วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 37  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 16:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กาลามสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ฯลฯ ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ฯลฯ

ได้ความจริงไม่ครบ ได้ความเท็จ ได้ความจริงปนความเท็จ ท่านว่าอะไรเลวร้ายกว่ากัน?

นิมิต เป็นภาพเนรมิต เราก็เป็นแค่ฉากรับ ... มันก็มีเท่านั้น มีมึนๆ งงๆ ก่อนเกิดนิมิตเหรือเปล่าละ่?

อ้างคำพูด:
ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก

ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาเลย

บรรลุอรหันต์ได้หรือไม่
ได้ ถ้าได้ยินได้ฟังคำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนเกิดปัญญาจากการฟังและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียร

อ้างคำพูด:
ความคิดที่เป็นวิชชายึดถือได้
วิชชาของคุณคืออะไรละ? มันเที่ยงมั้ย?

อ้างคำพูด:
มรรคในส่วนของปัญญาเป็นผลมาจาก การปฏิบัติเรื่องศีลและสมาธิ ซึ่งในเรื่องศีลและสมาธิ
มันเกิดได้ในความคิดเท่านั้นแหละ พระพุทธเจ้าบอกว่า ไม่มีปัญญาอะไรในสมาธิที่จะอามาดับทุกข์ได้ พุทธประวัติหน้าแรกก็เขียนไว้อย่างนี้ ... มันไม่มีเหตุปัจจัยรองรับ

อ้างคำพูด:
ในส่วนของเห็นชอบ ดำริชอบเราไม่สามารถรู้ได้ด้วยการอ่านหรือฟัง


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
วิปัลลาสสูตร

[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ๑ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ๑ สัญญาไม่วิปลาสจิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ

เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด
มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์
ว่าเป็นสุข สำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน และสำคัญในสิ่งที่
ไม่งามว่างาม สัตว์คือชนเหล่านั้น ชื่อว่าประกอบแล้วในเครื่อง
ประกอบของมาร ไม่เป็นผู้เกษมจากโยคะ มีปรกติไปสู่ชาติ
และมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร ก็ในกาลใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ผู้กระทำแสงสว่าง บังเกิดขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าเหล่านั้น
ย่อมประกาศธรรมนี้เป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบทุกข์ ชน
เหล่านั้น ผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
แล้ว ได้จิตของตน ได้เห็นสิ่งไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่
เที่ยง ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ได้เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ตน
ว่าไม่ใช่ตน ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความเป็นของไม่งาม
สมาทานสัมมาทิฐิ จึงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ
สัมมาทิฐิ คือ รู้ว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยงฯ

Quote Tipitaka:
อาทิตตปริยายสูตร

ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นดังนี้แล


อ้างคำพูด:
ถามหน่อยครับสติกับสมาธิจะเกิดต้องอาศัยเหตุปัจจัยตัวไหนครับ ระหว่างการกระทำที่ผิดศีลกับการกระทำที่อยู่ในศีลธรรม
อวิชชา หรือ โลภะ โทสะ โมหะ
อวิชชาวรรคที่ ๑ อวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 9&A=0&Z=25

อ้างคำพูด:
ในความเห็นผม อธิศีลคือขั้นตอนในการปฏิบัติครับ มันตรงข้ากับศีลห้าที่ห้ามทครับ

อธิศีล เป็นศีลของพระอริยะ หรือปราชิกศีล ไม่เกี่ยวกับอุบาสกอุบาสิกา

อ้างคำพูด:
ศีลพตปรามาส
การใช้ชีวิตที่มาจากความเห็นผิด

อ้างคำพูด:
การเชื่อคำบอกเล่าของคนอื่นเป็นความจริงหรือครับ
แล้วเรื่องที่ได้สดับรับฟังเป็นความจริงหรือเปล่าล่ะ?

อ้างคำพูด:
มันต้องไปรู้ไปเห็นเองครับ ถึงจะเรียกว่าความจริง
ลองวิปัสสนาดูแล้วหรือยัง?

อ้างคำพูด:
ยิ่งเรื่องไตรลักษณ์มันเป็นสภาวะ มันอธิบายเป็นสมมุติบัญญัติไม่ได้
เป็นจิต หรือ เจตสิกละครับ? สามัญลักษณะ ๓ ประการของธรรมชาติ หรือ ลักษณะร่วมของธรรมชาติ หรือ ไตรลักษณ์ เป็นจิต หรือ เจตสิกละครับ?

อ้างคำพูด:
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ปัญญาจะเกิด

ต้องอาศัยสมาธิเป็นกำลังหลักผสานกันวิปัสสนาเป็นผู้ประหารอวิชชา
ก็เดินไปางนั้นมันจะเจอปัญญาได้อย่างไรละครับ?


โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นปรมัตธรรม เป็นเจตสิก

ห้องปิดไฟ เรียกว่า ห้องมืด เปิดไฟ เรียกว่า ห้องสว่าง ห้องสว่างกับมืดเกิดพร้อมกันไม่ได้ เรียกว่า ลักษณะตรงข้ามกัน

เมื่อความพอใจดับไป ความไม่พอใจดับไป เพราะไม่หลง สภาวะ อโลภะ อโทสะ จึงเกิดขึ้น เกิดเป็นอุเบกขา มีความสงบสุข หรือ มีสมาธิเป็นผล

โลภะ โทสะ โมหะ ดับไป เพราะปัญญาที่รู้เท่าทัน มรรค หรือทางปฏิบัติ จึงเรียงเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ ตามเหตุปัจจัย


...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ supareak เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นครับ เป็นเรื่องที่น่ายินดี

ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้
:b41: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Quote Tipitaka:
กาลามสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ฯลฯ ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ เพราะอาศัยคำที่เราได้กล่าวไว้แล้วนั้น เราจึงได้กล่าวไว้ดังนี้ ฯลฯ

ได้ความจริงไม่ครบ ได้ความเท็จ ได้ความจริงปนความเท็จ ท่านว่าอะไรเลวร้ายกว่ากัน?

นิมิต เป็นภาพเนรมิต เราก็เป็นแค่ฉากรับ ... มันก็มีเท่านั้น มีมึนๆ งงๆ ก่อนเกิดนิมิตเหรือเปล่าละ่?



อันนี้ท่่านโสดาเริ่มมั่วนิ่มแระ

แตกประเด็นเห็นๆ

แลัวก็ฟันธงว่าไม่รู้เรื่องสมาธิ

จึงไม่มีวันบรรลุโสดาบัน

ตามอริยะมรรคที่มีองค์แปด

มั่วมาก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก

ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกมาเลย

บรรลุอรหันต์ได้หรือไม่
ได้ ถ้าได้ยินได้ฟังคำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนเกิดปัญญาจากการฟังและนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียร


ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ฟังธรรมมาจากใคร

แล้วปัจเจกพุทธจะอธิบายว่าอย่างไร

เจ้าโซดา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ความคิดที่เป็นวิชชายึดถือได้
วิชชาของคุณคืออะไรละ? มันเที่ยงมั้ย?

ถ้าวิชชาไม่เที่ยง นิพพานก็ไม่เที่ยง

ถ้าพุทธศาสนามีโสดาบันปัญญาอ่อนอย่างท่านซุปก็เป็นวิบากกรรม

คำว่าไม่เที่บงเขาเอาไว้อธิบายสังขารในไตรลักษณ์เป็นหลัก

ไม่ใช่ทุกอย่างยึดไม่ได้

อสังขาร นิพพาน อสังขตธรรม ธรรมฐิติ ธรรมชาติ มันจะตั้งของมันอยู่อย่างนั้น

เสียที่ตั้งตนเป็นโสดาบันจริงๆ

ถ้าลองว่าวิชชายึดไม่ได้

สมาธิเป็นที่สถิตของเปรต

ศาสนาพุทธก็พัง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
มรรคในส่วนของปัญญาเป็นผลมาจาก การปฏิบัติเรื่องศีลและสมาธิ ซึ่งในเรื่องศีลและสมาธิ
มันเกิดได้ในความคิดเท่านั้นแหละ พระพุทธเจ้าบอกว่า ไม่มีปัญญาอะไรในสมาธิที่จะอามาดับทุกข์ได้ พุทธประวัติหน้าแรกก็เขียนไว้อย่างนี้ ... มันไม่มีเหตุปัจจัยรองรับ

พระพุทธเจ้าบอกกับใครที่ไหน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
คุณ supareak เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นครับ เป็นเรื่องที่น่ายินดี

ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้
:b41: :b47:

:b3: :b3: :b3:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 23:02
โพสต์: 93

ชื่อเล่น: tongka
อายุ: 36
ที่อยู่: tongka34@gmail,com

 ข้อมูลส่วนตัว


การสนทนาธรรมนะ อย่าให้เกิดอธรรมขึ้นมาในใจ
อันตรายของผู้รู้ทั้งหลายคือใช้ความรู้ทิ่มแทงใจผู้อื่น
การเพ่งไปที่จับผิดกับจับถูกจนเกินเลยสาระที่ควรจะถือเอานั้นถือว่าปมด้อยได้เกิดขึ้นแก่ผู้รู้
จิตที่เพ่งเล็งผู้อื่นจนเกินไปเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจที่สุดในสายตาของเรา

เมฆบังจันทร์
หมอกควันบังตา
ศาสนาบังจิต
ถูกผิดบังธรรม

ฝากคำเหล่านี้ให้พินิจ

ศาสนาบังจิต เพราะคนยึดถือศาสนาจนจิตวิปริตไปก่อความเดือดร้อนตน ผู้อื่น
ถูกผิดบังธรรม เพราะสร้างอธรรมขึ้นมา คือการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นมาเพราะยึดถือถูกกับผิด

ที่เหลือคิดต่อเอาเอง

หลายวันหลายเดือนหลายปีมาแล้วที่วิปัสสนาได้โดดเด่นขึ้นมาในสายมาของมหาชน จนมีสำนักวิปัสสนาเกิดขึ้นมากมายในเมืองไทยแต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับสร้างความสันติให้กับโลกใบนี้
แต่ปัญหามันเกิดขึ้นมาตรงที่ว่า
หนึ่ง เขาพูดกันแต่วิปัสสนา จนลืมสมถะ
สอง บางแห่งปฏิเสธสมถะยกย่องแต่วิปัสสนาชนิดหัวชนฝา
สาม ชะตากรรมของผู้ปฏิบัติจะเป็นเช่นไรเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง

จึงตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อแชร์ความรู้ ความคิด ความเห็นกับเพื่อนๆ ผู้ปฏิบัติด้วยกันเพื่อจะได้ดึงกลับไปสู่ต้นตอของคำสอนที่ถูกต้องต่อไป อย่างน้อยๆ ผู้ที่เข้ามาสนทนาด้วยกันนี้แหละได้มีความคิดเห็นทัศนะที่เป็นอันเดียวกันและพอจะบอกกล่าวชี้นำผู้อื่นได้ต่อไป


แก้ไขล่าสุดโดย tongka เมื่อ 22 พ.ค. 2011, 19:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


tongka เขียน:
การสนทนาธรรมนะ อย่าให้เกิดอธรรมขึ้นมาในใจ
อันตรายของผู้รู้ทั้งหลายคือใช้ความรู้ทิ่มแทงใจผู้อื่น
การเพ่งไปที่จับผิดกับจับถูกจนเกินเลยสาระที่ควรจะถือเอานั้นถือว่าปมด้วยได้เกิดขึ้นแก่ผู้รู้
จิตที่เพ่งเล็งผู้อื่นจนเกินไปเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจที่สุดในสายตาของเรา

เมฆบังจันทร์
หมอกควันบังตา
ศาสนาบังจิต
ถูกผิดบังธรรม

ฝากคำเหล่านี้ให้พินิจ

ศาสนาบังจิต เพราะคนยึดถือศาสนาจนจิตวิปริตไปก่อความเดือดร้อนตน ผู้อื่น
ถูกผิดบังธรรม เพราะสร้างอธรรมขึ้นมา คือการทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นมาเพราะยึดถือถูกกับผิด

ที่เหลือคิดต่อเอาเอง

หลายวันหลายเดือนหลายปีมาแล้วที่วิปัสสนาได้โดดเด่นขึ้นมาในสายมาของมหาชน จนมีสำนักวิปัสสนาเกิดขึ้นมากมายในเมืองไทยแต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับสร้างความสันติให้กับโลกใบนี้
แต่ปัญหามันเกิดขึ้นมาตรงที่ว่า
หนึ่ง เขาพูดกันแต่วิปัสสนา จนลืมสมถะ
สอง บางแห่งปฏิเสธสมถะยกย่องแต่วิปัสสนาชนิดหัวชนฝา
สาม ชะตากรรมของผู้ปฏิบัติจะเป็นเช่นไรเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง

จึงตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อแชร์ความรู้ ความคิด ความเห็นกับเพื่อนๆ ผู้ปฏิบัติด้วยกันเพื่อจะได้ดึงกลับไปสู่ต้นตอของคำสอนที่ถูกต้องต่อไป อย่างน้อยๆ ผู้ที่เข้ามาสนทนาด้วยกันนี้แหละได้มีความคิดเห็นทัศนะที่เป็นอันเดียวกันและพอจะบอกกล่าวชี้นำผู้อื่นได้ต่อไป

:b8: :b8: :b8:

ขอประทานโทษด้วยจริงใจ

สัจจธรรมคือสัจจธรรม

หนัาที่เราคือยึดหลักที่ถูกต้องเพือพ้นทุกข

ไม่ใช่ปรองดองเพื่อใคร

พระพุทธธรรมถูกคือถูก

ผืดคือผิด

เราไม่มีสิทธิ์ไปลอมชอมกับใครครับ

หากปรองดองแล้วปฏิบัติแล้วเป็นอวิชชา

จะมีประโยชน์อะไร


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เราก็ไม่ชอบเพ่งโทษ
แต่เราชี้โทษได้นี่ครับ

ความเพ่งโทษคือความประมาท มีจิตอันเป็นอกุศล เป็นความมืดบอดและมัวหมองแห่งจิตใจ
ส่วนการชี้โทษ เกิดจากความมีใจยุติธรรม มีใจซื่อตรง ประกอบด้วยความเมตตากรุณา และอุเบกขา

และการทำความเห็นให้ตรง การให้ธรรมะเป็นทาน การแสดงธรรม รวมถึงการฟังธรรม
ก็เป็นเป็นบุญกิริยาอันนำมาซึ่งความสุขสงบ ทำให้ปัญญางอกงาม

ส่วนการเพ่งประโยชน์ เพ่งดี เพ่งคุณของผู้อื่นก็เป็นสิ่งที่งดงาม นำมาซึ่งปิติสุขแห่งใจเช่นกัน พลอยให้เราเกิดมุทิตาจิตยินดีกับสิ่งดีเหล่านั้น

:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
เราก็ไม่ชอบเพ่งโทษ
แต่เราชี้โทษได้นี่ครับ

ความเพ่งโทษคือความประมาท มีจิตอันเป็นอกุศล เป็นความมืดบอดและมัวหมองแห่งจิตใจ
ส่วนการชี้โทษ เกิดจากความมีใจยุติธรรม มีใจซื่อตรง ประกอบด้วยความเมตตากรุณา และอุเบกขา

และการทำความเห็นให้ตรง การให้ธรรมะเป็นทาน การแสดงธรรม รวมถึงการฟังธรรม
ก็เป็นเป็นบุญกิริยาอันนำมาซึ่งความสุขสงบ ทำให้ปัญญางอกงาม

ส่วนการเพ่งประโยชน์ เพ่งดี เพ่งคุณของผู้อื่นก็เป็นสิ่งที่งดงาม นำมาซึ่งปิติสุขแห่งใจเช่นกัน พลอยให้เราเกิดมุทิตาจิตยินดีกับสิ่งดีเหล่านั้น

:b41:

:b10: :b10: :b10:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หนึ่ง เขาพูดกันแต่วิปัสสนา จนลืมสมถะ
สอง บางแห่งปฏิเสธสมถะยกย่องแต่วิปัสสนาชนิดหัวชนฝา
สาม ชะตากรรมของผู้ปฏิบัติจะเป็นเช่นไรเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง

สมถะ วิปัสสนา เกิดขึ้นในจิตพร้อมๆ กัน แยกกันไม่ได้ สมถะ หรือ เอกคัตตาเจตสิก วิปัสสนา หรือ ปัญญาเจตสิก ต่างหน้าที่กัน ไม่ได้ก้าวล่วงกัน

ประเด็นที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะไม่รู้จักว่า อะไรที่จะต้องทำบ้าง เพื่อดับทุกข์ อะไรที่จะต้องเรียนรู้บ้าง ก่อนปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ หรือ มรรค หนทางในการดับทุกข์ได้หายไปจากสังคมไประยะหนึ่ง

เพราะผู้ปฏิบัติธรรม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ศึกษาโดยไม่ได้ปฏิบัติ กลุ่มที่ ๒ ปฏิบัติเลยโดยไม่ได้ศึกษา มันก็เลยเกิดความแตกแยก วุ่นวายอย่างที่เห็น ... ทั้ง ๒ กลุ่ม ต่างก็หลงไปในทางของมาร

พวกที่อ่าน ก็อ่านอย่างเดียว เอาไปทำหนังสือ ทำผลงานทางโลก ... พวกที่ปฏิบัติ พุทธประวัติหน้าแรก ก็ยังไม่อ่าน ไม่รู้เอาอะไรที่ใหนไปปฏิบัติ

ลำดับของปัญญา รู้จด รู้จำ จึงจะเกิดรู้จริง รู้แจ้ง ธรรมชาติ คือ ความจริงที่เราได้แต่เรียนรู้เท่านั้น ที่ผ่านๆ มา หลายๆ ท่านเอาตรรกปรัชญาไปศึกษาธรรมชาติ บ้างก็หาเองในสมาธิ ซึ่งเป็นวิธีของพราหมณ์ทั้งคู่ เลยไม่รู้ตัวเลยว่า ตัวเองกลายเป็นพราหมณ์

การรู้เองเห็นเอง เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สาวกนั้นอาศัยการรู้ตาม หลายๆ ท่านก็ยังพยายามหาทางรู้เองเห็นเองให้ได้ หรือ พยายามฝึกตนเองให้เป็นพระพุทธเจ้า ... ก็เอวังสำหรับคนพวกนี้

เพราะไม่รู้จักมรรคตามความเป็นจริง ไม่รู้จักปัญญาตามความเป็นจริง ไม่รู้แม้นความจริงที่ว่า ทั้งมรรคและปัญญา ไม่มีใครสามารถรู้เองเห็นเองได้ นอกจากจะสะสมบุญมาพอที่จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อมันหายไป ก็หากันใหญ่ หาอย่างไร ก็ไม่เจอ และไม่มีทางเจอ ... ปฏิบัติกันไปแล้วหวังว่าจะไปหาปัญญาเจอเอาข้างหน้า ... จึงมีการวาดมโนภาพของมรรค มโนภาพของปัญญา เป็นของสูง ของหายาก ของที่ไม่มีแม้กระทั่งคำอธิบาย

เมื่อปฏิบัติไป หาไป กลับมาทบทวนธรรมวินัย ก็ปรากฏว่า ไม่ตรง ขัดกันหลายอย่าง แทนที่จะคิดว่า ฉันน่าจะทำผิดนะ กลับคิดว่า พระไตรปิฏกมีปัญหาแน่ๆ ... ไม่เชื่อพระไตรปิฏก กลับไปเชื่อนิมิตที่เทวปุตมารเอามาแสดงให้ดู ... แล้วก็เริ่มปฏบัติออกนอกธรรมวินัย ต่างคนต่างวิธีการ ต่างความคิด กลายเป็นสำนักมากมาย ไม่รู้ตัวเลยว่า กลายเป็นพราหมณ์สมบูรณ์แบบไปแล้ว ตั้งสำนักแข่งกันเอง ตั้งสำนักแข่งกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ต่างอะไรกับลัทธิอาจารย์ทั้ง ๖ ในสมัยพุทธกาลเลย ... ที่น่าสงสารที่สุด พวกเขาก็เข้าใจจริงๆ ว่าเขาเป็นพุทธ เป็นผู้รู้ มรรค และ ปัญญา

เมื่อไม่มีทั้ง มรรค และ ปัญญา ที่ปฏิบัติกันมา จึงเป็นเพียง มิจฉามรรค ไม่มีวิปัสสนาเลย อ้างว่าเป็นวิปัสสนาเท่านั้น สูงสุดก็คือได้ฌานอภิญญา ไปเกิดเป็นพพรหม ต่ำสุดคือลงมหานรกอเวจีเท่านั้น


... แล้วใครจะเชื่อว่า แค่ความเห็นที่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด ไม่เที่ยงฯ คือ มรรค คือ ปัญญา คือ ความจริงของโลกและชีวิต ที่หากันไม่เจอมา ๑๔๐๐ ปี ทั้งๆ ที่ในพระไตรปิฏกก้ยังมีบันทึกไว้ครบ ... ถ้าไม่ได้ทดลองทำด้วยตนเอง ไม่เห็นผลด้วยตนเอง ก็ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง ... เรื่องมันก็เลย ... ยิ่งกว่าหน้าเป็นห่วงอีก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


"... แล้วใครจะเชื่อว่า แค่ความเห็นที่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด ไม่เที่ยงฯ คือ มรรค คือ ปัญญา คือ ความจริงของโลกและชีวิต "

ผมเชื่อ



"ที่หากันไม่เจอมา ๑๔๐๐ ปี ทั้งๆ ที่ในพระไตรปิฏกก้ยังมีบันทึกไว้ครบ ... ถ้าไม่ได้ทดลองทำด้วยตนเอง ไม่เห็นผลด้วยตนเอง ก็ไม่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง ... เรื่องมันก็เลย ... ยิ่งกว่าหน้าเป็นห่วงอีก"

อันนี้ไม่กล้ารับรอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2011, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อันนี้ไม่กล้ารับรอง
ไม่รู้ไม่เห็นก็ยกไว้ ถูกต้องที่สุดครับ ที่เหลือ ก็แค่ชิมรสเค็มของเกลือด้วยตนเองเท่านั้น (ชิมแล้ว ไม่กล้าบอกใคร ก็ไม่เป็นไร :b1: เว้นแต่พร้อมจะโดนรุม :b12:) แล้วเอาปัญญาไปไว้รักษาตน :b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านซุปครับเวลาอ้างอิงความเห็นผม กรุณาอย่าลบชื่อผมออกได้มั้ยครับ
ไม่มีชื่อเจ้าของความเห็น คนอื่นเขามาอ่านมันสับสนจับประเด็นไม่ถูก
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
มรรคในส่วนของปัญญาเป็นผลมาจาก การปฏิบัติเรื่องศีลและสมาธิ ซึ่งในเรื่องศีลและสมาธิ
มันเกิดได้ในความคิดเท่านั้นแหละ พระพุทธเจ้าบอกว่า ไม่มีปัญญาอะไรในสมาธิที่จะอามาดับทุกข์ได้ พุทธประวัติหน้าแรกก็เขียนไว้อย่างนี้ ... มันไม่มีเหตุปัจจัยรองรับ[

ผมเห็นท่านชอบบอกให้คนอื่นไปลองทำดู ขอย้อนหน่อยครับ
ท่านล่ะครับ เคยลองทำดูหรือยัง

ท่านจะให้มันมีเหตุปัจจัยได้อย่างไร ในเมื่อท่านไม่สร้างเหตุ
ท่านต้องลงมือปฏิบัติครับ มันถึงจะเห็นผล

ท่านซุปครับ ท่านเข้าใจเรื่องของสมาธิที่ตั้งมั่นกับสมาธิที่จมแช่หรือเปล่าครับ?
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ในส่วนของเห็นชอบ ดำริชอบเราไม่สามารถรู้ได้ด้วยการอ่านหรือฟัง

สัมมาทิฐิ คือ รู้ว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยงฯ

ส่วนใหญ่ที่เกิดการถกเถียงกันในเรื่องของธรรม ก็เป็นเพราะการนำเอาสมมุติบัญญัติมาใช้
แล้วต่างก็เข้าใจไปคนละทางสองทาง
เช่นเดียวกันครับ คำว่ารู้ ของท่านมันเป็นอย่างไรครับ
ท่านฟังมาหรือเห็นจากของจริง
Supareak Mulpong เขียน:
อ้างคำพูด:
ถามหน่อยครับสติกับสมาธิจะเกิดต้องอาศัยเหตุปัจจัยตัวไหนครับ ระหว่างการกระทำที่ผิดศีลกับการกระทำที่อยู่ในศีลธรรม
อวิชชา หรือ โลภะ โทสะ โมหะ
อวิชชาวรรคที่ ๑ อวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 9&A=0&Z=25

ตอบไม่ตรงประเด็น ท่านเล่นเอาคำตอบแบบครอบจักวาลแบบนี้ คนอื่นจะรู้มั้ยครับ

สงสัยคงไม่เข้าใจ ท่านครับเรื่องของศีลเป็นเรื่องของการกระทำมันเป็นเรื่องกาย
การกระของกายมันส่งผลต่อจิต พอพูดได้ว่า กายเป็นเหตุปัจจัยต่อจิต

ผมถามท่านว่า การกระทำของกายตัวไหน ที่ส่งผลให้จิตมีสติตั้งมั่น
ท่านดันเอาเรื่องกิเลสมาตอบ กิเลสมันเป็นเรื่องของจิต มันเป็นผล
ผมถามหาเหตุ แต่ท่านเอาส่วนของผลมาตอบ แสดงว่า
ที่คุยๆกันมายังไม่รู้เรื่อง หรือว่าท่านไปจำเนื้อหาในตำรามาผิดบท

Supareak Mulpong เขียน:

อ้างคำพูด:
ในความเห็นผม อธิศีลคือขั้นตอนในการปฏิบัติครับ มันตรงข้ากับศีลห้าที่ห้ามทครับ

อธิศีล เป็นศีลของพระอริยะ หรือปราชิกศีล ไม่เกี่ยวกับอุบาสกอุบาสิกา

ใครบอกท่านล่ะครับ ท่านรู้จัก ไตรสิกขาหรือเปล่าครับ
ไตรสิกขาเป็นเรื่องของการศึกษา อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา
ที่ท่านใส่คำว่าอธิไว้เพื่อที่จะเน้นให้รู้ว่า อธิคือกลุ่มใหญ่ทั้งหมดที่เกี่ยวกับศีล
ไม่ว่าจะเป็นข้อห้ามหรือการปฏิบัติ อีกทั้งยังมีส่วนประกอบอื่นอีกมาก

ส่วนอธิจิตก็เป็นเรื่องของจิตทั้งหมดที่เกี่ยวกับจิต
เรื่องของอธิปัญญาก็เช่นกันครับ แต่มันเป็นส่วนของผลหรือปัญญาที่จะได้ครับ

มันเกี่ยวกับอุบาสกอุบาสิกาด้วยครับ พูดไปแล้วมันก็เป็นเพียงตำราให้ชาวพุทธไว้
ศึกษามันเป็นภาคทฤษฎีครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 542 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 37  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร