วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 15:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเหตุที่หนักในด้านหลักฐาน หนังสือนี้จึงเน้นในด้านหลักการ และวิธีปฏิบัติทั่วไปมากกว่าภาคปฏิบัติโดยตรง เพราะรายละเอียดของการปฏิบัติ ขึ้นต่อปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเฉพาะกรณี พร้อมทั้งกลวิธีที่เหมาะกัน อย่างไรก็ตาม หลักการ และวิธีปฏิบัติทั่วไปนี่แหละ เป็นแหล่งที่มาแห่งรายละเอียดของการปฏิบัติ ซึ่งเมื่อเข้าใจดีแล้ว ย่อมสามารถคิดกำหนดวางรายละเอียดเฉพาะกรณีต่างๆได้เอง และทั้งมีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติด้วย


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมฉบับเดิม หลักฐานที่มาหรือคัมภีร์ที่อ้างอิง ได้จำกัดเลือกเอาเฉพาะในพระบาลีคือพระไตรปิฎกแทบทั้งสิ้น มีหลักฐานจากคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อรรถกถาเข้าไปปนน้อยอย่างยิ่ง ส่วนใน

พุทธธรรมฉบับขยายความนี้ ถือพระไตรปิฎกเป็นหลัก แต่ได้เปิดรับหลักฐานจากคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น อรรถกถา เป็นต้น เข้ามาปะปนด้วยนั้น ถ้าไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดผลเสียขึ้นได้ เพราะคำสอนที่แท้ของพระพุทธเจ้า เราย่อมถือเอาตามพุทธพจน์ในพระบาลีคือพระไตรปิฏก มติของคัมภีร์รุ่นหลังเราถือเป็นเพียงส่วนเสริมชวยให้กระจ่าง และยอมรับเฉพาะส่วนที่สอดคล้องกับพระบาลี หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจำนวนมากที่ไม่ได้แสดงหลักฐานที่มา บางครั้งก็ทำให้ผู้อ่านสับสน หรือ ถึงกับเข้าใจผิดจับเอาเรื่องในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือมติของพระอรรถกถาจารย์เป็นต้น ว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า บางทีแม้แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นเอง ก็สับสน หรือเข้าใจผิดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นข้อที่พึงระมัดระวัง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง มิใช่เฉพาะหลักฐานที่มาเท่านั้นที่มีมากมาย แม้เชิงอรรถชี้แจงเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ก็มากมายเช่นกัน ผู้อ่านบางท่านอาจรู้สึกรกรุงรังน่ารำคาญตา แต่ขอให้เห็นแก่นักศึกษาซึ่งจะได้รับประโยชน์ ข้อความในเชิงอรรถนั้นเป็นแง่มุมอื่นๆ ของเรื่องราวที่อยู่ข้างบน เป็นความรู้พิเศษทีมีประโยชน์ แต่จะเขียนแทรกในเนื้อความข้างบน ก็เข้าไม่สนิท จึงแยกไว้ต่างหากดังนี้เป็นต้น

เฉพาะอย่างยิ่ง ความในเชิงอรรถบางตอนอาจเป็นประโยชน์มากแก่ผู้ต้องการค้นคว้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไป เชิงอรรถมากแห่งเป็นเหมือนเค้าความของเรื่องใหญ่อื่นๆที่ควรแก่การศึกษา เป็นเครืองชี้ช่องสำหรับการแสวงหาความรู้ขยายพิสดารออกไป เป็นเหมือนมีหนังสืออื่นอีกหลายเล่มรวมติดอยู่ด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง มิใช่เฉพาะหลักฐานที่มาเท่านั้นที่มีมากมาย แม้เชิงอรรถชี้แจงเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ก็มากมายเช่นกัน ผู้อ่านบางท่านอาจรู้สึกรกรุงรังน่ารำคาญตา แต่ขอให้เห็นแก่นักศึกษาซึ่งจะได้รับประโยชน์ ข้อความในเชิงอรรถนั้นเป็นแง่มุมอื่นๆ ของเรื่องราวที่อยู่ข้างบน เป็นความรู้พิเศษทีมีประโยชน์ แต่จะเขียนแทรกในเนื้อความข้างบน ก็เข้าไม่สนิท จึงแยกไว้ต่างหากดังนี้เป็นต้น

เฉพาะอย่างยิ่ง ความในเชิงอรรถบางตอนอาจเป็นประโยชน์มากแก่ผู้ต้องการค้นคว้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้นไป เชิงอรรถมากแห่งเป็นเหมือนเค้าความของเรื่องใหญ่อื่นๆที่ควรแก่การศึกษา เป็นเครืองชี้ช่องสำหรับการแสวงหาความรู้ขยายพิสดารออกไป เป็นเหมือนมีหนังสืออื่นอีกหลายเล่มรวมติดอยู่ด้วย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเมื่อเป็นหนังสือแสดงหลักวิชา ก็ย่อมมีคำศัพท์วิชาการทางพระพุทธศาสนา คือ ถ้อยคำทางธรรมที่มาจากภาษาบาลีเป็นจำนวนมาก ข้อนี้ ก็เป็นเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้หนังสือนี้ยากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ไม่คุ้นกับศัพท์ธรรม หรือคำที่มาจากบาลี แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง ในเมื่อต้องการจะรู้หลักกันจริงๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังกล่าวมาคร่าวๆก็พอมองเห็นแล้วว่า หนังสือพุทธธรรมมิใช่หนังสือสอดไส้ดังมีผู้กล่าวค่อนนั่น แต่เป็นหนังสือที่ควรศึกษาสำหรับผู้ต้องการรู้เข้าใจพุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
แม้ฉันใดร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๙ - ๒๕๖๖. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕.
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... agebreak=0

คุณmes ครับ พระสูตรนี้ ลึกซึ้งมาก(ลึกซึ้งทุกสูตรแหละ) :b8:


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
Quote Tipitaka:
[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย
กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
แม้ฉันใดร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ
บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน
นั้นแล ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๒๕๑๙ - ๒๕๖๖. หน้าที่ ๑๐๔ - ๑๐๕.
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... agebreak=0

คุณmes ครับ พระสูตรนี้ ลึกซึ้งมาก(ลึกซึ้งทุกสูตรแหละ) :b8:


ครับลึกซึ้งมาก

คงเข้าใจได้ยาก

แต่ไม่เป็นไร

ยังไม่ต้องเข้าใจก็ได้

บำเพ็ญสมาธิก่อให้เกิดปัญญา

สักวันหนึ่งจะเข้าใจเองครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่ออีกหน่อย เพราะน่าคิดอยู่ไม่น้อย

อันที่จริง พุทธธรรมนั้น ถ้ารู้แจ้งเข้าใจจริงแล้ว เมื่อพูดชี้แจงอธิบาย แม้จะไม่ใช้ศัพท์ธรรมคำบาลีสักคำเดียว ก็เป็นพุทธธรรม แต่ตรงข้าม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ หรือรู้ผิดเข้าใจผิด แม้จะพูดออกมาทุกคำล้วนศัพท์บาลี ก็หาใช่เป็นพุทธธรรมไม่ กลายเป็นแสดงลัทธิอื่นที่ตนสับสนหลงผิดไปเสีย
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่รู้เข้าใจด้วยกันแล้ว คำศัพท์กลับเป็นเครื่องหมายรู้ที่ช่วยสื่อถึงสิ่งที่เข้าใจได้โดยสะดวก พูดกันง่าย เข้าใจทันที หรือ แม้สำหรับผู้ศึกษาประสงค์จะเข้าใจ หากอดทนเรียนรู้คำศัพท์สักหน่อย คำศัพท์เหล่านั้นแหละ จะเป็นสื่อแห่งการสอนที่ช่วยให้เข้าใจพุทธธรรมได้รวดเร็ว หากจะชี้แจงสั่งสอนกันโดยไม่ใช้คำศัพท์เลย ในที่สุดก็จะต้องมีศัพท์ธรรมภาษาอื่น รูปอื่น ชุดอื่น เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วข้อนั้นอาจจะนำไปสู่ความสับสนยิ่งขึ้น
โดยนัยนี้ คำศัพท์อาจเป็นสื่อนำไปสู่ความเข้าใจพุทธธรรมก็ได้ เป็นกำแพงกั้นไม่ให้เข้าถึงพุทธธรรมก็ได้ เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว พึงนำศัพท์ธรรมมาใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน คือ รู้เข้าใจ ใช้ถูกต้อง รู้กาลควรใช้ไม่ควรใช้ ให้สำเร็จประโยชน์ แต่ไม่ยึดติดถือคลั่ง


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมฉบับนี้ ถือหลักฐานทางคัมภีร์เป็นสำคัญ จึงเต็มไปด้วยข้อความที่แปลจากคัมภีร์ภาษาบาลี ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ สำหรับพระบาลี คือ ความในพระไตรปิฎกนั้น แม้ว่าจะแปลตรงจากฉบับเดิมที่เป็นภาษาบาลี เพราะเป็นหลักฐานขั้นต้น แต่ก็ได้อาศัยพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงเป็นที่ปรึกษา ได้รับประโยชน์มิใช่น้อย
ส่วนคัมภีร์ภาษาบาลีรุ่นหลังต่อๆมา ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วมีเป็นจำนวนน้อย อันใดพออาศัยได้ ก็ได้ใช้ปรึกษาบ้างประกอบบ้างไปตามควร


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมฉบับนี้ ถือหลักฐานทางคัมภีร์เป็นสำคัญ จึงเต็มไปด้วยข้อความที่แปลจากคัมภีร์ภาษาบาลี ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ สำหรับพระบาลี คือ ความในพระไตรปิฎกนั้น แม้ว่าจะแปลตรงจากฉบับเดิมที่เป็นภาษาบาลี เพราะเป็นหลักฐานขั้นต้น แต่ก็ได้อาศัยพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงเป็นที่ปรึกษา ได้รับประโยชน์มิใช่น้อย
ส่วนคัมภีร์ภาษาบาลีรุ่นหลังต่อๆมา ที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วมีเป็นจำนวนน้อย อันใดพออาศัยได้ ก็ได้ใช้ปรึกษาบ้างประกอบบ้างไปตามควร


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
จากหนังสือพุทธธรรม ป.อ. ปยุตโต หน้า303

.....เอกัคคตา(ภาวะจิตที่มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)..........



นั่นคือหนังสือ ที่เขียนขึ้น โดยไม่ได้ตรวจสอบกับพระไตรปิฎก ไม่น่าเชื่อถือ
สิ่งที่เช่นนั้นนำออกมา แสดงแก่คุณ mes ปรากฎในพระไตรปิฎก


การนำเอาหนังสือแต่ง มายันกับพระไตรปิฎก จึงควรใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองให้มาก


อันนี้แหละที่ทำให้ผมลองแหย่งเอาทิฏฐิมานะของเช่นนั้นออกมาดู

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
จากหนังสือพุทธธรรม ป.อ. ปยุตโต หน้า303

.....เอกัคคตา(ภาวะจิตที่มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)..........



นั่นคือหนังสือ ที่เขียนขึ้น โดยไม่ได้ตรวจสอบกับพระไตรปิฎก ไม่น่าเชื่อถือ
สิ่งที่เช่นนั้นนำออกมา แสดงแก่คุณ mes ปรากฎในพระไตรปิฎก

การนำเอาหนังสือแต่ง มายันกับพระไตรปิฎก จึงควรใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองให้มาก


เช่นนั้นกำลังติดสมมุติ


ทำไมผู้ที่มั่นคงกับการปริยัติจึงใส่ร้ายผู้อื่นลอยๆ

แทนที่

จะยกมหาปะเทสสี่มาตัดสิน

อย่างนี้คำใส่ร้ายของเช่นนั้นก็ไม่น่าเชื่อถือครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
mes เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
จากหนังสือพุทธธรรม ป.อ. ปยุตโต หน้า303

.....เอกัคคตา(ภาวะจิตที่มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)..........



นั่นคือหนังสือ ที่เขียนขึ้น โดยไม่ได้ตรวจสอบกับพระไตรปิฎก ไม่น่าเชื่อถือ
สิ่งที่เช่นนั้นนำออกมา แสดงแก่คุณ mes ปรากฎในพระไตรปิฎก

การนำเอาหนังสือแต่ง มายันกับพระไตรปิฎก จึงควรใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองให้มาก


เช่นนั้นกำลังติดสมมุติ





พวกเช่นนั้นใช้พฤติกรรมนี้มาตลอด

ไม่ชอบใจใครที่ไม่ทำอย่างที่สำนักตนต้องการก็ใส่ร้ายเขา

อดีต ลบทุกกระทู้ที่ไม่ถูกใจ ว่าไม่บริสุทธิ์ ไม่ใช่พระพุทธพจน์

เพราะย่ามใจว่าเป็นเวปยอดนิยม

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ในที่สุดวันที่จุดจบก็มาถึงบทเรียนนี้ยังจำกันได้ไหม

ผมยังจำวันที่เช่นนั้นเสียงดังประดุจดังพระสุรเสียงของพระพุทธเจ้าได้แม่นยำ

ที่ดุคนที่แสดงพระธรรมำม่ถูกใจพวกตน

ด่าแม้กระทั่ง ป.อ.ปยุตโต

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านเช่นนั้นครับ



เช่นนั้นอย่าลำพองใจว่าเหนือกว่าท่านป.อ.ปยุตโตซิครับ


ผมก็ไม่เห็นว่าเช่นนั้นจะเป็นอย่างนั้นตรงไหน ไม่เห็นลึกซึงอะไร


เช่นนั้นผิดพลาดมากที่ปรามาสท่านป.อ.ปยุตโต เพื่อสนองความพยาบาทตนเอง


อย่างนี้ไม่ได้ดับทุกข์ครับ


แต่กำลังสร้างอกุศลจิตครับ


ดับไฟพยาบาทนั้นลงเถอะครับ หลายปีผ่านมาแล้ว วิบากก็สนองพวกเช่นนั้นทันตาเห็นแล้ว


ทำไมยังดื้ออยู่อีกครับ


อยุดจ๊าบจ้วงท่านปยุตโตเสียเถอะครับ


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 18 เม.ย. 2011, 19:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร