วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 11:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 12:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ธรรมเอก ดวงธรรม ดวงพุทโธ ก็ดวงเดียวกันนั้นแหละอยู่ที่ว่าระดับไหนขั้นไหน
ธรรมกาย ก็ธรรมกาย ดวงธรรมก็ดวงธรรม....ตัวกับธรรม คนละนัยกันเพราะ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว
ได้ดวงพุทโธหรือดวงปฐมมรรคก็ไม่ใช่ว่าจะเสร็จกิจจบอรหันต์


ยังอีกนานนะ ฮานะ ไปใช้กรรมจากการกดแป้นพิมพ์ด้วยทิฐิทรามในนรกก่อนอีกหลายกัลปป์


ฮ๊าฮา ยังฮาได้อีก นะเจ้าข๊ะ

พุทโธ ผู้ตื่น

ดวงพุทโธ ไม่จำกัดกาล
แต่ อีกนาน นั่นมัน ดวงหลับอยู่ นะเจ้าข๊ะ

ฮ๊าาาาาฮา นะ นะ นะ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 12:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
พรามณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่เท่านั้น ที่ธรรมทั้งหลายจะปรากฎแก่พราหมณซึ่งจะหมดความสงสัยและสิ้นไป
เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งเหตุ
การเพ่งต้องถูกส่วน(ศึกษาต่อที่พระพุทธองค์ทรงสอนพระอนุรุทธะ)


:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ

ฐาน พุทโธ ก็อยู่ที่ พุทโธ นะเจ้าข๊ะ
แต่ ผู้หลับอยู่ ก็มัวแต่ไปเพ่งแถวๆ สะดือ ละน๊ะ

การเพ่งต้องถูกส่วน นะเจ้าข๊ะ
สะดือ มันไม่ใช่ พุทโธ
กลับไปหา พุทโธ ให้เจอซะก่อน เถอะ นะเจ้าข๊ะ

แล้วค่อยมา ฮานะ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า ไม่ควรกลัวการติดสุขจากฌาณ ผมว่าใครคิดจะแต่งหนังสือธรรมะออกวางเนี่ย เลิกซะเถอะครับ

อืม งั้นอุทะปาทิอาโลโก.... คงเป็นวิปัสนูปกิเลสด้วยสินะ ตู่พุทธพจน์ชัดเจน

หัดสวดธรรมจักรกัปวตนสูตร....ซะมั่งนะ

วิสุทธิปาละอาจจะอธิบายไม่ clear เลยทำให้เกิดการมองต่างมุมนะครับ :b1: :b46: :b46:

เท่าที่จำได้ ไม่เคยพิมพ์คำว่า ให้กลัวการติดสุขในฌาน หรืออะไรทำนองนี้เลยนะครับ เพียงแต่สื่อว่า ให้ผู้ปฏิบัติมีสัมมาทิฏฐิ ไม่ “หลง” ไปติดสุขในฌานซึ่งเป็นวิปัสสนูฯแล้วละทิ้งการปฏิบัติไปเสีย :b38: :b37: :b39:

โดยคำว่า “กลัว” กับคำว่า “มีสัมมาทิฏฐิ ไม่หลง” ก็มีความหมายต่างกันอย่างยิ่ง และคำว่า “หลง” ก็หมายถึงการมีโมหะมีอวิชชาหรือมิจฉาทิฏฐิว่าสุขในฌานคือนิพพานแท้แล้วหยุดการปฏิบัติ ซึ่งพระบรมครูตรัสไว้ชัดเจนในพรหมชาลสูตร (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งตรงนี้ ไม่ใช่ฌานที่น่ากลัว แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิที่น่ากลัว :b51: :b53: :b51:

ขอย้ำอีกทีว่า สิ่งที่ต้องการสื่อคือ การเข้าถึงฌาน มีประโยชน์มากมาย แม้กระทั่งใช้เป็นเครื่องอยู่สุขในปัจจุบันหรืออภิญญาต่างๆ :b50: :b49:

แต่ต้องใช้ด้วยการมีสัมมาทิฏฐิกำกับด้วยว่า ฌานไม่ใช่นิพพานแท้ ผู้ใดที่ปฏิบัติจนได้ฌาน ไม่ควรไปติดอยู่แค่ฌาน หรือเข้าใจว่าสุขสงบในฌานคือนิพพานที่แท้จริง หรืออย่างเบาก็มีความเห็นว่า แค่สุขในฌานก็พอเพียงแล้วในชาตินี้เพราะนั่นคือความเสื่อมใหญ่ :b47: :b48: :b49:

แต่ควรมีสัมมาทิฏฐิอาศัยบาทฐานของฌานสมาธิภาวนา เพื่อประโยชน์ ๔ อย่างโดยเฉพาะเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายตามพุทธพจน์และอรรถกถาที่ยกมาให้พิจารณากัน :b38: :b37: :b39:

ซึ่งถ้าเข้าใจว่าสุขสงบในฌานเป็นนิพพานและไปติด หยุดการปฏิบัติต่อแล้ว อันนี้เป็นวิปัสสนูปกิเลส ออกนอกฌานมาก็ยังมีโลภโกรธหลง ซึ่งนักบวชสมัยพุทธกาลมาติดอยู่ที่ตาข่ายดักพรหมนี้เป็นอันมาก :b44: :b44: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระบรมครูถึงได้อุทานหลังตรัสรู้ใหม่ๆว่า ดาบสที่พระองค์คิดจะไปโปรดทั้งสองท่านแรกนั้นถึงความเสื่อมใหญ่ คือเสื่อมจากทางไปนิพพานของแท้เสียแล้ว เพราะกระทำกาละไปเกิดเป็นพรหม ห่างจากนิพพานของแท้ไปอีกหลายกัลป์ทั้งๆที่มีโอกาสอันดีอยู่ใกล้นิพพานของแท้แค่เอื้อมแต่ไม่รู้หนทางที่จะบรรลุ :b40: :b48: :b47:

ซึ่งถ้าพระพุทธองค์ชี้ทางให้เพียงนิดเดียว และหันมาใช้ฌานเป็นบาทฐานวิปัสสนาต่อ ก็จะบรรลุธรรมได้รวดเร็วฉับพลันเป็นอย่างยิ่ง ไม่ต้องไปติดตาข่ายเป็นพรหมอีกหลายกัลป์ ซึ่งเมื่อหลุดจากพรหมแล้วก็ต้องกลับมาเวียนว่ายต่อ ยากที่จะมีโอกาสกลับมาเจอพุทธศาสนาอีก ซึ่งถ้าเผลอไผลไปทำกรรมผิดประเภทหรือกรรมเก่าตามมาทัน อาจจะหลุดลงไปในอบายภูมิอีกหลายภพหลายชาติก็ได้ :b1: :b46: :b46:

ตรงนี้แหละครับคือความเสื่อมใหญ่ คือความน่ากลัว ซึ่งไม่ใช่ฌานที่น่ากลัว แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิต่างหากที่น่ากลัว :b46: :b47: :b46:

และนั่นคือจุดประสงค์ของการสื่อความนะครับ หวังว่าคงชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์กับทั้งผู้ได้ฌาน และไม่ได้ฌาน

และสำหรับท่านที่ไม่ได้ฌาน ให้เพียรทำให้ได้ก่อนถ้ามีพื้นฐานเหมาะสมเพราะเป็นทางหนึ่งที่ทำให้บรรลุธรรมได้รวดเร็ว :b44: :b43: :b42:

แต่เมื่อไปเจอสภาวะสุขสงบในฌาน ด้วยการที่เป็นผู้ศึกษาพุทธธรรมมาอย่างดีแล้ว ก็จะได้รู้ว่ามีหลุมพรางต่างๆ ไม่ก้าวเดินไปติดกับดัก และไม่หยุดในการเพียรปฏิบัติต่อเมื่อพบเจอสุขสงบ อีกทั้งยังสามารถใช้สุขสงบในฌานนั้นเป็นเครื่องอยู่สุขในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมวิหาร) ได้โดยไม่มีโทษ คือไม่หยุดเพียรปฏิบัติต่อด้วยนะครับ :b1: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเรื่องแสงสว่างในบทธัมมจักกัปปวัตนสูตรที่ว่า :b8: :b46: :b39:

อิทํ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจนฺติ เม ภิกฺขเว ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขุ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญญฺา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ

ขอยกเอาคำเทศน์ขององค์หลวงปู่สดมาประกอบคำของพระบรมครูด้วยอีกท่อนหนึ่งครับ :b8: :b46: :b44:

ขอบคุณ http://www.watpaknam.org/content.php?op=dsn_1

“... เมื่อระลึกถึงพระบาลีในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรที่ว่า “ จกฺขํ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิฯ ”

จึงทำให้แลเห็นความว่า คุณวิเศษทั้ง ๕ อย่าง ดังบาลีที่ยกขึ้นกล่าวนี้ จะเป็นความหมายแห่งคำว่า พุทฺโธ กล่าวคือ จกฺขํ ญาณํ ปญฺญา วิชฺชา อาโลโก ทั้ง ๕ อย่าง นี้ประมวลเข้าด้วยกันรวมเป็นคำแปลของคำว่า พุทฺโธ

หรือจะแปลให้สั้นเข้าไปอีก คำว่า พุทฺโธ ก็ยังต้องแปลว่า ทั้งรู้ทั้งเห็น ไม่ใช่รู้เฉยๆ อาศัยคำว่า จกฺขํ ญาณํ ในบาลีที่ยกขึ้นกล่าวมานั้นเป็นเครื่องประกอบ

ยิ่งกว่านั้นยังมีคำว่า ชานตา ปสฺสตา ฯ ในมหาสติปัฏฐานสูตรอยู่อีก ซึ่งเป็นเหตุสนับสนุนว่า ที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นไม่ใช่รู้เฉยๆ เป็นทั้งรู้ทั้งเห็น ...”
:b8: :b46: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ขอโน๊ตไว้ตรงนี้หน่อยครับว่า จากคำเทศน์ขององค์หลวงปู่ท่าน ก่อนหน้าท่อนนี้จะมีการกล่าวถึงการพิจารณาอริยสัจจ์ของกายต่างๆ :b49: :b50:

และถ้าอ่านต่อไปอีกหน่อย จะเจอในส่วนที่ว่า “ในระหว่างเข้าฌานนั้น ตั้งแต่ ๑ ถึง ๘ นั้น ตาธรรมกายดูทุกขสัจ เห็นชัดแล้ว ดูสมุทัยสัจ เห็นชัดแล้วดูนิโรธสัจ เห็นชัดแล้วดูมรรคสัจ” ซึ่งเป็น key word ที่สำคัญมากๆ :b8: :b46: :b44:

จะเห็นได้ว่า องค์หลวงปู่ท่านสอนให้ใช้วิธีเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปตามมรรค ๔ ข้อที่ ๓ ในคำขององค์พระอานนท์ จนเกิดคุณวิเศษ ๕ อย่าง ท่านไม่ได้เน้นที่ดวงปฐมมรรคหรือดวงใสในกายทิพย์ที่หมายถึงตัวดวงแก้วซึ่งเป็นสมถะอย่างเดียว แต่ให้ดูอริยสัจที่เกิดขึ้นระหว่างฌาน (กาย) ต่างๆตามไปด้วย หรือถ้าจะดีก็ต้องเข้าให้ถึงธรรมกาย (กายธรรมโคตรภู) แล้วพิจารณาอริยสัจจ์ คือดูการหยุดในหยุด หยุดดับหยาบไปหาละเอียด :b1: :b39: :b39:

ซึ่งถ้าทำถูกส่วนแล้วจะเห็นการหยุดของการปรุงแต่ง (อเนญชาภิสังขาร) ในจิต คือเห็นกายละเอียดลงไปเรื่อยๆไล่ตั้งแต่กายรูปพรหมในฌาน ๑ จนถึง ฌาน ๔ ไปต่อที่กายอรูปพรหมในฌาน ๕ จนถึงฌาน ๘ (ซึ่งก็คืออรูปฌานที่ ๑ – ๔) ไปถึงธรรมกายที่เป็นกายที่ ๕ (หรือ ๙ และ ๑๐, นับอย่างละเอียด) ซึ่งในแต่ละการหยุดถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นการเคลื่อนของจิตในการหยุดก่อนหน้า (หยุดหยาบ) เข้าไปสู่การหยุดที่หยุดยิ่งกว่าในฌานที่ลึกขึ้น (หยุดละเอียด) :b46: :b39: :b46:

ซึ่งตรงนี้คือการเห็น ทุกข์ ซึ่งก็คือการบีบคั้นของจิตที่ยังปรุงแต่งในการหยุดก่อนหน้า เทียบกับการหยุดที่นิ่งกว่าในองค์ฌานที่ลึกลงไป นั่นคือการเห็นใน นิโรธ คือจิตที่มีความปรุงแต่งน้อยกว่า ปราณีตกว่าในองค์ฌานถัดลึกลงไปอีก

ซึ่งจิตจะอ๋อเองอีกว่า เพราะยังเหลือซึ่งการปรุงแต่ง (สมุทัย) ของการหยุดหยาบในฌานก่อนหน้า จึงทำให้การหยุดก่อนหน้านั้นยังมีทุกข์คือการบีบคั้น (ที่องค์พระสารีบุตรใช้คำว่า อาพาธ) อยู่ และวิธี (มรรค) ที่จะทำให้นิโรธปรากฏ ซึ่งก็คือ การหยุดในหยุด (ที่องค์หลวงปู่ดูลย์ใช้คำว่า จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง คือการเอาจิตมาหยุดรู้อยู่ที่จิต) เพื่อให้การปรุงแต่งจิตน้อยลงไปเรื่อยๆ ... :b1: :b46: :b46:

แค่นี้ก่อนนะครับ คำธรรมะของครูบาอาจารย์ ถ้าแยกเอาบัญญัติและเปลือกทิ้งออกไป จะเห็นแก่นที่เป็นแก่นเดียวกันทั้งสิ้น แต่ชนส่วนมากมักจะไปติดอยู่แค่เปลือกกัน ... :b5: :b2: :b41:

แล้วไว้ว่างๆจะยกเอาข้อธรรมขององค์หลวงปู่สดมาแจกแจงเพิ่มเติม ซึ่งถ้าข้ามผ่านเปลือกคือดวงแก้วในส่วนของสมถะไปได้แล้ว ก็จะเข้าถึงปัญญาญาณขององค์หลวงปู่ได้อย่างชัดเจน :b46: :b46:

และชนทั้งหลายที่ยังสงสัย จะกราบท่านได้อย่างสนิทใจทีเดียว) :b8: :b46: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่บทธรรมจักรฯในคำเทศน์ของหลวงปู่ด้านบน :b1: :b46: :b46:

ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าและองค์หลวงปู่ท่านไม่ได้ระบุเพียงแค่แสงสว่าง (อาโลโก) แต่ท่านยกมาทั้ง ๕ อย่าง และต้องเรียงลำดับตามนี้ ไม่เกิดสลับที่กัน :b1: :b46: :b39:

ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่คุณหลับอยุ่ตัดมาจากบทธัมมจักกัปปวัตนสูตรที่ว่า :b39: :b39:

“ จักขุงอุทะปาทิ ญาณังอุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ วิชชาอุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ”

และนั่น เป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่งแล้วครับที่ตัดคำพระพุทธเจ้ามาครบทั้งท่อน ไม่ตัดเฉพาะท่อนอาโลโกมา

เพราะในขั้นตอนการบรรลุมรรคผลนั้น อาการที่ปรากฏไม่ใช่มีเฉพาะแสงสว่าง (อาโลโก) อย่างเดียว แต่มีทั้งจักษุ (ที่เห็นแจ้ง), ญาณ, ปัญญา, วิชชา (ความรู้แจ้ง ความหมดไปแห่งอวิชชา), และต่อท้ายด้วยแสงสว่างอย่างไม่มีประมาณ :b1: :b39: :b39:

วิสุทธิปาละจึงเน้นว่า ถ้ามีแต่แสงสว่างปรากฏอย่างเดียวและเข้าใจว่าตนบรรลุธรรมแล้ว โดยไม่มีส่วนที่สำคัญกว่าเกิดขึ้นก่อน คือ เกิดจักษุ เห็นใน (วิปัสสนา) ญาณ จนเกิดปัญญา ละอวิชชา ตามลำดับขั้นด้วยแล้ว แสงสว่างที่เห็นนั้นคือ วิปัสสนูปกิเลส :b1: :b46: :b46:

(ลองกลับไปอ่านอีกทีดีๆนะครับ ตรงนี้ไม่มีการกล่าวตู่พุทธพจน์เลย ข้อกล่าวหาดังกล่าวนี้ ถ้าจะกล่าวกับผู้อื่นแล้ว ถือว่าหนักมากจริงๆ Avartar ที่สมมติชื่อว่าวิสุทธิปาละในโลก cyber นี้คงแบกไม่ไหวจึงไม่ขอเข้าไปแบก :b1: :b46: :b46:

และจริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรที่จะต้องให้แบกเพราะผู้แบกไม่มี และไม่มีเหตุที่จะแบก หรือเกิดตัวผู้แบก นั่นคือไม่ได้มีการก้าวล่วงพุทธพจน์ในประเด็นดังกล่าวด้วยนี่นะครับ ซึ่งโดยปรกติแล้วสมมติตัวตนนี้เคารพพระบรมครูอย่างสุดหัวใจ แต่อย่างที่ออกตัวไว้ว่า อาจจะอธิบายไม่ clear ทำให้มีการตีความต่างมุมกันไป) :b1: :b48: :b49:

ดังนั้น วิสุทธิปาละจึงย้ำไว้ในโพสท์ที่แล้วอีกว่า ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นแสงสว่างหรือลูกแก้วใส (โอภาส) และไปยึดเอาว่า นั่นคือภาวะของการรู้แจ้งแล้ว ให้ลองสอบทานกลับไปด้วยว่า มีญาณในส่วนของวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นก่อนตามลำดับด้วยหรือไม่ ถ้าไม่มีวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นครบ ก็แสดงว่ายังไม่ได้รู้แจ้ง แต่เป็นวิปัสสนูปกิเลสที่แทรกเข้ามาระหว่างการปฏิบัติ :b1: :b45: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 14 ต.ค. 2014, 12:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ซึ่งในส่วนของวิปัสสนาญาณ วิสุทธิปาละก็ว่าตามสิ่งที่พระบรมครูกล่าว และองค์หลวงปู่สดท่านเทศน์เป็นแนวไว้ในกัณฑ์เทศน์เดียวกัน แต่ชนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยแค่ลูกแก้วหรือดวงใส ไม่เห็นไปถึงภูมิวิปัสสนาญาณขององค์หลวงปู่ คือการพิจารณาอริยสัจจ์ในองค์ฌาน) :b1: :b39: :b39:

และถ้าจะรู้แจ้งใน shot สุดท้ายจริงๆแล้ว จะต้องผ่านวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ เกิดความเบื่อหน่ายสุดๆในขันธ์ จนคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งหลายลงได้ เมื่อนั้นจึงเกิดปัญญาจักษุ (จกฺขุ อุทปาทิ ที่หลวงปู่ใช้คำว่า “ตาธรรมกาย”) เห็นในสัจจานุโลมมิกญาณ (ญาณํ อุทปาทิ) คือการพิจารณาอริยสัจจ์ตามที่องค์หลวงปู่เทศน์ ด้วยกายธรรมโคตรภูละเอียด (ซึ่งใน shot สุดท้ายนั้น จิตจะพิจารณาของเขาเองโดยไม่จงใจคิดพิจารณา) :b1: :b46: :b46:

เมื่อนั้นจึงจะเกิดปัญญา (ปญญฺา อุทปาทิ) รู้แจ้งในอริยสัจจ์ในช่วงของมรรคญาณ กำจัดซึ่งอวิชชาและเกิดการปรากฏของวิชชา (วิชฺชา อุทปาทิ) ต่อจากนั้นจึงจะเกิดแสงสว่างขึ้นในจิตอย่างไม่มีประมาณในช่วงผลญาณ (อาโลโก อุทปาทิ) คือช่วงที่จิตทิ้งความยึดติดในขันธ์ทั้งปวงสลัดคืนสู่ธรรมชาติ โปร่งโล่งเบาลอยแผ่ออกไปสว่างไสวอย่างไม่มีประมาณ โดยน้อมเอาภาวะนิพพานเป็นอารมณ์ ตามลำดับไม่สลับที่ ก้าวเข้าสู่กายพระโสดา, สกทาคา, อนาคา, หรืออรหัต (ตามบัญญัติภาษาขององค์หลวงปู่) แล้วแต่การบรรลุมรรคผลในแต่ละขั้น :b1: :b44: :b44:

ซึ่งการเกิดขึ้นของคุณวิเศษทั้ง ๕ ตามลำดับไม่สลับที่ ตรงกับสิ่งที่พระบรมครูทรงเรียงไว้อย่างดีแล้วในบทธัมมจักรฯนั่นแหละครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

อย่างไรก็ตาม ขอโน๊ตทิ้งท้ายไว้นิดนึงว่า ถ้าจะบูรณาการด้วยความรู้ในโลกสมัยใหม่ด้วยแล้ว การเกิดขึ้นของแสงสว่าง เป็นแค่ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator – KPI) ตัวหนึ่งเท่านั้นของการบรรลุธรรม มีการเกิดขึ้นจริง แต่ไม่ใช่สภาวะทั้งหมด (necessary, but not sufficient) และไม่ใช่ตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายหลักจริงๆอย่าง จักษุ โดยเฉพาะ ญาณ ปัญญา วิชชา นะครับ :b1: :b39: :b46:

เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการเกิดขึ้นของปัญญา ไม่ใช่ศาสนาแห่งการเกิดขึ้นของแสงสว่างที่มีความหมายจำกัดอยู่แค่แสงโอภาสที่เกิดขึ้นเดี่ยวๆไม่มีปัญญาเกิดร่วมในคำกล่าวนี้ โดยแสงสว่างเป็นแค่ทางผ่าน ไม่ใช่จุดมุ่งหมายหลักอย่างตัวปัญญา :b1: :b46: :b39: :b39:

และแม้กระทั่งตัวปัญญาความรู้ชัดเอง พระบรมครูท่านยังไม่ยึดมั่นถือมั่น ...

จะป่วยการกล่าวไปใยเล่าถึงแสงสว่าง
:b46: :b39: :b46:

เพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว หวังว่า คงอธิบายได้ clear ขึ้นนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตเป็นพลังงานมีลักษณะของคลื่นความถี่มีการสั่นสะเทิอน จึงเกิดแสงสว่าง ผู้ปฎิบัติใหม่ เมื่อพบแสงสว่าง
จึงรู้แปลกใจ และขณะเกิดแสงสว่าง จิตขณะนั้นจะมีความสงบจึงเกิดการติดยึด พอใจ ซึ่งจัดเป็นอุปกิเลส
1ใน10 (สัมสนญาณ) แต่เมื่อพบสภาวะความเกิดดับ ถี่ขึ้น(อุทพยญาณ)แล้ว แสงสว่างจะค่อยลดลง ต่อจากนั้นตั้งแต่ตั้งแต่ภยญาณจนถึงปฎิสังขาญาณ จะเป็นส่วนของทุกขัง จนกระทั่งสังขารุเบกขาญาณจึงเป็นส่วนของอนัตตา เมื่อผ่านอนุโลมญาณ โคตรญาณ มรรค ผล ภายหลังปัญจขเวกญาณ แล้ว แสงส่ว่างอันไม่มีประมาณจะเกิดขึ้น แสงสว่างที่พบในขณะสัมมสนญาณ ซึ่งยังเป็นการเพ่งยังไม่เข้าถึงวิปัสนาญาณ จึงแตกต่างกันอย่างมาก จิตภายหลังการตรัสรู้ จึงแตกต่างจากปุถุชน เพราะกิเลสถูกทำลายไปถึง 3 และจะไม่กลับมากำเริบอีก เปรียบเสมือนคนที่แขนขาดเมื่อตื่นรู้สึกตัวถึงแม้ยังรู้สึกว่ามีแขน แต่เมื่อเอามืออีกข้างคลำดูก็พบ
ความจริงว่าไม่มีแขนแล้ว จึงรู้ได้เฉพาะตัว แต่อย่างไรก็ตามผู้ถึงมรรค 1 ยังคล้ายปุถุชน :b8: suttiyan

สาธุ กล่าวได้ชอบแล้วครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิ ปัญญา สมา อาภา
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 02:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จะเอาสมถะหรือวิปัสสนาอย่างเดียวอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้หรอกครับ
หรือจะเล่นเอาปัญญาเพียวๆก็ไม่ได้เช่นกัน(ยังขาด ศีล สมาธิ ...วิมุติ วิมุติญาณทัศนะของแต่ละขั้นๆไป)
ส่วนเรื่องดวงแก้วนั้น เป็นแค่การกำหนดนิมิตให้จิตมันรวมกัน เป็นหนึ่งในขั้นต้น ใครจะเอาสมถะ40กองอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้แล้วแต่ถนัด ซึ่งหากยังทำเอกัคตาจิตไม่ได้อย่างอื่นก้ยังไม่ได้หรอกครับ
เมื่อแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาณเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 02:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
อ้างคำพูด:
การก้าวล่วงฌาณไม่ใช่การไม่เอาฌาณใดๆเลย


ครับ ... ประโยชน์ของฌานมีมากมายอย่างยิ่ง ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้องด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิตามคำสอนของพระบรมครู ไม่ “หลง” ไปติดสุขติดสงบติดฤทธิ์ในฌานเสียก่อน :b1: :b39: :b39:

(แต่สุขสงบและฤทธิ์ที่มีผลมาจากฌาน ก็มีคุณมีประโยชน์ถ้าตั้งอยู่บนสัมมาทิฏฐิและใช้ให้เป็น ไม่ได้เอาไว้แบกไว้ยึดหรือสนองซึ่งอัตตามานะ แลอุปาทานขันธ์ทั้งปวง) :b46: :b39: :b46:

[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก
วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่
เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง
ญาณทัสสนะ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอัน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ
สัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่
ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น
ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความ
เกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่ง
เวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ดังนี้ความดับแห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ
ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย

สังคีติสูตร หมวด ๔ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=4986&Z=5031&pagebreak=0



พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เวรัญชกัณฑวรรณนา
[อรรถาธิบายฌาน ๔ ของบุคคล ๕ ประเภท]

ฌาน ๔ อย่างเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้ ของบุคคลบางพวก มีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์
ของคนบางพวกเป็นบาทแห่งวิปัสสนาของคนบางพวก เป็นบาทแห่งอภิญญา ของคนบางพวก เป็นบาท
แห่งนิโรธของคนบางพวก มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.

บรรดาบุคคล ๕ ประเภทเหล่านั้น ฌานทั้ง ๔ ของพระขีณาสพทั้งหลายมีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
เป็นประโยชน์. จริงอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นตั้งใจไว้อย่างนี้ว่า เราเข้าฌานแล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
จักอยู่เป็นสุขตลอดวัน ดังนี้ แล้วทำบริกรรมในกสิณ ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น.ฌานทั้งหลายของเหล่า
พระเสขะและปุถุชนผู้ออกจากสมาบัติแล้วตั้งใจไว้ว่า เรามีจิตตั้งมั่นแล้ว จักเห็นแจ้ง แล้วให้เกิดขึ้น
จัดว่าเป็นบาทแห่งวิปัสสนา
.

ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว จึงเข้าฌานที่มีอภิญญาเป็นบาท แล้วออกจากสมาบัติ
ปรารถนาอภิญญา มีนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า แม้เป็นคน ๆ เดียว กลับเป็นมากคนก็ได้* ดังนี้
จึงให้เกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น ย่อมเป็นบาทแห่งอภิญญา.

ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้น จึงเข้านิโรธสมาบัติแล้วตั้งใจไว้ว่า เราจำเป็นผู้ไม่มีจิตบรรลุ
นิโรธนิพพาน อยู่เป็นสุขในทิฏฐ-ธรรมเทียว ตลอดเจ็ดวัน แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคล
เหล่านั้นย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธ.

ส่วนบุคคลเหล่าใด ให้สมาบัติทั้ง ๘ เกิดขึ้นแล้ว ตั้งใจไว้ว่า เราเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อม จักเกิดขึ้นในพรหมโลก
แล้วให้ฌานเกิดขึ้น ฌานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
ก็จตุตถฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เกิดขึ้นแล้ว ณ โคนต้นโพธิพฤกษ์ จตุตุถฌานนั้น
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้เป็นบาทแห่งวิปัสสนาด้วย เป็นบาทแห่งอภิญญาด้วย เป็นบาทแห่ง
นิโรธด้วย บันดาลกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วย บัณฑิตพึงทราบว่า อำนวยให้คุณทั้งที่เป็นโลกิยะทั้งที่เป็น
โลกุตระทุกอย่าง.


* องฺ. ติก. ๒๐ / ๒๑๗.

พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277 - 278
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/2386/index.html


เจริญในธรรมครับ :b8:

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง
ญาณทัสสนะ ฯ
สงสัยคงลืมขีดท่อนนี้นะครับอบรมจิตให้มีแสงสว่าง Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 03:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ฌาณที่เป็นกุศลจิตฌาณ จึงไม่ใช่มิจฉาทิฐิ ตามที่คุณวิสุทธิปาละกล่าว ยกเว้น ฌาณที่เป็นอัพยาๆ และอกุศลฌาณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 13:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับผู้เจริญในธรรมทุกท่าน
ภายหลังการเข้าถึงสภาวะมรรค ผล นิพพานครั้งแรก ผู้ปฎิบัติจะพบว่าการระลึกรู้ในรูปและนาม ทำได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากกำลังของนิวรณ์ลดลง ความเกิดดับของสภาวะธรรมรวดเร็ว สภาวะธรรมอย่างหยาบจะคลายรอบออกมาทั้งทางกายและใจ สลับกัน เนื่องจากปรากฎการของการกระทบจากอายตนะ
ภายนอกกับภายในทุกขณะจะก่อให้เกิดความรู้สึก พอใจ ไม่พอใจ และเฉยๆ (มาจากอนุสัย) อารมณ์
เหล่านี้จะส่งสัญญาณไปที่ต่อมใต้สมอง หลั่งสารอินทรีย์เคมีประเภทที่สัมพันธ์กัน เช่นพอใจคู่กับเอ็นโดฟิน ไม่พอใจคู่กับอดีนารีน ถ้าเฉยๆไม่มีสติรู้ก็เนสารประเภทโมหะ(ไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไร) สารเหล่านี้จะไหลเอิบอาบไปในร่างกายและกระแสโลหิต หมักดองอยู่ชั่วนาตาปี ดังนั้นเมื่อผู้ปฎิบัติมีสติระลึกรู้สภาพธรรมตามควานเนจริง จึงพบว่า มีอาการคันตามร่างกายและผิวหน้า อาการชาร้อนวูบวาบ ส่วนทางใจก็เกิดความฟุ้งซ่านอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นั่นแหละคือกระบวนการขับกิเลสและอาสวะออกมา ไม่ใช่การใส่เข้าไป จึงไม่ต้องปฎิเสธ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
จะเอาสมถะหรือวิปัสสนาอย่างเดียวอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้หรอกครับ
หรือจะเล่นเอาปัญญาเพียวๆก็ไม่ได้เช่นกัน(ยังขาด ศีล สมาธิ ...วิมุติ วิมุติญาณทัศนะของแต่ละขั้นๆไป)
ส่วนเรื่องดวงแก้วนั้น เป็นแค่การกำหนดนิมิตให้จิตมันรวมกัน เป็นหนึ่งในขั้นต้น ใครจะเอาสมถะ40กองอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้แล้วแต่ถนัด ซึ่งหากยังทำเอกัคตาจิตไม่ได้อย่างอื่นก้ยังไม่ได้หรอกครับ
เมื่อแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ปัญญาก็ไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาณเช่นกัน


:b13: ฮ๊าฮานะ

ผู้มี ฌาน อันดับหนึ่งในโลกา แต่เมื่อยังขาด ปัญญา
ก็เที่ยวเกี่ยวเกาะ เข้าๆ ออกๆ ฌานหนึ่ง..สอง..สาม..สี่

จนกว่าจะเกิด ปัญญารู้แจ้ง ว่าเอา ฌาน เข้า นิพพาน ไม่ได้ นั่นแล ฯ
จึงจะเป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่ง อนุปาทิเสสนิพพาน

:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร