วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 01:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ตัวอย่างเช่น สภาวะที่ผู้ปฏิบัตินำมากล่าวว่า เหมือนไม่มีตัวตนของเราอยู่บนโลกใบนี้

หรือ สภาวะดับ ทำให้รู้สึกว่าไม่มีตัวเราอยู่บนโลกใบนี้ มีเพียงก้อนธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก้อนหนึ่งเท่านั้น
สภาวะเกิด ทำให้รู้สึกว่ามีตัวเรา เพราะยึดก้อนธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันนี้ว่าเป็นตัวเรา
เดี๋ยวมีตัวเรา เพราะมีสภาวะเกิด
เดี๋ยวไม่มีตัวเรา เพราะสภาวะดับ
เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป
ตัวตนที่แท้จริงไม่มีเลย ไม่มีจริงๆ
มีเพราะยึด
ไม่ยึดก็ไม่มี


ถ้าสภาวะรู้นี้คือวิญญาณ หรือ จิต
มันก็เป็นของเกิดดับ เป็นเพียงสภาวะที่หาตัวตนมิได้เลย เราเลยสมมุติเรียกมันว่า "นาม"
ส่วนร่างกายอันมีธาตุสี่นี้ เราสมมุติเรียกมันว่า "รูป" เพราะมองเห็นด้วยตา

"ธรรมชาติของมันเป็นเช่นนั้นเอง"




สภาวะที่นำมาให้ดูเป็นตัวอย่างนี้ เป็นเพียง " สุตตมยปัญญา และ จินตามยปัญญา " ยังไม่ใช่สภาวะที่เกิดจาก ภาวนามยปัญญา



ถ้าเป็นสภาวะ ภาวนามยปัญญา จะมีแค่ สิ่งที่เกิดขึ้น และ สิ่งที่รู้ เท่านั้นเอง


ถึงแม้ว่า จะเป็นปัญญาที่เกิดจากสภาวะใดๆก็ตาม ล้วนเป็นเหตุที่กำลังสร้างเหตุดีให้กับตัวเอง ผลย่อมดีอย่างแน่นอน ส่วนจะดีตามความเป็นจริงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการกระทำต่างๆที่สร้างขึ้นใหม่ด้วย

ถ้าแบบที่คุณน้ำบรรยายมา เช่น คำๆนี้ ตัวตนที่แท้จริงไม่มีเลย ไม่มีจริงๆ
น่ากลัวนะครับ
:b5:






ต้องขออภัยที่เขียนตกหล่น รายละเอียดสภาวะตรงนี้ นำมาจากสภาวะของคนอื่นที่เขียนแสดงไว้ เพียงนำมายกเป็นตัวอย่างให้ดูน่ะค่ะ ว่าเป็นการให้ค่าของผู้ปฏิบัติ ที่ให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้นตามที่เคยได้อ่าน ได้ฟังมาเท่านั้นเอง แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริงของสภาวะที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 11:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ลมหายใจเข้าออกเป็นรูป รู้เป็นนาม...นี่ก็ลึกซึ้ง....ๆลๆ
:b1:


:b8: อนุโมทนา ครับ

ลึกซึ้งจริงครับ ทำให้ผมคิดถึงพุทธภาษิตนี้ครับ

พระพุทธภาษิต :
"อานาปานสติ ภาวิตา พหุลีกตา จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปูเรนฺติ ;
อานาปานสติ อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์.

สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา โพชฌงฺเค ปริปูเรนฺติ ;
สติปัฏฐาน อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์.

โพชฌงฺคา ภาวิตา พหุลีกตา วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปูเรนฺติ ;
โพชฌงค์เจ็ด อันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้สมบูรณ์"


และทำให้คิดถึงคำสอนที่ครูอาจารย์ขอคัดลอกมาบางส่วนครับ
(จากหนังสืออานาปานสติสูตร หลวงพ่อพุทธทาส)

อานาปานสติที่สมบูรณ์แล้ว จะทำให้เกิดสติปัฏฐานสี่ในตัว

กล่าวคือ กายานุปัสสนา ปฏิบัติเกี่ยวกับกาย คือลมหายใจ ลมหายใจนี้เป็นเครื่องตบแต่งกายที่เรียกว่า “กายสังขาร” การควบคุมลมหายใจก็คือควบคุมกาย ควบคุมกายก็คือควบคุมลมหายใจ ฉะนั้นเราอาศัยควบคุมกายโดยใช้วิธีผ่านทางลมหายใจ เราจึงควบคุมลมหายใจให้รำงับลง ๆ กายสังขารรำงับลง กายก็รำงับลง จึงมีผลคือเป็นสมาธิ ซึ่งจะได้อัปปนาสมาธิ มีฌานทั้งสี่ก็ได้ หรือไม่เป็นอัปปนาเป็นเพียงอุปจารสมาธิก็ได้ อย่างนี้เรียกได้ว่า “กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เต็มที่ เหลือที่จะเต็ม มันมีผลเสร็จ คือ สมาธิเกิดขึ้นมา.

เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว ก็มาถึงหมวด “เวทนาสุปัสสนาสติปัฏฐาน” ได้เอง เพราะว่าสมาธินั้น มันมีรสเป็น “เวทนา” คือ ปีติและสุข เป็นองค์ของสมาธิอยู่. ทีนี้จะรู้เรื่องของเวทนาเท่านี้มันไม่พอ ต้องรู้ไปถึงว่ามันปรุงจิต และรู้การปรุงของมันด้วย. ถ้าเราถือเอาตามบาลีเป็นหลัก เราจะยังไม่เห็นคำพูดที่ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา มันมีแต่บอกให้ปฏิบัติเรื่อยไป แล้วมันก็ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา อยู่ในตัวเองเรื่อยไป จนถึงขั้นสุดท้ายหมดอุปาทาน หมดความยึดมั่นถือมั่นว่าสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาจริง ๆ. บาลีในตอนนี้ ก็แสดงผลเป็นทำนองว่า “วิเนยฺยโลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ” ไม่ได้พูดระบุว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา อย่างที่ว่าไว้ ในหลักสูตรนักธรรมของเรา. แต่อย่างไร มันก็เป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าอภิชฌาและโทมนัส ถูกนำออกได้ก็หมายว่าอุปาทานถูกนำออกไปได้ อภิชฌาและโทมนัสนั้น เป็นผลของอุปาทานนั่นเอง.

ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้ รวมหมดก็คือ การกระทำที่เรียกว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” แล้วก็ถึงหมวดสี่ คือ “ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เห็นธรรมในลักษณะ 4 ประการ นี่ก็เป็นอันสติปัฏฐานทั้งสี่ได้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนในอานาปานสติ 16 ขั้นนั้น

...

:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้




จิตเอยยยย .... เจ้าจงมาเป็นโน่น เป็นนี่ เป็นไปตามการบังคับบัญชาของเราเถิด
เพราะทุกวันนี้เรายังเป็นอิสระไม่ได้เลย ยังตกเป็นขี้ข้าของกิเลสอยู่เลย :b7:

ไฉนเจ้าช่างดื้อด้านจริงนะจิต ไม่ยอมทำตามคำสั่งของเรา ยังปล่อยให้เราหลงเล่นกับกองอุนจิ ( กิเลส ) อยู่ได้ :b33:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 14:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
narapan เขียน:
ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้




จิตเอยยยย .... เจ้าจงมาเป็นโน่น เป็นนี่ เป็นไปตามการบังคับบัญชาของเราเถิด
เพราะทุกวันนี้เรายังเป็นอิสระไม่ได้เลย ยังตกเป็นขี้ข้าของกิเลสอยู่เลย :b7:

ไฉนเจ้าช่างดื้อด้านจริงนะจิต ไม่ยอมทำตามคำสั่งของเรา ยังปล่อยให้เราหลงเล่นกับกองอุนจิ ( กิเลส ) อยู่ได้ :b33:


narapan เขียน:

ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้ รวมหมดก็คือ การกระทำที่เรียกว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” แล้วก็ถึงหมวดสี่ คือ “ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เห็นธรรมในลักษณะ 4 ประการ นี่ก็เป็นอันสติปัฏฐานทั้งสี่ได้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนในอานาปานสติ 16 ขั้นนั้น
...
:b44:


ครูอาจารย์ท่านหมายถึง เมื่อรู้จักหมวดกาย เวทนา แล้ว
ที่นี้ให้มาดูในเรื่องของจิต หมวดของจิต และหมวดของธรรม ครับ

:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้



walaiporn เขียน:
จิตเอยยยย .... เจ้าจงมาเป็นโน่น เป็นนี่ เป็นไปตามการบังคับบัญชาของเราเถิด
เพราะทุกวันนี้เรายังเป็นอิสระไม่ได้เลย ยังตกเป็นขี้ข้าของกิเลสอยู่เลย :b7:

ไฉนเจ้าช่างดื้อด้านจริงนะจิต ไม่ยอมทำตามคำสั่งของเรา ยังปล่อยให้เราหลงเล่นกับกองอุนจิ ( กิเลส ) อยู่ได้ :b33:


narapan เขียน:

ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้ รวมหมดก็คือ การกระทำที่เรียกว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” แล้วก็ถึงหมวดสี่ คือ “ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เห็นธรรมในลักษณะ 4 ประการ นี่ก็เป็นอันสติปัฏฐานทั้งสี่ได้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนในอานาปานสติ 16 ขั้นนั้น
...


ครูอาจารย์ท่านหมายถึง เมื่อรู้จักหมวดกาย เวทนา แล้ว
ที่นี้ให้มาดูในเรื่องของจิต หมวดของจิต และหมวดของธรรม ครับ





เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนมากๆอย่างหนึ่งคือ ความเชื่อหรือที่เรียกว่า ความศรัทธา หรือเหตุที่สร้างมาร่วมกัน ผลจึงมาเชื่อกัน ถ้าไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน ผลคือ ไม่มาเชื่อกัน และ ไม่มีความใส่ใจ จะว่าอุเบกขาก็คงไม่ใช่ ต้องใช้คำว่าไม่สนใจหรือไม่ใส่ใจน่าจะเหมาะ


การเขียนตัวหนังสือในการสื่อเรื่องของสภาวะ ใครทำได้แบบไหน รู้แบบไหน ย่อมนำแบบที่ตัวเองทำได้หรือรู้ มาแนะนำหรือสอนกันแบบนั้น

จะให้แนะนำหรือสอนนอกแบบหรือรู้นอกจากที่ตัวเองรู้ มันเป็นไปได้ยากนะ เพราะไม่เคยสัมผัสหรือรู้ด้วยตัวเอง ถ้าแค่คาดเดา คำพูดที่สื่อออกมาจะแสดงถึงความคาดเดา ไม่ใช่จากที่รู้ด้วยตัวเอง


ถ้าข้อความที่โพสต่อไปนี้ อาจเป็นเหตุให้เกิดความขัดเคืองหรืออาจจะชอบใจ,ไม่ชอบใจ อันนี้ก็คงบังคับกันไม่ได้


ข้อความจากกระทู้นี้ ที่นำมาเอ่ยถึงเรื่องสติปัฏฐาน ๔ มีการเอ่ยถึงเรื่องการบังคับจิต

จริงๆแล้ว ที่อ่านน่ะเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร เพียงแต่จะดูว่า คนที่นำมาโพส เข้าใจในข้อความเหล่านั้นได้แค่ไหน อธิบายรายละเอียดได้ไหม

โดยเฉพาะในแง่ของสภาวะนี่สำคัญมากๆ จะเอาแต่รูปแบบอย่างเดียว มันจะต้องมีข้อแสดงเห็นด้วยบ้าง,ไม่เห็นด้วยบ้าง นี่เรื่องปกติ


จากกระทู้นี้ viewtopic.php?f=2&t=36672 ขอนำมายกเป็นตัวอย่าง

เมื่อผู้ที่มีสภาวะยังไม่ถึง ย่อมไม่เข้าใจในรูปแบบที่นำมาสอน ถ้าเข้าใจแล้ว จะไม่มีมาว่ากัน


แต่ทีเวลาเกิดความเชื่อหรือศรัทธาในคำสอนอีกคำสอน จะไม่มีมาว่าเลย มีแต่ยกย่องเทิดทูน ทั้งๆที่นำมาโพส แต่ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดของตัวสภาวะได้


เหมือนบางที่สอนเรื่องรูป,นาม หรือนามรูปปริเฉทญาณ ว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ ล้วนเป็นการอาศัยบัญญัติกันทั้งนั้น เพราะตัวผู้ปฏิบัติ ยังไม่รู้สภาวะที่แท้จริงจากจิตของตัวเอง

ตราบใดที่ยังไม่รู้ ทุกๆสภาวะล้วนยังต้องอาศัยบัญญัติกันไปก่อนทั้งสิ้น อาศัยเรียนรู้จากสภาวะหยาบๆกันไปก่อน อาศัยการทำต่อเนื่อง สภาวะจะละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆไปเอง โดยไม่ต้องไปอยากอะไรเลย





อ้างคำพูด:
กล่าวคือ กายานุปัสสนา ปฏิบัติเกี่ยวกับกาย คือลมหายใจ ลมหายใจนี้เป็นเครื่องตบแต่งกายที่เรียกว่า “กายสังขาร” การควบคุมลมหายใจก็คือควบคุมกาย ควบคุมกายก็คือควบคุมลมหายใจ ฉะนั้นเราอาศัยควบคุมกายโดยใช้วิธีผ่านทางลมหายใจ เราจึงควบคุมลมหายใจให้รำงับลง ๆ กายสังขารรำงับลง กายก็รำงับลง จึงมีผลคือเป็นสมาธิ ซึ่งจะได้อัปปนาสมาธิ มีฌานทั้งสี่ก็ได้ หรือไม่เป็นอัปปนาเป็นเพียงอุปจารสมาธิก็ได้ อย่างนี้เรียกได้ว่า “กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เต็มที่ เหลือที่จะเต็ม มันมีผลเสร็จ คือ สมาธิเกิดขึ้นมา.:





อย่างเช่นจากคำกล่าวนี้ โดยตัวสภาวะจริงๆคือ

คำว่า ลมหายใจ เป็นเครื่องตบแต่งกาย เรียกว่า กายสังขาร

ความหมายคือ ลมหายใจเข้าออก จัดเป็นกายสังขาร

ถ้าเป็นท้องพองยุบ เป็น วาโยโผฏฐัพพะ เป็นกายสังขารเหมือนกัน





อ้างคำพูด:
การควบคุมลมหายใจก็คือควบคุมกาย ควบคุมกายก็คือควบคุมลมหายใจ .:.:




สภาวะคือ มีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก

อาการที่เกิดขึ้นคือ มีจิตจดจ่อรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก





อ้างคำพูด:
ฉะนั้นเราอาศัยควบคุมกายโดยใช้วิธีผ่านทางลมหายใจ เราจึงควบคุมลมหายใจให้ระงับลง ๆ กายสังขารระงับลง กายก็ระงับลง จึงมีผลคือเป็นสมาธิ .:



ที่ใดมีทั้งสติ สัมปชัญญะเกิด ที่นั้นย่อมมีสมาธิ สภาวะนี้ก็เช่นเดียวกันเมื่อเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก


ที่มีกล่าวว่าควบคุม เป็นเพียงการอนุมานคำขึ้นมาแสดงแทนสภาวะ แต่โดยตัวสภาวะ จะเรียกว่าการควบคุม หรือ ไม่เรียกว่าเอาจิตจดจ่อรู้อยู่ก็ได้ แต่โดยสภาวะที่แท้จริงคือ จิตจดจ่อรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ณ ขณะนั้นๆ






อ้างคำพูด:
เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว ก็มาถึงหมวด “เวทนาสุปัสสนาสติปัฏฐาน” ได้เอง เพราะว่าสมาธินั้น มันมีรสเป็น “เวทนา” คือ ปีติและสุข เป็นองค์ของสมาธิอยู่. ทีนี้จะรู้เรื่องของเวทนาเท่านี้มันไม่พอ ต้องรู้ไปถึงว่ามันปรุงจิต และรู้การปรุงของมันด้วย. ถ้าเราถือเอาตามบาลีเป็นหลัก เราจะยังไม่เห็นคำพูดที่ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา มันมีแต่บอกให้ปฏิบัติเรื่อยไป แล้วมันก็ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา อยู่ในตัวเองเรื่อยไป จนถึงขั้นสุดท้ายหมดอุปาทาน หมดความยึดมั่นถือมั่นว่าสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาจริง ๆ. บาลีในตอนนี้ ก็แสดงผลเป็นทำนองว่า “วิเนยฺยโลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ” ไม่ได้พูดระบุว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา อย่างที่ว่าไว้ ในหลักสูตรนักธรรมของเรา. แต่อย่างไร มันก็เป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าอภิชฌาและโทมนัส ถูกนำออกได้ก็หมายว่าอุปาทานถูกนำออกไปได้ อภิชฌาและโทมนัสนั้น เป็นผลของอุปาทานนั่นเอง.:






เมื่อเจริญสติอย่างต่อเนื่อง คือ การเอาจิตจดจ่อรู้อยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม นี่แหละ สภาวะที่เกิดขึ้นจะเป็นเหตุให้ถ่ายถอนอุทานไปเรื่อยๆ ทำเพื่อดับเหตุทั้งปวง คือดับที่ตัวเองนี่แหละ ไม่ใช่ทำแล้วไปบอกว่าได้อะไร เป็นไร


ถ้าทำแล้ว คิดว่าได้อะไร เป็นอะไร ล้วนยังติดอยู่ในสมมุติบัญญัติทั้งสิ้น ยังละสมมุติไม่ได้

หากละได้บ้าง จะไม่ยึดจนหลงก่อเหตุ มีแต่มุ่งดับเหตุที่ตัวเอง


หากละได้ละเอียดมากขึ้น จะเข้าใจสมมุติและอยู่กับสมมุตินั้นๆ โดยความเป็นปกติเหมือนคนทั่วๆไป เพียงแต่ภายใน ไม่ไปยึดในสุมมตินั้นๆ


เพราะการที่ยังมี นั่นคือ เหตุ



เมื่อไม่มี เหตุย่อมไม่มี



เมื่อไม่มีเหตุ ผลย่อมไม่มี



แล้วนิพพานโดยสมมุติ ต้องไปอยากทำไมกันเล่า



แต่เพราะยังมีเหตุอยู่ ย่อมยังมีความอยาก


อยากมี อยากได้ อยากเป็น นี่ก็เรื่องปกติ


ที่ไม่ปกติ เพราะยังมองไม่เห็นกิเลสที่ " อยาก " เท่านั้นเอง



เมื่อยังมองไม่เห็น จึงเพียรบอกว่าได้อะไร เป็นอะไร แล้วมีการบอกต่อๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีเหตุ



อ้างคำพูด:

ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้ รวมหมดก็คือ การกระทำที่เรียกว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” แล้วก็ถึงหมวดสี่ คือ “ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เห็นธรรมในลักษณะ 4 ประการ นี่ก็เป็นอันสติปัฏฐานทั้งสี่ได้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนในอานาปานสติ 16 ขั้นนั้น :b44:





การดูจิต ,การรู้จักจิด ต้องอาศัยพื้นฐานของสมถะหรือสมาธิเป็นหลัก

ส่วนสมาธิมากน้อยแค่ไหน แล้วแต่เหตุที่ทำมา แล้วอาศัย ตัวสติ สัมปชัญญะ ในการดู


ไม่ว่าจะดู กาย เวทนา จิต ธรรมหรือธรรมารมณ์ (นั่นก็คือ ความคิด) สภาวะเหล่านี้ จะดู จะรู้อยู่ในสภาวะนั้นๆได้ ต้องอาศัยสมาธิเป็นหลัก



สมาธิแนบแน่นได้มากน้อยแค่ไหน ล้วนส่งผลในการดู คือ การรู้อยู่ในสภาวะนั้นๆ

และอาศัย ตัวสติ สัมปชัญญะ ในการดูแต่ละสภาวะที่เกิดขึ้น






ทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ จะขาดตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ได้เลย


หากขาดสมาธิ จิตย่อมฟุ้งซ่าน

หากขาดสติ จิตย่อมหลง ไหลไปอดีตบ้าง อนาคตบ้าง

หากขาดตัวสัมปชัญญะ สมาธิที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะ ขาดความรู้สึกตัว




การบังคับจิต ไม่ใช่การบังคับให้จิตเป็นโน่น เป็นนี่ แต่เป็นเรื่องของสมาธิ

เมื่อเข้าออกสมาธิได้คล่อง ย่อมสามารถบังคับจิตให้เป็นสมาธิได้ตามใจนึก


เพราะเมื่อมาถึงสภาวะนี้แล้ว กำลังของสมาธิย่อมมีความแนบแน่น และมีกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ฉะนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทไหนๆ ในเวลาใดๆก็ตาม จิตย่อมเกิดสมาธิเนืองๆ เรียกว่า มีสมาธิหล่อเลี้ยงจิตอยู่เนืองๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 20:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: :b53: :b53:

เป็นเรื่องธรรมดาครับ :b46: :b51:
ที่ธรรมะบทเดียวกัน คนอ่านหลายๆคนอ่านแล้วอาจจะเกิดความรู้ความเข้าและความรู้สึกต่างกันไป
และธรรมเทศนาของท่านพุทธทาสที่ผมยกมา ก็ไม่ได้ขัดกับหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด
ใครมีสภาวะเช่นไรคงไม่สำคัญ ถ้าคนนั้นสามารถยกธรรมมาสนันสนุนได้ตรงและไม่ผิดหลักธรรม

แม้แต่การสนทนากันเรื่องนิพพาน เรื่องฌานในระดับต่างๆ ก็ใช่ว่าทุกคนจะผ่านสภาวะนั้นแล้ว

ลิงค์ที่คุณยกมาเป็นตัวอย่าง ผมว่ามันไม่เกี่ยวกันเลยครับ :b45: :b46: :b45:

ผมไม่โกรธคุณ walaiporn หรอกครับ เป็นความรู้สึกและคิดเห็นของคุณ

ขอบคุณครับ ที่มาอธิบาย ธรรมเทศนาของท่านพุทธทาสที่ผมยกมา :b51: :b46: :b53:

:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 22:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
ลิงค์ที่คุณยกมาเป็นตัวอย่าง ผมว่ามันไม่เกี่ยวกันเลยครับ



เกี่ยวหรือไม่เกี่ยว ก็แล้วแต่คุณจะคิด


ส่วนที่ยกลิงค์นั้นมาเป็นตัวอย่าง เพื่อชี้ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดมากขึ้น


ในคำกล่าวที่ว่า พอศรัทธาใคร ก็จะยกย่อง

พอไม่ศรัทธา ก็นำมากล่าวโทษหรือเพ่งโทษกัน


เหตุเนื่องจาก คำสอนหรือคำพูดนั้นๆหรือรู้นั้นๆ ไม่เหมือนในสิ่งที่ตัวเองคิด หรือที่คิดว่าตัวเองนั้นรู้





narapan เขียน:
: ผมไม่โกรธคุณ walaiporn หรอกครับ เป็นความรู้สึกและคิดเห็นของคุณ



อันนี้มันก็เหตุของคุณนะ แล้วแต่ว่าคุณจะรักษาใจของคุณไว้ได้แบบไหน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 17:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley อนุญาตเรียกว่า คุณน้ำด้วยคนได้มั๊ยครับ
พิมพ์สะดวกดี คีบอร์ดที่ใช้ตัวหนังสือลบหมดสัมผัสได้แต่ภาษาไทย ภาษาอังกฤษต้องจิ้มหาครับ :b12:

ดูคุณน้ำมีความชำนาญเรื่องสภาวะ หากผมอยากทราบราบละเอียดเกี่ยวกับสภาวะ
คงต้องมาขอความรู้จากคุณน้ำบ้างนะครับ

ส่วนเรื่องครูอาจารย์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความศรัทธาในตัวบุคคลครับ อยู่ที่ธรรม
แต่สุดท้ายธรรมใดๆ เราก็ต้องปล่อยวางยึดเอาไว้ไม่ได้เช่นกัน

เรื่องใจ
ก็ไม่ต้องรักษาให้ยุ่งยาก เพียงไม่ต้องปรุงแต่ง ก็ไม่มีอะไรไปตั้งในใจได้ ไม่มีเกิด ก็ไม่มีดับ

มีครูอาจารย์ท่านหนึ่งท่านชอบเทศน์ว่า ไม่ต้อง ไม่ตั้ง :b12: :b12:
ผมหมายถึงหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโตครับ เผื่อมีใครอยากฟัง
http://www.rombodhidharma.com/05-Dharma ... Dharma.htm

:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย narapan เมื่อ 23 มิ.ย. 2011, 17:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[ขอแทรกซัก 2 ประโยคนะครับ]

การไม่ยึดมั่นถือมั่น กับการไม่ใช้งานมันก็เป็นคนละอย่างนะครับ

ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวทุกข์ แต่ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ต่างหากที่เป็นตัวทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 18:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley คำว่าไม่ใช้งาน หมายถึงอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเน้นลงไปที่สังขารขันธ์การปรุงแต่งความคิดทั้งหมดก็เกิดที่นั่น

อาจจะต้องถามกลับไปว่าคำว่าไม่ปรุงแต่งที่คุณ narapan เข้าใจมันเป็นอย่างไรครับ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 19:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:

สมมุติว่า
นาย ก. มาชมว่า หล่อจัง
นาย ข. เดินมาด่าว่า ทุเรศสิ้นดี

การไม่ปรุงแต่ง ก็คือ รู้ก็สักแต่ว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น

เราไม่ไปปรุงแต่งคำว่าหล่อ หรือคำว่าทุเรศ
ว่ามันดีเลิศ หรือมันไม่ดีน่าเกลียด จนเกิดเป็นความรู้สึกชอบ ชัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 19:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หากไม่ปรุงต่อ....ผลก็คือรู้สึกเฉย ๆ

แต่..ผลคือการรู้สึกเฉย ๆ นี้...เป็นผลของอะไร..เป็นผลของมรรคหรือเปล่า

ที่ไม่ปรุงต่อ...เพราะ..ตั้งใจไม่ปรุง..เหตุกลัวมันจะทุกข์

หรือ..ไม่ปรุงต่อ..เพราะ...หล่อก็ดี...ทุเรศก็ดี...มันไม่มีในเรา..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 20:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


smiley เพราะรู้อยู่แล้วว่ามันอยู่ในกฏของไตรลักษณ์ :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็แค่..
จะกอดแล้วกด..หรือ..จะเอามันออกมาแล้วตีมันให้แตก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร