมาหัดเขียน ตัวหนังสือ ครับ


:b1: ความนัยไม่ขัดแย้งกับพระสูตร :b17: :b17:

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ว่ากันน่าจะมาจากตรงนี้นะครับ
เอาไว้ใช้กับอริยบุคคล หรือ อริยสงฆ์ ผู้มีปัญญาประกอบแล้ว (สัมมาทิฏฐิ) เอาไว้ฝึกตนเองเพื่อให้ไปสู่อรหันต์เร็วขึ้น

ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่ผู้รู้ทั้งหลายแปล หรือให้ความหมายไว้ แล้วนำมาวางเป็นไตรสิกขาให้พระสงฆ์และฆราวาสปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับเป้าหมาย ความหมายที่ถูกต้อง
....

- ส่วนการฝึกของฆราวาสเพื่อให้มีัปัญญาดับทุกข์ หรือให้เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือรู้เห็นสภาพความเป็นจริงของโลกและชีวิตตามกฎเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป น่าจะเป็น คือการวิปัสสนา เพื่อให้เกิดปัญญา ศีล สมาธิ นี่คือผลของการรู้แจ้งโลกของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ไตรสิกขา


อืมมมม ...

:b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2011, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


น้ำที่ขุ่นย่อมมองเหตุวัตถุที่ปนในน้ำยากยิ่ง
น้ำใสสะอาดย่อมมองเห็นวัตถุที่ปนในน้ำได้ง่ายยิ่ง


จิตที่เศร้าหมอง ปัญญาย่อมพิจารณาเห็นสภาวะต่างๆที่เจือสมอยู่ในจิต ยากยิ่ง
จิตที่ไม่เศร้าหมอง ปัญญาย่อมพิจารณาเห็นสภาาวะต่างๆที่เจอสมอยู่ในจิต ง่ายยิ่ง

สมาธิ ทำให้จิตระงับจากนิวรณ์(สภาวะที่กางกั้น) ปัญญาก็จะพิจารณาได้ง่าย

เฮ่อ ที่จริงไม่น่ายุ่ง ดันทำยุ่งอีกนะ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร