วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ค. 2025, 20:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
อ้างคำพูด:
เวทนา สัญญา วิญญาณ ...>>> เวทนา สัญญา วิญญาณ(.>>> สังขาร วิญญาณ)


ต้องขอให้ยกพระสูตรมายืนยันอีกครั้งแล้วครับ

คุณ mes
เช่นนั้น คงต้องเขียนให้ถูกอักขระวิธี สินะ

เวทนา,สัญญา และวิญญาณ >>>> เวทนา,สัญญา และวิญญาณ
(ซี่งวิญญาณ >>> ปัญญา(สังขารขันธ์) และวิญญาณ ตามย่อหน้าก่อน ปรากฏในพระสูตร)

เมื่อนำวรรคทั้งสองในพระสูตรมา ร้อยเรียงกัน
ก็จะได้
เวทนา,สัญญา,สังขาร และวิญญาณ

คุณ mes ไปเปิด พจนานุกรม สังขาร วิญญาณ ทำไร :b32:


เช่นนั้นคงไม่เข้่ใจ

เช่นนั้นบอดว่า

สัญญา เวทนา สังขาร เป็นจิตที่ต้องเกิดพร้อมกัน

ผมยกตัวอย่างมาให้ดูว่า

สัญญากับเวทนา น่ะใช่ คือรู้ลึกอย่างไร ก็จำอย่างนั้น

แต่สังขาร ไม่ต้องเกิดพร้อมกับเวทนา หรือ สัญญา

ผมยังจะยังไม่โยงไปญาณ ฌาณ เดี๋ยวจะยุง

ที่เขียนมาในหมู่เดียวกันไม่ได้หมายความว่าเกิดพร้อมกันนี่ :b32:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น

พระไตรปิฏกไม่ใช่อักษรไขว้ หรือปริศนาคำ

การตีความหมายพระไตรปิฏกอย่าง มักง่าย(กราบขออภัยที่ต้องกล่าวเช่นนี้)

จะมาร้อยเรียงคำแล้วบอกว่าเป็นอย่าวนั้นอย่างนี้ไม่ได้

บ้างครั้งต้องวิเคราะห์ บ้างครั้งต้องสังเคราะห์

ถึงกระนั้นถูกผิดยังไม่รู้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ประเด็นการเกิดร่วมเกิดพร้อม ของเจตสิก ยกไว้ก่อนยังอีกยาว

เอาประเด็นหลักที่ว่า จิดไม่เกิดดับ ตามเจตสิก

ประเด็นหลักนี้ก่อน ว่า

จิตและเจตสิก เกิดดับด้วยกัน เพราะความที่ปะปนกัน ไม่อาจแยกจากกัน ตามคำกล่าวของพระสารีบุตรเถระ ใช่ไหม?

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2010, 16:03
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


<<< --->>> :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
คุณ mes ประเด็นการเกิดร่วมเกิดพร้อม ของเจตสิก ยกไว้ก่อนยังอีกยาว

เอาประเด็นหลักที่ว่า จิดไม่เกิดดับ ตามเจตสิก

ประเด็นหลักนี้ก่อน ว่า

จิตและเจตสิก เกิดดับด้วยกัน เพราะความที่ปะปนกัน ไม่อาจแยกจากกัน ตามคำกล่าวของพระสารีบุตรเถระ ใช่ไหม?


เช่นนั้น

คุณควรให้เกียรติผู้ร่วมสนทนา

เคารพในคำสนทนา

อย่าถามนำ(ที่ไม่ใช่เป็นของผู้สมทนาด้วย)

ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ ที่เช่นนั้นถามมาเป็นการกล่าวนำ และนำไปเพื่อเจตนาของเช่นนั้น

ไม่ใช่จุดประสงค์ตามเจตนาของผมเลยจนนิดเดียว

แปลเป็นภาษาง่ายๆคือเช่นนั้นบิดเบือนความคิดเห็นผม

ผมเองไม่ว่าจะสนทนากับใครก็ไม่เคยประพฤติเช่นนี้ครับ :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ผมมักสับสนว่า
เจตสิก เกิด และ ดับ พร้อมจิต เป็นอย่างไร
เดี๋ยวนี้เข้าใจแล้วว่า
จิตมีความหมายคือธรรมชาติของการรู้
เจตสิกประกอบด้ว เวทนา สัญญา สังขาร
เมื่อเกิดความสุข จิตที่รู้ความสุขก็เกิดพร้อมกันจึงรู้ว่าสุข จิตรู้สัญญา จิตรู้สังขาร เป็นคนละส่วนกัน
เมื่อสุขดับคือจิตที่รู้สุขดับ จิตที่รู้สัญญา จิตที่รู้สังขาร ยังคงเดิม ไม่ดับตาม เป็นคยละส่วนกัน
ดังนั้นจิตเกิดดับจึงหมายความถึงเจตสิกตัวใดตัวหนึ่งเกิด-ดับ
มิใช่หมายความถึงจิตดับทั้งหมด



เมื่อคุณ mes สับสน
และ คุณmes ได้สรุปขึ้นมาดังที่ ยกมา

เช่นนั้น ให้ทำการศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา
เมื่อท่านไม่ต้องการสนทนา อีกต่อไป

ก็ไม่จำเป็นต้องสนทนาอีกต่อไป :b1: :b38:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 23:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


คุยกระหนุงกระหนิง งอนกันซะแระ :b32:

ขออนุญาตนะครับ คุณ mes ครับ ผมยังไม่ค่อยชำนาญพระไตรปิฏก
จึงขอยกวงจรแสดงกระบวนจิตของมวลมนุษย์ทั้งปวง โดยวงจรปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕

กระบวนจิตควรดําเนินไปตามขันธ์๕ (ผมเรียกว่า วงจรเล็ก)
อันเป็นสภาวะธรรม(หรือธรรมชาติแท้ๆ)อันไม่ก่ออุปาทานทุกข์หรือทุกข์ทางใจใดๆ
อายตนะภายนอก --> สฬายตนะ(อายตนะภายใน) --> วิญญาณ --> ผัสสะ --> สัญญา(จํา) --> เวทนา --> สัญญา(หมายรู้) --> สังขารขันธ์

กระบวนการปฏิจจสมุปบาท (ผมเรียก วงจรใหญ่)
ดูเองนะครับ
รูปภาพ

ถ้าดูภาพไม่ได้ทั้งหมดให้เข้าไปดูและศึกษารายละเอียดตามลิ้งค์ครับ
http://nkgen.com/9.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
คุยกระหนุงกระหนิง งอนกันซะแระ :b32:

ขออนุญาตนะครับ คุณ mes ครับ ผมยังไม่ค่อยชำนาญพระไตรปิฏก
จึงขอยกวงจรแสดงกระบวนจิตของมวลมนุษย์ทั้งปวง โดยวงจรปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕

กระบวนจิตควรดําเนินไปตามขันธ์๕ (ผมเรียกว่า วงจรเล็ก)
อันเป็นสภาวะธรรม(หรือธรรมชาติแท้ๆ)อันไม่ก่ออุปาทานทุกข์หรือทุกข์ทางใจใดๆ
อายตนะภายนอก --> สฬายตนะ(อายตนะภายใน) --> วิญญาณ --> ผัสสะ --> สัญญา(จํา) --> เวทนา --> สัญญา(หมายรู้) --> สังขารขันธ์

กระบวนการปฏิจจสมุปบาท (ผมเรียก วงจรใหญ่)
ดูเองนะครับ
รูปภาพ

ถ้าดูภาพไม่ได้ทั้งหมดให้เข้าไปดูและศึกษารายละเอียดตามลิ้งค์ครับ
http://nkgen.com/9.htm


ขอบคุณครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
Quote Tipitaka:
เรื่องปัญญากับวิญญาณ
[๔๙๔] ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระสารีบุตรว่าดูกร
ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทรามๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึง
ตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า เป็นบุคคลมีปัญญาทราม ไม่รู้ชัดอะไร ไม่รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลไม่รู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญาทราม.
ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ยินดี อนุโมทนาภาษิต ของท่านพระสารีบุตรว่า ถูกละ ท่านผู้มี
อายุ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลมีปัญญาๆ
ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ จึงตรัสว่าบุคคลมีปัญญา?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคลรู้ชัดๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบุคคล
มีปัญญา รู้ชัดอะไร รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสว่า บุคคลมีปัญญา.
ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วิญญาณๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า วิญญาณ?
สา. ธรรมชาติที่รู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่าวิญญาณ รู้แจ้งอะไร
รู้แจ้งว่า นี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ธรรมชาติย่อมรู้แจ้งๆ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า
วิญญาณ.
ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกันท่านผู้มีอายุ
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่อาจแยก
ออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณ
รู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ผมไม่
อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

ก. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่มีกิจที่จะพึง
ทำต่างกันบ้างหรือไม่?
สา. ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน แต่ปัญญาควร
เจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.
เรื่องเวทนาสัญญาและวิญญาณ
[๔๙๕] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เวทนาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร
หนอ จึงตรัสว่า เวทนา?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ ธรรมชาติที่รู้ๆ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เวทนา
รู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง ธรรมชาติย่อมรู้ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า
เวทนา.
ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สัญญาๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอ
จึงตรัสว่า สัญญา?
สา. ธรรมชาติที่จำๆ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า สัญญา จำอะไร จำสีเขียว
บ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง ธรรมชาติย่อมจำๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สัญญา
ก. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน หรือแยกจากกัน
ท่านผู้มีอายุ อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้หรือไม่?
สา. เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้ เพราะเวทนารู้สิ่งใด สัญญาก็จำสิ่งนั้น
สัญญาจำสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงปะปนกัน ไม่แยกจากกัน
ผมไม่อาจแยกออกแล้ว บัญญัติหน้าที่อันต่างกันได้.

[๔๙๖] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณ (จิตอันสัมปยุตด้วยรูปาวจร-
*ฌานที่ ๔) อันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ พึงรู้สิ่งอะไร?
สา. ดูกรท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณอันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕
พึงรู้อากาสานัญจายตนฌานว่า อากาศหาที่สุดมิได้ พึงรู้วิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณหาที่สุด
มิได้ พึงรู้อากิญจัญญายตนฌานว่า น้อยหนึ่งมิได้มี.
นิพพานที่นี่





อ้างคำพูด:
มิใช่หมายความถึงจิตดับทั้งหมด




ปัญญาสุดท้ายของการตรัสรู้หรือวิชชานั้น

ไม่มีเวทนา สัญญาเกิดร่วมด้วยแน่นอน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอลาจำศีล ๗ วัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไป จุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ข้อนี้ไม่เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ ๖ หมวดนี้
คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่าวิญญาณ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


[๗๖๗] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


๗. จิตตสหภูทุกะ
[๑๕๓๗] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๑๕๓๘] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 13:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ขอลาจำศีล ๗ วัน


อ้าวววว :b6: :b6: โธ่ พี่ท่าน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2011, 14:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
[๑๕๓๘] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และนิพพาน
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิดพร้อมกับจิต


ตรงนี้สิ่ ที่อ่านแล้วรู้สึก :b14: :b14:

เพราะต้องยอมรับว่าเรามีความคิดเห็นว่า นิพพานนั้น คือการดับสูญ
เนื่องจากใจเราคิดอย่างข้อนี้ล่ะ

ไม่รู้ ไม่รู้ แต่พออ่านเจอธรรมหลาย ๆ การตีความ ก็ ... :b23:
ไม่รู้จิ่ ก็แค่คิดไปตามประสา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 20:27
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.antiwimutti.net/forum/index.php?topic=584.0


เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า ทุกวันนี้มีการสอนให้ดูจิตที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งถ้าเราฟังโดยไม่เพ่งพิจารณาให้ดีแล้วเราอาจจะถูกชักจูงให้เห็นด้วย หรือคล้อยตาม และเชื่อไปตามนั้นได้โดยง่ายๆ ทั้งๆสิ่งที่เราฟังมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลเลยและเป็นการขาดเหตุผลอย่างยิ่ง ไม่ใช่เกิดจากการรู้เห็นตามความเป็นจริงจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเลย

โดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เห็นอาการของจิต(จิตสังขาร)ที่เกิด-ดับนั้น จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากจิตของตน หรือจิตของเรา ใช่มั้ยครับ???

เมื่อถูกถามว่าเราในที่นี่คือใคร???
คำตอบที่ได้นั้น มักเป็นคำตอบที่หาเหตุผลไม่ได้เลย เช่น เราก็คือเรา เราคือผู้รู้ ถึงผู้รู้หรือเรา ก็ไม่เที่ยง สุดท้ายจิตผู้รู้หรือเราก็ต้องถูกทำลายทิ้งอยู่ดี ...ฯลฯ...

เป็นคำตอบที่ขาดเหตุผลอย่างยิ่ง พาให้ออกห่างจากความเป็นจริงไปอีกไกลโข ถ้าจิตผู้รู้หรือเรา ถูกทำลายทิ้ง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน จะรู้ได้อย่างไร??? ขัดกับพระพุทธวจนะที่กล่าวไว้ว่า “จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา”

ด้วยมีการสอนว่าอารมณ์เกิด จิตจึงจะเกิด เมื่ออารมณ์ดับ จิตก็ดับตามไปด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเอียง และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการขาดหลักเหตุผลตามความเป็นจริงเอามากๆ นั่นเอง เพราะการถ่ายทอดกรรมหรือการบันทึกกรรมนั้นจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าจิตเกิดดับ

ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ มีธรรมชาติ รู้ รับ จำ คิดนึก ย่อมต้องยืนตัวรู้ในเรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต

เมื่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอบ่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้ ดับไปจากจิต จิตก็รู้ หมายความว่าอารมณ์รู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ และจิตยึดถืออารมณ์เหล่านั้นเข้ามา ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปใช่มั้ย? ...ใช่

เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปตามอารมณ์นั้นๆ แสดงว่าจะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนแล้วใช่มั้ย? ...ใช่

เปรียบจิตคือบ้าน มีช่องทางในการรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด อยู่ ๖ ช่องทาง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายที่เข้ามาในช่องทางเหล่านั้น คือสิ่งที่มาปรุงแต่งบ้าน(จิต) เมื่อไม่มีบ้านและช่องทางรับอารมณ์อยู่ก่อนแล้ว จะมีเครื่องปรุงแต่งบ้านเกิดขึ้นได้อย่างไร???

ฉะนั้นพอสรุปได้ว่า...จะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนจึงจะมีเจตสิกเกิดขึ้นมาในภายหลัง ดังมีพระพุทธวจนะ...(พระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร)....กล่าวไว้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ......(ราคะเกิด)
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ .....(ราคะดับ)
จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ....(โทสะเกิด)
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ....(โทสะดับ)
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ....(โมหะเกิด)
หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ….(โมหะดับ)
^
^
ตามพระพุทธวจนะดังกล่าว ก็เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า
อารมณ์หรือเจตสิก...เกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้...
และอารมณ์หรือเจตสิก...ดับไปจากจิต จิตก็รู้…
จิตมีราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้
จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้อีกเช่นกัน
เราจึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า “ก็รู้”

ถ้าจิตเกิด-ดับตามที่สอนให้เชื่อตามๆกันมานั้น เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้อย่างไรเล่า? เมื่อกำลังฝึกฝนอบรมชำระจิตขณะภาวนาอยู่ และจิตยังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไม่มีทางที่จะชำระให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้หรอกครับ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดเหตุผลเอาอย่างมากๆ

ยังมีการสอนอีกว่าระหว่างที่จิตเกิด-ดับอยู่นั้น มีการถ่ายทอดกรรมให้แก่กันอีกด้วย ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ ขณะที่จิตดวงใหม่เกิดขึ้นนั้น จิตดวงเก่าได้ดับไปแล้ว ขณะจิตดวงเก่าที่กำลังจะดับไป จิตดวงใหม่ก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นมาเลย เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาได้นั้น ต่อเมื่อจิตดวงเก่าต้องดับไป จะมีจิตสองดวงเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้นเอาช่วงเวลาตรงไหนมาถ่ายทอดกรรมให้กันหละครับ

ความหมายคำว่า “เกิด” นั้นหมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แล้ว “เกิด” มีขึ้นมา เราจึงเรียกว่าสิ่งนั้น “เกิด” ส่วนความหมายคำว่า “ดับ” นั้นหมายถึงว่า สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดับหายไป


ยังมีพระพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ชัดๆ ว่า จิตไม่ได้เกิดดับ ที่เกิดและดับไปนั้น คือนิวรณ์ทั้งหลาย ดังนี้

[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ

เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ ณ ภายใน
จิตย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

อนึ่ง กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด
จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว
จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ละได้แล้ว
จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
^
^
พระพุทธวจนะกล่าวไว้ชัดๆ โดยไม่ต้องตีความให้เกิดความเสียหายแด่พระพุทธวจนะเลย
อะไรที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตก็รู้ชัดๆว่า เกิดขึ้นหรือมีอยู่
อะไรที่ดับไปหรือไม่มีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตก็รู้ชัดๆว่า ดับไปหรือไม่มีอยู่
อะไรที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อะไรที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อะไรที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ณ.ภายในจิต ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

การที่จะเชื่ออะไรตามๆ กันมานั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ.ภายในจิตของตน โดยเฉพาะผู้ที่คุยอวดว่าตนเองเป็นนักปฏิบัติกรรมฐานภาวนามาด้วยแล้ว และยังเห็นว่าจิตเกิดดับ ซึ่งเป็นการกล่าวขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ ที่มีมาในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นคำพูดที่ไม่น่าเชื่อถือว่าได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาจริง เพราะขณะที่ลงมือปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น จิตย่อมรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดสายของการปฏิบัติภาวนาอยู่ว่า นิวรณ์ใดบ้างที่เกิดขึ้น(มีอยู่) ณ.ภายในจิต หรือนิวรณ์ใดบ้างที่ดับไป(ไม่มีอยู่) ณ.ภายในจิต แม้ขณะปฏิบัติอยู่นั้น ถีนมิทธะครอบงำ ก็รู้ชัดว่าถีนมิทธะครอบงำอยู่.......


ธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 20:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


samanya เขียน:


ธรรมภูต


คือท่านธรรมภูต
หรือ หยิบยกคำกล่าวมา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร