วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b4:
ความเห็นหรือรู้ไตรลักษณ์ นี่คงเป็นของวิเศษ ที่เหนือวิสัยคนธรรมดาจะรู้ได้ ในสายตาและความเห็นของคุณโฮ.....นะครับ

ทุกอารมณ์นั้น แสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอด ถ้ามี สติ ปัญญาและความสังเกตดีก็จักเห็นได้ทุกคน แต่การที่จะเห็นไตรลักษณ์ จนเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง ความเห็นผิด นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำบ่อยๆ ต้องโอปนยิโกมากๆ จึงจะละวางได้

แม้ในลมหายใจเข้าออก คุณโฮ...ยังไม่สามารถสังเกตเห็นหรือรู้ไตรลักษณ์ได้ แล้วคุณโนจะไปรู้ เห็น ไตรลักษณ์เอาตอนไหนหรือครับ

:b15:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาเรานั่งนานๆจะรู้ถึงความปวดที่เกิดกับแขนขาเราย่อมเห็นทุกข์ชัดเจนนั่นคือเราน้อมเข้าสู่กฏของพระไตรลักษณ์เป็นการนั่งวิปัสสนาภาวนาเพราะเห็นความเป็นจริงที่ปรากฏชัดเจน ก็พิจารณาว่าความปวดมันเกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกได้ชัดเจน
ส่วนความไม่เที่ยงนั้นจะถนัดดูจากการฟังเสียงว่าเสียงจะเกิดดับเร็วเห็นความจริงที่ง่ายต่อการพิจารณา
ส่วนที่ยากที่สุดคือความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขาความไม่มีเจ้าของนั้นยากต่อการพิจารณายิ่งนัก

ว่าแล้วเราใช้คำพิจารณามากเกินไปจริงครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้กายที่เคลื่อนไหว....รู้ใจที่รับรู้
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 03:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
เวลาเรานั่งนานๆจะรู้ถึงความปวดที่เกิดกับแขนขาเราย่อมเห็นทุกข์ชัดเจนนั่นคือเราน้อมเข้าสู่กฏของพระไตรลักษณ์เป็นการนั่งวิปัสสนาภาวนาเพราะเห็นความเป็นจริงที่ปรากฏชัดเจน ก็พิจารณาว่าความปวดมันเกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกได้ชัดเจน

คำพูดของคุณstudentมันคลาดเตลื่อนครับ จากที่ดูคำพูดของคุณที่ว่า ทุกช์ในความเห็นนี้
มันเป็นความเข้าใจผิด แล้วผิดตรงไหน มันผิดตรงที่ ไม่รู้ว่า อันไหนเป็นเหตุแห่งทุกข์และ
สิ่งไหนเป็นผลแห่งทุกข์ครับ

ทุกข์มีอยู่สองตัว ได้แก่
ทุกข์ที่เป็นเหตุนั้นก็คือ อาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ที่เรียกว่าไตรลักษณ์
อีกตัว ทุกข์ที่เป็นผลก็คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ

สิ่งที่คุณพูดที่ว่าดูความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับแขนขา แล้วเห็นทุกข์ชัดเจนดูแล้ว
มันผิดหลักทั้ง สมถะและวิปัสสนาครับ

วิปัสสนาเขาดูกันที่อารมณ์ครับ กายไม่สามารถทำวิปัสสนาได้ ทำได้แต่สมถะ
หลักของวิปัสนาที่ว่าเห็นทุกข์คือเห็นเหตุแห่งทุกข์ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป
ของอารมณ์ ไม่ใช่เห็นความเจ็บปวดของกาย
ความเจ็บปวดถ้าว่าด้วยอารมณ์แล้ว มันคือโทสะครับ
ในกรณีนี้ถ้าว่าดูเกิดดับของอารมณ์แล้ว ดูเกิดดับที่โทสะมันก็ผิดอีก
เพราะตัวโทสะ มันไม่ใช่เหตุแห่งทุกข์ที่แท้ เหตุแห่งทุกข์ที่แท้ก็คือ ตัวโลภะครับ
ที่ว่าโลภะก็เพราะเกิดจากความอยากเห็นไตรลักษณ์จนต้องมานั่งดูกายให้ปวดขา
ไตรลักษณ์แท้ๆจะเกิดก็ต่อเมื่อ ผัสสะที่ได้ต้องเป็นผัสสะที่เป็นปัจจุบันเป็นตัวเหตุ
และปราศจากการบังคับอายตนะครับ

ส่วนเรื่องที่ว่าไม่เป็นสมถะก็เพราะ ลักษณะของสมถะ อารมณ์จะต้องเป็นหนึ่งเดียว
หรืออารมณ์ว่าง ไม่มีความเจ็บปวดที่ขาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 04:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ส่วนความไม่เที่ยงนั้นจะถนัดดูจากการฟังเสียงว่าเสียงจะเกิดดับเร็วเห็นความจริงที่ง่ายต่อการพิจารณา ส่วนที่ยากที่สุดคือความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขาความไม่มีเจ้าของนั้นยากต่อการพิจารณายิ่งนัก
ว่าแล้วเราใช้คำพิจารณามากเกินไปจริงครับ

หลักของวิปัสสนา เขาไม่ให้ไปยึดสิ่งภายนอกครับ มันไม่ใช่ว่าเสียงภายนอกดังหรือเงียบ
เสียงมันเป็นเพียงอายตนะภายนอก ตัวที่เราต้องดูคือผัสสะที่เกิดจากอายตนะภายนอกและใน
มากระทบกันครับ ความหมายก็คือดูที่จิตตัวเอง
และที่บอกว่าดูที่จิตตัวเองก็คือดูอารมณ์ที่เกิดจาก การได้ยินเสียงภายนอก

ที่ห้ามพิจารณา อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งครับ เพราะพิจารณาไปมา
มันเลยเถิดไปพิจารณาอายตนะภายนอกเสียนี่

เรื่องการยึดมั่นถือมั่น ถ้ายังไม่มีสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ คือยังไม่เห็นความจริง
ใจก็ยังยึดมั่นถือมั่นครับ ถ้าใครยังไม่มีสัมมาปัญญาแล้วบอกว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว
มันเป็นแค่ความคืดปรุงแต่งครับ และส่วนใหญ่ก็จะเกิดกับปุถุชนที่เข้าใจว่า สัมมาทิฐิ
ได้มาจากการอ่านการฟัง และปุถุชนสามารถเอาปัญญาส่วนนี้นำหน้าได้นั้นแหล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
ความเห็นหรือรู้ไตรลักษณ์ นี่คงเป็นของวิเศษ ที่เหนือวิสัยคนธรรมดาจะรู้ได้ ในสายตาและความเห็นของคุณโฮ.....นะครับ:

ใจเย็นๆครับ กระทบกระเทียบๆไป มันก็ไม่ก่อเกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นครับ
รู้ตัวหรือเปล่าครับคุณเริ่มไม่มีเหตุผลแล้วนะครับ
สงสัยจะลืมความเห็นผมในตอนต้นๆนะครับ ความเห็นคุณที่แสดงมามันเลย
ตรงข้ามกับความเป็นจริงกับความเห็นผมที่แสดงไว้ ก็ผมบอกว่า
"สัมมาปัญญาหรืออาการไตรลักษณ์มันมีกันทุกคน
แต่เราต้องไปเห็นแล้วนำมาใช้ ปัญญาที่ว่ามันของใครของมัน เป็นปัจจัตตัง"

นี่ความเห็นผมเป็นแบบนี้ แล้วไหงคุณคุณมาพูดแบบนี้ครับ มีเหตุผลหรือเปล่าครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
:b4:
ทุกอารมณ์นั้น แสดงไตรลักษณ์อยู่ตลอด ถ้ามี สติ ปัญญาและความสังเกตดีก็จักเห็นได้ทุกคน แต่การที่จะเห็นไตรลักษณ์ จนเกิดนิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง ความเห็นผิด นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องกระทำบ่อยๆ ต้องโอปนยิโกมากๆ จึงจะละวางได้

บอกมีสติ ปัญญา โธ่!ยังไม่เลิกอีก ก็บอกว่ามีปัญญาแล้วจะไปหาปัญญาอีกทำไมครับ
เอางี้ครับ ที่บอกผมให้มานั่งดูลมหายใจเนี่ย ผมย้อนกลับครับว่า คุณรู้อารมณ์ที่เป็นต้นเหตุ
หรือเปล่าครับว่าเป็นกิเลสตัวไหน จะดูวิปัสนาต้องรู้จักกิเลสและที่สำคัญต้องรู้เหตุหรือต้นต่อ
แห่งทุกข์ด้วย ไม่งั้นกิเลสตัวพ่อหรือความหลงมันเข้าครอบหมดครับ
อนัตตาธรรม เขียน:

แม้ในลมหายใจเข้าออก คุณโฮ...ยังไม่สามารถสังเกตเห็นหรือรู้ไตรลักษณ์ได้ แล้วคุณโนจะไปรู้ เห็น ไตรลักษณ์เอาตอนไหนหรือครับ

คุณครับรูปกับนามแยกกันให้ออกก่อนครับ ที่คุณพูดอยู่นี้
คุณเอาเรื่องรูปกับเรื่องนามมาผสมกันจนยุ่งไปหมดครับ
คุณดูลมหายใจแล้วเห็นไตรลักษณ์ ผมก็สงสัยเหมือนกันว่าคุณเห็นไตรลักษณ์อย่างไร
ไหนลองเอามาคุยกันหน่อยสิครับ มันจะได้แนะนำกันได้ถูก ไม่ใช่มาพูดจาเสียดสีกัน
แบบนี้ครับมันไม่มีสาระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
เวลาเรานั่งนานๆจะรู้ถึงความปวดที่เกิดกับแขนขาเราย่อมเห็นทุกข์ชัดเจนนั่นคือเราน้อมเข้าสู่กฏของพระไตรลักษณ์เป็นการนั่งวิปัสสนาภาวนาเพราะเห็นความเป็นจริงที่ปรากฏชัดเจน ก็พิจารณาว่าความปวดมันเกิดขึ้นแล้วเรารู้สึกได้ชัดเจน
ส่วนความไม่เที่ยงนั้นจะถนัดดูจากการฟังเสียงว่าเสียงจะเกิดดับเร็วเห็นความจริงที่ง่ายต่อการพิจารณา
ส่วนที่ยากที่สุดคือความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขาความไม่มีเจ้าของนั้นยากต่อการพิจารณายิ่งนัก
ว่าแล้วเราใช้คำพิจารณามากเกินไปจริงครับ



เมื่อจิตละเอียดขึ้นคุณจะเห็นสภาวะนี้ได้ไม่ยากเลย...แล้วจะรู้ว่าเขาแสดงตัวอยู่เกือบตลอดเวลาเลยทีเดียว... โทสะ และ เวทนา จับได้ง่ายเมื่อทำได้ชำนาญแล้วก็จะเห็นทั้ง โทสะ โมหะ โลภะ ได้ตลอดทั้งวันตราบเท่าที่มีสติเข้าไปรู้ :b41:

เจริญในธรรมค่ะ

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 09:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


s007 s007 s007

wink wink wink


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2011, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่คุณโฮฮับพูด ผมมาดูตัวผมเองว่าทำไมผมถึงเกิดความเบื่อหน่ายต่อมโนวิญญาณมากทำไมผมต้องระวังมากเมื่อเกิดมโนวิญญาณ เพราะความเพลิดเพลินในมโนวิญญาณทั้งกุศลจิต และอกุศลจิตเกิดผัสสะและเวทนาตามลำดับนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสภาวะของเวทนาที่ไม่มีสาระแต่ในเรื่องของอายตนะที่เหลือที่ไม่ใช่มโนวิญญาณนั้นผัสสะเกิดจริงเวทนาเกิดจากความจริงที่เรารู้ได้ด้วยหู และกาย(จมูก ลิ้น ตา)จากกำลังของสติที่ความชัดเจนปรากฏตรงนี้ความปวดขานั้นเป็นของจริง ส่วนผัสสะที่เกิดจากมโนวิญญาณนั้นเพราะกำลังของสติไม่เพียงพอที่จะกำหนดรู้อายตนะ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ทำให้ ใจมีกำลังเหนือกว่าเกิดมโนวิญญาณเกิดผัสสะและเวทนาตามลำดับ เนื่องจากอารมณ์ผมตอนนั่งนั้นเฉยๆ ไม่ทุกข์ใจอะไร ไม่ดีใจอะไร เมื่อมโนวิญญาณเกิดมันเพลิดเพลินไปอัดใจหนึ่งก่อนที่ผมจะรู้ตัวและสลัดออก แม้กระทั่งการดูตัวเองเป็นโครงร่างยังโดนมโนวิญญาณแทรกเป็นระยะๆ จนกระทั่งจิตเป็นสมาธิกำหนดรู้ความชัดเจนของอายตนะที่เหลือ ก็มาถึงตรงนี้ละครับ ไปต่อไม่เป็น สักพักใหญ่ผมก็ถอนจากสมาธิเพราะเวทนาเกิดขึ้นเป็นระยะเป็นเหตุให้เกิดตัญหา อุปาทานตามมาจนต้องออกจากสมาธิจากอำนาจของอุปาทาน ก็ขอบคุณคุณโฮฮับที่ช่วยเตือนสติครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2011, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
.........
....เนื่องจากอารมณ์ผมตอนนั่งนั้นเฉยๆ ไม่ทุกข์ใจอะไร ไม่ดีใจอะไร เมื่อมโนวิญญาณเกิดมันเพลิดเพลินไปอัดใจหนึ่งก่อนที่ผมจะรู้ตัวและสลัดออก แม้กระทั่งการดูตัวเองเป็นโครงร่างยังโดนมโนวิญญาณแทรกเป็นระยะๆ .....จนกระทั่งจิตเป็นสมาธิกำหนดรู้ความชัดเจนของอายตนะที่เหลือ ก็มาถึงตรงนี้ละครับ ไปต่อไม่เป็น สักพักใหญ่ผมก็ถอนจากสมาธิเพราะเวทนาเกิดขึ้นเป็นระยะเป็นเหตุให้เกิดตัญหา อุปาทานตามมาจนต้องออกจากสมาธิจากอำนาจของอุปาทาน ก็ขอบคุณคุณโฮฮับที่ช่วยเตือนสติครับ


s006 s006 s006 s006 s006 s006 s006 s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2011, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
กำลังหาอ่านธรรมอยู่เลยครับเลยอ่านหลายๆอาจารย์ บางครั้งอ่านแล้วเราไม่เข้าใจ s002

:b44: อนิจจวรรคที่ ๑
อัชฌัตติกอนิจจสูตร
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาค
แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใด
ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่
ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา หูเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ จมูก
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ กายเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ
เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
จักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในลิ้น
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย-
*กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้
ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ
ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
จบสูตรที่ ๑

.
.
.
:b44: พาหิรสูตร
[๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง
จะกล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ
เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปไย
ถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใย
ในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อม
ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
[๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าว
ไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี
เยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อ
หน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ ฯ
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะ
กล่าวไปไยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
ไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติ
เพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึงที่
เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยใน
ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=18&A=99&Z=128


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2011, 13:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rotala เขียน:


การแล่นออกไปโดยเร็ว (ปกฺขนฺทิตฺวา ปวตฺตติ)
พยางค์ ปะ ในคำว่า สติ - ป - (ฏ) ฐาน อาจตีความได้ว่ามาจากคำว่า ปกฺขนฺทน กล่าวคือ ความเร่งรีบ กระโจนหรือพุ่งเข้าไป ทันทีที่สภาพธรรมซึ่งเป็นอารมณ์กรรมฐานเกิดขึ้น จิตจะต้องพุ่งทะยานออกไปและจมลึกลงไปในอารมณ์กรรมฐานนั้นอย่างมีพลังแรงกล้า และกล้าหาญ จิตจะถาโถมเข้าใส่อารมณ์นั้นอย่าง ไม่ลังเล ไม่ยั้งคิด ใคร่ครวญ วิเคราะห์ จิตนาการ สงสัย ไตร่ตรอง คาดเดา หรือเพ้อฝันใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นอาการ แล่นออกไปอย่างรวดเร็ว นี้จึงประกอบด้วย ลักษณะหลาย ๆ อย่างด้วยกันคือ

การเคลื่อนไหวที่ รวดเร็ว ฉับไวทันทีทันใด พร้อมด้วยความรุนแรง หรือด้วยพละกำลังความเข้มแข็ง และความกระฉับกระเฉงอย่างยิ่งยวด

• การจู่โจมเข้ายึด ตะครุบ หรือจับกุม อย่างเฉียบพลัน การโจมตีอย่างฉับไว การประจัญบาน

...

ผู้ปฏิบัติก็เช่นกันต้องกำหนดรู้และสังเกตดูอารมณ์ทันทีเมื่ออารมณ์นั้นเพิ่งเกิดขึ้น สด ๆ ร้อน ๆ

การเข้าไปรับรู้อารมณ์อย่างแนบแน่นมั่นคง

(อุปคฺคณฺหิตฺวา ปวตฺตติ)

ในขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าว มือข้างหนึ่งของเขาจะต้องจับรวงข้าวอย่างมั่นคง เขาจึงจะใช้เคียวเกี่ยวข้าวได้สำเร็จ ในทำนองเดียวกัน ผู้ปฏิบัติจะต้องจับ (กำหนดรู้) อารมณ์กรรมฐานได้อย่างแนบแน่นมั่นคง เพื่อมิให้จิตเลื่อนไหลหลุดลอยไปหรือเคลื่อนคลาดไปจากการระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์

เมื่อสติมีความมั่นคงมากขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถจับหรือเข้าไประลึกรู้อารมณ์หยาบ ๆ ได้อย่างแนบแน่นมากขึ้น และเมื่อฝึกปฏิบัติต่อไป จิตก็สามารถกำหนดรู้ และตั้งอยู่กับอารมณ์ที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้น และในที่สุดแม้แต่อารมณ์ที่สุขุมลุ่มลึกมาก ๆ ก็สามารถกำหนดรู้ได้อย่างมั่นคง ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงควร พยายามเข้าไปรับรู้อารมณ์ทางกายให้ได้ชัดเจนก่อนที่จะพยายามกำหนดอารมณ์ทางจิตที่สุขุมลุ่มลึกมากขึ้น เช่นเจตนาความคิดต่าง ๆ ฯลฯ

กำหนดรู้อารมณ์อย่างถ้วนทั่ว ( ปตฺถริตฺวา ปวตฺตติ )

การกำหนดรู้ของจิตนั้นต้องครอบคลุมอารมณ์นั้น ๆ โดยถ้วนทั่ว แผ่ออกไป โอบล้อมห่อหุ้มอารมณ์นั้นทั้งหมด มิใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง และกำหนดรู้ตั้งแต่ต้นตลอดท่ามกลาง และสิ้นสุด

ความต่อเนื่องไม่ขาดสาย ( ปวตฺตติ )

ในทางปฏิบัติการกำหนดรู้อารมณ์ในลักษณะนี้ หมายความว่า จิตที่กำหนดรู้ และสังเกตดูอารมณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นจะต้องมีความต่อเนื่อง กล่าวคือ การเจริญสติขณะหนึ่งจะต้องเชื่อมต่อกับการเจริญสติในอีกขณะหนึ่ง ทุก ๆ ขณะ ต่อเนื่องกันไป สติที่เกิดขึ้นในขณะแรกจะต้องต่อเนื่องกับสติในขณะถัดไปโดยไม่มีช่องว่าง กล่าวโดยย่อก็คือผู้ปฏิบัติควรจะประคองสติให้ดำรงอยู่เสมอ

อุปมา :

• หากมีช่องว่างระหว่างแผ่นกระดานปูพื้นสองแผ่น ฝุ่นและทรายก็อาจแทรกเข้าไปได้ หากสติไม่มี ความต่อเนื่องและมีช่องว่างอยู่ กิเลสก็อาจแทรกซึมเข้ามาได้

ในสมัยก่อนคนจุดไฟด้วยการนำท่อนไม้สองท่อนมาถูกัน หากผู้จุดไฟไม่ขัดสีไม้อย่างต่อเนื่อง แต่ทำไปหยุดไปแล้ว ไฟก็ไม่อาจติดขึ้นได้เลย ในทำนองเดียวกัน หากสติไม่มีความต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติย่อมไม่อาจจุดประกายไฟแห่งปัญญาขึ้นได้เลย

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในการกำหนดรู้หรือการเจริญสติอยู่กับอารมณ์ใด ๆ ผู้ปฏิบัติไม่ควรปล่อยให้มีช่องว่าง แต่ต้องรักษาความต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ควรเป็นไปในลักษณะทำ ๆ หยุด ๆ ผู้ที่ปฏิบัติแบบทำไปหยุดไปเพื่อพักผ่อนเป็นช่วง ๆ และเริ่มใหม่ มีสติประเดี๋ยวประด๋าว และหยุดเพื่อฟุ้งฝันเป็นช่วง ๆ นั้น ได้ชื่อว่่า โยคีกิ้งก่่า (คือ ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง - ผู้แปล)


ไม่บังคับกะเกณฑ์

กระบวนการกำหนดรู้และสังเกตดูอารมณ์ที่ปรากฏทางกายและทางใจนี้ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของสามัญลักษณะ แห่งความไม่มีตัวตนที่จะบังคับบัญชาได้ (อนัตตา) กล่าวคือ

ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความระมัดระวังอย่างใหญ่หลวงในการเฝ้าดูอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่เข้าไปบังคับกะเกณฑ์ ควบคุมหรือบงการใด ๆ ผู้ปฏิบัติควรจะเพียงแต่ดูว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นจริง ๆ มิใช่มองหาสิ่งที่คาดหวัง หรือปรารถนาให้เกิดขึ้น

สรุป

มาถึงตรงนี้ เราจะกล่าวว่า สติปัฏฐานคืออะไรกันเล่า สติปัฏฐานก็คือ การดำรงสติอยู่กับอารมณ์ใด ๆ โดยแล่นเข้าไประลึกรู้อารมณ์อย่างรวดเร็ว ถูกตรง ลุ่มลึก และครอบคลุม โดยถ้วนทั่ว เพื่อให้สติตั้งอยู่กับอารมณ์อย่างแนบแน่นมั่นคง เมื่อกำหนดว่า พองหนอ จิตก็จะเข้าไปรับรู้อารมณ์ที่กำหนดรู้อยู่ กล่าวคือ อาการพองของท้อง ความระลึกรู้ของจิตจะแล่นเข้าใส่อารมณ์อย่างรวดเร็วแล้วแผ่ขยายออกครอบคลุมอารมณ์นั้น จนจิตแนบแน่นอยู่กับอารมณ์ หรือสภาพธรรมดังกล่าว กระบวนการเช่นนี้จะดำเนินต่อไป ขณะที่กำหนดรู้อาการยุบ รวมตลอดถึงอารมณ์อื่น ๆ ที่ปรากฏขึ้นทางกายและทางจิต

ดังนั้นโดยสรุป สติต้องมีพลังรอบด้าน เข้าประชิดจดจ่อกับอารมณ์ตรง ๆ สติจะต้องถาโถมเข้าใส่อารมณ์ ห่อคลุมอารมณ์โดยถ้วนทั่วบริบูรณ์ ทะลุทะลวงเข้าไปในอารมณ์ และไม่พลาดแม้เศษเสี้ยวของอารมณ์ที่กำหนดรู้อยู่เลย

หากสติของผู้ปฏิบัติมีคุณสมบัติเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และเมื่อการปฏิบัติมีความสมบูรณ์เต็มรอบแล้ว ย่อมเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างแน่นอน


สติปัฏฐาน โดยย่อ

• ดำรงสติอย่างแนบแน่นมั่นคง

• ไม่ผิวเผินฉาบฉวย

• ไม่พลาดจากการระลึกรู้อารมณ์

• จดจ่อต่ออารมณ์

• ปกป้องจิตจากการจู่โจมของกิเลส

• การจำได้หมายรู้ที่ชัดเจนมีพลัง

• สติเหนี่ยวนำให้สติเจริญขึ้น

• เร่งรีบและดิ่งลึกลงไป

• จับอารมณ์ให้มั่น

• ครอบคลุมอารมณ์โดยถ้วนทั่ว

• ทันทีทันใด

• ต่อเนื่องไม่ขาดสาย

• เท่าทันปัจจุบัน

• ไม่บังคับกะเกณฑ์


อิอิ smiley smiley smiley ไปอ่านแล้ว

จริง ๆ คำสอนดี ๆ ก็มีให้ได้ศึกษามากมาย กระจายไปทั่วเหมือนดั่งดอกเห็ด

:b17: :b17: :b17:

ศีล สมาธิ ปัญญา



rolleyes rolleyes rolleyes
rolleyes rolleyes rolleyes
rolleyes rolleyes rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนัตตาธรรม เขียน:
:b27:
กระทู้เกี่ยวกับการเจริญ สติ สมาธิ เราได้อ่านได้ศึกษาสนทนากันมามากแล้วแล้วจะมากอยู่อย่างนี้ คู่ลาน...ไปตลอด เราลองมาต่อยอด เน้นสนทนากันเรื่องวิปัสสนาภาวนา อันเป็นวิชาและเอกลัษณ์ของพุทธศาสนากันให้มากๆเสมอกับเรื่อง สติ สมาธิ ดีไหมครับ


อนุโมทนา.....สาธุด้วยนะครับ ขอบคุณสำหรับบทความที่นำมาแบ่งปันนะครับ
ขอท่านจงมีอายุ วัณณะ สุขขะ พละ เปี่ยมไปด้วยความเจริญ สำเร็จในสิ่งที่หวัง
ทุกประการ พุทธคุณคุ้มครองครับ

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2011, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


การกำหนดดูลมหายใจก็ตาม เสียงต่างๆก็ตาม ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับอายตนะทั้ง12 ทั้งในนอก เป็นเหตุให้เกิดผัสสะและเวทนา ตัญหา อุปาทาน ภพ ตามกันมา ทีนี้ความชัดเจนเกิดขึ้นเพราะสมาธิ วิปัสสนา พิจารณาให้ตกอยู่ภายใต้กฎของพระไตรลักษณ์ ถอนความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลายทั้งปวง ส่วนตัวผมมีความสงบถึงจุดหนึ่ง ความละเอียดเกิดขึ้นจริงแต่ ความละเอียดยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่ หลายเดือนมายังไม่สามารถภาวนาให้เกิดความสงบยิ่งกว่าที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้ได้อาจจะเพราะเหนื่อยกับงานเกินไปและความฟุ่งซ่านยังมีอยู่ แต่ในที่สุดเมื่อเช้านี้นั่งสมาธิไปจนถึงจุดเดิมที่ความสงบเกิดขึ้นก็วนเวียนกำหนดอายตนะต่อไปจนเกิดความชัดเจนไม่มีมโนวิญญาณรู้ชัดถึงร่างกายทุกส่วน ทั้งกาย หู ลิ้น จมูก ตาที่หลับอยู่ รู้การเต้นของหัวใจอย่างชัดเจนแล้วเอาจิตมากำหนดที่หน้าผากบอกตัวเองเราจะไม่เคลื่อนวิญญาณไปไหนเราจะตั้งวิญญาณไว้ที่หน้าผาก(ความสนใจ)สักพักหนึ่งความสงบจากสมาธิดำดิ่งลึกลงไปกว่าที่เคยปฏิบัติมาเป็นครั้งแรก เกิดเป็นความนิ่ง และความละมุนของสมาธิกว่าที่ผ่านมา เรากำหนดรู้ความสงบขั้นนี้เป็นครั้งแรกในชีวิต แต่บอกตัวเองว่าความสงบยิ่งกว่านี้ยังมีอยู่เราจะใช้ประโยชน์จากความสงบนี้พิจารณาธรรมน้อมเข้าพระไตรลักษณ์ต่อไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 02:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




100_3755_resize_resize.JPG
100_3755_resize_resize.JPG [ 51.24 KiB | เปิดดู 4745 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับทุกๆท่านที่มาแสดงความเห็นในกระทู้นี้
ขอให้เจริญในธรรมกันยิ่งๆขึ้นไปจนปิดประตูอบายได้ทันในชาตินี้ทุกท่านทุกคนเลยนะครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณโฮฮับ ขอเอาใจช่วยเป็นพิเศษครับ

tongue
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร