วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 17:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 11:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
my-way เขียน:
ฟังธรรมะแล้วชื่นใจจัง
ละสัณฐานในตรึกเสียได้
อย่างนี้ ละสังโยชน์เป็นพระอรหันต์ ได้เลย
แจ่มๆ


ละสังโยชน์ ยากมาก แต่ต้องละครับ


เมื่อยังตรึกอยู่ ก็แสดงว่ามีความจำนง
เมื่อพ้นเจตจำนง
ก็ไม่เกิดการตรึก

ก้หันไปละที่เจตจำนง ก็ได้
เช่น เจตจำนง ว่า ปราถนาจะเป้นพระพุทธเจ้า เมื่อสี่อสงไขยแสนกัปป์
ละอันนั้นเสีย
แล้วเรียนกับพระพุทะเจ้าทีปังกร ไปเลย ก็พ้นทุกข์ ตั้งแต่ชาตินั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง :b1: :b9:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ในทางปริยัติเราแบ่งแยกชัดเจนเช่นนั้นได้

แต่ในทางปฏิบัติ บางบางมันลางเลือน บรือๆ
ผมหมายถึงนิมิตบางนิมิตที่ชี้แนะในการปฏิบัติธรรม
ตัวอย่างผมต้องค่อยๆนึกก่อนครับ
อ้อพอนึกได้นิดหน่อย
เป็นต้นว่า
ในนิมิตบอกว่า " ท่านจะพบกับเหตุการณ์อย่างหนึ่ง
นั่นหมายถึงท่านกำลังเข้าสู่สิ่งที่ท่านมุ่งหมายอาจเรียกว่าโสดาบัน "
หรือ "ท่านจะพบกับท้าวมหาพรหมลงมาหาและสั่งสอนธรรมให้ท่าน"
ในลักษณะเช่นนี้ที่ผมบอกว่า ไม่รู้จริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง ก็เป็นกุศล
ถ้าเป็นเท็จ ก็เป็นอกุศล


สวัสดีคุณ mes
ในทางปฏิบัติ อาศัยคำพระศาสดา เจริญ สติปัฏฐาน 4 หรือกายตคาสติ ก็ตาม
สมาธินิมิต คือสติปัฏฐาน หรือกายคตาสติ นี้ล่ะก็คือ สมาธินิมิตอันเป็นเนกขัมมะ อยู่แล้ว

1.ถ้าไม่ใส่ใจในคำพระศาสดาให้อาศัยสมาธินิมิตที่ตรัสสอนนี้ แต่ไปอาศัยสมาธินิมิตอื่นตั้งแต่ต้นเลย
งานนั้นย่อม เกิดเพราะ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ตั้งแต่เริ่มเจริญจิตตภาวนาแล้วครับ

2.ถ้าใส่ใจในคำพระศาสดา แต่มีวิตกอื่นใด หรือนิมิตอื่นเกิดขึ้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส หรือน้อมไปในอารมณ์อันเป็นนิมิตอื่นนั้นนั่นเอง ย่อมเป็นวิจิกิจฉา หรือ อุทธัจจจะกุกุกจะ พึงกำหนดรู้ลงไปว่านั่นเป็นนิมิตอื่นที่ จิตเข้าไปหน่วงเอาไว้ แล้วกำหนดถอนออกจากนิมิตนั้นกลับมายัง สติปัฏฐาน หรือกายคตาสติที่ตั้งไว้แต่แรก.

ความไม่รู้จริงเท็จ เป็นเช่นนั้นเอง ที่มีผู้ปฏิบัติ ไม่เข้าใจในหนทางที่พระศาสดาทรงตรัสไว้ ครับ
ศึกษาให้ดี ทางเดินแห่งวิตก และจะเป็นผู้ฉลาดในวิตก ก็จะทำความเข้าใจไห้เกิดขึ้น ชัดเจนขี้นในการกำหนดสมาธินิมิตที่อาศัยอุเบกขาในอารมณ์เป็นหนึ่ง.

การปฏิบัติ ต้องอาศัยความเป็นพหูสุตร หรือปริยัติให้มาก ทรงจำพระธรรม พุทธวจนะ ให้ดีจึงจะไม่ไปใส่ใจต่อคำสอนของอาจารย์ นักกวี ผู้แต่งตำราอื่น ให้สับสนออกจาก พระคำของพระพุทธองค์
สติจึงจะสามารถระลึกถึงพระธรรมคำตรัสสอน และน้อมเอามาใส่ไว้ในใจได้ มีความสามารถจำแนกแยกแยะได้เป็นพันนัย

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 13:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 19:46
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง :b1: :b9:


ก่อนจะถามหาการปฏิบัตินั้นทำอย่างไร ก็ต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง อินทรีย์ ที่ระบุในลาย
เซ็นนั้นเสียใหม่ให้ถูกก่อน

หากยังทำอะไรๆ แล้ว เซ็นลายเซ็นเรื่อง อินทรีย์ อยู่แบบนั้น ก็คง ป่วยการที่จะถามหาการปฏิบัติ

คำว่า อินทีรย์ คือ คือ สภาพธรรมที่เป็นใหญ่

ความเป็นใหญ่ของสภาพธรรม คือ เหนือการควบคุม เป็นสภาพธรรมที่เหนือบุคคล
สัตว ตัวตน บุคคล เราเขา ทั้งปวง จึงชื่อว่า อินทรีย์ธรรม

ยกตัวอย่างเช่น

ลูกตา หรือ ตา ซึ่งเป็น อินทรีย์อย่างหนึ่ง มีความเป็นใหญ่เหนือสรรพสิ่ง เหนือชีวิตตา

การที่มีการระบุว่า จะบังคับบัญชาได้ หรือ ขั้นสูงนั้นจะสำรวมอินทรีย์คือบังคับบัญชาได้

ถามว่า หากมีมัจจุมารหมายทวงคืนวาระกรรม คือ จิ้มลูกตาให้บอดเสีย

ผู้ที่มี อินทรีย์สังวรณ์ ที่ไหนในโลกธาตุ จะบังคับให้ตน มองเห็น หรือ มีความเป็นใหญ่
กว่า ตาอินทรีย์ ที่เสียหายไปแล้วได้บ้าง

จะเห็นว่า อินทรีย์คือ ความเป็นใหญ่

การระบุว่า

อ้างคำพูด:
ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆที่จะเกิดจากการรับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู เป็นต้นเหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆได้ตามต้องการ


จึงเป็นเรื่องของบุคคล ที่ถือ สิ่งที่ไม่ถูกต้องอยู่ในมือ หากไม่วางลงก่อนเสีย ก็ป่วยการที่จะถาม
หา วิธีปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง :b1: :b9:

พระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนไว้เป็น บทให้ปฏิบัติไว้แก่ชาวพุทธทุกท่าน
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=238&Z=384&pagebreak=0
Quote Tipitaka:
[๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการ
เห็น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นได้แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใดอันภิกษุใดพึงละได้เพราะ
การสังวร อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด
พึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ
อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้
แล้วเพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่านั้น
อันภิกษุนั้นละได้แล้ว เพราะการเว้นรอบ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใด พึงละได้เพราะการบรรเทา
อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดพึงละได้
เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น อันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการอบรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
นี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้
ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.


ชาวพุทธทุกท่านไม่ต้องคิดเอง เออเอง ให้เสียเวลาค้นหา
อ่านแล้ว รับเอาไปทำให้เป็นจริง ก็จะเรียกว่า "ละ" อาสวะกิเลส ตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอน

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ฯลฯ
ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.


ทีท่านเช่นนั้นยกมาก็ถูก ตัดตัณหา ทำสังโยชน์ให้หมดไปก็จบ... วิธีตัด (ตัณหา) น่ะตัดยังไง บอกวิธีตัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 13:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ฯลฯ
ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.


ทีท่านเช่นนั้นยกมาก็ถูก ตัดตัณหา ทำสังโยชน์ให้หมดไปก็จบ วิธีตัด (ตัณหา) น่ะตัดยังไง บอกวิธีตัด

วิธีการละ พระองค์แสดงไว้อย่างชัดเจน ในพุทธดำรัสข้างต้นของพระสูตร 7 ประการ
กรัชกาย ก็คงต้องไปอ่านแล้วนำไปปฏิบัติตามพุทธดำรัส ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
ในทางปริยัติเราแบ่งแยกชัดเจนเช่นนั้นได้

แต่ในทางปฏิบัติ บางบางมันลางเลือน บรือๆ
ผมหมายถึงนิมิตบางนิมิตที่ชี้แนะในการปฏิบัติธรรม
ตัวอย่างผมต้องค่อยๆนึกก่อนครับ
อ้อพอนึกได้นิดหน่อย
เป็นต้นว่า
ในนิมิตบอกว่า " ท่านจะพบกับเหตุการณ์อย่างหนึ่ง
นั่นหมายถึงท่านกำลังเข้าสู่สิ่งที่ท่านมุ่งหมายอาจเรียกว่าโสดาบัน "
หรือ "ท่านจะพบกับท้าวมหาพรหมลงมาหาและสั่งสอนธรรมให้ท่าน"
ในลักษณะเช่นนี้ที่ผมบอกว่า ไม่รู้จริงหรือเท็จ ถ้าเป็นจริง ก็เป็นกุศล
ถ้าเป็นเท็จ ก็เป็นอกุศล


สวัสดีคุณ mes
ในทางปฏิบัติ อาศัยคำพระศาสดา เจริญ สติปัฏฐาน 4 หรือกายตคาสติ ก็ตาม
สมาธินิมิต คือสติปัฏฐาน หรือกายคตาสติ นี้ล่ะก็คือ สมาธินิมิตอันเป็นเนกขัมมะ อยู่แล้ว

1.ถ้าไม่ใส่ใจในคำพระศาสดาให้อาศัยสมาธินิมิตที่ตรัสสอนนี้ แต่ไปอาศัยสมาธินิมิตอื่นตั้งแต่ต้นเลย
งานนั้นย่อม เกิดเพราะ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ตั้งแต่เริ่มเจริญจิตตภาวนาแล้วครับ

2.ถ้าใส่ใจในคำพระศาสดา แต่มีวิตกอื่นใด หรือนิมิตอื่นเกิดขึ้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส หรือน้อมไปในอารมณ์อันเป็นนิมิตอื่นนั้นนั่นเอง ย่อมเป็นวิจิกิจฉา หรือ อุทธัจจจะกุกุกจะ พึงกำหนดรู้ลงไปว่านั่นเป็นนิมิตอื่นที่ จิตเข้าไปหน่วงเอาไว้ แล้วกำหนดถอนออกจากนิมิตนั้นกลับมายัง สติปัฏฐาน หรือกายคตาสติที่ตั้งไว้แต่แรก.

ความไม่รู้จริงเท็จ เป็นเช่นนั้นเอง ที่มีผู้ปฏิบัติ ไม่เข้าใจในหนทางที่พระศาสดาทรงตรัสไว้ ครับ
ศึกษาให้ดี ทางเดินแห่งวิตก และจะเป็นผู้ฉลาดในวิตก ก็จะทำความเข้าใจไห้เกิดขึ้น ชัดเจนขี้นในการกำหนดสมาธินิมิตที่อาศัยอุเบกขาในอารมณ์เป็นหนึ่ง.

การปฏิบัติ ต้องอาศัยความเป็นพหูสุตร หรือปริยัติให้มาก ทรงจำพระธรรม พุทธวจนะ ให้ดีจึงจะไม่ไปใส่ใจต่อคำสอนของอาจารย์ นักกวี ผู้แต่งตำราอื่น ให้สับสนออกจาก พระคำของพระพุทธองค์
สติจึงจะสามารถระลึกถึงพระธรรมคำตรัสสอน และน้อมเอามาใส่ไว้ในใจได้ มีความสามารถจำแนกแยกแยะได้เป็นพันนัย

เจริญธรรม



:b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ฯลฯ
ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศไปแล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะโดยชอบ.


ทีท่านเช่นนั้นยกมาก็ถูก ตัดตัณหา ทำสังโยชน์ให้หมดไปก็จบ... วิธีตัด (ตัณหา) น่ะตัดยังไง บอกวิธีตัด


ผมมีความคิดเห็นอาจจะไม่ใช่ประเด็นที่อ้างอิงมาข้างต้น แต่ต้องการบอกว่า

ปัจจุบันในการปฏิบัติธรรมนิยมไปรวมตัวปฏิบัติธรรมตามวัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรม

แล้วแสดงการปฏิบัติธรรม

แสดงความเคร่งครัด ความเข้ม ความตั้งใจ ความเพียร ในการปฏิบัติ

แสดงความไม่มีตัญหา ไม่มีกิเลส

แสดงความสำรวม ต่างๆ

เหมือนมหกรรม เมื่อกลับบ้านก็เลิก

ผิดหลักครับ

โดยเฉพาะอุปาทานหมู่อย่างธรรมกาย(aminคงอนุโลม)ไม่มีทางได้ผล

การตัดตัญหาต้องกำหนดรู้ให้ได้ถึงตัญหาเสียก่อนแล้วใช้สมาธิข่มกลั้นตัญหานั้นเอาไว้

ในขณะเดียวกันโยนิโสมนสิการตัญหานั้นด้วยหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ถึงตอนนี้ปริยัติมาเท่าไรงัดออกมาใช้ให้หมด

ตัญหานั้นก็จะผ่อนลงในเวลานั้น

แต่เมื่อสมาธิอ่อนลงตัญหาก็จะกลับแก่กล้าขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าเราโยนิโสมนสิการดีมากๆตัญหาก็จะเบาบางลง

ถ้าทำบ่อยๆซ้ำแล้วซ้ำอีกตัญหาก็จะไม่กำเริบรุนแรง


ที่บอกว่าละตัญหาจึงมิใช่ทำได้ชั่วลัดนิ้วมือ

แต่ต้องใช้เวลาใช้ขบวนการ

การละโดยฉับพลันตามอาจารย์สำนักฝึกวิปปัสสนาจึงเป็รแค่การแสดงเท่านั้น


แม้แต่กามตัญหา แม้แต่ภาวะตัญหา แม้แต่วิภาวะตัญหา ไม่ละได้ง่ายๆด้วยแค่เพียงความคิด

ไม่เชื่อลองกินข้าวกับผักดองสักเจ็ดวัน ขังตัวเองในห้องนอนที่ไม่มีเครืองปรับอากาศไม่มีแม้โทรทัศน์เครืองคอม สักเจ็ดวัน ลองดู

ถ้าไม่ฝึกคงไปไม่ตลอดรอกฝั่งแน่


การปฏิบัติธรรมต้องอาศัยศรัทธาเป็นเจตนานำ

ต่างจากการแสดงว่าปฏิบัติธรรม

ทั้งสองอย่างเกิดผลแตกต่างกัน

การปฏิบัติธรรมลดกิเลส ตัญหา

การแสดงปฏิบัติธรรมเพิ่มอัสมิมานะ เพิ่มกิเลส เพิ่มตัญหา

เป็นสิ่งที่พวกเราอ้างตนว่าผู้ศึกษาธรรมต้องพึ่งพิจารณา

:b8: :b8: :b8:









.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยอ้างถึงโยนิโสมนสิการ (รู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี....) ไว้ก่อนหน้า ท่านว่า โยนิโสมนสิการมีหลายวิธี แต่สรูปแล้วมี 2 แบบ คือ โยนิโสมนสิการ ที่มุ่งสกัดหรือกำจัดอวิชชาโดยตรง และโยนิโสมนสิการ ที่มุ่งเพื่อสกัด หรือ บรรเทาตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุด เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้
ส่วนโยนิโสมนสิการแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา มักใช้เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆ ซึ่งมุ่งเตรียบพื้นฐาน หรือ พัฒนาตนเองในด้านคุณธรรมให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไปเพราะเป็นเพียงขั้นขัดเกลากิเลส

แต่โยนิโสมนสิการหลายวิธีใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองอย่าง คือทั้งกำจัดอวิชชา และบรรเทาตัณหาไปพร้อมกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 15:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง :b1: :b9:



คุณกรัชกาย ครับ ไม่ต้องชาวพุทธหรอก ชาวไหนๆ ก็รู้จักละได้
ชาวบ้านชาวเมืองชาวป่า
ก็รู้จักครับ
การละกิเลสหยาบๆๆ ไปจนถึงสังโยนข์เบื้องสูง

ถามคนที่ติดคุกติดตารางอยู่ ก็รู้ การลด การละ การเลิก นั่นควรทำยังไง
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างติดเหล้า ติดนักเรียนสาวๆ
ใครๆก็รู้อยู่แล้ว
ว่าทำยังไง
เมื่อยังติดใจ มันก้ละ ไม่ได้ ลดไม่ได้ เลิกไม่ได้

อ่านธรรมมะมาตั้งมากมาย ยังไม่รู้อีกเหรอครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ขอเวลานั่งอ่านตั้งแต่ต้นสักแปปครับ...กลับมาดูกระทู้ยาวมากเลย..รักทุกท่านครับ...^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 16:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2011, 23:50
โพสต์: 143


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
LuiPan เขียน:
คำว่า ละ นั้น มีปัญหามากในการให้คำอธิาย เสมือนการตอกลิ่มไม้ใหม่เข้าไปในเนื้อกลองจัญไร

ดังนั้น ควรใช้คำของตถาคต

คำว่า ละ ที่เป็นคำเดิมของพระตถาคต คือ ไม่เผลอเพลิน หรือ ไม่เผลอมีนันทิราคะ

ละ แบบ ละนันทิราคะ หากกลับไปอ่านสำนวนบาลีเดิม จะพบว่า คำเดิมก็ใช้คำว่า
ขจัดนันทิราคะ นี่แหละ แต่เพราะลิ่มสลักที่แปลเข้าไปใหม่ แล้วนิยมใช้กัน ก็เอา
คำว่า ละ เข้าไปแทนที่ ทำให้คำของตถาคตที่กล่าวไว้ดีแล้ว อันตรธานหายไป


อันตรธาน มิได้เริ่มที่ บัญญัติ

ละนันทิราคะ หรือ ขจัดนันทิราคะ เพื่อให้ได้ผลซึ่งอะไร นี่คือนัยที่หายไป

ถ้าปัจจัยหนึ่งมิจางไป การแตกร้าวย่อมไม่ปรากฎ

ความเสื่อมแรกที่ปรากฎก่อนที่ ความเสื่อมอื่น ๆ จะปรากฎตามมาก็คือ

สมดุลแห่งความเป็นกลอง เมื่อสมดุลเสีย สิ่งแรกที่สังเกตได้คือ เสียงกลองที่เพี้ยนไป

ส่วนรูปลักษณ์ภายนอก เป็นสิ่งที่เห็นได้หลังจากนั้นมา

ผู้ที่จะรู้ว่าเสียงกลองนั้นเพี้ยนไป มีเพียง ผู้ที่ชำนาญในอุปกรณ์นั้น

สำเนียงที่เพี้ยนไป คือ สิ่งแรกที่ทำให้เรารู้ว่า
กลองนั้นเสียสมดุล และกำลังเดินทางเข้าสู่การเสื่อมในกาลต่อไป

การเห็น นัยยะแห่งกลอง สะท้อน
หนึ่ง กลองที่เราเห็น ไม่ใช่สิ่งเดียวกับกลองใบเก่า
ดังนั้นการตีกลอง ยังกลองใบนี้ เสียงที่ได้ ก็ไม่ใช่เสียงเดียวกับเสียงที่ได้ออกมาจากกลองใบเก่า

สอง เราไม่อาจจะยึดกลองใบนี้ เสียงกลองเสียงนี้ ว่าเป็นสำเนียงที่แท้จริงของกลองได้ไม่

สาม สำเนียงดั่งเดิมของกลองนั้น จางหายไปจากความทรงจำของพวกเราได้อย่างไร
แล้วอะไรคือ สิ่งที่จะช่วยให้เราแกะรอยกลับไปหาสำเนียงนั้นได้ อีกครั้ง

นี่คือเหตุผลที่ ทำไม พุทธจึงแบ่งแยกออกเป็นสองสาย
ก็คือ แบ่งหน้าที่ในการเก็บรักษา
เพื่อสักวันหนึ่ง จะมีผู้นำสมบัติทั้งสองชิ้น กลับมาเชื่อมต่อกันอีกครั้ง

:b8: ไร้สาระท่าน ... ไม่มีอะไร
แค่อ่านความเห็นท่านแล้ว มันรู้สึกไปถึงสำเนียงที่หายไปก่อนที่เนื้อกลองจะหายไป

:b8: :b8: :b8:


กลองหุ้มด้วยหนังอะไร ถึงจะตีดัง

มุสิละ ดีดพิณเจ็ดสาย เสียงไพเราะเสนาะโสตจับใจคนฟัง

แต่อาจารย์ของมุสิละ ใช้พิณจัญไร ไม่มีสายสักสายเดียว
แต่เสียงธรรม กระจายไปถึงเทวโลก

เสียงของธรรม หาได้เกิดจากหนังกลอง
เสียงของธรรม หาได้เกิดจาสายพิณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2011, 16:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


my-way เขียน:
กลองหุ้มด้วยหนังอะไร ถึงจะตีดัง

มุสิละ ดีดพิณเจ็ดสาย เสียงไพเราะเสนาะโสตจับใจคนฟัง

แต่อาจารย์ของมุสิละ ใช้พิณจัญไร ไม่มีสายสักสายเดียว
แต่เสียงธรรม กระจายไปถึงเทวโลก

เสียงของธรรม หาได้เกิดจากหนังกลอง
เสียงของธรรม หาได้เกิดจาสายพิณ




:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร