วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 10:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านวิสุทธิปาละตอบเอกอนที

เอกอนเห็น และเข้าใจว่าสิ่งที่เห็นเป็น เจ้านี่หง่ะ

[355] เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)

4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)

52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มานั่งเล่นกะท่าน วิสุทธิปาละ ดีก่า
เพราะท่าน วิสุทธิปาละ อารมณ์ดีที่ซู๊ดดดดด

อารมณ์ดี ก็ไม่ดี ... อารมณ์ไม่ดี ก็ไม่ดี :b1: :b46: :b39: :b46:

(สิ่งที่ไม่ดีในที่นี้ หมายความว่า ไม่ควรเอา ... น๊ะครับ) :b16: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 23:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ท่านวิสุทธิปาละตอบเอกอนที

เอกอนเห็น และเข้าใจว่าสิ่งที่เห็นเป็น เจ้านี่หง่ะ

[355] เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)

4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)

52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)

ขอออกตัวก่อนนะครับ ว่ายังไม่ใช่ผู้รู้ เพราะยังเป็นผู้ศึกษาอยู่ แต่จะตอบตามที่พอได้ศึกษาได้ปฏิบัติมาบ้างก็แล้วกัน :b1: :b38: :b37: :b39:

จิตมีหน้าที่รู้ ดังนั้น เจตสิก ๕๒ ที่เกิดร่วมกับจิต ก็เป็นสิ่งที่จิตสามารถเข้าไป “รู้” ได้ว่า เจตสิกต่างๆนั้น “เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ – ดับไป” หรือ “ไม่ตั้งอยู่” ในตัวจิตเอง ทั้ง ๕๒ เจตสิก ซึ่งรวมถึงปัญญินทรีย์เจตสิกด้วย (ขอใช้บัญญัติคำว่า “รู้” แทนคำว่า “เห็น” แล้วกันนะครับ) :b46: :b48: :b46:

ปัญญินทรีย์เจตสิก แปลตรงตัวว่า เจตสิกที่เป็นใหญ่ในการรู้ตามความเป็นจริง มีหน้าที่ทำลายความหลง ความเข้าใจผิดในสภาวธรรม :b39: :b39: :b39:

นั่นคือ ปัญญินทรีย์เจตสิก จะเกิดขึ้นพร้อมกับจิต ในขณะที่จิตทำหน้าที่ “รู้” สภาวธรรมตามความเป็นจริง ไม่หลงเข้าใจผิดในสภาวธรรมนั่นเอง :b51: :b50: :b49:

และการที่จิตรู้ในปัญญินทรีย์เจตสิกที่มีประกอบในตัวจิตเองได้นั้น เกิดขึ้นเฉพาะในจิต ๔๗ จาก ๘๙ ดวง (ญาณสัมปยุตตกามจิต ๑๒ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตรจิต ๘) เท่านั้นนะครับ :b48: :b47: :b46:

แต่การเข้าใจว่า สิ่งที่ “รู้” นั้น เป็นปัญญินทรีย์เจตสิกของแท้หรือไม่ ต้องยกเอาของเทียมขึ้นมาเทียบ เพราะการรู้นั้น มีทั้งถูกและผิด (ซึ่งคงต้องถามอาการข้างเคียงของสภาวะในขณะรู้นั้นด้วย ว่าเป็นอย่างไร ถึงจะวินิจฉัยได้ว่า สิ่งที่รู้หรือเข้าใจว่ารู้นั้น ถูกหรือผิดนะครับ) :b38: :b37: :b39:

ซึ่งเหรียญอีกด้านของปัญญินทรีย์เจตสิก ก็คือ “ความหลง” หรือโมหะนั่นเอง แต่เป็นโมหะประเภทนี้ครับ :b1: :b46: :b46:

(ขอบคุณ http://nkgen.com/19.htm วิปัสสนูปกิเลส ๑๐)

๓. ญาณ - ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึงเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง คือเป็นความรู้หรือความเข้าใจแบบผิดๆ เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรมต่างๆแจ่มแจ้งดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว

หรือเกิดแต่นามนิมิต (ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต (เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์

ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเข้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิดว่าได้มรรคผลใดแล้ว จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์, เมื่อผู้ใดพูดก็โกรธหรือไม่รับฟังไปพิจารณา ทําให้การเจริญวิปัสสนาในธรรมต้องสะดุดหยุดชงักไปโดยไม่รู้ตัว

และเพราะญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง อันยิ่งทำให้การปฏิบัติผิดไปจากแนวทางและจุดมุ่งหมายอันคือนิโรธ อันมักเกิดขึ้นเป็นประจําในการปฏิบัติ, หรือไปยึดติดแต่ปัญญาความรู้ความเข้าใจ(ญาณ)ที่เกิดขึ้นจนขาดการปฏิบัติ, หรือเมื่อญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้องและไปยึดปฏิบัติตามเข้าจึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา (อ่านประกอบการพิจารณา ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น)

ทำให้เกิดอาการติดผู้รู้ หรือมิจฉาญาณ คือยึดมั่นเชื่อถือในความเชื่อหรือปัญญาที่เกิดขึ้นอย่างผิดๆขาดปัญญา และเป็นอย่างงมงายถอนตัวไม่ขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น คุณเอกอนคงต้องลองพิจารณาดูว่า สิ่งที่เข้าใจว่า “เห็น” นั้น มีลักษณะอาการอย่างไรเมื่อเทียบกับเหรียญทั้งสองด้าน คือ :b46: :b46: :b46:

๑) ปัญญินทรีย์เจตสิก ได้แก่ อาการที่จิต “รู้” ตามความเป็นจริง สามารถทำลายความหลง ความเข้าใจผิดในสภาวธรรม ซึ่งสำหรับปุถุชนเกิดได้ในญาณสัมปยุตตกามจิต ๘ มหัคคตจิต ๑๘ :b46: :b41: :b41:

คือดูสิ่งแวดล้อมข้างเคียงที่เกิดร่วม เช่น ถ้าคุณเอกอน “รู้ชัด” ในขณะเข้าฌาน การ “รู้ในอาการรู้ชัด” ในสภาวะธรรมที่เกิดร่วมตามความเป็นจริง เช่น รู้ชัดในวิตก/วิจาร (เช่น พุทธโธก็รู้ชัด) รู้ชัดในปีติ รู้ชัดในสุข ฯลฯ นั่นแหละคือ ปัญญินทรีย์เจตสิก :b48: :b46: :b39:

๒) (มิจฉา) ญาณ ในวิปัสสนูปกิเลส ได้แก่ อาการ “ปักใจเชื่อ” (อธิโมกข์) ว่าสิ่งที่ตัวเองรู้ นั้นรู้ถูก ซึ่งสิ่งที่เกิดนั้น เกิดจาก “ความคิดหรือความรู้ หรือเสียงที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล” ตามที่ link มาให้ดูจากด้านบน ซึ่งสำหรับปุถุชน เกิดได้ในอกุศลจิต ๑๒ :b46: :b46: :b41:

คือดูสิ่งแวดล้อมข้างเคียงที่เกิดร่วม เช่น ถ้าเรา “รู้ชัด” ในความรู้ ในความอยากที่จะสอนธรรมผู้อื่น (แต่เพื่อแสดงภูมิของ “ตัวเอง” คือ ยังเป็นไปเพื่ออัตตาของตัวเองอยู่ ไม่ได้เป็นไปเพื่ออนุเคราะห์ "ผู้อื่น" คือเป็นโมหะ หรือมิจฉาญาณที่ประกอบด้วยโลติกะเจตสิก กลุ่มโลภะ หรือสูงขึ้นไป คือโลติกะเจตสิก กลุ่มทิฏฐิ หรือสูงขึ้นไปอีก คือโลติกเจตสิก กลุ่มมานะ) แต่ไม่ “รู้ชัด” ในอาการของจิตที่ดิ้น ที่ถูก “ความอยากสอน” บีบคั้นอยู่ นั่นแหละ คือวิปัสสนูปกิเลส :b46: :b46: :b46:

แต่ถ้าเจริญมรรค ใช้สติสมาธิ ทำการ “ละ” สมุทัย คืออาการ “รู้ชัด” ในความอยากสอนธรรม (ตัณหา) ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้จิตถูกบีบคั้นนั่น และหันกลับมา “รู้ชัด” ในทุกข์แทน คือ “รู้ชัด” ในอาการที่จิตดิ้น ทะยานอยากที่จะออกไปสอนธรรมนั้นแล้ว จะเห็นอาการจิตที่ดิ้นอยู่ ค่อยๆสงบลงและดับไปได้เองเมื่อหมดเหตุตามสามัญลักษณะของเขา เมื่อนั้น ความสงบเบิกบานที่จิตหยุดดิ้น หรือนิโรธ จะปรากฏแจ้งให้เห็น :b49: :b48: :b50:

และการ “รู้ชัด” ที่อธิบายท้ายสุดนี้ ไม่ว่าจะตั้งแต่การรู้ชัดในการเจริญมรรค รู้ชัดในการละสมุทัย เข้ามารู้ชัดในทุกข์ที่ตั้งอยู่ รู้ชัดในทุกข์ที่ดับลง รู้ชัดในนิโรธที่ปรากฏขึ้น ก็จะเป็นปัญญินทรีย์เจตสิกที่แท้จริง :b1: :b46: :b46:

คุณเอกอนลองประเมินตนเองด้วยตนเองก่อนนะครับ ถ้ายังติดขัดอยู่ ค่อยมาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกันใหม่ :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:
ปล.แก้ไขเพิ่มเติมข้อความเล็กน้อย หลังจากที่ึุคุณเอกอนได้อ่านแล้ว นะครับ ^__^


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 10 มิ.ย. 2011, 14:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes rolleyes rolleyes

:b13: :b13: :b13:

Kiss Kiss Kiss

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 14:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไปอ่านกระทู้นี้มา ก็ดีท่าน

:b16: :b16:

viewtopic.php?f=2&t=19260

:b1:

ชีวิตจริงแห่งการปฏิบัติก็เป็นเช่นนี้ล่ะท่าน
เมื่อได้ธรรมใดมา ก็ต้องมีเหตุเดิมพันเพื่อให้ต้องละวาง สิ่งที่ได้มานั้นด้วย
แม้แต่ธรรมก็ไม่เว้น
การครอบครองธรรมใดไว้ ไม่ว่าจะครอบครองไว้กี่เพลา สักวันก็ต้องมีอันพ้นไปจากการครอบครอง
การวางการครอบครองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หมายถึงการได้มาและสูญเสียไปอย่างรวดเร็ว
กลับยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ปฏิบัติ :b16: ธรรมมันก็ประหลาดเช่นนี้ล่ะ

:b1: :b1: :b1:

อิอิ

Kiss Kiss Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไปอ่านกระทู้นี้มา ก็ดีท่าน
viewtopic.php?f=2&t=19260

สาธุ สาธุ เป็นกระทู้ที่ีดีมากครับ :b8: :b46: :b39: :b46:

อ้างคำพูด:
ชีวิตจริงแห่งการปฏิบัติก็เป็นเช่นนี้ล่ะท่าน
เมื่อได้ธรรมใดมา ก็ต้องมีเหตุเดิมพันเพื่อให้ต้องละวาง สิ่งที่ได้มานั้นด้วย
แม้แต่ธรรมก็ไม่เว้น
การครอบครองธรรมใดไว้ ไม่ว่าจะครอบครองไว้กี่เพลา สักวันก็ต้องมีอันพ้นไปจากการครอบครอง
การวางการครอบครองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หมายถึงการได้มาและสูญเสียไปอย่างรวดเร็ว
กลับยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ปฏิบัติ :b16: ธรรมมันก็ประหลาดเช่นนี้ล่ะ

ใช่ครับ ...

มีปัญญา ก็ต้องไม่ “หลง” ไป “ติดยึด” ในปัญญา (เจตสิก - สังขาร) ที่ “เกิดขึ้น” และ “ตั้งอยู่:b1: :b38: :b37: :b39:

และเพราะเห็นเป็นเพียงแค่การ “เกิดขึ้น” และ “ตั้งอยู่” ... จึงไม่มีการ “ได้มา:b46: :b46: :b46:

เมื่อไม่มีการ “ได้มา” จึงไม่มีการ “ติดยึด:b46: :b39: :b46:

และเมื่อไม่มีการ “ติดยึด” จึงไม่มีการห่วงว่าจะ “เสียไป:b46: :b46: :b41:

จิตก็โล่ง ... เบาสบาย :b39: :b41: :b41:

สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสายาติ ... ครับ :b1: :b46: :b46:

เขียนได้ แต่ทำยาก ... น๊ะครับ (... แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้ ...) :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้
อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อม
รู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น
ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น."


พรหมชาลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=9&A=0&Z=1071&pagebreak=0



"ความรู้ความเห็นอันใดที่มันเกิดขึ้นแล้ว จิตของเรารู้สึกปล่อยวาง
ไม่ยึดเอาไว้สร้างปัญหาให้เดือดร้อน อันนั้นเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ
ทีนี้สิ่งใดที่รู้ขึ้นมาแล้วยึดเอาไว้สร้างปัญหาให้ยุ่งยาก
อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ"
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
http://www.facebook.com/dlitemag

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 21:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณวิสุทธิปาละ ขอร่วมแสดงปิติธรรมด้วยครับ เมื่อสภาพจิตลุถึงมรรค ผลและนิพพานเพียงแว็บเดียว จิตจะพบความอิสระอย่างไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิตชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อจากนั้นความถี่ของจิตจะเปลี่ยนไปโดยมีความถี่สูงขึ้น จึงเกิดแสงสว่างอย่างไม่มีประมาณ บางท่านไม่สามารถหลับได้เนื่องจากจิตมีสภาพตื่นรู้ ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์จะหมดไป องค์ความรู้ชัด สิ่งใดเกิดขึ้น
สิ่งนั้นย่อมดับลง ไม่มีสภาพธรรมใด นอกจากความเกิดและดับ :b8: suttiyan


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 00:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


s006 s006

:b13: :b13: :b13:

ท่านวิสุทธิปาละ :b4: :b4:


อิอิ

:b8: :b8: :b8:

ท่านนี่โพสต์ช้า ไม่ทันใจวัยโจ๋เยยยย


onion onion onion


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 19 มิ.ย. 2011, 01:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 01:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


รบกวนท่านแสดงรายละเอียดให้มาก ๆ หน่อย

:b20: :b20: :b20:
:b8: :b8: :b8:

ท่านวิสุทธิปาละจะเรียบเรียงไปเขียนเป็นหนังสือไม่ใช่หรือ

:b12: :b12: :b12:

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 02:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีจักขุกรณี ญาณกรณี ...ไม่มีทางเห็นเกิด ดับ หรอก หมดสิทธิ์
:b1:
เคยได้คำนี้ไหม อุทะปาทิญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิอาโลโก อุทะปาทิ.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 02:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หากไม่เพียรเพ่งอยู่ ปัญญา แสงสว่าง,วิชชา(วิชชา3),ความเห็นแจ้งอย่างวิเศษ, คุณวิเศษ,ญาณทัศนะต่างๆ,ความหลุดพ้นจากทุกข์จากวัฏฏะสงสาร ,ๆลๆ ไม่มี
หมดสิทธิ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 03:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยการละรูปฌานและอรูปฌาน
[๑๘๕] ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ไม่ควรทำความ
อาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เป็น
ธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น.
ดูกรอุทายี แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย
เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น ดูกรอุทายี
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความ
อาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น
ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง
ตติยฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้จตุตถฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลาย
จงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา
ได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้อากาสานัญจายตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากาสา-
*นัญจายตนฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า
วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานนั้น. ดูกรอุทายี แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราก็กล่าวว่า
ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง
วิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วย
บริกรรมว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรม
เครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น. แม้อากิญจัญญายตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญ-
*จัญญายตนฌานนั้น ดูกรอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะ
ล่วงอากิญจัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น. แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย
จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดูกร
อุทายี ที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น. เรากล่าว
การละกระทั่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยประการฉะนี้แล. ดูกรอุทายี เธอเห็นหรือหนอ
ซึ่งสังโยชน์ละเอียดก็ดี หยาบก็ดีนั้น ที่เรามิได้กล่าวถึงการละนั้น?
ไม่เห็นเลย พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ท่านพระอุทายียินดีชื่นชมพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ ลฑุกิโกปมสูตร ที่ ๖.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๓๒๕๓ - ๓๕๐๗. หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๕๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


การก้าวล่วงฌาณไม่ใช่การไม่เอาฌาณใดๆเลย Onion_L :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 09:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ไม่มีจักขุกรณี ญาณกรณี ...ไม่มีทางเห็นเกิด ดับ หรอก หมดสิทธิ์
:b1:
เคยได้ฟังคำนี้ไหม อุทะปาทิญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิอาโลโก อุทะปาทิ.....


:b6: ไม่เคย

ไปเลย ไปเลย ท่านหลับ
ถ้าจะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไปเปิดอีกกระทู้เลย นะ
ป๊ะ ป๊ะ เด๋วจะไปเยี่ยม :b12:

เอกอนไปตั้งกระทู้ให้ก็ได้ :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร