วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2011, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กายานุปัสสนา ( เห็นกายในกาย )



" สเจ ปนสฺส เตน เตน มุเขน รูปํ ปริคฺคเหตฺวา อรูปํ ปริคฺคณฺหโต สุขุมตฺตา อรูปํ น อุปฏฐาติ เตน
ธุรนิกฺเขปํ อกตฺวา รูปเมว ปุนปฺปุนํ สมฺมสิตาพฺพํ มนสิกาตพฺพํ ปริคฺคเหตพฺพํ ววฏฐเปตพฺพํ ยถา ยถา
หิสฺสรูปํ สุวิกฺขาลิตํ โหติ นิชฺชฏํ สุปริสุทฺธํ ตถา ตถา ตทารมฺมณา อรูปธมฺมา สยเมว ปากฏา โหติ "



แปลว่า หากโยคี กำหนดรูป โดยมุขนั้นๆแล้ว กำหนดอรูปแต่ยังไม่ปรากฏขึ้นมา เพราะอรูปเป็นของละเอียดอ่อน

โยคีผู้นั้นก็มิควรละเลิกกำหนดเสีย ควรพิจรณาใส่ใจใคร่ครวญ กำหนดรูปนั้นแหละ ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า

เพราะว่ารูปของโยคีที่ชำระล้างดีแล้ว สะสางออกดีแล้ว บิรสุทธิ์ดีแล้วด้วยอาการใดๆ

สิ่งที่เป็นอรูปทั้งหลาย ซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ ก็จะปรากฏขึ้นมาเองโดยแท้ด้วยอาการนั้นๆ






รู้ชัดในความว่าง เห็นกายในกาย เห็นอรูปในรูป



สภาวะของความว่างที่ปรากฏ ว่าง แต่มีความไม่รู้อยู่ ไม่รู้ว่า ว่างแต่ไม่ว่าง


แค่ว่างสงบจากกิเลสชั่วคราว แต่เพราะความไม่รู้ความชัดเจนของสภาวะที่แท้จริง จึงหลงยึดติดในความว่างที่ปรากฏอยู่



สภาวะของความว่างที่ปรากฏ เหตุเกิดจาก จิตเสพสมาธิ แล้วตัวสติ ยังด้อยกว่าสมาธิที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ เมื่อสติยังอ่อนกำลังอยู่ ตัวสัมปชัญญะ ย่อมอ่อนกำลังลงตามกำลังของสติที่เกิดอยู่ขณะนั้น


สภาวะที่เห็นคือ กายไม่ใช่กาย แต่เป็นความว่างของกายที่เรียกว่ากายปรากฏขึ้นมาแทน จะกำหนดรู้อะไรก็ไม่ได้ เพราะมีแต่ความว่างปรากฏอยู่ ต้องอาศัยการทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง คือ เจริญสติ ทำให้ต่อเนื่อง


เมื่อกำลังของสติมีกำลังมากขึ้น สัมปชัญญะ ย่อมมีกำลังมากขึ้นตามสติ

สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ชัดในความว่าง และรู้ในกายที่ไม่ใช่กายไปพร้อมๆกัน




สภาวะรู้ชัดในความว่าง คือ รู้ว่าปราศจากกาย


กายนัันว่าง ไม่มีอะไรที่เรีกว่ากาย แต่จะรู้กายในกาย คือ รู้ที่ลิ้นปี่ รู้แบบละเอียด

ไม่ใช่รู้แบบหยาบๆ ที่ไปเห็นการเคลื่อนไหวตามลมหายใจตรงๆแบบที่ยังมีกายปรากฏอยู่




รู้กายในกายนี้ เป็นการรู้สภาวะกายในกายที่ละเอียดมากขึ้น คือ รู้ในความว่างที่ปรากฏขึ้น ความว่างซ้อนความว่าง รู้ที่ลิ้นปี่ แต่ไม่มีตัวที่เรียกว่าลิ้นปี่ปรากฏ เป็นลิ้นปี่ สักแต่ว่าลิ้นปี่ แล้วรู้ไปตามนั้น



สภาวะนี้ ต้องมีกำลังของสติ สัมปชัญญะมากพอ จึงจะเห็นและรู้ชัดในความว่างนั้นๆได้

ความว่างในสภาวะของกายละเอียด กายที่ไม่ใช่กาย เพราะไม่มีกายหยาบปรากฏให้เห็น





ตทารมฺมณา อรูปฺธมฺมา สยเมว ปากฏา โหตนฺติ


" สิ่งที่เป็นอรูปทั้งหลาย ซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นมาเอง "


เพราะตลอดเวลาปฏิบัติ จะมีสภาวะต่างๆเกิดและปรากฏให้เห็นในมโนทวารอยู่เนืองๆและตลอดไป



วิวิชากาเรน อนิจฺจาทิวาสน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา


ปัญญาใด ย่อมพิจรณานามรูปโดยอาการต่างๆด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ปัญญานั้นชื่อว่า วิปัสสนา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2011, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่ถูกฝึก


จิตที่ถูกฝึกโดยการเจริญสติมาในระดับหนึ่ง ถึงแม้ยังมีการให้ค่า มีการยึดติดเพราะยังมีกิเลสอยู่ แต่จะไม่สุดโต่งเหมือนตอนที่ยังไม่ได้ฝึก

ยิ่งฝึกมากเท่าไหร่ ฝึกให้ชำนาญทุกๆสภาวะ ทุกๆอิริยาบท จะถูกให้เรียนรู้เดิมๆซ้ำๆทุกๆสภาวะ


ไม่ว่าจะเป็นสภาวะกิเลสตัวใดก็ตาม สภาวะที่เกิดขึ้นจะเดิมๆซ้ำๆ ตั้งแต่หยาบๆที่มองเห็นเป็นรูปธรรมได้ จนกระทั่งละเอียด ที่ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ จะไปรู้ชัดในจิตแทน ( จิตเห็นจิต ที่ละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ )

หากสติ สัมปชัญญะ สมาธิยังไม่มากพอ จะย่ำเดิมๆซ้ำๆอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะรู้ชัดในสภาวะนั้นๆได้ แล้วสภาวะจะเปลี่ยนไปเป็นสภาวะที่ละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะพลาดท่าเสียทีกิเลส แต่นั่นคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้


สติไม่มากพอ สัมปชัญญะเกิดขึ้นไม่ได้


สติ สัมปชัญญะไม่มากพอ สมาธิเกิดได้ ( บางคนเกิดได้ บางคนเกิดไม่ได้ แล้วแต่เหตุที่ทำมา ) แต่ไม่สามารถรู้ชัดในรูป,นามได้ เพราะสมาธิบดบังสภาวะ


มีทั้งสติ และสัมปชัญญะ แต่กำลังสมาธิไม่มากพอ จะรู้อยู่ในรูป,นาม นานๆไม่ได้ รายละเอียดของสภาวะที่เกิดขึ้นยิ่งยากที่จะรู้ชัดได้

ตั้งมั่นแค่สั้นๆ รู้แค่สั้นๆ

ตั้งมั่นได้นานและแนบแน่น เป็นเหตุให้รู้อยู่ในสภาวะนั้นๆได้นานและชัดมากขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2011, 23:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนิพพานกับไตรลักษณ์


เพราะคิดจึงรู้


เป็นบัญญัติ เพราะอาศัยบัญญัติ เมื่อผัสสะเกิด มีการคิดพิจรณาในสิ่งที่เกิดขึ้น เรียกว่า โยนิโสมนสิการ

สภาวะ เห็นไตรลักษณ์ เห็นพระนิพพาน



คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงรู้


เป็นปรมัตถ์ เพราะรู้อยู่กับรูปนาม เมื่อผัสสะเกิด แค่ดู แค่รู้อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต

สภาวะ เห็นไตรลักษณ์ เห็นพระนิพพาน




พระนิพพานกับอริยสัจจ์


เห็นอริยสัจจ์ ตัดภพตัดชาติ

เป็นปรมัตถ์ซ้อนปรมัตถ์


เห็นอริยสัจจ์ เป็นเหตุให้ตัดภพตัดชาติ เพราะจิตมุ่งพระนิพพาน ( ดับ ) อย่างเดียว

เป็นวิปัสสนาญาณ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2011, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานเป็นอนัตตาหรืออัตตา


เป็นเมื่อก่อนล่ะก็ งงเป็นไก่ตาแตก คำครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า นิพพานไม่ได้เป็นทั้งอนัตตาและอัตตา แต่เป็นวิมุติ


เจอคำนี้เอาอีกแล้ว วิมุติคืออะไรล่ะ แปลว่านิพพานงั้นเหรอ


วันนี้กระจ่างแจ้งเลย รู้แจ้งแล้วว่า นิพพานแท้ที่จริงคืออะไร มีสภาวะอย่างไร


นี่เห็นไหม ต้องโง่มาก่อนนะ ไม่ใช่โง่กับใครหรืออะไรเลย โง่กับกิเลสของตัวเรานี่แหละ โง่ให้กับความที่ยังมีตัวเรา,ของเราอยู่ ต้องโง่ก่อนที่จะรู้

โง่อย่างไร ความผิดพลาดไง หลงสร้างเหตุไปด้วยความที่สติยังไม่ทัน รู้แล้วแต่ไม่ทันกิเลส

ความมีอัตตาตัวตน ตัวกู ของกูมันชอบแสดง มันยังยอมไม่ได้เวลาที่สติไม่ทัน แต่ยอมได้หมดจิตหมดใจ ยามสติทัน ต่อให้ต้องตายก็ยอม ไม่คิดต่อกรใดๆกับกิเลสเลย เพราะรู้แล้วว่า มันมีแต่เหตุแล้วก็เหตุ เมื่อยังมีเหตุ ย่อมมีผลอย่างแน่นอน



นิพพาน เป็นทั้งอนัตตาและอัตตา และไม่เป็นทั้งอนัตตาและอัตตา



นิพพานเป็นอนัตตา


ไตรลักษณ์ เป็นตัวให้เห็นนิพพาน เรียกว่า เห็นแค่ชั่วขณะ

นิพพาน คือ ความดับ

ไม่มีเหตุ ไม่มีผล คือ ดับเหตุทั้งปวง

ต้นเหตุของการสร้างเหตุทั้งปวง คือ กิเลส


การกระทำให้ถึงพระนิพพาน คือ ดับกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ซึ่งมีตั้งแต่หยาบๆ จนกระทั่งละเอียด ที่เกิดจากผัสสะจนกระทั่งเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีผัสสะเป็นเหตุปัจจัย

สภาวะของนิพพาน ได้แก่ว่างจากกิเลสทั้งปวง ไม่มีเกิด ไม่มีการกำเริบอีกต่อไป

การเห็นไตรลักษณ์ ในชั่วขณะหนึ่ง ณ เวลานั้น จิตย่อมเกิดการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในผัสสะที่เกิดขึ้น

สภาวะที่เกิดขึ้นขณะนั้นคือ ว่างจากกิเลสทั้งปวงชั่วขณะ


จึงเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า เห็นอนัตตาคือเห็นพระนิพพาน เป็นเพียงอุบายในการสอนเท่านั้นเอง เพื่อให้เข้าใจในนิพพานได้ง่ายมากขึ้น


กล่าวตามสภาวะที่แท้จริง คือ ไตรลักษณ์ คือ ไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ ไม่ใช่พระนิพพาน

เพราะสภาวะของไตรลักษณ์ ประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ส่วนนิพพาน คือความดับฝ่ายเดียว ไม่มีทั้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นองค์ประกอบ เรียกว่า ไม่มีไตรลักษณ์เป็นองค์ประกอบในสภาวะที่แท้จริงของนิพพาน

เพียงแต่การเห็นไตรลักษณ์ เป็นเหตุที่สามารถให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน คือ ความดับไม่มีเหลือ


การเห็นไตรลักษณ์ต้องแยกออกมาอีก


แบบหยาบๆ คือจากการการอ่าน การฟัง ( สุตมยปัญญา ) ยังมีการเกิดของกิเลส เมื่อยังมีกิเลส ย่อมมีการสร้างเหตุ ด้วยความไม่รู้


แบบกลาง จากการ น้อมเอาคิดเอา ( จินตมยปัญญา ) ยังมีการเกิดของกิเลส เป็นการถ่ายถอนอุปทานที่มีอยู่ให้ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ยังสร้างเหตุที่มีให้ค่าว่าถูก,ผิด ตามความคิดของตัวเอง ยังไม่ใช่จากการเห็นตามความเป็นจริง

แบบละเอียด จากการภาวนา จนเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นในจิต เกิดสภาวะสุมจเฉทประหาน จึงดับกิเลสสิ้นไม่มีเหลือ เรียกว่า นี่คือ นิพพานที่แท้จริง ที่ดับอย่างเดียว ไม่มีการเกิดหรือกำเริบขึ้นมาอีกของกิเลส



นิพพานเป็นอัตตา


ผู้ที่สามารถเข้าออกสมาธิได้คล่องแคล่ว สามารถบังคับสมาธิให้เกิดได้ทุกอิริยาบทตามใจนึก นิพพานจึงเป็นอัตตาเพราะเหตุนี้ เพราะบังคับให้เกิดได้

ขณะที่จิตเป็นหนึ่งหรือเป็นสมาธิ ย่อมกดข่มกิเลสต่างๆเอาไว้ ไม่ให้เกิด ชั่วขณะจิตนั้น เรียกว่า จิตถึงซึ่งพระนิพพานชั่วขณะหนึ่ง

พอหมดกำลังของสมาธิ กิเลสย่อมเกิดและกำเริบขึ้นมาใหม่ได้อีก


ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะกล่าวว่า นิพพานเป็นอนัตตา หรือ นิพพานเป็นอัตตา ล้วนไม่มีใครผิด มีแต่ถูกตามความหมาย คือ ดับกิเลส หรือดับเหตุทั้งปวง ถึงแม้จะชั่วขณะหนึ่งก็ตาม


โดยตัวสภาวะที่แท้จริงของพระนิพพานนั้น ไม่ได้เป็นทั้งอนัตตาและอัตตา

แต่เป็นโดยตัวสภาวะของพระนิพพานเอง คือ ความดับสิ้นไม่มีเหลือ ไม่มีการเกิดหรือการกำเริบของกิเลสอีกต่อไป


ส่วนอนัตตาและอัตตา ยังมีการสร้างเหตุอยู่ จึงย่อมมีผลให้ได้รับอยู่ จึงไม่ใช่สภาวะนิพพานที่แท้จริง เกิดแค่ชั่วคราวเท่านั้นเอง ยังเป็นแค่เปลือก แต่ยังไม่ถึงแก่น



ตราบใดที่ยังมีการสร้างเหตุของการเกิด ยังไม่ใช่ผู้ที่เห็นนิพพาน เห็นแล้วจะมุ่งดับเหตุทั้งปวงที่ตัวเอง

ส่วนจะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน แล้วแต่เหตุที่ทำมา และเหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย



จิตมุ่งพระนิพพาน มุ่งสร้างเหตุของการดับเหตุทั้งปวงอย่างเดียว คือ กิเลสที่มีอยู่ในจิต



เพียงแต่จะเข้าใจนิพพานได้โดยสภาวะ ต้องอาศัยทั้งอนัตตาและอัตตาในการเรียนรู้ ถ้าไม่มีทั้งอนัตตาและอัตตา จะเอาที่ไหนมารู้


เห็นอัตตา คือ เห็นความโง่ที่ยังคงมีอยู่ โง่กับกิเลสของตัวเอง

เมื่อรู้แล้ว จะเห็นความผิดพลาดได้ไวมากขึ้น แล้วจะมุ่งสร้างแต่เหตุที่เป็นการดับเหตุทั้งปวง



เห็นอนัตตา คือ เห็นตามความเป็นจริงของทุกๆสรรพสิ่ง เป็นเหตุให้ถ่ายถอนอุปทานที่ยังมีการให้ค่าต่อผัสสะที่เกิดขึ้น แล้วหลงยึดมั่นถือมั่น เลยกลายเป็นการสร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้

เมื่อเห็นตามความเป็นจริงได้ จิตย่อมเกิดการปล่อยวางลงไปเองเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่ต้องคิดจะปล่อยวาง เหตุที่เกิดใหม่ ย่อมลดน้อยลงไปเรื่อยๆ นับว่าเป็นการส้ร้างเหตุใหม่ที่มุ่งดับเหตุทั้งปวงที่เกิดจากการเห็นตามความเป็นจริง


ฉะนั้น พระนิพพาน จึงไม่ใช่สิ่งที่เกินกำลังที่ทุกๆคนจะไม่สามรถทำได้ ทุกๆคนสามารถทำได้ และถึงแม้จะยังไม่ได้ถึงแก่น อย่างน้อย ได้แค่เปลือกก็ยังดี แล้วทำความเพียรต่อไป ทำต่อเนื่อง เจริญสตินี่แหละ


สติ สัมปชัญญะและสมาธิ เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดที่จะพาทุกคนไปถึงแก่นแท้ของพระนิพพานได้


เพราะความไม่รู้ตัวเดียวแท้ๆ เราจึงมองเรื่องพระนิพพานเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆที่อยู่ใกล้ตัว ติดตัวเราตลอดเวลา กิเลสบดบังดวงตาให้มืดบอด จิตย่อมไม่กระจ่างแจ้ง

เมื่อยังไม่เห็นตามความเป็นจริง นิพพานเลยกลายเป็นเรื่องที่นึกภาพไม่ออก คิดเท่าไหร่ๆก็ไม่ออก ต้องลงมือเจริญสติ จึงจะรู้ได้แบบหยาบๆก่อน จนกระทั่งละเอียด จึงจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

ทีนี้ก็เหลือแค่สร้างเหตุที่พาไปถึงแก่นพระนิพพานเท่านั้นเอง



ข้อเตือนใจ


ยิ่งสภาวะละเอียดมากเท่าไหร่ สภาวะสุขย่อมเกิดขึ้นในจิตเนืองๆ ซึ่งเป็นหลุมพรางกับดักของกิเลสอย่างหนึ่ง จะเป็นเหตุให้เราคิดว่า ถ้าทำแบบนี้ได้ รู้แบบนี้ อยากจะเกิดอีก ไม่กลัวความทุกข์แล้ว เพราะความทุกข์ไม่สามารถทำอะไรเราได้

คิดแบบนี้ คือ ผู้ที่ตกอยู่ในความประมาท ประมาทในกิเลส หลงกับดักกิเลสแต่ไม่รู้ว่าหลง

การเกิดแต่ละครั้ง ต้องโง่มาก่อนที่จะรู้ เรียกว่าโง่มาตั้งแต่เกิดเลยก็ว่าได้ แล้วคิดเหรอว่า จะสามารถระลึกได้ทั้งหมดในสิ่งที่ทำๆมา ขนาดเอาแค่ปัจจุบันชาติ จำได้หมดไมว่าทำอะไรไว้บ้าง

แม้กระทั่งเรื่องในอดีตชาติ จำได้ไหมว่าทำอะไรไว้บ้าง ปฏิบัติไว้แค่ไหน จนมาถึงปัจจุบันสภาวะถึงได้เป็นแบบนี้ คาดเดาไม่ได้เลย

ถึงบอกไงนั่นคือ โง่ แค่คิดอยากจะเกิดอีกน่ะโง่มากๆ เอาชีวิตไปเสี่ยงกับกิเลสที่มองไม่เห็น


ต้องรู้ด้วยจิต แล้วต้องฝึก ต้องทำอีกนานเท่าไหร่ถึงจะเข้าใจและลึกซึ้งในกิเลสที่มีอยู่ในจิต

เราน่ะผ่านมาหมดแล้ว เคยหลงกิเลสแต่ไม่รู้ว่าหลง ทั้งๆที่ไม่ได้ยึดติดกับสิ่งที่รู้ ที่เห็น ยังโดนกิเลสเล่นงานเอา เลยหลงสร้างเหตุไปด้วยความไม่รู้


ถึงบอกไงว่า คนที่เที่ยวมาพูดว่า ตัวเองปฏิบัติแล้วได้อะไร เป็นอะไร เรียกว่าอะไรน่ะ นั่นยังโง่อยู่นะ โง่กับกิเลสของตัวเองแต่มองไม่เห็น โง่กับกิเลสส่วนลึก ความอยากมี อยากได้ อยากเป็นที่แฝงอยู่ แต่เพราะกิเลสบดบังจนมืดมิด เลยมองไม่เห็น

หลงคิดว่า สบายแล้ว พ้นแล้ว อยากบอก อยากสอนคนอื่นๆ ที่ไหนได้ ยิ่งบอกว่าได้อะไร เป็นอะไร แล้วพยายามยัดเยียด พยามสอนคนอื่นๆ นั่นแหละคือตัวสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นด้วยความโง่ของกิเลส

ผลย่อมมีอย่างแน่นอน แล้วจะมาพูดว่ามุ่งพระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างไร

มีแต่การสร้างเหตุตามใจกิเลส ความอยากมี อยากได้ อยากเป็นตามบัญญัติที่คิดว่าใช่ ถ้ามุ่งสร้างเหตุให้ถึงพระนิพพาน ต้องมุ่งดับเหตุ ไม่ใช่สร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นเนืองๆ การกล่าวโทษนอกตัวนี่ ไม่มีอีกแล้ว


เพราะเคยโง่มาก่อน จึงเข้าใจในสภาวะเหล่านี้ดี ยิ่งสภาวะเปลี่ยนไปมากเท่าไหร่ กิเลสยิ่งเนียนมากขึ้นเท่านั้น ขนาดทำผิดศิล ยังคิดเข้าข้างตัวเองเลยว่า ให้ดูที่เจตนา



ศิล



เรื่องของศิล คำว่า " ให้ดูที่เจตนา " หมายถึง ผลที่ได้รับ เจตนาตั้งใจทำมากเท่าไหร่ ผลย่อมได้รับตามที่เจตนา ไม่ใช่ยึดว่า ทำผิดศิลหรือไม่ ให้ดูที่เจตนา


คำว่า " ให้ดูที่เจตนา " เป็นอุบายในการสอน เพื่อให้ระมัดระวังในการกระทำ การระมัดระวัง เป็นการสร้างสติ ให้เกิดขึ้นก่อนที่จะลงมือทำ จนกว่าตัวสัมปชัญญะจะเกิดน่ะแหละ ศิลจะสะอาดมากขึ้นเรื่อยๆโดยไม่ต้องระวัง

ข้ออ้างของคนที่โกหกแม้กระทั่งตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าโกหก

ชอบกินเหล้า ก็อ้างว่า กินเหล้าไม่ผิดศิล เพราะมีสติรู้ว่าควรกินแค่ไหน เอาอะไรมาวัดล่ะ สติชั่งกิโลได้เหรอ วัดได้เหรอ โกหกตัวเองยังไม่รู้ว่าโกหก

วุ่นวายกับเมียชาวบ้าน อ้างว่าไม่ผิดศิล เพราะไม่ได้มีอะไรกัน แค่มีความสุขเล็กๆน้อยๆยามที่ได้พูดคุยกัน
ฯลฯ

มีแต่กิเลสตามใจตัวเองทั้งนั้น ศิลไม่ต้องนำมาอ้างกันหรอก นี่ขนาดแค่ศิลแบบหยาบๆ ยังมีการเลี่ยงคำภีร์ตลอด แล้วถ้าศิลขั้นละเอียดจะขนาดไหน


ใครๆที่ชอบประกาศตน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ที่มาบอกว่าได้อะไร เป็นอะไร นั่นน่ะหลักฐานยืนยันว่าตกหลุมพรางกิเลสแต่ยังไม่รู้ แค่นี้ก็รู้แล้วว่า แค่กิเลสของตัวเองยังไม่รู้


นับประสาอะไรกับคำบัญญัติที่นำมาเรียกๆตามความอยากที่มีอยู่ จะไปรู้ได้อย่างไรว่า สภาวะที่แท้จริงของคำเรียกเหล่านั้น เป็นอย่างไร




นำเรื่องโง่ๆที่ตัวเองเคยโง่มาแบ่งปันกัน


จงอย่าไปคิดว่าปฏิบัติแล้วได้อะไร เป็นอะไร ให้ดูกิเลสที่เกิดขึ้นในใจเป็นหลัก


ขนาดตอนนั้น ที่ปฏิบัติ ไม่เคยคิดว่าอยากเป็นอะไร ไม่เคยรู้จักคำบัญญัติที่นำมาเรียกๆกัน เพิ่งมารู้ในตอนหลัง ยังโดนกิเลสเล่นได้เลย เล่นเอาหลงไปพัก


ตอนนี้รู้ชัดแล้วว่า เราปฏิบัติเพื่อดับเหตุทั้งปวงที่เกิดจากตัวเราเอง ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อได้อะไรเป็นอะไร ตราบใดที่คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร ล้วนเป็นเหตุของการสร้างเหตุให้เกิดขึ้นของการเกิดทั้งสิ้น


เพราะมีแต่การยึดติด มีแต่การให้ค่าจากการคิดว่าได้อะไร เป็นอะไร จึงมองว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นๆ มานะตัวนี้ร้าย มีแต่อคติว่าต้องแบบนั้นดี แบบนี้ดี แบบนั้นไม่ดี แบบนี้ไม่ดี คนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ย่อมมีอย่างแน่นอน


เพราะไม่สามารถอธิบายข้อโต้แย้งได้ว่า ทำไมจึงบอกว่าดี บอกว่าใช่ บอกว่าไม่ดี บอกว่าไม่ใช่ มันจึงเป็นการสร้างเหตุวิวาทะเกิดขึ้น เพราะรู้ต่างกัน เข้าใจต่างกัน เหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้

ส่วนการไปบอกว่า ใครใช่หรือไม่ใช่ เป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไรนั้น ล้วนเป็นการสร้างเหตุทั้งนั้น มีแต่กิเลส เมื่อมองไม่เห็น จึงมีการกล่าวว่าใช่หรือไม่ใช่



ใครจะใช่หรือไม่ใช่ เป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไร นั่นเป็นเหตุของคนอื่นๆเขา ไม่ใช่หน้าที่ที่จะไปบอกว่าใครใช่หรือไม่ใช่ เหตุใหม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่รู้ว่ากำลังทำให้เกิดขึ้น ผลที่ได้รับย่อมมีอย่างแน่นอน


( ตรงนี้โดนมาหมดแล้ว พอโง่ถึงได้รู้ )



จงดูกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ใช่ไปดูว่าได้อะไร เป็นอะไร


บัญญัติต่างๆที่มีไว้เป็นแนวทางนั้น ล้วนบ่งบอกไว้ชัดว่า เป็นนี้ๆละกิเลสแบบนี้ๆ จนกระทั่งหมดกิเลส เป็นเพียงอุบายในการสอน จริงๆแล้วให้ดูกิเลสที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในจิต ความอยากมี อยากได้ อยากเป็น

ถ้ายังมี แล้วจะเรียกว่าละได้อย่างไร ละได้จริงต้องไม่มี จุดสุดท้ายของคำสอนทั้งหมด หรือของสภาวะทั้งหมดคือ สติ สัมปชัญญะและสมาธิเท่านั้นเอง จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริงตั้งแต่สภาวะหยาบๆจนกระทั่งสภาวะละเอียด

กิเลสเนียนมากๆ สภาวะยิ่งละเอียดมากเท่าไหร่ กิเลสยิ่งละเอียดมากขึ้นเท่านั้น ดูทัน เหตุย่อมจบได้ไว ดูไม่ทัน จมกับกองกิเลสต่อไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นอริยสัจจ์


การเห็นอริยสัจจ์เป็นเพียงแค่มรรค ยังไม่ใช่ผลที่แท้จริง จึงเป็นที่มาของคำว่า โสดาปัตติมรรคและโสดาปัตติผล

เพราะจะต้องเกิดปัจจเวกขณญาณ คือ

สำรวจทบทวนดูมรรค ๑

สำรวจทบทวนดูผล ๑

สำรวจทบทวนดูกิเลสที่ละได้แล้ว ๑

สำรวจทบทวนดูกิเลสทั้งหลายที่ยังหลงเหลืออยู่ ๑

สำรวจทบทวนดูพระนิพพาน ๑

เพราะว่า พระอริยบุคคลท่านนั้น สำรวจทบทวนดูมรรคว่า ” ข้าพเจ้ามาด้วยมรรคนี้แน่แล้ว ” ๑

จากนั้นสำรวจทบทวนดูผลว่า ” อานิสงส์นี้ ข้าพเจ้าได้รับแล้ว ” ๑

จากนั้นสำรวจทบทวนดูกิเลสทั้งหลายที่ต้องฆ่าด้วยมรรค ๓ เบื้องสูงว่า ” กิเลสทั้งหลายชื่อนี้ๆของข้าพเจ้ายังเหลืออยู่ ” ๑

และในที่สุดทบทวนดูพระอมตนิพพานว่า ” พระธรรมนี้ ข้าพเจ้าแทงตลอดด้วยอารมณ์แล้ว ” ๑

พระโสดาบันอริยสาวกมีปัจจเวกขณะ ๕ ฉันใด แม้พระสกทาคามีและพระอนาคามีทั้งหลาย ก้มีปัจจเวกขณะ ๕ ฉันนั้น แต่ของพระอรหันต์ไม่มีการสำรวจทบทวนดูกิเลสที่เหลือแล ( เพราะท่านละกิเลสทั้งหลายหมดแล้ว )

ที่เรียกว่า ปัจจเวกขณะ ( การสำรวจทบทวน ) รวมทั้งหมดจึงมี ๑๙ ประการด้วยฉะนี้

ปัจจเวกขณะญาณของพระโสดาบัน ๕ พระสกทาคามี ๕ พระอนาคามี ๕ ของพระอรหันต์ ๔ รวมเป็น ๑๙

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

” สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ “

” ซึ่งปราชญ์ทั้งหลายเรียกกันว่า อานันตริกสมาธิ ( คือ มรรคสมาธิซึ่งให้อริยผลในทันที ” )

และตรัสไว้ว่า

” ….. ทนฺธํ อานนิตริกํ ปาปุณาติ อาสวานํ ขยาย “

” ….. ( เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน ) บุคคลนั้นจึงบรรลุอานันตริกสมาธิ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า ” ดังนี้เป็นต้น

บทความปัจจเวกขณะญาณ ที่นำมาอ้างอิง นำมาจากหนังสือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถร ) แปลและเรียบเรียง

ผลญาณ

การประหาณกิเลสในมรรคญาณ เรียกว่า สมุทเฉทปหาน

การประหาณกิเลสในผลญาณ เรียกว่า ปฏิปัสสัมภนปหาน

มีอุปมาเหมือนไฟที่กำลังลุกไหม้ฟืนอยู่ บุคคลต้องการจะดับไฟจึงเอาน้ำไปรดที่ฟืนนั้น ไฟก็จะดับไป เมื่อไฟดับแล้วยังมีไอเหลืออยู่ ต่อเมื่อเอาน้ำรดอีก ๒-๓ ครั้ง ไอก็จะเงียบหายไป ข้อนี้ฉันใด เมื่อกิเลสได้ถูกประหาณโดยมรรคญาณเป็นสมุทเฉทแล้ว

แต่อำนาจของกิเลสนั้น ยังคงเหลืออยู่ เช่นเดียวกับเอาน้ำรดไฟจนดับแล้ว ยังมีไอเหลืออยู่

และการเอาน้ำมารดอีก ๒-๓ ครั้ง จนไอเงียบหายไปนั้น เปรียบเหมือนการประหาณอำนาจของกิเลสโดยผลญาณนั่นเอง ฉะนั้นจึงเรียกว่า ปปฏิปัสสัมภนปหานดังนี้ ผลญาณนี้จัดเข้าในญาณทัสสนวิสุทธิโดยอนุโลม

อริยบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจรณามรรค,ผล,นิพพาน เฉพาะท่านที่เป็นพหุสูตคงแก่เรียน ย่อมพิจรณากิเลสที่ละได้แล้วและที่ยังเหลือ

ส่วนโยคีบุคคลนอกนั้นไม่ได้พิจรณาสอบสวนเพราะไม่รู้ปริยัติ แต่ทำการกำหนดต่อไป

จาก วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นอริยสัจ ๔


การเห็นอริยสัจจ์ เห็นได้ ๓ ทาง คือ สุตตมยปัญญา ๑ จินตมยปัญญา ๑ ภาวนามยปัญญา


๑. เห็นอริยสัจจ์ ขั้นปริยัติ ( สุตตมยปัญญา ) คือ จำจากตำรา เกิดจากการอ่าน( ศึกษาพระไตรปิฎก ) การฟัง ( จากผู้ที่ตนเองคาดเดาเอาเองว่าผู้นั้นเห็นอริยสัจจ์มาก่อน )

๒. เห็นอริยสัจจ์ ขั้นปฏิบัติ แต่ยังอยู่ในเกณฑ์จินตามยญาณ คือ ญาณที่ ๑-๒-๓ และ ๔ ( ตรุณอุทยัพพยญาณ อย่างอ่อน )

๔.เห็นอริยสัจจ์ ขั้นภาวนามยญาณ ได้แก่ เห็นตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป




ลักษณะหรือสภาวะของผู้ที่เห็นอริยสัจจ์ในครั้งแรก


สภาวะของผู้ที่เห็นอริยสัจจ์ในครั้งแรก ไม่ว่าจะเห็นทางสุตตมยปัญญา ๑ จินตมยปัญญา ๑ ภาวนามยปัญญา ล้วนจะมีสภาวะเหมือนกันทุกๆอย่างคือ โง่ แต่ไม่รู้ว่าโง่ โง่กับกิเลสของตัวเอง

คือ ตกหลุมพรางกิเลส หลงแต่ไม่รู้ว่าหลงกิเลส หลงยึดติดในบัญญัติที่เรียกเอาไว้ แต่ไม่รู้ว่าหลง เลยกลายเป็นสร้างเหตุของการเกิด ไม่ใช่สร้างเหตุที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์( การดับ ) เพราะยังไม่แจ้งในสภาวะของพระนิพพานที่แท้จริง

เรียกว่า ยังอยู่ในมรรค ยังไม่ใช่ผล ถ้าเป็นผล ต้องแจ้งในสภาวะของพระนิพพานด้วย

จะหลุดพ้นจากสภาวะหลงนี้ไปได้ ต้องเจริญสติอย่างต่อเนื่อง จึงจะเห็นกิเลสที่หลงในบัญญัตินี้ได้อย่างชัดเจน จนจิตเกิดการปล่อยวางจริงๆ จึงจะหลุดจากสภาวะนี้ได้

เมื่อหลุดจากสภาวะนี้ได้ จึงจะเห็นแจ้งในสภาวะของพระนิพพาน



ลักษณะหรือสภาวะของผู้ที่เห็นพระนิพพาน


๑. มีนิพพานเป็นอารมณ์ มุ่งดับที่ต้นเหตุของเหตุทั้งปวง คือ กิเลส ได้แก่ ดับเหตุทั้งปวงที่เกิดจากตัวเอง

๒. ไม่มีเขา ไม่มีเรา ( มีแต่สิ่งที่รู้ และสิ่งที่ถูกรู้ ) คือ ไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในสภาวะที่เกิดขึ้น ตลอดจนบัญญัติต่างๆที่มีไว้ให้เรียนรู้

๓. ไม่มีการยึดติดในรูปแบบของการปฏิบัติ เพราะเข้าใจภายใน ( กิเลสของตัวเอง สภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ) ย่อมเข้าใจภายนอก ( กิเลสของคนอื่นๆ สภาวะของคนอื่นๆที่จะต้องเจอ )

๔. ไม่มีคำว่า ใช่ หรือไม่ดี ดี หรือไม่ดี เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการให้ค่า ล้วนเป็นต้นเหตุของการเกิด

๕. ไม่มีการกล่าวเพ่งโทษนอกตัว เพราะเกิดสัจจานุโลกมิกญาณขึ้นในจิตแล้ว ( เข้าใจเหตุที่ทำและผลที่ได้รับ )

๖. สิ้นสงสัยในเหตุของคนอื่นๆ

๗. โทสะกิเลสถูกทำลายให้เบาบางลง ยังมีความโกรธ แต่ไม่ถึงขั้นพยาบาท

เช่น เมื่อมีผู้ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ จะไม่มีคำกล่าวว่า อยากให้เขาเป็นเช่นดั่งที่ตัวเองถูกกระทำ หรือสงสัยว่า เหตุที่คนอื่นๆทำนั้น เขาจะได้รับผลหรือไม่ หรือได้รับผลเมื่อใด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสภาวะของความพยาบาทที่เกิดขึ้นในจิต

๘. เป็นผู้ปราศจากอคติ

๙. สภาวะมีรูป,นามเป็นอารมณ์ คือ มีสภาวะปรมัตถ์ตลอดไป ( สภาวะจะไม่ตกต่ำไปกว่าอุทยัพพยญาณ )

๑๐. มีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ มุ่งสู่ความดับ คือ ดับเหตุทั้งปวงที่ตัวเอง

๑๑. ศิล ๕ แบบหยาบๆสะอาด


ยังมีต่อ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน-ผล

การเห็นอริยสัจ ๔ ( สัจจานุโลมิกญาณ ) เป็นเพียงแค่มรรค ยังไม่ใช่ผล จะเกิดปัจจเวกขณญาณ ทบทวนสภาวะกิเลสที่เหลืออยู่ และที่สำคัญที่สุด ต้องแจ้งสภาวะของนิพพาน โดยตัวสภาวะจริงๆ จึงจะเรียกว่า ผล

จึงเป็นที่มาของคำว่า โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล



การเห็นอริยสัจจ์ในครั้งแรก ไม่ว่าจะเห็นโดยสุตตะ จินตะ หรือาภาวนา ( ญาณ ๑๖ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป )

ผู้ที่เห็นอริสัจจ์ครั้งแรก จะมีสภาวะเหมือนๆกันหมด คือ เจอตัวโมหะ แต่ไม่รู้ว่าเจอ หลงกิเลสแต่ไม่รู้ว่าหลง หลงว่าได้อะไร เป็นอะไร เพราะความหลงที่ยังมีอยู่ จึงกลายเป็นการสร้างเหตุไปไปด้วยความไม่รู้


เพราะความหลง จึงเป็นที่มาของโสดาบัน ๓ ประเภท อุลลปนาธิปายโสดาบัน ๑ อธิมานิกโสดา ๑ อริยโสดาบัน ๑



สภาวะของผู้ที่เห็นอริยสัจจ์

จะมีสภาวะมุ่งดับที่เหตุหรือกิเลสของตน คือ มีนิพพานเป็นอารมณ์ แต่ถ้าไม่รู้ปริยัติ จะไม่รู้เลยว่า สิ่งที่ตนมุ่งทำอยู่นั้น เรียกว่ามีนิพพานเป็นอารมณ์

แม้กระทั่ง ผู้ที่รู้ปริยัติ ก็ไม่แน่ว่าจะรู้จักสภาวะของการมีนิพพานเป็นอารมณ์หรือเปล่า



ในแนวทางปฏิบัติ

ผู้ที่เกิดปัจจเวกขณญาณ สภาวะจะไม่มีตกต่ำไปกว่าอุทยัพพยญาณ จะมีสภาวะเป็นปรมัตถ์ตลอดไป เรียกว่า จิตเป็นสมาธิเนืองๆ รู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้ดีทุกอิริยาบท ผ่านญาณแต่ละญาณจะเห็นแต่ไตรลักษณ์

เห็นความเบื่อหน่ายในธาตุขันธ์ เห็นโทษของการเกิด เห็นการเกิดคือความโง่ ความประมาทที่มีอยู่ ทำให้การเกิดเป็นของที่น่ากลัว การกระทำจึงมุ่งดับเหตุที่ตนเอง เลิกเพ่งโทษผู้อื่น

ส่วนจะเกิดปัจจเวกนานขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา เห็นแต่ไตรลักษณ์ตลอด จนจิตเกิดการปล่อยวางโดยไม่ต้องคิดปล่อยวาง อะไรกระทบมาก็แค่ดู แค่รู้

เมื่อจิตวางอุเบกขาลงไปได้ เรียกว่าไม่มีกิเลสเข้ามาแทรก จะเห็นตามความเป็นจริงของสภาวะที่ติดข้องอยู่ หลงกิเลสในบัญญัติ เมื่อเห็นกิเลสตัวนี้ได้ จิตจะปล่อยวางในสิ่งที่คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร จิตกลับมาเป็นปกติแค่ดู แค่รู้อยู่อย่างนั้น

แล้วพอแจ้งในสภาวะของนิพพาน ทุกๆสภาวะที่ค้างคาใจ หรือมีคำถามที่คิดไว้อยู่ในใจ จะได้รับคำตอบทุกๆคำตอบ เรียกว่า ปิดข้อโต้แย้งได้หมดโดยตัวของสภาวะเอง



สภาวะแรกของการเห็นแจ้งในพระนิพพาน


เมื่อแจ้งในพระนิพพาน สภาวะแรกที่เจอคือ จิตเบิกบาน โล่ง เบาสบาย มีตัวรู้หรือตัวปัญญาเกิดขึ้นมากมาย ไหลออกมาดั่งสายน้ำ พุ่งออกมาพรวดๆๆๆๆ ครั้งนี้ไม่ต้องจดบันทึกแต่อย่างใด เพราะเป็นการทบทวนสภาวะทั้งหมดให้รู้ละเอียดมากขึ้น

ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบทย่อยอื่นๆ จิตเป็นสมาธิได้ตลอด รู้ชัดในกายได้ดี เห็นจิตได้ชัดแจ่มแจ้งกว่าเมื่อก่อน กิเลสนี่ชัดแจ๋วกว่าเมื่อก่อน เห็นได้ชัด ย่อมดับได้ไว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุลลปนาธิปายโสดาบัน

ได้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้บรรลุมรรค,ผล แต่คิดว่าตนเองบรรลุมรรค,ผล จากการอ่าน การฟัง หรือการปฏิบัติแต่ยังอยู่ในขั้นจินตามยปัญญา แล้วพบเจอสภาวะต่างๆ คาดเดาเอาเองว่า สภาวะที่ตนเองได้พบเจอนั้นตนเองได้บรรลุมรรค,ผลแล้ว

อธิมานิกโสดาบัน

ได้แก่ ผู้ที่เข้าใจผิดว่าตนเองได้บรรลุมรรค,ผลแล้ว โดยมีสภาวะบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งเคยได้ยินว่า สภาวะอย่างนั้นเป็นการแสดงว่าได้มรรค,ผลแล้วประการหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง เพราะได้ฟังเทศน์ลำดับญาณของอาจารย์ ซึ่งเข้าใจเอาเองว่า เป็นการรับรองของอาจารย์อีกประการหนึ่ง

การได้ฟังเทศน์ลำดับญาณไม่ได้หมายความว่า อาจารย์รับรองว่า ผู้นั้นได้บรรลุมรรค,ผลเพียงแต่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติได้มีโอกาสสำรวจตัวเองว่า การปฏิบัติของตนนั้นมีสภาวธรรมต่างๆเกิดขึ้นตรงกับที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาไว้หรือไม่

บุคคลทั้งสองประเภทนี้จะชอบโอ้อวดว่าได้ แต่พอนานๆเข้า จิตใจที่ตนยึดมั่นถือมั่นอยู่ในองคคุณของพระโสดาบันก็จืดจางลง เป็นเหตุให้ประพฤติปฏิบัติตนขาดไปจากองคคุณนั้นๆ มีการล่วงอกุศลกรรมบถ เช่น เสพสุราและกล่าวมุสาวาทเป็นต้น

อริยโสดาบัน

เป็นผู้ที่ได้อริยมรรค, อริยผลอย่างแท้จริง การประพฤติปฏิบัติใดๆ ถึงแม้จะเป็นเวลาภายหลังการปฏิบัติไปแล้ว ช้านานเพียงไรก็ตาม ก็จะไม่มีการเสื่อมไปจากองคคุณแห่งโสดาบันเป้นอันขาด

เพราะการบรรลุอริยมรรค,อริยผลอย่างแท้จริงนั้น ได้ประหาณกิเลสซึ่งจะทำให้ปฏิบัติผิดไปจากองคคุณนั้น เป็นสมุจเฉทไปแล้ว

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2011, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอัญญาเห็นอะไร?


ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สัพพันตัง นิโรธธัมมัง สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา



พระอสีติมหาสาวก
ตอนที่ ๕ กลุ่มพระปัญจวัคคีย์

ทันทีที่โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น พระพุทธเจ้าทรงเกิดปีติโสมนัส ด้วยทรงเห็นว่ามีผู้สามารถรู้แจ้งตามพระองค์แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า

“อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ
โกณฑัญยะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ
อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ
โกณฑัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ”


โดยเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นต้นด้วยคำว่า “อัญญาสิ” จึงได้มีคำหน้าโกณฑัญญะว่า ‘อัญญา’ เป็น ‘อัญญาโกณฑัญญะ’ มานับแต่วันนั้น

พร้อมกับได้ดวงตาเห็นธรรม อัญญาโกณฑัญญะก็หมดความสงสัยในพระพุทธเจ้า จึงทูลขอบวช พระพุทธเจ้าตรัสว่า

“จงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปโดยชอบเถิด”

จบพระพุทธดำรัสอัญญาโกณฑัญญะถือว่าได้บวชเป็นพระสมบูรณ์แบบในพระพุทธศาสนา และปรากฏชื่อว่า ‘พระอัญญาโกณฑัญญะ’ มานับแต่วันนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะบวชด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา และได้เป็นพระสงฆ์สาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้าด้วยประการฉะนี้

ครั้นทรงสอนพระอัญญาโกณฑัญญะให้ได้ดวงตาเห็นธรรมและทรงบวชให้แล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนพระวัปปะกับพระภัททิยะ และพระมหานามะกับพระอัสสชิ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรมและทรงบวชให้ตามลำดับดังกล่าวแล้ว




พระอัญญาเห็นอะไร? ใช่อริยสัจ ๔ ตามที่เขาเล่าว่ากันมากระนั้นหรือ?

ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สัพพันตัง นิโรธธัมมัง สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา



นี่เป็นสภาวะของอุทยัพพยญาณ

ก่อนเห็นอริยสัจจ์ ต้องเห็นแจ้งในสภาวะนี้ก่อน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การสร้างเหตุให้ญาณทัสสนะ ( ปัญญาญาณ ) เกิด


เหตุที่จะทำให้เกิดญาณทัสสนะ ( ปัญญาญาณ ) เกิด คือ สติและสัมปชัญญะ( สัมมาสติ ) และสัมมาสมาธิ


จะมีสัมชัญญะเกิดได้ ต้องมีกำลังของสติที่ตั้งมั่นในระดับหนึ่ง


จะมีสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ ให้ตั้งมั่นและแนบแน่นได้ สามารถรู้ชัดในรูป,นามได้ ต้องมีทั้งสติและสัมชัญญะที่ตั้งมั่นในระดับหนึ่ง


จะมีศิลที่สะอาดขึ้นมาได้ ต้องมีกำลังของหิริ โอตตัปปะที่ตั้งมั่นในระดับหนึ่ง


จะมีหิริ โอตตัปปะที่ตั้งมั่นได้ ต้องมีกำลังของสติและสัมปชัญญะที่ตั้งมั่นในระดับหนึ่ง


ญาณทัสสนะจะบังเกิดขึ้นมาได้เมื่อมี สัมมาสติและสัมมาสมาธิ



สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ

จตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ ฯเปฯ


พระภิกษุ ผู้เป็นนรชน มีปัญญา ตั้งอยู่ในศิล แล้วพึงทำสมาธิจิต และอริยปัญญาให้เกิด ฯลฯ ดังนี้


" พระภิกษุผู้ทำวิสุทธิ ๒ ( คือสิลวิสุทธิและจิตตวิสุทธิ ) อันเป็นรากเหง้าให้ถึงพร้อมแล้ว

ทำวิสุทธิทั้ง ๕ ( คือทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ) อันเป็นลำต้นให้พร้อมอยู่ พึงทำปัญญาให้เกิดขึ้น "


สร้างเหตุด้วยการเจริญสติ ผลที่ได้รับคือ เป็นลำต้นให้พร้อมอยู่ แล้วญาณทัสสนะ ( ปัญญาญาณ ) จะเกิดขึ้นเอง

การทำมากหรือน้อยไม่ใช่ตัววัดผล ส่วนจะเกิดช้าหรือเร็วนั้น ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาและเหตุที่กำลังสร้างขึ้นในปัจจุบัน ต้องอาศัยการทำอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการให้ค่าว่าดีหรือไม่ดีนั้น เรื่องปกติ เพราะยังมีกิเลสอยู่ ให้ค่าได้ แล้วแค่ดูแค่รู้ไป ยอมรับไปตามความเป็นจริงว่ายังมีการให้ค่าอยู่ พอเห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ การให้ค่าจะลดน้อยลงไปเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2011, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นอริยสัจจ์ ตัดภพตัดชาติ


ผู้ที่เห็นอริสัจจ์โดยสภาวะของอริยสัจจ์ที่แท้จริง เรียกว่า เป็นการตัดภพตัดชาติอย่างแน่นอน เพราะสิ่งที่ถูกรู้นั้น เป็นการรู้แบบตัดภพตัดชาติ

คือ รู้จักตัวกู ของกู โดยสภาวะที่แท้จริง ทิฏฐิกิเลสตัวนี้แหละ ที่เป็นตัวก่อภพก่อชาติ ตรงไหนมีตัวกู ของกู ตรงนั้นมีย่อมเหตุ เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล

หากเห็นตัวกูที่มีอยู่จริงๆ ผู้นั้นจะมีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ มุ่งดับเหตุทั้งปวงที่ตัวเอง ( กิเลส ) ถึงแม้ว่าจะไม่รู้ปริยัติเลยก็ตาม แต่สภาวะจะดำเนินไปเอง


เหตุที่แสดงให้เกิดขึ้น


จะไม่มีการไปกล่าวโทษนอกตัว แต่มุ่งชำระจิต ขัดเกลาจิตของตัวเอง เพราะรู้ดีว่า ทุกๆผัสสะที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะขยับตัวไปทางไหน ไม่ว่าที่คิดว่าดีหรือไม่ดี ล้วนเป็นการสร้างเหตุใหม่ให้เกิดทั้งสิ้น

เพราะสิ่งที่คิดว่าดีหรือไม่ดี ล้วนเป็นการคาดเดา เกิดจากอุปทานที่ไปให้ค่าต่อผัสสะ ให้ค่าตามเหตุปัจจัยที่ยังมีอยู่กับสิ่งๆนั้น ให้ค่าตามกิเลสที่มีอยู่ อยู่ที่ว่า สติจะรู้เท่าทันไหม ถ้ารู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิตได้ สภาวะย่อมจบได้ไว

หากยังไม่สามารถรู้เท่าทันได้ เหตุย่อมเกิดยืดยาวต่อไปอย่างแน่นอน แล้วจะเรียกว่า มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างไร มีนิพพานเป็นอารมณ์จริงๆ มันต้องดับ ต่อให้ใครมาฆ่าก็ยอม ไม่ตอบโต้ใดๆทั้งสิ้น เพราะเข้าใจในเหตุทั้งปวง


กลัวตายกับผู้ไม่กลัวตาย


คำว่ากลัวตาย กับคำว่า ผู้ไม่กลัวตาย ต้องแยกสภาวะให้ออก

เหตุที่บอกว่า แม้แต่ใครจะฆ่าก็ยอม ยังมีความกลัวตายอยู่ ไม่ใช่ไม่กลัวตาย ยังกลัวตายอยู่นะ เพราะยังมีอุปทานในขันธ์ ๕ ยังมีการยึดติดกับกายนี่อยู่ จึงยังมีการกลัวความเจ็บอยู่ จึงเป็นคนที่มีความกลัวตาย

เหตุที่ว่าใครจะทำร้ายๆอะไรๆ แม้ถึงขั้นต้องเสียชีวิตหรือต้องตายก็ยอมนนั้น ไม่ใช่ไม่กลัวตาย ยังกลัวตายอยู่ แต่ก็ยอม เพราะเข้าใจถึงเหตุและผลได้ดี ว่า วันนี้ไม่ตาย วันหน้าก็ต้องตาย อยู่ที่ไหนๆถึงเวลาก็ต้องตาย

จึงไม่คิดตอบโต้ใดๆทั้งสิ้น จิตมีแต่ให้การอภัยและให้การอโหสิกรรมต่อคนที่มาทำร้ายหรือหมายปองชีวิต เพราะเคยทำกับเขาไว้ เขาจึงมาทำกับเราเช่นนี้ หากเรายังยอมไม่ได้ นั่นคือ เหตุไม่จบ เมื่อเหตุไม่จบ ผลย่อมมีเกิดขึ้นอย่างแน่นอน



คำนินทา


เรื่องกลัวตายกับไม่กลัวตาย สภาวะนี้ไม่แตกต่างกับสภาวะอื่นๆ เป็นตัววัดผลว่า เห็นตามความเป็นจริงได้จริงหรือไม่ มีนิพพานเป็นอารมณ์ได้จริงหรือไม่ นึกถึงพระพุทธเจ้า เรื่องการนินทา

ตอนที่พระอานนท์มังนะจำไม่ได้ ที่ขอให้พระองค์หนีคนที่นินทา พระองค์ทรงตรัสว่า อานนท์ ไม่ว่าจะหนีไปที่ไหนๆ ไม่มีพ้นไปจากคำนินทาได้ คำตรัสนี้ลึกซึ้งนะ พระองค์ทรงสอนเรื่องของเหตุและผล

ตราบใดที่ยังมีผล เหตุย่อมมี ถ้ายอมชดใช้ ผลย่อมหมดไป เหตุย่อมไม่มี นี่คือ การดับเหตุอย่างแท้จริง

ส่วนคำสอนต่างๆในเรื่องการนินทานั้น ล้วนเป็นเพียงอุบาย ไม่ให้ไปผูกจิตเอาไว้กับกิเลส ซึ่งเป็นเหตุของการก่อภพก่อชาติ เช่นเดียวกับอุบายในการสอนเรื่องความง่วง ที่พระพุทธเจ้าทรงให้อุบายกับพระโมคคัลลานะ

จิตนี้ช่างมหัศจรรย์ยิ่งนัก รู้ชัดในสภาวะหนึ่ง ตัวปัญญาแจ่มชัดขึ้นไปอีก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตำรามีประโยชน์ ย่อมมีโทษแฝงอยู่


ตำราต่างๆเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะตำราสอบอารมณ์ มีประโยชน์ไม่ใช่ไม่มี แต่ก็มีโทษแฝงอยู่

เกิดเนื่องจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ที่อยากมี อยากได้ อยากเป็นแฝงอยู่ อาจจะยังดูกิเลสตัวนี้ยังไม่ออก เพราะเนียนมากๆ

ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านฉลาดในการเขียน คนไหนเห็นสภาวะตามความเป็นจริงหรือไม่ หากนำมาจากการอ่านในตำราแล้วนำไปเทียบเคียงกับสภาวะ ท่านจะรู้ทันที ฉะนั้นตำราจึงมีหลุมพรางดักกิเลสไว้เยอะ ยกตัวอย่างมาให้อ่านบางส่วน


นามรูปปริจเฉทญาณ ที่ ๑

ในการบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาและได้บรรลุถึงญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณนี้แล้ว เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดในภายหลัง จึงขอชี้แจงดังนี้ว่า.... ฯลฯ

การนึกเอาเดาเอาอย่างนี้เป็นเพียงสุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้ศึกษา ได้สดับรับฟังมา และจินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากจินตนาการแห่งตนเท่านั้น ยังไม่เข้าถึงขั้นภาวนามยปัญญาฯลฯ

ฉะนั้น นักศึกษาทั้งหลายพึงทำความเข้าใจว่า ความรู้เห็นทั้งปวงในเรื่องวิปัสสนานั้น เป็นความรู้ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ ไม่ใช่ความรู้เห็นที่เกิดขึ้นจากการคอดเอา,นึกเอา,เดาเอา หรือจากคนอื่นๆบอก

ซึ่งเป็นความรู้ความเห็นที่ไม่แน่นอน แต่ญาณหรือความรู้เห็นอันเกิดจากการเจริญวิปัสสนาภาวนาที่กำลังกล่าวถึงในเรื่องวิปัสสนาญาณนี้ เป็นความรู้เห็นที่แน่นอนเด็ดขาด อันจะเป็นภาวนามยปัญญาได้อย่างแท้จริง เพราะมีอำนาจตัดกิเลสตัณหาได้ในที่สุด

เมื่อโยคาวจรบุคคลมีความรู้สึกปรากฏขึ้นว่า มีรูปกับนามเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่ใช่เรา,เขา เข้าใจถูกต้องอย่างนี้ ก็จะประหาณสักกายะทิฏฐิได้ เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ์แล้ว


.......................................................................................................

นี่คือหลุมพรางกับดักของกิเลสหลุมใหญ่มากๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ที่อยากได้ อยากมี อยากเป็นอะไรๆในสมมุติบัญญติ เสร็จกิเลสตรงนี้มาหลายคนแล้ว

ดูตรงที่ท่านอธิบายไว้ว่า " เมื่อโยคาวจรบุคคลมีความรู้สึกปรากฏขึ้นว่า มีรูปกับนามเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่ใช่เรา,เขา เข้าใจถูกต้องอย่างนี้ ก็จะประหาณสักกายะทิฏฐิได้ "

สภาวะแบบนี้ เรียกว่า น้อมเอาคิดเอาเอง ไม่ใช่เกิดจากภาวนามยปัญญาหรือวิปัสสนาญาณแต่อย่างใด

เหตุเพราะว่า ตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ ๑ ปัจจยปริคหญาณ ๑ สัมมาสนญาณ ๑ ล้วนเป็นฐานให้เกิดสภาวะอุทยัพพยญาณ เรียกว่า เป็นอารมณ์บัญญัติมาก่อน ก่อนจะก้าวสู่สภาวะปรมัตถ์ที่แท้จริง คือ สภาวะของอุทยัพพยญาณ

นามรูปปริจเฉทญาณ ๑ ปัจจยปริคหญาณ ๑ สัมมาสนญาณ ๑ ถ้าไม่ได้รู้แจ้งในสภาวะด้วยตนเอง แต่ฟังจากคนอื่นบอก หรือรู้จากการอ่าน ล้วนเป็นเพียงสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญาเท่านั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุทยัพยยญาณ


ไตรลักษณ์ ประตูทางเข้าของอริสัจจ์

สังขารุเปกขาญาณ ประตูทางเข้าของพระนิพพาน


สภาวะของจุตตถฌานกับสังขารุเปกฯ ๒ สภาวะนี่อธิบายได้ง่ายมากๆ สามารถจับแยกสภาวะออกจากกันให้เห็นได้ชัดเจน ถ้าไม่เคยผ่านฌานมาก่อน จะอธิบายสภาวะทั้งสองให้เห็นแตกต่างได้ยาก

เพราะทั้งสองมีสภาวะที่เหมือนกันคือ สภาวะอุเบกขา เพียงแต่แตกต่างกันที่เหตุของการเกิดสภาวะอุเบกขา


ญาณแต่ละญาณ จะเป็นทางเข้าของสภาวะแต่ละสภาวะ แม้กระทั่งสภาวะของอริยสัจ ๔ และพระนิพพานก็ไม่มีข้อยกเว้น

เหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงกล่าวยกย่องจตุตถฌานที่เป็นสัมมาสมาธิไว้เพราะเหตุนี้ ไม่มีใครไม่ได้ฌานยามที่ผ่านแต่ละประตู ต้องอาศัยกำลังแห่งสมาธิในองค์ฌาน



เหตุเน้นเรื่องการเจริญสติเพราะเหตุนี้ เพราะการเจริญสติให้ผลทั้งสมถะและวิปัสสนา คือได้ทั้งสติ สัมปชัญญะ( สัมมาสติ ) และสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ เน้นสภาวะยืนกับนั่งให้ทำติดไว้เป็นหลักเพราะเหตุนี้ ส่วนจะทำมากหรือน้อยแล้วแต่เหตุ

ส่วนใครไม่ชอบยืนหรือนั่งไม่เป็นไร ให้ทำในแบบที่ตัวเองชอบหรือทำแล้วถนัด ให้ทำแบบนั้นไปก่อน จนจิตสามารถตั้งมั่นได้ เพราะยังไงก็ตาม สุดท้ายหนีไม่พ้น ยืนกับนั่ง จะเป็นไปตามสภาวะเอง

เพียงแต่แรกเริ่มนั้น ทำไปตามเหตุของแต่ละคนที่เคยกระทำมา ทำแบบนั้นไปก่อน เรียกว่าทำตามกิเลส ( ความชอบ )


หนังสือหรือตำรา ที่นำมาใช้ในการหาความรู้เกี่ยวกับคำบัญญติในสภาวะต่างๆ ได้นำมามารวมๆกัน จุดเด่นของแต่ละตำราไม่เหมือนกัน

คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่รจนาโดยพระพุทธโฆสเถระ ท่านย่อสภาวะเหลือนิดเดียว เรียกว่าถ้ายังไม่เห็นสภาวะตามความเป็นจริง อ่านของท่านแล้วเข้าใจได้ยาก ได้แต่คาดเดาเอาเท่านั้นเอง เพราะท่านเขียนไว้แค่เรื่องเกิดดับ แต่ไม่แจงรายละเอียดของสภาวะ มีแต่แจงรายละเอียดที่เป็นบัญญัติเอาไว้ สภาวะท่านเขียนไว้เพียงว่า

อุทยัพพยญาณ ได้เห็นแล้วซึ่งความเกิดขึ้นและดับไปของธรรมทั้งหลาย ที่มีความเกิดและความดับอยู่เป็นปกตินั่นแลหนอ

( สภาวะนี้เป็นประตูทางเข้าของอริยสัจจ์ โดยมีกำลังของฌานเป็นบาท จึงจะเห็นสภาวะอริยสัจจ์ตามความเป็นจริงได้ จะนำรายละเอียดของสภาวะมาแสดงในครั้งต่อไป )

วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย หลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ ท่านอธิบายทั้งบัญญัติและสภาวะไว้เยอะมาก ซึ่งได้นำสภาวะทั้งสองท่านมารวมเป็นในแบบของเรา

ซึ่งถ้าให้เราเขียนเอง เขียนไม่ได้แบบนี้หรอก เราไม่มีความรู้ทางด้านปริยัติ รู้แต่สภาวะ


ส่วนตำราของหลวงพ่อโชดก นำมาใช้เป็นบางส่วน เพราะส่วนมากถ้าคนที่ยังไม่เห็นแจ้งในสภาวะ อ่านแล้วอาจเป็นเหตุให้เกิดการคาดเดาสภาวะเอาเอง เราเลยนำมาเป็นบางส่วน เช่น นามรูปริจเฉทญาณ ๑ ปัจจยปริคหญาณ ๒

สัมมาสนญาณ ๓ ทั้ง ๓ ญาณนี้เป็นเพียงสภาวะของบัญญัติ ใช้การน้อมเอา คิดเอาเองได้ อาจจะเกิดจากการอ่าน จากการฟัง จากคนอื่นๆบอกอีกที ไม่ใช่รู้ด้วยตัวเอง ทั้ง ๓ ตำราจะเขียนตรงกันหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน เรื่องใกล้ตัว


นิพพานเห็นได้ตั้งแต่หยาบๆ โดยการน้อมเอาคิดเอา จนเห็นไตรลักษณ์

นิพพานเห็นแบบละเอียด เห็นเองรู้เองโดยผ่านไตรลักษณ์ ( วิปัสสนาญาณ ) จนกระทั่งจิตเกิดการปล่อยวางเอง ( สังขารุเปกขาญาณ ) โดยที่ตัวกู ของกูที่ยังมีอยู่ไม่ได้คิดจะปล่อยวาง แต่เกิดขึ้นเอง เห็นเอง รู้เอง นิพพานแบบละเอียดจึงเกิดเพราะเหตุนี้ โดยปราศจากการคิดเอา น้อมเอา


เนื่องจากพระนิพพานที่เคยได้ยินมา ดูเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องยากที่จะทำได้ ผู้ที่อ้างว่าพบพระนิพพาน จึงถูกยกให้เป็นผู้วิเศษ ผู้วิเศษเลยหลงติดกับกิเลส แต่ไม่รู้ว่าหลง เหตุจากการสรรเสริญเยินยอ การให้ค่าที่ยังมีอยู่

แทนที่จะพบพระนิพพานตามสภาวะที่แท้จริง นิพพานเลยกลายเป็นเรื่องไกลตัวไป เพราะเหตุนี้


นิพพานเป็นเรื่องใกล้ตัว เพราะอยู่ในกายและจิต ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วแต่เหตุที่ทำมา แค่อย่าหลงยึดติดในคำบัญญัติที่มีเรียกไว้เท่านั้นเอง ให้ดูกิเลสที่เกิดขึ้นในใจ ไม่ใช่ไปดูว่าได้อะไร เป็นอะไร

ที่ว่าได้อะไร เป็นอะไร ล้วนยังติดกับดักกิเลส มีแต่การสร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น หากเห็นแจ้งในสภาวะนิพพานจริงๆ ถึงแม้จะไม่รู้ปริยัติเลยก็ตาม จะมุ่งดับที่เหตุของการสร้างเหตุ ( กิเลส )


แม้แต่การกล่าวเพ่งโทษก็ตาม จะไม่มีการพูดว่ากล่าวกับผู้อื่นว่า ระวังการปรามาส การที่มีการกล่าวกับผู้อื่นเช่นนี้ สภาวะก็คือ การยึดติดที่คิดว่าได้อะไรเป็นอะไร

เพราะถ้ารู้เห็นสภาวะตามความเป็นจริงของอริยสัจจ์ ย่อมเข้าใจถึงเหตุและผล

ไม่ว่าจะปรามาสหรือการด่าชาวบ้าน ไม่แตกต่างกันเลย ล้วนเกิดจากเหตุทั้งสิ้น เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล ใครว่าใคร คนนั้นรับผลไป ไม่ใช่คนที่ไม่ได้กระทำมารับผลแทน ทุกอย่างมันมีเหตุ ยึดติดแต่ไม่รู้ว่ายึดติด


การขอขมาหรือการขออโหสิกรรมต่อกัน เป็นอุบายในการถ่ายถอนพยาบาทที่เกิดจากความไม่พอใจที่มีต่อกัน ที่เกิดความพยาบาทเข้าแทรกแต่ไม่รู้ว่าพยาบาท

จะขอขมาหรือไม่ขอขมา สิ่งใดที่กระทำลงไปแล้ว ล้วนส่งผลทั้งสิ้น เพียงแต่เมื่อได้กล่าวการอโหสิกรรมต่อกัน นั่นคือ ลดการพยาบาทต่อกัน ส่วนจะลดได้แค่ไหน อยู่ที่จิตของผู้นั้น ย่อมรู้ดีที่สุด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2011, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงวิโมกขมุขสังคหะ


สุญฺญตานุปสฺสนา อนิตฺตานุปสฺสนา อปฺปณิหิตานุปสฺสนา เจติ ตีณิ วิโมกฺขมุขานิ จ เวทิตพฺพานิ.

วิโมกฺขมุขมี ๓ อย่าง คือ

๑. สุญฺญตานุปสฺสนา คือ การหลุดพ้นด้วยการพิจรณาว่าเป็นของสูญ

๒. อนิตฺตานุปสฺสนา คือ การหลุดพ้นด้วยการพิจรณาเห็นว่าไม่มีนิมิต

๓. อปฺปณิหิตานุปสฺสนา คือ การหลุดพ้นด้วยการพิจรณาเห็นว่าไม่เป็นที่ตั้งของตัณหาปณิธิ


อธิบาย คำว่า วิโมกมุข แยกเป็น ๒ บท คือ วิโมกฺข บทหนึ่ง มุข บทหนึ่ง

วิโมกฺข แปลว่า การข้ามพ้นกิเลส

มุข แปลว่า เป็นประตูหรือเป็นปาก หมายความว่า เป็นประตูเข้าทางอริยมรรค ได้แก่

๑. สุญฺญตานุปสฺสนา วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่เนื่องมาจากอนัตตลักขณะ

๒. อนิตฺตานุปสฺสนา วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่เนื่องมาจากอนิจจลักขณะ

๓. อปฺปณิหิตานุปสฺสน วุฏฐาคามินีวิปัสสนาที่เนื่องมาจากทุกขลักษณะ


สุญฺญตวิโมกฺขมุข หมายความว่า ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนา กำลังดำเนินไปอยู่ รูป,นามสังขารมีอาการสุขุมละเอียดเป็นอย่างยิ่ง แล้วค่อยๆน้อยลงๆ เหมือนเส้นด้ายที่เล็กที่สุด แล้วขาดหายไปดับไป

ลักษณะอาการอย่างนี้ชื่อว่า สุญฺญตวิโมกฺขมุข คือ ดับทางอัตตา หรือเข้าสู่มรรคทางอนัตตา


อนิตฺตวิโมกฺขมุข หมายความว่า ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนา กำลังดำเนินไปอยู่ รูป,นามสังขารมีอาการสุขุมละเอียดเป็นอย่างยิ่งเป็นธรรมดา แล้วค่อยๆเร็วเข้าๆในที่สุดดับไปเลย

ลักษณะอาการอย่างนี้ชื่อว่า อนิตฺตวิโมกฺขมุข คือ ดับทางอนิจจังหรือเข้าสู่มรรคทางอนิจจัง


อปฺปณิหิตวิโมกฺขมุข หมายความว่า ขณะที่วุฏฐาคามินีวิปัสสนา กำลังดำเนินไปอยู่ เกิดทุกขเวทนาขึ้นมาอย่างแรงกล้า เช่น เกิดแน่นหน้าอกเรื่อยขึ้นมาถึงลำคอในที่สุดก็ดับไป

ลักษณะอาการอย่างนี้ชื่อว่า อปฺปณิหิตวิโมกฺขมุข คือ ดับทางทุกขัง หรือเข้าสู่มรรคทางทุกขัง



นักศึกษาทั้งหลายพึงจำไว้ให้มั่นว่า การที่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจะเข้าสู่มรรคญาณ บรรลุพระนิพพานได้นั้น จะต้องเข้าทางพระไตรลักษณ์ คือ อริจจลักขณะ,ทุกขลักขณะ,อนัตตลักขณะ

โดยเข้าตามประตูทั้ง ๓ ตามวาสนาบารมีที่ตนได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ชาติก่อนดังกล่าวมานี้เท่านั้น จะเข้าทางอื่นนั้นไม่ได้ จะติดขัดด้วยประการทั้งปวง

และการที่ผู้ปฏิบัติจะรู้แน่แท้แก่ใจตนว่า ตนได้เคยสร้างสมอบรมบารมีมาทางไหน ย่อมจะรู้ได้อย่างแน่นอนในฐานะวุฏฐานคามินีวิปัสสนากำลังเป็นอยู่ โดยแสดงพระไตรลักษณ์ที่มีกำลังมากที่สุดให้ปรากฏเห็นอย่างชัดเจนนี้เอง

เพราะพระไตรลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องปรากฏให้เห็นอย่างแน่นอน แก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนได้บรรลุอริยมรรค,อริยผลอย่างชัดเจนทุกคนไป



เหตุนี้ จึงมีข้อควรทราบคือ อาจมีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้มีความมึนเมาด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิกิเลส สำคัญว่าตนเป็นผู้วิเศษ มีจิตสว่างสงบได้พบพระนิพพานแล้ว โดยที่ตนไม่เคยปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ( ไม่ผ่านวิปัสนาญาณ )มาเลย

ได้แต่คิดนึกไปด้วยอำนาจจินตามยปัญญา แล้วสั่งสอนคนทั้งหลายด้วยภาษาอันเข้าใจบ้าง,ไม่เข้าใจบ้างอย่างผิดแบบแผน โดยนัยที่ว่า


พระนิพพานนั้นไม่ต้องไปปฏิบัติให้เหนื่อยยากลำบาก เพียงแต่ทำจิตให้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ก็เป็นสุญญตานิพพานแล้ว

เรื่องนรก,สวรรค์เป็นเรื่องของคนพาล,คนโง่ เป็นเรื่องของเด็กอมมือที่ยังมีอุปทานยึดอยู่เท่านั้น หรือบางทีผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งมีอาการยิ่งกว่าทิฏฐิวาทีตามที่กล่าวมาแล้ว ไม่เคยบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนาอีกเช่นกัน

อยู่ๆก็จะกล่าวออกมาว่า ตุ๊เจ้าขา ( ตุ๊ เป็นภาษาทางเหนือ ใช้เรียกพระภิกษุ ) เราเป็นผู้สำเร็จแล้ว ได้มรรค,ผล,ธรรมวิเศษ สำเร็จวิปัสสนาแล้ว ได้วิโมกธรรมสูงสุดของพระพุทธเจ้าแล้ว ดังนี้ก็มี



ตามตัวอย่างที่ยกมานี้ แสดงว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีภาวนามยปัญญา ไม่รู้จักวุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ คือ ลักษณาการที่จะก้าวเข้าสู่มรรคทางพระไตรลักษณ์ว่า ตนเข้าถึงโดยพระไตรลักษณ์อย่างไหน และพระไตรลักษณ์นั้นมีลักษณะอาการเป็นอย่างไร

ถ้าเขาเหล่านั้นไม่รู้แจ้งชัดในปัญหาที่ว่า มานี้แล้ว มรรค,ผลที่เขาเข้าใจเอาเองนั้นก็ไม่ใช่มรรค,ผลที่ประเสริฐ

ถึงจะมั่นใจว่าเป็นมรรค,ผล ก็คงไม่ใช่มรรค,ผลในพระบวรพุทธศาสนา แต่เป็นมรรค,ผลจอมปลอม เป็นการเข้าใจผิด ยึดถือในการปฏิบัติอันไม่ถูกต้อง

อันมรรค,ผลที่แท้จริงนั้น ย่อมปรากฏมีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนาอันประเสริฐสูงสุดของเราเท่านั้น


โดยเหตุนี้ ตามคำกล่าวของเขาเหล่านั้นก็เป็นการได้มรรค,ผลนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ใช่มรรค,ผลที่แท้จริงนั่นเอง



จากหนังสือ วิปัสสนาทีปนีฎีกา หลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร