วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 14:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 11:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
สำนักดูปัญญามาจากวิธีการของท่านพุทธทาสครับ
แต่ถ่ายทอดด้วยทิฏฐิผมเอง
ถ้าจะผิดก็อยู่ที่สติปัญญาผม
เริ่มต้องใช้อานาปานสติในการทำสมาธิ
เพราะลมหายใจถือเป็นกายาอย่างหนึ่ง
ฝึกไปเรื่อยๆ เป็นกิจวัตร บางวันมีสมาธิบางวันไม่มีสมาธิ ก็ทำต่อไป
และฝึกทำในทุกอริยาบถ คือแม้แต่ทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอน ก็พยายามให้มีสมาธิ
แน่นอนมันต้องเผลอ นึกได้ก็ทำต่ออย่างนี้ไปเรื่อยๆ

งงจริงๆครับ เริ่มแรกบอกให้ทำอาณาปานสติในการทำสมาธิ
ต่อมาก็บอกให้ทำทุกอิริยาบท เอาไงแน่ครับ

ขอถามเจ้าของความเห็น เข้าใจเรื่องกายาแค่ไหนครับ
อะไรที่เขาเรียก กายาบ้างครับ เข้าใจเรื่องสติกับสมาธิแค่ไหนครับ


ที่สำคัญเข้าใจเรื่องกายาวิปัสนาแค่ไหนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
mes เขียน:
สำนักดูปัญญามาจากวิธีการของท่านพุทธทาสครับ
แต่ถ่ายทอดด้วยทิฏฐิผมเอง
ถ้าจะผิดก็อยู่ที่สติปัญญาผม
เริ่มต้องใช้อานาปานสติในการทำสมาธิ
เพราะลมหายใจถือเป็นกายาอย่างหนึ่ง
ฝึกไปเรื่อยๆ เป็นกิจวัตร บางวันมีสมาธิบางวันไม่มีสมาธิ ก็ทำต่อไป
และฝึกทำในทุกอริยาบถ คือแม้แต่ทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอน ก็พยายามให้มีสมาธิ
แน่นอนมันต้องเผลอ นึกได้ก็ทำต่ออย่างนี้ไปเรื่อยๆ

งงจริงๆครับ เริ่มแรกบอกให้ทำอาณาปานสติในการทำสมาธิ
ต่อมาก็บอกให้ทำทุกอิริยาบท เอาไงแน่ครับ

ขอถามเจ้าของความเห็น เข้าใจเรื่องกายาแค่ไหนครับ
อะไรที่เขาเรียก กายาบ้างครับ เข้าใจเรื่องสติกับสมาธิแค่ไหนครับ


ที่สำคัญเข้าใจเรื่องกายาวิปัสนาแค่ไหนครับ


ทุกอริยบถก็สามารถกำหนดลมหายใจได้ครับ

ลมหายใจในทางกรรมฐานก็ถือเป็นกายาด้วยครับ



เรื่องความเข้าใจสติสมาธิผมมีไม่มาก

เท่าที่แสดงมาเป็นประสพการณ์ความคิดเห็นส่วนตัวครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_see ... &detail=on

Quote Tipitaka:
บรรพ ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์
ดังคำว่า กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นซึ่งกาย โดยบรรพ ๑๔ ข้อ
มี อานาปานบรรพ ข้อที่ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_see ... &detail=on

Quote Tipitaka:
กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1 อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1 สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหว้ทุกอย่าง 1 ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1 ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1 นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติธรรมแล้วจงอย่ากลัววิปัสสนูกิเลส

เพราะวิปัสสนูกิเลสเป็นทางที่ผู้บรรลุธรรมจะต้องผ่านทุกคนครับ

นิมิตก็เป็นวิปัสสนูกิเลสด้วยครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
คือในจิตมีปัญญาเกิดขึ้น ตัวจิตเป็นตัวรู้ รู้ว่ามีปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว
เป็นความรู้ต่างๆ หลากหลาย

ปัญญาไม่ใช่ความรู้ ปัญญาที่แท้จริง คือ การเข้าไปรู้ถึงสภาวะธรรมที่จริงแท้
แล้วสามารถเอาสภาวะธรรมนี้ไป พิจารณาธรรมอื่นๆด้วยความเข้าใจตามเหตุและผล
หรืออีกนัยหนึ่งคือ ละวิจิกิจฉา
mes เขียน:
ความรู้นั้นเมื่อรู้แล้วเกิดความทุกข์ก็มี เกิดความสุขความดีใจก็มี เป็นเวทนา
จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้องของการดูปัญญา

ความรู้ที่ว่า มันเป็นสัญญา ที่เกิดจากการจดจำของใจหรือการปรุงแต่งแต่ในอดีต
ดังนั้นจึงเรียกในส่วนนี้ว่า สังขารที่ก่อให้เกิดกิเลส ไม่ใช่เวทนา

ส่วนเวทนาไม่ได้เกิดจากความรู้ มันเกิดขึ้นจากกระบวนการของอายตนะและผัสสะ
เกิดตามเหตุปัจจัย หรือเป็นอิทัปปัจจตา

และที่เจ้าของความเห็นบอกว่าดูปัญญาก็ไม่ใช่ เขาเรียกว่าดูสภาวะจริงแท้ของจิต
ปัญญาคือการที่บุคคลนั้นสามารถเอาสภาวะนี้ไปใช้
mes เขียน:
ต้องใช้ปัญญา คือ โยนิโสมนสิการ
โดยใช้หลักธรรมที่เป็นปัญญาเดิมที่มีอยู่
อันที่จริงปัญญากับธรรมแยกกันไม่ออก
ปัญญาที่มีมาแต่เกิดก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมามีในทุกคนมากบ้างน้อยบ้างแต่ต้องมี
ปัญญาทั้งหลายที่เป็นหลักธรรมหรือธรรมเอกที่ผุดขึ้นมาในจิตก็เป็นหลักธรรมเมื่อเราพิจารณาด้วยความแยบคายมากขึ้นจะแตกฉาน

สิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด เขาไม่เรียกปัญญาครับ เขาเรียกสมอง
และที่ทำให้แตกต่างกันคือ คุณภาพของสมองและการศึกษาเล่าเรียน
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านั้นล้วนเป็นสัญญาไม่ใช่ปัญญา

และอันที่จริงปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนแก่บรรดาสาวก
ก็ไม่ใช่ปัญญาทางโลก มันเป็นปัญญาแห่งโลกุตระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ที่เป็นความจำ คือ สัญญา

ความรู้ที่ผุดขึ้นในจิต คือ ปัญญา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%A1%D2%C2%D2%B9%D8%BB%D1%CA%CA%B9%D2&detail=on

Quote Tipitaka:
กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา - contemplation of the body; mindfulness as regards the body) ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1 อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1 สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหว้ทุกอย่าง 1 ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1 ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ 1 นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1

mes เขียน:
ดูปัญญามาจากวิธีการของท่านพุทธทาสครับ
แต่ถ่ายทอดด้วยทิฏฐิผมเอง
ถ้าจะผิดก็อยู่ที่สติปัญญาผม

อ้าวเห็นโพสว่าเป็นความเห็นของตัวเอง
ถ้าเล่นติดแปะแบบนี้ไม่ถามดีกว่าครับ
ขอบคุณครับที่สละเวลา :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 13:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ปัญญาทั้งหลายที่เป็นหลักธรรมหรือธรรมเอกที่ผุดขึ้นมาในจิตก็เป็นหลักธรรมเมื่อเราพิจารณาด้วยความแยบคายมากขึ้นจะแตกฉาน

จนในที่สุดเป็นอธิปัณณา กลายเป็นวิชชา

สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่างๆมากขึ้น คือสามารถทำลายอวิชชา

สมารถรู้ว่าใหนคือกิเลส ไหนคือนิวรณ์ ใหนคือสังโยชน์

ค่อยๆรู้ ค่อยๆตัด ค่อยๆหลุด ไปทีละนิด

เมือ่ปัญญาเกิดมาก กิเลสน้อย สมาธิจะมีมากขึ้นโดยอัตตโนมัติ

ก็ยิ่งจับกิเลสผู้มีอิทธิพลตัวใหญ่มาประหารใด้ยิ่งขึ้น

จนถึงขั้นเกิดอัปปนาสมาธิ เรียกว่าฌาณ



"ผู้ไม่เที่ยง"

การทำให้เกิดปัญญาของท่านคือวิปัสสนาใช่หรือไม่
เมื่อเำกิดปัญญาทำให้เรารู้วิธีดับทุกข์ หรือทำลายอวิชชาใช่หรือไม่
แล้วเราก็จะรู้ผิดชอบ ชั่วดี เราก็มีศีล กิเลสก็เบาบางทำให้สมาธิเกิดขึ้นตามมาใช่หรือไม่
ปัญญา ศีล สมาธิ คือหนทางการดับทุกข์ใช่หรือไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 13:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ปัญญาหรือธรรมเอกที่เกิดขึ้นนั้น เป็นลักษณะนิมิต

บางครั้งเหมือนเสียงบอก

บางครั้งมาเป็นมโนภาพเหมือนฝันที่เหมือนจริงมากจนบางครั้งแยกไม่ออก

นิมิตทั้งหลานมีทั้งเป็นจริงและเท็จ จึงยังต้องอาศัยการโยนิโสมนสิการก่อนจึงเชื่อ

บางครั้งเช่น

เกิดนิมิตว่าท้าวมหาพรหมลงมาแสดงธรรมให้แก่ตน หรือมีพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วมาแสดงธรรม

นิมิตพระอรหันต์ต้องเป็นเพียงนิมิตเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาธรรมที่ท่านแสดงกลับเป็นจริง


:b1: แต่เอกอนกลับไม่เคยเห็นว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นปัญญา

:b8: ขอบคุณที่ท่านยกแง่นี้ขึ้นมา

เหมือนว่า ท่านเมสเห็นเตารีด(รูป/นิมิตต่าง ๆ) แต่เมื่อสัมผัส ท่านเมสจะรู้สึกถึง ลักษณ์ ของเตารีด
เตารีดที่อยู่นิ่ง เตารีดที่เคลื่อน รูปเหมือนกัน แต่ ลักษณ์ ต่างกัน
ปัญญาแสดงออกมาทั้ง รูป(นิมิตต่าง ๆ) และ ลักษณ์
รู้ลักษณ์เห็นรูป รู้รูปเห็นลักษณ์
และก็อาจจะเป็นไปใน สิ่งที่เข้าไปรู้ทั้งรูปและลักษณ์

จะปรากฎเพียงแว๊บเดียว ขณะที่เกิดผัสสะ
คล้ายกับ แฟล็ชรุ่นเก่า ที่แสงวาวแว๊บ เสียงดังฟลุ๊บ และปรากฎควัน
นิมิต คือ ควัน
ถ้ามองตามทิศทางควันที่ลอยไป จะเห็นควันที่ลอยไป(เรื่องราว)
ถ้ามองกลับมาที่ต้นตอ จะเห็นปัจจัย
เพราะเหตุนี้ เอกอนจึงบอกว่า ปัญญาเป็นเจตสิก

คือการเห็นลักษณ์อันเนื่องในรูป และ รูปอันเนื่องในลักษณ์

:b8: อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ถ้าใครมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อชำระทิฐิกันก็
ร่วมกันแสดงความคิดเห็น :b8: :b8:

ขอใช้คำว่า "ลักษณ์" เนื่องจากว่าเป็นคำที่เอกอนคุ้นเคยกับการใช้งาน
แต่ภาษาธรรมจริง ๆ เอกอนไม่รู้ว่าจะใช้คำไหนเปรียบเทียบ

:b8: :b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 10 พ.ย. 2011, 17:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15627

อ ธิ บ า ย เ รื่ อ ง ปั ญ ญ า
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

ปัญญาเป็นรัตนของนรชน

นี้เป็นพระพุทธสุภาษิต

เพราะนรชน คือคนเรามีรัตนะคือปัญญา ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
เป็นพิเศษกว่าสัตว์ร่วมโลกทั้งหลาย
จึงได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์และสามารถอบรมปัญญาให้มากขึ้นได้ด้วย

ฉะนั้นคนเราจึงมีความฉลาด
สามารถเปลี่ยนภาวะจากความเป็นคนป่า
มาเป็นคนเมืองมีความเจริญด้วยอารยธรรม วัฒนธรรม
มีบ้านเมือง มีระเบียบ การปกครอง มีศาสนา
มีเครื่องบำรุงความสุข ทางกายทางใจต่างๆ

สิ่งทั้งปวงเหล่านี้สัตว์เดรัจฉานทั้งปวงหามีไม่
ทั้งนี้ด้วยอำนาจของปัญญานี้เอง

พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของปัญญา

แต่ปัญญาที่เป็นรัตนะของนรชนดังกล่าวมานี้
พึงทราบว่าจะต้องเป็นปัญญาที่ชอบ
มีลักษณะของความฉลาดรู้ ความจัดเจน
การวินิจฉัยถูกต้อง สามัญสำนึกดี มีเหตุผลในสิ่งทั้งหลาย

ปัญญาที่ชอบดังกล่าวเป็นผลที่สืบมาจาก
ปัญญาที่มีพื้นฐานอันได้มาแต่กำเนิดของนรชน
อันเรียกว่า สหชาติปัญญา และจากการศึกษาอบรมที่ถูกชอบ

อันสหชาติปัญญานั้นมีพลังอำนาจที่ทำให้ประจักษ์
เรียนรู้ เข้าใจและตระหนัก เป็นพลังใจทางปัญญาของบุคคล

ถ้าอบรมศึกษาในทางที่ผิด
ก็จะเพิ่มความรู้ในทางฉลาดแกมโกง
ในทางทำความชั่วร้าย ในทางเบียดเบียนต่างๆ

ฉะนั้นจึงตรัสสอนไม่ให้ประมาทปัญญา

คือใช้ปัญญา พิจารณาอบรมศึกษาให้เข้าถึงความจริง
ตามเหตุและผลในสิ่งทั้งหลาย

เพื่อให้บรรลุถึงความชอบในทุกๆสิ่ง
รวมเข้ากันใน มรรคมี องค์ ๘
ที่พระพุทธเจ้าๆ ได้ทรงปฏิบัติมา
จนได้ตรัสรู้พระธรรม และทรงสั่งสอนไว้นั้นเอง

คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ (รวมเข้าเป็นปัญญาสิกขา)
สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
(รวมเข้าเป็นจิตตสิกขาหรือสมาธิ)

มรรคมีองค์ ๘ นี้ ก็เท่ากับ ปัญญา ศีล สมาธิ นั่นเอง
อันแสดงว่าปัญญาเป็นหัวหน้า
แต่ที่แสดงไว้เป็นข้อปฏิบัติโดยทั่วไปเป็นลำดับว่า
ศีล สมาธิ ปัญญา

พระพุทธเจ้าได้ตรัสรับรองไว้ด้วยว่า

สัมมาทิฏฐิ เป็นหัวหน้า
เพราะว่าเมื่อมี สัมมาทิฏฐิ
ก็ย่อมรู้เห็นทุกๆอย่าง ว่าผิดหรือถูกอย่างไร
และเมื่อมีความเพียรความชอบ ความระลึกชอบเข้าประกอบ
ก็จะทำให้มีความเพียร มีสติ

ละทุกสิ่งที่ผิด ทำทุกสิ่งที่ถูกให้เกิดขึ้น
จนถึงเป็นความถูกต้องสมบูรณ์

แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยสมาธิเป็นหลัก เป็นที่ตั้งแห่งทุกๆ ข้อ

เพราะจิตที่ไม่มีสมาธิย่อมดิ้นรนกระสับกระส่าย
ไม่อาจที่จะใช้ปัญญาอบรมปัญญา ที่มีอยู่ให้เจริญขึ้นได้

เหมือนอย่างไฟฉายที่แกว่งไปแกว่งมา
ไม่อาจจะส่องอะไรให้มองเห็นชัดเจนได้
จึงต้องทำจิตให้สงบด้วยสมาธิเป็นหลัก
ก็จะปฏิบัติให้มรรคทุกข้อแวดล้อมเข้ามา

(มีต่อ)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปั ญ ญ า สู ง สุ ด

เรื่องกัมมัฏฐานสำหรับแก้นิวรณ์
เก็บจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจากที่มาต่างๆ
และข้อที่ตรัสกำชับไว้ให้มีเป็นประจำ
ในการปฏิบัติแก่นิวรณ์ทุกข้อ
หรือในการปฏิบัติกรรมฐานทุกคราว

คือโยนิโสมนสิการ แปลว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

ได้แก่การใช้ปัญญาพิจารณาให้ทราบ
ตระหนักแน่ถึงเหตุผลในการปฏิบัตินั้นๆ ตามเป็นจริง
เมื่อใช้ปัญญาดังนี้ จึงจะไม่ปฏิบัติผิดทาง
ทั้งจะไม่หลงตัวลืมตัว

การใช้ปัญญาจึงเท่ากับเป็นการใช้เกราะป้องกันอันตราย
อันอาจจะเกิดขึ้นจากความหลงถือเอาผิดดังกล่าว
และการใช้ปัญญาก็เป็นการศึกษาธรรมนั่นเอง

การฝึกหัดปฏิบัติสมาธิอย่างขาดโยนิโสมนสิการ
หรือขาดการใช้ปัญญา
ก็เท่ากับไม่เป็นการศึกษาธรรม อาจหลงไปผิดทาง

เช่น หลงติดอยู่ในนิมิตที่พบเห็นสมาธิ
หรืออำนาจบางอย่างที่ได้จากสมาธิ
ทำให้กัมมัฏฐาน (ที่ถูก) หลุด
หรือหลุดจากกัมมัฏฐานได้ง่าย

พระพุทธเจ้าตรัสไว้อีกด้วยว่า

“ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก”

การใช้ปัญญาอบรมเพิ่มเติมปัญญาให้ส่องสว่างยิ่งขึ้นโดยลำดับ
จึงเป็นเหตุให้มอง สัจจะ คือให้รู้แจ้งเห็นจริง
ให้บรรลุสุข ประโยชน์ตั้งแต่ขั้นต้น จนถึงขั้นสูงสุด

เพราะปัญญาขั้นสูงสุด คือปัญญาที่สมบูรณ์เต็มที่
ย่อมทำให้จิตประภัสสรคือผุดผ่องสว่างเต็มที่
ทำให้รู้แจ้งเห็นจริง และบรรลุประโยชน์สูงสุด

เหมือนดังพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย
ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสเตือนไว้ว่า

“อย่าประมาทปัญญา”

คือให้ใช้ปัญญานั่นเอง

การที่ฝึกฝนใช้ปัญญาจนรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว
ย่อมปฏิบัติตนไปในทางที่ถูกที่ควรตลอดเวลา
โดยปราศจากกิเลสตัณหา เป็นไปโดยอัตโนมัติ



(ที่มา : “รวมธรรมะ” : จัดพิมพ์เนื่องในงานฉลอง ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทรา-
บรมราชชนนี วันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓, หน้า ๒๑๘-๒๒๑)



หมายเหตุ :

บทความเรื่องดังกล่าวนี้
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ เมื่อครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓

อันเนื่องมาจากการที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ทรงมีพระราชดำริว่า “หลักการทำสมาธิเบื้องต้น”
ของ สมเด็จพระญาณสังวร
เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างง่ายสำหรับผู้ที่มีความสนใจทั่วไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แสดงพระราชดำรินี้

พร้อมทั้งทรงอาราธนา สมเด็จพระญาณสังวร
ให้เรียบเรียงและอธิบายเพิ่มเติมเรื่อง
“ปัญญา” “นิวรณ์และกัมมัฏฐานสำหรับแก้”

เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติจิตใจ
โดยใช้ปัญญาสำหรับป้องกันกับแก้ “การหลงตัวลืมตัว”
ซึ่งจะเป็นไปเพื่อดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุข
และประสบผลสำเร็จด้วยดี

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
mes เขียน:
ปัญญาหรือธรรมเอกที่เกิดขึ้นนั้น เป็นลักษณะนิมิต

บางครั้งเหมือนเสียงบอก

บางครั้งมาเป็นมโนภาพเหมือนฝันที่เหมือนจริงมากจนบางครั้งแยกไม่ออก

นิมิตทั้งหลานมีทั้งเป็นจริงและเท็จ จึงยังต้องอาศัยการโยนิโสมนสิการก่อนจึงเชื่อ

บางครั้งเช่น

เกิดนิมิตว่าท้าวมหาพรหมลงมาแสดงธรรมให้แก่ตน หรือมีพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วมาแสดงธรรม

นิมิตพระอรหันต์ต้องเป็นเพียงนิมิตเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาธรรมที่ท่านแสดงกลับเป็นจริง


:b1: แต่เอกอนกลับไม่เคยเห็นว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นปัญญา

:b8: ขอบคุณที่ท่านยกแง่นี้ขึ้นมา

เหมือนว่า ท่านเมสเห็นเตารีด(รูป) แต่เมื่อสัมผัส ท่านเมสจะรู้สึกถึง ลักษณ์ ของเตารีด
เตารีดที่อยู่นิ่ง เตารีดที่เคลื่อน รูปเหมือนกัน แต่ ลักษณ์ ต่างกัน
ปัญญาแสดงออกมาทั้ง รูป และ ลักษณ์
รู้ลักษณ์เห็นรูป รู้รูปเห็นลักษณ์
และก็อาจจะเป็นไปใน สิ่งที่เข้าไปรู้ทั้งรูปและลักษณ์

จะปรากฎเพียงแว๊บเดียว ขณะที่เกิดผัสสะ
คล้ายกับ แฟล็ชรุ่นเก่า ที่แสงวาวแว๊บ เสียงดังฟลุ๊บ และปรากฎควัน
นิมิต คือ ควัน
ถ้ามองตามทิศทางควันที่ลอยไป จะเห็นควันที่ลอยไป(เรื่องราว)
ถ้ามองกลับมาที่ต้นตอ จะเห็นปัจจัย
เพราะเหตุนี้ เอกอนจึงบอกว่า ปัญญาเป็นเจตสิก

คือการเห็นลักษณ์อันเนื่องในรูป และ รูปอันเนื่องในลักษณ์

:b8: อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ถ้าใครมีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อชำระทิฐิกันก็
ร่วมกันแสดงความคิดเห็น :b8: :b8:

ขอใช้คำว่า "ลักษณ์" เนื่องจากว่าเป็นคำที่เอกอนคุ้นเคยกับการใช้งาน
แต่ภาษาธรรมจริง ๆ เอกอนไม่รู้ว่าจะใช้คำไหนเปรียบเทียบ

:b8: :b8: :b8: :b8:


ขอบพระคุณครับที่ร่วมสนทนา

ประสพการณ์ของแต่ละท่านเป็นปัจจตัง

ท่านเอกอนก็มีประสพการณ์ด้านธรรมที่ผมเห็นด้วยหลายประการ

ถึงแม้บางประการตัวเองไม่เคยผ่านประสพการณ์เช่นนั้นมา

กระทู้นี้อยากเป็นการแชร์ประสพการณ์กันครับ

แล้วค่อยมากล่าวถึงสภาวะหรือผลที่เกิดดีไหมครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
mes เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ปัญญาทั้งหลายที่เป็นหลักธรรมหรือธรรมเอกที่ผุดขึ้นมาในจิตก็เป็นหลักธรรมเมื่อเราพิจารณาด้วยความแยบคายมากขึ้นจะแตกฉาน

จนในที่สุดเป็นอธิปัณณา กลายเป็นวิชชา

สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่างๆมากขึ้น คือสามารถทำลายอวิชชา

สมารถรู้ว่าใหนคือกิเลส ไหนคือนิวรณ์ ใหนคือสังโยชน์

ค่อยๆรู้ ค่อยๆตัด ค่อยๆหลุด ไปทีละนิด

เมือ่ปัญญาเกิดมาก กิเลสน้อย สมาธิจะมีมากขึ้นโดยอัตตโนมัติ

ก็ยิ่งจับกิเลสผู้มีอิทธิพลตัวใหญ่มาประหารใด้ยิ่งขึ้น

จนถึงขั้นเกิดอัปปนาสมาธิ เรียกว่าฌาณ



"ผู้ไม่เที่ยง"

การทำให้เกิดปัญญาของท่านคือวิปัสสนาใช่หรือไม่
เมื่อเำกิดปัญญาทำให้เรารู้วิธีดับทุกข์ หรือทำลายอวิชชาใช่หรือไม่
แล้วเราก็จะรู้ผิดชอบ ชั่วดี เราก็มีศีล กิเลสก็เบาบางทำให้สมาธิเกิดขึ้นตามมาใช่หรือไม่
ปัญญา ศีล สมาธิ คือหนทางการดับทุกข์ใช่หรือไม่


ใช่

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 16:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สิ่งที่ยาก คือ วิธีการที่ทำให้คนทั่วไป ที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ไม่สามารถจดจำศีล หลักธรรมคำสอน องค์ธรรมต่างๆ ให้เข้าใจง่ายและปฏิบัติในระยะเวลาอันสั้นเห็นผลการปฏิบัติเร็ว

สิ่งที่ง่าย คือ วิธีการที่ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา นักปราชญ์ บัณฑิต ขอทาน คนยาก คนรวย เข้าใจได้ง่ายขึ้น


อืมมม งั๊นถ้าท่านได้อ่านการถ่ายทอดธรรมของลุงหวีด ต้องถูกคอแน่เลย
เพราะท่านพิการ และยังไม่ได้เข้าโรงเรียนด้วย

:b17: :b17: :b17:

ลองอ่านประวัติท่านเบื้องต้นก่อนนะ

ประวัติคุณลุงหวีด
คุณลุงหวีด บัวเผื่อน เกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2492 ที่ตำบลหนองบัว จังหวัดจันทบุรี บิดาชื่อคุณพ่ออี้ มารดาชื่อคุณแม่วาว บัวเผื่อน เป็นบุตรคนสุดท้องจากจำนวนพี่น้องทั้งสิ้น 7 คน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ เกิดเจ็บป่วย มีผลทำให้ร่างกายพิการมาตั้งแต่บัดนั้น

ชีวิตในวัยเด็ก แม้คุณลุงจะพิการ แต่ก็ไม่เคยท้อแท้ พยายามช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้อื่น ถึงแม้คุณลุงจะออกไปไหนมาไหนไม่สะดวก ได้แต่นอนอยู่ที่บ้าน แต่ก็มีเพื่อนฝูงมากมายไปมาหาสู่อยู่ไม่ได้ขาด และแม้จะไม่ได้เข้าโรงเรียน คุณลุงก็อุตสาหะเรียนรู้ อ่าน-เขียน ด้วยตนเอง ทั้งยังขวนขวายประกอบอาชีพเล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่ยังเล็กเพื่อหารายได้เลี้ยงตนเอง

ในปี พ.ศ.2502 คุณลุงย้ายตามบิดามารดา จากหนองบัวมาอยู่ที่เขาไร่ยา จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2512 จึงย้ายมาอยู่ที่เขากระแจะ ซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน ในระยะแรก บิดามารดาของคุณลุงเปิดร้านขายของชำ และคุณลุงเป็นกำลังหลักในการช่วยเหลือกิจการของครอบครัว หลังจากได้แต่งงานกับคุณสมหวัง บำรุงพันธ์ จึงเริ่มรับซื้อยางพาราและมันสำปะหลัง หลังจากนั้นเริ่มทำสวนผลไม้ประมาณ 60 ไร่ เพื่อเป็นการสร้างรายได้และเลี้ยงลูกๆ ส่งเรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี

คุณลุงหวีด มีบุตร 2 คน ตลอดระยะเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ในฐานะหัวหน้าครอบครัว ท่านได้เป็นแบบอย่างของความเป็นคนสู้ชีวิต ถึงแม้จะมีสภาพร่างกายพิการ เดินไปไหนมาไหนเองไม่ได้ แต่คุณลุงก็ไม่เคยคิดน้อยใจและไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ยึดถือในความถูกต้อง พึ่งพาตนเองในทุกเรื่อง และขยันทำกิจการงานทุกอย่างที่สามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวเท่าที่ทำได้ด้วยความอุตสาหะ พยายามอย่างสุดกำลังของตน ทำให้ท่านสามารถเป็นผู้นำที่เปรียบเหมือนเสาหลักของบ้าน เป็นที่พึ่งของตนเองและเป็นที่พึ่งของภรรยาและลูกๆ ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดีทั้งในฐานะสามีและพ่อของลูก

คุณลุงหวีดเป็นคนที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง คิดทำการสิ่งใดแล้วก็จะทุ่มเทสุดกำลังในการทำสิ่งนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ทั้งยังเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีใจเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ไม่ว่าจะมีปัญหาในเรื่องใด สามารถที่จะพูดคุย ปรึกษา โต้แย้ง ได้ทุกเรื่อง โดยถือเอาความมีเหตุมีผลและความถูกต้องเป็นหลัก ทำให้ชีวิตครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและมีความอบอุ่นใจเสมอ และด้วยลักษณะนิสัยเช่นนี้ ทำให้คุณลุงเป็นที่รักใคร่ของเพื่อนสนิท มิตรสหาย และคนใกล้ชิด กิจการใดๆ ในทางโลกที่คนทั่วไปสามารถหามาไว้เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสมบูรณ์พูนสุข คุณลุงก็สามารถที่จะทำเช่นนั้นให้กับตนเองและครอบครัวได้เช่นคนปกติทั่วไปอย่างสมภาคภูมิ

นอกจากการทำหน้าที่ทางโลกที่คุณลุงพยายามกระทำให้เป็นแบบอย่างกับทุกคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดเห็นแล้ว ในทางธรรมนั้น คุณลุงก็เป็นแบบอย่างของการสร้างคุณงามความดีทุกอย่าง ทั้งทาน ศีล ภาวนา สิ่งใดที่เป็นคุณงามความดี แม้เพียงเล็กน้อย คุณลุงก็ไม่ละเลย เพียรหมั่นสร้างหมั่นสะสมความดีอย่างไม่ลดละ ทั้งนี้เนื่องจากได้เห็นตัวอย่างจากบิดามารดาที่มักจะพากันเข้าวัดทำบุญ รักษาอุโบสถศีลมาตลอดตั้งแต่คุณลุงยังเล็ก ประกอบกับสภาพร่างกายที่พิการ ทำให้คุณลุงมีความสนใจในพุทธศาสนา ด้วยหวังว่า หากชาติหน้ามีจริง อยากให้ชาติหน้าเกิดมามีร่างกายสมบูรณ์กว่านี้ ดังนั้น คุณลุงจึงยึดถือแนวทางการใช้ชีวิตโดยอาศัยธรรมะ คุณงามความดีเป็นหลัก เพื่อหวังความพ้นทุกข์อย่างไม่ย่อท้อ เช่นเดียวกับการดำเนินชีวิตในทางโลก และเมื่อคุณลุงได้รับผลแห่งธรรมแล้ว คุณลุงก็ยังมีใจเมตตาเผยแผ่สิ่งที่รู้ที่เห็นให้กับผู้สนใจทุกคนโดยไม่ปิดบังอำพราง และไม่เลือกที่รักมักที่ชังใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งยังพยายามส่งเสริมให้ทุกคนเข้าใจธรรมะมากยิ่งขึ้นเรื่อยมา โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยหรือลำบากกายแต่อย่างใดจวบจนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต

ความสำเร็จในทางโลกและทางธรรมของคุณลุงนั้น เป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า ความพิการทางกายมิได้เป็นอุปสรรคใดๆ ต่อความสำเร็จที่คุณลุงได้รับจากการได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ ขวนขวาย เพียรพยายามอย่างสุดความสามารถมาตลอดชีวิตของคุณลุงเลย คุณลุงหวีดจึงถือเป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีชีวิตและเลือกใช้วิถีทางดำเนินชีวิตที่คุ้มค่าแก่การเกิดมา เป็นชีวิตที่น่ายกย่อง น่ายึดถือเป็นแบบอย่างสำหรับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง และเป็นชีวิตที่สมควรแก่การระลึกไว้สำหรับชนรุ่นหลังต่อไป

http://www.loongweed.com/?page_id=2

viewtopic.php?f=2&t=40074

:b27: :b27: :b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร