วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 19:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภิกษุทั้งหลาย เราได้พบมรรคาเก่า หนทางเก่า ที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เคยเสด็จไป ก็มรรคาเก่า หนทางเก่า ที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เคยเสด็จไปนั้น เป็นไฉน คือมรรคาอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ นี้แล ได้แก่สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลมรรคา
เก่า หนทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เคยเสด็จไปแล้ว เราก็ได้
เดินตามหนทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางเก่านั้น
เมื่อกำลังเดินตามหนทางนั้นไป ได้รู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดขึ้นแห่งชรา
และมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และได้รู้ชัดซึ่งปฏิปทาเครื่องให้ถึงความ
ดับชราและมรณะ
เมื่อเรากำลังเดินตามทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘
ประการ อันเป็นทางเก่านั้นไปอยู่ ได้รู้ชัดซึ่งชาติ ฯลฯ ได้รู้ชัดซึ่งภพ ... ได้รู้ชัด
ซึ่งอุปาทาน ... ได้รู้ชัดซึ่งตัณหา ... ได้รู้ชัดซึ่งเวทนา ... ได้รู้ชัดซึ่งผัสสะ ... ได้
รู้ชัดซึ่งสฬายตนะ ... ได้รู้ชัดซึ่งนามรูป ... ได้รู้ชัดซึ่งวิญญาณ ... ได้รู้ชัดซึ่งสังขาร
ทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งสังขาร ความดับแห่งสังขาร และได้รู้ชัดซึ่งปฏิปทา
เครื่องให้ถึงความดับแห่งสังขาร ครั้นได้รู้ชัดซึ่งทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วย
องค์ ๘ ประการนั้นแล้ว เราจึงได้บอกแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ของเราจึงได้เจริญแพร่หลาย กว้างขวาง มีชนเป็น
อันมากรู้ เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็ประกาศได้เป็นอย่าง
ดี ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๗๘๐ - ๒๘๕๔. หน้าที่ ๑๑๔ - ๑๑๗.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เดินเข้ามรรค8(สมาธิที่มีเจตสิกที่เป็นกุศลเช่นเมตตา)

[๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน
ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้
เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ
เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด
โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา
ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ
ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว
ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา-
*เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้
โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา
ตั้งมั่นโดยชอบ
เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘
ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ
ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา
เจโตวิมุ
ติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้
องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ
เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น
ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ
ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ
อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว
เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล
นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
จบเมตตากถา ฯ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๘๔๔๙ - ๘๖๙๑. หน้าที่ ๓๕๐ - ๓๕๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เอาสมถะไม่เอาฌานมรรคาไม่เกิด


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
เป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
หนึ่ง ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๕๘๙. หน้าที่ ๓๑๓ - ๓๑๔.


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 14:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

จิตใจ ไม่ได้สั่งร่างกาย ถ้าหากสั่งได้เราคงสั่งให้เรา ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
จิตใจ ทำงานร่วมกัน เมื่อเราเกิดเวทนา(การรู้) แล้วสัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นตามมาทันที ทุกอย่างทำงานร่วมกันอัตโนมัติ

ทุกอย่างที่เราทำในชีวิตประจำวันเราจะทำตามสัญญาที่เราสะสมมาในอดีต
ก่อนที่จะไปหาสัญญาต้องเกิดการรู้ เวทนา แล้วก็จะดึงความจำสัญญาที่เราสะสมมาในอดีต จากนั้นคิดปรุงแต่ง สังขาร ต่อการนั้นเราก็เกิดการรับรู้ วิญญาณ การรับรู้ เช่น ได้ยินเสียงเพราะหรือไม่เพราะ กลิ่นเหม็น หอม รสเค็ม เปรี้ยว ร้อน เย็น เป็นต้น

เรื่องการทำงานของขันธ์ 5 นี้ซับซ้อนยิ่งนัก....จะเขียนเป็นไดอะแกรมก็พอจะทำได้แบบคร้าว ๆ ตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์เท่านั้น

ผัสสะเกิด.....วิญญาณก็เกิด ณ ที่ตรงนั้น....ส่งมาที่ใจ

ใจรับ..แล้วก็รู้...สัญญาขันธ์ก็ทำงาน...ทำงานเสร็จใจก็รู้ว่าเป็นอะไร...เป็นคุณหรือเป็นโทษ
เป็นคุณ....ก็สร้างสุขเวทนา
เป็นโทษ..ก็สร้างทุกขเวทนา

เพราะหลงในเวทนาว่าเป็นจริงเป็นจัง....ตัณหาก็เกิด

(ความจริงจะว่าตัณหาเกิดก่อนเวทนาก็มี....เกิดหลังเวทนาก็มี)

ว้าา....ขี้เกียจซะแล้ว huh huh


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 12 พ.ย. 2011, 14:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงความคิดในสมถะกรรมฐาน40กองจะถนัดอันไหนก็ตามแต่....ในพระสูตรนี้เป็นอานาปาน
ให้สังเกตุลักษณะของจิตตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงอรหัตตมรรคคือหยุดในหยุดกลางของหยุด แน่นอน
Quote Tipitaka:
๓๗๓] ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน ลักษณะ
แห่งเบื้องต้นเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่งเบื้องต้นนั้น
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะเป็นจิตหมดจด จิตแล่นไปใน
สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑ จิตดำเนิน
ไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตอันหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมถ-
*นิมิตเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้นแห่ง
ปฐมฌาน ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ฯ
[๓๗๔] ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
ท่ามกลางเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๓ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไป
สู่สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉย ๑ จิตมีความปรากฏใน
ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ ๑ ความพอกพูนอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่ง
ปฐมฌาน ลักษณะแห่งปฐมฌาน ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
ปฐมฌานเป็นฌานมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
[๓๗๕] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่งที่สุดเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
ปฐมฌานนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอัน
เดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ลักษณะแห่ง
ที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปฐมฌานมีความงาม
ในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึง ความเป็นไป ๓ ประการ
มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิต
ถึงพร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[๓๗๖] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งทุติยฌาน ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป
๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ ... และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[๓๗๗] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุด แห่งตติยฌาน ฯลฯ
จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม อย่าง ๓ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยปีติ สุข ... และถึงพร้อมด้วย
ปัญญา ฯ
[๓๗๘] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งจตุตถฌาน ฯลฯ
จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้
ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[๓๗๙] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอากาสา-
*นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มี
ความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
พร้อมด้วยอุเบกขา การอธิษฐานจิต ฯลฯ และถึงพร้อมด้วยปัญญา ฯ
[๓๘๐] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอนิจจา-
*นุปัสนา ฯลฯ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ มีความงาม ๓ อย่าง อย่างนี้
ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการ ถึงพร้อมด้วยวิจาร ... และถึง
พร้อมด้วยปัญญา ฯ
อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งทุกขานุปัสนา อนัตตา-
*นุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
ขยานุปัสนา วยานุปัสนา วิปริณามานุปัสนา อนิมิตตานุปัสนา อัปปณิหิตา-
*นุปัสนา สุญญตานุปัสนา อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะ
อาทีนวานุปัสนา ปฏิสังขานุปัสนา วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค
สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ฯลฯ
[๓๘๑] อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความพอกพูนอุเบกขา เป็น
ท่ามกลาง ความร่าเริงเป็นที่สุด แห่งอรหัตมรรค ฯ
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่ง
เบื้องต้นเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการ คือ จิตหมดจดจากอันตรายแห่ง
เบื้องต้นนั้น จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด
จิตแล่นไปในสมถนิมิตนั้นเพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว จิตหมดจดจากอันตราย ๑
จิตดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นท่ามกลางเพราะเป็นจิตหมดจด ๑ จิตแล่นไปใน
สมถนิมิตนั้น เพราะเป็นจิตดำเนินไปแล้ว ๑ ความหมดจดแห่งปฏิปทาเป็น
เบื้องต้นแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งเบื้องต้น ๓ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรมมีความงามในเบื้องต้น และถึงพร้อมด้วย
ลักษณะ ฯ
[๓๘๒] ความพอกพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
แห่งท่ามกลางเท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งท่ามกลาง ๔ คือ จิตหมดจดวางเฉยอยู่ จิตดำเนินไปสู่
สมถะวางเฉยอยู่ จิตมีความปรากฏในความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่ จิต
หมดจดวางเฉยอยู่ ๑ จิตดำเนินไปสู่สมถะวางเฉยอยู่ ๑ จิตมีความปรากฏใน
ความเป็นธรรมอย่างเดียววางเฉยอยู่
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรค
เป็นธรรมมีความงามในท่ามกลาง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ฯ
[๓๘๓] ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะแห่งที่สุด
เท่าไร ฯ
ลักษณะแห่งที่สุด ๔ คือ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดใน
อรหัตมรรคนั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ความร่าเริงด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรสมควรแก่ความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ความ
ร่าเริงด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ความร่าเริงเป็นที่สุดแห่งอรหัตมรรค ลักษณะ
แห่งที่สุด ๔ ประการเหล่านี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อรหัตมรรคเป็นธรรม
มีความงามในที่สุดและถึงพร้อมด้วยลักษณะ จิตอันถึงความเป็นไป ๓ ประการ
มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ประการอย่างนี้ ย่อมเป็นจิตถึง
พร้อมด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข การอธิษฐานจิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
และพร้อมด้วยปัญญา ฯ
อานาปานกถา ฯ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0

การดำเนินตามสูตรนี้ยากมากๆยากที่สุดยิ่งใครไม่เอาสมถะไม่เอาฌานยิ่งเจ๊งมหาบรมเจ๊งแน่นอน


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะเป็นพลังงานขับเคลื่อนสู่การบรรลุธรรม

ลำพังแค่ความคิดอย่างเดียวจะเป็นอุธัจจะเสียมากกว่า

แต่การได้ฌาณนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย

แล้วไหนยังจะเมื่อได้แล้วก็ยังเสื่อมได้อีกด้วย

แสดงให้เห็นว่า

ผู้ที่จะบรรลุธรรมได้

ถ้าไม่ใช่ขิปปาภิญญาแล้ว

ต้องเอาเป็นเอาตายกันจริงๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

จิตใจ ไม่ได้สั่งร่างกาย ถ้าหากสั่งได้เราคงสั่งให้เรา ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
จิตใจ ทำงานร่วมกัน เมื่อเราเกิดเวทนา(การรู้) แล้วสัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นตามมาทันที ทุกอย่างทำงานร่วมกันอัตโนมัติ

ทุกอย่างที่เราทำในชีวิตประจำวันเราจะทำตามสัญญาที่เราสะสมมาในอดีต
ก่อนที่จะไปหาสัญญาต้องเกิดการรู้ เวทนา แล้วก็จะดึงความจำสัญญาที่เราสะสมมาในอดีต จากนั้นคิดปรุงแต่ง สังขาร ต่อการนั้นเราก็เกิดการรับรู้ วิญญาณ การรับรู้ เช่น ได้ยินเสียงเพราะหรือไม่เพราะ กลิ่นเหม็น หอม รสเค็ม เปรี้ยว ร้อน เย็น เป็นต้น

เรื่องการทำงานของขันธ์ 5 นี้ซับซ้อนยิ่งนัก....จะเขียนเป็นไดอะแกรมก็พอจะทำได้แบบคร้าว ๆ ตามหน้าที่ของแต่ละขันธ์เท่านั้น

ผัสสะเกิด.....วิญญาณก็เกิด ณ ที่ตรงนั้น....ส่งมาที่ใจ

ใจรับ..แล้วก็รู้...สัญญาขันธ์ก็ทำงาน...ทำงานเสร็จใจก็รู้ว่าเป็นอะไร...เป็นคุณหรือเป็นโทษ
เป็นคุณ....ก็สร้างสุขเวทนา
เป็นโทษ..ก็สร้างทุกขเวทนา

เพราะหลงในเวทนาว่าเป็นจริงเป็นจัง....ตัณหาก็เกิด

(ความจริงจะว่าตัณหาเกิดก่อนเวทนาก็มี....เกิดหลังเวทนาก็มี)

ว้าา....ขี้เกียจซะแล้ว huh huh


อยากเป็นกบนอกกลา

แต่ยังหาต้นมะพร้าวไม่เจอ smiley smiley smiley

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มะพร้าวนาฬิเก

ต้นเดียวโนเน

กลางทะเลขี้ผึ้ง

ฝนตกไม่ต้อง

ฟ้าร้องไม่ถึง

ถึงแต่ผู้พ้นบุญเอย


ท่านพุทธทาสภิกขุ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครแต่งตำราหรือสอนให้ปฏิเสธแสงสว่างอันนี้อันตราย อาจจะไปเจริญนิวรณ์โดยไม่รู้ตัว อาจจะไปปิดมรรคเอาด้วย(น่ากลัว) :b5:
เมื่อย้อนดูที่มรรค4

Quote Tipitaka:
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น
จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โอภาสหรือปฏิภาคนิมิตไม่ใช่จะเกิดกับใครได้ง่ายๆ

น้อยคนที่จะได้

เมื่อได้แล้วต้องรู้จักรักษาอย่าปล่อยหลุดลอยไป

นี่แหละคือจุดประกายสู่วิมุติธรรม

ใครแม้แต่ได้ประสพครั้งเดียวก็ยังนับว่าโชคดีที่สุดในชีวิต

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 15:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
แต่ยังหาต้นมะพร้าวไม่เจอ smiley smiley smiley


นับว่าโชคดี....ม๊ากก..มาก :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ปล่อยหลุดไปแล้วหลายที :b15: ยาก!ไม่ใช่ง่ายๆ


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 16:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ลุงหวีด เป็นคนมีปัญญา มีกิเลสน้อย มีธรรมมะ
ลุงทำบุญทำทาน ทำความดี รักษาศีล อุโบสถ หวังว่าชาติหน้ามีจริงขอให้ร่างกายสมบูรณ์
แต่ลุงหวีดยังไม่พ้นทุกข์ ลุกหวีดคิดว่านี่คือตนเอง คิดว่านี่คือเรา เรามีตัวตน ทุกข์เกิดจากความไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ร่างกายเราประกอบขึ้นจากเหตุและปัจจัยสุดท้ายก็แตกสลายหายไปไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตน หากดับความพอใจ ไม่พอใจในใจไม่ได้ก็ไม่พ้นทุกข์ หรือเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้นับภพนับชาติ


ตรงไหนที่ทำให้คุณเห็นอย่างนั้น


เห็นขันธ์ 5 ประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราวเท่านั้น ที่เกิดก็เพราะเหตุปัจจัย
ที่ตั้งอยู่ก็เพราะเหตุปัจจัย ที่ดับไปก็เพราะเหตุปัจจัย สุดท้ายแตกสลายหายไปหมดไม่มีลุงหวีด หากยึดติดกับร่างกายของตนก็จะเป็นทุกข์ธรรมชาติ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าดับทุกข์ขันธ์ 5 และ อินทรีย์ 6 ได้จนหมดสิ้นเราก็จะดับการเกิดได้
นี่แหละการหลุดพ้นจากทุกข์ ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท

อวิชชา > สังขาร > วิญญาณ > นาม-รูป > สพายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ > ชรา > มรณะ > อวิชชา

ให้ดับตรงผัสสะ
ผัสสะ คือ การกระทบหรือสัมผัส การสัมผัสของตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส
กายกับสิ่งที่มากระทบทางกาย จิตใจ กับ การปรุงแต่งของความคิด
ถ้าสิ่งต่างๆเกิดการผัสสะ ให้ดับตรงผัสสะทันที โดยการวิปัสสนา อย่าให้เลยถึงเวทนา ไม่งั้น สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็จะตามมาเราก็จะเกิด พอใจ ไม่พอใจ ความทุกข์ก็จะตามมาทันที


:b1: มันเกี่ยวกับความเห็นที่คุณเห็น

แต่ลุงหวีดยังไม่พ้นทุกข์ ลุกหวีดคิดว่านี่คือตนเอง คิดว่านี่คือเรา เรามีตัวตน ทุกข์เกิดจากความไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ร่างกายเราประกอบขึ้นจากเหตุและปัจจัยสุดท้ายก็แตกสลายหายไปไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตน หากดับความพอใจ ไม่พอใจในใจไม่ได้ก็ไม่พ้นทุกข์ หรือเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้นับภพนับชาติ

ตรงไหน


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่
เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



๒. มหาสุญญตสูตร (๑๒๒)

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๘๔๖ - ๕๐๘๙. หน้าที่ ๒๐๖ - ๒๑๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


[Quote-Tipitaka][๓๔๗] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำ
จิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร
ดูกรอานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้
(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
(๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ ฯ
(๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่
เป็นสุข อยู่ ฯ
(๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน
สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน
จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตยัง
ไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่างภายใน
ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้ ฯ
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างภายนอก ...
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ...
ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ
จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิต
ยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ
ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้ ฯ
ดูกรอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายใน
ให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล
เธอย่อม
ใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อม
ใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่าง
นี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อม
ไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่าง
ภายในนั้นได้ ฯ
อ่านต่อได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๘๔๖ - ๕๐๘๙. หน้าที่ ๒๐๖ - ๒๑๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านอ่านมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านศึกษามาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านเรียนมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสรุปมาถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านมีปัญญาดับทุกข์แล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านปฏิบัติถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านบรรลุธรรมแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสงบแล้ว

ท่านมีความคิดเห็นว่ายังไง หรือมีแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การดับทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรื่องที่ยาก เข้าใจยาก ให้ปุถุชนคนทั่วไปเข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ในระยะเวลาสั้นและเห็นผลเร็วที่สุด นั้นจะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์ เกิดความสงบ เกิดสันติสุข ลดความขัดแย้งกัน


ความขัดแย้งมันอยู่กับความคิดของคุณ
การแสดงความขัดแย้งกับอารมณ์ที่ตนไม่ปราถนา
ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะปรากฎในตน ก็แสดงความขัดแย้ง
แม้เห็นอารมณ์นั้นปรากฎในผู้อื่น ก็แสดงความขัดแย้ง
แม้เห็นอารมณ์นั้นปรากฎในที่อื่น ก็แสดงความขัดแย้ง
แม้ตนกล่าวถึงอารมณ์นั้น หรือผู้อื่นกล่าวถึงอารมณ์นั้น ก็ขัดแย้ง

อย่างน้อย ๆ คุณก็ยังแสดงความขัดแย้งต่ออารมณ์สมาธิอยู่

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใต้จมูกตัวเองแท้ ๆ แต่กลับดูเหมือนว่าตนไม่เคยมองเห็น

เห็นแต่ความขัดแย้งที่ไกลตัว เป็นเรื่องใหญ่

:b41: :b41: :b49: :b41:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร