วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 01:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 21:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


onion ถ้าเป็นวันที่ 28 สิงหาคม 2554 เราต้องเปลี่ยนยังงี้
ปัจจุบัน อุโปสถที่ ๓ ผ่านไปแล้ว ๒ อุโปสถ เหลือ ๔ อุโปสถ กับ ๑ ปวารณา

สตฺต จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อิมินา ปกฺเขน เอโก อุโปสโถ สมฺปตฺโต เทวฺ อุโปสถา อติกฺกตฺตา จตฺตาโร จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อวสิฏฐา

บาลี งูๆปลาๆ ต้องให้คุณกามโภคี ดูอีกที smiley


ฤดู
คิมหันตะ(ร้อน) แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
วัสสา(ฝน) แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
เหมันตะ(หนาว)แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 22:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 09:34
โพสต์: 10


 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมขอขอบพระคุณมากครับที่ได้ชี้แนะกระทุ้ของกระผม
แม้กระผมไม่ร้ภาษาบาลี แต่กระผมจะพยายามทำความเข้าใจ

เออ..หากไม่รบกวนเกินไปกระผมอยากให้ พระคุณท่านช่วยเปลี่บน
ตั้งแต่วันที่เข้าพรรษา ถึง วัน ปวารณา (ออกพรรษาใช่เปล่าครับ)
ขอขอบพระคุณมากครับ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2011, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dang เขียน:
onion ถ้าเป็นวันที่ 28 สิงหาคม 2554 เราต้องเปลี่ยนยังงี้
ปัจจุบัน อุโปสถที่ ๓ ผ่านไปแล้ว ๒ อุโปสถ เหลือ ๔ อุโปสถ กับ ๑ ปวารณา

สตฺต จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อิมินา ปกฺเขน เอโก อุโปสโถ สมฺปตฺโต เทวฺ อุโปสถา อติกฺกตฺตา จตฺตาโร จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อวสิฏฐา


อติกฺกนฺตา

น่าจะตัวนี้ครับ อย่างไรก็ตาม ช่วยผมตรวจด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้แล้ว อติกฺกนฺตา ถูกต้อง พลาดไปนิดหนึ่ง huh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 21:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


อุโปสถที่ ๓ วันที่ 28 สิงหาคม 2554 (แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙)
สตฺต จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อิมินา ปกฺเขน เอโก อุโปสโถ สมฺปตฺโต เทวฺ อุโปสถา อติกฺกนฺตา จตฺตาโร จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อวสิฏฐา

อุโปสถที่ ๔ วันที่ 12 กันยายน 2554 (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐)
สตฺต จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อิมินา ปกฺเขน เอโก อุโปสโถ สมฺปตฺโต ตะโย อุโปสถา อติกฺกนฺตา ตะโย จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อวสิฏฐา

อุโปสถที่ ๕ วันที่ 27 กันยายน 2554 (แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐)
สตฺต จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อิมินา ปกฺเขน เอโก อุโปสโถ สมฺปตฺโต จัตตาโร อุโปสถา อติกฺกนฺตา เทวฺ จ อุโปสถา เอกา จ ปวารณา อวสิฏฐา

๑ ปวารณา วันที่ 12 ตุลาคม 2554 (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑)
ปะวาระณากะระณะโต ๑ ปุพเพ นะวะวิธัง ปุพพะกิจจัง
กาตัพพัง โหติ. ตัณฐานะสัมมัชชะนัญจะ ตัตถะ ปะทีปุชชะ
ละนัญจะ อาสะนะปัญญะปะนัญจะ ปานียะปะรีโภชนะนียูปัฏฐะ
ปะนัญจะ ฉันทาระหานัง ภิกขูนัง ฉันทาหะระณัญจะ เตสัญเญวะ
อะกะตะปะวาระณานัง ปะวาระณายะปิ๒ อาหะระณัญจะ อุตุกขานัญจะ
ภิกขุคะณะนา จะ ภิกขุนีนะโมวาโท จาติ.
ตัตถะ ปุริเมสุ จะตูสุ กิจเจสุ ปะทีปะกิจจัง
อิทานิ สุริยาโลกัสสะ อัตถิตายะ นัตถิ อะปะรานิ ตีณิ๓ ภิกขูนัง วัตตัง ชานันเตหิ
ภิกขูหิ ๔ กะตานิ ปะรินิฏฐิตานิ โหนติ.
ปะวาระณาอาหะระณานิ๕ อาหะระณานิ ปะนะ อิมิสสัง
สีมายัง หัตถะปาสัง วิชะหิตวา นิสินนานัง ภิกขูนัง อะภาวะโต
นัตถิ.
อุตุกขานัง นามะ เอตตะกัง อะติกกันตัง, เอตตะกัง
อะวะสิฏฐันติ เอวัง อุตุอาจิกขะนัง, อุตูนีธะ ปะนะ สาสะเน
เหมันตะคิมหะวัสสานานัง วะเสนะ ตีณิ โหนติ. อะยัง วัสสาโนตุ ๖
อัสมิญจะ อุตุมหิ สัตตะ จะ อุโปสะถา เอกา จะ ปะวาระณา
อิมินา ปักเขนะ เอกา ปะวาระณา สัมปัตตา ปัญจะ อุโปสะถา
อะติกกันตา เทว อุโปสะถา อะวะสิฏฐา๗ อิติ เอวัง สัพเพหิ อายัสมันเตหิ อุตุกขานัง
ธาเรตัพพัง. (รับว่าเอวัง ภันเต พร้อมกัน ผู้แก่ว่า เอวัง อาวุโส หรือ
เอวัง)

ภิกขุคะณะนา นามะ อิมัสมิง ปะวาระณัคเค ปะวาระณัตถายะ๘ ปะวาระณัคเค ๙
สันนิปะติตา ภิกขู เอตตะกาติ ภิกขูนัง คะณะนา. อิมัส
มิมปะนะ อุโปสะถัคเค๙ (จัตตาโร๑๐เปลี่ยนตามจำนวนพระภิกษุ) ภิกขู สันนิปะติตา โหนติ.
อิติ เอวัง สัพเพหิ อายัสมันเตหิ ภิกขุคะณะนาปิ ธาเรตัพพา.
(รับว่าเอวัง ภันเต พร้อมกัน แก่ว่า เอวังอาวุโส หรือ เอวัง)

ภิกขุนีนะโมวาโท ปะนะ อิทานิ ตาสัง นัตถิตายะ นัตถิ.
อิติ สะกะระโณกาสานัง ปุพพะกิจจานัง กะตัตตา นิกกะระโณ
กาสานัง ปุพพะกิจจานัง ปะกะติยา ปะรินิฏฐิตัตตา เอวันตัง
นะวะวิธัง ปุพพะกิจจัง ปะรินิฏฐิตัง โหติ.
นิฏฐิเต จะ ปุพพะกิจเจ สะเจ โส ทิวะโส จาตุททะสี
ปัณณะระสี สามัคคีนะมัญญะตะโร ยะถาชชะ ปะวาระณา๑๑ ปัณ
ณะระโส๑๒ ยาวะติกา จะ ภิกขู กัมมัปปัตตา สังฆะปะวาระณาระหา ปัญจะ๑๓
วา ตะโต วา อะติเรกา ปะกะตัตา ปาราชิกัง
อะนาปันนา สังเฆนะ วา อะนุกขิตตา, เต จะ โข หัตถะปาสัง
อะวิชะหิตวา เอกะสีมายัง ฐิตา, เตสัญจะ วิกาละโภชะนาทิ
วะเสนะ วัตถุสะภาคาปัตติโย เจ นะ วิชชันติ, เตสัญจะ หัตถะ
ปาเส หัตถะปาสะโต พะหิกะระณะวะเสนะ วัชเชตัพโพ โกจิ
วัชชะนียะปุคคะโล เจ นัตถิ.
เอวันตัง ปะวาระณากัมมัง๑๔ อิเมหิ จะตูหิ ลักขะเณหิ
สังคะหิตัง ปัตตะกัลลัง นามะ โหติ กาตุง ยุตตะรูปัง ปะวาระณากัมมัสสะ ๑๕
ปัตตะกัลลัตตัง วิทิตวา อิทานิ กะริยะมานา ปะวาระณา
สังเฆนะ อะนุมาเนตัพพา ๑๖

(รับว่า สาธุ พร้อมกัน)

เพื่อความถูกต้องตรวจสอบอีกหลายๆครั้งนะครับ huh huh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 21:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


huh แล้วจะแวะเข้ามาใหม่ง่วงแล้วผิดถ้าพลาดต้องขออภัย huh


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dang เขียน:
(รับว่า สาธุ พร้อมกัน)



สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2011, 23:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 09:34
โพสต์: 10


 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมขอขอบพระคุณมากครับสิ่งที่เหลือก็คือ
กระผมจะพยายามทำความเข้าใจครับ
ขอบพระคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 05:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝากคุณ กามโภคี ดูบาลีนี้ให้ด้วย
จิรํ ชีวนฺตุ โน ญาตี เยสํ เหตุ ลภามฺหเสฯ อ่านอย่างไร (ลัม+ภา+หะ+เส)ถูกหรือไม่
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๙
กับ
จิรํ ชีวนฺตุ โน ญาตี เยสํ เหตุ ลภามเส
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
หน้าที่ ๑๕๙
เหตุใดถึงเขียนต่างกัน อันไหนถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 05:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


ในติโรกุฑฺฑสูตร เล่มที่ ๒๕ กับ เล่มที่ ๒๖ มีข้อที่ต่างกัน ช่วยอธิบายเพิ่มด้วย ต้องใช้บรรยายธรรมวันที่ ๒๘ สิงหาคม
น ต เปตสฺส ๒ อตฺถาย เอว ติฏฺนฺติ าตโย ฯ
น ต เปตานมตฺถาย เอว ติฏฺนฺติ าตโย ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 11:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dang เขียน:
ฝากคุณ กามโภคี ดูบาลีนี้ให้ด้วย
จิรํ ชีวนฺตุ โน ญาตี เยสํ เหตุ ลภามฺหเสฯ อ่านอย่างไร (ลัม+ภา+หะ+เส)ถูกหรือไม่
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
หน้าที่ ๙
กับ
จิรํ ชีวนฺตุ โน ญาตี เยสํ เหตุ ลภามเส
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
หน้าที่ ๑๕๙
เหตุใดถึงเขียนต่างกัน อันไหนถูกต้อง



ต้องขอกล่าวว่า การอ่านของหลวงพี่ดีมากๆ ใช้วิธีการที่เหมาะอย่างยิ่ง
การอ่านพระไตรปิฎก มักจะอ่านกันแต่ภาษาไทย ซึ่งบางครั้ง การแปลสู่ภาษาไทยมีปัญหา เช่น ปาฏิโมกข์
ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ว่า ๑๕๐ ถ้วนอันมาทุกกึ่งเดือน แต่ ในฉบับบาลีมีคำว่า สหาธิกํ ก็หมายความว่า
ต้องมีเกิน ๑๕๐ แน่ ท่านที่ยึดแต่ภาษาไทย ก็เข้าใจว่ามี ๑๕๐ เป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง
การจะวินิฉัยเมื่อมีปัญหาตามตัวอย่าง จำต้องกลับไปดูที่บาลี เพราะว่า บาลีคือรากศัพท์ที่มาของการแปล
ลงสู่ภาษาไทย และบาลีมีไวยากรณ์ที่บังคับลักษณะการแปลและสำนวนต่างๆไว้อย่างดียิ่ง

ตามที่หลวงพี่ถามมา ตอบตามลำดับดังนี้

ลภามฺหเส อ่านว่า ละ ภา มะ หะ เส

ออกเสียงที่ มะ สั้นๆ ไม่ต้องออก มะ อย่างชัดเจน ตัวนี้น่าจะเป็นอัฑฒะสระ ออกเสียงกึ่งหนึ่ง

ส่วนที่ว่า ตามที่มาทั้ง ๒ นั้น คำไหนถูก ในความเห็นผม คำแรกน่าจะถูก ส่วนคำหลังจะถูกหรือไม่ ผมไม่แน่ใจเลย เพราะว่าเท่าที่ดู เป็นฉันท์ลักษณะ อาจมีข้อกำหนดฉันท์ให้อำนาจของการแปลงกิริยาให้
เหลือเท่านั้นได้ ซึ่งเท่าที่ดู อาจจะไม่ใช่ อาจพิมพ์ตกไปมากกว่า ฉะนั้น หลวงพี่ยึดคำแรกคือ

ลภามฺหเส ไว้ดีกว่าครับ อันนี้ตรงกิริยาอาขยาตเลย

เต็มๆของบาทคาถานี้

เต จ ตตฺถ สมาคนฺตฺวา ญาติเปตา สมาคตา
ปหุเต อนฺนปานมฺหิ สกฺกจฺจํ อนุโมทเร
จิรํ ชีวนฺตุ โน ญาตี เยสํ เหตุ ลภามฺหเสฯ

อนึ่ง เปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น มาพร้อมกันแล้ว ในที่นั้น
เมื่อข้าวและน้ำมีจำนวนมาก ย่อมอนุโมทนา โดยความเคารพ ว่า
เราได้แล้วเพราะเหตุของชนเหล่าใด ขอชนเหล่านั้นผู้เป็นญาติของพวกเรา
จงมีชีวิตสิ้นกาลนานฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dang เขียน:
ในติโรกุฑฺฑสูตร เล่มที่ ๒๕ กับ เล่มที่ ๒๖ มีข้อที่ต่างกัน ช่วยอธิบายเพิ่มด้วย ต้องใช้บรรยายธรรมวันที่ ๒๘ สิงหาคม
น ต เปตสฺส ๒ อตฺถาย เอว ติฏฺนฺติ าตโย ฯ
น ต เปตานมตฺถาย เอว ติฏฺนฺติ าตโย ฯ


ข้อนี้ก็คล้ายกับ ลภามฺหเส

ส่วนโพสนี้ ประโยคที่ต่างกันคือ

น ตํ เปตสฺส อตฺถาย เอวํ ติฏฺฐนฺติ ญาตโย และ
น ตํ เปตานมตฺถาย เอวํ ติฏฺฐนฺติ ญาตโย

ที่จริงก็แปลคล้ายกัน หลวงพี่คงแปลได้แล้ว ที่ต่างกันคือ เอกวจนะกับพหุวัจนะเท่านั้นเอง

เปตานมตฺถาย แยกเป็น เปตานํ อตฺถาย แปลว่า เพื่อประโยชน์ แก่ญาติผู้ล่วงลับแล้วทั้งหลาย
เปตสฺส อตฺถาย แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับแล้ว (ไม่มีทั้งหลาย เพราะเป็นเอกวจนะ)

เปตานํ เป็นพหุวจนะ และ เปตสฺส เป็นเอกวจนะ

ทั้งปวง ความหมายเหมือนกัน แปลเหมือนๆกัน ต่างตรงวจนะเท่านั้นครับ

บรรยายธรรมเหมือนเทศน์งานศพงานแจง ทำบุญอัฎฐิเลยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 16:58
โพสต์: 42


 ข้อมูลส่วนตัว


s005 เจริญพร ขอคุณ คุณกามโภคี ที่ได้ให้ความกระจ่างเป็นอย่างดีเยี่ยม ขออนุญาติกล่าวถึงเมื่อเวลาบรรยายธรรมถือได้ว่าเป็นครูอีกคนหนึ่งที่ได้ถวายความรู้มา หลวงพี่ได้เรียนแค่หางอึ่ง สิ โย อํ โย นา หิ ส นํ(ไม่จบด้วย) ไม่ได้โอกาสต่อเนื่องเลยไม่ได้เป็นมหากับเขา แต่ถ้าเห็นอะไรแปลกๆ ก็สนใจใคร่อยากรู้
ขออนุโมทนากับท่านเป็นอย่างมาก ขอบุญกุศลส่วนนี้จงเป็นอนุคามินี ติดตามท่านไปอยู่ทุกภพทุกชาติ
จะไปเกิดในภพภูมิใดก็ตาม ขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์อัปปัญญาขออย่าได้เกิดได้มี
ให้มีความสำเร็จดังปรารถนา(ในทางสุจริตชอบธรรมตามเหตุปัจจัย)เต็มรอบเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำอันปราศจากเมฆหมอกนั้นเทอญ :b8: :b8: :b8:
เจริญพร smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dang เขียน:
s005 เจริญพร ขอคุณ คุณกามโภคี ที่ได้ให้ความกระจ่างเป็นอย่างดีเยี่ยม ขออนุญาติกล่าวถึงเมื่อเวลาบรรยายธรรมถือได้ว่าเป็นครูอีกคนหนึ่งที่ได้ถวายความรู้มา หลวงพี่ได้เรียนแค่หางอึ่ง สิ โย อํ โย นา หิ ส นํ(ไม่จบด้วย) ไม่ได้โอกาสต่อเนื่องเลยไม่ได้เป็นมหากับเขา แต่ถ้าเห็นอะไรแปลกๆ ก็สนใจใคร่อยากรู้


นมก.(นมัสการ)

หลวงพี่ครับ อย่าได้ถือว่าเป็นครูเลยครับ ไม่เหมาะครับ ผมยังมีคุณสมบัติไม่พอด้วยซ้ำ สิ่งใดผมพอรู้ ก็พอจะอธิบายได้เท่านั้นเอง อาจจะไม่ถูกต้องก็ได้

ผมก็เช่นเดียวกับหลวงพี่ละครับ ไม่ได้เป็นมหาเปรียญกับเขาหรอก ปลายหางอึ่งเหมือนกัน แต่ผมคิดว่า
ภาษาบาลี ก็ดุจภาษาสากล ใครเรียนก็รู้ได้ ไม่จำต้องเป็นมหาเปรียญเลย ทั้งที่ความจริงลุงของผม เป็น
มหาเปรียญตั้ง ๕ คน จบพุทธศาสตร์จากอินเดียทั้ง ๕ คน เพื่อนๆผมหลายคน ปัจจุบันเป็นเจ้าคุณ รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล แล้วก็มี แต่ผมไม่ได้เป็นอะไรกับเขาเลย มีลูกมีเมียไป
ตามวิสัยโลก

มหาเปรียญ ไม่ได้บอกความเป็นคนดีตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงวางแบบแผนไว้หรอกครับ การที่เราดำเนินตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าประเสริฐกว่าเป็นไหนๆครับ ลุงผม เพื่อนๆผม แม้มีความรู้ขนาด
นั้น บางคนยังไม่รู้จักวิปัสสนาด้วยซ้ำ ทั้งบางคนไม่เคยนั่งสมาธิเลย บางคนนั่งก็งูๆปลาๆ ไม่ได้จริงจัง
เท่ากันกับผมด้วยซ้ำ

หลวงพี่ภูมิใจเถิดครับ หลวงพี่ทำสิ่งที่ยากกว่าคนทั่วไป เพศของหลวงพี่ จะทำแบบชาวบ้านก็ลำบาก จะทำตามใจก็ไม่ได้ง่ายๆ เวลาเทศนาบรรยาย คนเชื่อง่ายกว่าเพศอื่นๆ แต่ก็ต้องรอบคอบ เพราะคนเชื่อ
ง่าย นี่เรียกว่ายาก ต้องระวังทั้งนั้น เขาถาม ก็ต้องตอบให้ได้ ให้สมกับเพศ นี่ก็เรียกว่ายาก แถมได้
โอกาสเผยแผ่คำสั่งคำสอนในพระพุทธศาสนาอีก มีโอกาศอันงามมาก บางคนรู้มาก แต่โอกาศไม่มี
ไม่ได้ใช้เลย ก็เหมือนกับแบกของไว้รอผุพังเท่านั้นครับ

การบนมัสการขอบคุณครับสำหรับพร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2011, 20:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 09:34
โพสต์: 10


 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมขอถามข้อหนึ่งครับ
วันเข้าพรรษาเรานับเป็น อุโบสถที่ 1 หรือเปล่าครับ
หรือว่าเรานับอุโบสถ ถัดจากวันเข้าพรรษา คือแรม 15 ค่ำ ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร