วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2011, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมปชัญญะ



ต้องพยายามให้ญาณเกิด ( สัมปชัญญะ )



ในบรรดานัยทั้ง ๒ นั้น เพราะเหตุที่นัยแรกพระโยคาวจรพึงหายใจออก หายใจเข้าอย่างเดียวเท่านั้น และไม่พึงทำกิจอะไรๆอื่นๆ แต่ว่า ตั้งแต่นี้ต่อไป เธอควรกระทำความเพียรในการยังญาณให้เกิดขึ้นเป็นต้น


ฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสพระบาลีโดยปัจจุบันกาลว่า


อสฺสสามีติ ปชานาติ ปสฺสสา ปชานาติ

รู้ชัดว่า เราหายใจออก รู้ชัดว่า เราหายใจเข้า ดังนี้


เพื่อจะทรงแสดงอาการ มีการยังญาณให้เกิดขึ้นเป็นต้น ซึ่งจำต้องทำตั้งแต่นี้ จึงยกพระบาลีด้วยอำนาจอนาคตกาล โดยนัยมี อาทิว่า

สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสาสิสสามิ

เราจักเป็นผู้รู้ตลอดกายทั้งหมด หายใจออก ดังนี้



ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ



คำว่า เธอสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก หายใจเข้า ความว่า

เธอย่อมสำเหนียกว่า เมื่อเราทำกายสังขารที่หยาบ ให้สงบ ให้ระงับ ให้ดับ ให้เข้าไปสงบ จักหายใจออก จักหายใจเข้า ดังนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2011, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ชัดในความว่าง



สภาวะของความว่างที่ปรากฏ ว่าง แต่มีความไม่รู้อยู่ ไม่รู้ว่า ว่างแต่ไม่ว่าง


แค่ว่างสงบจากกิเลสชั่วคราว แต่เพราะความไม่รู้ความชัดเจนของสภาวะที่แท้จริง จึงหลงยึดติดในความว่างที่ปรากฏอยู่



สภาวะของความว่างที่ปรากฏ เหตุเกิดจาก จิตเสพสมาธิ แล้วตัวสติ ยังด้อยกว่าสมาธิที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ เมื่อสติยังอ่อนกำลังอยู่ ตัวสัมปชัญญะ ย่อมอ่อนกำลังลงตามกำลังของสติที่เกิดอยู่ขณะนั้น


สภาวะที่เห็นคือ กายไม่ใช่กาย แต่เป็นความว่างของกายที่เรียกว่ากายปรากฏขึ้นมาแทน จะกำหนดรู้อะไรก็ไม่ได้ เพราะมีแต่ความว่างปรากฏอยู่ ต้องอาศัยการทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง คือ เจริญสติ ทำให้ต่อเนื่อง


เมื่อกำลังของสติมีกำลังมากขึ้น สัมปชัญญะ ย่อมมีกำลังมากขึ้นตามสติ

สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ชัดในความว่าง และรู้ในกายที่ไม่ใช่กายไปพร้อมๆกัน




สภาวะรู้ชัดในความว่าง คือ รู้ว่าปราศจากกาย


กายนัันว่าง ไม่มีอะไรที่เรีกว่ากาย แต่จะรู้กายในกาย คือ รู้ที่ลิ้นปี่ รู้แบบละเอียด

ไม่ใช่รู้แบบหยาบๆ ที่ไปเห็นการเคลื่อนไหวตามลมหายใจตรงๆแบบที่ยังมีกายปรากฏอยู่




รู้กายในกายนี้ เป็นการรู้สภาวะกายในกายที่ละเอียดมากขึ้น คือ รู้ในความว่างที่ปรากฏขึ้น ความว่างซ้อนความว่าง รู้ที่ลิ้นปี่ แต่ไม่มีตัวที่เรียกว่าลิ้นปี่ปรากฏ เป็นลิ้นปี่ สักแต่ว่าลิ้นปี่ แล้วรู้ไปตามนั้น



สภาวะนี้ ต้องมีกำลังของสติ สัมปชัญญะมากพอ จึงจะเห็นและรู้ชัดในความว่างนั้นๆได้

ความว่างในสภาวะของกายละเอียด กายที่ไม่ใช่กาย เพราะไม่มีกายหยาบปรากฏให้เห็น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิอบรมปัญญา


ก่อนที่จะเกิดสภาวะสมาธิอบรมปัญญา สภาวะสมาธิอบรมจิตจะเกิดขึ้นก่อนสภาวะตัวปัญญาจะเกิดขึ้น


จิตที่ฟุ้งซ่าน คือ สภาวะของจิตที่ไม่มีสมาธิเกื้อหนุนอยู่

เมื่อจิตฟุ้งซ่านง่าย ย่อมเป็นเหตุให้ เกิดความตั้งมั่นของจิตได้ยาก


วิธีปรับอินทรีย์เพื่อให้จิตเกิดสภาวะตั้งมั่นได้ง่ายมากขึ้น โดยการให้จิตได้จดจ่อรู้อยู่ในสิ่งที่ชอบก่อน เพื่อจะเป็นเหตุให้หยุดความฟุ้งซ่านได้ชั่วคราว เช่น

หากการใช้คำบริกรรมภาวนาไม่ได้ผล อาจจะทำงานบ้าน อ่านหนังสือที่ชอบ ฯลฯ โดยการเอาสิ่งนอกตัวที่จิตนั้นมีความชอบ นำมาเป็นเหยื่อล่อจิตก่อน เพื่อให้จิตรู้อยู่กับสิ่งที่ทำอยู่

เมื่อจิตจดจ่อรู้อยู่กับสิ่งที่ทำแล้ว เรียกว่า ทำสติให้เกิดขึ้น เมื่อมีสติเกิดขึ้นแล้ว สภาวะสัมปชัญญะย่อมเกิดขึ้น

เมื่อมีทั้งสติและสัมปชัญญะเกิดขึ้น สมาธิย่อมเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องไปคาดเดาหรือคิดสงสัยว่า สมาธิที่เกิดขึ้นนี้เป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิ ขอให้ทำสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน แล้วค่อยๆปรับเปลี่ยนอินทรีย์ไปเรื่อยๆ


ผลที่ได้รับคือ จิตหยุดฟุ้งซ่านไปชั่วขณะ ไปรู้อยู่กับสิ่งที่กำลังทำอยู่แทน สภาวะนี้ เรียกว่า สมาธิอบรมจิต

เหตุที่เรียกสภาวะนี้ว่า สมาธิอบรมจิต เนื่องจาก เมื่อจิตได้รับการฝึก เป็นเหตุให้จิตได้เสพสภาวะที่เป็นสมาธินี้เนืองๆ จิตย่อมตั้งมั่นได้ง่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และจิตจะจดจำสภาวะของการเกิดสมาธิได้แม่นยำ



อย่านำไปสับสนกับสภาวะของปัญญาอบรมสมาธิ อันนั้นเป็นผลของสภาวะตัวสัมปชัญญะเกิด ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสภาวะ สัมมาสมาธิ หากขาดตัวสัมปชัญญะ สภาวะสัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ สติไม่ต้องไปพูดถึง



สติเป็นแกนนำของทุกๆสภาวะ


หากขาดสติ ทั้งสภาวะสัมมาสติและสัมมาสมาธิ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาด มรรค๘ ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลย สติเป็นตัวที่สำคัญที่สุด เป็นที่ต้องการที่สุดในทุกๆสภาวะ



เมื่อจิตสามารถตั้งมั่นได้เนืองๆ มีกำลังสมาธิมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมรู้ชัดในกายและจิตมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อรู้ชัดแบบนี้ได้ ตัวปัญญาย่อมเกิดขึ้น สภาวะนี้ เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา


เหตุที่เรียกสภาวะนี้ว่า สมาธิอบรมปัญญา เกิดเนื่องจาก เมื่อมีสามารถรู้ชัดในกายได้เนืองๆ ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กำหนดรู้ขันธ์ ๕


การกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐



เพื่อมุ่งหมายในการกำหนดรู้ ( คือ สัมมสนญาณ ) โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีอัตตา ในขันธ์ ๕ นั้นนั่นแล มีความมั่นคง โยคาวจรนั้นจึงกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ทั้งหลายเหล่านี้ด้วยการกำหนดรู้โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น

แม้นั้นโดยประเภท ซึ่งกล่าวไว้ในวิภังค์แห่งพระบาลีนี้ ( แปลความ ) ว่า

" พระภิกษุได้เฉพาะซึ่งขันติ ( ญาณ ) อันเป็นอนุโลม โดยอาการ ๔๐ อย่างไรบ้าง " ดังนี้

พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงจำแนกอนุโลมญาณ ( นั้น ) ได้ตรัสไว้แล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า " พระภิกษุเมื่อเห็นขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐ ดังนี้ คือ


๑. อนิจจโต โดยความไม่เที่ยง

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ไม่เป็นไปเลยที่สุด เพราะมีต้นมีปลาย



๒. ทุกขโต โดยความเป็นทุกข์

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ บีบคั้นเฉพาะหน้าด้วยความเกิดและความดับ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์



๓. โรคโต โดยเป็นโรค

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ต้องเยียวยาด้วยปัจจัย และเพราะเป็นที่เกิดของโรค


๔. คัณฑโต โดยเป็นฝี

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะประกอบด้วยสิ่งเสียดแทง คือ ความเป็นทุกข์

เพราะเป็นที่ไหลออกของสิ่งไม่สะอาด คือ กิเลส

และเพราะมีการกลัดหนองและสุกแก่การแตกไปด้วยความเกิด แก่ และความแตกดับ



๕. สัลลโต โดยเป็นลูกเสียบ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ให้เกิดความบีบคั้น เพราะเป็นสิ่งที่ทิ่มแทงอยู่ภายใน และเพราะเป็นสิ่งที่ถอนได้ยาก




๖. อฆโต โดยความชั่วร้าย

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะเป็นสิ่งที่ควรตำหนิติเตียน เพราะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย และเพราะเป็นที่ตั้งของความชั่วร้าย




๗. อาพาธโต โดยความป่วยไข้

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะไม่ทำให้เกิดเสรีภาพ เพราะเป็นปทัฏฐานของความเจ็บป่วย




๘. ปรโต โดยเป็นปรปักษ์

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ไม่มีอำนาจ ( บังคับบัญชา ) และเพราะบังคับบัญชาไม่ได้




๙. ปโลกโต โดยแตกทำลาย

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะแตกทำลายไปด้วยพยาธิ ชราและมรณะ




๑๐. อีติโต โดยความหายนะ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ นำมาซึ่งความพินาศมากมาย




๑๑. อุปัททวโต โดยเป็นอุปัทวะ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ นำมาซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ที่รู้ไม่ได้เลยอย่างมากมาย และเพราะเป็นที่ตั้งของอุปัทวันตรายทั้งปวงด้วย




๑๒. ภยโต โดยเป็นภัย

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะเป็นที่เกิดของภัยทุกประการ และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความอบอุ่นใจอย่างสูงสุด กล่าวคือ ความระงับทุกข์




๑๓. อุปสัคคโต โดยเป็นอุปสรรค

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ติดตามมาด้วยสิ่งไม่เป็นประโยชน์หลายประการ เพราะประกอบด้วยโทษ และเพราะไม่นำมาซึ่งความอดกลั้น คล้ายเป็นอุปสรรค




๑๔. จลโต โดยความหวั่นไหว

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ กับทั้งหวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้งหลาย มีความมีลาภและความเสื่อมลาภเป็นต้น




๑๕. ปภังคุโต โดยผุพัง

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะมีปกติเข้าถึงความผุพังไปด้วยความพยายาม และโดยสภาพของมันเอง




๑๖. อัทธุวโต โดยไม่ยั่งยืน

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะมีปกติร่วงหล่นไปในที่ตั้งทุกแห่ง และเพราะไม่มีความมั่นคง




๑๗. อตาณโต โดยไม่เป็นที่ต้านทาน

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะไม่เป็นที่ต่อต้านคุ้มครอง และเพราะไม่ได้ความปลอดภัยที่ควรได้




๑๘. อเลณโต โดยไม่เป็นที่หลบลี้

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะไม่เป็นที่สมควรเพื่อหลบลี้ กับทั้งเพราะผู้หลบลี้ทั้งหลายทำกิจในการหลบลี้ไม่ได้




๑๙. อสรณโต โดยไม่เป็นที่พึ่ง

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ไม่มีความกำจัดภัยแก่ผู้อาศัย




๒๐. ริตตโต โดยเป็นของเปล่า

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ว่างเปล่าจากความยั่งยืน ความงาม ความสุข และความมีอัตตา ตามกำหนดคาดคะเนได้




๒๑. ตุจฉโต โดยเป็นของว่าง

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะโดยของว่างเปล่านั่นเอง หรือเพราะความเป็นของเล็กน้อย เพราะว่า แม้ของเล็กน้อยในโลก เขาเรียกกันว่า ของว่าง




๒๒. สุญญโต โดยเป็นของสูญ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะปราศจาก ( อัตตา ) ผู้เป็นเจ้าของ ผู้อยู่ประจำ ผู้สร้าง ผู้เสวยและผู้บงการ




๒๓. อนัตตโต โดยไม่มีอัตตา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ไม่มีผู้เป็นเจ้าของด้วยตนเอง เป็นต้น




๒๔. อาทีนวโต โดยเป็นโทษ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะเป็นทุกข์ด้วยความเป็นไป ( ในภพคือ สังสารวัฏ ) และเพราะความทุกข์ ( นั่นเอง ) เป็นโทษ

อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า อาทีนะ เพราะอรรถว่าผู้ไป ผู้ถึง ผู้เป็นไปสู่ความยากจน

คำว่า " อาทีนะ " นี้เป็นคำเรียกคนยากจน แม้ว่าขันธ์ ( ๕ ) ก็เป็นสิ่งยากจนเหมือนกัน เพราะเหตุนี้ ( โยคีจึงกำหนดรู้ ) โดยความยากจน เพราะเป็นเช่นกับคนยากจน




๒๕. วิปริณามธัมมโต โดยมีความแปรผันไปเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ มีปกติแปรผันไป ๒ ทาง คือ ด้วยชรา ๑ และด้วยมรณะ ๑




๒๖. อสารกโต โดยไม่มีสาระ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ มีความอ่อนแอ และเพราะหักง่ายเหมือนไม้ผุ




๒๗. อฆมูลโต โดยเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะเป็นเหตุแห่งความชั่วร้าย




๒๘. วธกโต โดยเป็นผู้ฆ่า ( ฆาตกร )

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ เป็นผู้ฆ่าความไว้วางใจ เหมือนศัตรูผู้มีหน้าเป็นมิตร




๒๙. วิภวโต โดยปราศจากความเจริญ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ ปราศจากความเจริญ และเพราะให้เกิดความไม่เจริญ




๓๐. สาสวโต โดยมีอาสวะ

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ เป็นฐานไปสู่อาสวะ




๓๑. สังขตโต โดยเป็นของถูกปรุงแต่งไว้

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะเป็นสิ่งที่เหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น




๓๒. มารามิสโต โดยเป็นเหยื่อล่อของมาร

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะเป็นเหยื่อล่อของมัจจุมารและกิเลสมาร




๓๓. ชาติธัมมโต โดยมีความเกิดเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ มีความเกิดเป็นปกติ




๓๔. ชราธัมมโต โดยมีความแก่เป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ มีความแก่เป็นปกติ





๓๕. พยาธิธัมมโต โดยมีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ มีความป่วยเป็นปกติ




๓๖. มรณธัมมโต โดยมีความตายเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ มีความตายเป็นปกติ




๓๗. โสกธัมมโต โดยมีความโศกเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ เป็นเหตุแห่งความโศกเศร้า




๓๘. ปริเทวธัมมโต โดยมีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ เป็นเหตุแห่งความคร่ำครวญ




๓๙. อุปายสธัมมโต โดยมีคับแค้นใจเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ เป็นเหตุแห่งความคับแค้นใจ




๔๐. สังกิเลสิกธัมมโต โดยมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

โดยการกำหนดรู้ลักษณะมีอนิจจะ ( ความไม่เที่ยง ) เพราะ เป็นธรรมที่วิสัย ( หรือ อารมณ์ ) ของสังสกิเลส คือ ตัณหา ทิฏฐิและทุจริตทั้งหลาย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2011, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทานบริสุทธิ์




ทานที่บริสุทธิ์ เป็นการทำทานที่เกิดจากการกระทำที่บริสุทธิ์

โดยสภาวะ คือ เกิดจากจิตที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากแต่อย่างใด เป็นจิตที่มุ่งพระนิพพาน คือ ความดับทุกข์ทั้งปวง



ทานนี้ชื่อว่า ทานบริสุทธิ์ ผลที่ได้รับ คือ ความบริสุทธิ์

โดยสภาวะ คือ ความดับ ที่เป็นผลของเหตุที่ไม่มีการกระทำให้เกิดการเกิดอีกต่อไป



ส่วนทาน ที่ตั้งใจทำโดยจิตที่ยังมีกิเลสเจือปนด้วยอามิสบูชาอยู่ เช่น ทำโดยหวังผลของลาภ ยศ สรรเสริญ ความสุขต่างๆทางกามภพ หรือ มุ่งหวังสิ่งตอบแทนที่ล้วนแต่เป็นเหตุก่อให้เกิด

ซึ่งเป็นการสร้างภพชาติใหม่ให้เกิดขึ้นเนืองๆ ทานนั้น ชื่อว่า ทานไม่บริสุทธิ์ เพราะเจือไปด้วยกิเลส ตัณหา ราคะ ความทะยานอยากต่างๆ


แต่ขึ้นชื่อว่าการให้ทานหรือทำทาน ย่อมสำเร็จโดยขณะที่จิตตั้งมั่นในการทำทานในขณะนั้นๆ

ทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่าจะทำทานด้วยเหตุใดๆก็ตาม ล้วนเกิดจากการตั้งจิตของผู้นั้นทั้งสิ้น



การให้ทาน ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆก็ตาม ล้วนขึ้นชื่อว่า ดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะเกิดจากทรัพย์ที่หามาด้วยความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ก็ตาม เพราะเป็นเหตุให้ ผู้ให้ทานลดความตระหนี่ถี่เหนียวในจิตลงไปได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนผลที่ได้รับ ย่อมได้รับตามสภาวะที่แท้จริง เป็นไปตามจิตที่ทำณขณะนั้นๆ

ไม่ใช่ตามความคาดเดาหรือตามความคิดที่เกิดขึ้นในการให้ค่ากับการทำทานนั้นๆแต่อย่างใด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2011, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ถึงที่สุด



รู้ปัจจุบัน

เช่น ขณะตาเห็น หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส การถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง

มีสติกำหนดรู้อยู่เฉพาะปรมัตถธรรม คือรูปกับนามเท่านั้น ไม่ให้เลยไปถึงบัญญัติ เพราะกิเลสอาศัยบัญญัติเกิด กิเลสอาศัยอารมณ์อดีต อาศัยอารมณ์อนาคตเกิด ไม่อาศัยอารมณ์ปัจจุบันเกิด



ปัจจุบัน

แปลว่า เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือปรากฏในขณะนั้น ผู้ปฏิบัติต้องมีสติรู้ทันในขณะนั้นเช่นกัน

เช่น เวลาเห็นผ้าให้รู้อยู่แค่เห็น ไม่ให้เลยไปถึงผ้า

เพราะผ้าเป็นบัญญัติ สีของผ้าเป็นปรมัตถ์ ให้สติกับจิตรู้อยู่แค่ปรมัตถ์เท่านั้น เวลาได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น
ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกันนี้



รู้รูปนาม


เช่นขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขันธ์ ๕ เกิดแล้ว ขันธ์ ๕ นั่นแหละเป็นรูปนาม

ตัวอย่าง เวลาเห็นนาฬิกา นาฬิกาเป็นรูป ตาเป็นรูป

เห็นนาฬิกางามๆแล้วใจสบาย ความสบายนั้น เป็นเวทนา

จำนาฬิกาได้ว่างาม ความจำได้นั้นเป็นสัญญา

แต่งใจให้เห็นว่างาม เป็นสังขาร

เห็นนาฬิกา ผู้เห็นเป็นวิญญาณ คือจักขุวิญญาณจิต เป็นจิตดวงหนึ่งเกิดทางจักขุทวาร

ตาเห็นรูปครั้งหนึ่งครบขันธ์ ๕ พอดี ย่อขันธ์ ๕ ลงเป็น ๒ คือ รูปคงเป็นรูปคงเป็นรูปไว้ตามเดิม

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๔ ขันธ์นี้ ย่อลงเป็นหนึ่ง เรียกว่า นาม

เมื่อย่อลงมาในแนวปฏิบัติจึงเหลือเพียงรูปกับนามเท่านี้



ปัญญาที่จะรู้ว่า ขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ก็มีเพียง ๒ อย่างเท่านี้ คือมีแต่รูปกับนาม เป็นอย่างนี้ทั่วสากลโลก นี้เป็นสัจธรรมที่จริงแท้ไม่แปรผัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2011, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


บัณฑิตรู้จักกายนี้ว่า เปรียบเหมือนหม้อ



" กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมิทํ จตฺตมิทํ ถเกตฺวา โยเธถ มารํ
ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา "

บัณฑิตรู้จักกายนี้ว่า เปรียบเหมือนหม้อ พึงกั้นจิตไว้ให้ดี เหมือนบุคคลกั้นพระนคร
ฉะนั้น พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา ครั้นแล้วพึงรักษาสนามรบที่ตนได้ชัยชนะนั้นไว้ให้ดี
และอย่าให้ติดอยู่เพียงแค่นี้

คำว่า รู้จักกายนี้

ได้แก่ รู้จักกายด้วยการปฏิบัติ คือ รู้จักกายของเรานี้ อันประกอบด้วยอาการ ๓๒ มี
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ว่าเปรียบเหมือนกันกับหม้อที่เขาปั้นด้วยดิน
จะเป็นหม้อขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ทั้งสุก ทั้งดิบ ทั้งเก่า ทั้งใหม่ ล้วนมีความแตกทำลายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น
ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของคนเรา ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา ล้วนมีความแตกดับด้วยกันทั้งนั้น

โดยใจความแล้วได้แก่ รู้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ผู้ที่จะรู้อย่างนี้ได้ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึงอุทยัพพยญาณเป็นต้นไป

เมื่อถึงญาณนี้แล้วจะรู้เองว่า รูป นาม นี้ ดับไปตรงไหน เมื่อไร ขณะไหน โดยไม่ต้องไปถามใครอีก
" รู้แจ้ง " ชัด ด้วยการปฏิบัติกรรมฐานของตนเอง


คำว่า " กั้นจิตไว้ให้ดี "


ได้แก่ กั้นไว้มิให้กิเลสต่างๆมี โลภ โกรธ หลง เป็นต้น
เข้ามาย่ำยีจิตใจได้ กั้นไว้ด้วยอำนาจวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถ

ละกิเลสอย่างหยาบที่จะล่วงออกมาทางทาง กาย วาจา

ละกิเลสอย่างกลางที่จะล่วงออกมาทางใจคือ นิวรณ์ ๕

ละกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยที่นอนดองอยู่ในขันธสันดานเสียได้ เป็นสมุทเฉจประหาน
หรือนักรบผู้ป้องกันประเทศของตนไว้เป็นอย่างดีไม่ให้ข้าศึกเข้ามายึดครอง หรือทำลายได้ด้วยอาวุธนานาชนิด ฉะนั้น

คำว่า " พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญา "


ปัญญาในที่นี้มีอยู่ ๔ อย่างคือ

๑. สุเมตมยปัญญา ได้แก่ ปัญญาอันเกิดจากการเรียนรู้วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
มีเดินจงกรม นั่งกำหนด เป็นต้น จนมีความเข้าใจได้ดีและทำได้ถูกต้อง

๒.ววัฏฐานปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่เกิดขึ้นในขณะที่ลงมือปฏิบัติ

๓. สัมสนปัญญา ได้แก่ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่มีศรัทธาจริง ตั้งใจปฏิบัติจริงโดยความไม่ประมาท
คือ มีสติกำหนด กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่ตลอดไป เมื่อทันรูปนาม ได้สมาธิดี ปัญญาจะเกิดขึ้นเป็นลำดับๆไป

นับตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญารู้จักแยกรูปนามออกจากกันได้

ปัจจยปริคหญาณ ปัญญารู้จักเหตุ รู้จักปัจจัยของรูปนาม

จนกระทั่งถึงญาณที่ ๑๓ คือโคตรภูญาณ อย่างนี้เรียกว่า สัมมสนปัญญา ปัญญาถึงขั้นนี้ จะรบกับมารได้ จึงจะกันมารกั้นมาร ไม่ให้มารบกวนได้ แต่ยังไม่เด็ดขาด

๔. อภสมยปัญญา ได้แก่ปัญญาที่เกิดขึ้นกับมรรคจิต โดยใจความคือ
มรรคญาณ อันเป็นญาณที่ ๑๔ ต่อจากโคตรภูญาณนั่นเอง


คำว่า " พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญานั้น "

ต้องปฏิบัติถึงญาณนี้ จึงจะสู้รบกันได้อย่างเด็ดขาด เพราะอาวุธคือ ปัญญานั้น ต้องฝึกฝนอบรมมาจนถึงขั้นนี้จึงจะคมกริบและสามารถสู้รบกับมาร คือ กิเลส ได้อย่างไม่มีวันจะกลับมาแพ้ได้


สมเด็จพระจอมไตร ตรัสว่า

โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน

พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา

หมายเอาปัญญาอันเกิดจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง



คำว่า " พึงรักษาสนามรบที่ตนได้ชัยชนะไว้ให้ดี "


หมายความว่า ให้เพียรพยายามปฏิบัติต่อไป อย่าประมาท ต้องหมั่นเจริญยิ่งๆขึ้นไปอย่าให้ขาด พยายามให้ผลสูงๆขึ้นไปโดยลำดับ จนกระทั่งสิ่นอาสวกิเลสถึงอมตนิพพาน



คำว่า " อย่าติดอยู่เพียงแค่นี้ "

หมายความว่า อย่าติดอยู่ อย่าพอใจในสมาธิขั้นต่ำ หรือ ในญาณขั้นต่ำ

เช่น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติไปจนถึงญาณที่ 3 อย่างแก่ เข้าเขตญาณที่ 4 อย่างอ่อน อุปกิเลสจะเกิดขึ้น

อุปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง

มีโอภาส แสงสว่าง

ปีติคือ ความอิ่มใจ มีอยู่ ๕ อย่าง

ปัสสัทธิคือ จิตเจตสิกสงบดี สุขคือ ความสบายมาก ศรัทธาคือ ความเชื่อ ความเลื่อมใสเป็นพิเศษเป็นต้น

บางคนเมื่อมาถึงญาณนี้ นิมิตต่างๆเช่น พระเจดีย์ ต้นไม้ ป่าไม้ ถูเขา แม่น้ำ เป็นต้น จะเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งเหล่นี้เกิดขึ้นมา ผู้ปฏิบัติอย่าพอใจ อย่าติดอยู่ อย่าอยากให้เกิดอีก ต้องใช้สติกำหนดให้หายไป แล้วพยายามปฏิบัติต่อๆไป จนกว่าจะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

อันโรงเรือนเปรียบเสมือนกับสังขาร
ปลูกไว้นานเก่าคร่ำฉล่ำฉลาย
แก่ลงแล้วโคร่งคร่างหนอร่างกาย
ไม่เฉิดฉายเหมือนหนุ่มกระชุ่มกระชวย

ตาก็มัวหัวก็ขาวเป็นคราวคร่ำ
หูก็ซ้ำไม่ได้ยินเอาสิ้นสวย
แรงก็น้อยถอยกำลังนั่งก็งวย
ฟันก็หักไปเสียด้วยไม่ทันตาย

แต่ตัณหาเป็นไฉนถึงไม่แก่
ยังปกแผ่พังพานผึงจึงใจหาย
ถึงสังขารจะแก่ก็แต่กาย
แต่ว่าตายไม่มีคิดถึงรำพึงเลย


สพฺพํ รตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทุกอย่าง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2011, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สโตการี ผู้ทำสติ



กล่าวโดยปริยัติ





บทว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ความว่า


ภิกษุนั้น นั่งอยู่อย่างนี้และตั้งสติไว้มั่นอย่างนี้แล้ว เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า


ท่านอธิบายไว้ว่าเป็น สโตการี ผู้ทำสติ



บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการเป็นเหตุให้ภิกษุนั้นได้ชื่อว่า สโตการี จึงตรัสคำว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต หรือ หายใจออกยาว ดังนี้เป็นต้น

สมจริงดังคำที่ธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาในวิภังค์แห่งปาฐะว่า


โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ

นั้นนั่นแลว่า พระโยคาวจร ย่อมเป็นชื่อว่า สโตการี ด้วยอาการ ๓๒ อย่าง

เมื่อเธอรู้ชัดว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจหายใจออกยาวอยู่ สติย่อมตั้งมั่น เธอผู้นั้นชื่อ สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น

เมื่อเธอรู้ชัดภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งการหายใจเข้ายาวอยู่ สติ ย่อมตั้งมั่น เธอย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น ฯลฯ

เมื่อเธอรู้ชัดว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจรณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจออกยาวอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้พิจรณาเห็นความสลัดทิ้งหายใจเข้าอยู่

สติ ย่อมตั้งมั่น เธอเป็นผู้ชื่อว่า สโตการี ด้วยสตินั้น ด้วยปัญญานั้น ดังนี้





วิธีสร้างสติให้เกิด



กล่าวโดยสภาวะ






คือ การกำหนดรู้ ตามรู้ ตามดู ลงไปในสิ่งที่เกิดการกระทบ ตรงไหนเกิดชัดเจนที่สุดให้กำหนดตรงนั้น แค่ดู แค่รู้ ตรงนั้นไป แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน

อย่าปล่อยให้ผ่านไปโดยการดูเฉยๆ คือ รู้ในการเกิดกระทบนั้น แต่ไม่ไปให้ค่าในสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด กำหนดรู้บ่อยๆ เมื่อกำหนดได้ชัดเจนดี สติย่อมมีมากขึ้น


เมื่อสติมากขึ้น สัมปชัญญะย่อมเกิด


เมื่อมีทั้งสติ และสัมปชัญญะเกิดร่วมกัน สมาธิย่อมเกิด เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

ย่อมรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต การทำงานของขันธ์ 5 ที่เป็นการปรุงแต่ง ย่อมดับ เพราะ มีสติรู้เท่าทันจิต ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยไม่มีการเข้าไปปรุงแต่ง โดยมีตัวกูของกู เข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด


โดยเฉพาะขณะที่เกิดสมาธิ และมีสติ สัมปชัญญะรู้ตัวอย่างต่อเนื่อง มันจะรู้แล้วก็รู้ๆๆๆๆๆๆ เช่น เวทนาเกิด เรากำหนดรู้ดูลงไป จะเห็นการเกิดเวทนาและอาการที่หายไปอย่างต่อเนื่อง

ตรงนี้ถ้าคนรู้จักโยนิโสมนสิการ ( คิดพิจรณา ) เป็น มันจะเกิดปัญญา อย่างน้อยช่วยลดอุทานยึดมั่นถือมั่นลงไปได้ชั่วขณะหนึ่ง

ถ้าสติ สัมปชัญญะและสมาธิดี จะเห็นสภาวะตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา จะไปบังคับให้เกิดหรือไม่เกิดก็ไม่ได้



สำหรับคนที่โยนิโส ( คิดพิจรณา ) ไม่เป็น ก็อาศัยกำหนดรู้ลงไปทุกๆครั้งที่เกิดตั้งแต่หยาบจนมันละเอียดขึ้น สุดท้ายพอมันเต็มที่ มันก็เกิดเป็นวิปัสสนาญาณทันที



จะเห็นการเกิดดับของรูปนาม อย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการกำหนด หรือความคิด มันไม่มีเลย มีแต่ตัวรู้เกิดขึ้นมาล้วนๆ สติอยู่คู่กับจิตตลอดเวลา


หมายเหตุ:-

ตัวรู้ในที่นี้หมายถึง รู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2011, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของปัญญาวิมุตติ


เมื่อตาเห็นรูป … ตากระทบรูป ..เมื่อเกิดผัสสะ หรือการกระทบ การทำงานของอายตนะภายนอกกับภายในจะทำงานร่วมกัน เช่น เมื่อตามองเห็นสิ่งต่างๆ ย่อมมองเห็นเพียงสภาวะภายนอกที่เกิดขึ้น แต่สภาวะภายในที่ซ้อนอยู่ย่อมมองไม่เห็น บัญญัติซ้อนปรมัตถ์

เมื่อเห็นสันตติขาด ฆนะบัญญัติแตกเมื่อไหร่ ย่อมมองเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น เพราะการมองเห็นเช่นนั้นได้ต้องเป็นผู้ที่มีสติ สัมปชัญญะที่ดีมากในระดับหนึ่ง

การที่เห็นตามความเป็นจริงได้ ต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น วิธีการอื่นๆไม่มีทางเห็นได้เลย

เมื่อเราสามารถมองเห็นตามความเป็นจริงได้ การยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ในสิ่งต่างๆย่อมลดน้อยลงไป เห็นสักแต่ว่าเห็น ไม่มีทั้งคน สัตว์ สิ่งของ แต่เป็นเพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง

เมื่อเห็นตามความเป็นจริงมากขึ้น ย่อมเข้าใจในสิ่งต่างๆมากขึ้น ความคิดย่อมดับได้ไวมากขึ้น

ยิ่งถ้าสติ สัมปชัญญะดีมากๆ กระทบปั๊บดับทันที สักแต่ว่าเห็นเท่านั้นเอง ทุกสิ่งมันมีแบบนั้นอยู่แล้ว มันเป็นของมันแบบนั้นอยู่แล้ว มันมีมาตั้งแต่ยังไม่มีอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่เราไม่สามารถรู้ได้เท่าทันเท่านั้นเอง

ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละผู้คน เกิดจากเหตุปัจจัยที่ได้กระทำกันมานั่นเอง …

ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะตามองเห็น หูได้ยินเสียง ฯลฯ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนั้นๆ นั่นคือ สภาวธรรมของแต่ละคนที่เกิดขึ้น


ชีวิตของผู้คนส่วนมากที่เกิดความสุข ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ล้วนเกิดจากการเอาใจเข้าไปข้องเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั่นเอง

การยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่คิดว่าเป็นตัวตน คิดว่าเป็นของตน ยิ่งน้อมใจเชื่อมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการสร้างเหตุปัจจัยใหม่ ซึ่งเป็นทั้งกุศลและอกุศลมากน้อยตามแต่สติ สัมปชัญญะใครจะรู้เท่าทันได้มากกว่ากัน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนีนี่เป็นลักษณะของปัญญาวิมุตติ คือ การเห็นตามความเป็นจริงโดยสภาวะ ไม่ใช่เห็นเพราะน้อมเอา คิดเอาเอง

ผู้คนส่วนมากจะติดกับความคิดของตัวเอง ยึดมั่นในรูปแบบ

ยึดมั่นในบัญญัติการให้ค่าให้ความหมายในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง แต่ขาดความเข้าใจที่แท้จริง เพราะไม่เคยผ่านพบสภาวะที่เห็นตามความเป็นจริงได้

สภาวะที่เห็นตามความเป็นจริงนั้นคือ วิปัสสนา( ไตรลักษณ์ ) นั่นเอง



การดู นี้เป็นการมองเห็นด้วยตาเปล่าแบบปกติ เป็นบัญญัติ

เป็นบัญญัติอย่างไร คือ มองเห็นแค่ภายนอกที่เป็นเปลือกหรือสภาวะบัญญัติที่ซ้อนปรมัตถ์อยู่



ส่วน เห็น เห็นนี้เห็นด้วยจิต เป็นปรมัตถ์ คือเห็นทะลุไปถึงข้างในในสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่า แท้จริงนั้นมันมีอีกสภาวะโดยแท้จริงที่ซ่อนอยู่ ตราบใดที่ยังไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ ย่อมเกิดการปรุงแต่งได้ตลอดเวลา

ผู้คนส่วนมาก มักจะติดกับความคิดของตัวเอง ยิ่งคิดแก้ไข ยิ่งยุ่งอีรุงตุงนัง พันกันยุ่งเหยิงไปหมด นี่แหละเขาถึงเรียกว่า คน เพราะจะคนๆวนๆอยู่อย่างนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ บ่งบอกสภาวะที่แท้จริง



สภาวะบางตัว ถ้าไม่เกิดผัสสะโดยตรง เราไม่อาจจะรู้ได้เลยว่า จริงๆแล้วกิเลสตัวนั้นๆมีมากน้อยแค่ไหน เรารู้โดยสภาวะหรือแค่กดข่มเอาไว้ ยากที่จะคาดเดา นอกจากเจอผัสสะโดยตรง นั่นแหละคือคำตอบที่แท้จริงของตัวสภาวะ

ผัสสะต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วจิตเรากระเพื่อม ล้วนบ่งบอกสภาวะกิเลสต่างๆที่มีอยู่ว่า มีมากน้อยแค่ไหน เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อกดข่มเอาไว้ แต่ทำเพื่อดับที่เหตุ ถ้าไม่มาเรียนที่ตัวต้นเหตุ แล้วจะไปรู้จักกับเหตุของเหตุนั้นๆได้อย่างไร

ไม่ใช่เอาแต่นั่งสมาธิเก็บอารมณ์ ปิดหู ปิดตา ไม่ยอมรับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต ทำแบบนั้นเรียกว่ายังจิตยังมืดบอดมองไม่เห็นสภาวะกิเลสที่แท้จริงในใจของตัวเอง ไม่เรียนหรือจะรู้ ไม่ผิดพลาดแล้วจะรู้จักตัวสภาวะที่แท้จริงได้อย่างไร



การเรียนรู้มีค่าใช้จ่าย


ของฟรีไม่มีในโลก คำๆนี้ใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม เพราะของฟรีไม่มีในโลกจริงๆ การเรียนรู้สภาวะก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่การจ่าย แตกต่างกันที่สภาวะ


การจ่ายทางโลก อาจจะใช้เงิน

แต่ทางธรรม เงินใช้ไม่ได้ เป็นเรื่องของจิต



เป็นเรื่องของการดับที่เหตุ จะดับที่เหตุได้ ต้องมีความผิดพลาดก่อน ทุกๆครั้งที่ผิดพลาด นั่นคือค่าใช้จ่าย

จ่ายทั้งน้ำตา ไม่มีน้ำตาไม่ซาบซึ้ง


ต้องน้ำตาร่วง ถึงจะเข้าใจสภาวะที่แท้จริง มันต้องออกมาจากจิตจริงๆ ไม่ใช่แค่เกิดจากความคิดเท่านั้น


แค่ความคิดวางได้ชั่วคราว

จ่ายด้วยน้ำตา มันจะจำไม่มีวันลืม นี่แหละคือสภาวะที่แท้จริง เพราะมันจะไม่ลืม




แล้วจะจเอสภาวะที่ละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ กิเลสตัวเดิมๆ แต่มีสภาวะที่ละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ



จากน้ำตาตกกับสภาวะหยาบๆ

สภาวะละเอียดมากขึ้น น้ำตาเริ่มน้อยลง เพราะสติเริ่มทันมากขึ้นเรื่อยๆ





เมื่อสติทันมากขึ้น ย่อมรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิตได้ทันมากขึ้นเรื่อยๆ สภาวะย่อมจบลงได้ไวมากขึ้น แล้วจะเอาน้ำตามาจากไหนอีก

แต่เกิดที่จิตแทน ความทุกข์ที่ยีงมีอยู่จากการยึดติด เพียงแต่ไม่ทุกข์จนน้ำตาร่วงแบบสภาวะหยาบๆ


ทุกข์ที่เกิดใหม่ มีแต่ยอมรับมากขึ้น และอยู่กับทุกข์นั้นๆได้ จนกระทั่งไม่ทุกข์กับสภาวะนั้นๆอีกต่อไป จะมีแค่ดู แค่รู้มากขึ้นเรื่อยๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 13:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ลักษณะของปัญญาวิมุตติ

สภาวะที่เห็นตามความเป็นจริงนั้นคือ วิปัสสนา( ไตรลักษณ์ ) นั่นเอง

ส่วน เห็น เห็นนี้เห็นด้วยจิต เป็นปรมัตถ์ คือเห็นทะลุไปถึงข้างในในสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่า แท้จริงนั้นมันมีอีกสภาวะโดยแท้จริงที่ซ่อนอยู่ ตราบใดที่ยังไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ ย่อมเกิดการปรุงแต่งได้ตลอดเวลา


เห็นการเกิดดับของรูปนาม โดยไม่ต้องไปดึงเอาสัญญามากำหนดรู้ โดยไม่ต้องอาศัยความคิด
เห็นด้วยวิปัสสนาญาณ "คิดไม่เห็น จะเห็นก็ต่อเมื่อไม่คิด" ใช่มั๊ยครับคุณน้ำ

:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณครับ

:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
walaiporn เขียน:
ลักษณะของปัญญาวิมุตติ

สภาวะที่เห็นตามความเป็นจริงนั้นคือ วิปัสสนา( ไตรลักษณ์ ) นั่นเอง

ส่วน เห็น เห็นนี้เห็นด้วยจิต เป็นปรมัตถ์ คือเห็นทะลุไปถึงข้างในในสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่า แท้จริงนั้นมันมีอีกสภาวะโดยแท้จริงที่ซ่อนอยู่ ตราบใดที่ยังไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ ย่อมเกิดการปรุงแต่งได้ตลอดเวลา


เห็นการเกิดดับของรูปนาม โดยไม่ต้องไปดึงเอาสัญญามากำหนดรู้ โดยไม่ต้องอาศัยความคิด
เห็นด้วยวิปัสสนาญาณ "คิดไม่เห็น จะเห็นก็ต่อเมื่อไม่คิด" ใช่มั๊ยครับคุณน้ำ

:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณครับ

:b44:





ก่อนจะตอบคำถาม คงต้องขอถามกลับไปปก่อนค่ะ ว่าแท้จริงแล้ว คุณเข้าใจในคำกล่าวที่ว่า

"คิดไม่เห็น จะเห็นก็ต่อเมื่อไม่คิด"


คุณเข้าใจว่าอย่างไรคะ?



...........................................


ขออธิบายเรื่องการเห็นแบบคร่าวๆก่อนนะคะ

การเห็นมีตั้งแต่เห็นแบบหยาบๆ จนกระทั่งละเอียด

การจะเห็นได้ ก็ต้องเริ่มต้นจากการดูมาก่อน

แม้กระทั่งวิปัสสนา จะเป็นวิปัสสนาญาณได้ ก็เริ่มต้นแบบหยาบๆมาก่อน

เหมือน นามรูปปริเฉจญาณ มีสภาวะตั้งแต่หยาบ จนกระทั่งละเอียด

เรียกว่า ทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคน จะเริ่มต้นตั้งแต่สภาวะหยาบๆ จนกระทั่งละเอียด


ยกตัวอย่างให้ฟังสักเรื่อง

เช่น เห็นคนเดินมา อาจจะเป็นคนที่รู้จักหรือไม่รู้จักก็ตาม เมื่อเห็นคนๆนั้น แล้วเห็นกิริยาที่เขาแสดงออกมา ย่อมคาดเดาเอาเองว่า คนๆนั้นจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ตามที่มองเห็น

อันนี้เป็นการเห็นแบบหยาบๆ คือ เห็นแค่เปลือก แล้วคาดเดาเอาเอง

เหตุของการคาดเดา ไม่ว่าจะให้ค่าไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม ล้วนเกิดจากเหตุปัจจัยที่เคยทำมาร่วมกัน

หากเห็นแล้ว แค่ดู ไม่ได้ไปให้ค่าหรือไปรู้สึกกับสิ่งที่มองเห็นหรือดูอยู่ นั่นคือ ไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน



ส่วนคำว่า " ดู " กับ คำว่า " เห็น " ที่ใช้ในเรื่องของปัญญาวิมุตินั้น เพื่อต้องการจะแยกสภาวะให้แตกต่างออกจากกัน อย่างน้อยอันดับแรกคือ แตกต่างที่ตัวหนังสือ และที่ตามมา แตกต่างที่ตัวสภาวะ


ดูด้วยตา เห็นด้วยใจ

จิตเห็นจิต เมื่อสภาวะเริ่มเป็นปรมัตถ์

ต้องอาศัย สติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความคิด



ความคิดมี ๒ สภาวะ


๑. สภาวะบัญญัติ


๒. สภาวะปรมัตถ์




ลักษณะของความคิดที่เป็นบัญญัติ


ทุกๆความคิดที่เกิดขึ้น จะมีตัวเรา ของเราเข้าไปแทรกทุกๆความคิดที่เกิดขึ้น


สภาวะที่แสดงให้เห็นได้ชัด


มีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่คิด ทีถูก มีผิด มีใช่ มีไม่ใช่ ตามความชอบและชังที่เกิดขึ้นในจิต ณ ขณะนั้นๆ


ผลที่ได้รับ

กิเลสเพิ่ม




ลักษณะของความคิดที่เป็นปรมัตถ์


ทุกๆความคิดจะเกิดขึ้นแบบไม่มีที่มาและที่ไป เกิดขึ้นเองโดยไร้ความคิดอื่นๆชี้แนะหรือนำทาง



สภาวะที่แสดงให้เห็นได้ชัด


ลักษณะของความคิดจะไม่มีคำว่าถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ ปราศจากความยินดี ยินร้าย จะแค่รู้



ผลที่ได้รับ

ความคิดที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ล้วนมีแต่เป็นเหตุให้ถ่ายถอนอุปทานที่มีอยู่ กิเลสลดลงไปเรื่อยๆ


สภาวะนี้เรียกว่า วิปัสสนา ( บัญญัติซ้อนปรมัตถ์ ) ยังไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ( ปรมัตถ์ซ้อนปรมัตถ์ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2011, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉาทิฏฐิในเรื่องสมาธิ



ลักษณะของผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิในเรื่องของสมาธิ มี ๒ สภาวะ คือ


๑. ชอบกล่าวเพ่งโทษสมาธิที่มีกำลังน้อย แต่กล่าวสรรเสริญสมาธิที่มีกำลังมาก

๒. ชอบกล่าวเพ่งโทษสมาธิที่มีกำลังน้อย แต่ชอบกล่าวสรรเสริญสมาธิที่มีกำลังมาก



เรื่องของสมาธิ จะเป็นสัมมาทิฏฐิได้ ต้องรู้ทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ตลอดจนรายละเอียดของสภาวะทั้งหมด ซึ่งสามารถนำมาถ่ายทอดให้เป็นรูปธรรมให้เห็นชัดเจนได้ ไม่ใช่นำแค่ตัวบัญญัติมาอธิบาย แต่ไม่สามารถอธิบายในแง่ของสภาวะได้



เฉกเช่นเดียวกับสมถะและวิปัสสนา



ถ้าผู้ใดกล่าวยกย่องสมถะ แต่กล่าวเพ่งโทษวิปัสสนา หรือกล่าวยกย่องวิปัสสนา แต่กล่าวเพ่งโทษสมถะ

ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นสภาวะของผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิในเรื่องของสมาธิ บ่งบอกสภาวะถึงไม่ได้รู้แจ้งเห็นจริงทั้งสมถะและวิปัสสนา หากเห็นตามความเป็นจริงแล้ว จะไม่มีอคติทั้งสมถะและวิปัสสนา



ผู้ใดที่ชอบกล่าวอ้างว่าตนเป็นโน่นเป็นนี่ตามบัญญัติ แต่ยังมีสภาวะมิจฉาทิฏฐิในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ย่อมแสดงว่า ยังไม่ได้แจ้งในมรรค ๘


ฉะนั้นการที่มีสภาวะเช่นนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีสัญญาวิปลาส ซึ่งเกิดจากการให้ค่า การคาดเดาสภาวะที่เกิดขึ้น แต่หาใช่ตามความเป็นจริงไม่


หากเห็นแล้ว ย่อมไม่เพียรสร้างเหตุแห่งการเกิด

เมื่อใดที่ละตัวตนได้ในระดับหนึ่ง เมื่อนั้นย่อมไม่มีอคติต่อทุกๆสภาวะ ต่อทุกๆรูปแบบ ไม่มีการให้ค่าว่าอะไรดีหรือไม่ดี ไม่สุดโต่ง ไม่มีการยึดติดทั้งรูปและอรูป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2011, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะของจิตที่เกิดปัญญา


จิตจะมีสภาวะแจ่มใส เบิกบาน รู้ชัดในกายและจิต และในความคิดที่เกิดขึ้น ความคิดที่เกิดขึ้นจะมีแต่เรื่องราวของสภาวะ ซึ่งแล้วแต่ว่าจิตจะคิดพิจรณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา เกิดเอง เป็นเอง โดยที่จะไปคาดเดาไม่ได้


ลักษณะของผู้ที่รู้เห็นตามความเป็นจริงในระดับหนึ่ง


จะมีลักษณะที่เห็นได้เด่นชัดมากๆ คือ ไม่มากล่าวว่าตัวเองได้อะไร เป็นอะไร เพราะสิ่งที่กล่าวออกมานั้น ล้วนเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ที่อยากมี อยากได้ อยากเป็นที่เกิดขึ้นอยู่ในใจ


สภาวะกิเลสตัวนี้จะมีสภาวะที่ละเอียดมากๆ หากกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิไม่มากพอ ยากที่จะมองเห็นหรือรู้ชัดในสภาวะกิเลสตัวนี้ได้

ต้องอาศัยการเจริญสติในการขัดเกลากิเลสอย่างต่อเนื่อง จึงจะรู้ชัดในสภาวะเหล่านั้นได้ หมั่นเพ่งโทษตัวเอง คอยจับจ้องกิเลสที่เกิดขึ้นในจิต

จะรู้เห็นแบบนี้ได้ ต้องมีกำลังของ สติ สัมปชัญญะและสมาธิที่แนบแน่นมากพอ


ผู้ที่รู้แล้วเห็นแล้วในระดับหนึ่ง จะมุ่งแต่พระนิพพาน คือ ความดับ

ไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่มีการสร้างเหตุแห่งการเกิดอีกต่อไป จึงมีแต่ความดับเพียงฝ่ายเดียว

จะดับเหตุทั้งปวงได้ ต้องดับที่ตัวเอง ต้องเรียนรู้ในตัวเองให้แจ่มแจ้ง ไม่ใช่ไปดับนอกตัว

หากยังมีการให้ค่าว่าดีหรือไม่ดี ล้วนเป็นเหตุสร้างการเกิดขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น

เมื่อมีเกิด ต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล แล้วจะดับได้อย่างไร ในเมื่อยังสร้างเหตุของการเกิดอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร