วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 00:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 07:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่อยากเห็น..สีแดง..โชว์เต็มจอ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ก่อนที่จะเริ่มในส่วนสุดท้าย ขอทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า เส้นทางที่ถูกต้องในแผนที่นั้นมีเส้นทางเดียว (มรรค ๘ โดยเฉพาะสติปัฏฐาน ๔ - เอกายโน มคฺโค) แต่วิธีที่จะใช้เดินทางไปนั้นมีหลายวิธี (มรรค ๔ พิจารณาขันธ์ ๕ ลงอนิจจัง และ/หรือทุกขัง และ/หรืออนัตตา) ... :b39: :b48: :b47:

หรือบางท่านอาจเปรียบว่า เส้นทางมีหลายเส้นทาง เหมือนการปีนขึ้นเขา (มรรค ๔ พิจารณาขันธ์ ๕ ลงอนิจจัง และ/หรือทุกขัง และ/หรืออนัตตา) แต่มีหลักการหรือชุดอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเดียวกัน (มรรค ๘ โดยเฉพาะสติปัฏฐาน ๔) ซึ่งก็ถูกเหมือนกัน แล้วแต่จะพิจารณายักเยื้องอย่างไร ใช้ dimension ไหนในการมองในการใช้คำเปรียบเทียบนะครับ :b1: :b46: :b46:

ทั้งนี้ แล้วแต่พื้นฐานเหตุปัจจัยที่สะสมมาของแต่ละท่านว่าถนัดวิธีไหนในมรรค ๔, พิจารณาขันธ์ใดหรือฐานใดในสติปัฏฐาน, และลงในองค์ธรรมใดของสามัญลักษณะ จึงจะเกิดโลกุตรปัญญาได้เร็ว :b45: :b51: :b53:

โดยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่พบเจอข้างทางนั้น ผู้เดินล่วงหน้าหรือตามหลังมา อาจจะพบเห็นไม่เหมือนกันเนื่องจากอาจจะเดินคนละเส้นทาง หรือเดินเส้นทางเดียวกันแต่เหลียวมองคนละทิศ หรือสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน แต่ละเวลาอาจจะเปลี่ยนไป สุดแท้แต่เหตุ ๖ ปัจจัย ๒๔ ที่นำพาให้พานพบ :b48: :b46: :b47:

แต่อย่างไรก็ตาม จุดหมายหลักใหญ่ หรือ milestone ต่างๆที่เขียนไว้บนแผนที่หลัก (เช่น ญาณต่างๆ ตามที่พระบรมครูสรุปไว้ว่า เมื่อเห็นสังขารธรรมตามเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และองค์พระสารีบุตรนำมาแจกแจงเป็นญาณแต่ละอย่างๆในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค) ทุกคนจะต้องพบเจอเหมือนกันหมด :b39: :b39: :b39:

เพียงแต่ญาณไหนที่สามารถผ่านข้ามไปได้เร็ว ก็อาจจะบันทึกลงในสัญญาได้ไม่เด่นชัด ญาณไหนผ่านข้ามไปได้ช้า หรือต้องเพียรข้ามผ่านเป็นอย่างมาก ก็อาจจะจดจำได้ชัดแจ้ง :b51: :b53: :b51:

ซึ่งวิธีการหรือเส้นทางที่จะอธิบายต่อไปนี้ เป็นเพียงวิธีการหนึ่งในหลายวิธี หรือเส้นทางหนึ่งในหลากหลายเส้นทางเท่านั้นนะครับ ไม่ได้เหมาะสมสำหรับทุกคนไป ซึ่งผู้ที่จะรู้แจ้งแทงตลอดในทุกวิธีการทุกเส้นทาง และสามารถกำหนดกรรมฐานใดให้เหมาะสมถูกต้องที่สุดสำหรับคนไหน เห็นจะมีก็แต่พระบรมครูเท่านั้น :b42: :b44: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ในยุคหลังพุทธกาลเป็นต้นมา ผู้ปฏิบัติจะต้องเป็นผู้ค้นหาเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับตนเองจากที่มีอยู่ในพุทธธรรม โดยพึ่งพากัลยาณมิตร (ซึ่งหมายรวมถึงพระไตรปิฎก ตำรา และครูบาอาจารย์ที่ถูกที่ชอบ) เป็นผู้แนะนำเส้นทางวิธีปฏิบัติต่างๆที่ไม่ออกนอกพุทธธรรมและใกล้เคียงกับพื้นฐานของแต่ละคน โดยวัดผลว่าถูกจริตหรือไม่ด้วยการสอบอารมณ์ดูการพัฒนาการของจิตที่ดีขึ้นและกิเลสที่ลดลง :b1: :b46: :b39: :b46:

ซึ่งตรงนี้ คนที่จะรู้ได้ดีที่สุดก็คือตนเอง หมั่นประเมินตนเอง (วิมังสา) โดยอาศัยคำแนะนำและการช่วยประเมินจากครูบาอาจารย์ผู้ผ่านทางมาแล้ว เพื่อที่จะรู้ได้ว่า วิธีการที่ทำอยู่นั้น ถูกจริตถูกทางกับพื้นฐานของตนหรือไม่ การปฏิบัติถึงจะคืบหน้าไปได้ไว :b38: :b37: :b39:

คราวนี้ขอพูดถึงหลักเกณฑ์ที่เป็นแก่นแกนของวิธีการในการเข้าถึงอริยบุคคลในทุกระดับขั้นกันก่อน :b50: :b49: :b50:

(หมายเหตุไว้ตรงนี้นิดนึงนะครับ ระดับขั้นต่างๆนั้นเป็นบัญญัติ การมีสูงต่ำดำขาวมีขั้นมีระดับนั้นขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบให้ค่าตีความ :b46: :b46:

แต่สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นมันเป็นเช่นนั้นเองไม่มีสูงต่ำดำขาว แต่ก็ต้องพึ่งบัญญัติเพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงปรมัตถ์ ไม่อย่างนั้นคงจะอธิบายกันไม่รู้เรื่องนะครับ ซึ่งเป็นดังที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบกับหยาดน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบัว แต่ไม่ติดในที่กลิ้งไปสักหน่อยหนึ่ง โลกสมมติอย่างไรก็ให้สมมติไปตามโลก แต่ไม่ยึดติดถือมั่นไปกับโลก) :b46: :b46: :b41:

จากหลักเกณฑ์กว้างๆของแก่นพุทธธรรมตามที่เคยโพสสรุปไว้ได้แก่ การพิจารณา / ภาวนาเจริญมรรค ๘ ให้เกิดปัญญาละความเห็นผิด คือความไม่รู้ในความเป็นจริงของขันธ์ (อวิชชา) จนเกิดความทุกข์คือยึดติดในขันธ์ (อุปาทานขันธ์) :b51: :b53: :b51:

นั่นคือ ให้รู้ตามจนยอมรับและแจ้งในความเป็นจริงของสังขตธรรม ซึ่งเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอริยบุคคลในทุกระดับตามที่องค์พระสารีบุตรตอบคำถามพระมหาโกฏฐิตะ :b41: :b41: :b41:
(สีลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=3721&Z=3764&pagebreak=0)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ สำหรับอริยบุคคลระดับแรกคือโสดาบันนั้น เราจะต้อง “พิจารณาอะไร” และ “อย่างไร” เพื่อละ “อะไร” ในอวิชชาที่ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ :b42: :b42: :b42:

เอา “ละอะไร” ในอวิชชาที่ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์กันก่อนนะครับ :b38: :b37: :b39:

อวิชชาที่ทำให้เกิดอุปาทานขันธ์ขั้นแรกที่จะต้องละก่อนในระดับโสดาบันก็คือ ความเห็นผิดว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวของตน (สักกายทิฏฐิ ... ส่วนวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสีลัพพัตปรามาส การถือข้อวัตรที่งมงายนั้น ไม่เนื่องโดยตรงด้วยอุปาทานขันธ์เหมือนสักกายทิฏฐิ แต่จะละไปได้เองพร้อมกับการละซึ่งสักกายทิฏฐินั้น โดยจะอธิบายถึงเหตุผลในลำดับต่อไปนะครับ) :b1: :b46: :b46:

ขยายความคือ เห็นผิดว่ารูปคือตน เวทนาคือตน สัญญาคือตน สังขารคือตน วิญญาณคือตน ไม่ว่าจะเห็นเป็นกลุ่มของขันธ์ หรือเห็นแยกทีละขันธ์ ว่านั่นคือตน :b44: :b45: :b51:

แล้วต้องพิจารณา “อะไร” และพิจารณา “อย่างไร:b47: :b47: :b48:

ในเมื่อต้องการเห็นความจริงในขันธ์ เพื่อละความหลงผิดในขันธ์ สิ่งที่ต้องยกขึ้นมาพิจารณาก็คือตัวขันธ์นั้นเอง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงจำแนกออกเป็น ๔ ฐานให้พิจารณา ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งครอบคลุมการพิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ หรือสังขตธรรมได้ทั้งหมด (โดยเฉพาะในขันธบรรพ ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่เป็นการพิจารณาการเกิดดับแห่งขันธ์โดยตรง) :b51: :b53: :b51:

ส่วนการพิจารณาอย่างไรนั้น อย่างแรกสุดคือ จะต้องแยกขันธ์ที่เกาะกันอยู่ให้แตกออกจากกันให้ได้ก่อน หรือที่พ่อแม่ครูอาจารย์บางท่านเรียกวิธีการนี้ว่า การแยกธาตุแยกขันธ์ หรือแยกกายแยกใจ แยกผู้เข้าไปรู้กับสิ่งที่ถูกรู้ให้ออกจากกัน :b43: :b42: :b39:

ซึ่งถ้าเปิดตำรา จะเจอชื่อในญาณ ๑๖ (โสฬสญาณ) ว่า นามรูปปริเฉทญาณ :b46: :b39: :b46:

เหตุผลที่ต้องแยกรูปแยกนามออกจากกันก่อนนั้น เพื่อให้เห็นกลไกในการทำงาน หรือเหตุปัจจัยของแต่ละขันธ์ว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะที่เป็นสามัญอย่างไร ถึงจะเข้าถึงความเป็นจริงแห่งขันธ์ทั้งหลายได้ :b45: :b46: :b41:

แล้วจะแยกรูปแยกนาม แยกธาตุแยกขันธ์ออกจากกัน จนเกิดปัญญาตรงนี้ (คือ นามรูปปริเฉทญาณ) ได้อย่างไร ? :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อประหยัดเวลาในการพิมพ์ ขอยกเอาสิ่งที่เคยโพสท์ไว้ในกระทู้ “การทำลายสักกายทิฐิของเสขะบุคคล ต่างกับ ปุถุชน อย่างไร?” มาเพื่มเติมแก้ไขนิดหน่อย ดังนี้ครับ :b1: :b38: :b37: :b39:

นามรูปปริจเฉทญาณ : ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)) :b8:

วิธีที่จะทำให้ได้ญาณ (ปัญญา) ขั้นนี้ ก่อนอื่น จะต้องเข้าใจความหมายและความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เป็นจริง (ปรมัตถธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน) กับ สิ่งที่สมมติขึ้นมา (บัญญัติธรรม ซึ่งปิดบังปรมัตถ์) :b1: :b46: :b46:

ซึ่งเอาแค่นี้ก็ทำให้ผู้เริ่มต้นปฏิบัติเกิดความท้อได้แล้วครับ เพราะอะไรคือปรมัตถ์ ? อะไรคือบัญญัติ ? แล้วมันต่างกันยังไง (ฟ๊ะ !! ??) :b10: :b10: :b5: :b6:

ครูบาอาจารย์หลายท่านเล็งเห็นอุปสรรคในข้อนี้ เลยพยายามข้ามปริยัติในส่วนที่ยากแก่การจำและการคิดให้เข้าใจ (สุตตามยปัญญา + จินตามยปัญญา) ด้วยการแนะนำให้ศิษย์พุ่งไปที่การปฏิบัติให้เห็นสภาวะของจริง (ปรมัตถ์) ของกายใจโดยตรง (ภาวนามยปัญญา) โดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้ในขั้นนี้ว่า อะไรคือจิต/เจตสิก/รูป, แต่ละอย่างแบ่งเป็นอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง ฯลฯ ให้ฟั่นเฝือจนเห็นธรรมะเป็นของยากไป :b46: :b46: :b46:

สิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำ จึงเป็นแค่ "ให้รู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับกายใจลงในปัจจุบันตามความเป็นจริง" โดยมีสติและสมาธิ (รู้ระลึกได้ + ตั้งมั่นไม่ซัดส่าย) เป็นตัวนำให้รู้ในสภาวะนั้นๆอย่างชัดแจ้ง โดยอาจจะให้สังเกตตามด้วยว่า อะไรคือสภาวะ และใครเป็นผู้รู้สภาวะ :b1: :b41: :b48:

เช่น เมื่อเดิน ให้รู้สภาวะการไหว (รูป) และใคร เป็นผู้รู้การไหว (จิต), เมื่อท่องพุทโธ ให้รู้สภาวะของการท่องพุทธโธ (เจตสิก) และใคร เป็นผู้รู้การท่องพุทธโธ (จิต) :b45: :b45:

นี่คือวิธีที่ทำให้ “เห็น” และสามารถ “แยกแยะ” สิ่งที่เป็นของจริงต่างๆ (ปรมัตถธรรม ในส่วนที่ยังเนื่องด้วยการปรุงแต่ง หรือสังขตธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ไม่รวมนิพพาน) ออกจากกัน ซึ่งอาจจะเรียกวิธีนี้อีกอย่างคือ การแยกธาตุแยกขันธ์ออกจากกัน (คือแยก รูป - เวทนา สัญญา สังขาร (รวมเป็นเจตสิก) – วิญญาณ (จิต) ออกจากกัน) :b48: :b48:

ซึ่งเมื่อสามารถ “เห็น” และ “แยกแยะ” ด้วยการเพียรรู้เพียรดูในสมาธิหรือในชีวิตประจำวันจนถึงจุดหนึ่งแล้ว “ปุถุชน ที่เพียรปฏิบัติธรรม..” ก็จะ “สามารถมองเห็นปรมัตถธรรม(ยกเว้นนิพพาน)” และ “สามารถเข้าใจปัญญาเบื้องต้น นามรูปปริเฉทญาน” ได้โดยไม่ยากครับ :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งหลังจากสามารถแยกรูปแยกนามได้แล้ว สิ่งสำคัญ หรือ key words สำหรับการพิจารณาในระดับของการเข้าถึงซึ่งโสดาปัตติผล อยู่ในพระคาถาสำคัญสองบทที่เหล่านักปฏิบัติรู้จักกันดี โดยบทที่หนึ่ง ว่าดังนี้ครับ :b1: :b46: :b46:

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา - ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ
เตสํ เหตํ ตถาคโต - พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ - และความดับของธรรมเหล่านั้น
เอวํ วาที มหาสมโณ - พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้


ซึ่งเป็นธรรมที่องค์พระอัสสชิแสดงแก่อุปติสสะปริพาชก ซึ่งต่อมาคือองค์พระสารีบุตร จนได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบัน :b8: :b39: :b39:

สำหรับพระคาถาบทที่สอง ซึ่งหากจะค้นจากพระไตรปิฎกในส่วนอาการที่แสดงออกทางปัญญาของการบรรลุธรรมในระดับโสดาบัน ไม่ว่าจะเริ่มตั้งแต่ท่านอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นอริยสาวกโสดาบันรูปแรก ต่อด้วยท่านพระวัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ, อัสสชิ, ยสกุลบุตร, เศรษฐีคหบดีบิดาของยสกุลบุตรซึ่งเป็นอุบาสกคนแรกในโลกหลังพระรัตนตรัยครบองค์ ๓, มารดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสะซึ่งเป็นอุบาสิกาคู่แรกในโลก, พระเจ้าพิมพิสารพร้อมพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ หมื่น :b46: :b46:

เรื่อยไปจนถึงท่านอุปติสสะ (องค์พระสารีบุตร) ท่านโกลิตะ (องค์พระโมคคัลลานะ), พราหมณ์เวลัฏฐกัจจานะ, สีหเสนาบดี, เมณฑกะคหบดีพร้อมครอบครัวและบริวาร, โรชะมัลลกษัตริย์, อนาถบิณฑิกเศรษฐี, ภิกษุ ๕๐๐ รูปที่หลงผิดไปกับพระเทวทัต, พราหมณ์โปกขรสาติ, พราหมณ์กูฏทันตะ, จนถึงท้าวสักกะพร้อมเทวดาแปดหมื่น, ฯลฯ :b39: :b39:

ก็จะเจอพระคาถาอีกบทหนึ่ง กระจายอยู่ทั่วไปในพระไตรปิฎก ซึ่งปรากฏต่อท้ายในขณะที่ท่านต่างๆเหล่านั้นบรรลุโสดาบัน และเป็นพระคาถาที่เหล่านักปฏิบัติรู้จักกันดีอีกคาถา ดังนี้ครับ

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 11 มิ.ย. 2011, 23:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ขอย้อนกลับไปในสิ่งที่โพสไว้ในกระทู้นี้เมื่อ 08 พ.ย. 2010, 00:45 แก้ไขเพิ่มเติมนิดหน่อยอีกครั้ง เป็นบทสรุปครับว่า :b48: :b48: :b48:

การจะบรรลุโสดาบันในทางปฏิบัติแล้ว จึงเป็นแค่ "ให้มีสติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) รู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับกายใจ (สมุทัยให้ละ เพื่อให้จดจ่อรู้เฉพาะในสภาวะทุกข์ หรือทุกข์ให้รู้ ซึ่งก็คือรู้ลงใน (อุปาทาน) ขันธ์ ๕) ทั้งภายนอกภายใน เห็นการเกิดดับ (อนิจจัง) ของธรรมที่เนื่องด้วยการปรุงแต่งทั้งหลาย (สังขตธรรม – ขันธ์ ๕) ลงในปัจจุบัน ตามความเป็นจริง" :b8: :b39: :b39:

ซึ่ง key word คือ การเห็นการเกิดดับ (อนิจจัง) ให้บ่อยครั้งจนกว่าจะบรรลุโสดาบันนั่นเอง ไม่ว่าจะเห็นในชีวิตประจำวัน (มรรคที่ ๒, ๔ ขององค์พระอานนท์) หรือเห็นในสมาธิในฌานที่จะมีความคมชัดมากกว่า (มรรคที่ ๑, ๓, ๔ ขององค์พระอานนท์) ... แค่นี้เองจริงๆครับ :b1: :b39: :b39:

(แต่ก็ยากเอาการนะครับที่จะรู้การเกิดดับได้ชัด และรู้ได้ถี่ สะสมจนเกิดปัญญาขึ้นเองได้) :b5: :b1: :b46: :b46:

นั่นคือ หลังจากมีปัญญาในการแยกรูปแยกนามได้แล้ว ให้ใช้สติสมาธิที่ตั้งมั่น (พร้อมมรรคอีก ๖ องค์ที่เหลือ) หมั่นสังเกตลักษณะสามัญของรูปและ/หรือนาม (สติปัฏฐาน ๔ รู้ลงในขันธ์ ๕) สักพักใหญ่ๆก็จะถึงบางอ้อ เกิดปัญญาเห็นว่ารูปนามล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย (ปัจจัยปริคหญาณ) คือเห็นซึ่งการเกิด ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัย :b51: :b53: :b51:

จากนั้นจึงสามารถเห็นสามัญลักษณะในส่วนที่เห็นได้ง่ายที่สุดก่อนนั่นคือการเกิด พร้อมการดับ (อนิจจัง – สัมมสนญาณ, อุทยัพพยญาณ) ไปสักพักจนกระทั่งเห็นเฉพาะการดับได้อย่างแจ่มชัด (ภังคญาณ) :b46: :b46:

ซึ่งเมื่อเห็นการดับได้อย่างแจ่มชัดนั้น สติที่ถูกฝึกมาจะมีความคมชัดว่องไวแล้วระดับหนึ่ง โดยบางครั้งสามารถตามไปเห็นการดับได้อย่างชัดเจนแม้กระทั่งขณะนอนหลับ ซึ่งในสภาพของบุคคลที่ไม่ได้ฝึกสติมาจะทำการควบคุมความฝันซึ่งก็คือความนึกคิดปรุงแต่งในขณะที่สติอ่อนกำลังได้ยาก :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ด้วยสติที่ถูกฝึกมาดีแล้วระดับหนึ่ง สติสามารถเข้าไปคุ้มครองจิตได้อย่างเป็นอัตโนมัติแม้กระทั่งขณะนอนหลับ นั่นคือ เมื่อจิตเริ่มไหวจากสภาวะหลับสนิท (ภวังควิถี) เพื่อฝัน (ขึ้นสุบินวิถี) ยังไม่ทันรู้ว่าฝันอะไร แค่รู้ว่า จิตเริ่มไหวกำลังจะปรุงแต่งความฝันเท่านั้น สติและปัญญาญาณในระดับนี้ก็ไวพอที่จะตัดวิถี เห็นการดับลงของสุบินวิถีก่อนที่จะรู้เสียด้วยซ้ำว่าจะฝันอะไร :b1: :b46: :b46:

รู้เพียงว่าสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น (จิตไหว) และดับลง (ตัดลงสู่ภวังควิถี) โดยที่ยังไม่ทันรู้ว่าจะปรุงแต่งเรื่องอะไรเสียด้วยซ้ำ :b42: :b42:

ซึ่งอาจจะเห็นการดับของวิถีจิตอย่างเด่นชัดคืนละหลายครั้ง ดับ ดับ ดับอยู่อย่างนั้น แต่หลังจากเห็นการดับแล้วก็สามารถตกภวังค์หลับต่อไปตามปกติ ตื่นเช้ามาสดชื่นไม่มีอาการอดนอนปรากฏ :b44: :b40: :b45:

และเมื่อเห็นการเกิดดับ โดยเฉพาะเด่นชัดในการดับ อะไรๆก็ล้วนแต่ดับ ดับ และดับ คือเห็นความจริงของการดับในขันธ์ต่างๆบ่อยครั้งเข้า จิตก็จะเริ่มตระหนักถึงความน่ากลัวและโทษของสังขารและสังสารวัฏที่มีเกิดมีดับนั้น (ภยตูปัฏฐานญาณ - อาทีนวญาณ) :b49: :b50: :b49:

และเมื่อเริ่มตระหนักรู้ถึงโทษและความน่ากลัวของสังขารธรรม จิตจะเกิดปัญญาเบื่อหน่ายในขันธ์หรือสังขตธรรมทั้งหลาย (นิพพิทาญาณ) ไม่ว่าดีว่าชั่ว ไม่ว่าชอบว่าชัง หรือเป็นกลางๆ (กุศล – อกุศล - อัพพยากฤต) ซึ่งล้วนแต่เกิดดับไปเสียทั้งสิ้น ทำให้อยากหนีพ้นไปเสียจากภัย คือความเกิดดับเหล่านั้น (มุจจิตุกัมยตาญาณ) :b46: :b47: :b48:

โดยอาการที่เห็นเป็นปรกติในช่วงนี้คือ เบื่อหน่ายกับทุกสิ่งรอบตัว แม้กระทั่งกามสุขทั้งหลายทั้งปวง อาหารที่เคยชอบก็ไม่อร่อย ออกไปดูหนังฟังเพลงหรือไปเที่ยวก็ไม่ช่วยให้หายเบื่อ ฯลฯ อยากหนีออกจากโลกๆไปปลีกวิเวกเพื่อแสวงหาตัวตน หาทางหลุดพ้น ฯลฯ :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งในขณะนั้นนั่นคือ จิตจะรู้จะเห็นในลักษณะสามัญองค์ที่สอง ได้แก่สภาวะที่ถูกบีบคั้น (ทุกขัง) ที่เกาะคู่มากับความเกิดดับนั้นปรากฏขึ้น และเมื่อเห็นทุกขังปรากฏขึ้น จิตก็จะดิ้นรนเพื่อหาทางให้พ้นจากทุกข์หรือสภาวะบีบคั้นนั้น (ปฏิสังขาญาณ) นั่นคือจิตเริ่มอยากจะวางขันธ์ อยากจะละอุปาทานในขันธ์ลงแล้ว :b41: :b41: :b41:

(ซึ่งในสมัยก่อนพุทธกาล หรือแม้แต่ในสมัยพุทธกาลก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ มีเหล่านักบวช ชฎิล พราหมณ์ ปริพาชก เห็นภัยในโลก เบื่อโลก ออกบวชปลีกกาย หนีออกจากสังคมโลกมาติดค้างกันอยู่ที่สภาวะนี้ค่อนข้างเยอะ เพียงแต่ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะไม่มีปัญญาเห็นถึงสามัญลักษณะองค์ที่ ๓ คือสภาวะอนัตตาได้อย่างแท้จริง :b44: :b45: :b51:

จวบจนเมื่อปรากฏพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เพียงพระองค์ส่องข่ายพระญาณหาหมู่ชนที่พร้อม เทศน์โปรดเหล่านักบวชที่มาติดอยู่ที่ญาณนี้เพียงกัณฑ์เทศน์เดียว เหมือนเขี่ยฝุ่นผงออกจากนัยน์ตา เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย เหมือนบอกทางแก่คนหลงทาง ก็สามารถทำให้นักบวชเหล่านั้นเกิดดวงตาเห็นธรรมกันได้รวดเร็ว เพราะท่านเหล่านั้นได้สะสมปัญญามาจนเกือบจะสุดทางอยู่แล้ว) :b46: :b39: :b46:

และเมื่อเบื่อหน่ายดิ้นรน พยายามค้นหาทางออก หาทางสลัดออกไปจากขันธ์ได้สักพักใหญ่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเดือนเป็นปี แล้วแต่พื้นฐานการปฏิบัติของแต่ละคนนะครับ จิตจะเริ่มหมดแรง เหมือนคนหมดแรงนั่งทำตาปริบๆหาทางออกไม่ได้ และเพราะรู้ว่ายิ่งดิ้นไปก็ยิ่งเป็นทุกข์ เพราะเริ่มรู้ว่าสิ่งที่กำลังวิ่งหนีนั้นคือธรรมชาติที่เกิดดับแต่เหตุปัจจัย บังคับให้เป็นตามอยากไม่ได้ สู้อุเบกขายอมรับและอยู่กับมันอย่างเป็นกลางจะดีกว่า :b40: :b45: :b53:

นั่นคือ จิตจะเริ่มเห็นสามัญลักษณะองค์ที่สาม ได้แก่สภาวะอนัตตาของขันธ์ จิตจะมองเห็นการเกิดดับและการบีบคั้นต่างๆของขันธ์ทั้งหลายอย่างเป็นกลาง อย่างเป็นเช่นนั้นเองตามธรรมชาติของมัน (สังขารุเปกขาญาณ) :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตเริ่มเป็นกลางต่อขันธ์ทั้งหลาย การมองดูรู้เห็นในขันธ์ต่างๆ (สติปัฏฐาน) ก็จะเป็นกลางจริงๆ ไม่มีชอบ (อภิชฌา) ชัง (โทมนัส) เข้าแทรก เหมือนกับปลาที่ดิ้นหาทางออกจนน้ำขุ่น เมื่อหมดแรงดิ้นดินโคลนที่ฟุ้งอยู่ คือความอยากที่จะปฏิบัติ อยากที่จะพ้นทุกข์ จึงเริ่มตกตะกอน น้ำเริ่มใส ก็จะเห็นอะไรได้ชัด เมื่อเห็นได้ชัด ความจริงแท้ (อริยสัจจ์) ทั้ง ๔ ของขันธ์จึงเริ่มปรากฏ :b39: :b39: :b39:

นั่นคือการเริ่มขบวนการเห็นถึงอุปาทานขันธ์ว่าเป็นตัวทุกข์ เห็นความยึดอยากหรือตัณหาอุปาทานที่เกิดจากความไม่รู้ในความจริงของขันธ์ (อวิชชา) ว่าเป็นสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ และการปฏิบัติให้จิตตั้งมั่นจนเกิดปัญญารู้ในความจริงของขันธ์ (มรรค) นั้นเป็นหนทางที่ทำให้พ้น (อุปาทาน) ขันธ์หรือพ้นทุกข์ และเมื่อจิตตั้งมั่นแล้วความเบิกบานคือนิโรธจะปรากฏ :b39: :b39: :b39:

ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับการเห็นปัจจยาการของสังขตธรรมทั้งหลาย จิตจะแจ้งในสภาวะธรรมของปฏิจจสมุปบาทสายเกิดและสายดับ แต่ในขณะที่เห็นนั้น จะเห็นโดยสภาวะแบบรวดเดียว ไม่ได้เห็นไปนึกไปว่านี่คืออวิชชา นี่คือสังขาร นี่คือวิญญาณ ฯลฯ :b46: :b46:

แต่สภาวะที่แจ้งเข้ามาในจิตคือ ขันธ์ทั้งหลายพึ่งพิงกันเกิดดับตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ไหลอย่างต่อเนื่อง จิตจะเห็นขันธ์ (รวมทั้งตัวจิตเองที่ทำหน้าที่วิญญาณธาตุรู้นั้นด้วย) แยกๆห่างๆแต่เกาะเกี่ยวสัมพันธ์ อิงอาศัยกันเกิดดับตามเหตุปัจจัยอยู่ ไม่มีเขาไม่มีเรา เมื่อนั้น จิตจะอ๋อของเขาเองว่า ขันธ์ทั้งหลายไม่ใช่เรา :b40: :b39: :b44:

ซึ่งขบวนการตรงนี้ในตำราเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ คือญาณอันเป็นไปโดยการหยั่งรู้อริยสัจจ์ :b39: :b39:

คือเมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลายแล้ว ไม่ดิ้นรนอยากพ้นทุกข์ (คือน้ำที่ขุ่นเริ่มใสแล้ว) ญาณอันคล้อยตามอริยสัจจ์จึงสามารถเกิดขึ้นได้ (นั่นคือ จึงสามารถเห็นถึงความเป็นจริง เห็นปัจจยาการ เห็นปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดและสายดับได้ และตรงนี้ ถ้าไม่มีพระบรมครูชี้ทาง เหล่าปุถุชน รวมทั้งนักบวชต่างๆผู้ไม่ได้สดับ ก็จะไม่สามารถก้าวข้ามข้อต่อนี้จนกระทั่งเกิดดวงตาเห็นธรรมและพ้นทุกข์ได้ ยกเว้นพระปัจเจกพุทธเจ้า) :b42: :b39: :b44:

และเมื่ออริยสัจจ์ปรากฏให้จิตรู้แจ้ง จิตก็จะก้าวข้ามจากภาวะของปุถุชน ไปสู่อริยบุคคลโสดาบัน :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยจิตจะเกิดปัญญาที่ใช้ในการประหารความเห็นผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวของตน (สักกายทิฏฐิ) ในชั่วขณะจิต (มรรคญาณ) คือหลังจากจิตเห็นการทำงานร่วมกันของขันธ์ในปฏิจจสมุปบาทสายเกิดแล้วถึงบางอ้อว่าขันธ์ไม่ใช่เรา จิตจะกระจายพึ่บ แผ่ออกไปไม่มีประมาณ ทุกสิ่งดับและเป็นหนึ่งเดียวรวด นั่นคือการเข้าถึงซึ่งปฏิจจสมุปบาทสายดับ หรือการก้าวเข้าสู่ผลญาณหลังจากความเห็นผิดถูกประหารไปแล้ว :b39: :b39: :b39:

และเป็นขั้นตอนของการเห็นแจ้งในสภาวะนิพพาน ที่ผู้เข้าถึงจะแจ้งในสภาวะของความเป็นอิสระจากกิเลสเครื่องร้อยรัด และอิสระจากขันธ์หรือสังขตธรรมทั้งปวง :b41: :b41: :b41:

จิตจะโปร่งโล่งเบาลอยแผ่ออกไปรวมกับสภาพรอบข้างอย่างไม่มีประมาณ เหลือแต่ธรรมชาติธาตุรู้ หมดสิ้นซึ่งสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ตัวตนสูญสลายไปสิ้นกับสภาวะรอบด้านซึ่งเป็นแต่กระบวนธรรมที่ไหลเนื่องอยู่ด้วยเหตุด้วยปัจจัย เกิดความแช่มชื่นเบิกบานอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของการเวียนว่ายในสังสารวัฏให้สัมผัสรับรู้ได้ด้วยธรรมชาติธาตุรู้ เข้าสู่สภาวะไร้ซึ่งการปรุงแต่งหรืออสังขตธาตุ อสังขตธรรม :b39: :b39: :b39:

โดยการผ่านขบวนการตรงนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วภายในชั่วไม่กี่ขณะจิต สภาวะดังกล่าวจะปรากฏอยู่ชั่วแวบเดียวแล้วหายไป (ตามตำราอภิธรรมสามารถเรียงมรรควิถี หรือโลกุตตรอัปปนาวิถี ทั้ง ๑๗ ขณะจิต โดยรวมสัจจานุโลมิกญาณ (หรืออนุโลมญาณ) - โคตรภูญาณ - มรรคญาณ – และผลญาณ ต่อเนื่องเป็นลำดับในชวนวิถี ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียดให้เนื้อหาอ่านยากเกินไปนะครับ) :b38: :b37: :b39:

หลังจากผ่านพ้นสภาพ “แวบเดียว” นั้นแล้ว จากนั้น เยื่อใยในอุปาทานขันธ์จะกลับมาห่อหุ้มจิตให้รวมมีน้ำหนักขึ้นมาใหม่ เหมือนภาพ reverse ของสายหมอกที่รวมตัวกลับมาเป็นหยดน้ำใสขึ้นอีกครั้ง จิตจะ “ระลึกรู้” ได้ด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ (ปัจจเวกขณญาณ) ว่าเมื่อสักครู่นี้ เกิดสภาวะแห่งการ “ปลดปล่อย” ตนเองครั้งใหญ่ :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 23:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยจิตจะรู้ถึงความผ่องใสในจิตเองว่า สิ่งที่หายไปคือความหลงผิดว่าขันธ์นี้เป็นตน (สักกายทิฏฐิ) เพราะรู้แจ้งในการตกอยู่ในสภาวะบีบคั้น เกิดดับตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชาตามอยากไม่ได้ของขันธ์นั้น :b38: :b37: :b39:

อีกทั้งหมดสิ้นซึ่งความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (วิจิกิจฉา) เพราะ “ รู้” และ “เห็นนิพพาน” แล้วด้วยตนเองว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้า (พระพุทธ) ตรัสไว้ในพระไตรปิฎก (พระธรรม) นั้นคือ “ของจริง” ผู้เพียรปฏิบัติชอบแล้วบรรลุตาม (พระสงฆ์) นั้นมีได้จริงๆ เพราะตัวเองเป็นพยานได้ด้วยตัวเอง (คำว่า “ตัวเอง” ในที่นี้เป็นโวหารสมมติบัญญัตินะครับ ไม่ได้สื่อถึงการมีสักกายทิฏฐิเหลืออยู่ แต่ไม่รู้ว่าจะใช้คำอะไรที่เหมาะสมไปกว่านี้ได้) :b1: :b46: :b46:

รวมทั้งศีลพรต หรือแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ เป็นแนวทางเดียวที่ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ ไม่ใช่การอ้อนวอนเทพเจ้า ไม่ใช่การบำรุงบำเรอตนด้วยกามสุข ไม่ใช่การทรมานตน ฯลฯ นั่นคือ ไม่มีศีลพรตอื่นให้งมงายอีก (สีลัพพตปรามาส) เพราะพิสูจน์แนวทางการปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว :b39: :b39: :b39:

ซึ่งนั่นหมายถึง สังโยชน์ข้อวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส ได้ถูกทำลายตามลงไปด้วยโดยอัตโนมัติด้วยเหตุและผลดังนี้ครับ :b1: :b46: :b46:

โดยโลกุตรปัญญาที่ได้มาในระดับโสดาบันก็คือ ปัญญาที่เห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (สังขตธรรม / ขันธ์ ๕) มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ... สิ่งนั้น (สังขตธรรม / ขันธ์ ๕) ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา :b48: :b48: :b48:

ซึ่งปัญญาตรงนี้นี้ ทำให้เกิดโลกุตรสัมมาทิฏฐิขึ้นมาแทนที่อวิชชาเดิม คือเห็นว่าขันธ์ ๕ นั้น ไม่เป็นตนอีก เพราะเกิดดับตามเหตุปัจจัย (ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคต กล่าวเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น) :b8: :b46: :b46:

ต่อจากนั้น หลังจากแจ้งแล้วซึ่งพระนิพพานในครั้งแรก จิตซึ่งเคยรู้ในสภาวะแห่งความหลุดพ้น จะละสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กับการหลุดพ้นในขั้นหยาบโดยอัตโนมัติ นั่นคือ จิตจะละกิเลสอย่างหยาบที่ออกมาทางกายวาจา (วีติกกมกิเลส) โดยมีศีล ๕ ที่สมบูรณ์เป็นอินทรีย์สังวรศีล อริยกันตศีลโดยอัตโนมัติ (หมายถึง ไม่ต้องกดข่มฝืนใจที่จะรักษาศีล เพราะเห็นว่า การละเมิดศีล ๕ เป็นของร้อนและเป็นปฏิปักษ์กับการหลุดพ้นเสียแล้ว จิตจะไม่ไปจับของร้อนนั้นเองโดยไม่ต้องฝืนบังคับ) :b46: :b39: :b46:

มาต่อเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของอริยบุคคลในระดับโสดาบันกันต่อในคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 10:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

:b8: อนุโมทนาคร๊าบบบบบ

ท่านผู้เจริญในธรรม

สาธุ สาธุ สาธุ

มานั่งเล่นกะท่าน วิสุทธิปาละ ดีก่า
เพราะท่าน วิสุทธิปาละ อารมณ์ดีที่ซู๊ดดดดด

Kiss Kiss Kiss


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร