วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 15:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:

มรรคนั้นคือวิธีการ ไม่ใช่จุดหมาย

ขอขยายความตรงนี้สักหน่อยนะครับ เพราะถ้ามีการเข้าใจไขว้เขว ให้ความสำคัญกับจุดหมายมากกว่าการปฏิบัติไปแล้ว ก็จะผิดทิศผิดทางกันไปได้ :b51: :b46: :b44:

จริงอยู่ที่ว่า จุดหมายอันแท้จริงของการปฏิบัติธรรมได้แก่ การพ้นทุกข์ (นิโรธ) พระพุทธองค์ถึงทรงกำหนดกิจของนิโรธคือ ทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยา) :b8: :b39: :b39:

แต่การจะทำนิโรธให้แจ้งนั้น ในมุมที่เป็นภาคส่วนของการกระทำจริงๆแล้วก็คือ การปฏิบัติตามมรรค พระพุทธองค์ถึงทรงกำหนดกิจของมรรคคือ ทำให้เจริญ (ภาวนา) :b8: :b39: :b39:

และในคำสอนของพระพุทธองค์เอง ปรากฏในเรื่องของรายละเอียดในวิธีปฏิบัติ คือมรรคมีองค์ ๘ มากกว่าในเรื่องของการอธิบายในสภาวะแห่งการสิ้นทุกข์ คือนิโรธ หรือนิพพาน มากมายหลายเท่า :b39: :b44: :b45:

ดังนั้น ในขั้นตอนการปฏิบัติจริงๆสำหรับผู้ที่ยังไม่ถึงฝั่งก็คือ การดำเนินตามมรรค ซึ่งจากที่เคยอธิบายไว้แล้วได้แก่ สมถภาวนา (การฝึกจิตให้สงบจากนิวรณ์) และวิปัสสนาภาวนา (การฝึกจิตให้เกิดปัญญารู้เห็นชอบตามธรรมชาติที่เป็นจริง) โดยที่อย่าไปจดจ่อกับตัวจุดหมาย หรือให้ความสำคัญกับนิโรธมากเกินกว่ามรรค เพราะผลย่อมเกิดแต่เหตุ :b46: :b39: :b46:

การคาดหวังเอาใจไปจดจ่อกับผลโดยไม่ปฏิบัติที่ตัวเหตุ ไม่สามารถทำให้ผลปรากฏขึ้นได้ แถมยังจะเป็นตัวขัดขวางการเกิดขึ้นของผลเสียอีก :b1: :b51: :b39: :b51:

เหมือนกับการลอยคออยู่กลางทะเลนะครับ เมื่อเห็นฝั่งและจะขึ้นฝั่งได้นั้น หน้าที่หลักคือต้องจดจ่อกับเส้นทางและการว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง โดยใช้ความพยายาม, การระลึกและรู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน จะต้องว่ายอย่างไร หลบโขดหินหรือรอจังหวะตามลูกคลื่นอย่างไร ฯลฯ (อาตาปี สัมปชาโน สติมา) ถึงจะขึ้นฝั่งให้ถึงจุดหมายได้ :b38: :b37: :b39:

และเมื่อขึ้นฝั่งถึงจุดหมายได้โดยสมบูรณ์แล้ว คราวนี้ การว่ายน้ำเพื่อพยายามขึ้นฝั่ง (มรรค ที่เป็นไปเพื่อนิโรธ) ก็ไม่จำเป็นอีก การว่ายน้ำ (มรรค) จะเป็นแค่การว่ายน้ำเล่นเพื่อการพักผ่อนออกกำลังกายให้มีสุขภาพดีเท่านั้น :b39: :b39: :b39:

ดังนั้น ถ้ายังขึ้นฝั่งไม่ได้ ก็ยังต้องโฟกัสไปที่เส้นทางและการว่ายน้ำอยู่นะครับ อย่าหยุดว่ายแล้วมองแต่ฝั่งอย่างเดียว นั่นคือ อย่าให้ความสำคัญกับจุดหมายมากกว่าการปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดหมาย เพราะผลเกิดแต่เหตุ ต้องทำที่เหตุจึงจะได้ผล ถึงจะถูกต้องนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มากล่าวถึงข้อธรรมในภาคปฏิบัติกันต่อ :b1: :b48: :b39: :b48:

ขอเพิ่มเติมรายละเอียดอีกเล็กน้อยซึ่งเป็นข้อควรระวังของการคิดในทางกุศล (กุศลวิตก) สำหรับเตือนผู้ปฏิบัติไม่ให้ออกนอกกรอบของปัญญานะครับ :b1: :b46: :b46:

การฝึกคิด หรือปฏิบัติในทางกุศลวิตกตามที่ยกตัวอย่างมานั้น ถ้าปฏิบัติโดยไม่ประกอบด้วยปัญญา เป้าหมายหรือสมบัติที่จะเกิดขึ้นภายในจิตจากกุศลวิตก (ได้แก่ การลดทอนกิเลสกาม ระงับความพยาบาทคิดเบียดเบียน) อาจจะกลายเป็นวิบัติไปได้ :b46: :b51: :b53:

เช่น ความมีเมตตา ต้องการให้ผู้อื่นเป็นสุข ถ้ามีปัญญาเข้ามาประกบแล้ว ต้องให้ได้ตามผลคือระงับพยาบาทลดการเบียดเบียน ซึ่งเป็นสมบัติของเมตตา (พฺยาปาทุปปสโม เอติสฺสา สมฺปตฺติ) แต่ถ้าไม่มีปัญญาเข้ามาประกบแล้ว เมตตาอาจจะล้นเกินจนเกิดเป็นสเน่หา ราคะ ลำเอียง หรือช่วยเหลือกันในทางที่ผิด ซึ่งเป็นวิบัติของเมตตา (สิเนหสมฺภโว วิปตฺติ) :b38: :b37: :b39:

หรือความกรุณา สงสาร ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ต้องได้ตามผลคือระงับพยาบาทลดการเบียดเบียน ไม่ให้สงสารล้นเกินจนใจ “หลง” ไปเป็นทุกข์เพราะความสงสารนั้นเอง แทนที่จะลดการเบียนเบียนกลับกลายเป็นการเพิ่มการเบียดเบียน (ตน) ไปเสีย :b1: :b45: :b46: :b51:

หรือความมีมุทิตาจิต ยินดีกับผู้อื่น ต้องได้ตามผลคือระงับอิจฉาพยาบาท (อรติ) ลดการเบียดเบียน ไม่ให้ล้นเกินจนกลายเป็นการแสดงความยินดีด้วยการชนแก้วเฉลิมฉลองตามธรรมเนียมที่คลาดเคลื่อนไปของชาวไทยส่วนมากในยุคปัจจุบัน (ซึ่งแม้แต่งานบวชก็ยังไม่วายชวนพ่อนาคชนแก้วจนเมาแอ่น) :b40: :b45: :b49:

หรือการมีอุเบกขา วางใจเป็นกลาง ต้องประกอบไปด้วยปัญญาให้ได้ตามผลคือ ระงับทั้งความพอใจยินดี (ราคะ/อภิชฌา) ตัวเบาตัวลอยเมื่อเขาซาบซึ้งใจสรรเสริญในความดีมีเมตตากรุณามุทิตาของเรา และระงับความไม่พอใจ น้อยใจ ขัดเคือง (ปฏิฆะ/โทมนัส) เมื่อเขามองไม่เห็นความดีมีเมตตากรุณามุทิตาของเราเลย โดยในส่วนที่เป็นวิบัติคืออุเบกขาผิดทาง การวางใจเป็นกลางก็จะกลายพันธุ์จนกลายเป็นการปล่อยว่างวางเฉย เฉยเมยเฉยเมินไม่ทำอะไรไป (อัญญาณุเบกขา) :b49: :b50: :b49:

หรือการเจริญอสุภะ ต้องประกอบด้วยปัญญาเพื่อระงับกามราคะ โดยระวังไม่ให้หลงออกนอกทางจนเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต คิดทอดทิ้งทุกอย่างให้ครอบครัวและตัวเองเดือดร้อน หรือถึงกับฆ่าตัวตายเหมือนภิกษุกลุ่มหนึ่งในพุทธกาล (เวสาลีสูตร ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=19&A=7794)

หรือการบริจาคทำบุญทำทาน ต้องประกอบไปด้วยปัญญาเพื่อระงับโลภะราคะในการตอบสนองแต่ความต้องการของตน ให้ลดความเห็นแก่ตัวลง ลดการเบียดเบียน ขยายความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่นและสัตว์โลก โดยตั้งอยู่บนความพอเพียงพอดีไม่ล้นเกินจนเบียดเบียนตนเอง ครอบครัว และผู้อื่นให้เดือดร้อนขัดสน หรือถึงกับเป็นหนี้เป็นสินเพื่อมาทำบุญทำทานกันนะครับ :b46: :b48: :b47:

ขออนุญาตมาต่อกันคราวหน้าครับ :b1: :b39: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 12:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
วิสุทธิปาละ เขียน:

มรรคนั้นคือวิธีการ ไม่ใช่จุดหมาย

ขอขยายความตรงนี้สักหน่อยนะครับ เพราะถ้ามีการเข้าใจไขว้เขว ให้ความสำคัญกับจุดหมายมากกว่าการปฏิบัติไปแล้ว ก็จะผิดทิศผิดทางกันไปได้ :b51: :b46: :b44:

จริงอยู่ที่ว่า จุดหมายอันแท้จริงของการปฏิบัติธรรมได้แก่ การพ้นทุกข์ (นิโรธ) พระพุทธองค์ถึงทรงกำหนดกิจของนิโรธคือ ทำให้แจ้ง (สัจฉิกิริยา) :b8: :b39: :b39:

แต่การจะทำนิโรธให้แจ้งนั้น ในมุมที่เป็นภาคส่วนของการกระทำจริงๆแล้วก็คือ การปฏิบัติตามมรรค พระพุทธองค์ถึงทรงกำหนดกิจของมรรคคือ ทำให้เจริญ (ภาวนา) :b8: :b39: :b39:

และในคำสอนของพระพุทธองค์เอง ปรากฏในเรื่องของรายละเอียดในวิธีปฏิบัติ คือมรรคมีองค์ ๘ มากกว่าในเรื่องของการอธิบายในสภาวะแห่งการสิ้นทุกข์ คือนิโรธ หรือนิพพาน มากมายหลายเท่า :b39: :b44: :b45:

ดังนั้น ในขั้นตอนการปฏิบัติจริงๆสำหรับผู้ที่ยังไม่ถึงฝั่งก็คือ การดำเนินตามมรรค ซึ่งจากที่เคยอธิบายไว้แล้วได้แก่ สมถภาวนา (การฝึกจิตให้สงบจากนิวรณ์) และวิปัสสนาภาวนา (การฝึกจิตให้เกิดปัญญารู้เห็นชอบตามธรรมชาติที่เป็นจริง) โดยที่อย่าไปจดจ่อกับตัวจุดหมาย หรือให้ความสำคัญกับนิโรธมากเกินกว่ามรรค เพราะผลย่อมเกิดแต่เหตุ :b46: :b39: :b46:

การคาดหวังเอาใจไปจดจ่อกับผลโดยไม่ปฏิบัติที่ตัวเหตุ ไม่สามารถทำให้ผลปรากฏขึ้นได้ แถมยังจะเป็นตัวขัดขวางการเกิดขึ้นของผลเสียอีก :b1: :b51: :b39: :b51:

เหมือนกับการลอยคออยู่กลางทะเลนะครับ เมื่อเห็นฝั่งและจะขึ้นฝั่งได้นั้น หน้าที่หลักคือต้องจดจ่อกับเส้นทางและการว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง โดยใช้ความพยายาม, การระลึกและรู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน จะต้องว่ายอย่างไร หลบโขดหินหรือรอจังหวะตามลูกคลื่นอย่างไร ฯลฯ (อาตาปี สัมปชาโน สติมา) ถึงจะขึ้นฝั่งให้ถึงจุดหมายได้ :b38: :b37: :b39:

และเมื่อขึ้นฝั่งถึงจุดหมายได้โดยสมบูรณ์แล้ว คราวนี้ การว่ายน้ำเพื่อพยายามขึ้นฝั่ง (มรรค ที่เป็นไปเพื่อนิโรธ) ก็ไม่จำเป็นอีก การว่ายน้ำ (มรรค) จะเป็นแค่การว่ายน้ำเล่นเพื่อการพักผ่อนออกกำลังกายให้มีสุขภาพดีเท่านั้น :b39: :b39: :b39:

ดังนั้น ถ้ายังขึ้นฝั่งไม่ได้ ก็ยังต้องโฟกัสไปที่เส้นทางและการว่ายน้ำอยู่นะครับ อย่าหยุดว่ายแล้วมองแต่ฝั่งอย่างเดียว นั่นคือ อย่าให้ความสำคัญกับจุดหมายมากกว่าการปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดหมาย เพราะผลเกิดแต่เหตุ ต้องทำที่เหตุจึงจะได้ผล ถึงจะถูกต้องนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


:b8: อนุโมทนา ครับ :b12: :b17: :b4: :b20: :b53: :b39:


วิสุทธิปาละ เขียน:
ดังนั้น ในขั้นตอนการปฏิบัติจริงๆสำหรับผู้ที่ยังไม่ถึงฝั่งก็คือ การดำเนินตามมรรค ซึ่งจากที่เคยอธิบายไว้แล้วได้แก่ สมถภาวนา (การฝึกจิตให้สงบจากนิวรณ์) และวิปัสสนาภาวนา (การฝึกจิตให้เกิดปัญญารู้เห็นชอบตามธรรมชาติที่เป็นจริง) โดยที่อย่าไปจดจ่อกับตัวจุดหมาย หรือให้ความสำคัญกับนิโรธมากเกินกว่ามรรค เพราะผลย่อมเกิดแต่เหตุ :b46: :b39: :b46:

การคาดหวังเอาใจไปจดจ่อกับผลโดยไม่ปฏิบัติที่ตัวเหตุ ไม่สามารถทำให้ผลปรากฏขึ้นได้ แถมยังจะเป็นตัวขัดขวางการเกิดขึ้นของผลเสียอีก :b1: :b51: :b39: :b51:

ดังนั้น ถ้ายังขึ้นฝั่งไม่ได้ ก็ยังต้องโฟกัสไปที่เส้นทางและการว่ายน้ำอยู่นะครับ อย่าหยุดว่ายแล้วมองแต่ฝั่งอย่างเดียว นั่นคือ อย่าให้ความสำคัญกับจุดหมายมากกว่าการปฏิบัติเพื่อให้ถึงจุดหมาย เพราะผลเกิดแต่เหตุ ต้องทำที่เหตุจึงจะได้ผล ถึงจะถูกต้องนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


:b8: สาธุ กล่าวได้งดงามดี ครับ :b4: :b53: :b39: :b51:



วิสุทธิปาละ เขียน:

และเมื่อขึ้นฝั่งถึงจุดหมายได้โดยสมบูรณ์แล้ว คราวนี้ การว่ายน้ำเพื่อพยายามขึ้นฝั่ง (มรรค ที่เป็นไปเพื่อนิโรธ) ก็ไม่จำเป็นอีก การว่ายน้ำ (มรรค) จะเป็นแค่การว่ายน้ำเล่นเพื่อการพักผ่อนออกกำลังกายให้มีสุขภาพดีเท่านั้น :b39: :b39: :b39:


พระพุทธภาษิต :
"อานาปานสติ ภาวิตา พหุลีกตา จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปูเรนฺติ ;
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์.

สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา โพชฌงฺเค ปริปูเรนฺติ ;
สติปัฏฐาน อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์.


โพชฌงฺคา ภาวิตา พหุลีกตา วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปูเรนฺติ ;
โพชฌงค์เจ็ด อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้สมบูรณ์"

ขอคัดลอกคำเทศนาของหลวงพ่อพุทธทาสมาแปะไว้นะครับ
ท่านกล่าวว่า "ถือบังเหียนไว้เฉยๆ"


สติปัฏฐานสี่ ทำให้เกิดโพชฌงค์เจ็ด ได้อย่างไร
ที่นี้ เมื่อสติปัฏฐานสมบูรณ์แล้ว โพชฌงค์จะสมบูรณ์ได้อย่างไร ผู้ที่เคยเรียนนักธรรมมาแล้ว ก็ตอบได้ทันทีว่า สติอยู่ที่ไหน ธัมมวิจยะอยู่ที่ไหน : ในเรื่อง “สติสัมโพชฌงค์” นี้ มันก็เรียกอยู่แล้วว่า อานาปานสติ ทั้ง 16 ขั้นนั่นแหละเป็น “สติ” มันจึงเป็นสติอยู่แล้ว กำหนดของจริงอยู่แล้ว.

ทีนี้ “ธัมมวิจยะ” อยู่ที่ไหน สอดส่องธรรมอันนี้ ก็อยู่ที่ปรากฏชัดตั้งแต่อานาปานสติขั้นที่ 3 ไปจนตลอดเลย ธัมมวิจยะจะเริ่มปรากฏตัวตั้งแต่ขั้นที่ 3 และจะแรงขึ้น ๆ จนตลอด และมาสมบูรณ์ที่สุดก็ตรงที่อนิจจานุปัสสี เป็นต้น.

“วิริยสัมโพชฌงค์” อยู่ที่ไหน เกือบไม่ต้องบอก เพราะว่าถ้ามีการทำมาขนาดครบทั้ง 16 ขั้นอย่างนี้แล้ว ย่อมเห็นได้ว่ามีวิริยะอย่างเต็มที่อยู่ในตัว. ส่วน “ปีติสัมโพชฌงค์” นั้น จะหมายเอาปีติขั้นที่ 5 ของการทำอานาปานสตินั้นก็ได้ แต่ว่าควรจะถือว่าปีตินี้ มีอยู่ทุกขั้นทุกตอน ที่เรารับความสำเร็จในการปฏิบัติผ่านมาได้.

ส่วน “ปัสสัทะสัมโพชฌงค์” ความสงบรำงับนั้น เราก็จะเห็นว่าในขั้นแห่งการปฏิบัติอานาปานสตินั้น มีคำว่า “ปัสสัมภยัง” – ปัสสัมภยังตั้งหลายหน หายใจเข้าก็ปัสสัมภยัง หายใจออก ก็ปัสสัมภยัง นั่นก็คือ “ปัสสัทธิ” นั่นเอง.

ส่วนเรื่อง “สมาธิสัมโพชฌงค์” นั้น กล่าวได้ว่ามีตลอดเวลาเช่นเดียวกับศีล ก็ถือว่ามีแล้วตลอดเวลา เพราะว่าการสำรวม หรือบังคับตัวเองให้ประพฤติอย่างนี้อย่างนั้น เรียกว่า “ศีล” มีความสงบรำงับอย่างไรอยู่เรียกว่า “สมาธิ” และปัญญาก็มีอยู่ทุกขั้นที่เป็นการพิจารณา ดังนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ จึงมีอยู่อย่างสมบูรณ์.

ทีนี้ “อุเบกขาสัมโพชฌงค์” หมายความว่า “คุมไว้เฉยอยู่” นี้ก็คือ “การรักษาทุกๆ ขั้นให้ถูกต้องไว้” ให้สิ่งต่างๆ มันเป็นไปตามอัตโนมัติ หรือตามธรรมชาติของมันเอง.

อุเบกขาในที่นี้อย่าไปถือว่าเป็นอุเบกขาเวทนา มันผิดกันลิบลับ อุเบกขาในโพชฌงค์นี้ อย่าให้เป็นอุเบกขาเวทนา หรืออทุกขมสุขอะไรทำนองนั้น หรืออย่าเล็งเอาอุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งทำให้เกิดขึ้นได้ในอานาปานสติขั้นที่สี่ แต่มันเป็นอุเบกขาชนิดที่เป็นการคุมการปฏิบัติที่เข้ารูปกันดีแล้ว เฉยอยู่ ให้ภาวนางอกงามไปเอง ที่เปรียบเหมือนกะว่าเมื่อรถกับม้าเข้ารูปเข้ารอยกันดีกับถนนแล้วเราก็เพียงแต่ถือบังเหียนเฉย ๆ เท่านั้น ไม่ต้องทำอะไร ม้าก็พาวิ่งไปเอง ถึงปลายทางโดยเรียบร้อย ลักษณะอย่างนั้น เรียกว่า “อุเบกขาในโพชฌงค์” เราไม่ต้องปลุกปล้ำอย่างยากลำบากอะไร เพียงถือเชือกไว้เฉยๆ ม้ากับรถ กับถนน ก็ทำเรื่องราวของมันไปได้ คือ ม้า รถ วิ่งไปได้จนกว่าจะถึงที่ที่จะต้องไปรู้สึก หรือที่ที่ต้องไปสนใจกันอีกทีหนึ่งต่างหาก.

ฉะนั้นอุเบกขาในที่นี้ แปลว่า “เข้าไปเพ่งเฉยอยู่ คือ ปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องของมัน เพียงแต่ดูเฉย ๆ เท่านั้น มันก็มีอยู่ทุกขั้นทุกตอนที่จะต้องปล่อยให้ความถูกต้องของการปฏิบัติ ได้เป็นไป เหมือนกะเราปลูกต้นไม้ เราดูความที่มันงอกงามเจริญไป เราไปบังคับมันไม่ได้ ฉะนั้นจึงว่าโพชฌงค์เจ็ดสมบูรณ์. ข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคนั้น กล่าวในทำนองเดียวกันนี้ แยกชัดละเอียดทุกขั้น ซึ่งมากเกินความจำเป็น เรากล่าวถึงเพียงเท่านี้ก็พอ.

(ลอกมาจากหลักปฏิบัติอานาปานสติสูตร หลวงพ่อพุทธทาส)

:b8: :b8: :b8: :b39: :b51: :b53: :b38:


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 12:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48:

เผื่อเป็นประโยชน์ครับ

สุญญตวรรค
๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
โรหิตัสสสูตรที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
สารบัญ พระสูตรที่ว่าด้วยสุญญตา และการปฏิบัติในขั้นต่างๆ
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... x-page.htm

อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์ โดย พุทธทาสภิกขุ
http://sites.google.com/site/smartdhamm ... uddhadhasa

:b44:


แก้ไขล่าสุดโดย narapan เมื่อ 16 เม.ย. 2011, 13:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร


ตอบ ก็ต้องเพียรเพ่งอยู่ ตามพระพุทธองค์


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2011, 17:22
โพสต์: 350

สิ่งที่ชื่นชอบ: พุทธธรรม,คู่มือมนุษย์
อายุ: 0
ที่อยู่: สิริชยรณํคาราเม บ้านงอบ ต.งอบ อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b42: ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ มีเหตุและปัจจัยร่วมกัน เมื่อมีสิ่งหนึ่ง ย่อมมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นนั่นเทียว :b42: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ตถาตา มันเป็นเช่นนั้นเอง


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 16:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
อ้างคำพูด:
ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร


ตอบ ก็ต้องเพียรเพ่งอยู่ ตามพระพุทธองค์



:b8: อนุโมทนาครับ ท่านเข็มทิศ :b12:

:b38: :b44: :b51:


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 17:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: :b44:

หลับอยุ่ เขียน:
เหตุไฉน พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่ง พระโมคัลลานะ ให้ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นใน
ระดับฌาณต่างๆ

Quote Tipitaka:
โมคคัลลานสังยุตต์


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๘๔๖ - ๗๑๘๓. หน้าที่ ๒๙๘ - ๓๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


ตัวอย่าง....

Quote Tipitaka:
[๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดย
ประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญา
นาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อ
เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้ง
ซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์
แล้วได้ ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานา
สัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัย
ต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน
เสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด
คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล
เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ


หลับอยุ่ เขียน:
กลาง หยุดนิ่งตรงไหน แล้วอะไรจะผุดขึ้นตรงไหน


หลับอยุ่ เขียน:
อะไรเป็นเบื้องต้น เป็นท่ามกลาง เป็นที่สุดแห่ง ปฐมฌาณ ทุคิยะฌาณ ๆลๆ จนถึงอรหัตมรรค ฯ


ให้สังเกตุดูที่ลักษณะ3 เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ในแต่ละขั้นๆ

Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0


หลับอยุ่ เขียน:
เหตุไฉน พระพุทธองค์จึงทรงรับสั่ง พระโมคัลลานะ ให้ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นใน
ระดับฌาณต่างๆ


:b8: อนุโมทนาครับ ท่านหลับอยู่
น่าคิดครับ แต่ท่านวิสุทธิปาละ บอกว่าคิดแล้วจะไม่รู้ แต่จะรู้ได้โดยไม่ต้องคิด :b12: :b12: :b12:


Quote Tipitaka:
โมคคัลลานสังยุตต์

[๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌาน
เป็นไฉนหนอ
เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า
สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน


เราก็เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน
ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า
โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน

จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน
จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน


สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว
ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา
ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๖๙๓๙ - ๖๙๕๓. หน้าที่ ๓๐๑ - ๓๐๒.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0

พระอุปสีวะ
ท่านพระอุปสีวะ เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยา ต่อมาพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงออกบวชเป็นชฏิล ประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และเมืองอาฬกะต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ อุปสีวมาณพได้ออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย และเป็น ๑ ในจำนวนมาณพ ๑๖ คนที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา

ท่านได้ทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นได้รับพระพุทธานุญาตแล้ว จึงได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่หก

อุปสีวะ : ลำพังข้าพระองค์ผู้เดียวไม่ได้อาศัยอะไร และไม่อาจข้ามห้วงทะเลใหญ่ คือ กิเลสได้ ขอพระองค์ตรัสบอกอารมณ์ที่หน่วงเหนี่ยว ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าจะพึงอาศัยข้ามห้วงนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด

พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงเป็นผู้มีสติเพ่งอากิญจัญญายตนฌานอาศัยอารมณ์ว่าไม่มี ๆ ดังนี้ ข้ามห้วงทะเลใหญ่เถิด ท่านจงละกามทั้งหลายเสีย เป็นคนหมดความสงสัย เห็นความหมดไปแห่งความทะยานอยากได้ชัดเจน ทั้งกลางวัน กลางคืนเถิด

อุปสีวะ : ผู้ใดปราศจากความกำหนัดในกามทั้งปวงแล้วตัดฌานอื่นได้แล้วอาศัยอากิญจัญญายตนฌาน คือ ความเพ่งใจว่า ไม่มีอะไร เป็นอารมณ์น้อมใจไปแล้วในอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งเป็นธรรมที่เปลื้องสัญญาอย่างประเสริฐสุด ผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้นไม่มีเสื่อมบ้าง หรือ ?

พระบรมศาสดา : ผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อมเลย

อุปสีวะ : ถ้าผู้นั้นจะตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้นไม่มีเสื่อม สิ้นไปเขาจะเป็นคนยั่งยืนอยู่ในอากิญจัญญายตนฌานนั้น หรือ จะดับขันธนิพพานวิญญาณของคนเช่นนั้นจะเป็นฉันใด ?

พระบรมศาสดา : เปลวไฟอันกำลังลมเป่าแล้วดับไป ไม่ถึงความนับว่าได้ไปแล้วข้างทิศไหน ฉันใด ท่านผู้รู้พ้นไปแล้วจากกองนามรูป ย่อมดับไม่มีเหลือไม่ต้องไปเกิดเป็นอะไรอีก ฉันนั้น

อุปสีวะ : ท่านผู้นั้นดับไปแล้ว หรือเป็นเพียงแต่ไม่มีตัว หรือจะเป็นผู้ตั้งอยู่ยั่งยืน หาอันตรายมิได้ ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ เพราะว่าธรรมนั้น พระองค์ได้ทรงทราบแล้ว

พระบรมศาสดา : ผู้ที่ดับขันธปรินิพพานแล้วมิได้มีกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอีกต่อไป เพราะฉะนั้น ประมาณแห่งเบญจขันธ์ของผู้นั้นไม่มีอีก เมื่อธรรมทั้งหลาย (มีขันธ์เป็นต้น) อันผู้นั้นขจัดได้หมดแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวถึงว่าผู้นั้นจะไปเกิดเป็นอะไรอีก

ครั้นพระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาที่อุปสีวมาณพทูลถามแล้ว ในที่สุดแห่งการแก้ปัญหา อุปสีวมาณพ ก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล หลังจากฟังการพยากรณ์ปัญหาทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยแล้ว อุปสีวมาณพพร้อมกับมาณพอีกสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วย วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระอุปสีวะนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้ช่วยทำกิจพระพุทธศาสนา ตามสมควรแก่กำลังความสามารถ ท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=205.0

:b8: :b8: :b8:
:b42: :b39: :b44:


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48:


แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 07:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านวิสุทธิปาละ บอกว่าคิดแล้วจะไม่รู้ แต่จะรู้ได้โดยไม่ต้องคิด

ถ้าจะให้ครบ ต้องต่อด้วยว่า “แต่ต้องอาศัยคิด” ด้วยนะครับ :b1: :b39: :b39:

และมิอาจเอื้อมกับข้อความ “วิสุทธิปาละ บอกว่า” เพราะต้นรากจริงๆแล้ว มาจากคำเทศน์ขององค์หลวงปู่ดูลย์ครับ ซึ่งวิสุทธิปาละแค่พยายามช่วยขยายความจากประสบการณ์ปฏิบัติว่า ในขณะที่คิด (โดยเฉพาะการ “หลง” คิด หรือการคิดฟุ้งปรุงแต่งที่มีโมหะยืนพื้น ไม่ประกอบไปด้วยสติ) นั้น จะไม่มีการ “รู้” อย่างเป็นกลาง ถ้าต้องการรู้อย่างเป็นกลาง ต้องหยุดการคิดการฟุ้งเสียก่อน :b38: :b37: :b39:

แต่ที่ต้องอาศัยคิดด้วย ก็เพราะว่า :b46: :b39: :b46:

(๑) เพื่อให้มีการเปรียบเทียบระหว่างคิด (โดยเฉพาะคิดฟุ้งปรุงแต่ง) กับหยุดคิด ว่า ณ.ขณะที่ความคิดความฟุ้ง “หยุด” ด้วยการใช้สติ และมีสติรู้ในการ “หยุด” ของความคิดความฟุ้ง เสี้ยววินาทีแรกที่รู้โดยปราศจากความฟุ้งนั้น คือการมีสติ “รู้” อย่างเป็นกลางที่ถูกต้อง :b38: :b37: :b39:

(๒) กรณีการ “คิด” ที่ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะ (กุศลวิตก) การ “รู้” บางอย่าง จะต้องนำด้วยการ “คิด” เสียก่อน :b46: :b45: :b48:

เช่นคำอธิบายในข้อหนึ่งนั้น จะปฏิบัติได้ก็ต้องผ่านการอ่านการฟังให้เกิดสุตามยปัญญา แล้วคิดตามด้วยสติสัมปชัญญะจนเกิดจินตามยปัญญา ถึงจะนำไปปฏิบัติจน “รู้” ได้อย่างถูกต้อง เป็นภาวนามยปัญญา :b1: :b51: :b53: :b51:


โพสต์ เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรือการคิดหาเหตุผล ตามที่ได้เคยอธิบายแล้วว่า ในทางพุทธธรรมกับในทางวิทยาศาสตร์นั้น มีขบวนการเรียนรู้ที่คล้ายกัน คือเริ่มจากการอ่านการฟัง แล้วนำมา “คิด” ตั้งสมมติฐานหาเหตุและผลที่ “ควร” จะเป็น :b1: :b46: :b39: :b46:

จากนั้น จึงต่อด้วยการพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติจริง อาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยการใช้สติสมาธิเข้าไปสังเกตเพื่อให้ “รู้” จน “รู้แจ้ง” ถึงเหตุและผล “ที่แท้จริง” ในขบวนการของธรรมชาตินั้นๆ :b1: :b46: :b51: :b53:

และจากนั้น ถึงจะ “รู้” ตามได้อีกว่า สมมติฐานในเหตุและผลที่มาจากการ “คิด” นั้น ถูกหรือผิด ตรงกับเหตุและผลที่แท้จริงของธรรมชาติที่ผ่านการสังเกตจน “รู้” และ “รู้แจ้ง” นั้นหรือไม่ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งโดยปกติแล้ว แทนที่เราจะตั้งโจทย์ว่า เหตุและผลที่ผ่านการคิดนั้น “ควร” จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นแค่สมมติฐาน อาจจะมีถูกมีผิด ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์ด้วยการทดลองปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า ที่ “คิด” นั้น ถูกต้องตรงกับธรรม หรือธรรมชาติหรือไม่ :b46: :b45: :b41:

กลับกลายเป็นว่า เรามักจะหยุดอยู่แค่การ “คิด” ว่าเหตุและผล “ต้อง” เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และยึดถือเอาความคิด “ของตน” (คืออุปาทานในสังขารขันธ์นั้น) ว่าถูกว่าต้อง ทำให้เกิดปัญหาในการถกเถียงกันไม่รู้จบ เพราะแต่ละคนก็มีตรรกะ มีความคิด “ของตน” ที่ต่างกันออกไป และอาจจะไม่ตรงกับธรรม คือธรรมชาติที่แท้จริง ซึ่งต้องทดลองปฏิบัติด้วยการสังเกตรู้ จนรู้แจ้ง รู้จริง :b46: :b39: :b46:

และเมื่อรู้จริงรู้แจ้งแล้ว จะไม่มีทางขัดแย้งกันเองแน่นอนเพราะเหตุและผลทางธรรมชาตินั้น มีเพียงหนึ่งเดียว :b39: :b39: :b39:

และนี่ คือเหตุและผลที่ผ่านการปฏิบัติจน “รู้” ตามพระพุทธองค์ว่า ทำไมพระบรมศาสดาถึงทรงตรัสไว้ในกาลามสูตรให้อย่าพึ่งปลงใจเชื่อโดยการใช้ตรรกะ “คิด” ในเหตุและผล (มา ตกฺกเหตุ) แต่พึงปฏิบัติจน “รู้แจ้ง” ในเหตุและผลของธรรมชาติจากของจริงด้วยตนเองครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) การเข้าถึงและ “รู้” ในสภาวะบางอย่าง จะต้องนำด้วยการ “คิด” หรือการดึงสัญญาขึ้นมาใช้เพื่อจินตนาการภาพ เพื่อเป็นการสร้างเหตุปัจจัยกระตุ้นเหนี่ยวนำให้สภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อให้ “รับรู้ได้:b53: :b51: :b45:

... และจะเข้าสู่สภาวะนั้น โดย “รู้” ได้อย่างถูกต้อง ก็ต้องให้ความคิด หรือภาพที่จินตนาการนั้น ดับลงเสียก่อน ... ซึ่งในสภาวะดังกล่าว ภาพที่จินตนาการนั้นจะดับลงเองโดยอัตโนมัติเมื่อสภาวะนั้นเกิดขึ้น :b45: :b51: :b53:

ที่อธิบายในข้อสามนั้น คือในส่วนของการปฏิบัติเพื่อหน่วงจิตจากรูปฌาน ๔ (นับตามพระสูตร) เข้าสู่อรูปฌานที่ ๑ (อากาสานัญจายตนะ หน่วงเอาสภาพว่าง หรือ space เป็นอารมณ์), จากอรูปฌานที่ ๑ เข้าสู่อรูปฌานที่ ๒ (วิญญาณัญจายตนะ หน่วงเอาวิญญาณหรือธาตุรู้อันหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์), และจากอรูปฌานที่ ๒ เข้าสู่อรูปฌานที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ หน่วงเอาสภาพที่ไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์) :b46: :b45: :b50:

อธิบายในรายละเอียดก็คือว่า การจะหน่วงจิตเข้าสู่อรูปฌานต่างๆได้นั้น จะต้องอาศัยการบริกรรม ซึ่งถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ คือการจินตนาการ ถึงอารมณ์ของอรูปนั้นๆเสียก่อนเพื่อเป็นสื่อชักจูงเหนี่ยวนำสภาวะของอรูปฌานนั้นๆให้เกิดขึ้นได้ :b1: :b51: :b39: :b51:

เช่น การหน่วงจิตจากฌาน ๔ เข้าสู่อากาสานัญจายตนฌาน จะต้องใช้สภาวะที่จิตนิ่ง ตั้งมั่น เป็นหนึ่งอยู่ในตัวรู้ของรูปฌาน ๔ นั้น เปลี่ยนมารู้ในจินตภาพของสภาพว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุด (space) นั่นคือ จากการรู้ในตัวรู้ ให้ดึงเอาสัญญา (ความจำได้หมายรู้) ที่เคยพบกับสภาพว่างเปล่ามาเป็นอารมณ์ที่ใช้หน่วง :b46: :b51: :b48:

ซึ่งสภาพว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุดนี้ ถ้าจะให้เห็นภาพที่ชัดเจน สำหรับผู้ที่เคยเดินทางโดยเครื่องบินในวันฟ้าใส ลองนึกถึงภาพที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเห็นที่ว่างในอากาศไกลสุดลูกหูลูกตาดูนะครับ หรืออาจจะใช้ภาพจากทีวีที่ทาง Nasa ถ่ายออกไปนอกอวกาศ หรือใช้ภาพในขณะขึ้นดอยสูงแล้วมองออกไปเห็นอากาศว่างเปล่าสุดสายตาก็ใช้ได้ :b42: :b43: :b44:

หรือถ้าจนแต้มจริงๆ แม้กระทั่งแหงนหน้ามองขึ้นไปในท้องฟ้าในวันไร้เมฆ จินตนาการถึงสภาพว่างเปล่าไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ก็พอจะกล้อมแกล้มได้เหมือนกัน :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาในรูปฌาน ๔ กันต่อ ...

และเมื่อใช้สติสมาธิที่ตั้งมั่น ดึงจินตภาพของที่ว่างไม่มีที่สิ้นสุดมาเป็นอารมณ์โดยไม่คลาดเคลื่อนแล้วสักพัก จิตจะ “ไหล” เข้าสู่อากาสานัญจายตนฌานได้เอง โดยจินตภาพที่สร้างขึ้นมานั้นจะดับไปโดยอัตโนมัติ เข้าสู่สภาวะที่ “รู้สึก” ได้ถึงความว่างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด :b41: :b41: :b41:

ซึ่งคราวนี้ไม่ใช่มาจากการสร้างจินตภาพแล้ว เหมือนกับเรา “ไหล” จากที่แคบเข้าไปสู่ช่องเปิดที่โล่งกว้าง เหมือนกับเราเดินเข้าไปหาหน้าต่างในบ้านบนยอดดอยแล้วเปิดหน้าต่างออกไปพบกับทิวเขาและที่ว่างที่ไกลสุดลูกหูลูกตาด้วยตนเอง ไม่ใช่ด้วยการคิดนึกเอาเหมือนครั้งยกจิตเข้าสู่อรูปฌานนี้ :b41: :b41: :b41:

ส่วนการหน่วงจิตจากอากาสานัญจายตนะ เข้าสู่วิญญาณัญจายตนะ (สภาพที่มีวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุด คือวิญญาณที่รู้ในที่ว่างที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอารมณ์) นั้น ให้ใช้สติสมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ของ space นั้น วกกลับเข้ามาดูสภาพที่ละเอียดนิ่งในตัวจิตผู้รู้ (วิญญาณ) นั้นเอง :b1: :b46: :b39: :b46:

ก็จะเห็นสภาวะที่สงบละเอียดขึ้นไปอีก คล้ายกับสภาวะจิตผู้รู้ในฌาน ๔ เพียงแต่ไม่มีสัญญา (ความจำได้หมายรู้) ในรูป (ปสาทรูปทั้ง ๕ - จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ) ทั้งปวง เหลือแต่ในมโนวิญญาณอย่างเดียว :b1: :b49: :b50: :b48:

ซึ่งในสภาวะเช่นนี้ (อันที่จริง ตั้งแต่จิตยกเข้าสู่อรูปฌานที่ ๑ แล้ว) มีกองเกวียน ๕๐๐ เล่มวิ่งผ่าน (สมัยนี้คงต้องเป็น รถบรรทุก ๑๘ ล้อ ๕๐๐ คัน หรือเครื่องบิน Airbus A-380 500 ลำ บินผ่าน :b12: :b13: ) ก็ยังไม่ได้ยินเสียง เหมือนท่านอาฬารดาบส กาลามโคตรเข้าอรูปฌานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก :b51: :b46: :b53:

ซึ่งการรู้ลงในจิตของอรูปฌานที่ ๒ นี้ ต่างจากในรูปฌานที่ ๔ ที่รู้ลงในจิตเหมือนกัน แต่ในรูปฌาน ๔ นั้น ยังมีสัญญา (ความจำได้หมายรู้) ในรูป คือ ปสาทรูปทั้ง ๕ อยู่ (ซึ่งในพระไตรปิฎกใช้คำว่า รูปสัญญา และปฏิฆสัญญา คือ ความหมายรู้ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) :b1: :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการหน่วงจิตจากวิญญาณัญจายตนะ เข้าสู่อากิญจัญญายตนะ (สภาพที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์) นั้น ก็ให้ใช้สติสมาธิที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ของวิญญาณัญจายตนะนั้น หน่วงเอาจินตภาพของความไม่มีอะไรเลย (คือ ไม่มีทั้งรูป และอรูปในส่วนของ space หรือแม้กระทั่งวิญญาณที่ไปรับรู้ใน space นั้น) มาเป็นอารมณ์ในการบริกรรม :b38: :b37: :b39:

ซึ่งจินตภาพที่ไม่มีอะไรเลยโดยที่ยังมีสติครบสมบูรณ์นั้น ค่อนข้างจะยากมากในการหาสัญญาที่เราเจอๆกันในโลกมาเทียบเคียงนะครับ ถ้าจะให้พอเทียบเคียงได้ ให้ลองนึกถึงสภาวะการนอนที่หลับสนิทเต็มอิ่มแล้วตื่นขึ้นมาตอนเช้ามืด เมื่อเสี้ยววินาที่แรกที่รู้สึกตัวมีสติรับรู้ (ซึ่งจะรู้เฉพาะในมโนวิญญาณเท่านั้น) สิ่งแรกที่จิตรู้คือความไม่มีอะไร :b39: :b46: :b51:

พยายามจับสภาวะนั้นให้ดีเพื่อเอามาใช้สร้างจินตภาพในการหน่วงจิตให้เข้าสู่อากิญจัญญายตนะ และเมื่ออยู่ในจินตภาพนั้นได้โดยไม่คลาดเคลื่อนไปสักพัก จิตจะ “ไหล” หรือ flow อย่างนิ่มนวลเข้าสู่สภาวะอากิญจัญญายตนะได้เอง คือ “รู้สึก” ได้ในความสงบที่ละเอียดขึ้นไปอีกในสภาวะของการไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ :b38: :b37: :b39:

ส่วนการเคลื่อนจิตเข้าสู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ (สภาพที่จะมีสัญญาก็ไม่ใช่ จะไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ สัญญาอย่างหยาบดับลงไปหมดสิ้น เหลือแค่สัญญาอย่างละเอียดจนแทบจะสังเกตไม่ได้ว่ามีสัญญาอยู่) จะไม่พึงพาอาศัยการคิดจินตนาการเพื่อหน่วงเอาจินตภาพใดๆแล้ว :b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 24 เม.ย. 2011, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ให้รักษาอารมณ์และองค์ฌานของความไม่มีอะไรให้นิ่งยาวนานที่สุดจนจิต “ไหล” เข้าสู่สภาพที่มีแต่สัญญาละเอียดได้เอง :b38: :b37: :b39:

ซึ่งนี่ เป็นวิธีเดียวกับการเคลื่อนจิตในรูปฌานต่ำไปสู่รูปฌานสูง คือให้รักษาสภาวะความนิ่งในองค์ฌานนั้นๆจนเจตสิกธรรมของรูปฌานนั้นๆดับลงและจิตเคลื่อนไปในรูปฌานที่สูงขึ้นได้เอง (เช่น จับคำบริกรรม, ลมหายใจ, หรือดวงแก้วใสจนดับไปเองเกิดปีติ - จับปีติจนดับไปเองเกิดสุข - จับสุขจนดับไปเองเกิดอุเบกขา รู้ในตัวรู้) :b46: :b39: :b46:

และในสภาวะที่มีแต่สัญญาละเอียดจนแทบจะจับไม่ได้นั้น จะคล้ายกับสภาพที่กายและจิตหลับลึกมาก แต่ต่างกันตรงยังมีสติตัวรู้อยู่ แต่ไม่รู้ว่ารู้อะไร :b51: :b53: :b51:

ซึ่งสิ่งที่รู้ก็ไม่ใช่อรูปละเอียดที่ผ่านมาแล้วคือ ไม่ได้รู้ลงใน space, ไม่ได้รู้ลงในจิต, และไม่ได้รู้ลงในความไม่มีอะไร (ซึ่งก็ยังมี “ความไม่มีอะไร” ให้รู้ และรู้ลงใน “ความไม่มีอะไร”) เหมือนมองไปในอากาศรู้ว่ามีอากาศอยู่ แต่มองไม่เห็นว่ามีอากาศ เป็นสภาวะที่รู้ว่ามีอะไรให้รู้ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร คือสิ่งที่รู้นั้นละอียดจนไม่รู้ว่ามันคืออะไรนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

ซึ่งที่อธิบายมายืดยาวทั้งหมดในหัวข้อที่ ๓ นี้ ต้องการสรุปว่า ถ้าจะ “เข้าสู่” และ “รู้” ในอรูปฌานที่ ๑ ถึง ๓ ได้นั้น จะต้องอาศัยการคิด บริกรรม หรือจินตนาการเสียก่อน ยกเว้นในอรูปฌานที่ ๔ เท่านั้นที่ไม่ต้องอาศัยการคิดนำ ...

แถมด้วยขั้นตอนและวิธีการที่อาจจะเป็นประโยชน์และพอจะเป็นแนวทางในการเข้าอรูปฌานทั้ง ๔ สำหรับผู้ที่ได้รูปฌาน ๔ แล้วด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร