วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 22:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บางอาจารย์เมื่อนิมิตเกิดขึ้นมาแล้ว สอนให้ถือเอานิมิตนั้น เป็นขั้นเป็นชั้นของมรรคทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น เช่น นิมิตเห็นแสงเล็กเท่าแสงหิ่งห้อย ได้สำเร็จชั้นพระโสดาบัน, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาหน่อยเท่าแสงดาว ได้สำเร็จชั้นพระสกทาคามี, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระจันทร์ ได้สำเร็จชั้นพระอนาคามี, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระอาทิตย์ ได้สำเร็จชั้นพระอรหันต์อย่างนี้เป็นต้น (webmaster - กล่าวคือ ไปยึดเอานิมิตนั้นเป็นจริงเป็นจัง ถือเป็นของวิเศษ เป็นขั้นมรรคขั้นผลไปเลย)
ไปถือเอาแสงภายนอก ไม่ถือเอาใจของคนที่บริสุทธิ์มากน้อยเป็นเกณฑ์ ความเห็นเช่นนั้น ยังห่างไกลจากความเป็นจริงนัก................นิมิตเกิดจากภวังค์เป็นส่วนมาก ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรคโดยเฉพาะอยู่แล้ว มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร........(หน้า๑๕-๑๖)
(webmaster - เหตุที่ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรค ก็เนื่องจากในภวังค์นั้นเคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถใช้สติได้อย่างบริบูรณ์นั่นเอง มีคำอธิบายในภายหน้า)
แท้ที่จริงนิมิตทั้งหลาย ดังที่อธิบายมาแล้วก็ดี หรือนอกไปกว่านั้นก็ดี ถึงไม่ใช่เป็นทางให้ถึงความบริสุทธิ์ก็จริงแล แต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องได้ผ่านทุกๆคน เพราะการปฏิบัติเข้าถึงจิตรวม(หรือก็คือ)เข้าถึงภวังค์แล้วจะต้องมี เมื่อผู้มีวาสนา(webmaster - ไม่ได้แปลว่ามีบุญ คลิกดูความหมาย)เคยได้กระทำมาเมื่อก่อน เมื่อเกิดนิมิตแล้ว จะพ้นจากนิมิตนั้นหรือไม่ ก็แล้วแต่สติปัญญาของตน หรืออาจารย์ผู้นั้นจะแก้ไขให้ถูกหรือไม่ เพราะของพรรค์นี้ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นผู้แนะนำ ถ้าหาไม่แล้วก็ต้องจมอยู่ปรัก คือนิมิต นานแสนนาน เช่น อาฬารดาบส แล อุททกดาบส เป็นตัวอย่าง........(หน้า๑๗)
เทสก์รังสีอนุสรณาลัย ; เรื่อง สิ้นโลก เหลือธรรม โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


"นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย คือ นิมิต ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบาย(อุบายวิธี)ให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดี มีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ ...........ฯลฯ."

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (ส่องทางสมถวิปัสสนา)

"ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส.....ฯลฯ"
หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (จาก โมกขุบายวิธี)
ความเห็นวิปลาส ที่หลวงปู่เทส ได้กล่าวไว้นั้น หมายถึง ทิฏฐิวิปลาส ที่หมายความว่า ความเห็นความเข้าใจที่ผิดพลาดจากความเป็นจริง ดังนี้


และดังที่หลวงปู่เทส เทสรังสี ได้กล่าวแสดงดังข้างต้น นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้นั่นเอง ทั้งยังแล้วแต่วาสนา(กรุณาดูความหมายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง)การสั่งสม ดังนั้นเมื่อนักปฏิบัติอยากเห็นอยากรู้อยากได้คือตัณหา จึงพยายามน้อมนึกหรือบังคับให้เกิดนิมิต เพื่อให้เห็นโน่น เห็นนี่ เห็นอดีต เห็นอนาคต รู้นั่น รู้นี่ ฯ. เพื่อประโยชน์ไปในทางโลกๆหรือด้วยความเข้าใจผิด จึงเป็นการตกลงสู่ความผิดพลาดทันที เพราะย่อมมักแฝงไว้ด้วยสัญญา,ตัณหาต่างๆ ดังเช่น กิเลสตัณหาความอยากต่างๆนาๆที่นอนเนื่องอยู่ของผู้นั้นๆ ดังนั้นนิมิตหรือภาพหรือความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพยายามดังนี้ จึงมักไม่ถูกต้อง เพราะไม่บริสุทธิ์ ถูกบังคับขึ้นคือแอบแฝงด้วยกำลังของกิเลสตัณหาอันแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่นั่นเอง มักแฝงซ่อนเร้นด้วยความอยากให้เกิดขึ้นหรือเป็นไปตามปรารถนาของตนเอง แลแม้กระทั่งของบุคคลอื่นที่มาเกี่ยวข้อง อีกด้วย หรือกล่าวได้ว่านิมิตที่เกิดขึ้นมานั้น ตัวตนหรือตัวกูของกูเป็นผู้ที่เห็นเอง จึงน้อมเชื่อ,น้อมไปเข้าใจ อย่างรุนแรงด้วยยังประกอบด้วยอวิชชาอยู่ ดังนั้นนิมิตที่ยึดติด ยึดเพลิน ด้วยความตื่นตา เร้าใจ ที่อาจเคยเกิดในตอนแรกๆบ้างเป็นครั้งคราวโดยไม่รู้ตัว อันอาจเคยเห็นและเป็นไปอย่างถูกต้องเนื่องจากภาวะไร้นิวรณ์อันมีความบริสุทธิ์พอสมควร และไร้การแอบแฝงปรุงแต่งโดยเจตนาจึงมีความเป็นกลางพอสมควร จึงเสื่อมหายไปในที่สุดเป็นธรรมดา
นิมิต ในระยะแรกมักเกิดในขณะปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือฌานสมาธิ อันมักเกิดขึ้นในช่วงของภวังค์ จึงควรทำความรู้จักภวังค์หรือภวังคจิต ที่ทั้งสามารถสร้างความรู้สึกอันบรรเจิดเป็นสุขและเคลิบเคลิ้มให้แก่นักปฏิบัติ และทั้งยังก่อให้เกิดการฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปต่างๆนาๆในผู้ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ จะได้ไม่พากันไปติดกับอยู่ในบ่วงมารของภวังค์และนิมิตอย่างอธิโมกข์ คือด้วยความงมงายขาดเหตุผลกัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น ไม่ใช่การมีฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศ เสกใบไม้เป็นตั๊กแตนได้


ท่าน ไม่เที่ยง เกิดดับครับ

ด้วยความเคารพ :b8:

การสนทนาธรรมถ้าให้เกียรติผู้ร่วมสนทนาสักนิดจะประเสริฐมากครับ ท่านดูจะมีภูมิธรรมอยู่ไม่น้อย

จะได้สนทนากันได้มีสาระ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ก่อนอื่นต้องขออภัยก่อน เพราะเอกอนดันอ่านแต่ข้อความนั้น
แล้วคิดว่า ท่านเห็นสิ่งนั้นเป็นปัญญา จึงแสดงความเห็นออกมา
แต่เมื่อย้อนกลับไปอ่าน ก็เห็นท่านมีการนำเสนอแง่ที่ไม่ให้หลงนิมิต
:b8: :b8: ก็พอจะเข้าใจแล้วค่ะว่าแท้จริงท่านไม่ได้เห็นสิ่งนั้นเป็นปัญญาที่แท้เสียทีเดียว
....
:b8: :b8: :b8:

mes เขียน:

กระทู้นี้อยากเป็นการแชร์ประสพการณ์กันครับ

แล้วค่อยมากล่าวถึงสภาวะหรือผลที่เกิดดีไหมครับ


ค่ะ จะติดตามดูการสนทนาค่ะ :b1:

เผื่อเอกอนจะมีโชว์เปิ่นอีกกก :b12: :b12:



นิมิตที่เกิดขึ้นต้องโยนิโสมนสิการครับ

นิมิตเป็นทั้งวิปัสสนูกิเลส และวิชชาครับ

และยังรวมหมายถึงตัววิชชาถ้าไม่ตั้งสติก็จะเป็นวิปัสสนูกิเลส

ธรรมนั้นจะสลับซับซ้อนกันจนม้วนสุดท้ายของเรื่องเสมอครับ

จะพิจารณาแบบชั้นเดียวคงไม่ได้

พิจารณาแล้วต้องพิจารณาย้อนกลับและย้อนกลับมาพิจารณาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ให้สังเกตุดูพระมหาเถระที่เชี่ยวชาญด้านการสอนสมถะวิปัสสนาล้วนมีฤทธิ์กันจริงๆทั้งนั้นและถึงปฏิเวธด้วยเช่น
หลวงพ่อสด หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อกบวัดเขาสาริกาหลวงปู่สรวง นี้ญาณทัศนะจะแก่กล้ากว้างไกลมากกว่า...
ผู้ที่เจริญอาโลกกสิณจะมีปัญญามากและเตโชกสิณจะมีไล่ๆกันมา

หากผนึกเจริญพุทธานุสติด้วยนั้นผลพลอยได้มากมายยิ่งนัก


ครับใช่ครับ ถูกต้องครับ ที่ท่านหลับอยู่กล่าวมาถูกต้องครับ

การปฏิบัตสมถกรรมฐานถึงจุดที่เกิดอุคคหนิมิตแล้วต่อจากนั้นถ้าใครมีจิตเอนไปทางมีฤิทธิ์ก็จะไปอีกทางหนึ่งในทางปฏิบัติเมื่อสำเร็จบรรลุธรรมก็จะได้เป็น ฉฬะภิญโญ คือมีฤิทธิ์

แต่หมายถึงจะต้องไม่ไปติดที่อภิญญาที่ตนได้มา ต้องปล่อยวางและใช้ปัญญาจึงจะเข้าสู่วิมุติธรรมครับ

ตามหลัก

สมาธิที่เข็มแข็งย่อมสร้างปัญญาที่แก่กล้า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ง่ายๆนะครับ หลวงปู่เทศน์ท่านได้ธรรมกาย :b8: อันนี้ไม่ได้ซี้ซั้วพูด
แต่ขั้นไหนไม่รู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


และที่หลวงปู่ดูลย์กล่าว ต้องดุให้ดีๆว่ากล่าวถึงใคร ฆราวาสคนไหน ไม่ได้กล่าวรวมไปทั้งหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 20:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15627

อ ธิ บ า ย เ รื่ อ ง ปั ญ ญ า
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ปัญญาเป็นรัตนของนรชน

นี้เป็นพระพุทธสุภาษิต

เพราะนรชน คือคนเรามีรัตนะคือปัญญา ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
เป็นพิเศษกว่าสัตว์ร่วมโลกทั้งหลาย
จึงได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์และสามารถอบรมปัญญาให้มากขึ้นได้ด้วย

ฉะนั้นคนเราจึงมีความฉลาด
สามารถเปลี่ยนภาวะจากความเป็นคนป่า
มาเป็นคนเมืองมีความเจริญด้วยอารยธรรม วัฒนธรรม
มีบ้านเมือง มีระเบียบ การปกครอง มีศาสนา
มีเครื่องบำรุงความสุข ทางกายทางใจต่างๆ

สิ่งทั้งปวงเหล่านี้สัตว์เดรัจฉานทั้งปวงหามีไม่
ทั้งนี้ด้วยอำนาจของปัญญานี้เอง

พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัญญา

แต่ปัญญาที่เป็นรัตนะของนรชนดังกล่าวมานี้
พึงทราบว่าจะต้องเป็นปัญญาที่ชอบ
มีลักษณะของความฉลาดรู้ ความจัดเจน
การวินิจฉัยถูกต้อง สามัญสำนึกดี มีเหตุผลในสิ่งทั้งหลาย

ปัญญาที่ชอบดังกล่าวเป็นผลที่สืบมาจาก
ปัญญาที่มีพื้นฐานอันได้มาแต่กำเนิดของนรชน
อันเรียกว่า สหชาติปัญญา และจากการศึกษาอบรมที่ถูกชอบ

อันสหชาติปัญญานั้นมีพลังอำนาจที่ทำให้ประจักษ์
เรียนรู้ เข้าใจและตระหนัก เป็นพลังใจทางปัญญาของบุคคล

ถ้าอบรมศึกษาในทางที่ผิด
ก็จะเพิ่มความรู้ในทางฉลาดแกมโกง
ในทางทำความชั่วร้าย ในทางเบียดเบียนต่างๆ

ฉะนั้นจึงตรัสสอนไม่ให้ประมาทปัญญา

คือใช้ปัญญา พิจารณาอบรมศึกษาให้เข้าถึงความจริง
ตามเหตุและผลในสิ่งทั้งหลาย

เพื่อให้บรรลุถึงความชอบในทุกๆสิ่ง
รวมเข้ากันใน มรรคมี องค์ ๘
ที่พระพุทธเจ้าๆ ได้ทรงปฏิบัติมา
จนได้ตรัสรู้พระธรรม และทรงสั่งสอนไว้นั้นเอง

คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ (รวมเข้าเป็นปัญญาสิกขา)
สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
(รวมเข้าเป็นจิตตสิกขาหรือสมาธิ)

มรรคมีองค์ ๘ นี้ ก็เท่ากับ ปัญญา ศีล สมาธิ นั่นเอง
อันแสดงว่าปัญญาเป็นหัวหน้า
แต่ที่แสดงไว้เป็นข้อปฏิบัติโดยทั่วไปเป็นลำดับว่า
ศีล สมาธิ ปัญญา

พระพุทธเจ้าได้ตรัสรับรองไว้ด้วยว่า

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า
เพราะว่าเมื่อมี สัมมาทิฏฐิ
ก็ย่อมรู้เห็นทุกๆอย่าง ว่าผิดหรือถูกอย่างไร
และเมื่อมีความเพียรความชอบ ความระลึกชอบเข้าประกอบ
ก็จะทำให้มีความเพียร มีสติ

ละทุกสิ่งที่ผิด ทำทุกสิ่งที่ถูกให้เกิดขึ้น
จนถึงเป็นความถูกต้องสมบูรณ์

แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นหลัก เป็นที่ตั้งแห่งทุกๆ ข้อ

เพราะจิตที่ไม่มีสมาธิย่อมดิ้นรนกระสับกระส่าย
ไม่อาจที่จะใช้ปัญญาอบรมปัญญา ที่มีอยู่ให้เจริญขึ้นได้

เหมือนอย่างไฟฉายที่แกว่งไปแกว่งมา
ไม่อาจจะส่องอะไรให้มองเห็นชัดเจนได้
จึงต้องทำจิตให้สงบด้วยสมาธิเป็นหลัก
ก็จะปฏิบัติให้มรรคทุกข้อแวดล้อมเข้ามา

(มีต่อ)


ผมเห็นด้วยกับไตรสิกขา ปัญญา ศีล สมาธิ นี่คือผลของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ไม่มีผิดเพื้ยน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=868.0

ถ้าจะอ้างสมเด็จก็สมเด็จพระสังฆราชปุ่น ครับตอนแรกไม่เชื่อ แต่มาได้ภายในเวลา5นาทีปฏิบัติได้ภายหลังหลวงพ่อวัดปากน้ำมรณะภาพแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค



ทิพยโสตญาณ
[๓๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ. เธอย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอัน
บริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง
เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง
เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการ
หนึ่ง.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๗๑๙๒ - ๗๒๐๓. หน้าที่ ๓๐๐.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0


:b42: :b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 20:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สิ่งที่ยาก คือ วิธีการที่ทำให้คนทั่วไป ที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ไม่สามารถจดจำศีล หลักธรรมคำสอน องค์ธรรมต่างๆ ให้เข้าใจง่ายและปฏิบัติในระยะเวลาอันสั้นเห็นผลการปฏิบัติเร็ว

สิ่งที่ง่าย คือ วิธีการที่ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา นักปราชญ์ บัณฑิต ขอทาน คนยาก คนรวย เข้าใจได้ง่ายขึ้น


อืมมม งั๊นถ้าท่านได้อ่านการถ่ายทอดธรรมของลุงหวีด ต้องถูกคอแน่เลย
เพราะท่านพิการ และยังไม่ได้เข้าโรงเรียนด้วย

:b17: :b17: :b17:

ลองอ่านประวัติท่านเบื้องต้นก่อนนะ

ประวัติคุณลุงหวีด
คุณลุงหวีด บัวเผื่อน เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2492 ที่ตำบลหนองบัว จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อคุณพ่ออี้ มารดาชื่อคุณแม่วาว บัวเผื่อน เป็นบุตรคนสุดท้องจากจำนวนพี่น้องทั้งสิ้น 7 คน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ เกิดเจ็บป่วย มีผลทำให้ร่างกายพิการมาตั้งแต่บัดนั้น

ชีวิตในวัยเด็ก แม้คุณลุงจะพิการ แต่ก็ไม่เคยท้อแท้ พยายามช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้อื่น ถึงแม้คุณลุงจะออกไปไหนมาไหนไม่สะดวก ได้แต่นอนอยู่ที่บ้าน แต่ก็มีเพื่อนฝูงมากมายไปมาหาสู่อยู่ไม่ได้ขาด และแม้จะไม่ได้เข้าโรงเรียน คุณลุงก็อุตสาหะเรียนรู้ อ่าน-เขียน ด้วยตนเอง ทั้งยังขวนขวายประกอบอาชีพเล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่ยังเล็กเพื่อหารายได้เลี้ยงตนเอง

ในปี พ.ศ.2502 คุณลุงย้ายตามบิดามารดา จากหนองบัวมาอยู่ที่เขาไร่ยา จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2512 จึงย้ายมาอยู่ที่เขากระแจะ ซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน ในระยะแรก บิดามารดาของคุณลุงเปิดร้านขายของชำ และคุณลุงเป็นกำลังหลักในการช่วยเหลือกิจการของครอบครัว หลังจากได้แต่งงานกับคุณสมหวัง บำรุงพันธ์ จึงเริ่มรับซื้อยางพาราและมันสำปะหลัง หลังจากนั้นเริ่มทำสวนผลไม้ประมาณ 60 ไร่ เพื่อเป็นการสร้างรายได้และเลี้ยงลูกๆ ส่งเรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี

คุณลุงหวีด มีบุตร 2 คน ตลอดระยะเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ในฐานะหัวหน้าครอบครัว ท่านได้เป็นแบบอย่างของความเป็นคนสู้ชีวิต ถึงแม้จะมีสภาพร่างกายพิการ เดินไปไหนมาไหนเองไม่ได้ แต่คุณลุงก็ไม่เคยคิดน้อยใจและไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ยึดถือในความถูกต้อง พึ่งพาตนเองในทุกเรื่อง และขยันทำกิจการงานทุกอย่างที่สามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวเท่าที่ทำได้ด้วยความอุตสาหะ พยายามอย่างสุดกำลังของตน ทำให้ท่านสามารถเป็นผู้นำที่เปรียบเหมือนเสาหลักของบ้าน เป็นที่พึ่งของตนเองและเป็นที่พึ่งของภรรยาและลูกๆ ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดีทั้งในฐานะสามีและพ่อของลูก

คุณลุงหวีดเป็นคนที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง คิดทำการสิ่งใดแล้วก็จะทุ่มเทสุดกำลังในการทำสิ่งนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ทั้งยังเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีใจเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ว่าจะมีปัญหาในเรื่องใด สามารถที่จะพูดคุย ปรึกษา โต้แย้ง ได้ทุกเรื่อง โดยถือเอาความมีเหตุมีผลและความถูกต้องเป็นหลัก ทำให้ชีวิตครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและมีความอบอุ่นใจเสมอ และด้วยลักษณะนิสัยเช่นนี้ ทำให้คุณลุงเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนสนิท มิตรสหาย และคนใกล้ชิด กิจการใดๆ ในทางโลกที่คนทั่วไปสามารถหามาไว้เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสมบูรณ์พูนสุข คุณลุงก็สามารถที่จะทำเช่นนั้นให้กับตนเองและครอบครัวได้เช่นคนปกติทั่วไปอย่างสมภาคภูมิ

นอกจากการทำหน้าที่ทางโลกที่คุณลุงพยายามกระทำให้เป็นแบบอย่างกับทุกคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดเห็นแล้ว ในทางธรรมนั้น คุณลุงก็เป็นแบบอย่างของการสร้างคุณงามความดีทุกอย่าง ทั้งทาน ศีล ภาวนา สิ่งใดที่เป็นคุณงามความดี แม้เพียงเล็กน้อย คุณลุงก็ไม่ละเลย เพียรหมั่นสร้างหมั่นสะสมความดีอย่างไม่ลดละ ทั้งนี้เนื่องจากได้เห็นตัวอย่างจากบิดามารดาที่มักจะพากันเข้าวัดทำบุญ รักษาอุโบสถศีลมาตลอดตั้งแต่คุณลุงยังเล็ก ประกอบกับสภาพร่างกายที่พิการ ทำให้คุณลุงมีความสนใจในพุทธศาสนา ด้วยหวังว่า หากชาติหน้ามีจริง อยากให้ชาติหน้าเกิดมามีร่างกายสมบูรณ์กว่านี้ ดังนั้น คุณลุงจึงยึดถือแนวทางการใช้ชีวิตโดยอาศัยธรรมะ คุณงามความดีเป็นหลัก เพื่อหวังความพ้นทุกข์อย่างไม่ย่อท้อ เช่นเดียวกับการดำเนินชีวิตในทางโลก และเมื่อคุณลุงได้รับผลแห่งธรรมแล้ว คุณลุงก็ยังมีใจเมตตาเผยแผ่สิ่งที่รู้ที่เห็นให้กับผู้สนใจทุกคนโดยไม่ปิดบังอำพราง และไม่เลือกที่รักมักที่ชังใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งยังพยายามส่งเสริมให้ทุกคนเข้าใจธรรมะมากยิ่งขึ้นเรื่อยมา โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยหรือลำบากกายแต่อย่างใดจวบจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต

ความสำเร็จในทางโลกและทางธรรมของคุณลุงนั้น เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า ความพิการทางกายมิได้เป็นอุปสรรคใดๆ ต่อความสำเร็จที่คุณลุงได้รับจากการได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ ขวนขวาย เพียรพยายามอย่างสุดความสามารถมาตลอดชีวิตของคุณลุงเลย คุณลุงหวีดจึงถือเป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีชีวิตและเลือกใช้วิถีทางดำเนินชีวิตที่คุ้มค่าแก่การเกิดมา เป็นชีวิตที่น่ายกย่อง น่ายึดถือเป็นแบบอย่างสำหรับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง และเป็นชีวิตที่สมควรแก่การระลึกไว้สำหรับชนรุ่นหลังต่อไป

http://www.loongweed.com/?page_id=2

viewtopic.php?f=2&t=40074

:b27: :b27: :b27:



ลุงหวีด เป็นคนมีปัญญา มีกิเลสน้อย มีธรรมมะ
ลุงทำบุญทำทาน ทำความดี รักษาศีล อุโบสถ หวังว่าชาติหน้ามีจริงขอให้ร่างกายสมบูรณ์
แต่ลุงหวีดยังไม่พ้นทุกข์ ลุกหวีดคิดว่านี่คือตนเอง คิดว่านี่คือเรา เรามีตัวตน ทุกข์เกิดจากความไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ร่างกายเราประกอบขึ้นจากเหตุและปัจจัยสุดท้ายก็แตกสลายหายไปไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตน หากดับความพอใจ ไม่พอใจในใจไม่ได้ก็ไม่พ้นทุกข์ หรือเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้นับภพนับชาติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2011, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ลุงหวีด เป็นคนมีปัญญา มีกิเลสน้อย มีธรรมมะ
ลุงทำบุญทำทาน ทำความดี รักษาศีล อุโบสถ หวังว่าชาติหน้ามีจริงขอให้ร่างกายสมบูรณ์
แต่ลุงหวีดยังไม่พ้นทุกข์ ลุกหวีดคิดว่านี่คือตนเอง คิดว่านี่คือเรา เรามีตัวตน ทุกข์เกิดจากความไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ร่างกายเราประกอบขึ้นจากเหตุและปัจจัยสุดท้ายก็แตกสลายหายไปไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตน หากดับความพอใจ ไม่พอใจในใจไม่ได้ก็ไม่พ้นทุกข์ หรือเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้นับภพนับชาติ


ตรงไหนที่ทำให้คุณเห็นอย่างนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค



ทิพยโสตญาณ
[๓๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ. เธอย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอัน
บริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง
เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง
เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการ
หนึ่ง.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๗๑๙๒ - ๗๒๐๓. หน้าที่ ๓๐๐.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0


:b42: :b42: :b42:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร