วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 02:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:

จารย์คะ เข้าไปที่เว็บบอร์ดไม่ได้ค่ะ หรือว่า


ได้แล้วจ้า :b1:

http://fws.cc/whatisnippana/index.php

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ พี่กรัชกาย พลอยเข้าใจเรื่องปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในมากขึ้นแล้ว

สิ่งที่พี่กรัชกายต้องการสื่อ หมายถึง เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยภายนอก
แต่ควรฝึกฝนปัจจัยภายในคือ โยนิโสมนสิการ ให้มากขึ้น รึปล่าวคะ?

ได้ฟังไฟล์ที่พี่กรัชกายแนบมาแล้ว พลอยพึ่งรู้ว่า
- อายุแท้ ในทางพุทธศาสนา ไม่เหมือนกับ อายุ ในความหมายทั่วไป ดูๆไปแล้วคล้ายกับพลังชีวิต เลยนะคะ
- อิทธิบาท 4 ทำให้มีอายุแท้มากขึ้นได้ ตอนแรกเข้าใจเพียงว่า อิทธิบาท 4 คือ วิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น้องพลอยฟังหัวข้อนี้หรือยังครับ ยากขึ้นอีกหน่อย

1. จากเทพสูงสุด สู่ธรรมสูงสุด

http://www.ideaforlife.net/dhamma/sound/payutto/11.html


มีเวลาศึกษา อิทธิบาทเพิ่มเติมที่นี่อีกครับ

viewtopic.php?f=2&t=20241

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


buddha's student เขียน:
ขอบคุณค่ะ พี่กรัชกาย พลอยเข้าใจเรื่องปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในมากขึ้นแล้ว

สิ่งที่พี่กรัชกายต้องการสื่อ หมายถึง เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยภายนอก
แต่ควรฝึกฝนปัจจัยภายในคือ โยนิโสมนสิการ ให้มากขึ้น รึปล่าวคะ?


คำว่า รู้ มีความหมายกว้าง มีหลายระดับ เราต้องการ รู้ ระดับไหนขั้นไหนล่ะ

แต่เอาอย่างนี้ก่อนครับ
ปัจจัยภายนอกก็ผ่านเข้ามาทางตา (ตา+รูป) ทางหู (หู+เสียง) เป็นต้น ตามปกติอยู่แล้วนี่ ส่วนปัจจัยภายใน เรามีท่าทีต่อสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน...นั้นยังไง อยู่ที่ปัญญาหรือโยนิโสมนสิการแล้วทีนี้

โยนิโสมนสิการมีหลายอย่างลองๆดูที่นี่ครับ

viewtopic.php?f=2&t=31566

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ พี่กรัชกาย

1. พลอยได้ฟังธรรมเรื่อง จากเทพสูงสุดสู่ธรรมสูงสุด แล้วค่ะ
( แต่หัวข้อธรรมอื่นๆยังไม่ได้ฟังเลยค่ะ )
ฟังแล้วได้รู้ว่า
- เห็นสาเหตุ ความเป็นมา ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของ หลักธรรมหลักๆในพุทธศาสนา
- รู้ตัวแล้วว่า เริ่มหลงในเหตุการณ์ (คล้ายๆความจริงทางโลก) ด้วยขาดสัมปชัญญะว่า เหตุการณ์ต่างๆทางโลกนี้ ต่างก็อยู่ในกฎไตรลักษณ์ รู้เท่าไหร่ก็ไม่สิ้นสุด

แต่พลอยยังคงสงสัยว่าหากเราไม่รู้เหตุการณ์ทางโลกบ้างเลย(ไม่ต้องรู้ทุกรายละเอียดและทุกเรื่อง) แล้วเราจะรู้เท่าทันและเข้าใจความจริงทางธรรมได้อย่างไรคะ

เนื่องจากในทัศนคติของพลอยแล้ว
- ความจริงทางโลกมีลักษณะของรูปธรรมที่ชัดเจนกว่าความจริงทางธรรม ดังนั้นหากต้องการเข้าใจสิ่งที่ยากก็ควรจะเริ่มจากสิ่งที่ง่ายก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาไปในแง่ของการสืบหาเหตุและผล การแยกสิ่งๆหนึ่งว่าเป็นปัจจัยให้เกิดผล หรือ เป็น ผลจากปัจจัยนั้น หรือ ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกัน

พลอยว่า พลอยเริ่มพูดงงๆแล้ว ขอยกตัวอย่างที่อาจารย์ที่คณะสอนที่คณะวันนี้เลยล่ะกัน^^
อาจารย์สอนนักศึกษาใจความว่า บนโลกนี้มีกรณีตัวอย่างอยู่ 4 แบบ

แบบแรก สิ่งที่ปรากฏ เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
แบบที่สอง สิ่งที่ปรากฎ ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
แบบที่สาม สิ่งที่ไม่ได้ปรากฎ เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
แบบที่สี่ สิ่งที่ไม่ได้ปรากฏ ไม่เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
(ไม่รู้ว่าจะทำให้งงหรือเข้าใจมากขึ้นกันแน่ - -" )




2. พลอยได้อ่านเรื่อง อิทธิบาทสี่ แล้วค่ะ อ่านแล้วได้รู้ว่
- เข้าใจสาเหตุ ความสำคัญ ลักษณะและความสัมพันธ์ของฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มากขึ้น
- เมื่อก่อนเข้าใจว่า ฉันทะ เป็นธรรมเด่นที่ก่อให้เกิด วิริยะ จิตตะและวิมังสาตามมา แต่ตอนนี้รู้ว่า อาจไม่จำเป็นก็ได้ หนึ่งในสี่นี้ หากมีธรรมใดธรรมนึงเป็นธรรมเด่นก็สามารถทำให้ธรรมอื่นๆตามมาได้


แต่พลอยยังคงสงสัยว่า
ระหว่าง วิมังสา และ โยนิโสมนสิการ มีความสัมพันธ์และต่างกันอย่างไรคะ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
1. พลอยได้ฟังธรรมเรื่อง จากเทพสูงสุดสู่ธรรมสูงสุด แล้วค่ะ
( แต่หัวข้อธรรมอื่นๆยังไม่ได้ฟังเลยค่ะ )
ฟังแล้วได้รู้ว่า
- เห็นสาเหตุ ความเป็นมา ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของ หลักธรรมหลักๆในพุทธศาสนา
- รู้ตัวแล้วว่า เริ่มหลงในเหตุการณ์ (คล้ายๆความจริงทางโลก) ด้วยขาดสัมปชัญญะว่า เหตุการณ์ต่างๆทางโลกนี้ ต่างก็อยู่ในกฎไตรลักษณ์ รู้เท่าไหร่ก็ไม่สิ้นสุด

แต่พลอยยังคงสงสัยว่าหากเราไม่รู้เหตุการณ์ทางโลกบ้างเลย (ไม่ต้องรู้ทุกรายละเอียดและทุกเรื่อง) แล้วเราจะรู้เท่าทันและเข้าใจความจริงทางธรรมได้อย่างไรคะ


แต่พลอยยังคงสงสัยว่าหากเราไม่รู้เหตุการณ์ทางโลกบ้างเลย (ไม่ต้องรู้ทุกรายละเอียดและทุกเรื่อง) แล้วเราจะรู้เท่าทันและเข้าใจความจริงทางธรรมได้อย่างไรคะ

เหตุการณ์หรือประสบการณ์ทางโลกอย่างที่น้องพลอยคิดก็เกิดมีแก่มนุษย์ทุกคนอยู่แล้วนี่ โดยรับมาทางตา ทางหู เป็นต้น ในแต่ละวันๆ พระพุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ...รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจคิด) ท่านมิได้ห้ามการรับรู้ แต่ว่าเราควรรู้เท่ารู้ทันสิ่งนั้นๆตามที่มันเป็น ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ

มิใช่รับรู้ รู้เห็นตามที่เราอยากให้มันเป็น ด้วยความยึดความอยาก (ความอยากที่เป็นตัณหา...ความอยากที่เป็นฉันทะท่านส่งเสริม) ความชอบ ความชัง ถูกใจ ขัดใจ...ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เนื่องจากในทัศนคติของพลอยแล้ว
- ความจริงทางโลกมีลักษณะของรูปธรรมที่ชัดเจนกว่าความจริงทางธรรม ดังนั้นหากต้องการเข้าใจสิ่งที่ยาก ก็ควรจะเริ่มจากสิ่งที่ง่ายก่อน แล้วค่อยๆพัฒนาไปในแง่ของการสืบหาเหตุและผล การแยกสิ่งๆหนึ่งว่าเป็นปัจจัยให้เกิดผล หรือ เป็น ผลจากปัจจัยนั้น หรือ ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกัน



(ชื่อเรียกพุทธศาสนาอีกอย่าง “ธรรมวินัย” ศีล วินัย ท่านเน้นสอนเกี่ยวกับด้านรูปธรรม)

พระพุทธเจ้าให้ความสำคัญทั้งรูปธรรม นามธรรม (เรียกสั้นๆว่า รูปนาม) เพราะชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ 2 ส่วน คือ รูปธรรม (ร่างกาย) ส่วนหนึ่ง นามธรรม (จิตใจ) ส่วนหนึ่ง สองส่วนนี้ประกอบกันจึงจะเป็นชีวิต ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ไม่เป็นชีวิตไม่เรียกชีวิต

ท่านสอนให้เราฝีกฝนอบรมรู้เท่าทันชีวิตนี้ตามเป็นจริง คือรู้ตามที่สิ่งนั้นๆมันเป็นของมันเอง ชัดๆเช่น วิธีปฏิบัติที่เรียกว่า สติปัฏฐาน 4 ข้อ
ข้อแรก กายานุปัสสนา - ตามดูรู้ทันกาย, พิจารณากาย ที่เหลือเป็นส่วนนามธรรม ก็ตามดูรู้ทันตามที่มันเป็นของมัน


คำสอนที่จำแนกชีวิตโดยความเป็นขันธ์ ที่เรียกว่าขันธ์ 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

รูปขันธ์ (รูป+ขันธ์) รูป ก็ได้แก่ กาย ที่ท่านให้ตามดูรู้ทันในสติปัฏฐานนั่นเอง ที่เหลือเป็นนามธรรม ก็พึงตามดูรู้เท่าทัน

อนึ่ง หากใช้คำพูดว่า ตาเห็นรูป ฯลฯ รูป (สีต่างๆ) ในที่นี้มีความหมายกว้าง คือ หมายถึงสิ่งที่มองเห็นด้วยตาทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พลอยว่า พลอยเริ่มพูดงงๆแล้ว ขอยกตัวอย่างที่อาจารย์ที่คณะสอนที่คณะวันนี้เลยล่ะกัน^^
อาจารย์สอนนักศึกษาใจความว่า บนโลกนี้มีกรณีตัวอย่างอยู่ 4 แบบ

แบบแรก สิ่งที่ปรากฏ เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
แบบที่สอง สิ่งที่ปรากฎ ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
แบบที่สาม สิ่งที่ไม่ได้ปรากฎ เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
แบบที่สี่ สิ่งที่ไม่ได้ปรากฏ ไม่เป็นสิ่งเดียวกับ สิ่งที่เป็น
(ไม่รู้ว่าจะทำให้งงหรือเข้าใจมากขึ้นกันแน่ - -" )



เพื่อความเห็นคำพูดชัดๆ อาจารย์ท่านยกตัวอย่างแต่ละแบบๆประกอบความเข้าใจด้วยไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
2. พลอยได้อ่านเรื่อง อิทธิบาทสี่ แล้วค่ะ อ่านแล้วได้รู้ว่า
- เข้าใจสาเหตุ ความสำคัญ ลักษณะและความสัมพันธ์ของฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มากขึ้น
- เมื่อก่อนเข้าใจว่า ฉันทะ เป็นธรรมเด่นที่ก่อให้เกิด วิริยะ จิตตะและวิมังสาตามมา แต่ตอนนี้รู้ว่า อาจไม่จำเป็นก็ได้ หนึ่งในสี่นี้ หากมีธรรมใดธรรมนึงเป็นธรรมเด่นก็สามารถทำให้ธรรมอื่นๆตามมาได้

แต่พลอยยังคงสงสัยว่า
ระหว่าง วิมังสา และ โยนิโสมนสิการ มีความสัมพันธ์และต่างกันอย่างไรคะ?


แต่พลอยยังคงสงสัยว่า
ระหว่าง วิมังสา และ โยนิโสมนสิการ มีความสัมพันธ์และต่างกันอย่างไรคะ?


คำศัพท์ วิมังสา ก็ดี โยนิโสมนสิการ ก็ดี องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาครับ :b1:

ปัญญา เป็นคำกลางมีคำศัพท์หลายคำ ตัวอย่าง่เช่น สัมปชัญญะ วิปัสสนา ปริญญา ปฏิสัมภิทา ญาณ วิชชา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ ฯลฯ ดังนั้นปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ

หากไปพบเห็น คำศัพท์เหล่านั้นที่ใด ก็รู้คิดเกี่ยวกับปัญญานะครับ แล้วจะไม่งง

ที่งงกันอีกก็คือศัพท์ คือ สมาธิ กับ สมถะ ในตำราท่านใช้แทนกันได้ อย่างท่านจะพูดว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ท่านก็ยักพูดเสียว่า ศีล สมถะ วิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ พี่กรัชกาย ตอนนี้พลอยเข้าใจเรื่องปัจจัยภายนอกและภายในที่นำไปสู่สัมมาทิฏฐิมากขึ้นแล้วค่ะ

ที่อาจารย์สอน พลอยจำไม่ได้อ่ะค่ะ
ตอนนั้นอาจารย์สอนเป็นกลอนภาษาอังกฤษ แล้วก็แปลเป็นไทยพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

กลอนภาษาอังกฤษ
there are 4 cases in the world.
Either things appear and happened to be.
Either things appear or happened to be.
Neither things appear but not happened to be.
Neither things appear nor happened to be.
Understanding to aim these cases is the wise man task.
(คิดว่าน่าจะประมาณนี้ค่ะ)

ยกตัวอย่าง(แบบพลอยเข้าใจเอง)
1. สิ่งที่ปรากฎคือ สิ่งที่เป็น...Either things appear and happened to be.
เช่น(ขอยกคำพูดจากท่านว. วชิรเมธีนะคะ) ดอกส้มสีทอง ดูเรยาทำไม่ดีต่อแม่ ถ้าเราดูตื้นๆ เราก็จะเห็นว่าเด็กคนนี้ก้าวร้าว ไม่ให้ลูกดูเดี๋ยวลูกจะมาก้าวร้าวกับแม่ แต่ถ้าเราดูอย่างวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์ เราจะเห็นว่า ที่ เค้าเอาแต่ใจก็เพราะว่าแม่รักลูกมากเกินไป แม่เอาแต่ใจลูกปล่อยให้ลูกเอาแต่ใจตนเอง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นลูกบังเกิดเกล้า แม่ก็กลายเป็นบ่าวทาสช่วงใช้ของลูกไป หากดูอย่างนี้จะได้รู้ว่าการเป็นแม่อย่างนี้ไม่ดีเลย เราก็ได้คติในการเลี้ยงลูกใช่ไหม

ดำจะชัดเจนก็ต่อ เมื่อมีขาว ขาวจะชัดเจนก็ต่อเมื่อมีดำ เราต้องพร้อมยอมรับโลกทั้งสองด้าน ฉะนั้นเราต้องมีภูมิคุ้มกัน ถ้าเราเจอคนดีๆถ้าออกจากบ้านเราจะรู้ทัน ไหม คุณไม่มีทางหรอก เราต้องเรียนรู้ทั้งดีและไม่ดี

2. สิ่งที่ปรากฏไม่ใช่สิ่งที่เป็น...Either things appear or happened to be.
เช่น การเชื่อคำนินทาว่าร้ายทั้งๆที่ไม่ได้รู้จักตัวเขา อย่างกรณีข่าวดาราบางข่าว

3.สิ่งที่ไม่ได้ปรากฏ คือ สิ่งที่เป็น..Neither things appear but not happened to be.
เช่น เด็กหญิงคนนึงมาโรงเรียนสายเป็นประจำ แต่งตัวไม่เรียบร้อย หัวยุ่ง ทุกวัน
เราอาจคิดได้ว่าเด็กหญิงคนนี้วิ่งเล่นซุกซน ไม่มีความรับผิดชอบ แต่ความจริงแล้วเด็กหญิงคนนี้ต้องดูแลแม่ที่เป็นอัมพาตอยู่ ตอนเช้าจึงมาสาย ส่วนตอนกลางวันก็ต้องรับกลับไปป้อนข้าวกลางวันแม่

4. สิ่งทีไม่ได้ปรากฎ คือ สิ่งที่ไม่ได้เป็น...Neither things appear nor happened to be.
เช่น การที่เราไม่ได้สอบซ่อม เป็นเพราะ คะแนนสอบเราไม่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน


ป.ล. พลอยต้องขอโทษล่วงหน้านะคะ พลอยคิดว่าตอนนี้พลอยยังคงอธิบายได้ไม่ค่อยดีเพราะว่ายังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้และเลือกศัพท์บางคำไม่เหมาะสม กระชับ ชัดเจน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น้องพลอยยังติดตามอยู่ไหมครับ

ฟังหัวข้อนี้

13. อะไรกันคนไทย ยังไม่รู้จักว่าสันโดษอย่างไหนดี อย่างไหนไม่ดี

ที่

http://www.ideaforlife.net/dhamma/sound/payutto/11.html

จะเห็นแนวทางที่พูดมาบ้างพอสมควร ทั้งความหมายของสันโดษตามหลักพุทธ ความหมายของตัณหา-ฉันทะ ความเป็นเหตุปัจจัยของตัวธรรมที่ส่งต่อสืบเนื่องกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะ พี่กรัชกาย

พลอยต้องขอโทษด้วยนะคะ ที่ตอบกระทู้ช้า
พอดีพลอยพึ่งสอบเสร็จวันนี้ค่ะ
แล้วก็โน้ทบุ๊คพลอยยังส่งซ่อมอยู่ เหมือนการ์ดจอจะเสีย ฟังและดูมัลติมีเดียไม่ได้เลย
ซ่อมแล้วยังไม่ได้คืนเลยค่ะ ดีนะเนี่ยที่อยู่ในช่วงประกันอยู่
ตอนนี้ยืมโน้ทบุ๊คเพื่อนอยู่ค่ะ^^

พลอยได้ฟังธรรมหัวข้อที่พี่กรัชกายแนะนำแล้วค่ะ
ทำให้พลอยเข้าใจว่า สันโดษ ตัณหาและ ฉันทะ เป็นอย่างไร

สันโดษ คือ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ คือไม่โลภ ทำตามเหตุตามปัจจัย ไม่คาดหวัง ไม่ว้าวุ่น
ตัณหา คือ ความอยากในสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นอกุศลกรรม
ฉันทะ คือ ความอยากในสิ่งที่ดีงาม สิ่งเป็นกุศลกรรม

เราควรสันโดษทางวัตถุ แต่มีฉันทะทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2011, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สันโดษ คือ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ คือไม่โลภ ทำตามเหตุตามปัจจัย ไม่คาดหวัง ไม่ว้าวุ่น
ตัณหา คือ ความอยากในสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นอกุศลกรรม
ฉันทะ คือ ความอยากในสิ่งที่ดีงาม สิ่งเป็นกุศลกรรม


อืม ผมอยากฟังคุณกรัชกายอธิบายเช่นกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกหน่อยพวกเกาหลีพวกฝรั่งกินขี้ คนไทยก็คงจะกินตาม เพราะมันเป็นกระแส มันเป็นแฟชั่น ส่วนใครที่มีปัญญาหน่อยไม่กิน ก็จะถุกกล่าวหาไม่ว่าทันสมัย ตกยุค หล้าหลัง สงสัยผมต้องไปโพสถ้าแกล้งตายไม่งั้นเดียวจะไม่ทันกระแส ถูกกล่าวกล่าวว่าหล้าหลังอีก s006

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อ้างคำพูด:
สันโดษ คือ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ คือไม่โลภ ทำตามเหตุตามปัจจัย ไม่คาดหวัง ไม่ว้าวุ่น
ตัณหา คือ ความอยากในสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่เป็นอกุศลกรรม
ฉันทะ คือ ความอยากในสิ่งที่ดีงาม สิ่งเป็นกุศลกรรม

ตันหาคือ ความอยากทั้งส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล เช่นผมอยากจะบรรลุธรรมผมจึงมาปฏิบัติธรรม
ฉันทะคือ ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ไม่ดิ้นรนขนขวายในสิ่งที่เกินความจำเป็น Onion_R Onion_R

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 30 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร