วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิศีล
อธิจิต
อธิปัญญา

เราว่าน่าจะเป็นอย่างนี้นะ
อธิศีล คือศีลอันยิ่ง ยิ่งกว่าอะไร ยิ่งกว่าความโลเล จนทับถมความโลเลทางกายทำ ทางวาจาพูด ออกไป
อธิจิต คือจิตอันยิ่ง ยิ่งกว่าอะไร ยิ่งกว่านิวรณ์ทั้งห้ามีกามราคะเป็นต้น
อธิปัญญา คือปัญญาอันยิ่ง ยิ่งกว่าอะไร ยิ่งกว่าตัณหาและทิฏฐิ

ฉะนั้นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา จึงเป็นเหมือนเกราะป้องกันอธรรมดังกล่าวไม่ให้มามีอิทธิพลเหนือจิตวิญญาณ

จริงไม่จริงผู้รู้ทบทวนดู
เป้าหมายของการสอนศาสนาคือการขจัดตัณหาและทิฏฐิสองตัว ออกไปจากตน และคนอื่น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
หนึ่ง เขาพูดกันแต่วิปัสสนา จนลืมสมถะ
สอง บางแห่งปฏิเสธสมถะยกย่องแต่วิปัสสนาชนิดหัวชนฝา
สาม ชะตากรรมของผู้ปฏิบัติจะเป็นเช่นไรเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง

สมถะ วิปัสสนา เกิดขึ้นในจิตพร้อมๆ กัน แยกกันไม่ได้ สมถะ หรือ เอกคัตตาเจตสิก วิปัสสนา หรือ ปัญญาเจตสิก ต่างหน้าที่กัน ไม่ได้ก้าวล่วงกัน

ประเด็นที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะไม่รู้จักว่า อะไรที่จะต้องทำบ้าง เพื่อดับทุกข์ อะไรที่จะต้องเรียนรู้บ้าง ก่อนปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือ มรรค หนทางในการดับทุกข์ได้หายไปจากสังคมไประยะหนึ่ง

เพราะผู้ปฏิบัติธรรม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ศึกษาโดยไม่ได้ปฏิบัติ กลุ่มที่ ๒ ปฏิบัติเลยโดยไม่ได้ศึกษา มันก็เลยเกิดความแตกแยก วุ่นวายอย่างที่เห็น ... ทั้ง ๒ กลุ่ม ต่างก็หลงไปในทางของมาร

พวกที่อ่าน ก็อ่านอย่างเดียว เอาไปทำหนังสือ ทำผลงานทางโลก ... พวกที่ปฏิบัติ พุทธประวัติหน้าแรก ก็ยังไม่อ่าน ไม่รู้เอาอะไรที่ใหนไปปฏิบัติ

ลำดับของปัญญา รู้จด รู้จำ จึงจะเกิดรู้จริง รู้แจ้ง ธรรมชาติ คือ ความจริงที่เราได้แต่เรียนรู้เท่านั้น ที่ผ่านๆ มา หลายๆ ท่านเอาตรรกปรัชญาไปศึกษาธรรมชาติ บ้างก็หาเองในสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีของพราหมณ์ทั้งคู่ เลยไม่รู้ตัวเลยว่า ตัวเองกลายเป็นพราหมณ์

การรู้เองเห็นเอง เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สาวกนั้นอาศัยการรู้ตาม หลายๆ ท่านก็ยังพยายามหาทางรู้เองเห็นเองให้ได้ หรือ พยายามฝึกตนเองให้เป็นพระพุทธเจ้า ... ก็เอวังสำหรับคนพวกนี้

เพราะไม่รู้จักมรรคตามความเป็นจริง ไม่รู้จักปัญญาตามความเป็นจริง ไม่รู้แม้นความจริงที่ว่า ทั้งมรรคและปัญญา ไม่มีใครสามารถรู้เองเห็นเองได้ นอกจากจะสะสมบุญมาพอที่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อมันหายไป ก็หากันใหญ่ หาอย่างไร ก็ไม่เจอ และไม่มีทางเจอ ... ปฏิบัติกันไปแล้วหวังว่าจะไปหาปัญญาเจอเอาข้างหน้า ... จึงมีการวาดมโนภาพของมรรค มโนภาพของปัญญา เป็นของสูง ของหายาก ของที่ไม่มีแม้กระทั่งคำอธิบาย

เมื่อปฏิบัติไป หาไป กลับมาทบทวนธรรมวินัย ก็ปรากฏว่า ไม่ตรง ขัดกันหลายอย่าง แทนที่จะคิดว่า ฉันน่าจะทำผิดนะ กลับคิดว่า พระไตรปิฏกมีปัญหาแน่ๆ ... ไม่เชื่อพระไตรปิฏก กลับไปเชื่อนิมิตที่เทวปุตมารเอามาแสดงให้ดู ... แล้วก็เริ่มปฏบัติออกนอกธรรมวินัย ต่างคนต่างวิธีการ ต่างความคิด กลายเป็นสำนักมากมาย ไม่รู้ตัวเลยว่า กลายเป็นพราหมณ์สมบูรณ์แบบไปแล้ว ตั้งสำนักแข่งกันเอง ตั้งสำนักแข่งกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ต่างอะไรกับลัทธิอาจารย์ทั้ง ๖ ในสมัยพุทธกาลเลย ... ที่น่าสงสารที่สุด พวกเขาก็เข้าใจจริงๆ ว่าเขาเป็นพุทธ เป็นผู้รู้ มรรค และ ปัญญา

เมื่อไม่มีทั้ง มรรค และ ปัญญา ที่ปฏิบัติกันมา จึงเป็นเพียง มิจฉามรรค ไม่มีวิปัสสนาเลย อ้างว่าเป็นวิปัสสนาเท่านั้น สูงสุดก็คือได้ฌานอภิญญา ไปเกิดเป็นพพรหม ต่ำสุดคือลงมหานรกอเวจีเท่านั้น


... แล้วใครจะเชื่อว่า แค่ความเห็นที่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด ไม่เที่ยงฯ คือ มรรค คือ ปัญญา คือ ความจริงของโลกและชีวิต ที่หากันไม่เจอมา ๑๔๐๐ ปี ทั้งๆ ที่ในพระไตรปิฏกก้ยังมีบันทึกไว้ครบ ... ถ้าไม่ได้ทดลองทำด้วยตนเอง ไม่เห็นผลด้วยตนเอง ก็ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง ... เรื่องมันก็เลย ... ยิ่งกว่าหน้าเป็นห่วงอีก



เพ้อเจ้อ

คำถามที่ถามไปก็ตอบไม่ได้


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 08:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
หนึ่ง เขาพูดกันแต่วิปัสสนา จนลืมสมถะ

... แล้วใครจะเชื่อว่า แค่ความเห็นที่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด ไม่เที่ยงฯ คือ มรรค คือ ปัญญา คือ ความจริงของโลกและชีวิต ... ถ้าไม่ได้ทดลองทำด้วยตนเอง ไม่เห็นผลด้วยตนเอง ก็ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง


อนุโมทนาสาธุค่ะท่าน Sup :b8:

แค่ได้ฟังธรรมขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ปัญญาก็เกิดแล้วเจ้าค่ะ
แต่ปัญญาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอินทรีย์ที่เราจะต้องเพาะบ่ม (ฝึกฝน) และต่อยอดขึ้นไป
ให้ปัญญาเจริญงอกงามยิ่งๆ ขึ้นไปใช่ไหมคะ...

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แก้ไขล่าสุดโดย ปลีกวิเวก เมื่อ 25 พ.ค. 2011, 08:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ศีลพตปรามาส
การใช้ชีวิตที่มาจากความเห็นผิด...

เล่นตอบแบบครอบจักรวาลอีกแล้วครับ สักกายทิฐิมันก็เห็นผิด วิจิกิจฉามันก็เห็นผิดเหมือนกันครับ
มันต้องตอบว่า เห็นผิดในสิ่งใดครับ แต่ไม่เป็นไรครับ ประเด็นมันอยู่ตรงนี้ครับ
Supareak Mulpong เขียน:
ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา มาจากภิกษุที่เป็นอริยสงฆ์กลุ่มหนึ่งพวกวัชชีบุตร จะขอลาสิกขาบท เราะสิกขาบทที่มีในขณะนั้น ๑๕๐ ข้อ มันมากไป รับไม่ใหว ท่านจึงลดลงเหลือ ๓ ข้อ คือ ไม่อวดอุตริ ไม่ฆ่ามนุษย์ ไม่ลักทรัพย์เกิน ๕ มาสก ไม่เสพเมถุนธรรม เรียก ศีลใหญ่ หรือ อธิศีล ให้มีจิตที่ไม่ประมาท คือ ไม่ประมาทต่ออกุศล เรียก อธิจิต และใช้ปัญญาประหารกิเลส เรียก อธิปัญญา ... เป็นหลักสูตรพระอริยสงฆ์

ท่านบอกว่า พระอริยสงฆ์ มาขอพระพุทธเจ้าบวช ท่านเป็นถึงอริยสงฆ์แล้ว
ท่านยังมีปัญหาเรื่องกฎเกณท์ ผมว่ามันยังไงๆอยู๋นะครับ แต่เอาเป็นว่าผมไม่ขอวิจารณ์
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
การเชื่อคำบอกเล่าของคนอื่นเป็นความจริงหรือครับ
แล้วเรื่องที่ได้สดับรับฟังเป็นความจริงหรือเปล่าล่ะ?...

ผมเปรียบใครฟังนะครับ กรุณาอย่าย้อนแบบไม่มีเหตุผลเลยครับ
มันเปล่าประโยชน์

คำพูดของผมพูดไปตามเหตุตามผล เราก็รู้ๆอยู่ว่า การไปเห็นเองกับการบอกเล่า
อันไหนเป็นไหนเป็นความจริงสำหรับเรา และอันไหนเป็นคำบอกเล่าหรือฟังเขามา

ที่ท่านบอกเรื่องที่สดับรับฟังมา มันก็เหมือนท่านกับผมตอนนี้ไงครับ
ท่านซุปก็ว่า ท่านสดับรับฟังมา ผมก็บอกผมสดับรับฟังมา
เราก็ฟังมาด้วยกันทั้งคู่ ภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาเดียวกันแต่ทำไมเราถึงได้
มาแย้งกันอยู่อีกครับ ไปคิดดูดีๆครับ

Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
มันต้องไปรู้ไปเห็นเองครับ ถึงจะเรียกว่าความจริง
ลองวิปัสสนาดูแล้วหรือยัง?

ขอเสียทีครับ ไอ้ประเภทว่า ลองดูหรือยัง ทำดูหรือยัง ผมฟังแล้วไม่เข้าท่าครับ
ที่เสียเวลามาแสดงความเห็นอยู่นี่ ท่านคิดว่าผมมาเกรียนเล่นๆหรือครับ
ท่านจะบอกว่า ความเห็นผมใช้ไม่ได้มันผิดก็ว่ามาเลยครับ แต่มาบอกว่าลองหรือยัง
ทำดูหรือยัง ฟังแล้วไม่มีเหตุผลครับ

อีกอย่างครับ ท่านช่วยอธิบาย คำว่าวิปัสสนาในส่วนของท่านให้ฟังหน่อย
วิปัสสนาของเรามันอาจเป็นที่ฟ้ากับเหวก็ได้

Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ยิ่งเรื่องไตรลักษณ์มันเป็นสภาวะ มันอธิบายเป็นสมมุติบัญญัติไม่ได้
เป็นจิต หรือ เจตสิกละครับ? สามัญลักษณะ ๓ ประการของธรรมชาติ หรือ ลักษณะร่วมของธรรมชาติ หรือ ไตรลักษณ์ เป็นจิต หรือ เจตสิกละครับ?

แล้วจิตรูปร่างหน้าตามันเป็นอย่างไรครับ เจตสิกหน้าเป็นอย่างไรครับ
อย่าดำน้ำตอบซิครับ จิตเป็นนามเป็นปรมัตถ์ ท่านสามารถอธิบายให้คนอื่นฟังได้หรือครับว่า
หน้าตาเป็นอย่างไร
เอาแค่แยกจิตกับเจตสิกให้ดูหน่อยซิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มาของไตรสิกขา
Quote Tipitaka:
วัชชีปุตตสูตร

[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ ฯ

ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแล ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใด ท่านจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อท่านนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี จักละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ ท่านนั้นจักไม่กระทำกรรมเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้วทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา ทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี ศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ โมหะ เสียได้ เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ
สิกขาบท ๑๕๐ หรือปัจจุบันมี ๒๒๗ ข้อ จึงเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์
tongka เขียน:
เป้าหมายของการสอนศาสนาคือการขจัดตัณหาและทิฏฐิสองตัว ออกไปจากตน และคนอื่น
กิเลสตัณหา มีมิฉาทิฐิเป็นเหตุปัจจัย กำจัดมิฉาทิฐิได้ กิเลสตัณหาก็ดับ ในธรรมวินัยยังระบุว่า จะสอนให้ผู้อื่นดับได้ตามนั้น เราต้องดับของเราเองให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นจะเอาความเห็นไปปนกับความจริง ตามกำลังของกิเลสตัณหา เหมือนจะเป็นอาจารย์หมอก็ต้องจบหมอก่อน ฯ

โฮฮับ เขียน:
ท่านล่ะครับ เคยลองทำดูหรือยัง
ทำมาแล้ว
โฮฮับ เขียน:
ท่านต้องลงมือปฏิบัติครับ มันถึงจะเห็นผล
ทำแล้ว เห็นผลแล้ว ถึงเอามาบอก
โฮฮับ เขียน:
ท่านซุปครับ ท่านเข้าใจเรื่องของสมาธิที่ตั้งมั่นกับสมาธิที่จมแช่หรือเปล่าครับ?
ความตั้งมั่นที่โอนอ่อนควรแก่การงาน คือ ขณิกกะสมาธิประกอบกับการทำกิจกรรมปกติของคนเรา สมาธิแช่จม คือ ความตั้งมั่นของจิตที่ใช้รูปสัญญาอรูปสัญญาแน่นิ่งเป็นอารมณ์เดียว
โฮฮับ เขียน:
ท่านฟังมาหรือเห็นจากของจริง
ได้ฟังความจริงมา ปฏิบัติแล้วก็เห็นผลจริงตามนั้น หรือรู้เห็นด้วยตนเองแล้ว
โฮฮับ เขียน:
ท่านครับเรื่องของศีลเป็นเรื่องของการกระทำมันเป็นเรื่องกาย
ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ศีลหรือการกระทำมาจากความคิดเห็น ความคิดเห็นมาจากสัญญา
โฮฮับ เขียน:
ผมถามท่านว่า การกระทำของกายตัวไหน ที่ส่งผลให้จิตมีสติตั้งมั่น
มันเป็นความเข้าใจของท่าเอง ในธรรมวินัยบอกว่า วิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศล อวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศล จิตที่เป็นกุศลเป็นมูลฐานของศีลที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศลเป็นมูลฐานของศีลที่เป็นอกุศล
โฮฮับ เขียน:
วิจิกิจฉา
แปลว่าความลังเลสงสัย
โฮฮับ เขียน:
ห็นผิดในสิ่งใดครับ
เห็นว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นว่าเที่ยง
โฮฮับ เขียน:
ท่านบอกว่า พระอริยสงฆ์ มาขอพระพุทธเจ้าบวช ท่านเป็นถึงอริยสงฆ์แล้ว
ท่านยังมีปัญหาเรื่องกฎเกณท์ ผมว่ามันยังไงๆอยู๋นะครับ แต่เอาเป็นว่าผมไม่ขอวิจารณ์
อริยสาวก โสดาบันบุคคล หรือ ผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงมาขอบวช กลายเป็นพระอริยสงฆ์ เป็นพระโสดาบัน ก่อนบวชยังไม่ได้เป็นพระ ... ในพระวินัย สิกขาบทจะถูกบัญญัติขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีภิกษุทำผิด ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้นน พระวินัยแต่ละข้อ จึงมีที่มาจากการทำผิดของพระเสขะ หรือ พระอริยสงฆ์ที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ผล
โฮฮับ เขียน:
คำพูดของผมพูดไปตามเหตุตามผล เราก็รู้ๆอยู่ว่า การไปเห็นเองกับการบอกเล่า
อันไหนเป็นไหนเป็นความจริงสำหรับเรา และอันไหนเป็นคำบอกเล่าหรือฟังเขามา
เหตุผลของปุถุชนมาจากความเห็นเท่านั้นแหละครับ ถ้าไม่มีความเห็นประกอบ หรือมีแต่ความจริง มาจากคำของสัตตบุรุษ ปุถุชนเองก็ไม่มีปัญญาที่จะตัดสินเพราะยังไม่มีเฉลยในมือ ... เพราะฉะนั้น ผู้ใดไม่ได้พบสัตตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ประกอบในธรรมของสัตตบุรุษ ไม่มีทางมีดวงตาเห็นธรรม .. และในฐานะที่ตัวท่าน หรือผู้ที่เข้ามาอ่าน ไม่มีเฉลยในมือ ย่อมไม่รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก การกล่าวคำว่า ผิด หรือ ถูก จึงเป็นเสมือนคำต้องห้ามสำหรับการแสดงความจริง นอกจากผู้ฟังจะมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ... เพราะมันจะเป็นเหตุของการเกิดวิวาทะเท่านั้น
โฮฮับ เขียน:
อีกอย่างครับ ท่านช่วยอธิบาย คำว่าวิปัสสนาในส่วนของท่านให้ฟังหน่อย
วิปัสสนาของเรามันอาจเป็นที่ฟ้ากับเหวก็ได้
เห็นจริงตามจริงเท่าทันปัจจุบันอารมณ์

นามธรรมแสดงออกมาไม่ได้ แต่มีคำอธิบาย ถ้าอธิบายไม่ได้ ก็ใช้อุปมาเอา

จิต เป็นธรรมชาติที่รู้และจำ เจตสิกเป็นธรรมที่ปรุงแต่งจิต เกิดดับพร้อมกับจิต

ปรมัตธรรม มี ๔ ประการ ถ้าไตรลักษณ์เป็นสภาวะ ถ้ามันไม่เป็นรูป ไม่เป็นจิต ไม่เป็นเจตสิก ไม่เป็นนิพพาน มันเป็นอะไรได้ละครับ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 23:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ที่มาของไตรสิกขา
Quote Tipitaka:
วัชชีปุตตสูตร

[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทนี้ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ก็ท่านสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ หรือ

ว. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า

สิกขาบท ๑๕๐ หรือปัจจุบันมี ๒๒๗ ข้อ จึงเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์


อะไรที่บ่งบอกว่า ตรงนี้เป็น ที่มาของไตรสิกขา
ที่มาในความหมายใด
หมายความถึง
ปรากฎไตรสิกขาขึ้นครั้งแรกในสมัยพระพุทธองค์
หรือว่า เป็นพระสูตรที่อ่านเจอในเรื่องไตรสิกขา

ซึ่งดูจากลักษณะการถามของพระพุทธองค์ และการตอบรับของวัชชีบุตร
แสดงถึงสิ่งที่นำมาสนทนานั้น ไม่ได้เป็นสิ่งที่แปลกในหมู่สงฆ์

Quote Tipitaka:
วัชชีปุตตสูตรที่ ๙
ุ[๗๘๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใกล้เมืองเวสาลี


ท่านต้องให้ความกระจ่างในสำนวนสรุปของท่านแล้วล่ะ
สิกขาบท ๑๕๐ หรือปัจจุบันมี ๒๒๗ ข้อ จึงเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์

เพราะคำกล่าวของท่านราวกับว่าท่านภิกษุวัชชีบุตร ไม่ใช่ภิกษุสงฆ์

ถ้าไม่ใช่ สังคยนามาแล้วตั้งกี่หน ท่าน ทำไมยังคงทรงไว้ซึ่ง ภิกษุวัชชี

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 24 พ.ค. 2011, 20:10, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 23:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ปรมัตธรรม มี ๔ ประการ ถ้าไตรลักษณ์เป็นสภาวะ ถ้ามันไม่เป็นรูป ไม่เป็นจิต ไม่เป็นเจตสิก ไม่เป็นนิพพาน มันเป็นอะไรได้ละครับ?


เป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วย ปัญญาจักษุ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ที่มาของไตรสิกขา
Quote Tipitaka:
วัชชีปุตตสูตร
สิกขาบท ๑๕๐ หรือปัจจุบันมี ๒๒๗ ข้อ จึงเป็นเรื่องของพระภิกษุสงฆ์

ท่านซุปครับถ้าเอาตามท่านว่า เราเป็นอะไรนิดๆหน่อยๆ เสี้ยนต่ำมือเราก็ต้องไปหาหมอซิครับ
เพราะการรักษาเป็นเรื่องของหมอ พ่อแม่สอนให้ลูกพูดไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของครู
เป็นชาวนา ไม่สามารถรู้เรื่องกฎหมายหรือครับ
เป็นฆราวาสห้ามศึกษาพระไตรปิฎกหรือครับ

จะพูดอะไรควรคำนึงก่อนครับว่า คนที่อ้างถึง ณ.ขณะนั้นเขาอยู่ในสถานะใด
อธิศีล อธิจิตและอธิปัญญาเป็นมวลรวมใหญ่ของโลกหรือธรรมชาติ
การเรียนรู้เรื่องราวในมวลรวมเราสามารถทำได้ แต่ถ้าจะดูในทางปฏิบัติเราก็ต้อง
คำนึงถึงสถานะที่เป็นอยู่ ท่านว่าศีลห้าของฆราวาสเป็นส่วนย่อยของอธิศีลมั้ย
ศีล227ของพระสงฆ์เป็นส่วนที่มากขึ้นหรือเพิ่มขึ้นของศีลห้าหรือเปล่า
พูดง่ายๆก็คือศีลห้าเป็นส่วนหนึ่งของศีล227 และศีล227ก็เป็นส่วนในอธิศีลครับ


ในส่วนศีล227 ฆราวาสจะเรียนรู้หรือไม่ก็ได้ แต่พระต้องรู้
แต่ศีลห้า ฆราวาสและพระต้องรู้ครับ

ท่านซุปครับ การที่ท่านบอกว่านั้นเป็นเรื่องของสงฆ์ นี่เป็นเรื่องของสงฆ์
มันเป็นส่วนของการปฏิบัติครับ มันขึ้นอยู่กับสถานะที่ดำรงอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ท่านล่ะครับ เคยลองทำดูหรือยัง
ทำมาแล้ว
โฮฮับ เขียน:
ท่านต้องลงมือปฏิบัติครับ มันถึงจะเห็นผล
ทำแล้ว เห็นผลแล้ว ถึงเอามาบอก

ผมถึงได้สงสัยท่านไงครับ ท่านบอก ท่านปฏิบัติมาแล้วเห็นผลแล้ว
ผลที่เห็นมันเป็นอะไรครับ ท่านบอกว่าเอาปัญญานำ แสดงว่าปัญญา
มีอยู่แล้ว การที่บอกว่าปฏิบัติ ปฏิบัติไปหาอะไรครับหรือว่า เราเข้าใจบัญญัติไปคนละเรื่อง
เอางี้สั้นๆท่านเข้าใจ หลักของ ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธมั้ยครับ
Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ท่านซุปครับ ท่านเข้าใจเรื่องของสมาธิที่ตั้งมั่นกับสมาธิที่จมแช่หรือเปล่าครับ?
ความตั้งมั่นที่โอนอ่อนควรแก่การงาน คือ ขณิกกะสมาธิประกอบกับการทำกิจกรรมปกติของคนเรา สมาธิแช่จม คือ ความตั้งมั่นของจิตที่ใช้รูปสัญญาอรูปสัญญาแน่นิ่งเป็นอารมณ์เดียว

สรุปสองตัวมันเป็นสมาธิใช่มั้ยครับ และสมาธิเกิดได้เพราะสติใช่มั้ยครับ
เวลาเราหลงลืมตัว เราก็ขาดสติ เราต้องอาศัยความเพียรเพื่อประคองให้สติคงอยู่ใช่มั้ยครับ

ที่กล่าวมาไม่ใช่อะไรเพียงแต่อยากให้ท่านซุป ลองเอาคำกล่าวของผมไปพิจารณา
ในส่วนของท่านที่ว่า ท่านใช้ปัญญานำ ปัญญานี้เกิดจากการอ่านการฟังของท่าน
ท่านลองดูซิว่า ท่านไม่ได้ใช้ สติสมาธิและความเพียร ในการย้อนสมมุติบัญญัติ
ขึ้นมาพิจารณา

แล้วที่ท่านบอกสมาธิไม่จำเป็น ท่านลองไปดูใหม่ว่าท่านใช้มันอยู่หรือเปล่า
และมันเป็นสมาธิตัวไหน
Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ท่านฟังมาหรือเห็นจากของจริง
ได้ฟังความจริงมา ปฏิบัติแล้วก็เห็นผลจริงตามนั้น หรือรู้เห็นด้วยตนเองแล้ว

เห็นมั้ยล่ะครับ ท่านลองเอาประโยคนี้ไปย้อนดู ความเห็นแรกของท่าน
มันขัดแย้งกันมั้ย

ผมบอกว่า การฟังการอ่านแต่อย่างเดียวมีนยังไม่เรียกปัญญาหรือความจริง
ต่อเมื่อปฏิบัติให้เห็นความจริง เห็นผลที่เราอ่านมาว่าสอดคล้องกับผลที่เราปฏิบัติ
แบบนี้สิ่งที่อ่านมาจึงจะเป็นความจริง

ปัญหามันอยู่ตรงที่คำว่าปฏิบัติ ไม่รู้ท่านไปเข้าใจอย่างไร
บ้างที่ท่านปฏิบัติไปแล้ว ท่านอาจไม่รู้ว่าท่านกำลังปฏบัติก็ได้
เลยเข้าใจไปว่า ปัญญานำการปฏิบัติได้
Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ท่านครับเรื่องของศีลเป็นเรื่องของการกระทำมันเป็นเรื่องกาย
ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ศีลหรือการกระทำมาจากความคิดเห็น ความคิดเห็นมาจากสัญญา

จิตที่มีตัณหาเขายังไม่เรียกว่าผิดศีลนะครับ ตัณหามันเกิดตามเหตุปัจจัยตามหลักของ
อิทัปฯกับปฏิจจ์ฯ ต่อเมื่อเราเอาสติมาดับกิเลสในใจได้ ไม่ส่งผลไปยังกาย มันก็ยัง
ไม่ผิดศีล ต่อให้เราคิดเรื่องอกุศลกี่ร้อยครั้งมันก็ไม่ผิดศีล
Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมถามท่านว่า การกระทำของกายตัวไหน ที่ส่งผลให้จิตมีสติตั้งมั่น
มันเป็นความเข้าใจของท่าเอง ในธรรมวินัยบอกว่า วิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศล อวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศล จิตที่เป็นกุศลเป็นมูลฐานของศีลที่เป็นกุศล จิตที่เป็นอกุศลเป็นมูลฐานของศีลที่เป็นอกุศล

ทำไมชอบทำเรื่องง่ายๆให้เป็นเรื่องยากครับ อย่าพยายามทำเรื่องให้มันนอกประเด็นเพื่อ
ให้ลืมเรื่องที่เรากำลังคุญกันซิครับ ไม่อยากตอบก็ข้ามไป แต่ถ้าจะตอบก็กรุณาตอบ
ให้มันตรงประเด็นที่ถาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
วิจิกิจฉา
แปลว่าความลังเลสงสัย
โฮฮับ เขียน:
ห็นผิดในสิ่งใดครับ
เห็นว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นว่าเที่ยง

เฮ้อ! เห็นท่านถกเถียงกับท่านmes ในความเป็นโสดาบันในตัวท่าน
ผมไม่คิดว่าจะได้คำตอบแบบนี้ จากโสดาบันนะครับ
สรุปในแง่ของปุถุชนอย่างผมให้ฟังครับ
สังโยชน์สามมันเกิดจาก ความเห็นผิดทั้งสามนั้นแหล่ะครับ
สักกายทิฐิ มันก็เป็นความเห็นผิดว่าเราเป็นตัวเป็นตน
วิจิกิจฉา มันเห็นผิดในธรรม เลยทำให้เกิดความสงสัยในข้อธรรม
ศีลพตปรามาส มันก็เห็นผิดว่า ศีลหรือกฎเกณท์จะช่วยให้หลุดพ้น

ที่นี้มาเข้าประเด็นที่เราคุยกัน เรื่องศีลพตปรามาส ท่านบอกว่า
พระอริยสงฆ์ มาขอให้พระพุทธเจ้าแก้ไข พระวินัย
ประเด็นมันอย่ตรงนี้ครับว่า โสดาบันละสังโยชน์ศีลพตปรามาสแล้ว
เหตุใดยังมีปัญหากับพระวินัยอีกครับ
คำอ้างอิงในวรรคนี้ ที่ว่าพระมาขอให้พระพุทธเจ้าแก้พระวินัย
ไม่รู้ท่านลบไปหรือเปล่าผมหาไม่เจอครับ
Supareak Mulpong เขียน:
อริยสาวก โสดาบันบุคคล หรือ ผู้มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงมาขอบวช กลายเป็นพระอริยสงฆ์ เป็นพระโสดาบัน ก่อนบวชยังไม่ได้เป็นพระ ... ในพระวินัย สิกขาบทจะถูกบัญญัติขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีภิกษุทำผิด ทำให้เกิดความเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้นน พระวินัยแต่ละข้อ จึงมีที่มาจากการทำผิดของพระเสขะ หรือ พระอริยสงฆ์ที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ผล

อันนี้เป็นความเข้าใจคนละด้านครับ ที่ผมกล่าวตอนแรก ผมมองไปที่จิตพระโสดาบัน
แต่สิ่งที่ท่านกล่าว มันเป็นการมองของบุคคลภายนอก มองแบบปุถุชนที่มองว่าพระต้องอยู่ใน
ศีลในพระวินัยยิ่งมากยิ่งเคร่งยิ่งดี ซึ่งมันเป็นการเข้าใจผิด มองผิดครับ เป็นศีลพตปรามาส

จะบอกให้ครับ ถ้าชุมชนนั้นเป็นชุมชนของโสดาบันขึ้นไป
ศีลพระวินัย หรือกฎเกณท์ต่างๆมันไม่มีความจำเป็นแล้วครับ

Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
คำพูดของผมพูดไปตามเหตุตามผล เราก็รู้ๆอยู่ว่า การไปเห็นเองกับการบอกเล่าอันไหนเป็นไหนเป็นความจริงสำหรับเรา และอันไหนเป็นคำบอกเล่าหรือฟังเขามา
เหตุผลของปุถุชนมาจากความเห็นเท่านั้นแหละครับ ถ้าไม่มีความเห็นประกอบ หรือมีแต่ความจริง มาจากคำของสัตตบุรุษ ปุถุชนเองก็ไม่มีปัญญาที่จะตัดสินเพราะยังไม่มีเฉลยในมือ ... เพราะฉะนั้น ผู้ใดไม่ได้พบสัตตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ประกอบในธรรมของสัตตบุรุษ ไม่มีทางมีดวงตาเห็นธรรม .. และในฐานะที่ตัวท่าน หรือผู้ที่เข้ามาอ่าน ไม่มีเฉลยในมือ ย่อมไม่รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก การกล่าวคำว่า ผิด หรือ ถูก จึงเป็นเสมือนคำต้องห้ามสำหรับการแสดงความจริง นอกจากผู้ฟังจะมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ... เพราะมันจะเป็นเหตุของการเกิดวิวาทะเท่านั้น

ผมว่าท่านเริ่มงอแงแล้วนะครับ สิ่งที่ผมกล่าวมันตามเหตุตามผลครับ
ผมกล่าวผิดตรงไหนครับ อย่างเช่น ท่านบอกว่าปัญญาท่านมาจากการสดับรับฟังมา
ผมก็บอกว่า ทำไมผมก็สดับรับฟังมาทำไมปัญญายังไม่เกิด ผมต้องไปลงมือปฏิบัติ
ปัญญามันถึงเกิดตามมา

ท่านลองพิจารณาดูให้ดีครับว่า คำพูดของท่านมันเป็นการยกตนข่มท่านหรือเปล่า
กับอีกคนที่รู้และพิสูจน์มาเหมือนกัน แต่มันติดตรงที่เขาไม่อวดอ้างว่าได้โน้นมาได้นี่มา
เพียงแค่แสดงความเห็นไปตามสิ่งที่ได้มา ทุกอย่างนี้ก็เพื่อให้ผู้อื่นพิจารณาเอาเอง
ว่ามันใช่ไม่ใช่ สมควรเชื่อหรือเปล่า

เอาเป็นว่าประโยคนี้ของท่านผมไม่ถือสา แต่อยากให้ท่านใช้เหตุผลในการสนทนา
ลดการอ้างสรรพคุณของตัวเองลงซักนิด เอาสิ่งที่ท่านไปได้มาเอามาสนทนามัน
จะเป็นสาระมากกว่านี้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อีกอย่างครับ ท่านช่วยอธิบาย คำว่าวิปัสสนาในส่วนของท่านให้ฟังหน่อย
วิปัสสนาของเรามันอาจเป็นที่ฟ้ากับเหวก็ได้
เห็นจริงตามจริงเท่าทันปัจจุบันอารมณ์

แล้วการที่ท่าน เกิดผัสสะขึ้น ท่านกลับไปย้อนเนื้อหาในสิ่งที่ได้อ่านมา
มันเห็นจริงตามจริงหรือครับ ท่านอยู่กับปัจจุบันหรืออดีตครับ
ท่านอยู่กับอารมณ์ของผัสสะตัวที่กำลังวิปัสสนาหรือเปล่า

ผัสสะมันเปลี่ยนไปแล้วท่านยังไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างให้ดูครับ
สมมุติมีคนมาด่าท่าน ผัสสะที่ได้คือ โสตวิญญาณ
แต่พอท่านได้เกิดโสตวิญญาณ แทนที่จะวิปัสนาไปเลย
กลับย้อนไปใช้อายตนะตัวอื่น ทำให้ผัสสะเปลี่ยนเป็นมโนวิญญาณ
พอได้ดังนี้ท่านบอกว่า ท่านวิปัสนาแล้วอยู่กับปัจจุบันแล้ว
มันใช่เสียที่ไหนครับ ได้ยินเสียงด่าจิตก็ต้องอยู่กับเสียงด่า
ไม่ใช่ได้ยินเสียงด่า แต่จิตไปอยู่กับความคิด แล้วบอกว่าอยู่กับปัจจุบัน
แบบนี้เขาเรียกว่าหลงครับ
Supareak Mulpong เขียน:
นามธรรมแสดงออกมาไม่ได้ แต่มีคำอธิบาย ถ้าอธิบายไม่ได้ ก็ใช้อุปมาเอา

แล้วถ้าท่านไม่ไปเห็นเองรู้เอง ท่านจะเอาอะไรมาอุปมา
แล้วถามหน่อย สิ่งที่มันเป็นนามไม่รูปร่าง ท่านจะไปเปรียบกับอะไร
มันไม่มีรูปจะเปรียบมันก็ต้องเปรียบกับสิ่งไม่มีรูป แล้วคนฟังจะเข้าใจหรือเปล่า
จะเห็นจริงยอมรับหรือเปล่า
Supareak Mulpong เขียน:
จิต เป็นธรรมชาติที่รู้และจำ เจตสิกเป็นธรรมที่ปรุงแต่งจิต เกิดดับพร้อมกับจิต

อันนี้ท่านไปรู้มาจริงหรือไปฟังใครเขาอุปมาครับ
ท่านจะพูดอย่างไร คนที่ไม่เคยเห็นก็จะไม่เข้าใจ ท่านบอกจิตเป็นธรรมชาติรู้และจำ
ถ้าคนฟังเขาแย้งล่ะครับว่า รู้และจำเกิดจากสมองและประสาทสัมผัส

อีกครับท่านบอกว่าจิตกับเจตสิกเกิดพร้อมดับพร้อม
เจตสิกเป็นตัวปรุงแต่งจิต ถ้าเขาถามเวลาปรุงแต่ง จิตไปอยู่ตรงไหน
เวลาเรารู้ เจตสิกไปอยู่ตรงไหน

ที่พูดมาไม่ใช่จะยอกย้อนอะไรครับเพียงอยากจะชี้ว่า
อะไรที่เป็นจริงเราต้องไปรู้ไปเห็นเองไม่ใช่คนมาบอกเล่า
ถ้าใครไปหลงเชื่อคำพูดคนอื่นโดยไม่พิสูจน์
มันก็ไม่พ้นพวกหลงงมงาย เฉกเช่น
พวกทรงเจ้าเข้าผีหรือพวกสแกนกรรมนั้นแหล่ะครับ

Supareak Mulpong เขียน:
[ปรมัตธรรม มี ๔ ประการ ถ้าไตรลักษณ์เป็นสภาวะ ถ้ามันไม่เป็นรูป ไม่เป็นจิต ไม่เป็นเจตสิก ไม่เป็นนิพพาน มันเป็นอะไรได้ละครับ?

วรรคนี้ท่านพูดกับผมหรือครับ เอ๋ผมไปพูดกับท่านเมื่อไรน้า
แต่ไม่เป็นไรครับ เอาสั้นๆครับ ท่านเข้าใจเรื่อง
ธรรมทุกอย่างล้วนจบลงที่ไตรลักษณ์มั้ยครับ

วรรคนี้เอาแค่ตรงนี้นะครับไม่ต้องถามกลับมา
มันมีเรื่องนิพพานด้วย ผมไม่อยากคุยเรื่องนิพพานครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน:
ท่านต้องลงมือปฏิบัติครับ มันถึงจะเห็นผล

supเขียน
ทำแล้ว เห็นผลแล้ว ถึงเอามาบอก


เห็นอะไร

ที่เขียนมาทั้งหมดเพ้อเจ้อทั้งนั้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 17:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ยุคนัทธวรรค สัจจกถา
นิทานในกถาบริบูรณ์
[๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้
ตรัสรู้ ได้มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นอุบายเครื่อง
สลัดออก แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


พระสูตรบทนี้ ท่านก็คงได้อ่านผ่านตามาแล้ว

[๕๕๔] ....
การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส
อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ

การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นทุกขสัจ

การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละ
ฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ

การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ
สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ ฯ


การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้
กะ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะ ... เป็นอุบายเครื่องสลัดออก
กะ การแทงตลอดด้วยภาวนา
เมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางที่ท่านหยิบขึ้นมานำเสนอนั้น สอดคล้องกันในแง่ไหนบ้าง
และในแง่ใดบ้างที่ไม่สอดคล้อง

:b1:

พยายามอย่าละทิ้งการสนทนา
เพราะท่านจะได้เห็นเหตุที่ทำไมคนส่วนหนึ่งจึงไม่ได้ปักใจเชื่อในแนวทางของท่าน

เพราะ ถ้าพิจารณาตามพระสูตรนี้
แนวทางของท่านมีแนวโนม้ที่เป็นการไหลไปในสมุทัย - ทุกข์ อยู่มาก

ให้เพื่อน ๆ เข้ามาช่วยกันกลั่นกรองครับ

อิอิ โทษฐานที่ใจสั่งม๊าาาาา :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 24 พ.ค. 2011, 18:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 17:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

[๕๕๔] ....
การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส
อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ



ท่านเห็นอะไรบ้างในพระสูตรนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาบันอารัย

ตอบอะไรที่ถามไม่ได้เลย

เอาแต่พร่ำเพ้อเจ้อ


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร