วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 27, 28, 29, 30, 31, 32, 33 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2011, 21:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
คำถามที่ผู้ปฎิบัติถามมาก ทำไมปฏิบัติวิปัสสนาแล้วไม่ก้าวหน้า
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับคำสอนของพระพุทธองค์ที่สำคัญๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนาดังนี้
1.สติปัฎฐาน4
2.สัมปชัญญะ
3.มัชฌิมาปฎิปทา(ภิกษุไม่ควรติดในสองส่วนคืออัตถกิลมถานุโยคกับกามสุขัลลิกานุโยค)

1.สติปัฏฐาน 4 คือฐานที่ตั้งของสติ ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม
1.1 ฐานกาย เริ่มต้นการรู้การเคลื่อนไหวของกาย ซึ่งอาจรู้การเคลื่อนไหวเฉพาะส่วน เช่น มือ ขณะเคลื่อนไหวของมือให้รู้ถึงความรู้สึกของการเคลื่อนไหว ไม่ใช่รู้ความรู้สึกของมือ การรู้เป็นอิสระธรรมชาติ ขณะรู้ความรู้สึกของการเคลื่อนไหว เมื่อรู้ชัดต่อมาความรู้ชัดลดลงความรู้สึกนึกคิดจะผุดออกมาให้เพียงรับรู้ แต่ไม่ต้องรู้ว่าเป็นเรื่องอะไร(สภาพธรรมที่คลายออกมาจากจิตได้แก่ ความคิด ความอึดอัด และกายได้แก่ ความร้อน ชา ปวด ) เป็นการคลายของเสียที่สะสมมาของชิวิต จึงไม่ควรปฏิเสธ ขณะที่รู้ถึงฐานกายก็จะรู้ถึงฐานเวทนา และจิต เมื่อรู้ถึงกายภายนอก ต่อไปจะรู้ถึงกายภายใน(กายในกาย) หากผู้ปฺฏิบัติใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นฐานของสติ ก็ให้รู้ถึงความรู้สึกของการหายใจเข้าออกโดยรวม เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกัน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2011, 11:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2011, 20:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

จากการที่ผู้ปฏิบัติรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงจะเกิดขึ้นได้นั้น เนื่องจากสภาพธรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การระลึกรู้จึงเป็นการรู้ถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว สำหรับสติของผู้เริ่มปฏิบัติใหม่จะมีกำลังอ่อน เมื่อเผลอจึงระลึกรู้ว่าเผลอ เมื่อรู้เช่นนี้อยู่บ่อยๆ สัมปชัญญะ(ปัญญา)จะค่อยๅพัฒนาขึ้น สำหรับผู้ที่พยายาม(อยาก)ที่จะทรงตัวรู้อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงตัณหาและเกิดการยึดถือโดยไม่รู้ตัว เป็นการสร้างตัวตน จึงเป็นการปฏิบัติที่สวนทางกับการปฏิบัติตามแนวทางมรรคมีองค์ 8 ให้เกิดเป็นสัมโพชฌงค์ เพื่อทำลายสักกายทิฎฐิ (ความเป็นตัวตน) การปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ได้ผลและจัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค(เพ่งเพียรตึงเกินไป)

การเกิดกระทบของอายะตนะภายนอกและภายในของผู้ปฎิบัติใหม่เกิดผัสสะปรุงแต่งเป็นความคิดนึก ผู้ปฏิบัติจะรู้ว่านึกคิดเมื่อสิ่งเหล่านี้ไหลไประยะหนึ่งแล้ว แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่ชำนาญแล้วจะสังเกตถึงการก่อตัวของสภาพธรรมที่เป็นเหตุของความนึกคิดอันนั้น ซึ่งจิตจะจำสภาพธรรมนั้นได้ จนกระทั่งเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วความยึดถือในสภาพธรรมหรืือเรื่องก็จะยุติ และหากความยึดถือในสภาพธรรมนั้นยังมีอยู่ ความนึกคิดปรุงแต่งในเรื่องนั้นก็จะดำเนินต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2011, 12:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

suttiyan เขียน:
ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น

จากการที่ผู้ปฏิบัติรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงจะเกิดขึ้นได้นั้น เนื่องจากสภาพธรรมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การระลึกรู้จึงเป็นการรู้ถึงอดีตที่ผ่านไปแล้ว สำหรับสติของผู้เริ่มปฏิบัติใหม่จะมีกำลังอ่อน เมื่อเผลอจึงระลึกรู้ว่าเผลอ เมื่อรู้เช่นนี้อยู่บ่อยๆ สัมปชัญญะ(ปัญญา)จะค่อยๅพัฒนาขึ้น สำหรับผู้ที่พยายาม(อยาก)ที่จะทรงตัวรู้อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงตัณหาและเกิดการยึดถือโดยไม่รู้ตัว เป็นการสร้างตัวตน จึงเป็นการปฏิบัติที่สวนทางกับการปฏิบัติตามแนวทางมรรคมีองค์ 8 ให้เกิดเป็นสัมโพชฌงค์ เพื่อทำลายสักกายทิฎฐิ (ความเป็นตัวตน) การปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ได้ผลและจัดเป็น อัตตกิลมถานุโยค(เพ่งเพียรตึงเกินไป)

การเกิดกระทบของอายะตนะภายนอกและภายในของผู้ปฎิบัติใหม่เกิดผัสสะปรุงแต่งเป็นความคิดนึก ผู้ปฏิบัติจะรู้ว่านึกคิดเมื่อสิ่งเหล่านี้ไหลไประยะหนึ่งแล้ว แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่ชำนาญแล้วจะสังเกตถึงการก่อตัวของสภาพธรรมที่เป็นเหตุของความนึกคิดอันนั้น ซึ่งจิตจะจำสภาพธรรมนั้นได้ จนกระทั่งเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วความยึดถือในสภาพธรรมหรืือเรื่องก็จะยุติ และหากความยึดถือในสภาพธรรมนั้นยังมีอยู่ ความนึกคิดปรุงแต่งในเรื่องนั้นก็จะดำเนินต่อไปไม่รู้จักจบสิ้น :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2011, 17:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความสวัสดีจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณ eragon_joe
พี่ขอแนะนำการปฏิบัติแก่น้อง สภาวะธรรมของน้องในปัจจุบันขณะนั่งสมาธิจะมีอาการโยกไปโยกมา บางที่โยกเร็วมาก สาเหตุเกิดจากการนำจิตเข้าไปรู้ตำแหน่งที่อยู่ตั้งของกรรมฐาน อย่างต่อเนื่อง (น่าจะ 2 จุด เช่น การเข้าออกของลมหายใจหรืออื่นๆ)เมื่อเรามี actionจึงเกิดแรงreaction แรงนี้จึงทำให้ร่างโยกไปโยกมา วิธีแก้ไขขณะนั่งสมาธิแล้วเกิดโยกให้ละการรู้กรรมฐานเดิม และมารู้ในอาการที่โยก 10-15 วินาที ต่อจากนั้นให้สังเกตว่าขณะโยกจะมีความรู้สึกที่หน้าอกโยกไปโยกมาด้วย(รู้น้อยกว่าร่างกาย)ใ้ห้รู้ความรู้สึกที่ตำแหน่งดังกส่าว 10-15 วินาที แล้วกลับไปรู้ความรู้สึกโยกที่ของร่างกายสลับไปสลับมา ข้อสำคัญการย้ายตำแน่งต้องละความสนใจจากตำแหน่งเดิมก่อน และทำแบบสบายๆ หากไ่ม่ละจากตำแหน่งก่อนก็จะเกิดแรงโยกซ้อนเข้าไปอีก เมื่อทำตามแนวทางนี้ให้สังเกตปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 01:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley

เอกอนแทบจะไม่โยกหรอกค่ะ มัน หมุน เลยล่ะ

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 07:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณ eragon_joe
การเคลื่อนที่ระหว่าง 2 จุด จะมีลักษณะเป็น เส้นตรง วงรี และวงกลมซึ่งจัดอยู่ในสภาวะเดียวกัน ซึ่งเกิดจากกำลังของสมาธิที่มากกว่าสติและสัมปชัญญะ จึงจำำเป็นต้องปรับอินทรีย์ หากการปรับถูกส่วนตามที่ได้บอกแนวทางไว้ สภาวะการหมุนจะหยุดลง (นิ่งกึก)ลมหายใจเบามาก แต่ในความนิ่ง ให้รู้ว่านิ่งเป็นขณะๆ รู้เบาๆ สภาวะจะเปลี่ยนไป การเปลี่ยนของสภาวะคือลักษณะอนิจจัง :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 10:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คืออาการหมุนที่เอกอนสัมผัส มันปรากฎตั้งแต่เริ่มแรกที่ลองฝึกสมาธิแล้ว
(ตั้งแต่เมื่อปี 40) ซึ่งมันปรากฎของมันเอง ไม่ได้เรียน ไม่ได้เิชิญให้มาปรากฎ
และองค์ความรู้ในตอนนั้น เรื่องนี้ยังไม่ปรากฎให้เห็นมากนัก คือเน็ตยังไม่แพร่กระจายในวงกว้าง
และตำราต่าง ๆ ทางธรรมยังไม่ผุดออกมาเป็นดอกเห็ดอย่างทุกวันนี้
คือ เอกอนก็รับรู้มันไปตามสภาพน่ะ

และ การปรากฎการหมุน มันเหมือนเป็นการเคลียร์พื้นที่อย่างบอกไม่ถูก
เพราะมันจะหมุนโดยเคลือนจุดไปตามจุดต่าง ๆ ในร่างกายเจ็ดจุด ไล่ลำดับไป
ซึ่งมันจะหมุนจนกว่ามันจะรู้สึกถึงความเคลื่อนที่นิ่ง สงบ สม่ำเสมอ ในทุก ๆ ฐาน
แล้วมันก็จะมานิ่งในบริเวณภายในกายที่มีลักษณะเหมือนถ้ำ

และเอกอนก็เห็นการหมุนเป็น ความเป็นไปของลักษณะอย่างหนึ่ง เป็นทางสายหนึ่ง แค่นั้น
ไม่ได้คิดอะไร จนได้มาเข้าเล่น net เมื่อสี่ปีมานี่ ก็ถึงได้เพิ่งมาอ่านบทความต่าง ๆ
เกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองเจอ เช่น

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12975

ความเห็นของคุณ ๛ Nirvana ๛

เรื่องนี้คนที่มองเข้าไป จะมองได้หลายแง่
แต่ก็ไม่แนะนำให้ไปเที่ยวลองทำลองฝึกเองอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า
เพราะ เรื่องสมาธิเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกต้องมีพื้นฐานทางกายและพื้นฐานทางจิตที่รองรับการฝึกนั้น ๆ ได้

และ สมาธิหมุน เป็นสมาธิที่มีกำลังแรง ถ้ากายกับใจไม่
หลอมรวมเป็นหนึ่ง (คือ การหมุนวนแล้วเอาอารมณ์การหมุนวนนั้นเป็นหนึ่งเดียวกับจิต ให้จิตเข้าไปหมุนวนด้วย น้อมการหมุนวนเข้ามาเป็นอารมณ์จิต ประหนึ่งการเพ่งกสิณที่น้อมเอารูปเข้ามาสู่ใจ จนเกิดเป็น “เอกัคตารมณ์”)
การหมุนนั้น จะเหมือนลูกข่างที่เสียศูนย์

แต่ถ้าทุกอย่างลงตัว ผู้ปฏิบัติเองจะประจักษ์เองใน การหมุนที่นิ่ง ที่มีอยู่ในทุกสิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 11:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนูโมทนากับคุณ erigon_joe
การหมุนที่เป็นแนวทางสู่การตรัสรู้ คือการไม่ติดทั้งอายตนะภายในและภายนอก การหมุนที่เกิดจากเหตุที่ไม่ติดดังกล่าวจะอิสระจากความยึดถือและเคลื่อนไปที่จุดที่มีความหนาแน่นเพื่อเคลียร์ตัวของมันเอง เมื่อสภาวะแรงร้อยรัดคลายลงก็สามรถเข้าสู่สภาวะอนัตตาได้เมื่อตามการหมุนโดยไม่มีตัวตน เมื่อถึงพร้อมใจจะแยกจากวิญญาณธาตุ สู่ความอิสระ ได้ดวงตาเห็นธรรม และขออนุโมทนา ในความตั้งใจในการปฏิบัติของคุณ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 15:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สวัสดีครับคุณ eragon_joe
การปฎิบัติตามแนวทางของคุณ เมื่อจิตพัฒนาสู่ในภายใน(ในถ้ำ) หากสังเกตจะพบว่าในความนิ่งสงบภายใน
ยังมีการหมุนเบาๅ การสั่นสะเทือนสลับการหยุดนิ่ง การตามรู้สภาวะธรรมดังกล่าวจะมีการหมุนวนของสภาวะธรรม และหากสังเกตความต่อเนื่องจะพบว่าการสั่นสะเทือนจะส่งกระแสไปที่ตำแหน่งใจ(หทัยวัตถุ) เกิดการยิบยับที่ใจ เกิดการคลายรอบของตัณหาที่ใจ แต่เนื่องจากตัณหาก็ทำกิจสร้างแรงร้อยรัด ดังนั้นหากความถี่ของจิต(สติสัมปชัญญะ)มีไม่มากพอ ตัณหาก็จะสร้างแรงร้อยรัดใหม่ สภาวะธรรมของกายในภายใน(ในถ้ำ้)
จึงเกิดสภาวะกลับไปกลับมา(ผมเคยติดอยู่ ณจุดนี้เป็นเวลานาน เนื่องจากในอดีตบำเพ็ญสมถะมามาก)การกลับไปมาแสดงถึงความเป็นอนิจจังยังไม่เข้าสู่สภาวะทุกขังที่ชัดเจน(ผลจากการคลายรอบของตัณหาอุปทาน เกิดทุกข์โทษทั้งกายและใจที่ชัดเจนมากมาย) ความเป็นไตรลักษณ์ที่สมบูรณ์

ที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์สภาวะทางกาย (ผล)และ แรงร้อยรัดของตัณหาทางใจ(เหตุ) ดังนั้น
เมื่อรู้ในภายใน(กาย)ที่นิ่ง หมุน จะเกิดเกิดดับมีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้น ให้สังเกตที่ใจจะพบว่ามีแรงบีบหรือหน่วงที่ใจ ให้รู้ถึงแรงดังกล่าว 3-4 ขณะ แล้วปล่อยวาง เคลื่อนความรู้สึกเบาๆไปที่ตำแหน่งกายในภายใน(ในถ้ำ)รู้ถึงการนิ่งหรือหมุนเบาๆเกิดสั่นสะเทือน 3-4 ขณะกลับไปกลับมาสภาวะธรรมของ 2 ตำแหน่งจะคลายรอบออก เป็นไปตามหลักการไม่ติดทั้ง 2 ส่วนคือ ไม่ติดกายและใจ สำหรับแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว เนื่องจากผู้ปฎ้บัติวิปัสสนาที่มีสมาธินำหน้าสติสัมปชัญญะ

ขออนุโมทนา :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 22:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ท่านเป็นคนที่ละเอียด :b8:

ท่านเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นเป็น สิ่งที่ถูกรู้ หรือไม่

เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร

:b1:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2011, 23:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion
อื่มมม...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 13:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สภาวะทุกข์ สมุทัย เป็นสิ่งที่ผู้ปฎิบัติต้องกำหนดรู้ ด้วยใจที่เป็นกลาง แต่เนื่องจากอินทรีย์ของผู้ปฎิบัติแตกต่างกัน วิธีการที่จะกำหนดรู้ และนัยยะของการวางใจที่เป็นกลาง สำหรับผู้ปฎิบัติวิปัสสนา จำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่มีปัญญานำหน้าสมาธิ และ ที่มีสมาธินำหน้าปัญญา
กลุ่มที่มีปัญญานำหน้าสมาธิ ที่เรียกว่า สุกขวิปัสโก การรู้สภาวธรรมตามความเป็นจริงเป็นขณะๆ ซึ่งจะไป เคลียร์ความหยาบของสังขารขันธ์ สมาธิจึงเกิดตามมา การรู้จึงเป็นการระดับพื้นผิว เปรียบเสมือนมีดที่มีความคมแต่ไม่มีกำลังตัด ต้องใช้ความเพียรกำหนดสภาวธรรมอย่างต่อเนื่อง และเมื่อบรรลุถึงมรรค ผล นิพพาน จัดเป็นโสดาบันที่ต้องใช้ความเพียรมาก เนื่องจากมีสมาธิไม่พอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2011, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สุดแล้วแต่เหตุปัจจัย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 27, 28, 29, 30, 31, 32, 33 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร