วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 14:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิจิกิจฉากิเลส

ได้แก่ธรรมชาติที่ตัดสินใจลำบาก คือ สงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตามธรรมดาผู้ที่ยังมีวิจิกิจฉากิเลสอยู่ ไม่ว่าจะนับถือศาสนาพุทธหรือศาสนาอื่นใดก็ตาม ย่อมมีความสงสัยในพระรัตนตรัยอยู่เสมอเช่น

ก. สงสัยในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริง พระองค์ตัดกิเลสได้จริงหรือ พระองค์ทรงคุณพิเศษสามารถแสดงธรรมเพื่อตัดกิเลสนำสัตว์ออกจากวัฎฎสงสารได้จริงหรือ
พระองค์ทรงพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสาร เสด็จเข้าสู่แดนอมตนิพพานได้จริงหรือ ดังนี้เป็นต้น

ข. สงสัยในพระธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระธรรมที่ทรงแสดงไว้นั้นจริงหรือ พระธรรมอันเร้นลับมองไม่เห็นต่างๆ เช่น เรื่องนรก,สวรรค์,-มรรค,-ผล,-นิพพานเป็นต้นนั้นมีอยู่จริงหรือ

ถ้าปฏิบัติตามพระธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้แล้วจะได้รับผลจริงหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น

ค. สงสัยในพระอริยสงฆ์แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระอริยสงฆ์มีจริงหรือ ถ้ามีจริง พระอริยสงฆ์ท่านสามารถดับกิเลสได้จริงหรือ พระอริยสงฆ์ท่านได้สามารถบรรลุมรรค,ผลและเห็นพระนิพพานได้จริงหรือ ดังนี้เป็นต้น



หมดสิ้นสงสัยในพระรัตนตรัย โดยเอาตนเองเข้าเป็นพยานโดยเหตุดังนี้


ผู้เข้าสู่กระแสพระนิพพาน ได้ดื่มอมตรสคือพระนิพพานแล้ว ความสงสัยในพระรัตนตรัยก็ขาดไปจากจิตสันดานโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะตนได้ประสบพบเห็นยอดของธรรมะ กล่าวคือพระนิพพานแล้ว

จึงมีความเชื่อมั่นอันจริงใจว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดอย่างแน่แท้ เพราะทรงสามารถนำเอาพระนิพพานอันเป็นอมตธรรมมาตีแผ่ให้ปรากฏแก่ชาวโลกได้

และในบรรดาธรรมทั้งหลายนั้น พระนิพพานได้ชื่อว่ายอดแห่งธรรม ก็มีพระนิพพานอันเป็นยอดแห่งธรรมมีจริง เพราะตนได้ประสบพบเห็นด้วยตนเองดังนี้แล้ว เหตุไฉนธรรมทั้งหลายที่พระองค์ตรัสเอาไว้จะไม่มีจริงเล่า

พระอริยสงฆ์สาวกแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีอยู่จริงๆ เพราะการที่จะได้เป็นพระอริยสาวกก็โดยอาศัยการได้ลิ้มรสอมตธรรมคือพระนิพพาน ตนเองก็ได้ลิ้มรสพระนิพพานแล้วเหมือนกัน

ฉะนั้นความสงสัยในพระอริยสงฆ์ก็เป็นอันหมดสิ้นไปด้วย




เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะของวิจิกิจฉากิเลส


สภาวะวิจิกิจฉากิเลส มี ๒ สภาวะ คือ สภาวะที่เกิดขึ้นภายใน ๑ สภาวะที่เกิดขึ้นภายนอก ๑

สภาวะที่เกิดขึ้นภายใน ได้แก่ สภาวะที่นำมากล่าวแล้วดังข้อความตอนต้น

สภาวะภายนอก ได้แก่ การสงสัยในเหตุของคนอื่นๆ ตลอดจนเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกทั้งอดีตและปัจจุบัน


เมื่อได้รู้แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ย่อมแจ้งในสภาวะของสัจจานุโลมิกญาณ ย่อมสิ้นสงสัยในคุณของพระรัตนตรัยและเหตุของผู้อื่น หากยังมีความสงสัยในสภาวะของนิพพาน สภาวะนี้ยังเป็นมรรค ยังไม่ใช่ผล

เมื่อรู้แจ้งในสภาวะที่แท้จริงของสภาวะอริยสัจ ๔ และสภาวะของนิพพาน สภาวะนี้เป็นผล เมื่อผลมาแสดงแล้ว ย่อมสิ้นสงสัยในสภาวะที่เหลือทั้งหมดทั้งภายนอกและภายใน จิตปราศจากอคติ จิตมีความเป็นปกติมากขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเบื่อหน่าย ( นิพพิทาญาณ )


นิพพิทาญาณ มีความหมายเดียวกันกับ ภยตุปัฏฐาญาณกับอาทีนวญาณ

ชื่อว่า ภยตุปัฏฐาญาณ เพราะ เห็นสังขารทั้งปวงโดยความน่ากลัว ( ญาณกำหนดรู้ในความปรากฏโดยความเป็นที่น่ากลัว )

ชื่อว่า อาทีนวานุปัสสนา เพราะ ให้เกิด ( ความเห็น ) โทษร้ายขึ้นในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นเอง ( ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนืองๆซึ่งโทษร้าย )

ชื่อว่า นิพพิทานุปัสสนา เพราะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นในสังขารทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง ( ญาณกำหนดรู้โดยการเห็นเนืองๆ ด้วยความเบื่อหน่าย )

แม้ในพระบาลี ท่านก็กล่าวไว้ว่า " ปัญญาใดภยตุปัฏฐาน ๑ ญาณใดในอาทีนวะ ๑ นิพพิทาใด ๑ ธรรมทั้งหลายนี้มีความหมายเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน "

สภาวะความเบื่อหน่ายของญาณทั้ง ๓ คือ ภยญาณ ๑ อาทีนวญาณ ๑ นิพพิทาญาณ ๑

๑. ภยญาณ เป็นญาณอย่างอ่อน

๒. อาทีนวญาณ เป็นญาณอย่างกลาง

๓. นิพพิทาญาณ เป็นญาณอย่างแก่

เมื่อบรรลุถึงญาณนี้ จะมีอาการเบื่อหน่ายในรูป,นามเป็นลักษณะ ถูกต้องตามพุทธวจนะที่ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ เป็นอาทิ

เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารคือ รูป,นามไม่เที่ยง,เป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเกิดความเบื่อหน่าย นี้เป็นทางเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดคือ พระนิพพาน ดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชื่อสังขารุเปกขาญาณ


สังขารุเปกขาญาณ มี ๓ ชื่อ

เกิดขึ้นในตอนต้น ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาญาณ

เกิดขึ้นตอนกลาง ชื่อว่า ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ

เกิดขึ้นตอนท้ายที่บรรลุถึงยอด ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ


ในพระบาลี ( ปฏิสัมภิทามรรค ) ท่านกล่าวไว้ ( ดังคำแปลต่อไปนี้ ) ว่า ( ถาม ) ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจรณาทบทวนและในการตั้งเฉยอยู่ เป็นสังขารุเปกขาญาณ คืออย่างไร?

( ตอบ ) คือ ปัญญาในความปรารถนาเพื่อพ้นไป ในการพิจรณาทบทวนซึ่งความเกิดขึ้น ( ของสังขาร ) ในการตั้งเฉยอยู่ชื่อว่า สังขารุเปกขาญาณ ฯลฯ


ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ๑ การพิจรณาทบทวนนั้น ๑ และการตั้งเฉยอยู่ ๑ ชื่อว่า มุญจิตุกัมยตาปฏิสังขาสันติฏฐานา ในพระบาลี ( ดังคำแปลข้างต้น ) นั้น

เมื่อโยคีเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณในตอนต้น ด้วยประการฉนี้แล้ว ก็มีความปรารถนาที่จะสลัดทิ้งซึ่งความเกิดขึ้น ( ของสังขารทั้งหลาย ) เป็นต้น ชื่อว่า มุญจิตุกามตา

การพิจรณาทบทวนพิจรณาในตอนกลาง เพื่อทำอุบายแห่งการพ้นไป ( จากสังขารทั้งหลาย ) ชื่อว่า ปฏิสังขา

การพ้นไป แล้ววางเฉยในตอนสุดท้าย ชื่อว่า สันติฏฐนา


ซึ่งท่านระบุถึงแล้ว กล่าวว่า " ความเกิดขึ้น เป็นสังขาร พระภิกษุวางเฉยซึ่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่า สังขารุเปกขา " ดังนี้เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ญาณนี้จึงเป็นญาณเดียวกัน

อีกประการหนึ่ง พึงทราบแม้โดยพระบาลีไว้ด้วยว่า ญาณนี้ เป็นญาณเดียวเท่านั้น

ที่จริงท่านก็กล่าวไว้แล้วดังนี้ว่า " ความปรารถนาเพื่อพ้นไป ๑ การเห็นเนืองๆ ด้วยการพิจรณาทบทวน ๑ และการวางเฉยในสังขาร ๑ "

ธรรม ( คือ ญาณ ) ทั้งหลายเหล่านี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่แตกต่าง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2011, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง,เบื่อหน่าย,วางเฉย ( ญาณ ๑๖ )

สภาวะที่จะพบเจอตลอดคือ เห็นแต่ความไม่เที่ยง ( ไตรลักษณ์ ) สุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง ทุกอย่างคาดเดาอะไรไม่ได้เลย

เมื่อเห็นดังนี้บ่อยๆ เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นเหตุการคาดเดาลดน้อยลง การคาดหวังลดน้อยลง เป็นเหตุให้เกิดความวางเฉยในที่สุด

แล้วสภาวะจะเปลี่ยนไปอีก สลับไปมาอยู่แบบนี้ นี่คือ ตัวปัญญาที่พบเจอในญาณ ๑๖ ที่สามารถนำมาอธิบายเป็นรูปธรรมได้ ซึ่งทุกๆคนจะเจอเหมือนกันหมด ไม่มีความแตกต่างเลย

ส่วนการเห็นความน่ากลัวและโทษในเรื่องของการเกิดหรือสังขารนั้น จะเกิดในช่วงของสภาวะความเบื่อหน่าย จะมองเห็นว่า ชีวิตมีแค่นี้เอง ไร้สาระ ว่างเปล่า ไม่ได้มีแก่นสารอะไรที่จะยึดถือได้เลย แล้วจิตจะเกิดการวางเฉย ( ปล่อยวาง ) เอง

สภาวะทั้ง ๓ นี้จะเห็นตลอดเวลา ซึ่งมีตั้งแต่สภาวะหยาบๆจนกระทั่งละเอียด เพียงแต่จะเห็นแล้วหรือยังเท่านั้นเอง


เหตุของที่มาของคำว่า แค่รู้ แค่ดู อยู่กับปัจจุบัน


ไม่ว่าสภาวะใดๆที่เกิดขึ้น ถ้ามีสติตั้งมั่น มีความรู้สึกตัวขณะที่เกิด มีสมาธิที่ตั้งมั่น ไม่เอาความคิดที่มีอยู่เข้าไปข้องกับสภาวะที่กำลังเกิดขึ้น ให้แค่รู้ แค่ดู คืออยู่กับปัจจุบัน คือรู้อยู่กับสภาวะนั้นๆ จึงจะเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง

แต่เมื่อใดก็ตามที่มีความคิดเข้าไปเกี่ยวข้องกับสภาวะนั้นๆ สภาวะจะเปลี่ยนไปทันที เปลี่ยนไปตามความคิดหรือการให้ค่าที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะแต่อย่างใด นี่แหละเหตุของที่มาของคำว่า แค่รู้ แค่ดู อยู่กับปัจจุบัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะนามรูปปริจเฉทญาณ


สภาวะนามรูปปริจเฉทญาณ สามารถรู้ได้ทั้งจากการอ่าน,การฟังผู้อื่นบอกเล่า ( สุตตมยปัญญา )

หรือจากสภาวะที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติแล้วนำไปเทียบเคียงกับตำราที่มีเขียนบันทึกไว้ ( จินตามยปัญญา )

และจากการภาวนา ( ผลของการปฏิบัติ ) ซึ่งแจ้งด้วยตัวของสภาวะเอง โดยไม่ได้นำสภาวะไปเทียบเคียงกับตำรา ถึงแม้จะไม่รู้ปริยัติก็ตาม

ถ้ามีการถามจะตอบได้ทันที ตอบตามสภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของตัวเอง ซึ่งคำตอบของสภาวะจะตรงกับตำราทุกประการ ถึงแม้คนนั้นๆจะไม่รู้ปริยัติก็ตาม


ลักษณะของสภาวะที่เกิดขึ้น คือ การเคลื่อนไหวของกายไม่ว่าจะส่วนไหนก็ตาม กับ ใจ ที่รู้ในอาการนั้นๆที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า รูป,นามเกิดขึ้นพร้อมกัน

รู้ว่า การเคลื่อนไหวของกายที่เกิดขึ้น กับ ใจที่รู้ในอาการเคลื่อนไหวของกายของกายนั้น สิ่งที่ถูกรู้ ( กาย ) กับสิ่งที่รู้ ( ใจ ) เป็นคนละตัวกัน ( แยกออกเป็นส่วนๆไม่ปะปนกัน แต่รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน )



บัญญัติมีไว้ให้รู้ เพราะตราบใดที่ยังมีกิเลส การให้ค่าย่อมยังมีอยู่ ให้ค่าได้แต่อย่ายึด ถ้ายึดแล้วจะกลายเป็นอุปกิเลสไปทันที จะมีผลในสภาวะต่อๆไป เพราะความอยากเป็นเหตุ หรือที่เรียกว่า อายูหนา ( ความพยายาม ) เป็นเหตุ

สภาวะนี้เป็นของสภาวะสัมมาสติและสัมมาสมาธิ ทำงานร่วมกัน จึงสามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้ เรียกว่า มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ ส่วนจะรู้ได้นานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิว่ามีกำลังแนบแน่นแค่ไหน

ฉะนั้นจึงไม่ต้องไปใส่ใจว่า บางครั้งทำไมรู้เพียงสั้นๆ บางครั้งทำไมรู้ได้นานกว่าปกติ เพราะสภาวะที่เกิดขึ้นทุกๆสภาวะ ล้วนมาแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยงตลอดเวลา จึงได้บอกว่า บัญญัติมีไว้ให้รู้ ไม่ได้มีไว้ให้ยึด

สภาวะที่รู้ในแต่ละคนที่แตกต่างกันไป ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น เรามาปฏิบัติเพื่อดับที่เหตุของการเกิดทั้งปวง ฉะนั้นพึงระวังการยึดในการรู้นั้นๆให้ดี


ยึด ยอมรับว่ายึดเพราะยังมีกิเลส ( รู้เท่าทันกิเลส ) แต่แค่รู้ว่ายึด ไม่ได้ก่อให้เกิดการกระทำใดๆออกไป เหตุมีแค่ความคิด เพียงแต่ยอมรับตามความเป็นจริงที่มีอยู่ ผลย่อมมี คือ รู้เท่าทันต่อกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตทันมากขึ้นเรื่อยๆ


ยึด แต่ไม่รู้ว่ายึด แต่แค่ดูแค่รู้ เพราะรู้ถึงเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับ ย่อมไม่ก่อให้เกิดเหตุของการกระทำใดๆออกไป เหตุมีแค่ความคิด ผลย่อมมี แต่ไม่มีมากเท่ากับการกระทำออกไป


ยึด แต่ไม่รู้ว่ายึด แล้วก่อให้เกิดการกระทำออกไป ล้วนเป็นการสร้างเหตุใหม่ทั้งสิ้น เหตุมี ผลย่อมมี ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ยังคงมีอยู่ ที่นี้อยู่ที่ว่าจะหักห้ามใจตัวเองให้หยุดการกระทำได้หรือไม่เท่าทันนั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภังคญาณ


ภังคญาณ แปลว่า ปัญญาพิจรณาเห็นแต่ความดับของรูปนามฝ่ายเดียว ดังบาลีว่า

” อารมฺมณํ ปฏิสงฺขา ภงฺคานุปสฺสเน ปญฺญา วปสฺสเน ญาณํ “

ปัญญาที่พิจรณานามรูปแล้ว ตามเห็นเฉพาะความดับไปของรูปนามฝ่ายเดียว ชื่อว่า ภังคญาณ


เมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้น จิตได้อารมณ์ปรมัตถ์ ทิ้งอารมณ์บัญญัติ ดังหลักฐานว่า

ภาวนาย ปน วฑฺฒมานาย ปญฺญตฺตึ สมติกฺกมิตฺวา สภาเวเยว จิตฺตํ ติฏฺฐติ


เมื่อภาวนากำลังดำเนินอยู่ จิตก้าวล่วงบัญญัติแล้ว ดำรงอยู่ในปรมัตถ์ล้วนๆ เมื่อปฏิบัติถึงญาณนี้ อารมณ์ที่กำหนดและจิตที่รู้ จะปรากฏว่า หายไปๆ

แต่ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่า รูปหายไปก่อน จิตหายไปทีหลัง อันที่แท้นั้นหายไปพร้อมกัน การที่เป็นเช่นนั้น เพราะจิตก่อนดับไป จิตหลังตามรู้ ดังหลักฐานรับรองไว้ว่า


เยน จิตฺเตน ตํ รูปารมฺมณํ ขยโต ทิฏฺฐ ตสฺส จิตฺตสฺส ปเรน จิตฺเตน ภงฺคํ อนุปสฺสติ

จิตใดเห็นรูปารมณ์นั้น โดยความสิ้นไปเสื่อมไป ผู้ปฏิบัติย่อมตามเห็นความดับไปของจิตนั้นด้วยจิตอื่น



สภาวะหรือลักษณะอาการที่เกิดขึ้น


เมื่อมาถึงสภาวะนี้ จะไม่มีการใช้บัญญัติต่างๆเป็นอารมณ์ เช่น การใช้คำบริกรรมหรือการใช้การกำหนดต่างๆ จะหายไปหมด หายไปเอง

ถึงแม้จะพยายามกำหนดหรือพยายามนำคำบริกรรมขึ้นมาใช้ จิตก็จะไม่ยึดติดกับคำบริกรรมหรือคำกำหนดนั้นๆ เพราะจิตจะไปรู้ที่สภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นโดยตรง ตามที่สภาวะนั้นๆเกิดขึ้นหรือเป็นอยู่

เช่น ท้องพอง จะกำหนดว่าพองหนอ จิตมันจะไม่ยอมกำหนดตาม แต่จะรู้ลงไปตรงๆตามความเป็นจริงของสภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้น

การที่พยายามใส่คำบริกรรมลงไป หรือเมื่อพยายามกำหนดว่าพองหนอลงไป จะเหมือนการกำหนดลงไปบนความว่างเปล่า เหมือนอาการท่องปากเปล่า

แม้แต่การบริกรรมพุทโธตามลมหายใจเข้าออกก็เช่นกัน อาการที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างจากการใช้พองหนอ ยุบหนอ ไม่ส่งผลกระทบไปถึงจิต หรือรู้เข้าไปถึงจิตแต่อย่างใด



สภาวะเมื่อมาถึงจุดๆนี้ จะมีสภาวะอารมณ์เป็นปรมัตถ์ เช่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน จะรู้ชัดอยู่ในอิริยาบทนั้นๆโดยมิต้องกำหนดอารมณ์บัญญัติขึ้นมาแต่อย่างใด

ในอิริยาบทเดินจะสังเกตุเห็นได้ง่ายๆ แรกๆที่สภาวะนี้ได้เกิดขึ้นคือ เวลาเดินจะรู้สึกเสียววาบๆที่ฝ่าเท้าตลอดเวลาที่เดิน ต่อมาจะรู้ชัดที่ฝ่าเท้า โดยไม่ต้องกำหนดคำบริกรรมหรือต้องกำหนดรู้แต่อย่างใด

ต่อมา อาการเสียววาบๆที่ฝ่าเท่าจะหายไป จะเป็นการรู้ในสภาวะโดยตรง รู้แบบธรรมชาติ รู้ชัดที่ฝ่าเท้าตลอดเวลา ไม่ว่าจะก้าวย่างทำอะไรหรือไปไหนก็ตาม จะรู้ชัดขึ้นมาเอง โดยมิต้องกำหนดรู้หรือต้องใช้คำบริกรรมแต่อย่างใด



การนั่ง เมื่อนั่ง จะรู้อยู่ในการเคลื่อนไหวของกายโดยตรง เช่น รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ท้องพองยุบ รู้เสียงชีพจรเต้น รู้การเคลื่อนไหวในส่วนอื่นๆของกาย จะรู้ชัดอยู่อย่างนั้น โดยไม่ต้องใช้การกำหนดรู้หรือต้องใช้คำบริกรรมภาวนาแต่อย่างใด


การยืน ยืนก็รู้ว่ายืน รู้เท้าที่ยืนแนบพื้นชัดเจน รู้กายชัดเจน เรียกว่า รู้สึกตัวทั่วพร้อม โดยมิต้องใช้การกำหนดรู้หรือบริกรรมใดๆ


การนอน นอนก็รู้ชัดในการนอน


ในอิริยาบทย่อยอื่นๆ จะรู้ชัดในสิ่งที่กำลังทำหรือรู้ชัดอยู่ในอิริยาบทนั้นๆ


เรียกว่า ทุกๆอริยิบท ถึงแม้จะไม่ใช้คำบริกรรมหรือการกำหนดรู้ก็ตาม ก็ไม่ต้องไปจดจ้อง ไม่ต้องไปเอาจิตจดจ่อเพื่อที่จะรู้ แต่จิตเขาจะรู้เองโดยสภาวะของตัวเขาเอง



สภาวะทั้งหมดนี้ จะรู้ชัดได้มากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังของสติ สัมปชัญญะ

ส่วนจะรู้อยู่ในสภาวะนั้นๆได้นานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิขณะนั้นๆ ว่ามีกำลังแนบแน่นได้มากน้อยแค่ไหน

เพียงแต่สภาวะนี้ จะไม่มีการใช้อารมณ์บัญญัติหรือคำบริกรรมภาวนาใดๆแล้ว จิตเขาจะรู้ชัดลงไปตรงๆกับสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของเขาเอง



จุดเด่นของสภาวะนี้ คือ เพราะไม่มีอะไร หายไปหมด

เพราะไม่มีอะไร คือ ไม่มีการใช้การกำหนดรู้ ไม่มีการใช้คำบริกรรมภาวนาใดๆทั้งสิ้น

หายไปหมด คือ แรกๆมีการใช้การกำหนดรู้ หรือมีการใช้คำบริกรรมภาวนา
พอปฏิบัติมาถึงสภาวะนี้แล้ว ทั้งการกำหนดรู้ และคำบริกรรมภาวนาต่างๆ
หรือแม้กระทั่งการเอาจิตจดจ่อ จดจ้องเพื่อที่จะรู้ลงไปก็ตาม จะหายไปหมดสิ้นเองเมื่อมาถึงสภาวะนี้

และเมื่อมาถึงสภาวะนี้แล้ว สภาวะต่อๆไป จะมีสภาวะเป็นสภาวะปรมัตถ์ตลอด จะไม่มีการหวนกลับไปหาการใช้บัญญัติเป็นอารมณ์หรือการใช้การกำหนดรู้โดยการใช้บัญญัติอีกต่อไป

เรียกว่า ไม่มีการใช้การกำหนดรู้หรือไม่มีการใช้การบริกรรมหรือคำบริกรรมภาวนาต่างๆอีกต่อไปนั่นเอง มันจะแค่รู้อยู่ในสภาวะนั้นๆตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานัง ปรมังสุขัง

ที่มาของคำว่า " นิพพานัง ปรมังสุขัง " พระนิพพานเป็นสุขยิ่ง คือ บรมสุข เรียกว่าสุขยากที่จะบรรยาย ไม่ใช่สุขที่เกิดจากการอาศัยผัสสะเป็นตัวให้เกิดสุข

แต่เป็นสุขเหนือสุข จนไม่มีคำจัดกัดความ เป็นสุขที่เกิดจากเหตุของการดับต้นเหตุของการเกิด จึงเป็นที่มาของพระนิพพานเป็นสุดยอดบรมสุข


ได้แก่

๑. เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะต่างๆ เดิมๆซ้ำๆจนจำสภาวะต่างๆได้อย่างขึ้นใจ เป็นเหตุให้รู้ดีว่า สภาวะนั้นๆคืออะไร แล้วควรทำตัวอย่างไร เมื่อเจอสภาวะเหล่านั้น จึงไม่ไปทุกข์กับสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

๒. ไม่ยึดติดในคำเรียกต่างๆของสภาวะ คือ แค่รู้ว่าสภาวะที่เกิดขึ้นนั้น ว่ามีชื่อเรียก แค่รู้ว่ามีชื่อเรียก แต่ไม่ไปยึดติดกับบัญญัตินั้นๆจนกระทั่ง นำสิ่งที่คิดว่ารู้ไปสร้างเหตุใหม่ที่เป็นเหตุของการเกิดขึ้นอีก

๓. ความอยากต่างๆที่เคยมีเกี่ยวกับการปฏิบัติ เช่น อยากมี อยากได้ อยากเป็น อยากรู้สภาวะต่างๆ แม้กระทั่งสิ่งต่างๆที่มีการนำมาพูดๆกันนั้น จากพระไตรปิฎกก็ตาม จากอรรถกถาจารย์ก็ตาม จากหนังสือสอบอารมณ์ก็ตามฯลฯ

ความอยากเหล่านั้นหมดสิ้นไปไม่มีเหลือ จะมีแค่ความอยากที่เป็นมาแต่ดั้งเดิมของตัวเองที่มีอยู่ เช่น เป็นคนชอบกิน เป็นเหตุให้เห็นโลภะด้านอาหารได้อย่างชัดเจน ส่วนความอยากในด้านการปฏิบัติเพื่อเพิ่มกิเลสนั้นไม่มี

๔. เมื่อเกิดสภาวะปัจจเวกฯเป็นครั้งที่ ๒ สภาวะยิ่งตอกย้ำลงไปชัดๆในสิ่งที่ถูกรู้ว่าไม่ผิดอย่างแน่นอน ดูสภาวะ ดูผัสสะ ดูกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเป็นหลัก

เมื่อไม่ยึดติดกับสภาวะ ย่อมอยู่กับสภาวะนั้นๆได้แบบสบายๆ ยังมีให้ค่าก็ยอมรับตามความเป็นจริงว่าให้ค่า แต่ไม่ไปยึดติดกับการให้ค่านั้นแต่อย่างใด จึงไม่หลงสร้างเหตุอันเป็นวิวาทะกับใครๆอีก เรียกว่าถ้ายังมี จะสามารถหยุดตัวเองได้ทันมากขึ้น

เมื่อรู้เห็นเช่นนี้แล้ว จึงไม่คิดโน้มน้าวหรือแสดงท่าทีเพื่อชักจูงให้ใครมาเชื่อ แต่จะทำตามเหตุ ถ้าใครเคยสร้างเหตุร่วมกันมา เขาจะเข้ามาหาเอง หากไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน ย่อมไม่มาเชื่อกันอย่างแน่นอน แล้วจะไปพูดให้เหนื่อยทำไม

พูดแค่ควรพูด พูดตามกาล ดูเหตุเป็นหลัก เพราะเหตุนี้ การสร้างเหตุของการเกิด นับวันจึงสั้นลงไปเรื่อยๆ เหตุเก่าชดใช้ไป เหตุใหม่สร้างด้วยความระวัง จนกระทั่งไม่ต้องคอยระวัง แล้วการเกิดขึ้นมาอีกจะมีขึ้นได้อย่างไร ไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีผลอย่างแน่นอน

๕. นับวันอยู่กับปัจจุบันมากขึ้น รู้ชัดอยู่ในกายและจิตมากขึ้น มองสิ่งต่างๆด้วยจิตที่เป็นปกติมากขึ้น เพราะเขา,เรา ล้วนไม่แตกต่างกันเลย เหมือนกันหมดทุกๆสภาวะ เพียงแต่เรามองเห็นแล้ว ส่วนเขาจะมองเห็นหรือยังเท่านั้นเอง

เราเห็นแล้ว ย่อมหยุดได้ ใจจะมีแต่เมตตาต่อผู้อื่น ส่วนเขาถ้ายังไม่เห็น ย่อมหยุดตัวเองยังไม่ได้ นี่ก็เรื่องปกติ เพราะเป็นเรื่องของเหตุแล้วก็เหตุ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือเรื่องของความถูกผิดแต่อย่างใด

๖. ยังมีกิเลสด้านกามราคะอยู่ ปฏิฆะหรือเจ้าตัวหงุดหงิดยังมีอยู่ แต่อยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้น ไม่ได้ไปรู้สึกอะไรกับสิ่งที่มีอยู่ เพราะไม่ได้มีความอยากได้ อยากเป็น หรืออยากรู้สภาวะต่อๆไปอีก เพียงแต่เขียนตามความเป็นจริงที่รู้ว่ามี

ตำรามีเขียนไว้ ก็เขียนไปตามสภาวะในตำราที่มีเขียนไว้ เพียงจะบอกว่า กิเลสกามราคะและปฏิฆะนี้ เป็นสภาวะที่ละเอียด เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีตัวผัสสะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด




นิพพานัง ปรมัง สูุญญัง


ส่วนคำว่า " นิพพานัง ปรมัง สุญญัง " มีที่มาจากคำว่า " สุญญตา " ได้แก่ ความว่างเปล่า คือ ความว่างจากตัวตน

สุญญตา เมื่อนำไปเทียบกับสภาวะ เป็นสภาวะของสังขารุเปกขาญาณ


แต่ถ้าเป็นสุญญตาที่เกิดจากจินตามยปัญญา โดยการน้อมเอาคิดเอาเองว่า นั่นไม่ใช่ตัวตน นี่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีอะไรๆ อันนี้เป็นเพียงอุบายในการพิจรณาเท่านั้น ยังไม่ใช่สภาวะสังขารุฯที่แท้จริง

เพราะคำว่า " ไม่ใช่ตัวตน นี่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีอะไรๆ " ไม่แตกต่างจากคำบริกรรมภาวนา เป็นเพียงอุบายเท่านั้นเอง

เพราะสภาวะที่แท้จริง ที่กล่าวว่า " ไม่มีคน ไม่สัตว์ ไม่มีอะไรๆ " ขณะที่ผัสสะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ยังเห็นคนเป็นคน เห็นสัตว์เป็นสัตว์ เพียงแต่แค่ดู แค่รู้ ไม่ใช่รู้ที่ก่อให้เกิดเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด

การที่เห็นและรู้ตามสัญญาว่า แล้วไปยึดติดในบัญญัติ เมื่อผัสสะเกิด ย่อมมีความชอบหรือชัง ตามเหตุปัจจัยที่มีต่อสิ่งๆนั้น ล้วนเป็นก่อเหตุของการเกิดทั้งสิ้น


ส่วนที่กล่าวว่า " ไม่มีเขา ไม่มีเรา " หมายถึง ไม่มีถูก ไม่มีผิด ไม่มีให้ค่าว่าใช่หรือไม่ใช่ เรียกว่า ไม่มีการนำอัตตาตัวตนที่ยังมีอยู่ลงไปเกี่ยวข้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น




สภาวะของสังขารุฯ เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์ เห็นเดิมๆซ้ำๆ จนจิตเห็นโทษของการเกิด เป็นเหตุให้จิตเบื่อหน่าย จิตมุ่งสู่พระนิพพาน ( ความดับ )

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ จิตรู้ชัดอยู่ในรูปนามได้ดี สติ สัมปชัญญะดี สมาธิมีกำลังแนบแน่นดี จิตเป็นอุเบกขา คือ รู้ชัดอยู่กับรูปนาม กับ เกิดสภาวะดับ สลับไปมาแบบนี้

สภาวะดับ คือ เกิดที่จิต มีอาการเหมือนคนสัปหงก แต่เป็น จิตสัปหงก อาการนี้บางครั้งเกิดแค่ครั้งเดียว บางครั้งเกิดเป็นสิบๆครั้งขึ้นไป ไม่แน่นอน

แต่ละครั้งที่เกิดการดับแต่ละครั้ง จะมีโอภาสเกิดขึ้นสว่างมากๆ แบบไม่มีประมาณ คือ สว่างกว่าปกติในโอภาสที่เกิดโดยทั่วๆไป จะมีสติรู้ตัวตลอดขณะที่เกิดสภาวะนี้ ดับก็รู้ว่าดับ คือตอนที่ดับไปแล้ว จิตจะงุบลงไป แล้วถึงจะรู้ตัว ก่อนงุบจะไม่รู้

อาการที่เกิดขึ้นภายใน ไม่ส่งผลไปที่ภายนอก คือไม่ได้เกิดที่กายภายนอก เช่น หัวสัปหงก ภายนอกนั่งตัวตรงปกติ ไม่มีอาการงูบหรือโงกแต่อย่างใด ขณะที่เกิดสภาวะจิตสัปหงกนี้

สภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากความง่วง หรือนิวรณ์ครอบงำแต่อย่างใด แต่เกิดจากกำลังของสมาธิที่มีกำลังมาก



อุปมาด้วยนกการู้ทิศ


สังขารุเปกขาญาณที่เกิดขึ้นแล้วนี้นั้น ถ้าเห็นพระนิพพาน อันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็จะสลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารทั้งปวง แล้วแล่นเข้าสู่พระนิพพานเลยทีเดียว

หากว่า ยังไม่เห็นพระนิพพาน โดยความสงบ ( สังขารุเปกขาญาณนั้น ) ก็มีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว แล้วดำเนินไปอยู่ แล้วๆเล่าๆ เปรียบเหมือนนกกาของพวกพ่อค้าเดินทะเล




อนุโลมญาณ


สภาวะดับเทียม

การเข้าสู่ความดับ เป็นจุดสุดยอดของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมมัฏฐาน เพราะความดับที่ไม่แท้อาจเกิดขึ้นได้โดยเหตุหลายประการคือ-

๑. ดับด้วย ปิติ

๒. ดับด้วย ปัสสัทธิ

๓. ดับด้วย สมาธิ ( ขาดความรู้สึกตัว )

๔. ดับด้วย ถีนมิทธะ

๕. ดับด้วย อุเปกขา


ทั้ง ๕ ประการนี้เป็นความดับเทียม ใช้ไม่ได้ เป็นการล่อให้หลงเข้าใจผิด ส่วนมากเกิดในอุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ๑ ในมุญจิตุกัมยตาญาณ ๑ ในสังขารุเปกขาญาณ ๑ ถ้าเกิดขึ้นในญาณเหล่านี้ พึงตัดสินเลยว่าเป็นของเทียมใช้ไม่ได้


ส่วนความดับที่แท้จริง ที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนี้ ก็คือ ดับโดยมรรค ขณะที่สังขารุเปกขาญาณถึงความแก่กล้าที่สุด สังขารอารมณ์ซึ่งอ่อนละเอียด มีอาการสม่ำเสมอเป็นธรรมดานั้น ก็จะค่อยๆเร็วขึ้นๆจนถี่มาก

แล้วกลับช้าลงไปเป็นธรรมดาอีก ต่อไปจะมีอาการเร็วขึ้นๆแล้วค่อยๆช้าลงอีก เป็นอยู่อย่างนี้บ่อยๆ โดยเป็นไปตามสภาวะของญาณ อุปมาในเรื่อง ทิสากากะ



หมายเหตุ:-


สำหรับผู้ที่ฝึกให้เกิดสภาวะดับ พึงระวังอุปกิเลสให้ดี เพราะตาบใดที่ยังมีกิเลส อุปกิเลสจะเกิดอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่จะรู้เท่าทันกิเลสที่เกิดขึ้นหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ไม่ได้เกิดตามที่ตำรามีการบันทึกไว้ ว่าจะต้องเกิดที่ญาณ ๓ เมื่อเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงของสภาวะ




การทวนญาณ


สภาวะจะทวนด้วยตัวของสภาวะเอง ไม่ต้องไปตั้งจิตอธิษฐานแต่อย่างใด

แต่ตามตำราที่เขียนไว้ ให้ฝึกทวนญาณ เหตุของการฝึกเพื่อให้เกิดความแม่นยำในสภาวะ

ถ้าผู้ฝึกไม่รู้ความจริงตรงนี้ ถ้าฝึกด้วยความอยาก ย่อมติดอยู่ในอุปกิเลส เพราะสภาวะแต่ละสภาวะ กว่าจะรู้จะเข้าใจ กว่าจะเห็นสภาวะตามความเป็นจริง จิตจะวางความอยากโดยตัวจิตเอง ถึงจะรู้ชัดตามความเป็นจริงของสภาวะนั้นๆได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันธรรม



การดูปัจจุบันธรรม หรือ ปัจจุบันอารมณ์ หรือ สภาวะที่เกิดขึ้นขณะนั้น หรือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต ขณะที่ผัสสะเกิด เขียนคนละแบบ แต่ทั้งหมดคือ ความหมายเดียวกัน


การดูปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ ดูความรู้สึกหรือกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัส ความคิด ณ ขณะนั้นๆ

ได้แก่ เมื่อเกิดผัสสะ มีความรู้สึกที่เกิดขึ้นที่จิต รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น ดูตามความเป็นจริง เช่น มีชอบก็ยอมรับว่าชอบ มีไม่ชอบก็ยอมรับว่าไม่ชอบ ดู,รู้ไปตามนั้น



การดูปัจจุบันอารมณ์ เป็นของง่ายๆ บางครั้งอาจจะมีการทำให้เป็นของยาก เช่น มีการสรรหาวิธีการ ทำให้ดูแปลกประหลาดพิศดาร ทั้งๆที่จริง ตัวสภาวะไม่มีอะไรเลย เนื่องจากเหตุ แล้วก็เหตุ

เหตุเพราะผู้ที่นำมาพูดทำได้แบบนั้น จึงนำมาถ่ายทอดในลักษณะเช่นนั้น

บางคนปฏิบัติด้วยความสะดวก

บางคนปฏิบัติด้วยความยากลำบาก

ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น


ที่ว่าง่าย เพราะ ดูตรงๆธรรมดาๆนี่แหละ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทไหนๆล้วนดูได้หมด เพียงแต่จะดูหรือรู้ทันไหม หรือผ่านไปแล้วถึงจะรู้ตัว หรือทำเกินดู เช่น เกิดผัสสะ คือ กระทบปั๊บ ตอบโต้ทันที แบบนั้นหรือเปล่า

บางคนยอมเพราะเข้าใจ บางคนไม่ยอมเพราะยึดติด บางคนไม่ยอมเพราะยังไม่รู้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่ยังคงมีอยู่

เรียกว่าสติยังไม่ทันปัจจุบันธรรมหรือยังอยู่กับปัจจุบันยังไม่ทัน จึงแค่ดู แค่รู้ยังไม่ได้ จึงมีการเฝ้าตามดูไปก่อนเพราะเหตุนี้



การฝึกเจริญสติ ทำอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้รู้ชัดในสภาวะเหล่านี้ดี บางคนอธิบายให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ บางคนอธิบายไม่ได้ ซึ่งแล้วแต่เหตุที่ทำมาด้วย

ผู้ที่ฝึกเจริญสติอย่างต่อเนื่อง จะเห็นสภาวะของการเกิดของสภาวะตัวสติได้ชัด เพราะเมื่อถึงสภาวะของสติที่เป็นมหาสติ ตรงกับปริยัติ จะมีตัวสภาวะสติคอยกำกับก่อนที่จะลงมือกระทำ ไม่ว่าจะทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม



สติ ตามปริยัติหมายถึง ความระลึกรู้

สภาวะคือ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำ



หากมีสติที่เป็นมหาสติ จะรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำ สติเป็นความรู้ตัว รู้ก่อนที่จะลงมือกระทำกิจใดๆก็ตาม

ส่วนความรู้สึกตัว เป็นเรื่องของสัมปชัญญะ ได้แก่ ความรู้สึกตัวขณะที่กำลังกิจนั้นๆอยู่

ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นเรื่องการทำงานของสติ สัมปชัญญะ ( สัมมาสติ ) และสมาธิเกิด ( สัมมาสมาธิ ) เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม คือ รู้ชัดในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น หรือรู้ชัดในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่



การกำหนดต้นจิต

ประโยชน์ของการฝึกกำหนดต้นจิต คือ เป็นการฝึกให้เกิดสติหรือ เกิดความรู้ตัวในทุกอิริยาบท รู้ตัวก่อนที่จะลงกระทำกิจใดๆก็ตาม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2011, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บนเส้นทางของความอยาก


สภาวะของการปฏิบัติทั้งหมด ไม่ว่าจะปฏิบัติแนวไหนหรือแบบไหนๆก็ตาม ล้วนเป็นการปฏิบัติอยู่บนเส้นทางของความอยาก

ทุกๆคนปฏิบัติเพราะความอยาก แต่ไม่เคยเห็นความอยากตัวนั้น เพราะสภาวะความอยาก เป็นกิเลสที่มีสภาวะตั้งแต่หยาบๆจนกระทั่งละเอียด พอรู้จักคำว่าปฏิบัติ นั่นคือ จะต้องผ่านความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพราะความอยากเป็นเหตุ


ปฏิบัติแล้วทุกข์ ทั้งๆที่โดยตัวสภาวะที่แท้จริงมีแต่เรื่องของกิเลส เพราะยังมีความไม่รู้อยู่ จึงเกิดความทุกข์เพราะความอยาก ทำด้วยความอยากจึงทุกข์เพราะความอยาก


ปฏิบัติแล้วสุข นี่เป็นอีกหนึ่งสภาวะของความอยาก ทั้งๆที่หาทุกข์ให้กับตัวเองแท้ๆแต่มองไม่เห็น

สภาวะปฏิบัติแล้วสุข ตัวอยากตัวนี้ดูยากยิ่งกว่าตัวปฏิบัติแล้วทุกข์เพราะความอยาก ตัวนี้เป็นตัวสร้างภพสร้างชาติยิ่งกว่าปฏิบัติแล้วทุกข์

ปฏิบัติแล้วมีความสุข เพราะหลงคิดว่าได้อะไร เป็นอะไร จะแสดงออกมาในรูปของ การอยู่กับปัจจุบันได้ยาก



จงดูผัสสะที่เกิดขึ้น เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นรู้รส กายสัมผัส ความรู้สึก ความคิด

จงดูกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ความชอบ,ชังที่เกิดขึ้น หรือเฉยๆที่เกิดขึ้น เคยรู้มั่งไหมว่าทำไมผัสสะแต่ละครั้ง กับสิ่งที่กระทบแต่ละสิ่ง ทำไมกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต จึงมีความแตกต่างกันไป

ทำไมบางอย่างเกิดการกระทบแล้วจิตกระเพื่อม ทำไมบางอย่างเกิดการกระทบแล้ว จิตไม่กระเพื่อม ทั้งๆที่เกิดการกระทบเหมือนๆกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2011, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้สิ่งใด ได้สิ่งนั้น


การกระทำทุกชนิด ไม่ว่าจะเกิดจากกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ล้วนส่งผลให้ได้รับตามความเป็นจริง



หลุมพรางกิเลส

สภาวะทุกๆสภาวะกว่าจะเข้าใจได้ และจดจำสภาวะนั้นๆได้ จะเจอสภาวะเดิมๆซ้ำๆแต่เปลี่ยนโฉมหน้าผู้มาทดสอบ จนกว่าจิตของผู้ที่ถูกทดสอบมีสภาวะรู้เท่าทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้น

จะแยกแยะรายละเอียดต่างๆของสภาวะได้ จึงเหลือแค่รู้ แค่ดูมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุใหม่ที่เป็นเหตุของการเกิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เหตุเก่าที่มีอยู่ย่อมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ



จิตเห็นจิต

เมื่อเกิดสภาวะนี้แล้ว จะไม่มีการถดถอย มีแต่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อมีผัสสะเกิดขึ้น จิตจะรู้ทันต่อรูปแบบของกิเลสได้ทันมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะมีกิเลสเกิดตามเหตุปัจจัย แต่จะดับไวมากขึ้น อยู่กับปัจจุบันได้ทันมากขึ้น




ไตรลักษณ์


เมื่อเข้าใจถึงเหตุ เข้าใจถึงผลที่ได้รับ การให้สิ่งต่างๆย่อมมีการเลือกที่จะให้มากขึ้นเรื่อยๆ

ให้กิเลสแก่ผู้อื่น ผลที่ได้รับคือ กิเลส

ให้ความรู้ทางปฏิบัติโดยบัญญัติหรือโดยสภาวะแก่ผู้อื่น ก็ได้รับผลนั้นๆเช่นกันตามความเป็นจริง

เรียกว่า ให้สิ่งใดไป ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

การให้ไตรลักษณ์ แม้จะให้โดยบัญญัติ ผู้ให้ย่อมเกิดการคิดพิจรณาตลอดเวลา จากบัญญัติย่อมขึ้นสู่ปรมัตถ์ได้


แม้จะให้สิ่งใดก็ตาม พึงดูจิตให้ทันว่าให้เพื่ออะไร หากให้ด้วยจิตที่มีความอยากได้ อยากมี อยากเป็น หรือด้วยกิเลสใดๆก็ตาม ย่อมได้รับผลตามความเป็นจริงตามสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีตรวจสอบสมาธิ

เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป สมาธิที่มีอยู่เป็นปกติของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปตามเหตุของแต่ละคนกระทำมา และเหตุในปัจจุบันที่สร้างขึ้นมาอีก

วิธีตรวจสอบสมาธิด้วยตัวเอง

หาที่เงียบสงบ นั่งในท่าที่รู้สึกสบายๆ หรือในอิริยาบทอื่นๆที่รู้สึกสบายกว่าการนั่ง เรียกว่า ทำตามความสะดวก ทำตามความสบาย

เมื่ออยู่ในท่าที่รู้สึกสบาย เอาจิตจดจ่อดูลมหายใจเข้าออก จะบริกรรมภาวนาด้วยคำบัญญัติใดๆ เช่น พุทโธ,พองหนอ ยุบหนอฯลฯ หรือไม่ภาวนาใดๆก็ได้ เพียงแค่รู้ลงไปที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก รู้ไปแค่นี้

หากรู้ลงไปในลมหายใจเข้าออกไปสักพักหนึ่งแล้ว สามารถจับลมหายใจได้ตลอด รู้ลมหายใจได้ตลอด หรือ เห็นท้องพองยุบ หรือ จับการเต้นของชีพจรตามร่างกายได้ หรือรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวในส่วนอื่นๆของกายได้

แม้กระทั่งเกิดการดิ่งดับสนิทไม่สามารถรู้ที่กายได้ หรือไม่สามารถรู้อาการต่างๆขณะที่จิตเป็นสมาธิ รู้สึกตัวอีกทีคือหมดเวลาแล้ว หรือต้องมีคนเรียกถึงจะรู้

สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงว่า มีด้านสมถะหรือสมาธิติดตัวมา เพียงแต่จะนำสมาธิที่มีอยู่นั้นออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองได้อย่างไร มีแต่การเจริญสติเท่านั้น ที่จะนำสมาธิที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

คำว่า วิปัสสนา ไม่แตกต่างกับคำบัญญัติอื่นๆ เพียงแต่นำมาเรียกเพื่อแยกแยะสภาวะของสมาธิและการดูตามความเป็นจริงให้ออกจากกันเท่านั้นเอง

ผู้ใดที่ยกย่องวิปัสสนา แต่กล่าวกดข่มสมาธิ หรือ ผู้ใดที่กล่าวยกย่องสมาธิ แต่กล่าวกดข่มวิปัสสนา

สภาวะของผู้ที่นำมากล่าวเช่นนี้ ล้วนเป็นเพียงการเห็นเพียงด้านเดียวของสมถะและวิปัสสนา ไม่ได้เห็นสภาวะทั้งสองด้าน

ไม่ว่าจะสมถะหรือวิปัสสนา ล้วนต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน

เหตุนี้ จึงต้องมาเจริญสติ เพื่อปรับความสมดุลย์ของสภาวะ เป็นเหตุให้ทั้งวิปัสสนา (การดูตามความเป็นจริง) และสมถะ (จิตตั้งมั่น)ทำงานร่วมกันเป็นหนึ่ง

การจะดูหรือเห็นตามความเป็นจริง (กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต) และสภาวะภายนอกที่เกิดขึ้น (ผัสสะ)ได้ ต้องมีจิตที่ตั้งมั่นในระดับหนึ่ง

กิเลสที่เกิดขึ้นในจิต มีทั้งเกิดจากผัสสะ (หยาบ) และไม่ต้องอาศัยผัสสะเป็นเหตุของการเกิด (ละเอียด)




อีกหนึ่งเหตุของการรู้จักกับคำว่า " สมาธิ "


"ตอนสมัยเด็กๆ ผมสงสัยเสมอเวลาแม่บ่นนอนไม่หลับ นอนหลับมันยากตรงส่วนไหนวะ?

ก็แค่หลับตาแล้วก็อย่าคุย แค่เนี้ยะ ทำกันไม่เป็น

ผมมาหายสงสัยตอนโต ตอนที่ตนเองมีงาน มีภาระ มีเวลาว่างน้อย

แล้วผมก็ได้รู้จักมัน "ไอ้นอนไม่หลับ"

มันเหมือนมีรายการ MTV อยู่ในหัวผม มันยุ่งเหยิงสับสน หลายเรื่องตัดสลับไปมา

ผมนอนบิดไปมาจนครบทุกท่าก็ยังหลับไม่ลง

สุดท้ายผมก็พบทางออก ผมนอนหลับได้ผลดีมากครับ กินยานอนหลับ หลับปุ๋ย

ผมชอบมาก กินบ่อยมากกว่าวิตามินซี อยากหลับเวลาไหน เวลานั้น

แต่พักหลัง ๆกินอย่างไรก็ไม่หลับทำไมไม่รู้ หมอยงยุทธบอกว่า

เพราะผมใช้มันพร่ำเพรื่อ กะประมาณที่กินมันตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันสามารถทำให้คนทั้ง 2 ซอย

หลับได้ 3 วันเต็ม ๆ ถึงวันนี้ให้ผมกิเป็นกำก็ไม่เกิดผล

อยากหลับมีอยู่ 2 ทาง

1. ใช้ยาสลบ

2. ถูกต่อยแรง ๆ

ข้อสองได้ผลดีมากแต่สิ้นเปลืองค่าปฐมพยาบาลสักหน่อย หมอยงยุทธบอกอีกว่า

วิธีทำให้หลับง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุดก็คือ "สมาธิ"

สมาธิ โอ้...ใช่แล้ว

ผมสั่งหมอ 2 แผงทันที หมอตบกบาลผมหัวทิ่ม และบอกว่าอย่าเพิ่งตลก

ตั้งใจฟังหน่อย สิ่งที่ผมตั้งใจฟังวันนั้นมีประโยชน์ต่อผมและครอบครัวมาถึงทุกวันนี้

เมื่อได้นอนอิ่มเราก็ตื่นอย่างกระปรี้กระเปร่าเหมือนแบตเตอรี่ 3k ที่พร้อมให้พลังงาน

เปี่ยมไปด้วยกำลังในการคิดทำสิ่งต่างๆ ทุกประเภท หลังการตื่นเรา

จะแปรงฟันอย่างถูกวิธี เราจะไม่หงุดหงิดกับการถูกแม่บ่นว่าไม่ชอบพับผ้าห่ม

เราจะกินข้าวได้มาก ซึ่งมันเป็นสิ่งที่คนอดนอนทำได้ยากที่สุด (ครูจุรีรัตน์เคยบอกไว้ในชั่วโมงสุขศึกษา)

สมาธิคืออะไร? สารภาพตรง ผมไม่ทราบครับ หมอตบหัวแรงทำให้จำไม่ได้

แต่คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นการนำใจของเราไปจรดอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงสิ่งเดียว

ด้วยความสบายๆ เบิกบาน ไม่บังคับบีบเค้น

ว่าแกต้องหยุดอยู่ตรงนี้นะ อย่าขัดขืน พวกเราล้อมไว้หมดแล้ว

คืนนั้น ผมลองไปชวนใจไปจรดอยู่กลางท้อง

ผมจินตนาการว่าท้องผมเป็นกระป๋องอันใหญ่ๆ ในกระป๋องมีลำไยสีชมพูอยู่หนึ่งลูก

ผมหลับตาเบา ๆ ใช้ใจมองลำไยลูกนั้นเพียงอย่างเดียว

บางครั้งอาจจะมีเงาะและสับปะรดแว่บมาแจมบ้าง

แต่ผมไม่สนใจ ผมสนใจแต่ลำไยของผม ลูกกลม ๆ หนึ่งลูก ลูกนี้

แค่นี้เท่านั้น

เวลาผ่านไปประมาณ 30 นาที ผมรู้สึกสงบใจอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนตลอดชีวิต

โลกทั้งโลกเงียบ.........................

มีเพียงลำไยกลม ๆ ลูกนี้ลูกเดียวเท่านั้น

นี่กระมัง...ที่เขาเรียกสมาธิ

ผมคงไม่มีปัญญาพอที่จะอธิบายถึงคุณวิเศษของสมาธิได้กระจ่างเหมือนหมอยงยุทธ

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้หลังการปฏิบัติก็คือ สมาธิ เป็นหัวใจหนึ่งในการดำรงชีวิต

นอกจากกระเป๋ายี่ห้อแพง ๆ อย่างที่ผู้หญิงเข้าใจ

ชีวิตคนเราทุกวันนี้ต้องผูกพันกับคนอื่น ๆ นับสิบนับร้อย

เรามักสนใจแต่เรื่องของคนอื่น ลูกน้องขี้โกง เจ้านายปากหมา

เพื่อนร่วมงานชอบนินทา เลขาชอบป้ายสี แฟนนิสัยไม่ดี สามีนอกใจ

อาไม่ยอมใช้หนี้ คนโน้นก็ไม่เข้าท่า ไอ้บ้านั่นก็ไม่เข้าที เกือบทุกคนเกือบทุกที่

มีแต่ถ่ายเทความหงุดหงิดให้แก่กัน เรามักสนใจเรื่องของคนอื่นมากกว่า

ถ้ามีใครมาถามเราว่าคนนั้นคนนี้มีนิสัยไม่ดีอย่างไร

เรามักจะตอบได้อย่างละเอียดลออ ยิ่งถ้าเป็นคนที่เราไม่ชอบขี้หน้าด้วยแล้ว

เรื่องนั้นจะสนุกสนานโลดโผน เมามัน

แต่ถ้ามีใครมาถามข้อเสียของเราบ้าง ความจำจะเสื่อมทันที นึกไม่ค่อยออก

นึกออกแต่เรื่องดีๆ ทำไมเราถึงแสนดีอย่างนี้นะ?

ถ้าใจเราเป็นน้ำครำ เรื่องราวมากมายเปรียบเสมือนขุ่นโคลน ภายใน 24 ชั่วโมง

เราน่าจะเจียดเวลาให้ใจของเราได้อยู่นิ่งเพื่อขุ่นตะกอนได้นอนก้นบ้างสัก 15 นาที

เมื่อตะกอนได้นอนก้น น้ำข้างบนก็จะใส ใจใส ๆ

มองปัญหาอะไรจะเห็นชัด เห็นใจเรา เห็นใจเขา เห็นความดีคนอื่น

เห็นความชั่วตัวเองเด่นชัด เรียงลำดับปัญหาได้ถนัดว่าอันไหนสำคัญก่อนหลัง

ใจตกตะกอนนอนก็หลับสนิท เหมือนปิดสวิทช์ เหมือนถูกการไฟฟ้าตัดไฟ

รายการ MTV หรือคอนเสิร์ตใจประสานใจ ก็ไม่สามารถออกอากาศกวนประสาท

เราได้หลับฝันดี มีขนมอร่อยกิน ได้ยินเพลงเพราะ และได้หัวเราะอย่างพอเพียง

ประโยคนี้ผมพูดบ่อย เพราะมันคือ ทัศนคติในการดำเนินชีวิตของผม ชีวิตเป็นเรื่องสบาย ๆ

แล้วแต่ใครจะชอบทำให้มันยุ่งยาก"


~ อุดม แต้พานิช~

นำมาจาก http://websiteruengdd.blogspot.com/2010 ... st_06.html

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2011, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิกถอนบัญญัติ


สภาวะการปฏิบัติ

โดยตัวสภาวะที่แท้จริงของการปฏิบัตินั้น ไม่ได้มีอะไรเลยจริงๆ ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด ไม่ต้องไปค้นหาวิธีการให้วุ่นวาย

เหตุที่ทำให้การปฏิบัติดูแตกต่าง ดูยุ่งยาก ดูวุ่นวาย ล้วนเกิดจากความไม่รู้ ไม่รู้ว่าสภาวะที่แท้จริงนั้นคืออะไร รู้แต่เพียงว่าการกระทำเช่นนี้ๆ เรียกว่า การปฏิบัติ


การปฏิบัติ

การปฏิบัติไม่ว่าจะปฏิบัติแบบไหนๆ ล้วนเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัยที่แต่ละคนได้เคยกระทำไว้ หรือได้เคยสร้างเหตุ ได้แก่การกระทำนั้นๆไว้ ผลจึงมาให้ได้รับในรูปของเหตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

คำว่า " ปฏิบัติ " ก็เป็นบัญญัติ แท้จริงแล้ว เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคนเท่านั้นเอง เพราะความที่ยังไม่รู้ชัดในเรื่องของสภาวะ จึงมีการให้ค่าลงไปว่า การกระทำเช่นนี้ๆเรียกว่า การปฏิบัติ



สภาวะ

สภาวะได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งที่เกิดขึ้น จึงมีการให้ค่าตามบัญญัติที่มีไว้เพื่อการสื่อสารไปในทางเดียวกัน ซึ่งอาจจะใช่หรือไม่ใช่ตามความเป็นจริงของตัวสภาวะก็ได้ เช่น

สภาวะนี้ๆเรียกว่า วิปัสสนา สภาวะนี้ๆเรียกว่าสมถะ สภาวะนี้ๆเรียกว่าเจริญสติ สภาวะนี้ๆเรียกว่าฌาน สภาวะนี้ๆเรียกว่าฯลฯ จริงๆแล้วล้วนเป็นบัญญัติทั้งสิ้น จะเข้าใจในบัญญัติเหล่านี้ได้ ต้องเพิกถอนบัญญัติทิ้งไปก่อน

ไม่ว่าเป็นสภาวะไหนๆเกิดขึ้นก็ตาม ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ให้รู้ไปในสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตมีความรู้สึกใดๆเกิดขึ้นในจิต ดูสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องนำบัญญัติใดๆใส่ลงไปในสิ่งที่เกิดขึ้น หรือในสภาวะที่เกิดขึ้น



ต้นเหตุของความสงสัย

เหตุของความสงสัย ได้แก่ บัญญัติต่างๆที่มีไว้ใช้เรียกแทนสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ตัวสภาวะ

เมื่อมีสภาวะใดๆเกิดขึ้น ย่อมมีความสงสัยว่า สภาวะนี้คืออะไร หมายถึงอะไร เรียกว่าอะไร ถูกทางหรือไม่ วิธีนี้ถูกไหม จะมีคำถามสารพัดเวลามีสภาวะใดๆเกิดขึ้น ในขณะที่มีการกระทำที่เรียกว่า ปฏิบัติ

ทั้งๆที่ในชีวิตประจำวัน มีสิ่งต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทำไมจึงไม่มีคำเรียกลงไปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้นคืออะไร หรืออาจจะมี แต่ทำไมจึงใช้คำเรียกไม่เหมือนในเวลาที่ปฏิบัติ ทั้งๆที่เป็นเรื่องเดียวกัน คือ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น



ความอยาก

บัญญัติเป็นต้นเหตุของความอยาก เมื่อมีสภาวะใดๆเกิดขึ้น ความอยากจะนำหน้าทันที อยากรู้ สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร เรียกว่าอะไร ต่อไปจะพบเจอกับอะไร

การที่จะละความอยากลงไปได้ ต้องละบัญญัติให้ได้ก่อน




การยึดติด

การให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ให้ค่าตามบัญญัติที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เรียนรู้มา ล้วนก่อให้เกิดการยึดติดในสิ่งที่เกิดขึ้น

จะละการยึดติดลงไปได้ ต้องละบัญญัติให้ได้ก่อน




สะดวก สบายหรือลำบาก


การปฏิบัติจะเป็นไปด้วยความสะดวก สบาย หากแม้นเพิกถอนบัญญัติต่างๆลงไปได้

เหตุที่ปฏิบัติสะดวกบ้าง ลำบากบ้าง ล้วนเกิดจากการให้ค่าตามบัญญัติ แล้วเป็นเหตุให้เกิดการยึดติด



หากมีการยึดติดในบัญญัติมาก

การปฏิบัติเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะมีความอยากนำหน้า ส่วนจะลำบากมากน้อยแค่ไหน ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมา และเหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน



การปฏิบัติเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย

เมื่อละบัญญัติลงไปได้ ส่วนจะสบายมากน้อยแค่ไหน ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมา และเหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน



ชีวิตกับการปฏิบัติ

การใช้ชีวิตกับการปฏิบัติ เป็นสิ่งๆเดียวกัน เพียงแต่ถูกแบ่งแยกออกไปตามสภาวะที่เกิดขึ้นตามบัญญัติที่มีอยู่

หากเข้าใจได้ดังนี้ จะไม่ไปเครียดกับเรื่องการปฏิบัติ เพราะเป็นเรื่องเดียวกันกับการใช้ชีวิตปกติ ที่ไม่ปกติ ที่ดูแตกแยก เกิดจากการให้ค่าตามบัญญัติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2011, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กับดักและญาณ ๑๖

นับตั้งแต่ทุกคนที่ได้เข้าสู่เส้นทางของการปฏิบัติ ไม่ว่าจะรูปแบบไหน หรือแบบใดๆก็ตาม สิ่งที่ทุกคนจะได้เจอคือ

ความไม่เที่ยง ได้แก่ ความแปรเปลี่ยนตลอดเวลาของสิ่งที่เกิดขึ้น

ความเบื่อหน่าย เหตุเกิดจาก การไม่ได้ดั่งใจ ไม่เป็นไปตามที่คาดเดา คาดคิด คาดหวัง

ความวางเฉย เหตุเกิดจาก การคาดเดาแล้วไม่เป็นไปตามที่คิด เป็นเหตุให้เกิดความเบื่อหน่าย จนกระทั่งจิตปล่อยวางลงไปเอง

ทั้ง ๓ สภาวะนี่จะเจอตลอดเวลา แรกๆจะเห็นแบบหยาบๆ จนกระทั่่งละเอียด และ กับดักของกิเลสที่มีอยู่ตลอดเวลาในเส้นทางนี้ เพียงแต่จะมองเห็นหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ต้องผิดพลาดก่อนที่จะรู้ จึงเป็นที่มาของคำว่า โง่ก่อนถึงจะรู้ ไม่ใช่กับใครหรืออะไรที่ไหน แต่โง่กับกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตของแต่ละคนนั่นเอง ถ้าสติไม่ทันต่อกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต จะกลายเป็นคนโง่ไปทันที

โง่แต่ไม่รู้ว่าโง่ กว่าจะรู้ตัวอีกที คือ ทำผิดพลาดไปแล้ว ต้องปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามความเป็นจริง ไปคิดแก้ไขอะไรไม่ได้ เหมือนเรื่องในอดีต ไปแก้ไขอะไรไม่ได้ ที่แก้ได้คือ ปัจจุบัน



เดิมๆซ้ำๆ

ทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นจะเป็นสภาวะเดิมๆซ้ำๆ เพียงแต่เปลี่ยนฉาก เปลี่ยนบรรยากาศ เปลี่ยนตัวละครที่มาแสดงตามเหตุปัจจัยที่มีอยู่ต่อสิ่งๆนั้น

หากสภาวะนั้นๆสิ้นสุดลง สภาวะใหม่จะเกิดต่อ จะเกิดเดิมๆซ้ำๆจนกว่าสภาวะนั้นๆจะจบสิ้นลงไปด้วยตัวของสภาวะเอง คือ หมายถึงการหมดเหตุปัจจัยที่มีกับสิ่งที่เกิดขึ้น




สิ่งที่สำคัญที่สุดในญาณ ๑๖

การรู้และเข้าใจในรูป,นาม สมมุติ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

การเห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

การเห็นอนิจจานุปัสสนา ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

การเห็นนิพพาน ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

การเห็นเกิด,ดับ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

แม้กระทั่งเห็นในสัจจานุโลมิกญาณ ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

แม้กระทั่งการเห็นอริยสัจจ์ ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ

ฯลฯ

เรียกว่าไม่ว่าจะรู้หรือเห็นอะไรก็ตาม ล้วนไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านั้น สามารถรู้ได้โดยสุตตมยปัญญา คือ การอ่าน,การฟัง

รู้จากจินตามยปัญญา โดยการน้อมเอา คิดเอาเอง

หรือแม้กระทั่งรู้โดยภาวนามยปัญญา ที่เกิดสภาวะสมุจเฉทประหาณจริงๆก็ตาม

เหตุเพราะว่า เมื่อรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะรู้โดยวิธีใดก็ตาม สิ่งแรกที่ทุกคนจะต้องเจอคือ หลุมพรางของกิเลส ที่เนียนและละเอียดมาก นี่แหละสภาวะของอุปกิเลสที่แท้จริง

สภาวะนี้จะเนียนมากๆหลอกให้เชื่อและสามารถทำให้ยึดติดได้มากกว่าการเจออุปกิเลสในครั้งแรกๆ แต่ทุกคนสามารถหลุดหรือผ่านจากสภาวะอุปกิเลสนี้ไปได้ เพียงเจริญสติอย่างต่อเนื่อง อย่าหยุด ถึงแม้ว่าจะคิดว่าได้อะไร เป็นอะไรก็ตาม

คิดอะไร รู้สึกอย่างไร รู้ไปตามนั้น เพราะยังมีกิเลสอยู่ เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะสภาวะที่คิดว่าผ่านญาณ ๑๖ หรือรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจจ์ จะเป็นเรื่องของกิเลส มีแต่กิเลสล้วนๆ ไม่ได้มีเรื่องอื่นๆเลย

สิ่งใดที่คิดว่ารู้ คิดว่าถูก คิดว่าใช่ สิ่งที่รู้เหล่านั้น ล้วนเป็นการให้ค่าตามบัญญัติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเห็นตามความเป็นจริงหรือเกิดจากการให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น แล้วเกิดการคาดเดาเอาเองก็ตาม

แม้กระทั่งการนำมาพูดว่ามีแต่สิ่งที่รู้และสิ่งที่ถูกรู้ก็ตาม หากยังมีการนำสิ่งต่างๆเหล่านั้นมาสร้างเหตุของการเกิด นั่นคือ ยังมีตัวความเป็นตัวตนในการให้ค่าในสิ่งที่ทั้งรู้และถูกรู้




ที่มาของคำว่า ญาณ ๑๖

เรื่องราวของญาณ ๑๖ ล้วนเป็นเรื่องของสภาวะหรือสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องพบเจอในการปฏิบัติและในชีวิตจริง



สภาวะที่สำคัญของญาณ ๑๖

สิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ว่า สภาวะที่เป็นยอดของสภาวะของญาณทั้ง ๑๖ ญาณ ที่เป็นสัญลักษณ์ว่าได้ผ่านญาณทั้ง ๑๖ มาแล้ว สิ่งนี้ต่างหากที่สำคัญ

สภาวะที่สำคัญจะมีเพียงสภาวะเดียว คือ ปัจจเวกขณญาณ ซึ่งจะเกิดขึ้น หลังจากเกิดสภาวะสมุจเฉทประหาณเท่านั้น

ในสภาวะอื่นๆจะไม่มีการเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่เกิดสภาวะนี้จะต้องสูญเสียทุกๆสิ่งที่มีอยู่ไปจนหมดสิ้น เปรียบเทียบง่ายๆ เช่นเป็นพระราชา แต่ต้องกลายเป็นขอทานที่ไม่มีอะไรเลย แม้แต่ผ้าปิดกาย

ถ้าพูดในแง่ของสภาวะ ได้แก่ คนที่มีกำลังของสมาธิล้นเหลือ สามารถรู้ใจผู้อื่น รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า รู้เห็นวิเศษต่างๆมากมาย ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้จะหายไปจนหมดสิ้น แม้กระทั่งสมาธิจะหายไปจนหมดสิ้น ไม่มีเหลือแม้แต่สักนิดเดียว

สิ่งที่เหลืออยู่จะมีเพียงกำลังของสติ สัมปชัญญะที่มีอยู่ตามความเป็นจริง และกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนมากๆ

สภาวะที่เจอนี้ อาจทำให้ทุกข์สุดๆ ทุกข์เพราะความไม่รู้ เนื่องจากยังมีการให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ยังมีการยึดติดในสิ่งที่คิดว่ามีได้แก่ สมาธิและการรู้เห็นอันวิเศษต่างๆที่หายไปจนหมดสิ้น

นี่คือ สภาวะที่นำมากล่าวนี้ คือสภาวะของผู้ที่ผ่านญาณ ๑๖ เป็นครั้งแรก ซึ่งทุกๆคนที่ผ่านสภาวะญาณ ๑๖ เป็นครั้งแรก จะต้องเจอทุกคน ไม่มีข้อยกเว้นแต่อย่างใด

สภาวะที่ผ่านครั้งแรกจะไม่รู้ว่าคืออะไร เพราะไม่เคยมีใครมาบอกหรือพูดให้ฟัง ถึงแม้จะรู้ปริยัติหรือไม่รู้ปริยัติเลยก็ตาม เวลาเจอสภาวะนี้จะมีความไม่รู้เกิดขึ้นเหมือนกันหมดทุกคน

จะรู้ชัดในสภาวะนี้ได้ว่าเป็นอะไร คืออะไร ต่อเมื่อสภาวะนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ ทีนี้การปฏิบัติที่เหลือจะเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย เพราะละทิ้งบัญญัติต่างๆไปเสียได้ คือ รู้ในบัญญัติ แต่ไม่ยึดติดในบัญญัติ จะพูดแค่สิ่งที่ควรพูด

ไม่มีการว่ากัน เพราะสิ่งต่างๆที่ทุกคนเจอ ล้วนต้องเจอเหมือนกันหมด แตกต่างแค่เหตุที่ต้องเจอเท่านั้นเอง สร้างเหตุอย่างไร ผลย่อมมาแสดงให้ได้รับในรูปของเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้นั้น หากเข้าใจแล้ว จะแก้ที่ตัวเอง ไม่ไปกล่าวโทษนอกตัว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติเพื่ออะไร?


เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่บุพผาราม ทรงปรารภอุโบสถกรรม ของอุบาสิกาทั้งหลาย มีนางวิสาขาเป็นต้น ใจความว่า

ในวันมหาอุโบสถวันหนึ่ง ในเมืองสาวัตถี ได้มีหญิงรักษาอุโบสถทั้งแก่และสาวประมาณ ๕๐๐ คน ต่างก็ได้พากันไปสู่วัดตามเวลา นางวิสาขาจึงเข้าไปหาหญิงเหล่านั้น แล้วถามหญิงแก่ๆดูว่า

แม่ท่านทั้งหลาย พวกท่านรักษาอุโบสถเพื่อต้องการอะไร?

ได้รับคำตอบว่า เพื่อต้องการทิพยสมบัติ

แล้วถามพวกหญิงกลางคนในทำนองเดียวกัน ได้รับคำตอบว่า รักษาอุโบสถเพื่อต้องการพ้นจากการอยู่กับหญิงร่วมสามี

ถามพวกสาวๆต่อไป ได้รับคำตอบว่า เพื่อต้องการให้ได้บัตรชายในเวลามีครรภ์ครั้งแรก

ถามพวกหญิงสาวน้อยต่อไป ได้รับคำตอบว่า เพื่อต้องการไปสู่สกุลผัวแต่ในวัยสาวๆ

เมื่อนางวิสาขาได้ฟังถ้อยคำของหญิงสาวเหล่านั้นแล้ว จึงได้พาไปสู่สำนักของพระบรมศาสดา กราบทูลความประสงค์ของหญิงสาวเหล่านั้นแด่พระพุทธองค์ตามลำดับ

พระพุทธองค์ทรงสดับคำนั้น ตรัสว่า

” วิสาขา ธรรมดาสภาวธรรมทั้งหลาย มีชาติ ( การเกิด ) เป็นต้น ส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักของชรา

ชรา ส่งไปสู่สำนักของพยาธิ

พยาธิ ส่งไปสู่สำนักของมรณะ

มรณะ ก็ตัดชีวิตให้ขาดไปเลย ดุจบุคคลเอาขวานตัดต้นไม้ให้ขาดกระเด็นไปฉะนั้น

ถึงแม้ว่า สรรพสัตว์จะได้รับความทุกข์ทรมาณขนาดนี้ ก็ยังไม่มีผู้ปรารถนาพระนิพพาน มีแต่มัวเมาประมาทปรารถนาวัฏฏะเท่านั้น “

แล้วจึงตรัสเตือนพุทธบริษัทไว้ซึ่งยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ว่า

ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจรํ

เอวํ ชรา มจฺจุ จ อายุํ ปาเชนฺติ ปาณินํ

นายโคบาล คือ คนเลี้ยงโค ย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ฉันใด

ชรา คือ ความแก่

มัจจุราช คือ ความตาย

ก็ย่อมต้อนอายุของสรรพสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น

หมายความว่า

คนเลี้ยงโค เอาท่อนไม้หรือไม้เรียวไล่โค กันโค ตีโคที่เข้าไปสู่ระหว่างคันนา แล้วต้อนไปสู่ที่หากิน ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยหญ้าและน้ำ

ข้อนี้มีอุปมาฉันใด มัจจุราชก็มีอุปไมยฉันนั้น คือ

ชราและมัจจุราช เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโค

ชีวิต เปรียบเหมือนฝูงโค

มรณะ เปรียบเหมือนที่ทำมาหากิน

ชาติ ( การเกิด ) ส่งชีวิตสัตว์ทั้งหลายไปสู่สำนักชรา

ชรา ส่งไปสู่สำนักของพยาธิ

พยาธิ ส่งไปสู่สำนักของมรณะ

มรณะ ก็ตัดชีวิตอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายให้ขาดกระเด็นไป ดุจบุคคลเอาขวานตัดไม้ให้ขาดกระเด็นไปฉะนั้น

เมื่อหญิงเหล่านั้น ได้ฟังพระธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาแล้ว ต่างพากันตั้งอกตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุอริยผล มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2011, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โอภาส



โอภาสที่เกิดขึ้นจะมีสภาวะตั้งแต่สว่างน้อยๆ จนถึงสว่างมากๆ เจิดจ้า คือหาคำเปรียบเทียบไม่ได้

โอภาสเกิดจากกำลังของสมาธิขณะนั้นๆ ยิ่งสมาธิมากเท่าไหร่ โอภาสยิ่งสว่างมาก


สัมมาสมาธิ

สภาวะสัมมาสมาธิ คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

สภาวะที่เกิดขึ้นคือ ขณะที่จิตเป็นสมาธิ ถึงแม้จะมีโอภาส ต่อให้สว่างมากแค่ไหน จะมีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นตลอด เป็นเหตุให้ สามารถรู้ชัดในความรู้สึก แม้กระทั่งความคิดที่เกิดขึ้น ( จิต ) ตลอดจนรู้ชัดในอาการของกาย

หากเกิดโอภาส แต่ไม่สามารถรู้ชัดในกายและจิตได้ นั่นเป็นสภาวะของมิจฉาสมาธิ เพราะขาดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม จิตเกิดปัญญาคิดพิจรณาอะไรไม่ได้ เรียกว่ามีสมาธิมากเกินสติ วิธีแก้คือ ปรับอินทรีย์ในสมดุลย์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร