วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 11:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างอีกแห่งหนึ่ง คือ ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าสนทนากับนิครนถ์เปรียบเทียบความสุข ว่าใครจะมีความสุขกว่ากัน ระหว่างพิมพิสารราชา กับ พระพุทธเจ้า (ให้ดู) กิริยาทางกายซึ่งแสดงออกภายนอก

พระพุทธเจ้าทรงเสนอข้อพิสูจน์ ซึ่งวัดความสุขภายในชนิดที่แสดงออกมาให้เห็นได้ในภายนอกอย่างชัดเจน เป็นข้อตัดสินให้เห็นชัดได้เด็ดขาด โดยถามว่า พระเจ้าพิมพิสารจะประทับนิ่งไม่ไหวติงกาย ไม่พูดอะไรเลย อยู่เสวยแต่ความสุขอย่างเดียวล้วนๆ ตลอดเวลา 7 วัน หรือแม้แต่เพียงชั่วคืนเดียว วันเดียวได้หรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ได้ แล้วตรัสถึงพระองค์เองบ้างว่า สามารถนั่งนิ่งไม่ไหวติงกาย ไม่พูดอะไรเลย เสวยแต่ความสุขอย่างเดียวล้วนๆ ตลอด 2 วันก็ได้ 3 วันก็ได้ ตลอด 7 วันก็ได้ พวกนิครนถ์จึงยอมรับว่า พระพุทธเจ้าทรงมีความสุขยิ่งกว่าพระเจ้าพิมพิสาร
(ม.มู.12/220/187)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างนี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า (ตัดมา)

เวลานี้รู้สึกว่า ความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ... ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลกมัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตนทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจรู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่า คือ ลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือ ปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย

จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว คิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเรา หรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้น ก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

หลังจากนั้นมา ผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือ ทำได้มากสุดก็แค่ทำปีติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝีกครับฝึก จิตทีฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ ข้อสังเกต สมาธิเกิดนิวรณ์สงบ จิตยังมีนิวรณ์สมาธิไม่มีไม่เกิด แล้วการจะก้าวต่อไปก็ยากหากจิตยังถูกนิวรณ์ครอบงำ จิตที่ปราศนิวรณ์นี่แหละคือการเริ่มต้นการเดินทางทางนามธรรม เขาเริ่มกันตรงนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้มองเห็นชัดขึ้น เอาอีกหน่อยก็ได้

คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แบ่งนิโรธ เป็นเป็นไวพจน์สำคัญของนิพพานออกเป็น 5 อย่าง หรือ 5 ระดับ คือ

1. วิกขัมภนนิโรธ ได้แก่ การที่ผู้เจริญปฐมฌาน ดับนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้

(สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 เป็นวิกขัมภนนิโรธทั้งหมด เพราะนับแต่เข้าถึงปฐมฌานแล้วเป็นต้นไป อกุศลธรรมทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น ย่อมถูกข่มให้ระงับดับไปเอง พูดง่ายๆว่า ข่มธรรมที่เป็นข้าศึก คือ กิเลสต่างๆ เช่น นิวรณ์เป็นต้นได้ด้วยโลกียสมาธิ เป็นการดับกิเลสแบบอุปมาให้เห็นภาพเหมือนหินทับหญ้า)

2. ตทังคนิโรธ ได้แก่ การที่ผู้เจริญสมาธิ ถึงขั้นชำแรกทำลายกิเลส* ดับความเห็นผิดต่างๆลงได้ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน

(หมายถึงดับกิเลสในขั้นวิปัสสนา คือ ใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะของสิ่งทั้งหลาย เช่น พิจารณาความไม่เที่ยงเป็นต้น พิจารณาเห็นแง่ใด ก็เกิดญาณขึ้นกำจัดความเห็น หรือ ความยึดถือในทางตรงข้ามที่ขัดต่อสัจธรรมในแง่นั้นๆลงได้ เช่น กำหนดเห็นตัวตนเราเขาเป็นเพียงรูปกับนาม ก็ดับสักกายทิฏฐิได้ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ก็ดับนิจจสัญญาได้ พิจารณาเห็นทุกข์ ก็ดับสุขสัญญาได้ พิจารณาเห็นอนัตตา ก็ดับอัตตสัญญาได้ เป็นต้น เป็นการดับกิเลส แบบจุดดวงไฟ ดับความมืด แต่ยังเป็นการดับชั่วคราว เหมือนว่าพอไฟดับ ก็มืดอีก)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 23:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
ข้อสังเกต สมาธิเกิดนิวรณ์สงบ จิตยังมีนิวรณ์สมาธิไม่มีไม่เกิด แล้วการจะก้าวต่อไปก็ยากหากจิตยังถูกนิวรณ์ครอบงำ จิตที่ปราศนิวรณ์นี่แหละคือการเริ่มต้นการเดินทางทางนามธรรม เขาเริ่มกันตรงนี้


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร