วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมทำผิดตรงใหนหรอ ผมแค่แสดงความคิดเห็นตามที่ผมได้ยินได้รู้มา ยอมอาจมีความผิดพลาดได้ส่วนที่ผมบอกว่าพระใช้ตาลปัดกันไฟก็เพราะผมได้ยินมาจากอาจารย์ท่านหนึ่ง ผมก็ตอบตามที่ผมได้ยิน แค่นี้ก็ยังถูกลบทิ้ง เวรกำจริงๆๆๆ Onion_R Onion_R

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่พ้นทุกข์
จากการที่ขันธ์ 5 เป็นที่ประชุมของทุกข์ ที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด บวกกับที่เกิดขึ้นใหม่สำหรับผู้ไม่ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง จึงมีการปรุงแต่ง เกิดกิเลส ตัณหา และอุปาทานในแต่ละวินาที นาที......จนกระทั่งตลอดจนถึงวันตาย การหมุนของปฎิจจสมุปบาทไม่รู้จบสิ้น
องค์ความรู้เรื่องอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค จึงเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา
องค์ความรู้ที่เป็นผล(นิโรธ) ซึ่งสัมพันธ์กับเหตุ(มรรค) การเรียงลำดับโดยให้มรรคอยู่ในส่วนสุดท้าย
แสดงให้เห็นว่า มรรคมีองค์ 8 ของปุถุชน กัลยาณชน และอริยชน มีระดับของความเข้าใจ โดยเมื่อเข้าถึงอริยชนแล้ว จึงถือว่ามีความเข้าใจในมรรค 100 %
หากย้อนกลับไปดูกระบวนการที่เกิดของความทุกข์ ตั้งแต่อายตนะภายนอกกระทบกับอายตนะภายใน เกิด
ผัสสะ และเวทนา พอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ ความรู้สึกดังกล่า่ว จะไปกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน
ประเภทเดียวกันกับเวทนานั้นๆ ไหลภายในเรือนกาย ตัวอย่างจะเห็นได้ัจากเมื่อคุณพบเห็นบุคคลที่เคยทำให้คุณเจ็บใจ คุณจะรู้สึกถึงความไม่พอใจเกิดขึ้นกับคุณ ในขณะเดียวกันภายในร่างกายจะเกิดความร้อนโดยเฉพาะตรงกลางหน้าอก และใบหน้า มือสั่น หายใจถี่ๆ นี้เป็นเป็นผลทางร่างกาย (อาสวะ)ที่เกิดจากเหตุคือ(กิเลส ตัณหา)ที่ปรุงแต่งทางใจ ซึ่งในทุก ๆ วินาที จะเกิดกระบวนการเหล่านี้และสะสม หลักสำคัญหรือหัวใจสำคัญอยู่ที่การปรุงแต่งของใจโดยไม่มีสติและสัมปชัญญ จึงเกิดกระบวนการของทุกข์ทั้งทางร่างกายซึ่งสัมพันธ์กับจิตใจ หากจะยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เสาหลักข้างหนึ่งเป็นใจ เสาอีกข้างหนึ่งเป็นร่างกาย กิเลส ตัณหา(ทุกข์ทางใจ) และอาสวะ(ทุกข์ทางกาย) เปรียบเสมือนเชือกเหนียวที่ผูกโยงระหว่างกายกับใจ ผู้ปฎิบัติเป็นผู้แก้เชือก บางคนแก้ที่เสาใจ บางคนแก้ที่เสากาย หมายถึงการกำหนดรู้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เชือกจึงพันกันยุ่ง ส่วนผู้ที่เข้าใจการวนของเชือก จึงแก้เชือกโดยวนกลับทั้งเสากายและเสาใจ คือการ
มีสติตามรู้สภาพธรรมของกายที่สัมพันธ์กับใจ จึงเป็นการรู้เหตุและผล การคลายรอบของทุกข์ที่เป็นนัยยะ
คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง
ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง
[b]ญาณทัสสนะ ฯ
[/b]




ชัดเจนนะ กับ เรื่องแสงสว่าง Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 13:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง ญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง ญาณทัสสนะ ฯ


:b13: ฮ๊าฮา ก็ สัญญา เป็นของ ไม่เที่ยง ชัดเจน กันนะเจ้าข๊ะ Onion_R

rolleyes rolleyes rolleyes

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ถกกันเรื่องแสงสว่าง....
ไม่ได้ถกเรื่องสัญญา....
Onion_R Onion_R Onion_R
:b28: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จะเอาสมถะหรือวิปัสสนาอย่างเดียวอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้หรอกครับ
หรือจะเล่นเอาปัญญาเพียวๆก็ไม่ได้เช่นกัน(ยังขาด ศีล สมาธิ ...วิมุติ วิมุติญาณทัศนะของแต่ละขั้นๆไป)
เมื่อแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาณเช่นกัน

ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่างขึ้นของข้อธรรมนะครับ :b1: :b46: :b46:

ถูกต้องแล้วครับว่า เวลาปฏิบัตินั้น สมถะและวิปัสสนาจะต้องไปด้วยกัน จะเอาแต่ปัญญาเพียวๆไม่ได้ สิกขานั้นจะต้องครบทั้ง ๓ ถึงจะมีการบังเกิดขึ้นของวิมุติ และวิมุติญาณทัศนะ :b38: :b37: :b39:

แต่ถ้าเคยพิมพ์ตรงไหนแล้วทำให้เข้าใจว่า วิสุทธิปาละเน้นแต่องค์ปัญญาอย่างเดียว รบกวนตัดมาให้ดูด้วยครับ จะได้ทำการแก้ไข wording ให้ถูกต้อง เผื่อมีผู้เข้าใจการสื่อความผิดไปอีก :b1: :b44: :b44:

(แต่ไม่ใช่ตัดมาท่อนสั้นๆโดยไม่ดูบริบทองค์รวมของเนื้อความทั้งหมด เหมือนเช่นที่นักวิจารณ์ นักคิด แต่ไม่ใช่นักปฏิบัติทางศาสนาบางกลุ่มกระทำกับคำเทศน์ของครูบาอาจารย์กันนะครับ เช่น ตัดเอาเฉพาะส่วนที่หลวงปู่สดท่านเทศน์เรื่องดวงแก้วมาอย่างเดียวแล้วบอกว่าหลวงปู่เอาแต่สมถะ แต่ไม่ไปเอาเนื้อความอื่นๆที่ท่านเทศน์เรื่องวิปัสสนามาด้วย ซึ่งเป็นการกล่าวตู่และไม่ยุติธรรมกับท่านเป็นอย่างยิ่ง) :b48: :b47: :b46:

ส่วนเรื่องการเปรียบเทียบปัญญาเป็นแสงสว่างนั้น ก็เป็นการเปรียบเทียบได้ถูกต้อง เพราะขณะเกิดปัญญา จิตจะเกิดความรู้แจ้งซึ่งเป็นความสว่างในดวงจิตที่กำจัดความมืดคือกิเลส ซึ่งเห็นได้ด้วยตาใน ไม่ใช่แสงสว่างที่เห็นได้ด้วยตาเนื้อ :b39: :b44: :b39:

แต่แสงสว่างแห่งปัญญานั้น เกิดขึ้นร่วมกัน และเนื่องจากปัญญา วิสุทธิปาละจึงได้เน้นในข้อความในโพสท์ก่อนหน้านี้ว่า :b46: :b46: :b46:

เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการเกิดขึ้นของปัญญา ไม่ใช่ศาสนาแห่งการเกิดขึ้นของแสงสว่างที่มีความหมายจำกัดอยู่แค่แสงโอภาสที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆไม่มีปัญญาเกิดร่วมในคำกล่าวนี้ :b39: :b39: :b41:

เพราะตอนที่พิมพ์ข้อความดังกล่าว ก็ตระหนักอยู่ในใจแล้วว่า คาถาที่คุณ FLAME ยกมาคือ “นัตถิ ปัญญา สมา อาภา แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี” มีอยู่ :b38: :b37: :b39:

(ขอบคุณคุณ FLAME ที่ยกมากล่าวโดยชอบด้วยครับ) :b8: :b46: :b46:

ถึงได้เขียนแจกแจงอย่างละเอียดต่อท้ายเพื่อกันประเด็นนี้ไว้ด้วย ลองอ่านข้อความดูดีๆอีกทีนะครับ และขอเน้นย้ำอีกครั้งเพื่อป้องกันผู้อ่านเข้าใจผิดว่า :b46: :b39: :b46:

เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการเกิดขึ้นของปัญญา ไม่ใช่ศาสนาแห่งการเกิดขึ้นของแสงสว่างที่มีความหมายจำกัดอยู่แค่แสงโอภาส “ที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆไม่มีปัญญาเกิดร่วมในคำกล่าวนี้”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สงสัยคงลืมขีดท่อนนี้นะครับอบรมจิตให้มีแสงสว่าง

ส่วนเรื่องอาโลกสัญญาที่ทำให้เกิดญาณทัศนะ แต่ไม่ได้ขีดเส้นใต้เน้นไว้ด้วยนั้น :b38: :b37: :b39:

(๑) เพราะต้องการขีดสันใต้เน้นให้ระวังเรื่องการ “หลง” (โมหะ - อวิชชา) “ไปติด” (นันทิ - ตัณหา) สุขในฌาน :b39: :b46: :b46:

(ย้ำอีกครั้งนะครับว่า สุขในฌานไม่ใช่ (วิปัสสนูป) กิเลส แต่ตัวกิเลสคืออวิชชา ตัณหา อุปาทาน ในตัวสุขของฌาน) :b48: :b49: :b48:

และขีดสันใต้เน้นเพิ่มเติมในส่วนที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวเป็นนัยยะว่า ประโยชน์ของฌานนอกจากเป็นเครื่องอยู่สุขในปัจจุบันแล้ว (ซึ่งพระพุทธองค์ก็ไม่ได้ห้าม แต่ให้ประกอบไปด้วยสัมมาทิฏฐิ ไม่ “หลง” ไปในทิฏฐิ ๖๒) แต่ยังมีประโยชน์อื่นที่ยิ่งกว่าโดยเฉพาะในส่วนท้ายสุดคือความสิ้นไปแห่งอาสวะ จึงขีดเส้นใต้เน้นเฉพาะประโยชน์ข้อแรกและข้อสุดท้ายของสมาธิภาวนา :b8: :b46: :b46:

และที่สำคัญกว่านั้น :b39: :b39:

(๒) ถ้าจะแบ่งแสงสว่างหรือดวงแก้ว ในส่วนของสมถะ อาจจะแบ่งคร่าวๆได้ ๒ ประเภทนะครับ คือ (๑) แสงสว่างในกสิณ ๔๐ เช่น อาโลกสัญญา เตโชธาตุ โอทาตกสิณ ซึ่งเป็นแสงสว่างที่ผู้ปฏิบัติ จงใจกำหนดขึ้น (มโนสัญญเจตนา) เพื่อเป็นดวงนิมิตในการทำสมถะ ซึ่งต่างจากประเภทที่ (๒) คือ โอภาส ซึ่งเป็นแสงสว่างหรือภาพนิมิต ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เมื่อจิตเกิดความสงบถึงจุดหนึ่ง :b47: :b48: :b47:

ตรงนี้ต้องแยกให้ดีนะครับ ถ้าแยกไม่ดีแล้วจะเข้าใจผิดไปไกล เพราะสิ่งที่กล่าวว่าเป็นวิปัสสนูปกิเลสนั้นคือ “การยึดถือ” (อุปาทาน) แสงสว่างที่เกิดขึ้นในประเภทที่ ๒ ว่าเป็นบุญเป็นปาฏิหาริย์ เป็นนิมิตของปัญญาหรือการหลุดพ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับแสงสว่างประเภทที่ ๑ เช่นอาโลกสัญญาที่ใช้ในการเพ่งกสิณหรือชักนำให้เกิดญาณทัศนะ :b39: :b39:

และไม่มีส่วนใดที่เขียนสื่อว่า แสงสว่างประเภทที่ ๑ คือกสิณนี้เป็นวิปัสสนูปกิเลส ห้ามเข้าไปเพ่ง เพราะวิสุทธิปาละเองก็เจริญอาโลกสิณเป็นประจำ (ถ้ามี รบกวนตัดมาให้ดูด้วยครับจะได้เข้าไปแก้ไขไม่ให้ท่านอื่นเกิดการตีความผิดเหมือนกันขึ้น) :b53: :b51: :b53:

(ในวรรคด้านบน ขอเน้นที่คำว่า “ยึดถือ” อีกครั้งนะครับ เพราะ ตัวโอภาสเองไม่ใช่วิปัสนูปกิเลส แต่ตัวกิเลสจริงๆคือการเข้าไป “หลง” (โมหะ อวิชชา) “พอใจยินดี” (นันทิ - ตัณหา) และ “ยึดถือ” (อุปาทาน) ในตัวโอภาส (ซึ่งอันที่จริงรวมไปถึงรูปนิมิตต่างๆด้วย ไม่เฉพาะแสงสว่างอย่างเดียว) เพราะตัวที่ก่อให้เกิดภพ ชาติ ชรามรณะ (คือตัวทุกข์) ในวงจรปฏิจจสมุปบาทสายเกิดนั้นคือ การ หลง - ติดใจ - เข้าไปยึดถือ (อวิชชา ตัณหา อุปาทาน) ในแสงสว่าง ไม่ใช่ตัวแสงสว่างเองที่เป็น (วิปัสสนูป) กิเลส) :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และถึงแม้ในส่วนของแสงสว่างประเภทที่ ๑ เช่นอาโลกสัญญาเองแล้ว ก็เป็นพียง “เครื่องมือ” ที่ให้เข้าถึงญาณทัศนะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ไม่เอาแสงสว่าง แต่แสงสว่างไม่ใช่จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายคือญาณทัศนะ ในคำกล่าวของพระพุทธองค์ :b8: :b46: :b44:

เช่นเดียวกับคำว่า เอโกทิภาวํ หรือที่แปลเป็นไทยว่า เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน ซึ่งถึงแม้ว่าอาจจะมีแสงสว่างผุดขึ้นด้วย แต่เป็นแสงสว่างในความหมายที่ใช้กำจัดความมืด ได้แก่ราคะ โทสะ โมหะ ตามข้อความในพระไตรปิฎก :b39: :b39:

ซึ่งแสงสว่างที่เข้าวาบมาไม่ใช่จุดหมาย จุดหมายคือ การมีองค์ธรรมคือสมาธิที่เป็นหนึ่งเดียวผุดขึ้น ได้แก่ เมื่อวิตก วิจารดับไป ทำให้สภาวะของการที่จิตมีอารมณ์เดียว ตั้งมั่นกว่า ไม่ฟุ้งซ่าน ผุดขึ้น :b39: :b42: :b42:

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และองค์ธรรมที่เป็นหลักคือสมาธิที่ตั้งมั่น กำจัดซึ่งกิเลสนิวรณ์ ไม่ใช่แสงสว่างที่ผุดขึ้นนั้นเป็นเป้าหมาย :b51: :b53: :b51:

ซึ่งสอบทานกลับไปที่พระไตรปิฎกและมติของอรรถกถาจารย์ก็ได้ความตรงกัน :b8: :b46: :b44:

(ลองกลับไปอ่านบทความก่อนหน้า ที่วิสุทธิปาละได้เพิ่มแทรกข้อความในพระไตรปิฎก และมติของอรรถกถาจารย์เพื่อเป็นการสอบทานสิ่งที่เขียนไปตรงนั้นและตรงนี้อีกทีนะครับ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471&start=197 :b46: :b46:

อย่าเข้าใจผิดกันนะครับ ไม่ต้องการเอาชนะคะคานอะไรเพราะเป็นเรื่องของอกุศลจิต แต่ต้องการเปิดของคว่ำให้หงายตามแนวทางและคำสอนของพระบรมครูเสริมด้วยการอธิบายความของอรรถกถาจารย์ผู้ทรงธรรม เผื่อผู้อ่านบางท่านจะได้ไม่ไปติดอยู่แค่แสงสว่าง เลยเข้าไม่ถึงตัวสมาธิที่เป็นเอกหรือญาณทัศนะที่ลึกกว่าเข้าไปได้ :b46: :b44: :b46:

เพราะถ้าเพ่งแสงสว่างและ/หรือมีแสงสว่างเกิดขึ้นแล้วยินดียึดมั่น (ตัณหา อุปาทาน) ในแสงสว่างอยู่นั่นแล้ว ก็ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปถึงสมาธิหรือญาณทัศนะขั้นสูงได้ ต้องข้ามผ่านแสงสว่างไปเสียก่อนอย่าไปยึดมั่นถือมั่น :b46: :b46:

เหมือนกับนักเดินทางที่เจอป้ายเข้าเขตจังหวัดเชียงใหม่แล้วมัวแต่ยืนเกาะป้ายอยู่ ก็จะไม่สามารถเข้าไปสัมผัสถึงความงดงามที่แท้จริงของเมืองเชียงใหม่ได้ดุจเดียวกัน :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับโอภาส ขอยกเอาคำเทศน์ของหลวงปู่ดูลย์มาย้ำเพื่อให้เกิดปัญญากันอีกครั้งนะครับ :b8: :b46: :b44:

ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง
หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้
ลูกศิษย์ : ดับยังไง
หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย
ลูกศิษย์ : ครับ
หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้

ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม
หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง
ลูกศิษย์ : อ๋อ
หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น
เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลง
จิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต [เสียงไม่ชัด ~12:50] มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น
แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว

ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ
หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง
ลูกศิษย์ : อ๋อ
หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด
ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ
หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง
ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม
หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง
อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง [เสียงไม่ชัด~13:38] มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย
แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค
หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย

ที่มา : http://www.fungdham.com/download/sound/dul/06.mp3

และขอกล่าวย้ำข้อความทำนองนี้อีกทีนะครับว่า :b1: :b46: :b46:

แม้กระทั่งตัวญาณทัศนะ หรือตัวปัญญาความรู้ชัดเอง พระบรมครูท่านยังไม่ยึดมั่นถือมั่น ...

จะป่วยการกล่าวไปใยเล่าถึงแสงสว่าง


ขอให้เข้าใจในแสงสว่าง และใช้แสงสว่างให้เป็นนะครับ แต่อย่าไปยึดไปแบกเอาไว้ เพราะการยึดการแบก คือตัวอุปาทานที่เป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดภพเกิดชาติ หมักหมมเป็นภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะจนเกิดวงจรแห่งทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด :b46: :b46: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนข้อความที่ว่า :b49: :b50: :b49:

อ้างคำพูด:
ดังนั้น ฌาณที่เป็นกุศลจิตฌาณ จึงไม่ใช่มิจฉาทิฐิ ตามที่คุณวิสุทธิปาละกล่าว ยกเว้น ฌาณที่เป็นอัพยาๆ และอกุศลฌาณครับ

ตรงนี้คงเข้าใจการสื่อความไม่ตรงกับที่ต้องการจะสื่ออีกแล้วละครับ :b5: :b46: :b46:

(สงสัยความสามารถในการสื่อความของวิสุทธิปาละอาจจะบกพร่อง เห็นทีว่าคงจะต้องจำกัดการเขียนในเรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยากให้น้อยลง เพราะการไม่เขียนน่าจะดีกว่าเขียนแล้วมีการตีความผิดเข้าใจผิด ซึ่งจะเป็นอกุศลกันไปแทนที่จะได้กุศลและเกิดปัญญา)

ฌานที่เป็นกุศล โดยฌานปัจจัย ที่เป็นปัจจัยให้แก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป เป็นสัมมาทิฏฐิครับ :b1: :b46: :b46:

แต่ส่วนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือการ “หลง” (โมหะ อวิชชา มิจฉาทิฏฐิ) เข้าไป “พอใจ” (นันทิ ตัณหา) และ “ยึดถือ” (อุปาทาน) เอาความสุขสงบในฌาน เป็นนิพพาน ตามพุทธพจน์ที่ยกบางส่วนมาให้ดูด้านล่างในทิฏฐิ ๖๒ พรหมชาลสูตร เกี่ยวกับการ “หลง” ไป “ยึดถือ” เอาสุขสงบอุเบกขาในฌาน ๓ หรือ ๔ เป็นนิพพาน ซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒ ข้อสุดท้ายที่พระบรมครูไม่ทรงสรรเสริญ

๖๑. (๔) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ทุติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยยังมีปีติเป็นเหตุให้จิตกระเหิมอยู่ เพราะ
อัตตานี้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติเสวยสุขอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอัน
บรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบัน เป็นธรรม
อย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.


๖๒. (๕) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ตติยฌานนั้น ท่านกล่าวว่าหยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึงสุขอยู่ เพราะอัตตานี้บรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุข ละทุกข์ และ
ดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ อย่างนี้.


พรหมชาลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=0&Z=1071&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเน้นย้ำอีกครั้งนะครับว่า ฌาน หรือสุขในฌาน ไม่ใช่ (วิปัสสนูป) กิเลส :b1: :b46: :b46:

ตัวกิเลสที่แท้จริงคือคือการ “หลง” (โมหะ อวิชชา) เข้าไป “พอใจยินดี” (นันทิ - ตัณหา) และ “ยึดถือ” (อุปาทาน) ในสภาวะสุขสงบของฌาน และมากกว่านั้นคือการมีมิจฉาทิฏฐิว่า สุขสงบในฌานคือนิพพานที่แท้จริง

เพราะตัวที่ก่อให้เกิดภพ ชาติ ชรามรณะ (คือตัวทุกข์) ในวงจรปฏิจจสมุปบาทสายเกิดนั้นคือ การ หลง - ติดใจ - เข้าไปยึดถือ (อวิชชา ตัณหา อุปาทาน) ในสุขสงบ ไม่ใช่ตัวฌานหรือตัวความสุขสงบเองที่เป็น (วิปัสสนูป) กิเลส :b38: :b37: :b39:

ปฏิจจสมุปบาทมีความละเอียดลึกซึ้งมากนะครับ ถ้าตีความและเข้าใจว่าอะไรคืออวิชชา อะไรคือกิเลสตัณหา อะไรคืออุปาทานที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดภพ จนเกิดอุปาทานขันธ์คือชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ ฯลฯ ผิดไปแล้วละก็ แนวทางการปฏิบัติอาจจะผิดเพี้ยนไปได้มากมายจริงๆ และติดค้างอยู่ที่ใดที่หนึ่ง หลงทางไปต่อไม่ได้ พลาดจากอริยมรรคไปอย่างน่าเสียดาย :b46: :b39: :b46:

หวังว่าคงทำให้เข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อได้มากขึ้นไปอีกนะครับ :b1: :b44: :b39: :b46:

เรื่องวิปัสสนูปกิเลสที่เกี่ยวกับการ "หลง" ไปติดสุขในฌานและอาโลกธาตุคงพอแค่นี้ ถ้ายังไม่ clear วิสุทธิปาละก็จนใจ และคงต้องใช้พรหมวิหารข้อสุดท้ายคืออุเบกขาแล้วละครับ เพราะพระบรมครูทรงสอนไว้ว่า

“โลกมีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุต่างกัน ในโลกที่มีธาตุเป็นอันมาก มีธาตุ
ต่างกันนั้น สัตว์ทั้งหลายยึดธาตุใดๆ อยู่ ย่อมยึดมั่นธาตุนั้นๆ ด้วยเรี่ยวแรงและ
ความยึดถือ กล่าวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์
ทั้งหมด จึงไม่มีวาทะเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีศีลเป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีฉันทะ
เป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีความปรารถนาเป็นอย่างเดียวกัน ... ฯ”

สักกปัญหสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5727&Z=6256&pagebreak=0


เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
เนื่องจากปรากฎการของการกระทบจากอายตนะ
ภายนอกกับภายในทุกขณะจะก่อให้เกิดความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ และเฉยๆ (มาจากอนุสัย) อารมณ์
เหล่านี้จะส่งสัญญาณไปที่ต่อมใต้สมอง หลั่งสารอินทรีย์เคมีประเภทที่สัมพันธ์กัน เช่นพอใจคู่กับเอ็นโดฟิน ไม่พอใจคู่กับอดีนารีน ถ้าเฉยๆไม่มีสติรู้ก็เนสารประเภทโมหะ(ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร) สารเหล่านี้จะไหลเอิบอาบไปในร่างกายและกระแสโลหิต

ตรงนี้น่าสนใจมากครับ (ขอโทษด้วยนะครับที่ไม่ตัดมาทั้งหมด) :b8:

ตามสภาวะความเป็นจริงนั้น กายกับใจนั้นแยกกันอยู่ แต่ทำงานร่วมกันโดยมีใจเป็นใหญ่ เมื่อเกิดผัสสะแล้วกายและ/หรือใจเป็นสุข (สุข โสมนัส เวทนา) แล้วร่างกายหลั่งสาร endorphins (endogenous morphine) หรือเมื่อเกิดผัสสะแล้ว กายและ/หรือใจเป็นทุกข์ (ทุกข์ โทมนัส เวทนา) แล้วร่างกายหลั่งสาร adrenaline (epinephrine) :b38: :b37: :b39:

ตรงนี้เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติตามเหตุปัจจัย ยังไม่มีกุศลอกุศล แต่เมื่อใจขาดสติ หลง (โมหะ) ไปติดเพลิน (นันทิ กาม ภวตัณหา) หรือรังเกียจ (วิภวตัณหา นำให้เกิด โทสะ) จนยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ขั้วต่อตรงนี้จึงเป็นปัจจัยผลักดัน ส่งต่อให้เกิดภพ และทุกข์อุปาทานขันธ์ คือ ชาติ ชรามรณะ ฯลฯ สะสมหมักดองเป็นกามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ ซึ่งเป็นแหล่งเกิดของอวิชชาต่อเนื่องกันไป :b1: :b38: :b37: :b39:

กลับมาที่สารต่างๆในร่างกายที่คุณ suttiyan กรุณาโพสท์มาอีกครั้งครับ :b46: :b46:

สำหรับนักปฏิบัติที่สามารถแยกธาตุแยกขันธ์ แยกกายแยกใจได้แล้ว (นามรูปปริเฉทญาณ) ถ้าสังเกตดีๆ ขณะที่โกรธในทุกข์โทมนัส หรือดีใจในสุขโสมนัสและตามรู้ทันนั้น สภาวะโกรธหรือดีใจในจิตจะดับลงไปให้เห็นก่อน คือสแกนเข้ามาในจิตแล้วจะเห็นจิตที่นิ่งตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู แต่สภาวะทางกายจะใช้เวลานานกว่ากัน เพราะการที่ร่างกายจะกำจัดสารต่างๆที่หลั่งออกมาแล้วให้ลดลงและหมดไปได้นั้น จะใช้เวลาพอสมควร ซึ่งต่างจากจิตที่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้เร็วกว่า :b39: :b46: :b46:

ดังนั้น เราจะสังเกตเห็นจิตที่นิ่ง แต่ร่างกายมือไม้ยังสั่น หน้ายังแดง หัวใจยังเต้นตุบตับ ลมหายใจยังไม่เข้าสู่สภาวะราบเรียบสม่ำเสมอ เมื่อหลงไปโกรธหรือดีใจแล้วมีสติกลับมาตั้งมั่น ดูสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกลาง :b1: :b46: :b39: :b46:

เหมือนกับการที่เราออกกำลังกายแล้วพัก กว่าร่างกายจะปรับตัวกลับมาสมดุลได้ใหม่นั้น คงต้องใช้เวลาพอสมควรนะครับ :b1: :b46: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 00:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 13:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ถกกันเรื่องแสงสว่าง....
ไม่ได้ถกเรื่องสัญญา....
Onion_R Onion_R Onion_R
:b28: :b32:


:b13: ฮาฮา ท่านหลับอยู่ อ่านหนังสือไม่แตก นะเจ้าข๊ะ
ปฏิบัติก็ไม่ฉาน ยก พระไตรปิฏกมา ก็มั่วแหลกลาน

แสงสว่าง นั้น เกิดขึ้นเพราะ ตั้งสัญญา
จิต ชนิดนั้นจึงถูก หุ้มห่อ ด้วย แสงสว่างจอมปลอม เท่านั้นเอง เจ้าข่ะ

ฮานะ บอกแล้วไง ให้ ท่านหลับอยู่ ไป ศึกษา ปฏิบัติ มาใหม่
แล้วค่อย มาฮ๊าฮา ฮ๊าฮา... rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 09:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมผู้ใคร่ความหลุดพ้น
สติ และสัมปชัญญะ สำหรับสติเรามักจะพูดถึงกันมาก แต่สัมปชัญญะซึ่งเป็นองค์ของปัญญาเรามักไม่ค่อยได้ยินหรือพูดถึงกัน ทั้งๆที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับสัมปชัญญะ(การรู้ตัวทั่วพร้อม) มีนัยยะในตัวเอง
และเป็นการป้องกันการเพ่งในจุดใดจุดหนึ่ง(รู้อย่างที่ต้องการจะรู้) แต่อย่างไรก็ตามผู้ปฎิบัติใหม่ จำเป็นต้องหาจุดวางของจิต เมื่อถึงระดับหนึ่งแล้วก็ต้องรู้จักการปล่อยวางบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจในวิธีการปฎิบัติเนื่องจากการเพ่งถึงแม้จะทำให้เกิดสมาธิ แต่ก็จะเกิดการติดยึดเนื่องจากความต้องการที่จะดำรงไว้ ณจุดที่วางจิต ก็เป็นลักษณะของตัณหาด้วยเหมือนกัน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิฺ ปัญญาสมา อาภาิิ ...แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
ปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต...ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 15, 16, 17, 18, 19, 20, 21 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร