วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b16: สวัสดีครับคุณเอรากอนที่คิดถึง
มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่นิดหนึ่งนะครับจากข้อความที่คุณยกมาจากลิ้งค์เรื่องวิปัสสนาภาวนา

• เท่าทันปัจจุบัน

• ไม่บังคับกะเกณฑ์

การยังมีคำกำหนดหรือบริกรรมว่า "หนอ" อยู่นั้น ถือเป็นเรื่องบังคับกะเกณฑ์ ทั้งสิ้น
จนเมื่อเมื่อจิตตั้งมั่นควรแก่งานแล้วด้วยผลจากการกำหนดหนอ หรือเจริญสติ
หลังจากนั้นแล้วทิ้งคำบริกรรมว่า "หนอ" ปล่อยให้กระบวนการทำงานในกายและจิตเป็นไปตามธรรมชาติ


สติเป็นเพียงผู้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม

ปัญญาสัมมาทิฐิ เป็นผู้ทำหน้าที่ ดู เห็น และ รู้ อารมณ์ปัจจุบันนั้นตามที่เขาเป็นจริง

ปัญญาสัมมาสังกัปปะ เป็นผู้ทำหน้าที่ สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) ปัจจุบันอารมณ์นั้น


หลังจากนั้นปัญญา(ภาวนามยปัญญา) ที่เข้าใจความเป็น อนิจจัง หรือ ทุกขัง หรือ อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จะชัดขึ้นมาในใจของผู้ปฏิบัติท่านนั้นๆ จนเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง อุปาทาน ความเห็นผิดว่าขันธ์5 นี้ เป็นตัวตน กู เรา
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 03:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8: อนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับทุกๆท่านที่มาแสดงความเห็นในกระทู้นี้
ขอให้เจริญในธรรมกันยิ่งๆขึ้นไปจนปิดประตูอบายได้ทันในชาตินี้ทุกท่านทุกคนเลยนะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณโฮฮับ ขอเอาใจช่วยเป็นพิเศษครับ

ผมว่าเลิกกระทบกระเทียบแล้วมาคุยเรื่องที่ค้างต่อ มันจะได้สาระมากกว่านะครับ
ไอ้เรื่องการตีสำนวนเล่นคำกับผมมันเปล่าประโยชน์ครับ
ไม่อยากคุยก็ไม่ว่าครับ แต่อย่าแสดงอาการว่า " ฉันเก่งกว่าแค่ไม่อยากคุยด้วย"
วิธีนี้มันล้าสมัยแล้วครับ แต่คุณกับผมก็สนิทกันพอสมควรแล้ว ผมไม่ถือสาหรอกครับ

คุณอนันตาธรรมครับเรามาคุยกันให้มันเป็นกิจลักษณะ
ดำเนินเรื่องที่คุยค้างให้มันจบ ขอเตือนอย่างครับคุยกับผมต้อง
มีสติให้อยู่ในกรอบของเว็บนะครับ ไม่งั้นกระทู้ของคุณจะต้องมีอันเป็นไป
เพราะมีผมเป็นต้นเหตุ มีผู้ดูแลบางคนไม่ชอบหน้าผมเป็นการส่วนตัวครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 04:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
หลังจากนั้นปัญญา(ภาวนามยปัญญา) ที่เข้าใจความเป็น อนิจจัง หรือ ทุกขัง หรือ อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จะชัดขึ้นมาในใจของผู้ปฏิบัติท่านนั้นๆ จนเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง อุปาทาน ความเห็นผิดว่าขันธ์5 นี้ เป็นตัวตน กู เรา

มันไม่ใช่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งในในอนิจจัง ทุกขังหรืออนันตา
ความเข้าใจที่ถูกต้องก็คือ เข้าใจว่า การเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้

การเข้าใจต้องเข้าใจทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้ ไม่ใช่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเข้าใจอย่างคุณว่าเป็นการท่องจำ แล้วเอามาทบทวนความคิด
การแสดงออกเลยมีเฉพาะที่จำได้ หรือตามที่ตัวเองเข้าใจ
ที่สำคัญคุณไม่ได้คำนึงถึงกฎแห่งไตรลักษณ์ที่แท้จริงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 09:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b16: สวัสดีครับคุณเอรากอนที่คิดถึง
มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่นิดหนึ่งนะครับจากข้อความที่คุณยกมาจากลิ้งค์เรื่องวิปัสสนาภาวนา

• เท่าทันปัจจุบัน

• ไม่บังคับกะเกณฑ์

การยังมีคำกำหนดหรือบริกรรมว่า "หนอ" อยู่นั้น ถือเป็นเรื่องบังคับกะเกณฑ์ ทั้งสิ้น
จนเมื่อเมื่อจิตตั้งมั่นควรแก่งานแล้วด้วยผลจากการกำหนดหนอ หรือเจริญสติ
หลังจากนั้นแล้วทิ้งคำบริกรรมว่า "หนอ" ปล่อยให้กระบวนการทำงานในกายและจิตเป็นไปตามธรรมชาติ


สติเป็นเพียงผู้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม

ปัญญาสัมมาทิฐิ เป็นผู้ทำหน้าที่ ดู เห็น และ รู้ อารมณ์ปัจจุบันนั้นตามที่เขาเป็นจริง

ปัญญาสัมมาสังกัปปะ เป็นผู้ทำหน้าที่ สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) ปัจจุบันอารมณ์นั้น


หลังจากนั้นปัญญา(ภาวนามยปัญญา) ที่เข้าใจความเป็น อนิจจัง หรือ ทุกขัง หรือ อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จะชัดขึ้นมาในใจของผู้ปฏิบัติท่านนั้นๆ จนเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง อุปาทาน ความเห็นผิดว่าขันธ์5 นี้ เป็นตัวตน กู เรา
onion


อันไหนก็ไม่รู้ ยกมาให้ดูสักหน่อยเถอะ ลืม

ก็ถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่รู้จัก อาการของ สติ
ก็ต้องทำแบบฝึกหัดไปตามชั้นเรียน

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 09:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้อ เห็นแล้ว

:b1:

ในแนวทางแห่งวิปัสสนาที่พระพุทธองค์สอน
ได้มีแบบวิปัสสนาที่ทำลายทิฐิในลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ
นั่นคือ หนทางที่หมดจด ครอบคลุม แล้ว



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 12:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อนัตตาธรรม เขียน:
:b16: สวัสดีครับคุณเอรากอนที่คิดถึง
มีสิ่งที่น่าสังเกตอยู่นิดหนึ่งนะครับจากข้อความที่คุณยกมาจากลิ้งค์เรื่องวิปัสสนาภาวนา

• เท่าทันปัจจุบัน

• ไม่บังคับกะเกณฑ์

การยังมีคำกำหนดหรือบริกรรมว่า "หนอ" อยู่นั้น ถือเป็นเรื่องบังคับกะเกณฑ์ ทั้งสิ้น
จนเมื่อเมื่อจิตตั้งมั่นควรแก่งานแล้วด้วยผลจากการกำหนดหนอ หรือเจริญสติ
หลังจากนั้นแล้วทิ้งคำบริกรรมว่า "หนอ" ปล่อยให้กระบวนการทำงานในกายและจิตเป็นไปตามธรรมชาติ


สติเป็นเพียงผู้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม

ปัญญาสัมมาทิฐิ เป็นผู้ทำหน้าที่ ดู เห็น และ รู้ อารมณ์ปัจจุบันนั้นตามที่เขาเป็นจริง

ปัญญาสัมมาสังกัปปะ เป็นผู้ทำหน้าที่ สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) ปัจจุบันอารมณ์นั้น


หลังจากนั้นปัญญา(ภาวนามยปัญญา) ที่เข้าใจความเป็น อนิจจัง หรือ ทุกขัง หรือ อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จะชัดขึ้นมาในใจของผู้ปฏิบัติท่านนั้นๆ จนเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง อุปาทาน ความเห็นผิดว่าขันธ์5 นี้ เป็นตัวตน กู เรา
onion


อันไหนก็ไม่รู้ ยกมาให้ดูสักหน่อยเถอะ ลืม

ก็ถ้าผู้ปฏิบัติยังไม่รู้จัก อาการของ สติ
ก็ต้องทำแบบฝึกหัดไปตามชั้นเรียน

:b1: :b1: :b1:


:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ

เพราะยังขาด สติ จึงไม่รู้จัก อาการของ สติ
จึง ไหลตามสังขารจิต ไปแล้วเข้าใจว่า อาการไหล นั้นคือ สติ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 12:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อ้อ เห็นแล้ว

:b1:

ในแนวทางแห่งวิปัสสนาที่พระพุทธองค์สอน
ได้มีแบบวิปัสสนาที่ทำลายทิฐิในลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ
นั่นคือ หนทางที่หมดจด ครอบคลุม แล้ว



ใน 84000 พระธรรมขันธ์ ทุกแนวทาง ล้วนแต่ทำให้ถึง ยอด ได้ทั้งสิ้น
ถ้าหาก ผู้ปฏิบัติ มีความ เข้าใจ ในการปฏิบัติ สติ สมาธิ สมถะ วิปัสสนา ...
เหล่านั้น คือ หนทางที่หมดจด ครอบคลุม แล้ว ทุกแนวทาง

:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




ประตูทางออกสู่นิพพาน_resize.jpg
ประตูทางออกสู่นิพพาน_resize.jpg [ 42.81 KiB | เปิดดู 4880 ครั้ง ]
โฮฮับ เขียน:
อนัตตาธรรม เขียน:
หลังจากนั้นปัญญา(ภาวนามยปัญญา) ที่เข้าใจความเป็น อนิจจัง หรือ ทุกขัง หรือ อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จะชัดขึ้นมาในใจของผู้ปฏิบัติท่านนั้นๆ จนเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง อุปาทาน ความเห็นผิดว่าขันธ์5 นี้ เป็นตัวตน กู เรา

มันไม่ใช่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งในในอนิจจัง ทุกขังหรืออนันตา
ความเข้าใจที่ถูกต้องก็คือ เข้าใจว่า การเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป
มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้

การเข้าใจต้องเข้าใจทั้งหมดที่ผมกล่าวมานี้ ไม่ใช่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเข้าใจอย่างคุณว่าเป็นการท่องจำ แล้วเอามาทบทวนความคิด
การแสดงออกเลยมีเฉพาะที่จำได้ หรือตามที่ตัวเองเข้าใจ
ที่สำคัญคุณไม่ได้คำนึงถึงกฎแห่งไตรลักษณ์ที่แท้จริงครับ

:b20:
อนัตตาธรรม..........
สวัสดีครับท่านโฮฮับ ขอบพระคุณที่ท่านมีความอดทน เมตตา สนทนากับผมมาได้ยืดยาว
ถึงเวลาที่จะได้สนทนากันอย่างเป็นงานเป็นการเสียทีนะครับ

ความ เห็น หรือ รู้ และเข้าใจพระไตรลักษณ์ นั้น ผู้ภาวนาทุกคน จะได้สัมผัสทั้ง อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะ เป็นเหตุ ปัจจัยเนื่องกันอยู่ แต่ตอนที่มรรค เช่น โสดาปัตติมรรค จะเกิดขึ้นนั้น ผู้ปฏิบัติแต่ละคนแต่ละท่าน จะทำความชัดลึกได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยบารมีที่สร้างสมมา จึงบางคนชัด อนิจจัง บางคนชัด ทุกขัง บางคนชัด อนัตตา แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางอย่างแรงกล้า ละวางมิจฉาทิฐิ สักกายทิฐิ ได้ สลัดคืนทิ้งไป แล้วเข้าถึงผลญาณ


สังเกตดูให้ดีจากคำสอนของครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพม่าซึ่งส่วนใหญ่จะสอนเน้น การพิจารณาที่ อนิจจัง

พระป่าสายอีสาณนี่ดูจะเน้น ทางด้าน ทุกขัง

ส่วน เน้นอนัตตานั้น ก็จะมีไม่กี่ท่าน อาทิเช่น หลวงพ่อพุทธทาส หลวงพ่อทูล ขิปปัญโญ หลวงพ่อธี วิจิตตธัมโม (ไทยใหญ่)

สำหรับพระพุทธบิดาพระองค์ทรงเน้น อนัตตา ในวันที่ 2 หลังจากการแสดง อริยสัจ 4 ในวันปฐมเทศนา

ประตูทางออกสู่พระนิพพาน มี 3 ประตู ดังภาพประกอบที่ยกมาให้ดูข้างบนนะครับ โบราณจารย์ท่านสอนมาอย่างนี้ด้วยครับ

ที่คุณโฮชอบบอกว่าผมจำตำรามาพูดนั้น ต้องเพิ่มความสังเกตให้ดีๆนะครับจากกระทู้ต่างๆของ อนัตตาธรรม อโศกะ เนินฆ้อ

เจริญธรรมนะครับ สาธุ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: มาศึกษาเรื่องวิปัสสนาภาวนากันต่อไปนะครับ

:e2:การปฏิบัติธรรมมีอยู่ 3 วิธี
1.สมถะนำหน้าวิปัสสนา
2.วิปัสสนานำหน้าสมถะ
3.ปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

มีวิธีตรวจสอบว่าผู้ปฏิบัติแต่ละคนมีพื้นฐานการบำเพ็ญบุญบารมี หรือต้นทุนเดิมมาแล้วมากน้อยเพียงใด มีจริตนิสัยอย่างไร ควรจะเจริญการภาวนาหรือปฏิบัติธรรมโดยวิธีใหน

การตรวจสอบพื้นฐานหรือต้นทุนเดิมวิธีที่ 1 ความสามารถในการสัมผัสรู้ ชีพจร

ให้ผู้ต้องการตรวจสอบไปอยู่ในที่ๆเงียบสงบ นั่งลงบนเก้าอี้ หรือจะนั่งขัดสมาธิบนพื้นก็ได้เสร็จแล้ว ให้ตั้งใจที่จะทำตัวทำใจให้นิ่งเฉยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วกำหนดจิต คือสติ ปัญญาขึ้นมาสังเกตดูเข้าไปในร่างกายจนกว่าจะสัมผัสรู้อาการเต้นตอดของชีพจร แล้วมาเทียบดูกำค่าที่กำหนดต่อไปนี้

1.ถ้าสามารถสัมผัสรู้ชีพจรได้ภายในเวลาไม่เกิน 5 นาที แสดงว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก มีสติ สมาธิ ปัญญาสร้างสมไว้ดีแต่ครั้งอดีต สามารถจะเจริญวิปัสสนาภาวนาไปได้ทันที

2.ถ้าสัมผัสรู้ชีพจรได้ภายในเวลาเกินกว่า 5 นาที แต่ไม่เกิน 15 นาที
แสดงว่าเป็นผู้มีบุญบารมีสะสมไว้ดีปานกลาง อาจจะเจริญภาวนาไปได้ทั้ง 2 วิธี คือวิปัสสนานำหน้าสมถะ หรือสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา

3.ถ้าสัมผัสรู้ชีพจรได้ช้ากว่า 15 นาที แสดงว่า ต้องใช้ความเพียรให้มากในการปฏิบัติธรรมควรเจริญภาวนาโดยใช้สมถะนำหน้าวิปัสสนา

4.ถ้าไม่สามารถสัมผัสรู้ชีพจรได้เลยซึ่งอาจเป็นได้เพราะ 2 สาเหตุคือ
4.1 จิตใจฟุ้งซ่านมากเกินไป จิตไม่ตั้งมั่น ฐานศีลไม่ค่อยแข็งแรง
ต้องไปปรับฐานศีลมาก่อน แล้วเจริญสมาธิตามแนวสมถะภาวนามาให้มากพอสมควรแล้วจึงจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาได้
4.2 จิตมีสมาธิมากเกินไป ก็ไม่อาจสัมผัสรู้ชีพจรได้ ต้องไปทำกิจกรรมที่ลดหย่อนกำลังสมาธิลงมาให้อยู่ในระดับที่พอดีๆ เช่นการไปฝึกกำหนดอิริยาบถย่อย ฝึกพิจารณากรรมฐานต่างๆ ฝึกคิดวิตก วิจารณ์ วิจัยธรรม ผู้มีสมาธิมากเกินไปเช่นนี้ต้องภาวนาโดยทำวิปัสสนานำหน้าสมถะ

อ่านแล้วลองลงมือปฏิบัติทดสอบของเก่าที่ท่านมีอยู่กันก่อนนะครับแล้วนำผลมาสนทนากันดูในกระทู้นี้เพื่อจะได้เลือกวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับทุนเดิมที่แต่ละท่านมีอยู่
16 พค.54
.การตรวจสอบพื้นฐานหรือต้นทุนเดิมวิธีที่ 2 โดยการลงมือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานำหน้าไปก่อน
วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน เป็นเอกลักษณ์ของพุทธศาสนา ถ้าปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาได้ตั้งแต่เริ่มแรกเลยทันที แสดงว่าบุคคลผู้นั้นมีพื้นฐานบุญบารมีเดิมที่สร้างสมไว้ดีมากมาก่อน เราจึงควรเริ่มต้นทดสอบตนเองจากจุดสูงสุดนี้ไปก่อน ถ้าหากทำไม่ได้ดีจึงค่อยลดระดับลงมาใช้เครื่องช่วยคือ สมถะภาวนา โดยลดลงมาเป็นลำดับๆดังนี้
1.ทำวิปัสสนาล้วนๆ
2.ทำวิปัสสนานำหน้าสมถะ
3.ทำวิปัสสนาควบคู่ไปกับการทำสมถะ
4.ทำสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา
5.ทำสมถะนำหน้าวิปัสสนา
:b43:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
ความ เห็น หรือ รู้ และเข้าใจพระไตรลักษณ์ นั้น ผู้ภาวนาทุกคน จะได้สัมผัสทั้ง อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา เพราะ เป็นเหตุ ปัจจัยเนื่องกันอยู่ แต่ตอนที่มรรค เช่น โสดาปัตติมรรค จะเกิดขึ้นนั้น ผู้ปฏิบัติแต่ละคนแต่ละท่าน จะทำความชัดลึกได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยบารมีที่สร้างสมมา จึงบางคนชัด อนิจจัง บางคนชัด ทุกขัง บางคนชัด อนัตตา แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายจางอย่างแรงกล้า ละวางมิจฉาทิฐิ สักกายทิฐิ ได้ สลัดคืนทิ้งไป แล้วเข้าถึงผลญาณ

ที่คุณกล่าวมาข้างบนเป็นการเข้าใจผิด ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดอย่างแรงเสียด้วย
รู้ได้เลยครับว่า ผู้พูดไม่ได้พูดผลของการปฏิบัติ แต่กำลังพูดในสิ่งที่ตัวเองได้
อ่านมาหรือฟังมา ที่สำคัญยังขาดความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองไปอ่านมาเสียด้วยครับ

ผมจะอธิบายเรื่องของไตรลักษณ์ให้ฟังนะครับ ไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ปัจจุบันเกิดขึ้นที่จิต
มันมีเหตุปัจจัยมาจากผัสสะๆเดียว แล้วแสดงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปให้เห็น
อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป มันเป็นเหตุปัจจัยของ อนิจจัง ทุกขังและอนัตตา
สรุปก็คืออนิจจัง ทุกขังและอนัตตาเป็นผลที่จาก การเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของผัสสะ

การเกิดขึ้นของไตรลักษณ์ พูดโดยรวมแล้วมันเกิดจากอาการๆเดียวแต่ ผลแห่งอารมณ์
ที่ได้ก็เป็นอารมณ์เดียว แต่ที่มีสมมุติบัญญัติในเรื่องอนิจจังทุกขังและอนัตตา ก็เพื่ออธิบาย
ให้เห็นถึงอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้น

ที่คุณบอกมาว่าเห็นตัวใดตัวหนึ่งในไตรลักษณ์ แสดงให้เห็นว่าเป็นการเข้าผิดในเรื่อง
ของปรมัตถ์และสมมุติบัญญัติ การปฏิบัติในเรื่องของจิตท่านให้หาอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
แต่ที่คุณกำลังอธิบายมันเป็นการหาในตัวสมมุติบัญญัติ มันกำลังเข้าใจผิดครับ
ไอ้ตัวสมมุติบัญญัติที่คุณพูด มันไม่ต้องไปหาครับ มันเป็นตัวการอธิบายในสิ่งที่เราเห็น
หรืออารมณ์ปรมัตถ์ที่เรารู้ครับ

หวังว่าคงเข้าใจนะครับว่า การเข้าถึงไตรลักษณ์สิ่งที่เราต้องหาหรือรู้ก็คือ
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของอารมณ์ ไม่ใช่ไปหาอนิจจังทุกขังหรืออนัตตา
ตัวใดตัวหนึ่ง
เพราะการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปแห่งอารมณ์มันมีความหมาย
อนิจจังหรือทุกขังหรืออนัตตาในตัวของมันอยู่แล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




ประตูทางออกสู่นิพพาน_.jpg
ประตูทางออกสู่นิพพาน_.jpg [ 50.12 KiB | เปิดดู 4832 ครั้ง ]
:b16: สงสัยคุณโฮฮับ ต้องกลับไปเรียนอภิธรรม หรือศึกษา ถามปัญหากับนักอภิธรรมดูสักหน่อยแล้วละครับ

ใน 1 อารมณ์ใหญ่ จะมีอารมณ์ย่อยซ้อนอยู่ข้างในอีกหลายอารมณ์ คุณโฮมีจิตอันหยาบ จึงไม่รู้ธรรมอันละเอียดอ่อน
ผมจะยกตัวอย่างให้ดูนะครับ

เสียงด่ากระทบ หู วิญญาณ รู้เสียง...แล้วก็ดับ.....สติรู้ทันการรู้เสียง......ดับ......มโนวิญาณธาตุรับรู้เสียง......ดับ ......สติรู้การรับรู้ของมโนวิญญาณธาตุ........ดับ......สัญญา...เกิดขึ้นจำหมายเสียง......สติรู้ทัน........ดับ......สังขารปรุงแต่งตามสัญญาเสียงนั้น.......ดับ ....สติรู้ทัน.......ดับ
เวทนาเกิดขึ้นไม่พอใจเพราะเสียงด่า......ดับ........สติรู้แต่ไม่ทันความขุ่นมัวเกิดขึ้น.......ดับ.......เกิด....ดับ ๆ ๆ........ทวีกำลังขึ้นจนกลายเห็นโกรธเกิดขึ้น......ดับ เกิด...ดับ ๆ ๆ .......จิตคิดอยากจะด่าตอบเกิดขึ้น.......ดับ......เกิด....ดับ ๆ ๆ ๆ.......สติรู้ทัน ระลึกได้ว้าไม่ควรโกรธและด่าตอบ .....ดับ.....ปัญญาสังเกต.....พิจารณาจิตโกรธ.....ดับ .......ขันติเกิดขึ้นต้านทานไม่ทำตามความโกรธ......ดับ........จิตโกรธ ดับ ........กลับสู่อารมณ์ปกติคือจิตเป็นเป็นกลางๆ วางเฉย รอตั้งรับผัสสะและอารมณ์ใหม่

ผ้สสะและอารมณ์ใหม่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่นเดียวกันทุกอารมณ์ ถ้าครั้งใดไม่เผลอสติ จนกระทำกรรมไปตามอารมณ์ ทุกขังก็ไม่เกิด ถ้าเผลอสติ ปัญญาไม่มาวินิจฉัยอารมณ์ ไม่เกิดขันติหรือตบะมาชนะอารมณ์ กรรมก็จะเกิด ทุกขังก็จะเกิด แต่ถึงที่สุด ก็ดับไปเช่นเดียวกันทั้งหมด

เมื่อจิตเรียนและรู้ชัดตอนที่เห็นอารมณ์ เกิด.....ดับ ๆ ๆ ๆชัดมากกว่า เรียกว่าเห็นอนิจจังชัด

เมื่อจิตเรียนรู้และชัดตอนที่เห็นอารมณ์ทุกข์ หรือทนไม่ได้ ชัดกว่า เรียกว่าเห็นทุกขังชัด

เมื่อจิตเรียนรู้และชัดว่า ทั้งความเป็น ทุกขัง และ อนิจจัง ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ดั่งใจ
เห็นชัด รู้ชัดอย่างที่ 3 นี้ เรียกว่า เห็นอนัตตา ชัด
ผู้ภาวนา จะทำความชัดเจนใน อนิจจัง ทุกขัง หรืออนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่งงแล้วเกิด

ความเบื่อหน่ายคลายจางจะเกิดขึ้นแล้วละวางความเห็นผิด ยึดผิด ว่ากาย ใจ นี้ เป็นเรา เป็น ตัวตนหรืออัตตา
เข้าถึง อนัตตา อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ เกิดขึ้น เข้าสู่พระนิพพานโดยประตูใดประตูหนึ่งใน 3 ประตูดังภาพที่ยกมาให้ดูข้างบน ซึ่งเป็นสิ่งที่โบราณจารย์ท่านสั่งสอนสืบกันมาแต่ครั้งก่อน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"จริงแล้ว มีคน เขาเรา ที่ไหน เพียงธรรมธาตุ สังขาร ปรุงแต่ง เป็นไป
ดุจมี กาย ใจ ในม่าน มัวหมอก อวิชชา"

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขณะจิต เขียน:
"จริงแล้ว มีคน เขาเรา ที่ไหน เพียงธรรมธาตุ สังขาร ปรุงแต่ง เป็นไป
ดุจมี กาย ใจ ในม่าน มัวหมอก อวิชชา"


:b17:
อนัตตาธรรม........

เมื่อได้รู้ เรียนธรรม ตามพระพุทธ
เหมือนจะหยุดวัฏฏะไว้ ได้ตรงหน้า
แต่คิดเอา ไม่เสร็จสม ดังจินตนา
ต้องหาญกล้าลงมือทำ จึงได้ดี

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b16: สงสัยคุณโฮฮับ ต้องกลับไปเรียนอภิธรรม หรือศึกษา ถามปัญหากับนักอภิธรรมดูสักหน่อยแล้วละครับ

ใน 1 อารมณ์ใหญ่ จะมีอารมณ์ย่อยซ้อนอยู่ข้างในอีกหลายอารมณ์ คุณโฮมีจิตอันหยาบ จึงไม่รู้ธรรมอันละเอียดอ่อน
ผมจะยกตัวอย่างให้ดูนะครับ

คุณอนัตตาครับ คุณนี่ตลกดีครับ มาว่าผมจิตหยาบไม่เคยศึกษาพระอภิธรรม
คุณยกอภิธรรมมา อธิบายในลักษณะเรื่อยเจื้อย ขาดความเข้าใจ ไม่ต้องพูดถึงในแง่ของการปฏิบัติ
เอาแค่ปริยัติมันก็ผิดแต่ต้น แถมขาดความเข้าใจในสมมุติบัญญัติอีกด้วย
คุณรู้รู้เปล่าว่า จิตของเรามีลักษณะเป็นสันตติ มันเกิดดับรวดเร็ว


มันไม่มีหรอกไอ้อารมณ์ใหญ๋เล็กที่คุณบอก หรือแม้แต่จิตหยาบจิตละเอียด
คำพูดของคุณมันเป็นคำพูดของบรรดาเจ้าสำนักที่ต้องการเพิ่มความศรัทธา
ให้แก่ตนเองเลยต้องสรรหาคำที่มันผิดแปลกพิสดารมากล่อมผู้ฟังให้เชื่อ

คุณอนัตตาครับ ผมแนะนำให้คุณไปศึกษา เรื่องปฏิจจสมุบาทและหลักอิทัปปัจยตา
อีกเรื่องครับ เรื่องจิตหรือวิญาณไม่เที่ยง แล้วก็จะเข้าใจ

อนัตตาธรรม เขียน:
:เสียงด่ากระทบ หู วิญญาณ รู้เสียง...แล้วก็ดับ.....สติรู้ทันการรู้เสียง......ดับ......มโนวิญาณธาตุรับรู้เสียง......ดับ ......สติรู้การรับรู้ของมโนวิญญาณธาตุ........ดับ......สัญญา...เกิดขึ้นจำหมายเสียง......สติรู้ทัน........ดับ......สังขารปรุงแต่งตามสัญญาเสียงนั้น.......ดับ ....สติรู้ทัน.......ดับ
เวทนาเกิดขึ้นไม่พอใจเพราะเสียงด่า......ดับ........สติรู้แต่ไม่ทันความขุ่นมัวเกิดขึ้น.......ดับ.......เกิด....ดับ ๆ ๆ........ทวีกำลังขึ้นจนกลายเห็นโกรธเกิดขึ้น......ดับ เกิด...ดับ ๆ ๆ .......จิตคิดอยากจะด่าตอบเกิดขึ้น.......ดับ......เกิด....ดับ ๆ ๆ ๆ.......สติรู้ทัน ระลึกได้ว้าไม่ควรโกรธและด่าตอบ .....ดับ.....ปัญญาสังเกต.....พิจารณาจิตโกรธ.....ดับ .......ขันติเกิดขึ้นต้านทานไม่ทำตามความโกรธ......ดับ........จิตโกรธ ดับ ........กลับสู่อารมณ์ปกติคือจิตเป็นเป็นกลางๆ วางเฉย รอตั้งรับผัสสะและอารมณ์ใหม่

ผมว่าลักษณะอธิบายความข้างบนมันเรื่อยเปื่อย มันขัดแย้งในตัวเอง
ขาคความเข้าใจในสมมุติบัญญัติที่ใช้

คุณอนัตตาครับมันตลกดีครับ ที่คุณบอกว่า สติรู้ทันดับ
มันดับอะไรของคุณครับ ทำไมลากยาวจนต้องใช้ขันติมาข่ม

ถามหน่อยคุณเข้าใจครับว่า"ดับ" เข้าใจคำว่า"สติ"หรือเปล่าครับ
การใช้สติดับคือการ หยุดยั้งไม่ให้เกิดการปรุงแต่งต่อจากผัสสะที่ได้
หรือดับในช่วงเวลาที่สติระลึกได้

แต่ที่คุณบอกมาว่าใช้สติดับ มันดับอะไรกันครับ ถึงได้ดับแล้วดับอีก
นี่แสดงให้เห็นว่าคุณ ไม่มีความเข้าใจในเรื่องปฏิจจสมุบาทครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
ผ้สสะและอารมณ์ใหม่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่นเดียวกันทุกอารมณ์ ถ้าครั้งใดไม่เผลอสติ จนกระทำกรรมไปตามอารมณ์ ทุกขังก็ไม่เกิด ถ้าเผลอสติ ปัญญาไม่มาวินิจฉัยอารมณ์ ไม่เกิดขันติหรือตบะมาชนะอารมณ์ กรรมก็จะเกิด ทุกขังก็จะเกิด แต่ถึงที่สุด ก็ดับไปเช่นเดียวกันทั้งหมด

เห็นเอาเรื่องพระอภิธรรมมาอ้าง แต่การอธิบายความมันเข้าลักษณะไปไหนมาสามวาสองศอกครับ
จิตหรืออารมณ์มันมีลักษณะ ไม่เที่ยงเหมือนกันหมดคือเมื่อเกิดแล้วต้องดับ
แต่ที่ท่านสอนให้รู้เรื่องสติก็เพื่อ หยุดยั้งการปรุงแต่ง

ถ้าเกิดการปรุงแต่งขึ้นไม่ยังไม่ใช่การดับที่แท้จริงครับ
ถึงแม้จิตดวงเก่าได้ดับไปแล้ว แต่มันยังเป็นเชื้อส่งต่อไปให้จิตดวงใหม่
ฉะนั้นการดับด้วยสติ ก็คือการดับด้วยวิชชา มันเป็นการดับแบบไม่เหลือเชื้อ
ให้ปรุงแต่งครับ

แล้วจะบอกให้อย่างครับ ไอ้"ทุกขัง"ที่คุณว่า กรุณาทำความเข้าใจเสียใหม่นะครับว่า
มันเป็นคนละตัวกับทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่ง

ทุกข์ในลักษณะไตรลักษณ์กับทุกข์ที่เกิดจากความไม่สบายกายไม่สบายใจ
มันคนละเรื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2011, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:เมื่อจิตเรียนและรู้ชัดตอนที่เห็นอารมณ์ เกิด.....ดับ ๆ ๆ ๆชัดมากกว่า เรียกว่าเห็นอนิจจังชัด
เมื่อจิตเรียนรู้และชัดตอนที่เห็นอารมณ์ทุกข์ หรือทนไม่ได้ ชัดกว่า เรียกว่าเห็นทุกขังชัด

เมื่อจิตเรียนรู้และชัดว่า ทั้งความเป็น ทุกขัง และ อนิจจัง ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ดั่งใจ
เห็นชัด รู้ชัดอย่างที่ 3 นี้ เรียกว่า เห็นอนัตตา ชัด
ผู้ภาวนา จะทำความชัดเจนใน อนิจจัง ทุกขัง หรืออนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่งงแล้วเกิด
ความเบื่อหน่ายคลายจางจะเกิดขึ้นแล้วละวางความเห็นผิด ยึดผิด ว่ากาย ใจ นี้ เป็นเรา เป็น ตัวตนหรืออัตตาก่อน

การเข้าถึงปัญญาที่แท้จริง ก็คือการที่จิตไปรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของธรรมชาติภายในจิต
แต่ที่คุณบอกมา มันไม่ใช่อาการที่จิตไปเห็น แต่มันเป็นการอธิบายถึงผลที่จิตไปเห็นการเกิดขึ้น
ตั้งอยู่และดับไป

อธิบายคร่าวๆให้ฟังครับ ปัญญาเกิดจากการรู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
เมื่อเกิดปัญญาแล้ว ทำให้เข้าใจถึงเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเอง
ดังนั้นสิ่งที่เราต้องพิจารณาให้เกิดปัญญา ก็คือการปฏิบัติให้รู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และดับไป ของธรรมชาติภายในจิต ไม่ใช่ไปหาไปพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

หลักอนิจจัง ทุกขังและอนัตตา มันเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติที่ผมกล่าวตอนต้น
มันเกิดหลังจากได้ปัญญาหรือ สัมมาทิฐิแล้วครับ

อนัตตาธรรม เขียน:
ความเบื่อหน่ายคลายจางจะเกิดขึ้นแล้วละวางความเห็นผิด ยึดผิด ว่ากาย ใจ นี้ เป็นเรา เป็น ตัวตนหรืออัตตา
เข้าถึง อนัตตา อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ เกิดขึ้น เข้าสู่พระนิพพานโดยประตูใดประตูหนึ่งใน 3 ประตูดังภาพที่ยกมาให้ดูข้างบน ซึ่งเป็นสิ่งที่โบราณจารย์ท่านสั่งสอนสืบกันมาแต่ครั้งก่อน

คุณอนัตตาธรรมครับผมขอแนะนำครับ ผมว่าคุณควรทำความเข้าใจกับปริยัติหรือการปฏิบัติเบื้องต้น
ให้ดีเสียก่อน อย่าพึ่งไปไปพูดหรือสนใจเรื่องประตูนิพพานที่คุณพูดเลยครับ
มันจะทำให้คุณหลงไปเสียเปล่า เอาแค่ความเห็นนี้คุณยังสับสนวกวนในเรื่องของ"สติ"
ในเรื่องเกิดดับอยู่เลยครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร