วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 14:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2011, 02:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ธาตุสังยุตต์
นานัตตวรรคที่ ๑


๑. ธาตุสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังจงกระทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ณบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน
จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ
โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ ธรรมธาตุมโนวิญญาณธาตุ
นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ

๒. สัมผัสสสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน
จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ
โสตสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตธาตุ
ฆานสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานธาตุ
ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาธาตุ
โผฏฐัพพะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายธาตุ
มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุอย่างนี้แล ฯ

๓. โนสัมผัสสสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯลฯมโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ เป็นไฉน
จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้
โสตสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ โสตธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้
ฆานสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ ฆานธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้
โผฏฐัพพะสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ โผฏฐัพพะธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้
ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ ชิวหาธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้
มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสหามิได้
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ อย่างนี้แล ฯ

๔. เวทนาสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯลฯมโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะเป็นไฉน
จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ
มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ อย่างนี้แล ฯ


๕. โนเวทนาสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้ เป็นไฉน
จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ
จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส
จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนาหามิได้
จักขุธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัสหามิได้ ฯลฯ
มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ
มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส
มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนาหามิได้
มโนธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัสหามิได้
ภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้อย่างนี้แล ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หัวข้อที่ ๓๓๓ - ๓๕๒

สรุปความเข้าใจ
ธาตุ (จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ) =>
ผัสสะ (จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส) =>
เวทนา (จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา )


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 06 ก.ค. 2011, 23:46, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2011, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. พาหิรธาตุสูตร

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ... ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุนี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ

๗. สัญญาสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญา(ความจำได้หมายรู้) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะ(ดำริ) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งฉันทะ(ความพอใจ) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะ(ความเร่าร้อน) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนา (แสวงหา) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉนรูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ เป็นไฉน

รูปสัญญา(ความจำได้หมายรู้ในรูป) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย รูปธาตุ
รูปสังกัปปะ(ความดำริในรูป) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย รูปสัญญา
รูปฉันทะ(ความพอใจในรูป) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย รูปสังกัปปะ
รูปปริฬาหะ(ความเร่าร้อนเพื่อจะได้รูป) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย รูปฉันทะ
รูปปริเยสนา (การแสวงหารูป) บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย รูปปริฬาหะ ฯลฯ
ธรรมสัญญา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ธรรมสัญญา
ธรรมฉันทะ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ธรรมสังกัปปะ
ธรรมปริฬาหะ บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ธรรมฉันทะ
ธรรมปริเยสนา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ธรรมปริฬาหะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ อย่างนี้แล ฯ

๘. โนสัญญาสูตร

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ หามิได้
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่าง แห่งธาตุ เป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุนี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัย ความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ เป็นไฉน

ภิกษุทั้งหลาย ความหมายรู้ในรูปบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ
ความหมายรู้ในธรรมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ฯลฯ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ
ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนาหามิได้
ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะหามิได้
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะหามิได้
ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะหามิได้
ธรรมธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญาหามิได้

ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
หามิได้ ฯลฯ ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ อย่างนี้แล ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หัวข้อที่ ๓๔๓ - ๓๔๗

สรุปความเข้าใจ
ธาตุ (รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ) =>
สัญญา - ความจำได้หมายรู้ (ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) =>
สังกัปปะ - ความดำริ (ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) =>
ฉันทะ - ความพอใจ (ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) =>
ปริฬาหะ - ความเร่าร้อน (เพื่อจะได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) =>
ปริเยสนา - การแสวงหา (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์)


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 06 ก.ค. 2011, 22:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2011, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. ผัสสสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญา บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ฯลฯ
ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ
รูปสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัญญา
รูปผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสังกัปปะ
รูปสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัส
รูปฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปสัมผัสสชาเวทนา
รูปปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปฉันทะ
รูปปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริฬาหะ
รูปลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปปริเยสนา ฯลฯ
ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา
ธรรมสัมผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะธรรม
สัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสะ
ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสชาเวทนา
ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ
ธรรมลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา
ดูกรภิกษุทั้งหลายความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯลฯ
ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาอย่างนี้แล ฯ

๑๐. โนผัสสสูตร
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะหามิได้
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ ฯลฯธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะหามิได้
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ เป็นไฉน
รูปสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปธาตุ ฯลฯ
ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมธาตุ
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญา ฯลฯ
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะ
ธรรมลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนา
ธรรมปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมลาภะหามิได้
ธรรมปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริเยสนาหามิได้
ธรรมฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมปริฬาหะหามิได้
ธรรมสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมฉันทะหามิได้
ธรรมสัมผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสชาเวทนาหามิได้
ธรรมสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัมผัสสะหามิได้
ธรรมสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสังกัปปะหามิได้
ธรรมธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมสัญญาหามิได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะ
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ
ความต่างแห่งลาภะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนา
ความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งลาภะหามิได้
ความต่างแห่งปริฬาหะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริเยสนาหามิได้
ความต่างแห่งฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะหามิได้
ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะหามิได้
ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนาหามิได้
ความต่างแห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะหามิได้
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะหามิได้
ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญาหามิได้ อย่างนี้แล ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หัวข้อที่ ๓๔๘-๓๕๑

สรุปความเข้าใจ
ธาตุ - (รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ)=>
สัญญา - (ความจำได้หมายรู้ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ ธรรมารมณ์ )=>
สังกัปปะ - (ความดำริในรูป เสียง กลิ่น รส โผฐัพพะ ธรรมารมณ์ )=>
ผัสสะ - (จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส)=>
เวทนา - (จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา)=>
ฉันทะ - (ความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) =>
ปริฬาหะ - (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) =>
ปริเยสนา - (การแสวงหารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์)=>
ลาภะ - (การได้ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์)

ธาตุ=> สัญญา => สังกัปปะ => ผัสสะ => เวทนา => ฉันทะ => ปริฬาหะ=> ปริเยสนา => ลาภะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


วิภังคสูตร (ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาท)

พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาท นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ

- ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ

- ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ฯ

- ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ

- ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ

- ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา ฯ

- ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ

- ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ

- ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป ฯ

- ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ฯ

- ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร ฯ

- ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้ ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์นี้เรียกว่าอวิชชา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและ อุปายาส ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะ นามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับชราและ มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่า นั้นมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หัวข้อที่ ๔ - ๑๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลายทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวลเข้าแล้ว ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละโดยแยบคายเป็นอย่างดีในกายนั้นว่า เพราะเหตุนี้ๆเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วยสามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่าสิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุได้ด้วยอาการอย่างนี้ มัจจุราชย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างนี้.แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลายรูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปเสียเถิด รูปนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของท่านทั้งหลายท่านทั้งหลาย จงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุขตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? หญ้า ไม้กิ่งไม้และใบไม้ในวิหารเชตวันนี้คนพึงนำไป เผาเสีย หรือว่าทำตามปัจจัย ท่านทั้งหลายพึงมีความดำริอย่างนี้หรือว่า คนย่อมนำไปเผาเสียซึ่งเราทั้งหลาย หรือทำตามปัจจัย. ความดำรินั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือของเนื่องด้วยตนแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งนั้นที่ท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนานฉันนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิดวิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เพื่อสุข ตลอดกาลนาน แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

และสมจริงตามภาษิตว่า
ดูกรคามณี เมื่อบุคคลเห็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมล้วนและความ สืบต่อแห่งสังขารล้วน ตามเป็นจริง ภัยก็ไม่มี เมื่อใด บุคคลเห็น ขันธโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้นก็ไม่ปรารถนาอะไรๆ อื่น นอกจากนิพพานอันไม่มีปฏิสนธิ.

และสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมค้นหารูปอย่างนั้นแหละ ตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้นหาเวทนา ตลอดถึงคติของเวทนาที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้นหาสัญญา ตลอดจนคติของเวทนาที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้นหาสังขาร ตลอดจานคติของสังขารที่มีอยู่ ภิกษุย่อมค้นหาวิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้น ค้นหารูปตลอดถึงคติของรูปที่มีอยู่ เมื่อค้นหาเวทนา ...สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ตลอดถึงคติของวิญญาณที่มีอยู่ แม้ความถือว่าเราก็ดี ว่าของเราก็ดี ว่าเราย่อมมีก็ดี ความถือแม้นั้นก็มิได้มีแก่ภิกษุนั้นๆ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ... ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2011, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สังฆาฏิสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้า ในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัวมีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา ฯ

บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยังเป็นไปตามตัณหา ดับความเร่าร้อน ไม่ได้ แม้หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากความกำหนัดยินดีเพียงในที่ไกลเท่านั้น

ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้ธรรมด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบระงับ เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ไม่มีลมฉะนั้น บุคคลนั้นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ปราศจากความกำหนัดยินดี ในที่ใกล้แท้ ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หัวข้อที่ ๒๗๒


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญา


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๘ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว

เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิต ให้ถึงพร้อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่างๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

อนึ่ง เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่ารูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๘ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้าท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ความเคารพ ความสรรเสริญ เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรมเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้าท่านได้เข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ทำให้แจ้ง และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการ แก่ภิกษุนั้น ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ...เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตให้ถึงพร้อม ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่ง
ใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ เป็นผู้มีศีล ... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ เป็นพหูสูต ... แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ท่านผู้มีอายุนี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ปรารภความเพียร ... ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้เข้าประชุมสงฆ์ ... ไม่ดูหมิ่นความนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก ...เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ฯ

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ... ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็ย่อมเป็นไปเพื่อความรัก ความเคารพ ความสรรเสริญเพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลายเหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๓๑๑๑ - ๓๑๙๗. หน้าที่ ๑๓๕ - ๑๓๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2011, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างที่คุ้มครองโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ อหิริกะ ๑
อโนตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉนคือ หิริ ๑
โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก ๒ อย่างเป็นไฉน คือหิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ถ้าธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ไม่พึงคุ้มครองโลก ใครๆ ในโลกนี้จะไม่พึงบัญญัติ ว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู โลกจักถึงความสำส่อนกัน เหมือนกับพวกแพะ พวกแกะ พวกไก่ พวกหมูพวกสุนัขบ้าน และพวกสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เพราะธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้น โลกจึงบัญญัติคำว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครูอยู่ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2011, 01:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


หิมวันตสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 01:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กิมัตถิยสูตร

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล ฯ

ศีลเป็นกุศล => อวิปปฏิสาร (ความไม่เดือดร้อนใจ) => ปราโมทย์ => ปิติ => ปัสสัทธิ=> สุข => สมาธิ=> ยถาภูตญาณทัสสนะ=> นิพพิทาวิราคะ => วิมุตติญาณทัสสนะ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=24


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 02 ส.ค. 2011, 01:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 01:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สติสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือกแม้กะพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ

สติสัมปชัญญะ => หิริโอตตัปปะ => อินทรียสังวร => ศีล => สัมมาสมาธิ => ยถาภูตญาณทัสสนะ => นิพพิทาวิราคะ => วิมุตติญาณทัสสนะ

http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005009.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

สิกขาสูตรที่ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ

สิกขาสูตรที่ ๒

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขาดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้แล ฯ

ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์
พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต
และอธิปัญญา เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด
เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
เบื้องต่ำก็ฉันนั้นในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น ในกลางคืน
ฉันใดในกลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักศึกษา
เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดี
ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้
ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติอันเป็นที่สิ้น
ตัณหา ย่อมมีจิตหลุดพ้นจาก สังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท
เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ


พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต หัวข้อที่ ๕๒๙-๕๓๐


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา
จากสัลเลขสูตร ที่ ๘


ดูกรจุนทะ เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลากิเลสในข้อเหล่านี้แล คือ
เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการฆ่าสัตว์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลักทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการลักทรัพย์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเสพเมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเท็จ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำเพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเพียรผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเพียรชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสมาธิผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติชอบ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถิ่นมิทธะกลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถิ่นมิทธะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักห้ามพ้นจากวิจิกิจฉา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกรธ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธไว้.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักยกตนเทียมท่าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ยกตนเทียมท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมารยา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมารยา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อด้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดื้อด้าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน ในข้อนี้เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมิตรชั่ว ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีกัลยาณมิตร.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนประมาท ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนไม่ประมาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนไม่มีศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนมีศรัทธา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริในใจ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอตตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะน้อย ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสุตะมาก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนเกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติหลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติดำรงมั่น.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนมีปัญญาทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นคนลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย.

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อที่ ๑๐๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2011, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:47
โพสต์: 417

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: วิปัสนา-กรรมฐาน เล่ม 1-2
ชื่อเล่น: นา
อายุ: 44
ที่อยู่: 140/19 ถ.อภัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว




ARNUMOTANAMI.JPG
ARNUMOTANAMI.JPG [ 33.32 KiB | เปิดดู 4553 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าแก้ไขคนอื่น จงแก้ไขตัวเราเอง

....................................................

เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเล่า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามาเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

...................................................
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


โลกธรรมสูตร


ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ


๘ ประการเป็นไฉน คือ

ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑
นินทา ๑ สรรเสริญ ๑
สุข ๑ ทุกข์ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล
ย่อมหมุนไปตามโลกและโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ฯ


" ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑
ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้นแล้ว
พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์
ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่
อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี
ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ
ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ "


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร