วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 19:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 01:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังค์ คืออะไรครับ
จะโดยนัยยะของพระสูตร พระอภิธรรม หรือการปฏิบัติอะไรก็ตาม

ขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำว่า ภวังค์ ถูกนำมาใช้ ให้ความหมาย ผิดไปจากเดิม

เช่น ตกภวังค์ครุ่นคิด อย่างนี้เป็นต้น
ขณะที่เขาจมอยู่ในภวังค์ อย่างนี้อีกเป็นต้น
ส่วนใหญ่ นิยายจะเอามาใช้

ซึ่งผิดไปจากความหมายดั้งเดิมมากๆ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


viewtopic.php?p=139461#p139461

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ภวังค์ คืออะไรครับ
จะโดยนัยยะของพระสูตร พระอภิธรรม หรือการปฏิบัติอะไรก็ตาม

ขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ :b8: :b8: :b8:


ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต ในพุทธศาสนา
บทความธรรมะในตอนนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเรื่องของ "ภวังค์" หรือ "ภวังค" หรือ "ภวังคจิต" เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้นำไปคิดพิจารณา และทำความใจเกี่ยวกับเรื่อง "ภวังคจิต" อย่างถูกต้อง เหตุเพราะได้มีการสอน และให้ความหมายเกี่ยวกับ “ภวังค์ หรือ “ภวังค” หรือ "ภวังคจิต" แบบผิดๆ มานานแล้ว ทำให้คุณค่าของพุทธศาสนาด้อยลงไป อย่างรู้เท่าไม่ถึงกาล

ภวังคจิต สามารถ อธิบายได้หลายแบบ จะอธิบายโดยยกเอาต้นตอมาให้เกิดความเข้าใจก็ได้ หรือจะอธิบายผลที่เกิดจากต้นตอ ก็ได้เช่นกัน เหตุเพราะ ทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน แยกกันไม่ได้ ดังนั้น ผู้รู้ จึงสามารถอธิบายต้นกำเนิด หรือจะอธิบายผลแห่งการเกิดจากต้นตอ ได้ทั้งสองอย่าง

ภวังค,ภวังค์,ภวังคจิต มิใช่ความไม่รู้สึกตัว แต่เป็นสภาพสภาวะทางร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่บุคคลจะไม่รู้ว่ามีการดำเนินกิจกรรมภายในร่างกาย คือไม่รู้ว่า ร่างกายมีการทำงานอยู่ บางท่านอาจสงสัยและกังขา ว่า ทำไม่เราจะไม่รู้ว่าร่างกายของเราทำงานอยู่ ในเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังหายใจอยู่ ท่านทั้งหลายถ้าท่านคิดอย่างนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้รู้เอาไว้ว่า ที่ท่านยังรู้หรือกำหนดรู้ว่า ท่านหายใจอยู่นั้น ไม่ใช่ สภาพสภาวะของ สิ่งที่เรียกว่า "ภวังคจิต" ดังคำจำกัดความดังต่อไปนี้

"ภวังคจิต ตามหลักอภิธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึง ดวงจิต(เซลล์)ที่ได้รับ หรือเกิดจากดวงจิต(เซลล์)บิดามารดา เริ่มตั้งแต่ ปฏิสนธิ ( คือ คือ กระบวนการที่เซลล์ของเพศชาย รวมกับเซลล์ของเพศหญิง ทำให้เกิดเซลล์ใหม่)
และเจริญเติบโต จนคลอด และเจริญวัย ไปจนถึง ดับคือตาย เป็นเซลล์หรือจิตที่สถิตอยู่หรือทำงานอยู่ในสรีระร่างกายของบุคคล สงบอยู่ในขณะที่ยังมิได้สัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก หรือจะเรียกว่า ระบบการทำงานของสรีระร่างกายทุกระบบ ขณะยังมิได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก
ต่อเมื่อ ได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งภายในและภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต คือ ความเป็นไปตามจิต(อวัยวะต่างๆของร่างกาย)หรือเป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย จากที่ได้รับการสัมผัสนั้นๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ คิด ระลึกได้ ฯลฯ ต่อเมื่อ วิถีจิตดับหมดไป หรือร่างกายได้ทำงานตามระบบแห่งการได้สัมผัสนั้นๆจนถึงที่สุดหรือสิ้นสุด ภวังคจิต ก็จะกลับไปอยู่ในสภาพตามเดิม หมุนวนอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดา (ขยายความจากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)"

ภวังคจิต ในอีกความหมายหนึ่ง คือ ความเป็นกลางทางอารมณ์ ทางความรู้สึก อันเป็นเหตุแห่งพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ต่อเมื่อร่างกายได้รับการสัมผัส ทางอายตนะทั้งภายใน และภายนอก ก็จะเกิดวิถีจิต หรือ ความเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย ซึ่งย่อมประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจ เกิดการปรุงแต่ง จากการได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมทั้งในทางที่เป็น อกุศลธรรม และหรือ ในทางที่เป็นกุศลธรรม และหรือในทางที่จะว่าเป็นกุศลธรรมก็ไม่ใช่จะว่าเป็นอกุศลธรรมก็ไม่ใช่ คือมีสภาพสภาวะเป็นกลาง ต่อเมื่อพฤติกรรรม หรือปฏิกิริยาเหล่านั้น ได้แสดงออกไปจนหมดสิ้นแล้ว บุคคลก็จะกลับสู่ภาวะ ภวังคจิต ตามเดิม

ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของ ดวงจิตที่ได้รับมาจากบิดามารดาหรือเกิดจากการผสมกันของเซลล์แห่งบิดามารดา นับตั้งแต่แรกปฏิสนธิแล้ว ภวังคจิตของบุคคล ย่อมมีส่วนคล้ายคลึง หรือเหมือนกัน เพราะเป็นเพียงจิตส่วนพื้นฐาน หรือจะกล่าวว่า เป็นการเริ่มมีหรือเริ่มปรากฏอวัยวะต่างๆแห่งสรีระร่างกาย และระบบการทำงานของร่างกาย ต่อเมื่อเริ่มเจริญวัยภายในครรภ์มารดา จึงได้รับการขัดเกลาในด้านต่างๆนับตั้งแต่กรรมพันธุ์ของบิดามารดา เป็นต้นมา ภวังคจิตของบุคคล จึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เพราะบุคคลเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว บุคคลใดที่ได้รับการขัดเกลานับตั้งแต่กรรมพันธุ์,สภาพสิ่งแวดล้อม, ฯลฯ มาดี ภวังคจิต ย่อมปราดเปรียว แคล่วคล่อง มีสติสัมปชัญญะดีกว่า บุคคลที่ไม่ได้รับการขัดเกลา หรือได้รับการขัดเกลามาไม่ดี
แต่ถ้าจะกล่าวถึง ภวังคจิต ในแง่ของผลแห่งสภาพสภาวะร่างกายแล้ว ภวังคจิต ย่อมเป็นผลจากการทำงานของทุกระบบของสรีระร่างกาย บุคคลล้วนมีภวังคจิต คือความไม่รู้สึกว่า ร่างกายของตัวเอง ได้ดำเนินกิจกรรม หรือร่างกายทำงานตามระบบ อยู่ตลอดเวลา แม้ยามหลับนอน หรือไม่รู้สึกว่า เมื่อรับประทานอาหารไปแล้ว ร่างกายแสดงอาการดูดซึม หรือรับเอาอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างไรเมื่อไร เว้นแต่ การได้รับสัมผัส ขณะรับประทานอาหาร อย่างนี้เป็นต้น
มาถึงจุดนี้ท่านทั้งหลายควรได้คิดพิจารณาอย่างละเอียด และถี่ถ้วน ตามหลักความเป็นจริง ที่ท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านทั้งหลาย ว่า เป็นจริง มีจริง ตามที่ข้าพเจ้าได้ สอนไว้ข้างต้นหรือไม่

อนึ่ง ความรู้ในเรื่อง "ภวังคจิต" นี้ บางท่านคงคิดว่า ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หรือไม่ใช่เรื่องจำเป็นในการปฏิบัติธรรม หรือไม่จำเป็นในการเรียนรู้ หรือศึกษา พระธรรมทางพุทธศาสนา
แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว เป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นที่ท่านทั้งหลายต้องได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ภวังคจิต อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบการทำงานของสรีระร่างกาย อันสามารถนับเข้าเป็น ญาณ ส่วนรายละเอียด ในการพิจารณาเกี่ยวกับร่างกายได้
อีกทั้งยังเป็นการทำความเข้าใจ และแก้ไข ความรู้ที่ผิดๆของหลายท่าน เพื่อความเจริญในธรรม ทางพุทธศาสนา
ขอให้ทุกท่าน เจริญยิ่งในธรรม

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ ส.ค. ๒๕๕๒ แก้ไขเพิ่มเติม ๖ ต.ค.๒๕๕๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 10:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังค์ ศัพท์นี้ถ้าจะแปลตามตัวศัพท์ ก็จะได้ออกมาเป็น ภวะ กับ อังคะ ภวะศัพท์นี้เป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นศัพท์ที่หมายความถึง ภพ อะไรที่เป็นที่อยู่ อาศัยของรูป นาม วิญญาณธาตุ อะไรนั้นชื่อว่า ภพ ส่วนอังคะนั้น ก็หมายความถึง ส่วนประกอบ ที่มีหลายๆส่วนมารวมกัน จึงชื่อว่า อังคะ รวมสองศัพท์มาอยู่ประกอบเข้ากัน จึงเป็น ภวังค์ องค์ประกอบ หรือที่ตั้งของภพ ภวังค์นี้ เป็นศัพท์ที่นำมาใช้ทางด้านนามธรรมเป็นส่วนมาก ใช้สื่อสารกันในด้านการปฏิบัติภาวนาอันเป็นการทำความรู้ ศึกษา ขัดเกลาจิตใจภายใน ซึ่งจิตนี้ ท่านก็กล่าวว่า มีจิตอันเป็นดั้งเดิมอย่างหนึ่ง จิตอย่างหนึ่ง จิตประสมอย่างหนึ่ง การปฏิบัติภาวนาทางจิตของมนุษย์ซึ่งส่วนมากเป็นจิตประสมนี้ จึงมีความปรุงแต่ง เกิดดับอยู่ตลอดเวลา จิตที่คิด เคลื่อนไหว ส่ายไปตามกระแส แล้วยึดเอาแต่ละจิต แต่ละดวงนั้น ก็มีภพอันเป็นที่อาศัยของจิตอยู่หลายภพตามความเกิดดับของแตละจิต แต่ละดวงนั้น ฉะนั้น ไม่ว่าจิตนั้นจะอยู่ภพใด จะก่อนรู้หรือขณะรู้หรือหลังการรู้ ก็เป็นภพทั้งนั้น แต่ภวังค์ ในที่นี้ส่วนมากก็ใช้กับความหมายว่า เคลื่อนอยู่ระหว่างก่อนรู้และหลังการรู้ เพราะเป็นที่อาศัยชองจิตเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ภวังค์ คืออะไรครับ
จะโดยนัยยะของพระสูตร พระอภิธรรม หรือการปฏิบัติอะไรก็ตาม


สวัสดีครับ คุณ FLAME
นัยยะของพระสูตร ไม่ได้แสดงโดยตรงเกี่ยวกับ คำว่า "ภวังค์" ครับ
แต่ ในพระอภิธรรมปิฏก แสดง แต่ภวังคจิต เป็นปัจจัย แก่อาวัชชนะ ครับ

จึงต้องอาศัยการเล่าเรียนจากครูอาจารย์ อธิบาย สภาพธรรมนี้ครับ

เช่นนั้น ไม่ขออ้างครูอาจารย์ ล่ะครับ แต่จะเล่าให้ฟังเฉยๆ น่ะครับ

ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ
ก็ให้จำง่ายๆ ว่า จิตเดิมตัวรู้ กับ จิตแล่นขึ้นสู่วิถี >> จิตเดิมตัวรู้ เป็นปัจจัยแก่ จิตแล่นขึ้นสู่วิถี

รู้แค่นี้พอล่ะครับ

เช่นนั้น รู้มาอย่างนี้ครับ
ภวังคะ มาจาก ภว + องค์
ภวะ คือ ความมี ความเป็น
องค์ คือ ส่วนประกอบ

องค์ประกอบของความมีความเป็น คือ ภวังคะ

พอมาใช้กับจิต ก็จะเป็น จิตเป็นองค์ประกอบของความมีความเป็น คือจิตต้องไปประกอบกับกายอีกประการหนึ่ง

ภวังค์จิต จึงหมายถึงตัวจิตที่เป็นองค์แห่งภพ คือตัวรู้ ที่ท่องไปในวัฏฏะสงสาร
เมื่อเป็นตัวรู้ที่ท่องไปในวัฏฏะสงสาร คือธาตุรู้ที่หยั่งลงด้วยอวิชชา

เมื่อจิตหยั่งลงด้วยอวิชชา ยังเป็นจิตที่ไม่หลุดพ้นจึง แล่นขึ้นสู่วิถีเนืองๆ และจุติ ปฏิสนธิ ตามวิสัย

จิตที่ผุดผ่อง แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา จึงเป็น ภวังคจิต.....

ภวังคจิต จึงมิใช่สภาพจิตที่เหมือนดั่งฝัน หรือไม่รู้สึกตัว ไรๆ แต่เป็นสภาพจิตที่ยังไม่รู้อารมณ์ และยังรักษาภวะ หรือภพ ของนามรูปนี้ไว้

อืมม์ น่าจะเคลียร์ :D

ส่วนการปฏิบัติ จะรู้จักภวังคจิต ก็ต่อเมื่อได้สมาธิ ที่จตุตถฌานครับ
คือสติ เห็นจิต อย่างเดียว ก็จะรู้ว่า คือใจ ล่ะครับ

อธิบายอย่างอื่นไม่ได้ครับ เพราะไม่รู้อารมณ์ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2011, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิต ไม่ใช่เรา
จิต ไม่ว่าขึ้นสู่วิถี หรือพ้นวิถี ก็ล้วนเสวยอารมณ์
จิต ไม่เคยว่างเว้นจากอารมณ์เลย

เรา อาจว่างเว้นจากอารมณ์
แต่จิต ไม่ใช่เรา จิตไม่ว่างเว้นจากอารมณ์

จิตขณะขึ้นสู่วิถีทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จิต ขณะที่ไม่ขึ้นสู่วิถี ทางใดเลย เรียกว่า วิถีวิมุตตจิต (จิตพ้นวิถี)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
จิต ไม่ใช่เรา
จิต ไม่ว่าขึ้นสู่วิถี หรือพ้นวิถี ก็ล้วนเสวยอารมณ์
จิต ไม่เคยว่างเว้นจากอารมณ์เลย

เรา อาจว่างเว้นจากอารมณ์
แต่จิต ไม่ใช่เรา จิตไม่ว่างเว้นจากอารมณ์

จิตขณะขึ้นสู่วิถีทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จิต ขณะที่ไม่ขึ้นสู่วิถี ทางใดเลย เรียกว่า วิถีวิมุตตจิต (จิตพ้นวิถี)


ภวังคจิต เป็นปัจจัยแก่ อาวัชชนะ

คุณ govit2552 คงต้องศีกษาให้ดีนะครับ

จิตรู้ทีละอารมณ์
จากภวังค์จิต กลับสู่ภวังค์จิต

ก่อนจิตจะขึ้นวิถีจึงรู้อารมณ์ใดไม่ได้ จิตนั้นจึงอยู่ในสภาพองค์แห่งภพ

ลองตรวจสอบดูนะครับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบตามความคิดส่วนตัวนะครับ

ภวังค์......คือตำแหน่งของจิตที่ พ้นจากความเต็มสำนึกในสัดส่วนที่แตกต่างกัน

ในทุกระดับของจิตที่ไม่มีภาวะอันเต็มสำนึกแท้ ตรงนั้นคือ กำลังอยู่กับภวังค์

มันเหมือนการหดตัวของจิตจนจิตขาดการเกาะเกี่ยวต่อรูปขันธ์ และขาดจากรูปได้ไกลขึ้น
ลึกขึ้น จากในระดับที่จิตหดตัวเพียงเล็กน้อย ภวังค์ระดับนี้จิตเหมือนดังเคลิ้มเบา
มีความรู้ตัวอยู่ เหมือนปกติ แต่จิตเบาจนก่อเกิดนิมิตรภาพต่างๆมากมายขึ้นได้
เป็นภวังค์ที่มีสติ แต่ไม่มีความแน่นหนักของสมาธิ ภวังค์ชั้นนี้จึงเกิดนิมิตรต่างๆได้

ภวังค์อีกระดับหนึ่ง คือการหดตัวของจิตเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่ตัดจากระบบรูปได้บางส่วน
และมีน้ำหนักของสมาธิ อันเด่นชัดขึ้น นิมิตทั้งหลายจึงไม่เกิดได้อีกในภวังระดับนี้ จะมีก็เพียง
แต่การหดตัวจากอารมณ์ภายนอก แล้วทรงตัวอยู่อย่างแจ่มใส ในภายใน เพราะสมาธิหนัก
จึงไม่เกิดนิมิตร

ภวังค์ที่เกิดจาก รูปสมาธิ และอรูปสมาธิ ก็เป็นเช่นกันคือ จิตตัดขาดจากรูปแล้วหดตัวอยู่
อย่างรู้ตัว ต่างกันตรงส่วนแห่งความลึก และความสงบกิริยาของจิต

ระดับของภวังค์มีความต่างกันหลายระดับมาก เหมือนดังจิตเดินถอยห่างจากร่างกายเข้าไปสู่
ส่วนลึกขึ้นเรื่อยๆในภายใน

มีตั้งแต่ภวังค์ในระดับลืมตา เมื่อจิตหดลงไปในตำแหน่งที่เบาลงบางครั้งอาจมองเห็นสิ่ง
เป็นทิพย์ได้ ได้ยินเสียงจิตด้วยจิตได้ และเกิดนิมิตเลือนลางได้ในขณะลืมตา

ภวังค์ที่ลึกขึ้น จะทำให้เกิดนิมิตที่ชัดขึ้น และลึกขึ้นอาจทำให้ระลึกรู้ถึงร่องรอยตะกอนจิต
ที่มีภาพของอดีตชาติตกค้างอยู่ให้รู้ได้ ภวังระดับนี้ยังมีสติสัมปชัญญะเด่นชัดในขณะเห่งการ
เกิดนิมิตร เพราะสมาธิจะรักษาสติเอาไว้ ไม่ให้ขาดไปในห้วงภวังค์


หากเป็นภวังที่ลึกและไม่มีสมาธิเป็นตัวรักษาสติสัมปชัญญะไว้ ก็จะเป็นภวังที่เกิดนิมิตรได้เหมือนกัน แต่สติสัมปชัญญะจะขาดไปเหลือเพียงจิตใต้สำนึกทำหน้าที่รู้ต่อนิมิตรเอง เรียกจิตในภวังระดับ
นี้ว่า จิตกึ่งสำนึก และเรียกนิมิตรจากจิตชนิดนี้ว่า ความฝัน

ถ้าจิตเข้าไปในตำแหน่งหดตัวลึกที่สุดก็จะกลายเป็นจิต ชนิดไร้สำนึก เป็นภวังค์ในระดับของการ
หลับสนิทของกาย แต่จิตก็ยังเกิดดับขยับอยู่ในตัวมันเองมีอาการของมันเองเป็นตัว หล่อเลี้ยง
การเกิดดับ เป็นการเกิดดับที่มีความเบาและลึก จนไม่มีผลสะเทือนมาสู่ร่างกาย กายจึง
หลับ ได้อย่างสนิท

ตอบเท่านี้ครับ :b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2011, 01:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภวังค์จิต วิถีจิต


.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ยินดีครับ ที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้ั ประสพการณ์ กับท่านเช่นนั้น

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=1680

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=10020

http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=2711


ตอนนี้ ผมหาหลักฐานได้ แค่นี้ครับ

ต่อไปคง หาหลักฐานที่ยิ่งกว่า มาได้ครับ

เพื่อพิสูจน์ความจริง ในข้อนี้ ว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คุณGovit2552

ทราบครับ สำหรับเว็ปที่ลิงค์ไป เคยอ่านมาแล้วครับ

พิจารณาตามสมควรแก่เหตุ แก่ผลแล้วกันครับ

ภวังค์จิต จุติจิต ปฏิสนธิจิต ก็จิตดวงนี้ดวงเดียวล่ะครับ

ไม่มีดวงอื่นใดเลยครับ

ต่างกันตอนอธิบายสภาวะเท่านั้นครับ

ถ้าอธิบายปนกัน ก็จะปนกันครับ
ถ้าอธิบาย ไม่ปนกัน ก็จะถูกต้องครับ

เจริญธรรม ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขณะที่เป็นภวังคจิต ไม่ใช่วิถีจิต เพราะเหตุว่าไม่ได้อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย

ใจรู้อารมณ์อื่น นอกไปจากอารมณ์ของปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นอารมณ์ของ

ภวังคจิต

http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7888

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อารัมณปัจจัย

ในปัจจัย 24 ซึ่งปรากฏในพระไตรปิฏก
เป็นปัจจัย ให้เกิดจิต ทุกดวง
คือ จิตทุกดวง จะขาดอารัมณปัจจัย ไม่ได้เลย
มิฉะนั้นจิตจะเกิดขึ้่นไม่ได้เลย หากขาดปัจจัยตัวนี้

เมื่อหลักฐานบาลี ปรากฏชัด
จึงต้องไปดูกันถึง จิตประเภทต่างๆ เช่น จุติจิต ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต
ว่าอารัมณปัจจัย ใด ทำให้เกิดจิตเหล่านี้

ถ้าปฏิเสธว่า ไม่มีอารมณ์ใดๆ ก้จะแย้ง กับบาลีครับผม

ทั้งหมดนี่ผมสันนิษฐาน ที่มาที่ไปนะครับ

ถ้าอยากจะหาคำตอบที่กระจ่างชัด คงต้องไปค้นเรื่องปัจจัย 24 ล่ะครับ

http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7771

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อะไรคือ อารมณ์ของภวัคจิต

อันนี้ละเอียดมากครับ แต่ถ้าไม่เชื่อ ก็ต้องไปค้นในพระไตรปิฏก
เพื่อหาที่มาที่ไปครับ

http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=7739

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร