วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley สวัสดีครับคุณmes

Quote Tipitaka:
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง
ญาณทัสสนะ ฯ


อ่านต่อทั้งหมดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๔๙๘๖ - ๕๐๓๑. หน้าที่ ๒๐๕ - ๒๐๗.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0
:b43: :b43: :b43:
:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 09:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ

ไม่ใช่อภิปรัชญา

การทำกรรมฐานต้องลงมือทำจริงให้รู้ผลจากกรรมฐานเอง

จะรู้ด้วยการอ่านไม่ได้

ความรู้ที่เกิดจากกรรมฐานคือปัญญา

ความรู้ที่เกิดจากการอ่านคือสัญญา


สุดท้ายของการบรรลุธรรม

ต้องดับสัญญาแต่ปัญญาไม่ต้องดับ

เพราะปัญญาคือวิชชาครับ



ใช่แล้วปัญญาจะรู้จากการอ่านไม่ได้ต้องปฏิบัิติ (วิปัสสนา)
แต่ก่อนที่จะปฏิบัิติต้องอ่านศึกษาหลักธรรมคำสอนจากพระไตรฯ ให้เข้าใจ อ่านหลายๆ รอบ วิเคราะห์หาเหตุหาผล แล้วนำมาปฏิบัิติไม่ใช่เรียนทางลัด หรือฟังมาอีกต่อหนึ่ง ถ้าจะพิสูจน์ว่าที่ตนเองปฏิบัิติถูกต้อง ถูกวิธีหรือไม่ ก็ดูจากทุกข์หากดับทุกข์ได้ก็คือปฏิบัติถูกทางแล้ว เพราะพระไตรปิฎกสอนอยู่ 2 เรื่อง เรื่องทุกข์ และัการดับทุกข์เท่านั้น ทุกข์เกิดจากอะไร มีวิธีการดับทุกข์อย่างไร ปัญญาที่พระพุทธองค์นำมาใช้ดับทุกข์ได้มายังไง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หยุดเป็นตัวสำเร็จ
Quote Tipitaka:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=40084

Quote Tipitaka:
ว่าด้วยอุเบกขา
[๙๗๒] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่
จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา
มีจิตตั้งมั่น. ความหยุด ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
ความที่ใจไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ความเป็นผู้
มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน
เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.


ขอแสดงความคิด การทำวิปัสสนาใช้อารมณ์เดียวซึ่งถ้าไม่เอาสมถะไม่เอาฌาน เจ๊งครับ
หลับอยู่ขอตัดไปที่

Quote Tipitaka:
ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา
[๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
กาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา
ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า
เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.


Quote Tipitaka:
ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น
พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้
ฉะนี้แล.
จบ สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖.
จบ สุตตนิทเทส ๑๖ นิทเทสในอัฏฐกวรรค.
----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๗ - ๑๑๗๗๗. หน้าที่ ๔๒๖ - ๔๙๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
อ่านเองทั้งหมดได้ที่ลิงค์นี้ครับ
ขอความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายจงมีแก่ผู้มีฉันทะในการอ่านทุกท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
หยุดเป็นตัวสำเร็จ
Quote Tipitaka:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=40084

Quote Tipitaka:
ว่าด้วยอุเบกขา
[๙๗๒] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความที่จิตสงบ ความที่
จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน ชื่อว่า อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขา
มีจิตตั้งมั่น. ความหยุด ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
ความที่ใจไม่กวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ความเป็นผู้
มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน
เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไรๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.


ขอแสดงความคิด การทำวิปัสสนาใช้อารมณ์เดียวซึ่งถ้าไม่เอาสมถะไม่เอาฌาน เจ๊งครับ
หลับอยู่ขอตัดไปที่

Quote Tipitaka:
ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา
[๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตาม
กาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา
ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า
เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.


Quote Tipitaka:
ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น
พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้
ฉะนี้แล.
จบ สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖.
จบ สุตตนิทเทส ๑๖ นิทเทสในอัฏฐกวรรค.
----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๑๐๑๓๗ - ๑๑๗๗๗. หน้าที่ ๔๒๖ - ๔๙๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
อ่านเองทั้งหมดได้ที่ลิงค์นี้ครับ
ขอความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายจงมีแก่ผู้มีฉันทะในการอ่านทุกท่าน
:b8: :b8: :b8:

เห็นด้วยกับท่านหลับอยู่ทุกข้อความ

และเห็นด้วยอย่างหมดหัวใจ


อ้างคำพูด:
ขอแสดงความคิด การทำวิปัสสนาใช้อารมณ์เดียวซึ่งถ้าไม่เอาสมถะไม่เอาฌาน เจ๊งครับ


ถูกต้องที่สุดเลยครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 11:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


นี่คือการยึดติดกับวิธีการ ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน หรือแบบไหน
ทำให้คนไม่ทุกข์ หรือทำให้คนไม่ดี เป็นคนดีได้
ทำให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขก็พอแล้ว เพราะปัญหาอย่างนี้ถกเถียงไม่ิมีสิ้นสุด
เพราะความไม่เที่ยงนี่แหละ คำสอนของพระพุทธเจ้าก็มีการเปลี่ยนแปลงมีการสังคายนาใหม่
มีการแปล มีการปรับปรุงมันเป็นธรรมดา แต่ความจริงของชีวิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง

** ไม่ว่าแมวจะดำจะขาวขอให้จับหนูได้ก็พอแล้ว **


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุครับสหายธรรมนามmes :b8:

จิตเกิดดับได้ทีละดวง พระสูตรทียกมายัง แสดงให้เห็นว่าจิตที่จะกระทำวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีภูมิสมถะร่วมด้วย(เกิดร่วมกันในจิตดวงเดียวต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่)สภาวะธรรมเรียกว่าวิปัสสนา ไม่มีในจิตที่เป็นบาปธรรมอกุศลไม่มีนิวรณ์ นับจากปฐมฌานขึ้นไปตำกว่าปฐมฌานไม่ได้และการเพียรเพ่งอยู่ เป้นการนับเนื่องเข้าในมรรค(ให้ไปดูเมตตาเจโตวิมุตติว่าเข้ามรรค8ได้อย่างไร?)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


มัคคภาวนา......ในพระอภิธรรม
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๒๕๗๑ - ๒๖๐๐. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เมตตากถา
Quote Tipitaka:
เมตตากถา ฯ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๘๔๔๙ - ๘๖๙๑. หน้าที่ ๓๕๐ - ๓๕๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 11:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค



โมคคัลลานสังยุตต์
[๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหา-
*โมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะ
แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอ
โอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียก
ว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัด จากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่
ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล
พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ
อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นในปฐมฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน
สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้
มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง
อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า
สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ




อ่านต่อได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๘๔๖ - ๗๑๘๓. หน้าที่ ๒๙๘ - ๓๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 12 พ.ย. 2011, 17:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
อนุโมทนาสาธุครับสหายธรรมนามmes :b8:

จิตเกิดดับได้ทีละดวง พระสูตรทียกมายัง แสดงให้เห็นว่าจิตที่จะกระทำวิปัสสนาได้นั้น ต้องมีภูมิสมถะร่วมด้วย(เกิดร่วมกันในจิตดวงเดียวต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่)สภาวะธรรมเรียกว่าวิปัสสนา ไม่มีในจิตที่เป็นบาปธรรมอกุศลไม่มีนิวรณ์ นับจากปฐมฌานขึ้นไปตำกว่าปฐมฌานไม่ได้และการเพียรเพ่งอยู่ เป้นการนับเนื่องเข้าในมรรค(ให้ไปดูเมตตาเจโตวิมุตติว่าเข้ามรรค8ได้อย่างไร?)


จิตเกิดดับได้ทีละดวง
:b8: :b8: :b8:

ด้วยความเคารพท่านหลับอยู่ครับ

แต่การแสดงธรรมต้องซื่อสัตย์กับตนเอง

ท่านหลับอยู่คงไม่ว่าอะไร

ผมไม่เห็นด้วยกับจิตเกิดดับครับ

ที่แปรเปลี่ยนเกิดดับคื่อความคิดครับ

จิตในความหมายของผมคือธาตุรู้ คือธรรมธาตุครับ

ขอท่านหลับอยู่รับการน้อมคาราวะจากผมด้วยครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 12:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ลุงหวีด เป็นคนมีปัญญา มีกิเลสน้อย มีธรรมมะ
ลุงทำบุญทำทาน ทำความดี รักษาศีล อุโบสถ หวังว่าชาติหน้ามีจริงขอให้ร่างกายสมบูรณ์
แต่ลุงหวีดยังไม่พ้นทุกข์ ลุกหวีดคิดว่านี่คือตนเอง คิดว่านี่คือเรา เรามีตัวตน ทุกข์เกิดจากความไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ร่างกายเราประกอบขึ้นจากเหตุและปัจจัยสุดท้ายก็แตกสลายหายไปไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตน หากดับความพอใจ ไม่พอใจในใจไม่ได้ก็ไม่พ้นทุกข์ หรือเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้นับภพนับชาติ


ตรงไหนที่ทำให้คุณเห็นอย่างนั้น


เห็นขันธ์ 5 ประกอบขึ้นจากเหตุปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราวเท่านั้น ที่เกิดก็เพราะเหตุปัจจัย
ที่ตั้งอยู่ก็เพราะเหตุปัจจัย ที่ดับไปก็เพราะเหตุปัจจัย สุดท้ายแตกสลายหายไปหมดไม่มีลุงหวีด หากยึดติดกับร่างกายของตนก็จะเป็นทุกข์ธรรมชาติ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถ้าดับทุกข์ขันธ์ 5 และ อินทรีย์ 6 ได้จนหมดสิ้นเราก็จะดับการเกิดได้
นี่แหละการหลุดพ้นจากทุกข์ ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท

อวิชชา > สังขาร > วิญญาณ > นาม-รูป > สพายตนะ > ผัสสะ > เวทนา > ตัณหา > อุปทาน > ภพ > ชาติ > ชรา > มรณะ > อวิชชา

ให้ดับตรงผัสสะ
ผัสสะ คือ การกระทบหรือสัมผัส การสัมผัสของตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส
กายกับสิ่งที่มากระทบทางกาย จิตใจ กับ การปรุงแต่งของความคิด
ถ้าสิ่งต่างๆเกิดการผัสสะ ให้ดับตรงผัสสะทันที โดยการวิปัสสนา อย่าให้เลยถึงเวทนา ไม่งั้น สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็จะตามมาเราก็จะเกิด พอใจ ไม่พอใจ ความทุกข์ก็จะตามมาทันที


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 12 พ.ย. 2011, 12:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 12:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๓๕ - ๒๕๔๒. หน้าที่ ๑๐๔.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 12 พ.ย. 2011, 13:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88% ... 7%E0%B8%98)

อ้างคำพูด:
จิต หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าอยู่นอกเหนื่อความคิด เหตุผล ตรรกะ จิตสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความคิด กับปัญญาญาณ
พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ในอภิธรรมกล่าวว่ามี 89 หรือ 121 คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต
ในทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น ตามกฎแห่งอนัตตา (ทุกสิ่งไม่ตัวตนที่จริงแท้) คือไม่มีตัวตนอันเป็นแก่น เหมือนต้นไม้ย่อมอาศัยดิน ราก ใบ แสงแดด อากาศ กิ่ง ทำให้มีตัวตนที่เรียกว่าต้นไม้ขึ้น สรรพสิ่งดูเหมือนมีตัวตนเพราะอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เมื่อแยกออกก็ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เช่นเดียวกับจิตอย่างไม่มีข้อยกเว้น จิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกันของสิ่งที่เรียกว่าเจตสิกอันเป็นองค์ประกอบของจิต ประกอบกันเป็นกระบวนการทำงานทั้ง7อย่างเรียกว่า ธรรมธาตุ๗ ที่กำเนิดขึ้นตามกลไกมหาปัฏฐาน (ปัจจัย๒๔) ที่เป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยจะหมดเหตุแห่งกระบวนการทางจิตเมื่อกำจัดอวิชชาสังโยชน์ จิตเหมือนรถยนต์การที่จะเป็นรถขี่ได้ ๑ คัน
กลไกต่างๆย่อมต้องอยู่ในที่ๆเหมาะสม หรือเหมือนคอมพิวเตอร์ย่อมอาศัยโปรแกรมหลายๆโปรแกรมประกอบกันขึ้น มหาปัฏฐานเหมือนโปรแกรม (ยกขึ้นเป็นตัวอย่างเท่านั้น) เพียงแต่กระบวนการทางธรรมชาติย่อมใช้เวลาให้กฎแห่งเหตุผลทางธรรมชาติ (กฎนิยาม) เกี่ยวเนื่องกัน สมบูรณ์ตามรูปแบบจิตเหมือนในคัมภีร์มหาปัฏฐานจนเหมาะสมที่จะเป็นกระบวนการทางจิตที่ซับซ้อนอันเป็นต้นกำเนิดของจิตอันเป็นบ่อเกิดให้มีการเวียนว่ายตายเกิด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 12:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 12:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95_(%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98)

อ้างคำพูด:
จิต หมายถึงสิ่งที่เรียกว่าอยู่นอกเหนื่อความคิด เหตุผล ตรรกะ จิตสามารถเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความคิด กับปัญญาญาณ
พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ในอภิธรรมกล่าวว่ามี 89 หรือ 121 คุณลักษณะ มีลักษณะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ตามการปรุงแต่งของเจตสิก ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต
ในทางพระพุทธศาสนาไม่ถือว่าจิตเป็นตัวตนที่แท้จริงแต่ถือว่าเป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดขึ้น ตามกฎแห่งอนัตตา (ทุกสิ่งไม่ตัวตนที่จริงแท้) คือไม่มีตัวตนอันเป็นแก่น เหมือนต้นไม้ย่อมอาศัยดิน ราก ใบ แสงแดด อากาศ กิ่ง ทำให้มีตัวตนที่เรียกว่าต้นไม้ขึ้น สรรพสิ่งดูเหมือนมีตัวตนเพราะอิงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น เมื่อแยกออกก็ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เช่นเดียวกับจิตอย่างไม่มีข้อยกเว้น จิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอิงอาศัยกันของสิ่งที่เรียกว่าเจตสิกอันเป็นองค์ประกอบของจิต ประกอบกันเป็นกระบวนการทำงานทั้ง7อย่างเรียกว่า ธรรมธาตุ๗ ที่กำเนิดขึ้นตามกลไกมหาปัฏฐาน (ปัจจัย๒๔) ที่เป็นไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาทโดยจะหมดเหตุแห่งกระบวนการทางจิตเมื่อกำจัดอวิชชาสังโยชน์ จิตเหมือนรถยนต์การที่จะเป็นรถขี่ได้ ๑ คัน
กลไกต่างๆย่อมต้องอยู่ในที่ๆเหมาะสม หรือเหมือนคอมพิวเตอร์ย่อมอาศัยโปรแกรมหลายๆโปรแกรมประกอบกันขึ้น มหาปัฏฐานเหมือนโปรแกรม (ยกขึ้นเป็นตัวอย่างเท่านั้น) เพียงแต่กระบวนการทางธรรมชาติย่อมใช้เวลาให้กฎแห่งเหตุผลทางธรรมชาติ (กฎนิยาม) เกี่ยวเนื่องกัน สมบูรณ์ตามรูปแบบจิตเหมือนในคัมภีร์มหาปัฏฐานจนเหมาะสมที่จะเป็นกระบวนการทางจิตที่ซับซ้อนอันเป็นต้นกำเนิดของจิตอันเป็นบ่อเกิดให้มีการเวียนว่ายตายเกิด


ตามความคิดของผมเองนะครับ
ผมก็ไม่ได้ศึกษาเรื่อง จิต หรือ ใจ อย่างแท้จริงนะครับ

เราประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิัญญาณ
รูป คือ ร่างกายของเรา ประกอบด้วย (ดิน น้ำ ลม ไฟ) มาประกอบกัน
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ส่วนจิตใจ)

จิตใจจะประกอบกับร่างกาย จิตใจ + ร่างกาย
ถ้าเราตายไปส่วนของจิตใจก็จะแยกกัน และจะแยกออกจากกายด้วย และร่างกายก็จะแยกกันด้วย (ตอนเผาศพ) ร่างกายเราไม่มีจิตใจ เราก็ไม่รู้สึก ไม่จำ ไม่คิด ไม่รับรู้


จิตใจ ไม่ได้สั่งร่างกาย ถ้าหากสั่งได้เราคงสั่งให้เรา ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
จิตใจ ทำงานร่วมกัน เมื่อเราเกิดเวทนา(การรู้) แล้วสัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้นตามมาทันที ทุกอย่างทำงานร่วมกันอัตโนมัติ
ทุกอย่างที่เราทำในชีวิตประจำวันเราจะทำตามสัญญาที่เราสะสมมาในอดีต
ก่อนที่จะไปหาสัญญาต้องเกิดการรู้ เวทนา แล้วก็จะดึงความจำสัญญาที่เราสะสมมาในอดีต จากนั้นคิดปรุงแต่ง สังขาร ต่อการนั้นเราก็เกิดการรับรู้ วิญญาณ การรับรู้ เช่น ได้ยินเสียงเพราะหรือไม่เพราะ กลิ่นเหม็น หอม รสเค็ม เปรี้ยว ร้อน เย็น เป็นต้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร