วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 16:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 18:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


หรือ พระสูตรนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127

ความบางตอนจากพาหิยสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง

เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
ดูก่อนพาหิยะ

ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจัก

เป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อ

รู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี

ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีใน

ระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.


ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิย-

ทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 18:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
งั๊นก็เอาบทนี้ไปสอนสิ่

การละนันทิ
ภพแม้ชั่วขณะดีกนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ

ภิกษุ ท. ! คูถ แม้น้อยนิด ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็นฉันใด. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ (ผลแห่งภวตัณหา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่จะกล่าวได้.

เอก. อํ ๒๐/๔๖/๒๐๓.
ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

ภิกษุ ท. ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้ไม่เข้าไปหาเป็นผู้หลุดพ้น.

ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญานที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้ ;

ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถึงเวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญานที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ :


ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ง เป็นวิญญานที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญานที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจักกล่าวอย่างนี้ว่า "เราจักบัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาน โดย เว้นจากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาล" ดังนี้นั้น นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละ ได้แล้ว ;

เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.


วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ;

เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง ; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ; เมื่อไม่หวันไหวก็ปรินิพพานเฉพาะคน ;

ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๔


ความเห็นของท่านมันไม่เที่ยงตั้งแต่การใช้สัญญาเป็นสิ่งเข้ามาน้อมนำให้จิตเข้าไปตั้งในอารมณ์

ถ้าปฏิบัติถูก ความเห็นในธรรมที่ได้จะสอดคล้องกับธรรมทุกหมวดทั้งหมดทั้งเล่มไม่ว่าจะเป็นในตะกร้าใบไหน
และจะสามารถศึกษาลึกลงไปได้ในทุกแง่ แล้วแต่กำลังของผู้ปฏิบัติ

แล้วเมื่อจะหยิบจับธรรมใดมาบอกมากล่าว มาสอน
จะไม่คิดไปหยิบธรรมอื่นอันเป็นธรรมนอกคำสอนของพระพุทธองค์เลย
เพราะ สำนึกแห่งการเป็นผู้รู้ตามนั้น มันเด่นชัด ชัดเจน ชัดแจ้งอยู่ในใจ
นอกเสียจากว่า มานะที่ตนยังมี(แต่ไม่เห็น)
อันทำให้เห็นว่าตนนั้นเป็นผู้ทรงปัญญาเหนือสรรพสัตว์ทั้งมวลในกาล
และไหลหลงไปเทียบชั้น ปัญญาพระพุทธองค์

เพราะ การไปทำอย่างนั้น มันแสดงความสำคัญในปัญญาตนนั้นเหนือกว่าพระพุทธองค์
ประมาทธรรมของพระพุทธองค์ว่าพระองค์สอนธรรมที่รู้ตามได้ยาก
เป็นเหตุทำให้ต้องอาศัยผู้รู้ที่อยู่ตามสำนักธรรมต่าง ๆ นำธรรมของพระองค์มาดัดแปลงให้ง่าย
ทำแค่นี้แหละ ก็บรรลุธรรม
จึงรู้แค่นี้ เข้าใจแค่นี้ สอนกันแค่นี้

ทำให้ศัทธาที่เคยรวมศูนย์ ไหลลงไปสู่สำนักต่าง ๆ กระจัดกระจาย
ไม่ตั้งอยู่ในฐานเดิมที่เคยอยู่
ความเสื่อมที่ดำเนินมา ก็เพราะศรัทธาที่ไหลลงไปสู่สาขาเล็กสาขาน้อย

สาวกที่ก้ิาวเดินตาม แทนที่จะกล่าวธรรมของพระพุทธองค์ ก็กลับกลายเป็นท่องกล่าวคำสอนสาวก

สาวกที่กล่าวว่านับถือพุทธศาสนา มุ่งมั่นปลายทางแห่งนิพพานตามที่พระศาสดากล่าว
แต่กลับพร่ำบ่นแต่คำสอนของอาจารย์ตน

ธรรมไม่ได้สร้างผู้ปฏิบัติที่เห็นแก่ตัว แต่สร้างนักปฏิบัติที่เห็นแก่ธรรม
ไม่มีใจคิดกระทำสิ่งใดเพื่อรักษาตัว แต่มีใจที่จะคิดและทำทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม
ไม่ได้เพื่อบำรุงตน
เพื่อส่งต่อความสมบูรณ์แห่งธรรม

ไม่สนหรอกว่าชาตินี้จะได้มีโอกาสบรรลุธรรมเป็นอริยะกะเขาได้มั๊ย
สนแค่ว่า สรรพสัตว์ีที่ต้องเวียนว่ายอยู่ในทุกข์อีกตั้งมากมายตั้งเท่าไร
เมื่อเราได้รับโอกาสในธรรมที่อริยะได้สืบทอดส่งต่อมาแล้ว
แล้วใยเราจะเอาความคิดเห็นภายใต้กรอบปัญญาของตน
กีดกันโอกาสของสรรพสัตว์ที่จะเกิดมาในภายภาคหน้าล่ะ

ถ้าเราเอาแต่ธรรมตามความเห็นภายใต้กรอบปัญญาของเรามาชนกัน
แล้วธรรมของพระพุทธองค์จะเหลืออะไร

เราเป็นคนหนึ่งที่ ก็แค่วางความคิดเห็นในธรรมของตนลง
อยู่อย่างไร ก็เก็บมันไว้อย่างมิดชิดเช่นนั้น
เพราะเป็นธรรมที่เรารู้แล้วว่า มันเป็นความได้มาเฉพาะตน
ไม่ใช่แนวทางที่จะใช้ได้ครอบคลุมไปในทุกหมู่ชน
และเมื่อจะต้องสอน ต้องให้คำแนะนำ หรือบอกกล่า่ว
เราก็หันมาหยิบธรรมของพระพุทธองค์
หรือหยิบธรรมของคณาจารย์ที่สอดคล้องกับธรรมของพระพุทธองค์
ใช้ส่วนไหน ก็พิจารณาให้เหมาะสมตามกาลไป

เพื่อไม่เป็นการปิดกั้นหนทางในการก้าวเดินของผู้แสวงหา

:b16: :b16: :b16:


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 19:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


:b10: ใครแสดงธรรมที่ไม่มีในตน ว่ามีในตน
หรือใครที่ไปเอาความคิดเห็นของคนอื่น มาแสดง ว่าเป็นความคิดเห็นของตน

เข้าข่ายเป็นพวกลวงโลก

หนทางไปคือ อบายภูมิ

ใครทำอย่างนั้นเขาก็น่าจะรู้แก่ใจ


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
งั๊นท่านก็ลองวางเฉยกับการอยากที่จะมาแสดงความเห็นซะ
ดูว่าเป็นยังไง และก็ไม่ต้องเข้ามาตอบ
กลัวเสียสมาชิกเรอะ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ดับฉันทะที่จะแสดงธรรมนะ ท่านสั่งสอนให้สาวกขวนขวายที่จะศึกษาธรรม ขวนขวายที่จะแสดงธรรม

การวางเฉย คือ เฉยต่อสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัส จะได้ไม่อยู่ในทางของมาร

Quote Tipitaka:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ;

ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ


อ้างคำพูด:
viewtopic.php?f=1&t=35471&start=195

ท่านเคยเข้าไปอ่านการเรียบเรียงธรรมของสมาชิกท่านอื่น ๆ ที่เข้ามาบ้างรึเปล่า

ลองไปดูสิ่ ถ้าดูตามหลักเกณฑ์ที่ท่านว่า
ท่านที่แสดงความเห็นทางธรรมอยู่ที่กระทู้นี้ ก็คงไม่ใช่ธรรมดาเลย
ไปลากเอาสมาธิของพระอริยมาให้ปุถุชนปฏิบัติ ขาดความเคารพยำเกรงในอริยสมาธิ เอาคำสอนของพวกคณะนิครณ์มาปนคำสอนพระพุทธเจ้า เท่าที่อ่านก็สรุปมาได้แค่นี้

สมาธิของพระอริยะเกิดจากอุปธิวิเวก หรือ เกิดจากการละอุปทานขันธ์ลงไปได้ ไม่ใช่ให้ไปทำสมาธิแล้วจะละอุปทานขันธ์ได้ มันเป็นการเอาผลเป็นเหตุเอาเหตุเป็นผล

พวกซื่อบื้ออยู่ในฌาน ไม่ใช่ว่าไม่มีผัสสะ เพราะยังหน่วงอามรณ์ในมโนวิญญานอยู่ ชวนจิตเสพอุเบกขาเวทนา มีรูปสัญญาอรูปสัญญาเกิดประกบกับจิตตลอดเวลา ยังเกิดตัณหาอุปทาน อย่าเข้าใจว่า ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แปลว่า ไม่มีสัญญา อย่างดีก็ได้ไปเกิดเป็นพรหมณ ถ้าเป็นผู้ชาย ถ้าเป็นผู้หญิงไม่รู้จะได้ไปใหน

อ้างคำพูด:
ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ง เป็นวิญญานที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;
ตอนแปล ให้ยกมาทั้งบริบท สรุปทั้งสูตร ไม่ใช่เน้นที่คำใดคำหนึ่ง ... สูตรนี้ท่านสอนเรื่องอุปทานขันธ์ ๕ ไม่ได้ให้ละสัญญา แต่ให้ละราคะในสัญญา วิญญานอันไม่มีที่ตั้ง คือ ไม่ได้ตั้งอยู่ที่อุปทานขันธ์
อ้างคำพูด:
ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละ ได้แล้ว ;
พระไตรปกฏกแปลชอบย่อ ชอบละ มีเครื่องหมายไปยาลเต็มไปหมด ถ้าอ่านรู้เรื่อง ต้องรู้ว่า ที่ละไปนั้น คืออะไร ตรงใหนเป็นคำย่อ ตรงใหนเป็นคำเต็ม เช่นข้อความนี้ ถ้าจะเขียนให้เข้าในมากขึ้น ก็ต้องเขียนว่า;

ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ราคะในเวทนาธาตุ ราคะในสัญญาธาตุ ราคะในสังขารธาตุ ราคะในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุละ ได้แล้ว ;


ผู้ที่ได้วิปัสสนา ดับกิเลสตัณหาลงไปได้ ก็เหมือนเสาหินขนาด ๓ คนโอบ สูง ๑๖ ศอก ฝังลงไปในดิน ๘ ศอก มั่นคงแบบนี้ ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนได้

อาการรู้แล้วไม่เป็นผู้ติดตาติดใจ รู้สักแต่ว่ารู้ เห็นสักแต่ว่าเห็น หรือ รู้เห็นแล้วไม่เกิดเวทนา ไม่เกิดความคิดปรุงแต่ง อาการแบบนี้ ไม่สามารถเกิดได้กับปุถุชน หรือ แม้แต่ฌานลาภีบุคคล ถ้าคุณแน่ใจว่าทางเดินของคุณเดินถูกทาง คุณก็ต้องทำแบบนี้ได้ ไม่ใช่เฉพาะตอนอยู่ในสมาธิ แต่ทำได้ตลอดเวลาที่ไม่หลับ ... คำสอนของพระพุทธองค์ท้าพิสูจณ์ เอา out-come มาวัดได้เลย ทำแล้วไม่ได้ผลตามนี้เอามีดมาตัดคอผมได้ที่ลำพูน (เว้นพวกห้ามมรรคผล) .... แล้วตกลงจะได้ทำหรือจะทำได้มั้ย?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาปัญญา คือ ความเห็นจริงตามจริงเท่าทันปัจจุบัน การคิดเห็นได้ตามนี้ สามารถดับ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ทันที เมื่อเกิดการรับข้อมูลจากภายนอก อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รวมไปถึงการคิดนึก

แล้วการรู้เห็นแบบนี้จะทำให้เราเกิดความสุขในชีวิตได้อย่างไร?

สภาวะที่มีอิทธิพลทำให้คนเรา เห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) คิดผิด (มิจฉาสังกัปปะ) พูดผิด (มิจฉาวาจา) ทำผิด (มิจฉากัมมันตะ) ก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลง เมื่อเราดำเนินชีวติประจำวัน ปล่อยให้ ความพอใจไม่พอใจมาบังคับบัญชาเราแล้ว เราก็จะคิดผิดทำผิดอยู่เรื่อยไป เมื่อเกิดปัญหาในชีวิต ก็แก้ไขปัญหาแบบผิดๆ เป็นการสร้างปัญหาทับถมปัญหาไม่สิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น มีคนมาต่อว่าเรา เราก็เกิดความโกรธ แก้ปัญหาโดยการด่ากลับ ผลที่ออกมาก็คือการทะเลาะวิวาทที่รุนแรง หรือเด็กกำลังอ่านหนังสือสอบ มีเพื่อนชวนไปเล่น ก็เกิดความอยาก จึงไปโดยไม่สนใจเรื่องสอบ เป็นต้น

ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อลด โลภะ โทสะ โมหะ ลงได้จึงเป็นการแก้ตรงที่เหตุ เป็นต้นตอทำให้เราคิดเห็นผิด เมื่ออุปสรรค์ต่อกระบวนการคิดที่ถูกต้องลดลงหรือหมดไป เราก็จะสามารถคิดวิเคราะห์ปัญญหาหาทางแก้ไขได้ด้วยเหตุด้วยผล ปัญหาในชีวิตจึงสามารถแก้ไขได้ง่าย กล่าวง่ายๆ ก็คือ สามารถแก้ปัญหาโดยไม่หลง

เมื่อเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ก็คิดถูก (สัมมาสังกัปปะ) พูดถูก (สัมมาวาจา) ทำถูก (สัมมากำมันนตะ) จะทำอะไรที่ผิด ก็ไม่อยากทำ เพราะมีปัญญารู้ว่าทำแล้วมีโทษ สิ่งที่จะพาไปทำสิ่งไม่ดี คือ ความพอใจใพอใจ เมื่ออ่อนกำลังลง การที่จะเกิดไปคิดลักขโมย โกหกเอาตัวรอด หลอกลวง ทำร้ายคนอื่น ผิดลูกผิดเมีย กินเหล้าเมายา ประกอบอาชีพที่ไม่สุทจริต ก็ไม่คิดที่จะทำแล้ว เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนเกิดจากความพอใจไม่พอใจและความหลงทั้งสิ้น

ตรงจุดนี้เองที่เรียกว่า เกิดศีลขึ้น ศีลในระดับนี้เรียกว่า ศีลที่ประเสริฐ หรือ อริยศีล เป็นศีลที่เกิดจากปัญญาปหานกิเลสกามอย่างหยาบลงไปได้ ซึ่งมีความแตกต่างกับศีลของบุคคลทั่วไปที่ยังยอมให้ความพอใจไม่พอใจและความหลงเข้าครอบงำอยู่ ผู้ที่ยังอยู่ในกิเลสกาม จะรักษาศีลได้เป็นครั้งคราวเมื่อเกิดสติระลึกถึงศีล ไม่สามารถประคับประคองให้ศีลเกิดได้ตลอดเวลา

ศีลนั้นทำให้คนเราดำเนินชีวิตประจำวันด้วยความไม่ประมาท ไม่ตกต่ำ ปกติมีกายสงบใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวั่นใหวต่อสิ่งที่มากระทบ พฤติกรรมแบบนี้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ในระดับที่วิปัสสนาปัญญาแข็งแรง ความคิดเห็นของบุคคลจะน้อมไปแต่ทางกุศล จิตที่จะคิดเป็นอกุศลนั้นจะเกิดน้อยมากหรือไม่มีเลย จะมีสติเกิดเป็นปกติ ไม่หลงไม่ลืม มีความทรงจำดี ไม่ฟุ้งซ่าน มีความคิดอ่านที่ดี มีผลดีทั้งทางโลกและทางธรรม

สมาธิที่เกิดจากอริยศีล เป็นสมาธิที่มั่นคง ไม่เสื่อมเพราะเริ่มเกิดจากปัญญาที่มั่นคง ไม่ได้เป็นการฝืนบังคับให้สมาธิเกิด เพราะ สมาธิแบบนี้เกิดโดยธรรมชาติ ถ้าจะไม่ไปฝึกสมาธิเพิ่มเติมเลย สมาธิในระดับนี้ จะพัฒนาไปได้จนถึงระดับปฐมฌาน (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์) ถือเป็นสัมมาสมาธิ หากฝึกสมาธิเพิ่มเติม สามารถพัฒนาได้ด้วยความรวดเร็ว ไปจนถึง อรูปฌาน ทั้งนี้ เพราะมีศีลเป็นพื้นฐานที่มั่นคงแล้วนั่นเอง สมาธิแบบนี้เรียกว่า อริยสมาธิ

เมื่อเกิดสมาธิที่มั่นคง ประกอบด้วยสติปัญญา จะน้อมให้เกิด ญานทัสสนะ หรือ วิชา ๓ อภิญญา ๖ วิชา ๘ ซึ่งปัญญาอันยิ่งเหล่านี้ เป็นปัญญาที่จะทำให้เรารู้เห็นสิ่งต่างๆ ได้มากกว่ามนุษย์ปุถุชนโดยทั่วๆ ไป สามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการศึกษาธรรมชาติที่ละเอียดลึกซึ้งต่อๆ ไปได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 22:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา ไม่ใช่ ปัญญา

กระบวนการที่ดึงสัญญาเข้ามากระทำ ไม่ใช่ วิปัสสนา
เป็นกระบวนการที่ค่อนไปในทาง สมถะ

ผลที่ได้เป็นผลในทาง สมถะ ยังไม่ใช่ผลในทาง วิปัสสนา

Supareak Mulpong เขียน:
วิปัสสนาปัญญา คือ ความเห็นจริงตามจริงเท่าทันปัจจุบัน การคิดเห็นได้ตามนี้ สามารถดับ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ทันที เมื่อเกิดการรับข้อมูลจากภายนอก อันได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รวมไปถึงการคิดนึก

แล้วการรู้เห็นแบบนี้จะทำให้เราเกิดความสุขในชีวิตได้อย่างไร?


เมื่อเห็น "ธรรมดา" ก็จะเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง
สิ่งที่เคยตั้งไว้ไม่ถูกที่ถูกทาง ก็ค่อย ๆ กลับเข้ามาตั้งไว้ในที่ในทางเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ
เท่านั้นเอง


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
สภาวะที่มีอิทธิพลทำให้คนเรา เห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) คิดผิด (มิจฉาสังกัปปะ) พูดผิด (มิจฉาวาจา) ทำผิด (มิจฉากัมมันตะ) ก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลง เมื่อเราดำเนินชีวติประจำวัน ปล่อยให้ ความพอใจไม่พอใจมาบังคับบัญชาเราแล้ว เราก็จะคิดผิดทำผิดอยู่เรื่อยไป เมื่อเกิดปัญหาในชีวิต ก็แก้ไขปัญหาแบบผิดๆ เป็นการสร้างปัญหาทับถมปัญหาไม่สิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น มีคนมาต่อว่าเรา เราก็เกิดความโกรธ แก้ปัญหาโดยการด่ากลับ ผลที่ออกมาก็คือการทะเลาะวิวาทที่รุนแรง หรือเด็กกำลังอ่านหนังสือสอบ มีเพื่อนชวนไปเล่น ก็เกิดความอยาก จึงไปโดยไม่สนใจเรื่องสอบ เป็นต้น

ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อลด โลภะ โทสะ โมหะ ลงได้จึงเป็นการแก้ตรงที่เหตุ เป็นต้นตอทำให้เราคิดเห็นผิด เมื่ออุปสรรค์ต่อกระบวนการคิดที่ถูกต้องลดลงหรือหมดไป เราก็จะสามารถคิดวิเคราะห์ปัญญหาหาทางแก้ไขได้ด้วยเหตุด้วยผล ปัญหาในชีวิตจึงสามารถแก้ไขได้ง่าย กล่าวง่ายๆ ก็คือ สามารถแก้ปัญหาโดยไม่หลง

เมื่อเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ก็คิดถูก (สัมมาสังกัปปะ) พูดถูก (สัมมาวาจา) ทำถูก (สัมมากำมันนตะ) จะทำอะไรที่ผิด ก็ไม่อยากทำ เพราะมีปัญญารู้ว่าทำแล้วมีโทษ สิ่งที่จะพาไปทำสิ่งไม่ดี คือ ความพอใจใพอใจ เมื่ออ่อนกำลังลง การที่จะเกิดไปคิดลักขโมย โกหกเอาตัวรอด หลอกลวง ทำร้ายคนอื่น ผิดลูกผิดเมีย กินเหล้าเมายา ประกอบอาชีพที่ไม่สุทจริต ก็ไม่คิดที่จะทำแล้ว เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนเกิดจากความพอใจไม่พอใจและความหลงทั้งสิ้น

ตรงจุดนี้เองที่เรียกว่า เกิดศีลขึ้น ศีลในระดับนี้เรียกว่า ศีลที่ประเสริฐ หรือ อริยศีล เป็นศีลที่เกิดจากปัญญาปหานกิเลสกามอย่างหยาบลงไปได้ ซึ่งมีความแตกต่างกับศีลของบุคคลทั่วไปที่ยังยอมให้ความพอใจไม่พอใจและความหลงเข้าครอบงำอยู่ ผู้ที่ยังอยู่ในกิเลสกาม จะรักษาศีลได้เป็นครั้งคราวเมื่อเกิดสติระลึกถึงศีล ไม่สามารถประคับประคองให้ศีลเกิดได้ตลอดเวลา

ศีลนั้นทำให้คนเราดำเนินชีวิตประจำวันด้วยความไม่ประมาท ไม่ตกต่ำ ปกติมีกายสงบใจสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวั่นใหวต่อสิ่งที่มากระทบ พฤติกรรมแบบนี้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ในระดับที่วิปัสสนาปัญญาแข็งแรง ความคิดเห็นของบุคคลจะน้อมไปแต่ทางกุศล จิตที่จะคิดเป็นอกุศลนั้นจะเกิดน้อยมากหรือไม่มีเลย จะมีสติเกิดเป็นปกติ ไม่หลงไม่ลืม มีความทรงจำดี ไม่ฟุ้งซ่าน มีความคิดอ่านที่ดี มีผลดีทั้งทางโลกและทางธรรม

สมาธิที่เกิดจากอริยศีล เป็นสมาธิที่มั่นคง ไม่เสื่อมเพราะเริ่มเกิดจากปัญญาที่มั่นคง ไม่ได้เป็นการฝืนบังคับให้สมาธิเกิด เพราะ สมาธิแบบนี้เกิดโดยธรรมชาติ ถ้าจะไม่ไปฝึกสมาธิเพิ่มเติมเลย สมาธิในระดับนี้ จะพัฒนาไปได้จนถึงระดับปฐมฌาน (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์) ถือเป็นสัมมาสมาธิ หากฝึกสมาธิเพิ่มเติม สามารถพัฒนาได้ด้วยความรวดเร็ว ไปจนถึง อรูปฌาน ทั้งนี้ เพราะมีศีลเป็นพื้นฐานที่มั่นคงแล้วนั่นเอง สมาธิแบบนี้เรียกว่า อริยสมาธิ

เมื่อเกิดสมาธิที่มั่นคง ประกอบด้วยสติปัญญา จะน้อมให้เกิด ญานทัสสนะ หรือ วิชา ๓ อภิญญา ๖ วิชา ๘ ซึ่งปัญญาอันยิ่งเหล่านี้ เป็นปัญญาที่จะทำให้เรารู้เห็นสิ่งต่างๆ ได้มากกว่ามนุษย์ปุถุชนโดยทั่วๆ ไป สามารถนำไปเป็นเครื่องมือในการศึกษาธรรมชาติที่ละเอียดลึกซึ้งต่อๆ ไปได้


เปลี่ยนวาทะที่มักจะนำมาใช้อยู่เสมอไปนะ รู้ตัวรึเปล่า

:b1:


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อรหันต์ ไม่มีมากว่า ๑๔๐๐ ปีแล้ว ปัจจุบัน ก็ยังไม่มี

:b32: :b32: :b32:

Supareak Mulpong เขียน:
ถ้าทำแบบนี้ได้

"เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่"

ก็ถือว่าเป็นอริยบุึคคล ... ทำได้มั้ย

ทำได้แว๊ป ๆ...พอจะเป็นได้มั้ย..คับ :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมฐานมีตั้งหลากหลายวิธี

คนอื่นๆ มองไม่เห็นเอง ว่าวิธีที่คุณ Supareak Mulpong ปฏิบัติอยู่ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง
คือเป็นปฏิบัติวิปัสสนาไปพร้อมกับสมาธิ
เมื่อถึงเวลาอันควรมีเหตุปัจจัยพร้อมผลก็จะปรากฏเอง

คุณ Supareak Mulpong ยังไม่เร่งรีบ ไม่เค้น เพื่อจะเอาผล
แต่คนอื่นๆ กลับไปเร่งให้คุณ Supareak Mulpong แสดงผล :b14:

อะไร ๆ มันก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เจริญขึ้น เสื่อมลง เป็นธรรมดา
หนีไม่พ้นกฏไตรลักษณ์


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สัญญา ไม่ใช่ ปัญญา
สัญญามันก็คือจำ จำทุกอย่างที่รับรู้

ลองทบทวนใหม่แบบนี้นะครับ ... ได้ฟังความจริง เกิดรู้ตามหรือเกิดปัญญา สิ่งที่ฟังถูกเก็บไว้เป็นความทรงจำ เมื่อวิปัสสนาระลึกรู้หรือกำหนดรู้ได้ เพราะได้รู้มาก่อน ... แล้วก็ไปคิดเอาเองก็แล้วกันว่า ปัญญา สัญญา มันสัมพันธ์กันอย่างไร

อ้างคำพูด:
เมื่อเห็น "ธรรมดา" ก็จะเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง
สิ่งที่เคยตั้งไว้ไม่ถูกที่ถูกทาง ก็ค่อย ๆ กลับเข้ามาตั้งไว้ในที่ในทางเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ
เท่านั้นเอง
"ธรรมดา" ก็คือ อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตา เกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลายฯ

"ความเป็นเช่นนั้นเอง" ก็คือ อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตา เกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลายฯ

อ้างคำพูด:
เปลี่ยนวาทะที่มักจะนำมาใช้อยู่เสมอไปนะ รู้ตัวรึเปล่า
บทความนี้เขียนทิ้งไว้เมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ... ตอนฝึกเปลี่ยนภาษาธรรมเป็นภาษาคน

อ้างคำพูด:
ทำได้แว๊ป ๆ...พอจะเป็นได้มั้ย..คับ
พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดมีบันทึกในพระไตรปิฏกว่า ได้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงเพียงวันละหน ถือเป็นผู้ไม่ห่างจากพระรัตนไตร ...

อ้างคำพูด:
กรรมฐาน..
แปลว่า มีการกระทำเป็นที่ตั้ง ... และพระพุทธเจ้าไม่เคยบอกว่า สมถะกรรมฐาน จะทำให้เกิดปัญญา มีแต่บอกว่า จะทำให้ปัญญาที่เกิดแล้วพัฒนาขึ้น ถ้าทำคู่ไปกับวิปัสสนา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:

อ้างคำพูด:
ทำได้แว๊ป ๆ...พอจะเป็นได้มั้ย..คับ

พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดมีบันทึกในพระไตรปิฏกว่า ได้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงเพียงวันละหน ถือเป็นผู้ไม่ห่างจากพระรัตนไตร ...

:b17: :b17: :b17:

เย้..


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
:b17: :b17: :b17:

เย้..
ทำต่อไป พ่อโสดาบันน้อย ... ทำต่อเนื่องได้ ๗ วัน ก็เห็นผล แล้วจะมาสงสัยตัวเองว่า กูเป็นอะไรวะวันนี้ ใครด่าไม่โกรธ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2011, 02:37
โพสต์: 22


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
กรรมฐาน..
แปลว่า มีการกระทำเป็นที่ตั้ง ... และพระพุทธเจ้าไม่เคยบอกว่า สมถะกรรมฐาน จะทำให้เกิดปัญญา มีแต่บอกว่า จะทำให้ปัญญาที่เกิดแล้วพัฒนาขึ้น ถ้าทำคู่ไปกับวิปัสสนา


:b12: ครับ
เพราะภาษาพูดนี่แหละ เป็นสิ่งปิดบัง ทำให้เข้าใจสิ่งเดียวกันไปคนละทาง :b32:


โพสต์ เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดมีบันทึกในพระไตรปิฏกว่า ได้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงเพียงวันละหน ถือเป็นผู้ไม่ห่างจากพระรัตนไตร ...


อนุโมทนา


โพสต์ เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 00:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:




อ้างคำพูด:
viewtopic.php?f=1&t=35471&start=225

viewtopic.php?f=1&t=38445&p=263001#p263001

ท่านเคยเข้าไปอ่านการเรียบเรียงธรรมของสมาชิกท่านอื่น ๆ ที่เข้ามาบ้างรึเปล่า

ลองไปดูสิ่ ถ้าดูตามหลักเกณฑ์ที่ท่านว่า
ท่านที่แสดงความเห็นทางธรรมอยู่ที่กระทู้นี้ ก็คงไม่ใช่ธรรมดาเลย


พวกซื่อบื้ออยู่ในฌาน ไม่ใช่ว่าไม่มีผัสสะ เพราะยังหน่วงอามรณ์ในมโนวิญญานอยู่ ชวนจิตเสพอุเบกขาเวทนา มีรูปสัญญาอรูปสัญญาเกิดประกบกับจิตตลอดเวลา ยังเกิดตัณหาอุปทาน อย่าเข้าใจว่า ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แปลว่า ไม่มีสัญญา อย่างดีก็ได้ไปเกิดเป็นพรหมณ ถ้าเป็นผู้ชาย ถ้าเป็นผู้หญิงไม่รู้จะได้ไปใหน


สมาธิ ก็ได้ความสงบ เพื่อเป็นฐานในการวิปัสสนา
เพราะจะเกิดวิปัสสนา ต้องมีความสงบในสมาธิเป็นฐานก่อน คร๊าบบบ

วิปัสสนาในองค์สมาธิ เขาพิจารณา เกิด-ดับ คร๊าบบบบบ
เรื่องนี้พระสารีบุตรก็เชี่ยวชาญอีกแหละ :b4:
ถ้าปฎิบัติถูก ก็ไม่หลงหรอก
ผู้ที่เป็นนักปฏิบัติที่มีกริยา มารยาทงาม ๆ ก็มีให้เห็นอยู่เกลือนประเทศไทย
ท่านคงไม่ได้เหมาว่าผู้ที่เป็นนักปฏิบัติสมาธิจะเป็นเช่นนั้นกันทั้งโลกใช่มั๊ย
ท่านคงไม่ได้เหมาว่า ชาวพุทธทั้งโลก(ที่นอกเสียจากพวกท่านแล้ว)ล้วนปฏิบัติผิดหมด น่ะ


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ภิกษุ ท. ! วิญญาน ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ง เป็นวิญญานที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;
ตอนแปล ให้ยกมาทั้งบริบท สรุปทั้งสูตร ไม่ใช่เน้นที่คำใดคำหนึ่ง ... สูตรนี้ท่านสอนเรื่องอุปทานขันธ์ ๕ ไม่ได้ให้ละสัญญา แต่ให้ละราคะในสัญญา วิญญานอันไม่มีที่ตั้ง คือ ไม่ได้ตั้งอยู่ที่อุปทานขันธ์


ภิกษุ ท. ! คูถ แม้น้อยนิด ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็นฉันใด. ภิกษุ ท. ! สิ่งที่เรียกว่า ภพ (ผลแห่งภวตัณหา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. แม้มีประมาณน้อยชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่จะกล่าวได้.

เอก. อํ ๒๐/๔๖/๒๐๓.
ผู้เข้าไปหาเป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น


พระสูตรนี้ เป็นพระสูตรที่ ดับภพ เพราะละความเพลิน ผลคือตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทลงทันทีในทุก ๆ ขณะ
เป็นพระสูตรที่ถ้าทำจริง สังขารเกิด-ดับ อย่างไวมาก
เมื่อไม่เพลินไปในอารมณ์ ความพอใจ-ไม่พอใจ ไม่ทันได้เกิด
และสังขารคิด ไม่งอกงาม เพราะจิตไม่ได้ไหลไปในความคิด ไม่สร้างร่องรอยสัญญาใหม่ให้เกิดทับถมเพิ่มขึ้น
เมื่อชินจิตไม่แส่ส่ายไป จิตมันว่างงาน มันก็พิจารณาเกิด-ดับ ผัสสะ-รู้ สบาย ๆ
สิ่งที่รู้ เป็นความรู้ที่ประกบติดกับวิญญาณ ที่มันทำงานของมันอัตโนมัติ
จะเห็นการทำงานของมันที่ไม่ได้วิ่งเข้าไปพึ่งพิงอิงแอบสัญญา
เราก็แค่รู้มันอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ

ท่านคุ้นกับการอิงอยู่กับความคิด และการปฏิบัติตามแนวของท่านก็อิงอยู่กับสัญญา
พวกท่านก็อิงอยู่กับการนำสัญญามาใช้ในการปฏิบัติ แล้วก็มาแลกเปลี่ยนความคิดกัน
ก็กล่าวถึงได้แต่เพียงสิ่งที่ท่านเห็นได้ สัมผัสได้เท่านั้น

คนที่ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธองค์ เขาก็เห็นได้สัมผัสได้ตามแนวทางที่พระพุทธองค์สอน
เขาก็จะเห็นว่า เขาไม่ใช่สัญญา ดังนั้นความเห็นที่ว่า
สัญญาไม่ใช่เขา เขาไม่ใช่สัญญา สัญญาไม่ใช่ของเขา สัญญาไม่มีในเขา เขาไม่มีในสัญญา
ก็เกิดตามมาเอง เพราะเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น ตามความเป็นจริง
จิตมันรู้เอง มันเห็นเช่นนั้นของมันเอง
ไม่ต้องทำอะไร เจออย่างนี้ ต่อให้เอาสิบเท้ายันมันให้เข้าไปหา มันก็ไม่เอา
เจออย่างนี้ ผู้ที่รู้อยู่ก็ชักจะทะแม่ง ๆ แล้ว ว่าจิตมันเป็นสิ่งบังคับบัญชาไม่ได้
ไม่ใช่เรื่องที่ต้องคิด นั่งดูมันทำก็จะรู้เองว่า สิ่งที่มันแสดงพฤติกรรมนั้น ไม่ได้เนื่องมาจาก สัญญา
และไม่ได้เนื่องมาจาก เราทำให้จิตเป็น
แ่ต่นั่นเป็น สิ่งที่อยู่คู่กับเขา เมื่อเราไม่ใช้งานเขาในทางที่ก่อให้เกิดสังขาร
ใช้เขาให้ตอบสนองสังขารอันเป็นไปในทางโลกของเรา จนเขาทำงานหัวปักหัวปำ
ลำพังตัวเรา ต่อให้ฉลาดสุด ๆ ก็ได้เท่าความรู้ที่มีอยู่ทางโลก ทางโลกียะ นี่ละ

แต่เมื่อจิตเขาว่าง และเขาดำเนินไปตามพฤติกรรมของเขาเอง
เขาได้แสดงความรู้ที่ ซ่อนอยู่ในตัวเขาออกมา ถ้าเห็นได้ ก็จะแยกออกเอง
ว่าอะไรเป็นอุปสรรค์ต่อการเกิด ปัญญา

และเมื่ออ่านพระสูตร ก็จะ อ๋อ ในทันที
ว่าทำไม
พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า

วิญญาณ-ปัญญา เกิดร่วมกันไม่อาจแยกออกว่าไหนวิญญาณ ไหนปัญญา
มีแต่ลักษณะกริยาของมันที่ทำให้เรารู้ว่า รู้ชัด รู้แจ้ง รู้ละ

วิญญาณ-สัญญา-เวทนา เกิดร่วมกันไม่อาจแยกออก

ที่พระสารีบุตรไม่นำ สองนัยนี้ มารวมกัน แยกกันอยู่เช่นนั้น
เช่นเดียวกับผู้ถาม ก็ถามแยกมิได้จับมารวมกัน

เพราะพระสูตรนี้ ท่าน Sup เป็นคนนำขึ้นมาแสดงเอง
ซึ่งทันทีที่ได้อ่าน บอกแล้วว่า สัมผัสได้ของมิติของภาษาที่พระสารีบุตรกล่าวไว้
ทำให้เราแยกแยะ สิ่งที่เราเคยเข้าใจผิด หลงว่าเป็นปัญญา ตัดทิ้งออกไปได้หมด

ตรงนี้ เราก็ยังคงเห็นเป็นคุณอย่างสูง

และนั่นก็คือเหตุที่ได้พยายาม สะกิด สะเกา ให้ท่าน Sup ตระหนักถึงนัยนี้ให้ได้
เพื่อประโยชน์ต่อการดำเินินไปในทางธรรมของท่าน Sup และคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องด้วยทุกคน

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 10 มิ.ย. 2011, 10:07, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร